Chris Hoffman คอลัมนิสต์ของเว็บไซต์ข่าวไอที PCWorld ได้ออกบทความที่ตั้งสมมติฐานว่าทำไม Chromebook หลายรุ่น โดยเฉพาะรุ่นแรกๆ จะไม่ได้รับความสามารถให้รันแอพ Android โดยระบุว่าอาจเป็นเพราะมีการเปลี่ยนแปลงด้านซอฟต์แวร์ทำให้ไม่สามารถทำงานได้อย่างที่คาด
Matt Novak หนึ่งในกองบรรณาธิการของเว็บไซต์ Gizmodo ออกมาเขียนบทความขนาดยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งอธิบายเหตุผลว่าทำไมเขาถึงเลือกที่จะเปลี่ยนจาก MacBook Air มาเป็น Chromebook ในปีที่แล้ว และกลายมาเป็นหนึ่งในผู้ใช้ Chromebook ในปัจจุบัน
ช่วงที่ผ่านมา เราอาจจะรู้จัก Chromebook หรือคอมพิวเตอร์ที่ใช้ Chrome OS ว่ามีราคาถูกและหาซื้อได้ไม่ยากนัก (ยกเว้น Chromebook Pixel) แต่ที่งาน Google I/O ประจำปีนี้ ตัวแทนของ Google ออกมาระบุบนเวทีว่าเตรียมที่จะร่วมมือกับพันธมิตร เปิดตัว Chromebook ที่จับตลาดระดับบนและมีราคาแพงขึ้น
บริษัทที่ถูกระบุว่าเป็นพันธมิตรในความร่วมมือดังกล่าวคือ Samsung ซึ่งกำลังทำงานกับบริษัทในการสร้าง Chromebook เพื่อจับตลาดบน เหตุผลส่วนหนึ่งเพราะการที่ Chrome OS รองรับแอพของ Android ที่ต้องมีการใช้ความสามารถต่างๆ เพิ่มขึ้น เพื่อให้ทำงานได้อย่างเต็มที่ โดยตั้งเป้าว่าจะเปิดตัวและวางจำหน่ายได้ภายในสิ้นปีนี้
หลังจากเผลอยืนยันว่า Chrome OS จะมี Play store และอนุญาตให้แอพ Android ขึ้นมารันบนระบบปฏิบัติการได้เต็มที่ ล่าสุด Google ก็แถลงเปิดตัวคุณสมบัตินี้อย่างเป็นทางการ พร้อมกับรายละเอียดเพิ่มเติมที่เกี่ยวข้อง
กล่าวโดยสรุปคือแอพ Android บน Chrome OS จะมีสถานะเป็น first-class citizen หรือใช้งานได้เต็มที่ โดยเข้าถึงคุณสมบัติต่างๆ ของเครื่องได้ ทั้งการแจ้งเตือน, การรองรับการป้อนข้อมูลผ่านคีย์บอร์ดและเมาส์, แสดงผลในสถานะที่เป็นหน้าต่างได้ 3 ขนาด, เข้าถึงไฟล์ในเครื่องได้ และสามารถเข้าถึง Wi-Fi หรือ Bluetooth ได้ หากได้รับอนุญาตจากผู้ใช้หรือผู้ดูแลระบบ ส่วนตัว Chrome OS ก็จะมาพร้อมกับ Play store เปิดโอกาสให้โหลดแอพ Android มาติดตั้งบน Chrome OS
เอชพีเปิดตัว Chromebook 13 โครมบุ๊กระดับสูงที่มีสเปคเหนือกว่าโครมบุ๊กราคาประหยัดทั่วไปหลายอย่าง ทั้งหน้าจอ, ซีพียู, และการเชื่อมต่อ
ตัวซีพียูใช้ Core รุ่นที่ 6 เริ่มจาก Pentium 4405Y ไปจนถึง Core M7 แรมเริ่มต้นที่ 4GB ไปถึง 16GB หน่วยความจำแฟลช 32GB เท่ากันทุกรุ่น และหน้าจอเริ่มตั้งแต่ 1080p ไปจนถึง QHD+ (3200 x 1800) สำหรับจอ 1080p จะมีจอด้านให้เลือก แต่ QHD+ จะเป็นจอกระจกเท่านั้น
เอเซอร์เปิดตัว Chromebook 14 for Work โครมบุ๊กสำหรับธุรกิจโดยเฉพาะ มีจุดเด่น ได้แก่ หน้าจอที่รองรับความละเอียดถึง 1080p, คีย์บอร์ดเรืองแสงและทนน้ำหกใส่, ด้านหลังจอภาพเป็นกระจก Gorilla Glass, และซีพียูเองก็อัพเกรดเป็น Skylake
เอเซอร์ระบุว่าคีย์บอร์ดสามารถทนน้ำหกใส่ได้ 330 มิลลิลิตร ตัวเครื่องโดยทั่วไปผ่านการทดสอบ MIL-STD 810G
จุดสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือพอร์ตชาร์จของโครมบุ๊กตัวนี้จะเป็น USB Type-C
ราคาเริ่มต้น 349 ดอลลาร์ และเริ่มขายเดือนพฤษภาคมนี้
ที่มา - Slashgear
Acer เปิดตัว Chromebook รุ่นใหม่ (ชื่อ Acer Chromebook 14) ฉีกแนวของ Chromebook พลาสติกมาใช้วัสดุอะลูมิเนียมทั้งเครื่อง ดีไซน์บางเบาสวยงาม พร้อมแบตเตอรี่อยู่ได้นานถึง 14 ชั่วโมง
Chromebook 14 ใช้หน้าจอ 14" IPS (เลือกได้สองความละเอียดคือ 1920x1080 หรือ 1366x768), ซีพียู Celeron, แรม 2GB/4GB, สตอเรจ eMMC 16GB/32GB, น้ำหนัก 1.55 กิโลกรัม, มาพร้อมกับพอร์ต USB 3.1 และ Wi-Fi 802.11ac
ราคารุ่นแรม 4GB/สตอเรจ 32GB อยู่ที่ 299.99 ดอลลาร์ เริ่มวางขายในอเมริกาเหนือเดือนเมษายนนี้
กูเกิลปรับเงื่อนไขการรายงานช่องโหว่ความปลอดภัยสำหรับ Chrome Reward Program (CRP) โดยขยายขอบเขตและเพิ่มเงินรางวัล
เงินรางวัลสูงสุดของ CRP ตอนประกาศอยู่ที่ 50,000 ดอลลาร์ แต่ปีนี้จะเพิ่มเป็น 100,000 ดอลลาร์ กูเกิลระบุว่าจนถึงตอนนี้ยังไม่มีนักวิจัยที่ได้รับเงินรางวัลสูงสุดตามที่ประกาศไว้ โดยรางวัลสูงสุดนี้จะได้ต่อเมื่อสามารถแฮก Chromebook ที่คงอยู่ในเครื่องแม้จะบูตเครื่องไปแล้วก็ตาม
อีกส่วนหนึ่งคือการเพิ่มขอบเขตให้ครอบคลุมการป้องกันไฟล์ดาวน์โหลดที่เป็นฟีเจอร์ใหม่
ที่มา - Google Security Blog
ซัมซุงเริ่มวางขาย Samsung Chromebook 3 โน้ตบุ๊กราคาถูกที่รัน Chrome OS โดยมีสเปกดังนี้
เมื่อปลายปีที่แล้วเราเห็นข่าว วิศวกรทีม Pixel ออกโรงเตือนคนใช้สาย USB Type-C ราคาถูก อาจเจอปัญหาสายคุณภาพต่ำ
ล่าสุด Benson Leung วิศวกรคนเดิมที่รีวิวสาย USB Type-C มาแล้วอย่างโชกโชน ลองสั่งซื้อสายยี่ห้อ Surjtech จาก Amazon เพื่อนำมาเชื่อมระหว่าง Chromebook Pixel และอุปกรณ์ดักข้อมูล USB-PB Sniffer ผลออกมาร้ายแรงถึงขั้นอุปกรณ์พัง และพอร์ต USB Type-C ของ Chromebook พัง เป็นผลให้ Chromebook บูตไม่ขึ้นเพราะมีปัญหาคอนโทรลเลอร์เลยทีเดียว (Chromebook Pixel เครื่องละ 999 ดอลลาร์)
มีข่าวน่าปีติของการช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ เมื่อ Google ในนาม Google.org ประกาศการบริจาคมูลค่า 5.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ผ่านโครงการที่ชื่อว่า Project Reconnect ในการแจกจ่ายคอมพิวเตอร์ (ในที่นี้คือ Chromebook) ให้กับองค์กรที่ดูแลเรื่องของผู้ลี้ภัยในยุโรป โดยเครื่องจะนำไปใช้ในการศึกษา การทำธุรกรรมกับภาครัฐในการให้ความช่วยเหลือ และตัวเครื่องจะอัพเดตซอฟต์แวร์ ติดตาม ปรับแต่ง และดูแลผ่านผู้ดูแลระบบได้ หน่วยงานใดที่สนใจก็ไปลงทะเบียนกันได้ ทยอยส่งมอบเครื่องครั้งแรกต้นเดือนมีนาคมนี้ครับ
ที่มา - Reconnect.nethope.org ทาง Engadget
ในงาน CES 2016 ปีนี้ นอกจากฝั่งเกมที่ ASUS เปิดตัวสินค้าใหม่มาเพียบแล้ว ฝั่งที่เกี่ยวกับกูเกิลอย่างโน้ตบุ๊กที่ใช้ Chrome OS เองก็มีเปิดตัวมาด้วยอย่าง Chromebook C202 ที่ออกแบบมาเพื่อจับตลาดการศึกษาโดยเฉพาะ
Chromebook C202 เป็นโน้ตบุ๊กเน้นความทนทาน ตัวเครื่องบุกันกระแทกจากการตกหล่น และออกแบบมาให้สามารถเปลี่ยนอะไหล่ได้ง่ายในยามที่ชิ้นส่วนพัง แม้ว่าจะมีเพียงเครื่องมือช่างพื้นฐาน ส่วนสเปคตัวเครื่องมาในระดับมาตรฐานของ Chromebook ดังนี้
มาถึงวันนี้ สถิติต่างๆ บ่งชี้ว่า Chromebook ไปได้สวยในภาคการศึกษาของสหรัฐ และมีส่วนแบ่งตลาดเกิน 50% แล้ว (อย่างไรก็ตาม เป็นแค่การนับส่วนแบ่งตลาดของบริษัทรายเดียวนะครับ)
ล่าสุดกูเกิลเลยออกมาโชว์สถิติข่มคู่แข่ง ด้วยการจ้างบริษัทวิจัย IDC สำรวจข้อมูลโรงเรียน 10 แห่งใน 7 ประเทศ ที่ใช้ Chromebook กับนักเรียนรวมเกือบ 3 แสนคนว่าเลือก Chromebook เหนืออุปกรณ์อื่นๆ ด้วยเหตุผลอะไรบ้าง
ผลออกมาว่า Chromebook มีค่าใช้จ่ายรวม (Total Cost of Ownership หรือ TCO) เพียง 61% ของคู่แข่ง, ใช้เวลาดูแลอุปกรณ์เพียง 68% ของคู่แข่ง, และใช้เวลาจัดการเรื่องความปลอดภัยเพียง 75% เมื่อเทียบกับคู่แข่ง
สำนักข่าว CNBC อ้างข้อมูลจากบริษัทวิจัย Futuresource Consulting ว่าตอนนี้ Chromebook มีส่วนแบ่งตลาดการศึกษาขั้นพื้นฐาน (K-12) ของสหรัฐอเมริกา เกิน 50% เรียบร้อยแล้ว โดยคอมพิวเตอร์ที่โรงเรียนในสหรัฐเลือกซื้อใช้ในไตรมาส 3/2015 สัดส่วน 53% คือ Chromebook
การเติบโตของ Chromebook ถือว่ารวดเร็วมาก เพราะในปี 2012 เพิ่งมีส่วนแบ่งตลาดต่ำกว่า 1% ด้วยซ้ำ ความนิยมของ Chromebook ส่งผลให้คู่แข่งของกูเกิลมีส่วนแบ่งตลาดลดลงอย่างมาก เมื่อ 3 ปีก่อน แอปเปิลมีส่วนแบ่งตลาด 52% แต่ปัจจุบันลดเหลือ 24% ส่วนไมโครซอฟท์ลดจาก 43% เหลือ 24% เท่ากัน
Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่า กูเกิลมีแผนจะรวม Chrome OS เข้ากับ Android ในท้ายที่สุด แผนการนี้เริ่มมา 2 ปีแล้ว คาดว่าจะเริ่มเห็นผลในปี 2016 และเสร็จสมบูรณ์ในปี 2017
หลังรวมระบบปฏิบัติการแล้ว เราจะเห็น Android เป็นระบบปฏิบัติการเต็มรูปแบบสำหรับพีซี และสามารถดาวน์โหลดแอพได้ผ่าน Google Play Store ส่วน Chromebook อาจได้ชื่อเรียกใหม่ (Androidbook?) ในขณะที่เบราว์เซอร์ Chrome ยังคงเหมือนเดิม
ตัวระบบปฏิบัติการ Chrome OS เดิมจะยังเปิดซอร์สโค้ดเพื่อให้บริษัทอื่นนำไปใช้ต่อได้ และทีมวิศวกรของกูเกิลจะยังดูแลแก้บั๊กให้ต่อไป เพียงแต่จะหันไปเน้นที่ Android แทน
ก่อนหน้านี้กูเกิลเคยนำแอพ Android มารันบน Chrome OS บ้างแล้ว
Toshiba อัพเดตสเปก Chromebook 2 ที่เปิดตัวในงาน IFA ปี 2014 มาใช้ซีพียูรุ่นใหม่ขึ้นเป็น Intel Core i3 Broadwell หรือ Celeron ไม่ระบุรุ่นย่อย
สเปกอย่างอื่นยังเหมือนเดิมคือหน้าจอ 13.3" 1080p, ใส่แรมได้สูงสุด 4GB, ความจุ 16GB eMMC, แบตเตอรี่ 3860 mAh, พอร์ต USB x2 ราคาขายคือ 330 ดอลลาร์สำหรับรุ่น Celeron และ 430 ดอลลาร์สำหรับรุ่น Core i3
ที่มา - AnandTech
พร้อมกับการเปิดตัวโน้ตบุ๊กรุ่นใหม่ในงาน IFA ฝั่ง Lenovo มีโน้ตบุ๊กพลัง Chrome OS รุ่นราคาถูกตัวที่สองของบริษัทมาเปิดตัวด้วยในชื่อรุ่น Chromebook 100S
Chromebook 100S เป็นโน้ตบุ๊กพลัง Chrome OS รุ่นที่สองต่อจาก N20p ที่เปิดตัวไปเมื่อกลางปี 2014 จุดเด่นของ 100S คือการเป็นโน้ตบุ๊กราคาค่อนข้างถูกมาก เปิดราคาเริ่มต้นมาเพียง 179 เหรียญหรือประมาณ 6,400 บาท (เทียบกับ N20p แล้วถูกกว่า 100 เหรียญ)
สเปคของ 100S ไม่สูงนักตามประสา Chromebook สเปคคร่าวๆ มีดังนี้
ในยุคที่อินเทอร์เน็ตสามารถเข้าถึงได้แทบทุกแห่งหน เป็นการเปิดโอกาสสู่อุปกรณ์รูปแบบใหม่ที่แทบไม่พึ่งพาหน่วยความจำ หรือแม้แต่หน่วยความจำในเครื่อง แต่หันไปใช้อินเทอร์เน็ตเป็นช่องทางสำหรับเข้าถึงการใช้งานต่างๆ แทนจึงเริ่มเกิดขึ้น กลายมาเป็น Chrome OS ระบบปฏิบัติการตัวแรกของกูเกิลที่ออกแบบมาใช้กับโน้ตบุ๊กเฉพาะรุ่นเพื่อให้ได้ซึ่งความเหนือกว่าพีซีทั่วไปทั้งความรวดเร็วในการเปิดใช้งาน ความสะดวก และความปลอดภัย โดยชื่อเรียกของโน้ตบุ๊กพวกนี้คือ Chromebook
Chromebook ในประเทศไทยตอนนี้มีผู้นำเข้ามาวางขายแล้วทั้งสิ้นสองเจ้า หนึ่งในนั้นคือ True IDC ผู้ให้บริการศูนย์ข้อมูลรายใหญ่ที่หันมาเล่นในตลาดพีซีด้วยการเปิดตัว Chromebook เครื่องแรกของบริษัทในราคาต่ำหมื่นเพียง 8,990 บาท
เดลล์หันมาเปิดตัวโครมบุ๊กสำหรับธุรกิจใช้ชื่อเรียบๆ ว่า Chromebook 13 ความพิเศษของมันคือใช้ซีพียู Core i3/i5 สูงกว่าโครมบุ๊กทั่วไป
สเปครุ่นย่อยของ Chromebook 13 ยังไม่มีรายละเอียด แต่เดลล์ระบุว่าจะใช้ซีพียู Core-i รุ่นที่ 5 (ฺBroadwell), ใส่แรมสูงสุด 8GB, มีจอให้เลือกทั้งจอกระจกแบบสัมผัสและจอด้าน, แบตเตอรี่ใช้งานได้นาน 12 ชั่วโมง, ไมโครโฟนแบบอาเรย์สำหรับประชุมออนไลน์, และคีย์บอร์ดเรืองแสง
นอกจากตัวเครื่องที่สเปคสูงกว่าโครมบุ๊กทั่วๆ ไปแล้ว ทางเดลล์จะให้บริการ ProSupport Plus สำหรับ Chromebook 13 ด้วย ทำให้เครื่องได้รับประกันอุบัติเหตุ, มีสายตอบรับแก้ปัญหา 24 ชั่วโมง, และมีผู้จัดการเฉพาะรายสำหรับลูกค้าที่ซื้อเกิน 1,000 เครื่อง
หลังจากปล่อยให้ Google เป็นผู้เล่นในตลาดพีซีราคาถูกด้วย Chromebook อยู่นาน ล่าสุดมีข่าวว่า Acer เตรียมทำตลาดโน้ตบุ๊กราคาถูกในชื่อ Cloudbook ที่มาพร้อมกับ Windows 10 เวอร์ชันเดสก์ท็อป ซึ่งสามารถรันแอพพลิเคชัน x86 ได้ แต่อาจมีการจำกัดฟีเจอร์บางอย่าง
การเปิดตัวของ Acer Cloudbook จะช่วยเพิ่มส่วนแบ่งของ Windows 10 ในตลาดพีซีราคาถูกได้มากขึ้น แม้ว่าผู้ผลิตอย่าง Asus, HP และ Acer เองมีโน้ตบุ๊กที่มีราคาต่ำกว่า 300 เหรียญสหรัฐบ้างแล้วก็ตาม แต่ Chromebook ยังคงครองตลาดนี้อยู่
Arch Linux โพสกระบวนการติดตั้งบน Hisense Chromebook C11 โครมบุ๊กรุ่นราคาถูกที่ขายปลีกเพียง 149 ดอลลาร์
แม้จะติดตั้งได้และใช้งานได้ก็ตาม แต่ฮาร์ดแวร์หลายส่วนยังคงมีปัญหา เช่น ไม่สามารถใช้วงจรถอดรหัสวิดีโอ, การเร่งความเร็วสามมิติอาจจะไม่ทำงาน, และ Wi-Fi ไม่เสถียรเมื่อมีการรับส่งข้อมูลหนักๆ
กระบวนการติดตั้งบนเว็บ Arch Linux แนะนำให้ติดตั้งบนสตอเรจภายนอกทำให้สามารถกลับไปใช้ Chrome OS บน MMC ภายในเครื่องได้ตลอดเวลา
ตอนนี้อาจจะเหมาะกับนักพัฒนาที่สนใจแฮกมาเล่น แต่ถ้า Wi-Fi กับส่วนกราฟิกทำงานสมบูรณ์ก็น่าสนใจทีเดียว
เกริ่นกันมาหลายรอบกับ Chromebook จาก True IDC วันนี้ทาง True IDC จัดงานแถลงข่าวอย่างเป็นทางการแล้ว
Chromebook ตัวนี้จะใช้แบรนด์ True IDC ทำตลาดเลย และมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า True IDC Chromebook 11 (แต่ทุกคนคงทราบดีว่าเป็น OEM มาจาก Haier Chromebook 11) สเปกแบบคร่าวๆ คือหน้าจอ 11" 1366x768, ซีพียู Rockchip RK3288 Quad-Core 1.8 GHz, แรม 2GB, กล้องหน้า 720p, ซื้อแล้วได้พื้นที่ Google Drive 100GB นาน 2 ปี
เมื่อเช้าวันนี้ ผมได้รับอีเมลจากทาง iTrueMart ในเนื้อหาส่วนหนึ่งแจ้งว่า True IDC จะเปิดตัว Chromebook 11 ในวันที่ 5 มิ.ย. 58 เวลา 13.00 น. นี้ ที่ราคา 10,990 บาท ลด 18% เหลือ 8,990 บาท
โดยในขณะนี้ ไม่สามารถเข้าไปดูหน้า True IDC Chromebook 11 บน iTrueMart ได้แล้ว แต่ยังเข้าไปดูได้จาก Google Cache ครับ
ที่มา - อีเมลจาก iTrueMart
MediaTek แสดงโครมบุ๊กของตัวเองโดยใช้ชิป MT8173 ที่เป็นคอร์ Cortex A72 สองคอร์ และ Cortex A53 อีกสองคอร์ รองรับวิดีโอ 4K และ USB Type C
เครื่องที่นำมาแสดงยังเป็นเครื่องต้นแบบ และปกติแล้วกว่าที่เครื่องต้นแบบจากผู้ผลิตชิปอย่าง MediaTek จะเป็นสินค้าจริงก็ต้องรอผู้ผลิตเครื่องเปิดตัวสินค้ากันอีกครั้ง
ความน่าสนใจของโครมบุ๊กที่ใช้ชิป MediaTek คือราคาเป็นหลัก เพราะก่อนหน้านี้โครมบุ๊กรุ่นใหม่ๆ ที่ใช้ RockChip ก็ทำให้ราคาเครื่องโดยรวมต่ำลงมาอีกหลายสิบดอลลาร์ ตอนนี้เครื่องที่ถูกที่สุดในตลาดอยู่ที่ 149 ดอลลาร์เท่านั้น
ที่มา - CNX Software
True IDC มีข่าวว่าจะนำเข้ามาขายในไทยเป็นเจ้าแรกตั้งแต่ต้นปี แต่จนตอนนี้ก็มี Acer นำเข้ามาขายเองไปก่อนแล้ว วันนี้ทาง True IDC ก็เริ่มปล่อยโฆษณาโครมบุ๊กแล้ว โดยระุบว่าราคา "ไม่ถึงหมื่น"
ภาพ Chromebook ที่ทาง True IDC นำขึ้นหน้าเฟซบุ๊กไม่ได้ระบุรุ่นโดยตรง แต่ภาพก็ตรงกับ Haier Chromebook 11 แทบทุกกระเบียดนิ้ว (ดูภาพเทียบกันท้ายข่าว)