องค์กรในปัจจุบันหลีกเลี่ยงไม่ได้ว่าโครงสร้างพื้นฐานด้านไอที จะต้องมีการใช้งานคลาวด์ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง โดยองค์กรใหม่ ๆ อย่างสตาร์ทอัพส่วนมากมักจะใช้งานคลาวด์ 100% ตั้งแต่แรก (cloud native) ทว่าองค์กรใหญ่ ๆ ที่อยู่มานาน อาจจะตั้งแต่ก่อนยุค dot com ล้วนมีการใช้งานเซิร์ฟเวอร์แบบ on-premise ซึ่งปัจจุบันก็น่าจะควบคู่ไปกับการใช้ Public Cloud
ทว่าปัญหาของหลาย ๆ องค์กรคืออาจจะยังไม่รู้แน่ชัดว่า ควรย้ายไปใช้งาน Public Cloud ทั้งหมด 100% เลยดีหรือไม่และเป็นไปได้แค่ไหน หรือใช้แบบ Hybrid Cloud แบบนี้ไปเรื่อย ๆ ดี คุณนพดล เจริญทอง ตำแหน่ง Head of General Business for Thailand and Emerging จาก SAP Indochina ได้ให้ข้อเสนอและมุมมองที่ค่อนข้างน่าสนใจเอาไว้ในงาน Blognone Tomorrow 2019 ที่ผ่านมา
วันนี้เราจะมาสอนวิธีลงทะเบียนเพื่อสมัครรับเซิร์ฟเวอร์คลาวด์บน Huawei Cloud ไปทดลองใช้กันได้แบบฟรีๆ ในพื้นที่กรุงเทพฯ กัน ก่อนอื่นคุณต้องสมัครใช้บัญชี Huawei Cloud แล้วกรอกข้อมูลบัตรเครดิต หลังจากที่กรอกข้อมูลแล้วระบบจะเรียกเก็บเงิน และคืนเงินเข้าบัตรให้โดยทันที การเก็บเงินเพียงชั่วคราวนี้เป็นการยืนยันว่าบัตรเครดิตของคุณใช้งานได้เท่านั้น
ทีนี้ เรามาเริ่มกันเลย โดยเริ่มจากเข้าเว็บไซต์เพื่อดูแพ็กเกจฟรีทั้งหมดที่เรามีให้บริการได้ที่ huaweicloud.com
เราเห็นข่าว VMware ไล่จับมือเป็นพันธมิตรกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ๆ เพื่อนำแพลตฟอร์ม VMware Cloud Foundation ของตัวเองไปรันบนเครื่องของผู้ให้บริการเหล่านี้ เริ่มตั้งแต่ AWS, Azure และรายล่าสุดก่อนหน้านี้คือ Google Cloud Platform
ในงาน Oracle OpenWorld เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว VMware ก็ประกาศความร่วมมือแบบเดียวกันกับ Oracle Cloud Infrastructure ช่วยให้ลูกค้าสามารถย้ายงานจาก VMware vSphere ที่รันแบบ on-premise ไปรันบนคลาวด์ของ Oracle ได้ทันที
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Private Link บริการเครือข่ายภายในที่วิ่งอยู่บน Azure Private Network (VNet) ทำให้การเชื่อมต่อระหว่าง On-Prem กับคลาวด์วิ่งผ่าน Private Endpoint เท่านั้น ไม่ผ่านเกตเวย์, VPN, ExpressRoute หรือผ่าน Public IP ใด ๆ
Disney ประกาศจับมือกับไมโครซอฟท์ในการนำกระบวนการผลิตหนังหลาย ๆ ขั้นตอน ทั้งในกระบวนการ Production และ Postproduction อย่างการตัดต่อ ลงเสียง เรนเดอร์ ฯลฯ ขึ้นไปบนคลาวด์ Azure โดยความร่วมมือนี้มีระยะเวลา 5 ปี
ความร่วมมือนี้ถูกผลักดันโดย StudioLAB ที่พัฒนาเทคโนโลยีด้านการสร้างหนังของ Disney มีเป้าหมายคือย้ายกระบวนการสร้างหนังทั้งหมดขึ้นไปไว้บนคลาวด์ (from scene to screen) โดยช่วงแรก ๆ จะเน้นไปที่การย้ายกระบวนการตัดต่อขึ้นไปบนคลาวด์ก่อน โดยอาศัยเครื่องมือจาก Avid ที่เป็นพาร์ทเนอร์กับไมโครซอฟท์อยู่แล้ว
ที่มา - Microsoft
องค์กรมากมายต่างทยอยย้ายข้อมูลมาเก็บไว้ในคลาวด์ และค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่คลาวด์ก็ลดลงเรื่อย ๆ ตอนนี้ HUAWEI CLOUD มีแคมเปญใหม่มาให้ลูกค้าได้ทดลองใช้ระบบคลาวด์โดยไม่เสียค่าบริการใด ๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินคุณไปได้เกือบ 1 แสนบาทเลยทีเดียว
HUAWEI CLOUD มอบแพ็กเกจการใช้งานฟรีเป็นระยะเวลา 12 เดือน โดยครอบคลุมบริการยอดนิยมมากมาย บวกกับบริการที่ไม่มีค่าใช้จ่ายอยู่แล้วอีก 10 รายการ เพียงสมัครสมาชิกHUAWEI CLOUD คุณจะได้รับสิทธิ์ใช้บริการฟรีนานถึง 12 เดือน
เมื่อเดือนเมษายนปีนี้ กูเกิลเปิดตัว Cloud Run บริการ serverless สำหรับรันงานใน container ที่เป็นคำสั่ง HTTP แบบ stateless ซึ่งรวมข้อดีของแนวคิด serverless กับ container เข้าไว้ด้วยกัน
วันนี้กูเกิลต่อยอดด้วยการออกปุ่ม Cloud Run Button ที่ใช้ประโยชน์จากพลังของ Cloud Run โดยเราสามารถนำปุ่มนี้ไปแปะไว้บนเว็บไซต์ใดก็ได้ ให้ใครก็ได้กดได้ เมื่อมีคนกดปุ่มนี้ ระบบของ Cloud Run จะไปดึงซอร์สโค้ดของเราจาก Git มาดีพลอยบนโฮสต์ Google Cloud Platform (เบื้องหลังคือ Cloud Run) ให้อัตโนมัติ
การใช้คลาวด์กลายเป็นความจำเป็นขององค์กรในยุคนี้ และเมื่อถึงเวลาที่ต้องเลือกผู้ให้บริการ Microsoft Azure คือผู้ให้บริการที่ดีที่สุดสำหรับผู้ใช้จำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ที่ใช้ซอฟต์แวร์ไมโครซอฟท์ในโครงสร้างพื้นฐานเดิมอยู่แล้ว ที่ Azure สามารถช่วยลดภาระการจัดการโครงสร้างพื้นฐาน ไปพร้อมๆ กับการลดค่าใช้จ่ายลง เรามาดู 3 เหตุผลที่องค์กรควรเลือก Azure เป็นผู้ให้บริการคลาวด์
Gartner ออกรายงานส่วนแบ่งการตลาดพับลิกคลาวด์ (Iaas) ประจำปี 2018 ภาพรวมทั้งตลาดเติบโตที่ 31.3% มูลค่าอยู่ที่ 3.24 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดย AWS ของ Amazon ยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดเบอร์ 1 อยู่เช่นเดิมที่ 47.8% โตขึ้นมา 26.8% ทิ้ง Azure ของไมโครซอฟท์เบอร์ 2 ที่มีส่วนแบ่งเพียง 15.5% แต่ก็เติบโตถึง 60.9%
ส่วนเบอร์ 3 เป็น Alibaba Cloud ส่วนแบ่ง 7.7% เติบโตมากสุดถึง 90.6% ตามมาด้วย Google Cloud และ IBM ที่ส่วนแบ่ง 4% และ 1.8% ตามลำดับ โดยผู้ให้บริการท็อป 5 มีส่วนแบ่งในตลาดรวมกันกว่า 77%
Microsoft เปิดตัว Azure Dedicated Host บริการใหม่จาก Azure เช่าเซิร์ฟเวอร์ทั้งเครื่องเป็นของผู้เช่าแต่เพียงผู้เดียวเพื่อใช้รัน VM โดยไม่มีใครมารัน VM หรือเวิร์คโหลดใด ๆ ร่วมด้วย
Azure Dedicated Host จะช่วยลูกค้าองค์กรที่ต้องทำตามข้อกำหนดต่าง ๆ เกี่ยวกับเรื่องความปลอดภัย, ความถูกต้องของข้อมูล และการมอนิเตอร์ เพราะเมื่อจองใช้งานเซิร์ฟเวอร์แล้ว จะไม่มีใครมาใช้งานร่วมด้วย และเมื่อเป็นของตัวเองแล้ว ผู้ใช้จึงสามารถกำหนดค่าให้โฮสต์ได้หลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นหน่วยประมวลผล, จำนวนคอร์ หรือขนาดของ VM ที่จะดีพลอยบน Dedicated Host รวมถึงสามารถกำหนดการ maintanance window เองได้
VMware ประกาศความร่วมมือกับ Google Cloud โดยองค์กรที่รันงานใน VMware vSphere ภายในระบบ on-premise ของตัวเองอยู่แล้ว สามารถย้ายงานไปรันบน Google Cloud Platform (GCP) ได้ทันที
ความร่วมมือนี้ไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจนัก เพราะ VMware มีความร่วมมือแบบเดียวกันกับ AWS ตั้งแต่ปี 2016 และเมื่อต้นปีนี้ก็ประกาศทำ Azure VMware Solutions กับฝั่งไมโครซอฟท์
แต่สิ่งที่น่าสนใจคือ โซลูชันของ VMware บน GCP รอบนี้ VMware ไม่ได้ทำเอง แต่ใช้พาร์ทเนอร์คือบริษัท CloudSimple เป็นผู้พัฒนาโซลูชันให้ โดยฝั่งกูเกิลเป็นผู้ให้บริการซัพพอร์ตขั้นต้น
ไมโครซอฟท์ซื้อ LinkedIn มาตั้งแต่ปี 2016 และทยอยควบรวมกิจการของ LinkedIn เข้ามาทีละส่วน ล่าสุดถึงคิวของระบบไอที โดย LinkedIn ประกาศย้ายระบบทั้งหมดขึ้น Azure แล้ว
ก่อนหน้านี้ LinkedIn ใช้วิธีสร้างระบบไอทีของตัวเอง วางศูนย์ข้อมูลเอง และพัฒนาซอฟต์แวร์บางส่วนใช้เอง (ตัวที่ดังที่สุดคือ Apache Kafka) โดยระบบหลักทำเอง และใช้คลาวด์ Azure สำหรับงานบางส่วนอยู่แล้ว
ในโลกยุคคลาวด์ อาจเหลือพื้นที่ให้กับผู้ขายฮาร์ดแวร์ฝั่งองค์กรน้อยลงเรื่อยๆ ซึ่งทางออกที่พบเห็นบ่อยๆ คือสู้ไม่ได้ก็เข้าร่วมมันซะเลย
NetApp ผู้ขายอุปกรณ์สตอเรจชื่อดัง ก็เริ่มผันตัวมาในทิศทางนี้เช่นกัน (นอกจากการขยายไปยังบริการด้านอื่น เช่น Kubernetes) โดยอาศัยจุดเด่นด้านสตอเรจความเร็วสูง ที่มีฟีเจอร์ด้านองค์กรครบครัน เยอะกว่าที่บริการสตอเรจทั่วไปที่ผู้ให้บริการคลาวด์มีให้ (เช่น ฟีเจอร์ด้าน disater recovery, data tiering, snapshot, provisioning)
NetApp จึงจับมือกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ทั้ง 3 เจ้า ออกสตอเรจเกรด NetApp เวอร์ชันคลาวด์ในชื่อ NetApp Cloud Volumes ให้เช่าใช้งานกับบนคลาวด์ได้โดยตรง
ไมโครซอฟท์ประกาศดีลใหญ่กับ AT&T โอเปอเรเตอร์ยักษ์ใหญ่ของสหรัฐอเมริกา โดย AT&T จะย้ายระบบเกือบทั้งหมด (ยกเว้นระบบที่เกี่ยวกับงานเครือข่าย) ขึ้นคลาวด์ภายในปี 2024 ภายใต้วิสัยทัศน์ "public cloud first" หรือระบบงานทั้งหมดจะอยู่บนคลาวด์เป็นหลัก
ภายใต้ข้อตกลงนี้ พนักงานของ AT&T กว่า 250,000 คนจะย้ายไปใช้ Microsoft 365 (บริการ Windows + Office แบบจ่ายรายเดือน) และย้ายระบบงานที่ไม่เกี่ยวกับเครือข่ายขึ้น Microsoft Azure (AT&T ยังใช้บริการคลาวด์ยี่ห้ออื่นๆ เช่น IBM ด้วย ไม่เอ็กซ์คลูซีฟเฉพาะ Azure อย่างเดียว)
นอกจากนี้ ทั้งสองบริษัทจะร่วมกันวิจัยเทคโนโลยีในอนาคตทั้ง 5G, IoT และ AI ในแง่มุมต่างๆ เช่น edge computing แบบ low latency ที่เกิดจากเทคโนโลยี 5G ด้วย
หน่วยงานด้านการปกป้องข้อมูล (HBDI) ของรัฐ Hesse ทางตอนกลางของเยอรมนี (มีเมืองหลักคือ Frankfurt am Main) ประกาศสั่งห้ามไม่ให้โรงเรียนของรัฐใช้งาน Office 365 โดยให้เหตุผลว่ากังวลถึงความเป็นส่วนตัวของข้อมูลครูและนักเรียน
ถึงแม้ไมโครซอฟท์จะมีเซิร์ฟเวอร์อยู่ในยุโรปที่อยู่ภายใต้ GDPR แต่ทางหน่วยงานก็กังวลว่าข้อมูลดังกล่าวยังคงถูกส่งกลับสหรัฐ ตั้งแต่ข้อมูลสาเหตุความผิดปกติของตัวแอป ไปจนถึงเนื้อหาในเอกสาร ที่ถูกใช้ในเครื่องมือตรวจสอบคำผิดและแปลข้อความ ซึ่งละเมิด GDPR โดย Ronellenfitsch ระบุด้วยว่าไม่ใช่แค่ไมโครซอฟท์เท่านั้น แต่โซลูชันคลาวด์ของ Google และ Apple ก็เข้าข่ายนี้เหมือนกัน
ในยุคสมัยที่แอพรุ่นใหม่ๆ รันบน Kubernetes กันเป็นมาตรฐาน (Kubernetes คืออะไร?) บริษัทหลายรายก็ออกซอฟต์แวร์หรือโซลูชันเกี่ยวกับ Kubernetes กันมากมาย ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในรูปดิสโทร Kubernetes ที่นำเวอร์ชันโอเพนซอร์สมาปรับปรุง เพิ่มฟีเจอร์สำหรับตลาดองค์กรเข้ามา
NetApp เป็นบริษัทสาย enterprise อีกรายที่เข้าสู่ตลาด Kubernetes เช่นกัน แต่โซลูชัน NetApp Kubernetes Service (ตัวย่อ NKS) ต่างไปจากดิสโทร Kubernetes อื่นๆ (แม้ชื่อชวนให้คิดเช่นนั้น) เพราะสถานะของมันเอาไว้บริหารคลัสเตอร์ Kubernetes บนคลาวด์ยี่ห้อต่างๆ อีกทีหนึ่ง
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการใหม่ในตระกูล Azure คือ Azure Bastion (แปลว่าป้อมปราการ) มันเป็นบริการสำหรับเชื่อมต่อเข้าไปยัง virtual machine (VM) อย่างปลอดภัยผ่าน Remote Desktop Protocol (RDP) หรือ Secure Shell (SSH) โดยไม่ต้องเปิด public IP ให้กับ VM
ช่องทางการสื่อสารของ Bastion ใช้เครือข่าย Azure Virtual Network (VNet) สร้างเป็น private IP วิ่งกันในเครือข่ายที่รู้จัก, การเชื่อมต่อทั้งหมดเข้ารหัสอยู่บน Secure Sockets Layer (SSL) และสามารถกดคลิกเดียวเพื่อเข้าถึง VM ตัวที่ต้องการผ่าน Azure Portal ได้เลย
วิธีคิดเงินของ Azure Bastion คิดยกเป็นระยะเวลาการใช้งาน (0.095 ต่อชั่วโมง) และปริมาณข้อมูล outbound คิดเป็น GB โดยฟรี 5GB แรก ตอนนี้ Azure Bastion ยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว
Amazon ประกาศเพิ่มตัวเลือกให้เครื่อง EC2 C5 ซึ่งเป็นเครื่องประเภทที่นิยมใช้ในงานที่ต้องการการคำนวณปริมาณมาก โดยเพิ่มตัวเลือกขนาด instance อีกสองแบบ คือ 12xlarge และ 24xlarge พร้อมกับตัวเลือกเครื่องแบบ bare metal ซึ่งเครื่องทั้งหมดรันบนซีพียู Intel Xeon Scalable รุ่นที่สอง โค้ดเนม Cascade Lake
สำหรับเครื่อง c5.12xlarge มี logical processor ทั้งหมด 48 ตัว, เมมโมรี่ 96GiB, แบนด์วิดท์แบบ EBS-Optimized 7Gbps และแบนด์วิดท์สำหรับเครือข่าย 12Gbps
DevOps Cloud by Cloud HM บริการ Cloud Server ในไทยบนคุณภาพสากล
DevOps Cloud เป็นบริการ Cloud Server ที่ตั้งอยู่ในประเทศไทย บน NVMe All-Flash Storage เสริมความมั่นใจบริการด้วยการันตี SLA 99.9% ให้ความช่วยเหลือโดยคนไทยทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง พร้อม Features เสริมการใช้งานที่เหนือกว่าใคร
ถ้าใครโตทันทศวรรษ 90s และ 2000s หนึ่งในคู่ไม้เบื่อไม้เมาของโลกไอทีคือ Microsoft และ Oracle ที่ต้องปะทะคารมกันอยู่แทบตลอดเวลา
แต่เมื่อสภาพตลาดเปลี่ยนไปจากเดิมมาก คู่แข่งรายใหญ่ของ Oracle กลับกลายเป็น AWS ในขณะที่ Microsoft Azure ก็ยังเป็นเบอร์สองในตลาดคลาวด์ ที่ส่วนแบ่งตลาดยังตามหลัง AWS อยู่มากพอสมควร
สถานการณ์นี้ทำให้เราเห็นดีลที่อาจไม่เคยนึกฝันถึง เมื่อ Microsoft Azure ผนึกกำลังเป็นพันธมิตรกับ Oracle Cloud โดยเชื่อมระบบคลาวด์ของแต่ละฝั่งเข้าหากัน และเปิดให้ลูกค้าสามารถย้ายงานจากคลาวด์ค่ายหนึ่งไปยังอีกค่ายได้ทันที
Google Cloud รายงานถึงสาเหตุการล่ม 5 ชั่วโมงเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเกิดจากการยิงคอนฟิกไปยังเซิร์ฟเวอร์ โดยตั้งใจจะปรับคอนฟิกเซิร์ฟเวอร์จำนวนไม่มากนักในโซนเดียว แต่กลับตั้งค่าผิดพลาดจนคอนฟิกถูกส่งไปยังเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก ในหลายโซน คอนฟิกนี้ทำให้เซิร์ฟเวอร์เหล่านั้นไม่ยอมใช้ช่องทางเน็ตเวิร์คไปครึ่งหนึ่งของที่มีอยู่จริง และพยายามเบียดกันใช้เน็ตเวิร์คส่วนที่เหลือ ทำให้เน็ตเวิร์คเริ่มโอเวอร์โหลด
เมื่อคืนที่ผ่านมา Google Cloud ล่มไปราว 5 ชั่วโมง ซึ่งการล่มครั้งนี้ส่งผลต่อบริการของ Google ไปจนถึงบริการจากบริษัทอื่นที่ใช้คลาวด์ของ Google เช่น Shopify, Snap, Discord โดยผู้ใช้บริการจะพบปัญหาช้า หรือมีข้อผิดพลาดปรากฏขึ้นมาระหว่างการใช้งาน
หลังจากกู้ระบบคืนมาได้แล้ว Google ได้แถลงว่า การล่มครั้งนี้มีสาเหตุจากความหนาแน่นของเครือข่ายในทางตะวันออกของสหรัฐฯ ซึ่งส่งผลทั้ง Google Cloud, G Suite และ YouTube โดย Google จะทำการสอบสวนภายในและปรับปรุงระบบเพื่อป้องกันหรือลดการเกิดซ้ำในอนาคต เมื่อเสร็จสิ้นกระบวนการแล้ว Google จะเปิดเผยรายละเอียดในรายงานของเหตุการณ์ครั้งนี้ต่อไป
Amazon ประกาศปรับวิธีคิดเงินระบบ AWS Config ซึ่งเป็นระบบที่รวมการตั้งค่าทั้งที่ AWS กำหนดให้และการตั้งค่าแบบที่ผู้ใช้กำหนดเอง จากเดิมที่คิดเงินจากจำนวนคอนฟิกที่แอคทีฟ มาเป็นการคิดตามจำนวนครั้งในรันคอนฟิกแทน โดยจะมีผลในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
การคิดเงินแบบใหม่นี้ จะช่วยให้ผู้ใช้ที่มีคอนฟิกจำนวนมากประหยัดค่าใช้จ่าย เพราะผู้ใช้ AWS มักจะมีคอนฟิกสำหรับตรวจสอบว่าทรัพยากรต่าง ๆ ที่รันอยู่บน AWS เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้หรือไม่ และถ้าไม่เป็นไปตามกฎที่ตั้งไว้จะทำอะไร (เช่น ไม่อนุญาตให้สร้างถ้าไม่มีแท็กบางอย่าง เป็นต้น)
หลังโครงการ Kubernetes ออกเวอร์ชัน 1.14 ที่รองรับ Windows container เต็มตัว เมื่อปลายเดือนมีนาคม
ทางดิสโทร Kubernetes ต่างๆ ก็เริ่มนำเวอร์ชัน 1.14 ไปใช้งาน โดยเฉพาะ Kubernetes บนคลาวด์ ไม่ว่าจะเป็น Azure Kubernetes Service (AKS), Amazon EKS และ Google Kubernetes Engine (GKE) ทำให้บริการคลาวด์รายใหญ่ๆ เริ่มรองรับ Windows container กันตามมาด้วย
แต่ด้วยรอบการออกรุ่นใหม่ของ Kubernetes ทุก 3 เดือน อีกทั้งออกรุ่นย่อยที่เป็น point releases บ่อยๆ ทำให้ดิสโทรเหล่านี้เริ่มตามไม่ทัน อีกทั้งยังต้องซัพพอร์ตลูกค้าองค์กรที่ต้องการเสถียรภาพมากกว่าฟีเจอร์ใหม่ๆ ทางออกจึงเป็นการแยก release channel แบบที่เราคุ้นเคยกับ Chrome
ไมโครซอฟท์เปิดตัวบริการ Azure Blockchain Service บริการสำหรับจัดการและคอมไพล์ Consortium Blockchain ทำงานร่วมกับ Azure AD สำหรับเพิ่มสมาชิก กำหนดสิทธิ์และมอนิเตอร์สถานะและกิจกรรมบนเครือข่าย
นอกจากตัวบริการเต็ม ไมโครซอฟท์ยังออกส่วนเสริมสำหรับ Visual Studio Code สำหรับการสร้าง คอมไพล์สมาร์ทคอนแทร็คและดีพลอยบนบล็อคเชนสาธารณะหรือบน consortium ใน Azure Blockchain Service ในส่วนของโค้ดสามารถจัดการได้ด้วย Azure DevOps
ลูกค้ารายแรกของ Azure Blockchain Service คือ Quorum บล็อคเชนของ J.P. Morgan ที่ใช้ Ethereum ขณะที่ไมโครซอฟท์ระบุว่าจะเพิ่มฟีเจอร์ให้กับ Azure Blockchain Service เพิ่มเติมอีกเร็วๆ นี้ อย่างระบบการจัดการโทเคน, ปรับปรุงการทำงานร่วมกับแอปพลิเคชันอื่นๆ และรองรับ R3