Naver Cloud Platform (NCP) ธุรกิจคลาวด์ของ Naver บริการค้นหารายใหญ่ของเกาหลีใต้และบริษัทแม่ของ LINE ประกาศเปิดบริการ Neurocloud ที่เป็นคลาวด์สำหรับตั้งในศูนย์ข้อมูลลูกค้า เน้นกลุ่มสถาบันการเงินที่ไม่ต้องการย้ายข้อมูลออกจากศูนย์ข้อมูลของตัวเอง
NCP เปิดบริการในเกาหลีใต้, สหรัฐฯ, ญี่ปุ่น, ฮ่องกง, สิงคโปร์, และเยอรมัน โดยมีแผนขยายบริการมายังไทย, เวียดนาม, และไต้หวันในอนาคต
Neurocloud ให้บริการพื้นฐานสำคัญ เช่น เซิร์ฟเวอร์, สตอเรจ (มีเฉพาะ block storage และ NAS), บริการ Kubernetes, และบริการฐานข้อมูล (MySQL, Redis, PostgreSQL)
IBM และ Red Hat ประกาศความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์กับ Adobe โดยแบ่งออกเป็น 3 เรื่องดังนี้
ไมโครซอฟท์เปิด Azure Stack HCI เป็นสถานะพรีวิวแบบทั่วไป สำหรับองค์กรที่ต้องการสร้างคลาวด์ในองค์กร (on-premise cloud) ด้วยต้นทุนที่ไม่สูงมากนัก
ตัว Azure Stack HCI เป็นวินโดวส์เซิร์ฟเวอร์รุ่นพิเศษ ที่มีบริการ Hyper-V, Storage Space Direct, และ Software Defined Network มาด้วย โดยโมเดลการคิดค่าบริการจะจ่ายเป็นรายเดือนตามจำนวนซีพียูไม่สามารถซื้อขาดแบบวินโดวส์ปกติ และจะต้องซื้อไปพร้อมกับฮาร์ดแวร์ที่ได้รับการรับรองเท่านั้น โดยระหว่างที่ยังอยู่ในสถานะพรีวิวจะไม่มีค่าไลเซนส์
ไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ Minecraft มาตั้งแต่ปี 2014 แต่ยังคงปล่อยให้ Minecraft ใช้เทคโนโลยีที่ไม่ใช่ของไมโครซอฟท์มายาวนาน ทั้งโปรแกรมเวอร์ชัน Java และรันบนคลาวด์ AWS (ภายหลัง Minecraft ออกเวอร์ชัน C++ ที่เรียกว่า Bedrock Edition มาเพิ่มเติม แต่เวอร์ชัน Java ก็ยังอยู่)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศย้ายเซิร์ฟเวอร์ของ Minecraft จาก AWS มาเป็น Azure แล้ว โดยให้ข้อมูลสั้นๆ แค่ว่าทยอยย้ายระบบมาสู่ Azure เป็นเวลาหลายปีแล้ว และจะย้ายเสร็จสิ้นภายในปีนี้
ก่อนหน้านี้มีกรณีคล้ายๆ กันคือ LinkedIn ที่ซื้อมาตั้งแต่ปี 2016 ก็ทยอยย้ายมา Azure เสร็จในปี 2019
Netflix ประกาศเปิดบริการ NetFX บริการเดสก์ทอปบนคลาวด์ (Desktop-as-a-Service - DaaS) เพื่อการสร้างสรรค์งานกราฟิกบนภาพยนตร์โดยเฉพาะ โดยแพลตฟอร์มนี้จะเป็นตัวเชื่อมผู้ผลิตซอฟต์แวร์ต่างๆ, ศิลปินทำกราฟิก, และผู้สร้างคอนเทนต์ให้ทำงานร่วมกันผ่านคลาวด์
แม้ Netflix จะเป็นแพลตฟอร์มสตรีมมิ่งที่ทำเงินจากผู้ชมเป็นหลักแต่ที่ผ่านมาบริษัทก็พยายามปรับปรุงกระบวนการทำงานของผู้สร้างคอนเทนต์ไปพร้อมกัน เช่น การสร้างเครื่องมือจัดการกองถ่าย Prodicle (ที่เพิ่งเลิกทำแบบ PWA ไปปีที่แล้ว) ตัว NetFX เองจะทำให้ศิลปินที่ทำงานกราฟิกสามารถเข้ามาทำงานกับข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ผ่านทางหน้าจอเสมือนได้ โดย Netflix ระบุว่าความสามารถเช่นนี้สำคัญมากในช่วง COVID-19 นี้
ออราเคิลเปิดบริการ Oracle Dedicated Region Cloud@Customer ขยายจากบริการ Cloud@Customer เดิมที่เป็นเซิร์ฟเวอร์ติดตั้งในศูนย์ข้อมูลลูกค้า มาเป็นพื้นที่ที่บริหารโดยออราเคิลเองทั้งหมด โดยออราเคิลมองเทียบเท่าบริการคลาวด์หนึ่งภูมิภาค (region) ของออราเคิลเอง
จุดเด่นของ Dedicated Region คือออราเคิลระบุว่าจะได้บริการคลาวด์ทั้งหมดไปใช้งานในศูนย์ข้อมูลตัวเอง เช่นบริการฐานข้อมูลก็จะครบเท่าที่ออราเคิลให้บริการบนคลาวด์ หรือบริการรายล้อมเช่น API Gateway, Container Registry ก็จะใช้งานได้ทั้งหมด และบริการนี้ไม่ต้องการการสั่งงานผ่านคอนโซลของคลาวด์แต่สามารถต่อตรงเพื่อใช้งานได้เลย ทำให้ไม่มีปัญหาหากเน็ตเวิร์คมีปัญหาแล้วเชื่อมต่อคลาวด์ภายนอกไม่ได้
HEY ผู้ให้บริการอีเมลที่เพิ่งมีปัญหากับแอปเปิล เขียนบล็อกเล่าถึงการใช้คลาวด์ของบริษัท โดยการใช้ Spot Instance ของ AWS ที่มีค่าใช้ใช้งานเปลี่ยนไปตามปริมาณเครื่องคงเหลือของ AWS แต่ทาง HEY ก็ระบุว่ายังคงสามารถให้บริการโดยผู้ใช้อีเมลไม่รู้สึกอะไรแม้จะมีเครื่องถูกปิดไปตลอดเวลา
เมื่อวานนี้ AWS Outpost เริ่มทำตลาดในประเทศไทย วันนี้ทาง AWS โดยคุณ Paul Chen, Head of Solutions Architect ASEAN ก็แถลงข่าวในประเด็นนี้เพิ่มเติม
Amazon ประกาศเพิ่มประเทศที่ให้บริการ AWS Outpost เซิร์ฟเวอร์คลาวด์สำหรับติดตั้งในองค์กรเพิ่มขึ้นอีก 9 ประเทศ จากเดิมที่จำกัดประเทศที่ใช้งานได้ต้องเป็นประเทศที่มีศูนย์ข้อมูล AWS อยู่เท่านั้น โดยเพิ่ม บราซิล, อินเดีย, อิสราเอล, มาเลเซีย, เม็กซิโก, นิวซีแลนด์, แอฟริกาใต้, ไต้หวัน, และไทย ตรงตามที่ AWS ประเทศไทยเคยระบุมาก่อนหน้านี้
ตัว Outpost เป็นตู้เซิร์ฟเวอร์สำเร็จรูปที่จัดการภายในโดย AWS ทั้งหมด สำหรับองค์กรที่มีเงื่อนไขด้าน latency หรือติดกฎการคงข้อมูลไว้ในประเทศ แต่กระบวนการจัดการนั้นต้องเปิดทางให้ทาง AWS เข้าไปจัดการได้ และการสั่งงานต้องผ่านทางคอนโซลของ AWS อยู่ดี
AWS มีเซิร์ฟเวอร์สำหรับสั่งมาใช้งานแบบ edge computing ในชื่อตระกูล Snow เช่น Snowball เซิร์ฟเวอร์สตอเรจความจุ 50TB แต่น้ำหนักก็มากกว่า 20 กิโลกรัม วันนี้ทางบริษัทก็เปิดตัว Snowcone เซิร์ฟเวอร์ตัวเล็กที่สุดในกลุ่ม
Snowcone มีซีพียูไม่ระบุรุ่นจำนวน 2 คอร์ แรม 4GB และสตอเรจ 8TB ตัวเครื่องในเคสแบบสมบุกสมบัน สามารถสร้างเครื่อง EC2 ได้ 3 ขนาด โดย snc1.medium จะกินทรัพยากรทั้งหมด
แนวทางการใช้งาน Snowcone เช่นการใช้เป็นเกตเวย์สำหรับส่งข้อมูลขึ้น AWS โดยอาจจะมีการประมวลผลบางส่วนก่อน เช่น การออกกองถ่ายและเซฟข้อมูลตลอดเวลา, การเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์ IoT และเครื่องจักรอุตสาหกรรม
หลังจากเมื่อวานนี้บริการ IBM Cloud ล่มทั่วโลกเป็นเวลาสองชั่วโมง ทางไอบีเอ็มก็ชี้แจงเบื้องต้นในเว็บ status ระบุว่ากำลังสอบสวนสาเหตุ แต่ก็พบว่าผู้ให้บริการเครือข่ายภายนอกหาเส้นทางผิดพลาดจนส่งทราฟิกเข้าเครือข่ายของไอบีเอ็มจำนวนมาก และตอนนี้ยังไม่พบว่ามีข้อมูลลูกค้าเสียหายหรือมีเหตุความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แต่อย่างใด
ช่วงเช้าวันนี้ (10 มิ.ย.) ผู้ใช้ IBM Cloud พบปัญหาบริการล่มทั่วโลก และถึงขั้นหน้าเพจ IBM Cloud Status ก็ล่มตามด้วยอยู่พักหนึ่ง (ตอนนี้หน้า Status กลับมาใช้ได้แล้ว)
อัพเดตช่วง 10:30 จากหน้า Status ของ IBM Cloud ระบบส่วนใหญ่กลับคืนมาเกือบทั้งหมดแล้ว
NetApp ประกาศซื้อกิจการ Spot บริษัทด้านจัดการระบบคลาวด์และทรัพยากรบนคลาวด์ให้ประหยัดค่าใช้จ่าย โดยไม่เปิดเผยมูลค่า
ผลิตภัณฑ์หลักของ Spot เรียกว่า Cloud Analyzer เป็นซอฟต์แวร์วิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานคลาวด์ และปรับแต่งวิธีการใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด (จากทรัพยากรที่จองไว้เกิน หรือจองไว้แต่ไม่ได้รันงานจริง) เพื่อประหยัดค่าคลาวด์ลง สามารถใช้ได้กับคลาวด์ข้ามค่าย ทั้ง AWS, Azure, GCP และเวิร์คโหลดหลายรูปแบบ
Red Hat ประกาศความร่วมมือกับ AWS เปิดตัว Amazon Red Hat OpenShift ซึ่งเป็นการนำแพลตฟอร์ม OpenShift สำหรับจัดการ Kubernetes เชิงพาณิชย์ของ Red Hat ไปรันบน AWS โดยทั้งสองบริษัทร่วมกันบริหารและซัพพอร์ตให้ (ก่อนหน้านี้ AWS รัน OpenShift ได้อยู่แล้ว แต่ผู้ใช้ต้องจัดการระบบเอง)
ในแง่ฟีเจอร์ซอฟต์แวร์คงไม่มีอะไรต่างจาก OpenShift เวอร์ชันปกติของ Red Hat แต่จุดขายหลักคือการทำงานร่วมกับระบบของ AWS เช่น การเรียกใช้งาน Auto Scaling เพื่อขยายจำนวนโหนดในระบบ และช่วยเปิดทางให้ลูกค้าองค์กรสามารถย้ายโหลดงานจาก OpenShift แบบ on-premise มารันบนเครื่องของ AWS ได้ด้วย
Red Hat ระบุว่าเริ่มเปิดทดสอบ Amazon Red Hat OpenShift แบบ early access ในเร็วๆ นี้ โดยยังไม่ระบุราคา
กูเกิลเปิดตัว Google Cloud VMware Engine บริการสำหรับรัน VM จาก VMware เต็มรูปแบบบนเครื่องของ Google Cloud
เมื่อกลางปี 2019 กูเกิลจับมือกับ VMware เปิดตัวบริการลักษณะเดียวกันนี้ แต่บริหารโดยบริษัทพาร์ทเนอร์ชื่อ CloudSimple ซึ่งหลังจากนั้นไม่นาน กูเกิลก็ซื้อกิจการ CloudSimple มันซะเลย
หลังซื้อกิจการเรียบร้อยแล้ว กูเกิลจึงนำโซลูชันของ CloudSimple มาให้บริการภายใต้ชื่อกูเกิลเองโดยตรง กลายมาเป็น Google Cloud VMware Engine นั่นเอง
ปัญหาสำคัญของการอัพเดตเคอร์เนลลินุกซ์ คือต้องรีบูตเครื่องซึ่งเกิดดาวน์ไทม์ ทางออกในเรื่องนี้จึงเกิดเทคนิคที่เรียกว่า Kernel Live Patching (บ้างก็เรียก KLP, Livepatch, Kpatch ตามแต่ละยี่ห้อ) ที่สามารถอัพเดตแพตช์ให้เคอร์เนลโดยไม่ต้องรีบูต (รายละเอียดทางเทคนิคว่าทำอย่างไร)
ฟีเจอร์ Kernel Live Patching มักมีในลินุกซ์เวอร์ชัน Enterprise ที่ต้องเสียเงินซื้อ subscription เช่น RHEL, Oracle Linux, Ubuntu Enterprise, SUSE Enterprise หรือบริการ KernelCare ที่ใช้กับดิสโทรได้หลายราย
Google Cloud ประกาศอัพเดตฟีเจอร์ที่ Anthos รองรับ โดยฟีเจอร์สำคัญคือการรองรับ AWS ที่เข้าสู่สถานะ GA มีการซัพพอร์ตเต็มรูปแบบแล้ว ส่วน Azure นั้นยังอยู่ในสถานะพรีวิว
Anthos เป็นชุดบริการหลายส่วน แต่ส่วนสำคัญสองส่วน คือ Athos GKE on-prem สำหรับการติดตั้ง Kubernetes ในองค์กรเอง และ Multi-cluster management ระบบจัดการคลัสเตอร์ทั้งภายในและภายนอก Google Cloud
ฟีเจอร์อีกส่วนที่ขยายขึ้นมาคือการจัดการคอนฟิกที่รองรับ virtual machine บน Google Cloud เพื่อลดการคอนฟิกด้วยมือ ขณะที่ Anthos Service Mesh ก็เตรียมจะซัพพอร์ตแอปพลิเคชั่นบน virtual machine ด้วยเช่นกัน
Scaleway ผู้ให้บริการคลาวด์รายเล็กที่เคยมีจุดเด่นจากการใช้ชิป ARM64 ให้บริการแบบ baremetal ในราคาเดือนละ 2.99 ยูโร ตั้งแต่ปี 2015 ประกาศปิดเซิร์ฟเวอร์ ARM64 ในวันที่ 1 ธันวาคมปีนี้ โดยการซัพพอร์ตทั้งหมดจะหยุดไปก่อนตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน
เซิร์ฟเวอร์ ARM เคยเป็นที่สนใจในช่วงห้าปีที่ผ่านมา แต่หลังจากผู้ให้บริการคลาวด์หลายรายให้บริการจริงก็พบว่าประสิทธิภาพต่อราคานั้นจะดีกว่าเซิร์ฟเวอร์ x86 ต่อเมื่อใช้งานเฉพาะทางบางด้านเท่านั้น แต่ในสองปีที่ผ่านมา AWS ก็พยายามพัฒนาชิป Graviton ของตัวเองอย่างต่อเนื่องโดยเริ่มโชว์ว่างานหลายประเภทมีประสิทธิภาพต่อราคาดีกว่า x86 แล้ว
Alibaba ประกาศเตรียมลงทุนในเทคโนโลยีและโครงสร้างพื้นฐานคลาวด์เพิ่มอีกว่า 2 แสนล้านหยวนหรือเกือบ 1 ล้านล้านบาท ในระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า หลังกระแสการใช้คลาวด์ในจีนเพิ่มขึ้นสูงเพราะโรคระบาด
ที่ Alibaba จะลงทุนคืออุปกรณ์กึ่งตัวนำ (semiconductor), ระบบปฏิบัติการและโครงสร้างพื้นฐานของศูนย์ข้อมูล โดยในช่วงการทำงานที่บ้านที่ผ่านมาในจีน Alibaba ออกมายอมรับถึงความหนาแน่นของทราฟิคจนส่งผลกระทบต่อประสบการณ์ใช้งานผู้ใช้งาน โดยเฉพาะบนแอป Dingtalk ที่ใช้ประชุม นัดหมายและวิดีโอคอล
ที่มา - Reuters
ภาระการอัพเดตแพตช์ความปลอดภัยของ OS เป็นเรื่องน่าปวดหัวของแอดมินทุกสมัย แม้ย้ายขึ้นมาบนคลาวด์แล้วก็ตาม ล่าสุด Google Cloud เปิดตัวบริการอัพเดตแพตช์ของ OS ใน VM ให้อัตโนมัติ ใช้ได้ทั้ง VM ที่เป็นวินโดวส์และลินุกซ์
ฟีเจอร์นี้มีชื่อเรียกว่า OS patch management service ตอนนี้ใช้ได้กับ Google Compute Engine โดยแอดมินจะเห็นหน้าแดชบอร์ดรายงานสถานะแพตช์ความปลอดภัยของ VM ทั้งหมด และสามารถตั้งค่าการอัพเดตแตช์อัตโนมัติได้ กำหนดเวลาล่วงหน้าได้ด้วย
กูเกิลเปิดให้ใช้ฟีเจอร์นี้ฟรีจนถึงสิ้นปี 2020
ที่มา - Google
ตั้งแต่ที่กระทรวงกลาโหมสหรัฐประกาศให้ไมโครซอฟท์เป็นผู้ชนะโครงการ JEDI Cloud เมื่อปีที่แล้ว สื่อหลายเจ้ารวมถึง AWS เองต่างออกมาโวยวายว่าดีลนี้ประเด็นการเมืองจากทำเนียบขาวมาเกี่ยวข้อง
ล่าสุดคณะกรรมการตรวจสอบของกระทรวงกลาโหม (Inspector General) ออกรายงานความยาว 317 หน้าเกี่ยวกับกระบวนการคัดสรรผู้ให้บริการคลาวด์ (ไม่ได้สนใจตัวดีลว่าเจ้าไหนดีกว่ากัน แค่ตรวจสอบกระบวนการคัดสรร) และระบุว่าแม้ในรายละเอียดยิบย่อยของกระบวนการจะมีปัญหาหรือความขัดแย้งอยู่บ้าง แต่ในภาพรวมคือไม่พบความผิดปกติ กระบวนการจัดสรรนั้นยุติธรรมและเป็นไปตามกฎหมายแล้ว ขณะทำเนียบขาวหรือแม้แต่ตัวประธานาธิบดีก็ไม่ได้เข้ามามีอิทธิพลใด ๆ ในกระบวนการ
การทำงานในระดับองค์กรใหญ่ ๆ มักจะต้องใช้ไคลเอนต์ที่เซ็ตอัพไว้ตามนโยบายเฉพาะขององค์กร ที่รันอยู่บนเครือข่ายภายในเพื่อเข้าถึงข้อมูลหรือใช้งานแอปบางตัว ทางแก้ของข้อจำกัดดังกล่าวคือเทคโนโลยี Virtual Desktop Infrastructure (VDI) ที่ช่วยให้พนักงานสามารถทำงานหรือเข้าถึงระบบหลังบ้านอื่น ๆ ขององค์กรได้โดยง่าย
ที่ผ่านมา VDI แบบเดิมอย่างการตั้งเซิร์ฟเวอร์ ติดตั้งเครือข่ายและโซลูชัน Virtualization ในองค์กรมักมีค่าใช้จ่ายสูง ขยับขยายก็ยาก และไม่ปลอดภัยมากนัก
ไมโครซอฟท์เผยสถิติการเพิ่มขึ้นของทราฟฟิก-การใช้งานในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
Microsoft Azure ประกาศนโยบายล่วงหน้าว่า หากมีการใช้งานเยอะจนเซิร์ฟเวอร์เริ่มรองรับไม่ไหว จะขอให้ความสำคัญกับหน่วยงานด้านสุขภาพ หน่วยงานรับมือปัญหาฉุกเฉิน โครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาล เป็นลำดับแรก เพื่อให้ระบบไอทีของหน่วยงานเหล่านี้สามารถทำงานได้ไม่สะดุด
ไมโครซอฟท์ยังบอกว่าอาจปรับลดบริการฟรีของ Azure ลงถ้าจำเป็น เพื่อรักษาทรัพยากรให้ลูกค้าปัจจุบันทำงานได้ด้วย
AWS บริการระบบคลาวด์ ที่ตอบโจทย์กับสายงานไอทีในยุคดิจิทัลทรานส์ฟอร์เมชั่น CSL พร้อมช่วยให้คำปรึกษา และการชำระค่าบริการเป็นเรื่องง่าย ๆ โดยสามารถชำระค่าบริการภายในประเทศผ่านระบบบิลได้แล้ววันนี้