กูเกิลยังเดินหน้าพัฒนาความเร็วของการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตต่อไป ที่ผ่านมาเราเห็นการผลักดันโพรโทคอล SPDY จนเข้าเป็นส่วนหนึ่งของ HTTP/2 แล้ว คราวนี้กูเกิลหันมารีดประสิทธิภาพที่โพรโทคอลระดับชั้นต่ำลงมาคือ TCP/UDP
ในยุคที่โปรแกรมสมัยใหม่เริ่มจะทิ้งระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าอย่าง Windows XP แม้ว่าไมโครซอฟท์จะหยุดอัพเดตทั้งหมดไปแล้ว แต่ก็ยังมีผู้ใช้งานอยู่จำนวนมาก ล่าสุดกูเกิลออกมาประกาศยืดอายุการรองรับ Windows XP ของ Chrome ต่อไปอีก หลังจากก่อนหน้านี้เคยออกมาประกาศว่าจะรองรับจนถึงเดือนเมษายน (ซึ่งก็คือเดือนนี้นั่นเอง)
การต่ออายุ Chrome บน Windows XP ครั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้ใช้งานบางส่วนที่ยังต้องใช้งานพีซีอยู่บน Windows XP ยังสามารถใช้งานเบราว์เซอร์ที่ปลอดภัย และยังมีเวลาสำหรับอัพเดตระบบปฏิบัติการไปจนถึงปลายปี 2015 นี้
ส่วนคู่แข่งร่วมโลกอย่าง Firefox ตอนนี้ยังไม่ประกาศแผนหยุดรองรับ Windows XP แต่อย่างใดครับ
Chrome ออกอัพเดตทั้งบน iOS และ Android เวอร์ชัน 42 ตาม Chrome บน Windows, OS X และ Linux ที่อัพเดตไปก่อนหน้า ซึ่งมีฟีเจอร์ที่สำคัญดังนี้
Chrome 43 เข้าสู่สถานะเบต้า ทีมงานก็ออกมาประกาศว่าฟีเจอร์อะไรที่เราจะได้เห็นกันในรุ่นนี้
ฟีเจอร์สำคัญสำหรับเว็บที่ต้องการอัพเกรดเป็น HTTPS แต่กลับมีโค้ดเก่าๆ ฝัง URL ภาพหรือ CSS ไว้เป็น HTTP ทำให้เว็บไม่สมบูรณ์ ตอนนี้จะมีทางออกด้วยฟีเจอร์ upgrade-insecure-resources
หากไฟล์เดิมเป็น HTTP อยู่ก็จะอัพเกรดมาเป็น HTTPS ให้เอง
ฟีเจอร์อื่นๆ ได้แก่
ตอนนี้ Google ได้ปล่อย Chrome เวอร์ชันเสถียรที่ 42 แล้ว มีเลขเวอร์ชันคือ 42.0.2311.90 โดยรอบนี้มีของใหม่คือมี Web Platform API ใหม่ มี Push API ซึ่งเป็น API สำหรับ push ข้อความผ่านเบราว์เซอร์ด้วย
Chrome จะใช้เซิร์ฟเวอร์ Google Cloud Messaging ส่งข้อความที่ทำการ push และรอรับข้อความด้วย service worker ที่เว็บวางเอาไว้ แม้ปิดหน้าเว็บไปแล้วหากผู้ใช้เปิดรับข้อความ เมื่อมีข้อความ push เข้ามาตัว worker จะถูกเรียกมาแสดงข้อความให้ผู้ใช้ ตัวอย่างของเว็บที่ใช้ประโยชน์การ push ข้อมูล เช่น เว็บประมูลสินค้าส่งข้อความเตือนเมื่อมีคนประมูลแข่ง (เรียบเรียงจากข่าวเก่า)
ส่วนเสริมสำหรับ Chrome ที่ชื่อว่า Webpage Screenshot เป็นส่วนเสริมที่ได้รับความนิยมสูง มีผู้ใช้ถึง 1.2 ล้านคน แต่นักวิจัยจาก Heimdal Security ก็ออกมาเปิดโปงว่าส่วนเสริมนี้ส่งข้อมูลการเข้าใช้เว็บกลับไปยังเซิร์ฟเวอร์เพื่อขายข้อมูลต่อไป
Webpage Screenshot พยายามปิดบังพฤติกรรมการอัพโหลดข้อมูลผู้ใช้กลับไปยังเซิร์ฟเวอร์ด้วยการรอหนึ่งสัปดาห์แรกที่ผู้ใช้ติดตั้ง ส่วนเสริมจะทำงานตามปกติโดยไม่เก็บข้อมูลใดๆ แต่หลังจากนั้นส่วนเสริมจะโหลดโค้ดมาเพิ่มและเริ่มเก็บข้อมูลผู้ใช้ส่งกลับไปยังไอพี 64.34.175.88
จากกรณี Superfish ทำให้โลกไอทีตื่นตัวเรื่องการฝังโฆษณาแทรกเข้ามาจากหน้าเว็บปกติ หรือที่เรียกว่า ad injector กันมากขึ้น
กูเกิลออกมาแสดงท่าทีต่อปัญหานี้ โดยระบุว่าได้รับเสียงบ่นจากผู้ใช้ Chrome มากกว่า 1 แสนครั้งนับเฉพาะแค่ปี 2015 ปีเดียว กูเกิลยังบอกว่าโฆษณาในระบบ ad injector มักเป็นโฆษณาคุณภาพต่ำ และไม่ก่อเกิดประโยชน์ใดๆ ต่อเจ้าของเว็บไซต์ที่โดนฝังโฆษณา จากสถิติของกูเกิลพบว่าผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ต 5% (นับเฉพาะที่เข้าเว็บในเครือกูเกิล) ถูกฝังโฆษณาลักษณะนี้ และหลายคนโดนฝังโฆษณาอย่างน้อย 4 ตัวขึ้นไป
กูเกิลโชว์ความเร็วของ Chrome มาตลอดพร้อมกับความสามารถในการทำงานอัตโนมัติจากส่วนเสริมต่างๆ ตอนนี้ฟีเจอร์ล่าสุดของ Chrome คือ การเบราว์เว็บอัตโนมัติ (self browsing)
เพียงแค่กดปุ่มเริ่มทำงานครั้งเดียว Chromebook จะทำงานไปเรื่อยๆ ดังนี้
ส่วนเสริม Self-Browsing Chromebook เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ววันนี้
กูเกิลอัพเดตการตกลงระหว่างกูเกิลและ CNNIC ที่ออกใบรับรองให้กับ MCS Holdingsไปใส่พรอกซี่ดักฟัง ล่าสุดกูเกิลประกาศว่าจะถอด root CA ทั้งสองตัวของ CNNIC ออกจาก Chrome แล้ว แม้จะให้เวลาอีกระยะหนึ่งกับลูกค้าของ CNNIC ก่อนหน้านี้ให้เปลี่ยน CA โดยระหว่างนี้ถือว่าใบรับรองของลูกค้า CNNIC ที่ออกมาก่อนหน้านี้ยังคงน่าเชื่อถือไปอีกระยะหนึ่ง
CNNIC สัญญาว่าจะรองรับ Certificate Transparency กับใบรับรองทุกใบที่ออกมา จากที่ก่อนหน้านี้ CA รายอื่นๆ มักรองรับเฉพาะใบรับรองแบบ EV เมื่อรับรองเรียบร้อยทาง CNNIC จึงดำเนินการขอให้กูเกิลกลับเข้ามารองรับ CA ของ CNNIC อีกครั้ง
App Runtime for Chrome (ARC) ที่ช่วยรันแอพพลิเคชั่นแอนดรอยด์บน Chrome OS เปิดตัวมาช่วงปลายปีที่แล้วแม้จะเป็นโครงการโอเพ่นซอร์ส แต่ก็รับนักพัฒนาเข้าร่วมจำกัดเฉพาะที่ได้รับเชิญเท่านั้น เมื่องานเปิดตัวอุปกรณ์ Chrome OS ชุดใหม่ไม่กี่วันก่อนกูเกิลจึงประกาศว่าจะให้นักพัฒนาทุกคนเข้าถึง ARC ได้แล้ว วันนี้เอกสารการใช้งาน และตัวแปลง APK ก็ออกมาจริงๆ แล้ว
Chrome รุ่นบน Android/iOS มีฟีเจอร์การบีบอัดข้อมูลหรือ Data Saver มาได้สักพักใหญ่ๆ แล้ว ล่าสุดกูเกิลขยายมายัง Chrome รุ่นเดสก์ท็อปด้วย โดยตอนนี้ยังมีสถานะเป็นส่วนเสริม Data Saver ที่ต้องติดตั้งผ่าน Chrome Web Store ตอนนี้ยังมีสถานะเป็นรุ่นเบต้า
วิธีการใช้งานก็แค่ติดตั้งส่วนเสริมเท่านั้น ที่เหลือ Data Saver จะจัดการดาวน์โหลดข้อมูลเว็บเพจที่ถูกบีบอัดแล้วผ่านเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลให้เสร็จสรรพ (ถ้าเชื่อมต่อผ่าน SSL หรืออยู่ในโหมด Incognito จะไม่มีผล เพราะไม่โหลดผ่านเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิล)
Chrome รับกระแสถ่ายภาพเซลฟี่ด้วยการฝังฟีเจอร์ถ่ายภาพกล้องหน้าไว้ในตัวเบราว์เซอร์เลย วิธีการใช้งานคือเปิดเมนู "Share a reaction" ขึ้นมา หน้าจอเบราว์เซอร์ครึ่งล่างจะกลายเป็นกล้องหน้า กดถ่ายภาพเพื่อแชร์ภาพตัวคุณกับเว็บที่ชื่นชอบได้ทันที
ใครอยากดูว่าชาวโลกถ่ายภาพ Chrome Selfie กันอย่างไร ตามไปดูได้ที่แท็ก #ChromeSelfie บนทุกช่องทางโซเชียล
ที่มา - Google Operating System
หลังจากงานเปิดตัวอุปกรณ์ Chrome เมื่อวานนี้ ตอนนี้นักข่าวที่ได้ไปร่วมงานก็มีข้อมูลที่ไม่อยู่บนเว็บมารายงาน
เรื่องแรกคือ Chromebook ที่เปิดตัวเมื่อวานนี้แทบทุกตัวใช้ Rockchip RK3288 ทั้งหมด รวมถึง Chromebit ด้วยเช่นกัน ตัว RK3288 นั้นแรงกว่า Atom Z3735F แทบทุกด้านโดยเฉพาะงานกราฟิกสามมิติ ในงานระบุว่า Chromebook ที่ใช้ RK3288 จะใช้ได้นานถึง 10 ชั่วโมง
Chrome OS ได้พันธมิตรมาช่วยผลิตสินค้าอีกชุดใหญ่ เปิดตัวในวันนี้ ได้แก่ Chromebook ราคาถูก 149 ดอลลาร์จาก Haier และ Hisense และอุปกรณ์ Chrome อื่นๆ แต่ชิ้นที่สำคัญที่สุดคงเป็น Chromebit จาก ASUS
Chromebit เป็นแท่งเสียบเข้ากับจอทีวีเพื่อทำให้กลายเป็น Chrome OS จุดเด่นคือราคาถูกกว่า 100 ดอลลาร์ (ยังไม่ประกาศราคาและวันจำหน่ายจริง) ทำให้สามารถอัพเกรดคอมพิวเตอร์เดิมๆ กลายเป็น Chrome OS ได้
ช่องโหว่ CSRF เป็นช่องโหว่สำคัญที่เว็บจำนวนมากที่ไม่ได้พัฒนาจาก CMS ดังๆ มักถูกโจมตีได้เรื่อยๆ จาก ล่าสุดกูเกิลกำลังทดสอบและเสนอมาตรฐาน First-Party-Only จำกัดการส่งคุกกี้ในกรณีที่เว็บถูกเรียกจากโดเมนอื่นๆ
ปัญหา CSRF คือ แม้เว็บหนึ่งๆ จะไม่สามารถอ่านข้อมูลจากเว็บอื่นๆ ได้ เช่น ในกรณีที่ผู้ใช้ Blognone ล็อกอิน YouTube อยู่และมีวิดีโอฝังอยู่ในข่าว หน้าเว็บ Blognone ก็ไม่สามารถเขียนสคริปต์เพื่ออ่านข้อมูลของ YouTube อย่างชื่อผู้ใช้ออกมาได้ อย่างไรก็ดีหน้าเว็บ Blognone อาจจะขอแสดง URL โดยที่อ่านค่าไม่ได้ เช่น URL สำหรับลบวิดีโอล่าสุด หากผู้ใช้ล็อกอินทิ้งไว้และเว็บไม่ได้ป้องกัน คำสั่งก็จะมีผลทันที
กูเกิลออกมาประกาศทิศทางใหม่ของภาษาโปรแกรมมิ่ง Dart สำหรับการเขียนเว็บ จากเดิมที่กูเกิลมีแผนผลักดัน Dart VM เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Chrome เพื่อให้เว็บไซต์ที่ใช้ Dart แทน JavaScript สามารถรันได้ตรงๆ บนเบราว์เซอร์
ต่อจากข่าว Blink ยกเลิกแผนรองรับมาตรฐาน Pointer Events และ W3C ออกมาตรฐาน Pointer Events ฉบับจริง แต่ยังไร้วี่แววการสนับสนุนจากแอปเปิล-กูเกิล
ฝั่งทีม Chromium ของกูเกิลประกาศเปลี่ยนใจอีกรอบ หันมาสนับสนุนมาตรฐาน Pointer Events ในเอนจิน Blink ใหม่อีกครั้ง หลังได้รับความเห็นจากบรรดานักพัฒนาเว็บและนักพัฒนาเฟรมเวิรค์ชื่อดังอย่าง jQuery/Dojo ว่า Pointer Events เป็นมาตรฐานสำคัญที่ควรมี
กูเกิลเปิดตัว Art Project เก็บภาพถ่ายงานศิลปะจากห้องภาพและพิพิธภัณฑ์ชั้นนำของโลกมาตั้งแต่ปี 2011 (ภายหลังขยายเป็น Google Cultural Institute ครอบคลุมมรดกทางวัฒนธรรมของมนุษย์หลายด้าน)
Chrome 41 รุ่นเดสก์ท็อปไม่มีฟีเจอร์อะไรใหม่ แต่ใน Chrome 42 ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดน่าจะมีฟีเจอร์ใหม่ที่มีผลสำคัญกับคนทำเว็บเข้ามาสองอย่าง คือ การพุชข้อมูล, และการเสนอให้เพิ่มเว็บเข้าสู่หน้าแรก ที่สำคัญคือฟีเจอร์เหล่านี้จะรองรับพร้อมกันทั้งแอนดรอยด์และเดสก์ท็อปทุกแพลตฟอร์ม
Push Notifications หรือการพุชข้อความจะใช้ Google Cloud Messaging เป็นเซิร์ฟเวอร์ส่งข้อความ และรอรับข้อความด้วย service worker ที่เว็บวางเอาไว้ แม้ปิดหน้าเว็บไปแล้วหากผู้ใช้เปิดรับข้อความเอาไว้ เมื่อมีข้อความพุชเข้ามาตัว worker จะถูกเรียกขึ้นมาแสดงคำเตือนให้กับผู้ใช้ กูเกิลยกตัวอย่างเช่นเว็บประมูลสินค้าอาจจะส่งข้อความเตือนเวลามีคนมาประมูลแข่งได้ทันที
Chrome OS มีฟีเจอร์การใช้งานจำกัดกว่าพีซีทั่วไป แต่ผู้ใช้จำนวนหนึ่งก็ยอมลดฟีเจอร์เพื่อความสะดวกในการใช้งานบางด้าน เช่น การใช้งานในองค์กรที่ต้องการเสถียรภาพมากกว่าฟีเจอร์ แนวทางบุกตลาดล่าสุดของกูเกิลคือตลาดเหล่านี้ก็ชัดเจนเมื่อมีกูเกิลออกบริการควบคุมเครื่องสำหรับองค์กรธุรกิจและหน่วยงานการศึกษาออกมาเรื่อยๆ ตอนนี้การใช้งานอีกแบบที่กูเกิลกำลังบุกตลาด คือ ป้ายโฆษณา (signage) และคอมพิวเตอร์ให้ข้อมูล (kiosk) โดยเปิดบริการและฮาร์ดแวร์ชุดใหม่พร้อมๆ กัน
บริการของกูเกิลเองจะมีสามบริการ ได้แก่
Chrome ออกรุ่นเสถียรรุ่นที่ 41 ทั้งบนเดสก์ท็อปและแอนดรอยด์ โดยรุ่นบนเดสก์ท็อปไม่มีฟีเจอร์ใหม่ใดๆ ส่วนรุ่นบนแอนดรอยด์เพิ่มฟีเจอร์ pull to reload และแก้บั๊กอื่นๆ
สำหรับคนชอบลองของใหม่ Chrome Beta 42 บนแอนดรอยด์เปิดให้ดาวน์โหลดแล้วเช่นกัน ของใหม่คือรับการแจ้งเตือนจากเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีอัพเดต และปักหมุดเว็บไซต์บนหน้าโฮมได้ง่ายขึ้น - Chrome Beta
กูเกิลออกมาประกาศว่าจะหยุดออก Chrome for Android สำหรับระบบปฏิบัติการ Android 4.0 Ice Cream Sandwich เนื่องจากมีจำนวนผู้ใช้ลดลงจากเดิมมาก และต้องการลดภาระการสนับสนุน เพื่อนำทรัพยากรไปพัฒนา Chrome บน Android รุ่นใหม่ๆ แทน
Chrome 42 จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายบน ICS โดยผู้ใช้สามารถใช้งานต่อไปได้อย่างไม่มีปัญหา แต่ก็จะไม่ได้อัพเดตเวอร์ชันใหม่อีกแล้ว
ที่มา - Chromium Blog
เว็บเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ อย่าง Safari หรือ IE มีโหมด Reader/Reading ช่วยให้อ่านบทความบนเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้นมาได้สักระยะหนึ่งแล้ว ฝั่งของ Chrome เพิ่งทดสอบฟีเจอร์นี้ทั้งบนเดสก์ท็อปและอุปกรณ์พกพา
คนที่อยากทดสอบฟีเจอร์นี้ต้องใส่คำสั่งดังนี้
กูเกิลยังไม่บอกว่าจะนำฟีเจอร์นี้เข้ามา Chrome แบบเปิดเป็นค่าดีฟอลต์เมื่อไรนะครับ
กูเกิลตัดสินใจย้าย WebView จากเดิมที่เป็นส่วนหนึ่งของแอนดรอยด์ออกมาเป็นส่วนหนึ่งของ Google Play Services ทำให้สามารถอัพเดตแยกกันได้ ตอนนี้กูเกิลก็เริ่มใช้ความสามารถในส่วนนี้ด้วยการเปิดให้นักพัฒนาเข้าถึง WebView รุ่นเบต้าก่อนที่จะอัพเดตให้ผู้ใช้ทั่วไป
WebView Beta Channel จะสร้างจาก Chrome 40 ขณะที่ WebView มาตรฐานบน Android 5.0 ตอนนี้สร้างจาก Chrome 36 ส่วน Android 4.4.3 ใช้ Chrome 33
นักพัฒนาที่สนใจต้องเข้าร่วม WebView Beta Channel Community บน Google+ ก่อนจึงจะไปเลือกติดตั้งรุ่นเบต้าบน Play Store ได้
ที่มา - Android Developer Blog
โพรโทคอล HTTP 1.1 ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ถูกใช้งานกันมาตั้งแต่ปี 1999 และยังไม่เคยปรับปรุงอีกเลย ส่งผลให้มันมีข้อจำกัดทางเทคนิคหลายจุดที่เริ่มล้าสมัย ในขณะที่กระบวนการออกมาตรฐาน HTTP รุ่นใหม่ก็ล่าช้าและใช้เวลานาน
กูเกิลเป็นบริษัทที่พยายามผลักดันการปรับปรุงมาตรฐาน HTTP โดยใช้วิธีทั้งเข้าร่วมกระบวนการออกมาตรฐาน แต่ในอีกทางก็พัฒนาสเปกส่วนขยายของตัวเองในชื่อ SPDY เพื่อเสนอเข้าเป็นส่วนหนึ่งของมาตรฐานด้วย ตอนแรกการรองรับ SPDY เริ่มจากเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเองและ Chrome แต่ภายหลังก็มีหน่วยงานอีกหลายแห่งเริ่มรองรับ SPDY มากขึ้น