Chrome รุ่น Canary มีความสามารถ "origin chip" ให้เลือกเปิดมาทดสอบการใช้งานได้ โดยหลังจากเปิดใช้งานแล้ว Omnibox ที่เคยแสดง URL จะแสดงเฉพาะชื่อโดเมนเท่านั้น ไม่แสดง URL เต็มอีกต่อไป ในส่วนกล่องจะอินพุตจะใช้เพื่อค้นหาหรือใส่ URL ใหม่เท่านั้น
เหตุผลของแนวทางนี้คือความปลอดภัยของผู้ใช้เวลาเจอกับเว็บฟิชชิ่ง (phishing) เทคนิคการปลอม URL แบบหนึ่งคือการสร้าง subdomain ที่หน้าตาเหมือนโดเมนที่จะปลอม ทำให้ผู้ใช้ที่ไม่ทันระวังเผลอเข้าใช้งานเว็บปลอม
เนื่องจาก origin chip จะไม่แสดง URL เต็มอีกต่อไป แต่แสดงโดเมนอย่างชัดเจน ผู้ใช้จะสามารถสังเกตได้ทันทีว่าโดเมนที่ใช้งานเปลี่ยนไป สำหรับการคัดลอก URL เต็ม ผู้ใช้จะต้องคลิกที่ตัว origin chip ก่อนจึงจะคัดลอกไปได้
มีนักพัฒนารายหนึ่งชื่อ Florian Kiersch ค้นพบโค้ดฟีเจอร์ใหม่ของกูเกิลที่แอบทดสอบอย่างลับๆ โดยใช้ชื่ออย่างไม่เป็นทางการว่า Google Stars
รูปแบบการทำงานของมันจะคล้ายบริการบันทึกเว็บไว้อ่านทีหลังอย่าง Pocket หรือ Instapaper โดยเปิดให้ผู้ใช้ใส่ "ดาว" กับเว็บที่สนใจเพื่อกลับมาค้นดูทีหลังได้ง่าย และสามารถจัดกลุ่มของเว็บเพจที่ใส่ดาวไว้แยกตามประเภท (เช่น บทความ วิดีโอ รูปภาพ) ให้เราได้อัตโนมัติ เว็บเพจที่ใส่ดาวไว้จะเก็บไว้ในโฟลเดอร์ออนไลน์ที่เราสามารถแชร์ให้เพื่อนๆ ได้ด้วย
นอกจากนี้ Google Stars ยังผสานตัวเข้ากับปุ่ม Bookmarks ของ Chrome เพื่อให้เราใส่ดาวได้สะดวก ดังนั้นคาดว่าเบื้องต้นมันน่าจะมี Chrome Extension ที่เชื่อมโยง Chrome กับบริการ Stars บนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลด้วย
เคยไหม? เจอปัญหาเล่นอินเทอร์เน็ตอยู่แล้วเจอภาพที่มีข้อความน่าสนใจอยากก็อปปี้ไปค้นข้อมูลต่อ ถ้าสั้นๆ ไม่กี่คำ เราก็อาจจะพิมพ์ใหม่ได้ไม่เสียเวลามากแต่ถ้ายาวเป็นประโยคก็อาจจะเหนื่อยหน่อย หรือเจอข้อความภาษาที่ไม่คุ้นอยู่ในภาพจะเอาไปแปลก็ไม่รู้จะพิมพ์อย่างไร
ฟีเจอร์ใหม่ของ Chrome OS เพิ่งเริ่มปล่อยออกมาใน Dev Channel โดยผู้ใช้ต้องไปเปิดใช้งานด้วยตัวเอง ทำให้ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องใส่รหัสผ่านเพื่อปลดล็อกเครื่องอีกต่อไป
แม้จะเปิดมาใช้งานได้แต่เอาเข้าจริงฟีเจอร์นี้ก็ยังทำงานจริงไม่ได้ เมื่อเปิดการใช้งานหน้าจอจะค้างและทำงานต่อไม่ได้ เป็นไปได้ว่าตัวแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานคู่กันยังไม่เปิดให้ดาวน์โหลด
ที่มา - Android Police
Google เพิ่งปล่อยแอพ Chrome Remote Desktop สำหรับระบบปฏิบัติการ Android ให้ดาวน์โหลดไปใช้งานกันได้ฟรีแล้ววันนี้
ด้วยแอพดังกล่าว ผู้ใช้สามารถควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านจากอุปกรณ์ Android โดยผู้ใช้จำเป็นต้องติดตั้งซอฟต์แวร์ตัวช่วยลงในฝั่งเครื่องคอมพิวเตอร์ด้วยเช่นกัน โดยซอฟต์แวร์ตัวช่วยดังกล่าวคือส่วนต่อขยายของ Chrome ซึ่งสามารถใช้งานได้กับ 3 ระบบปฏิบัติการ ไม่ว่าจะเป็น Windows ตั้งแต่รุ่น XP เป็นต้นมา หรือ Mac (ตั้งแต่ OS X 10.6 เป็นต้นมา) รวมทั้ง Linux สามารถดาวน์โหลดได้จากที่นี่
Chrome 34 เริ่มอัพเดตให้ผู้ใช้แล้ววันนี้ โดยเพิ่มความสามารถหลายอย่าง เช่น รองรับ Web Audio เต็มรูปแบบ (ไม่มี prefix ใน API), เพิ่ม API สำหรับ extension, รองรับรูปภาพแบบ responsive
แต่ฟีเจอร์ที่มีผลต่อผู้ใช้ทั่วไปที่สุดคงเป็นการจำรหัสผ่าน โดย Chrome 34 จะเริ่มถามผู้ใช้ว่าต้องการให้เบราว์เซอร์จำรหัสผ่านให้หรือไม่ โดยไม่สนใจว่าเว็บจะระบุ autocomplete=off
ก็ตาม ทำให้เว็บที่ผู้พัฒนาไม่ชอบให้ผู้ใช้จำรหัสผ่านด้วยซอฟต์แวร์จัดการรหัสผ่านไม่สามารถควบคุมการใช้งานของผู้ใช้ได้อีกต่อไป
Google Chrome เพิ่มฟีเจอร์ใหม่เป็นการแปลข้อความตัวอักษรให้เป็นข้อความผสมอีโมจิ
จากการค้นพบของเว็บไซต์ Android Police ฟีเจอร์นี้สามารถใช้งานได้โดยเพียงเปิดหน้าเว็บไซต์ด้วย Chrome แล้วเลือกการตั้งค่าจะปรากฏเมนู "Translate to Emoji" ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานฟีเจอร์ดังกล่าว Chrome จะทำการแทนที่คำบางคำ หรือข้อความบางส่วนตัวรูปภาพตัวอีโมจิ เช่น แทนคำว่า play ด้วยภาพจอยบังคับเกม, แทนคำว่า gift ด้วยรูปกล่องของขวัญ, แทนคำว่า you ด้วยภาพตัวอักษร U เป็นต้น
อย่างไรก็ตามจากการทดสอบด้วยตนเอง ยังไม่สามารถเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ได้ ทำให้ไม่แน่ใจว่าฟีเจอร์นี้มีการจำกัดสิทธิให้ใช้งานได้เฉพาะในบางพื้นที่หรือไม่
กูเกิลพยายามนำ Google Now ไปยังแพลตฟอร์มอื่นนอกจากแอนดรอยด์มาเรื่อยๆ ก่อนหน้านี้ Google Now เริ่มใช้งานใน Chrome Beta มาถึงวันนี้ Chrome รุ่น stable ก็รองรับ Google Now ตามมา
กูเกิลจะค่อยๆ เปิดบริการนี้ให้ผู้ใช้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนครบในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า แต่สำหรับผู้ที่อยากเล่นทันทีก็สามารถเข้าไปเปิดได้เองในหน้า chrome://flags
ที่มา - The Verge, +Google Chrome
กูเกิลเริ่มรุกคืบเข้าตลาดองค์กรอีกครั้ง โดยครั้งนี้กูเกิลร่วมมือกับซิสโก้เพื่อพัฒนา WebEx ให้ทำงานบน Chromebook เพื่อสาธิตการทำงานเบื้องต้น พร้อมกับประกาศว่าซิสโก้และกูเกิลกำลังร่วมกับพัฒนาให้ Cisco UC ทั้งระบบสามารถทำงานร่วมกับ Google Apps ได้แนบแน่น
การร่วมบริการเข้าด้วยกันอาจจะทำให้เราสามารถเข้าประชุมใน WebEx ได้โดยกดลิงก์บน Google Calendar สามารถแชตและส่งแฟกซ์ผ่านบริการของซิสโก้
สินค้าจริงยังไม่มีขายและยังไม่กำหนดเวลา
กูเกิลประกาศเพิ่มแนวทางหาเงินใหม่ๆ ให้กับแอพ ส่วนขยาย และธีมบน Chrome Web Store แล้ว
รูปแบบการหาเงินที่กูเกิลอนุญาต มีตั้งแต่การขายขาดโดยจ่ายเงินครั้งแรกครั้งเดียว (paid up-front), การสมัครใช้บริการ (subscription) และการจ่ายเงินซื้อภายในแอพ (in-app payment) นอกจากนี้ยังเปิดให้แอพ ส่วนขยาย ธีม สามารถกำหนดระยะเวลาทดลองใช้งาน (free trial) ได้ด้วย
แอพและส่วนขยายสามารถเก็บเงินลูกค้าได้ทุกรูปแบบข้างต้น แต่ธีมจะสามารถใช้ได้แค่การขายขาดเท่านั้น (รายละเอียดดูในตาราง)
กูเกิลประกาศในเมลลิ่งลิสต์ chromium-dev ระบุว่าใน Chrome 35 จะเริ่มใส่ระบบ UI แบบเนทีฟเข้ามาเป็นไลบรารีมาตรฐานสำหรับการพัฒนาแอพพลิเคชั่นแบบเดสก์ทอปผ่าน Chrome โดยแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบน Aura นี้จะแยกจาก Webkit ออกไปโดยใช้ compositor ร่วมกัน
Aura จะมีพื้นฐานมาจาก GTK และพัฒนามาตั้งแต่ปี 2011 ตอนนี้นักพัฒนาระบุว่าการทดสอบบนลินุกซ์ยังไม่ดีนักและขอให้นักพัฒนาช่วยกันทดสอบบนลินุกซ์ให้มากขึ้น
นอกจากการเปิดตัว Aura แล้ว Chrome 35 จะเปลี่ยนการใช้ OpenGL จากชุดละแท็บเป็นชุดละวินโดวส์เพื่อลดการใช้หน่วยความจำบนลินุกซ์ที่มากเกินไปและทำให้คนที่เปิดแท็บมากๆ ทำให้เบราว์เซอร์ทำงานช้าลงอย่างมาก
กูเกิลออกอัพเดต Google Keep บน Chrome เวอร์ชันใหม่ ไม่มีบันทึกการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นทางการ แต่ผมพบคุณสมบัติใหม่หลายอย่างดังนี้ครับ (ภาพประกอบท้ายข่าว)
มีผู้ใช้ Chrome Beta for Android ค้นพบว่ากูเกิลแอบใส่ฟีเจอร์ส่งภาพ-วิดีโอขึ้นจอทีวีด้วย Chromecast มาแบบเงียบๆ (ปัจจุบันทำได้เฉพาะ Chrome เวอร์ชันพีซี) โดยผู้ใช้ต้องเปิดใช้งานในหน้า chrome://flags แล้วเลือก “Enable experimental Chromecast support” เสียก่อน
จากนั้นเราสามารถใช้ Chrome Beta for Android เข้าเว็บที่มีวิดีโอแบบ HTML5 (เช่น YouTube, Vimeo, TED) แล้วสั่งเล่นวิดีโอนั้นบนจอทีวีแทนที่จะเป็นจออุปกรณ์พกพาได้เลย
ที่มา - Droid Life
ต่อจากข่าว กูเกิลออกส่วนเสริมให้ Chrome รับคำสั่งเสียง OK Google โดยไม่ต้องกดปุ่มใดๆ ล่าสุดฟีเจอร์นี้ถูกผนวกเข้ามาใน Chrome Beta โดยไม่ต้องติดตั้งส่วนเสริมแล้ว
การใช้งานคือเข้าไปที่ google.com (ในภาษาอังกฤษ) กดรูปไมโครโฟนในกล่องค้นหาเพื่อเปิดใช้งานฟีเจอร์นี้ (Enable "OK Google") จากนั้นครั้งต่อไปที่เราเข้า google.com ก็พูดว่า "OK Google" ตามด้วยคีย์เวิร์ดได้เลย ไม่ต้องกดปุ่มใดๆ ก่อนพูด
Chrome Beta รุ่นล่าสุดยังปรับปรุงฟีเจอร์ Supervised Account ให้ตั้งค่าครั้งแรกง่ายขึ้นด้วย
กูเกิลออก Chrome 33 Stable มีของใหม่ดังนี้
รองรับทั้งบนวินโดวส์, แมค และลินุกซ์
เลขเวอร์ชันคือ 33.0.1750.117
Chrome Beta ปรับปรุงการประมวลผล JavaScript ในเอนจิน V8 เสียใหม่ โดยโอนภาระงานส่วนการรีดประสิทธิภาพ (optimizing compilation) ของโค้ดไปทำงานแบบแบ็คกราวนด์ ผลคือตัวแอพหลักที่อยู่ฉากหน้าจะยังตอบสนองดีเหมือนปกติ (responsive)
เดิมทีเอนจิน V8 จะทำหน้าที่ปรับแต่งโค้ดแล้วค่อยประมวลผล ซึ่งมีจุดอ่อนว่าถ้าโค้ดมีขนาดใหญ่ (เช่น เกม) อาจส่งผลต่อประสิทธิภาพโดยรวม (เช่น เฟรมเรตตกลง)
กูเกิลจึงเปลี่ยนมาใช้วิธีแปลงโค้ดแบบขนาน (concurrent compilation) แทน ทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของการประมวลผลดีขึ้นเพราะไม่ต้องรอกัน
ในข่าวเก่าเรื่อง ASUS Chromebox มีคอมเมนต์หนึ่งถามว่านึกไม่ออกว่าจะเอาไปใช้ทำอะไร วันนี้มีเฉลยแล้วครับ
กูเกิลหยิบเอา ASUS Chromebox (รุ่นใหญ่ Core i7 ซึ่งไม่มีขายปลีก) มาจัดเป็นชุดร่วมกับกล้องเว็บแคมความละเอียดสูง (Full HD, เลนส์ Carl Zeiss), ไมโครโฟนแบบรับเสียงจากทุกทิศทาง, รีโมทคอนโทรลที่มีคีย์บอร์ด QWERTY กลายร่างเป็น Chromebox for Meetings (เว็บไซต์) ฮาร์ดแวร์สำหรับจัดการประชุมแบบเห็นหน้ากันในองค์กร
กูเกิลเริ่มโครงการแจกรางวัลให้ผู้ค้นพบบั๊กด้านความปลอดภัย (bug bounty program) ของ Chrome มาตั้งแต่ปี 2010 (ข่าวเก่า) และขยายมายัง Chrome OS ในปี 2012
ล่าสุดกูเกิลประกาศขยายโครงการอีกรอบ โดยรอบนี้จะรวมถึงส่วนเสริม (extension) และแอพ (Chrome apps) ที่สร้างโดยกูเกิลเองด้วย (รายการส่วนเสริมจาก Chrome Web Store ที่สร้างโดยกูเกิล)
เราเห็นข่าว Chrome รุ่นทดสอบเริ่มแสดงการ์ด Google Now มาได้สักระยะหนึ่ง วันนี้กูเกิลประกาศข่าว Google Now สำหรับ Chrome อย่างเป็นทางการแล้ว
ฟีเจอร์นี้จะเริ่มใช้ใน Chrome Beta บนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แมค และ Chromebook (ลินุกซ์ยังไม่รองรับ) โดยเราจะต้องล็อกอินบัญชี Google Account ที่ Chrome ก่อนจึงจะใช้งานได้
Google Now บน Chrome จะแสดงข้อมูลผ่านระบบแจ้งเตือนแบบใหม่ (rich notification) ของ Chrome (เริ่มใช้ใน Chrome 28) ส่วนเนื้อหาการแจ้งเตือนจะเหมือนกับ Google Now บน Android/iOS ทุกประการ ไม่ว่าจะเป็นสภาพจราจร ข้อมูลเที่ยวบิน ผลกีฬา เป็นต้น
ปัญหาที่น่ารำคาญอย่างหนึ่งของการใช้งานเบราว์เซอร์ (โดยเฉพาะบนวินโดวส์) คือในบางครั้งที่เราติดตั้งโปรแกรมบางตัว มันจะแอบเปลี่ยนค่าภายในเบราว์เซอร์ของเรา เช่น หน้า start page หรือเครื่องมือค้นหา
Chrome เคยแก้ปัญหานี้ด้วยการเพิ่มฟีเจอร์รีเซ็ตการตั้งค่าทั้งหมด (reset browser) แต่ล่าสุด Chrome ไปไกลกว่านั้น โดยจะขึ้นหน้าจอแจ้งเตือนเมื่อเบราว์เซอร์ของเราถูกเปลี่ยนการตั้งค่าที่เราไม่น่าจะรู้ตัว และถามผู้ใช้ว่าจะกดรีเซ็ตกลับไปใช้ค่าดีฟอลต์หรือไม่
Chrome ยังเตือนว่าปุ่มรีเซ็ตนี้จะปิดการทำงานของส่วนเสริมและธีมทั้งหมดด้วย ซึ่งผู้ใช้จะต้องกดเปิดกลับมาเองในหน้า Extensions
ต่อจากข่าว กูเกิลกำลังทำเครื่องมือพอร์ต Chrome Apps ไปยัง Android และ iOS วันนี้กูเกิลเปิดให้ทดสอบเครื่องมือที่ว่านี้ในเวอร์ชันพรีวิวแล้วครับ
เครื่องมือของกูเกิลพัฒนาต่อจาก Apache Cordova (ที่เรารู้จักกันในชื่อ PhoneGap) โดยเรียกมันว่า CCA (cordova chrome app) โดยต้องสั่งงานผ่านคอมมานด์ไลน์เพื่อแปลงเว็บแอพเป็นแอพสำหรับแจกจ่ายบน Google Play/App Store อีกทอดหนึ่ง (รายละเอียด)
กูเกิลสาธิตเทคโนโลยี WebGL ใน Chrome รอบล่าสุดด้วยการร่วมมือกับเลโก้เปิดเว็บ Build with Chrome เว็บออกแบบสิ่งก่อสร้างด้วยตัวเลโก้ เมื่อสร้างโมเดลจากเลโก้เสร็จแล้ว เจ้าของจะสามารถนำไปวางบนแผนที่ทั่วโลกได้อีกด้วย
Chrome for Android เองก็รองรับ WebGL แล้ว จึงสามารถเล่นเว็บนี้ได้ดว้ย
โครงการนี้สร้างโดยทีมกูเกิลออสเตรเลีย
ฟีเจอร์อย่างหนึ่งของ CSS3 ที่นักออกแบบเว็บควรให้ความสนใจคือ CSS3 Regions ที่ช่วยให้เว็บมีหน้าตาคล้ายสิ่งพิมพ์มากขึ้น โดยนักออกแบบสามารถกำหนด "พื้นที่" ในการแสดงผลข้อความที่ต่อเนื่องกันได้ (เช่น กำหนดพื้นที่เป็นรูปทรงต่างๆ ที่ไม่ใช่สี่เหลี่ยม หรือ กำหนดพื้นที่ที่ไม่ต่อเนื่องกัน แต่ให้ข้อความไหลต่อกัน ภาพตัวอย่างท้ายข่าว)
CSS3 Regions เป็นข้อเสนอของค่าย Adobe เพื่อเป็นมาตรฐานเว็บในอนาคต อย่างไรก็ตาม เบราว์เซอร์ที่รองรับ CSS3 Regions ยังมีเพียงเบราว์เซอร์สาย WebKit เท่านั้น (IE กับ Firefox ยังไม่สนใจ)
Tal Ater นักวิจัยด้านความปลอดภัยจากอิสราเอล เปิดเผยบั๊กของ Chrome ที่เปิดช่องให้เว็บไซต์มาสามารถรับคำสั่งเสียงจากผู้ใช้งานได้ โดยที่ผู้ใช้ไม่รู้ตัวว่าถูกอัดเสียงอยู่
Chrome รุ่นใหม่ๆ มีฟีเจอร์ที่ผู้ใช้สามารถสั่งงานด้วยเสียงไปยังเว็บไซต์ได้ (เสียงจะถูกส่งไปยังกูเกิลเพื่อแปลงเป็นข้อความ) โดยผู้ใช้ต้องกดอนุญาตให้สิทธิกับเว็บไซต์นั้นๆ เข้าถึงไมโครโฟนก่อน และทุกครั้งที่เว็บไซต์ฟังเสียงของเรา Chrome จะแสดงไอคอนปุ่มสีแดงบนแท็บของเว็บไซต์นั้นๆ
ผู้สร้างมัลแวร์ใช้เทคนิคใหม่ในการกระจายมัลแวร์ โดยใช้วิธี "ซื้อ" ความเป็นเจ้าของส่วนเสริมหรือ extension บางตัวของ Chrome (ที่มีช่องโหว่เพราะถูกอัพเดตไฟล์อัตโนมัติผ่าน Chrome) เมื่อความเป็นเจ้าของเปลี่ยนมือแล้ว เจ้าของใหม่ก็จะเริ่มฝังโค้ดโฆษณาและมัลแวร์ลงไปใน extension ตัวนั้นๆ
เว็บไซต์ Ars Technica พบว่า extension ที่เจอปัญหานี้มี 2 ตัวคือ Add to Feedly กับ Tweet This Page ซึ่งเดิมทีเป็น extension ปกติ แต่เมื่อเจ้าของเปลี่ยนมือ (โดยไม่มีใครทราบ เพราะชื่อบัญชีในระบบของ Chrome Web Store ยังเป็นชื่อเดิม) พฤติกรรมของ extension พวกนี้ก็เริ่มเปลี่ยนไป