Akamai ผู้ให้บริการ CDN รายใหญ่ของโลก เพิ่งเข้าซื้อกิจการ Linode ผู้ให้บริการคลาวด์มาเสริมทัพเมื่อเดือน ก.พ. ที่ผ่านมา
ก่อนหน้านี้ Linode มีบริการ compute, network และ storage (block/object/backup) ให้เช่าใช้งานอยู่แล้ว ล่าสุด Linode ขยายบริการฐานข้อมูล (managed database) เพิ่มมาแล้ว
บริการ Linode Managed Database (LMDB) เริ่มจาก MySQL เป็นอย่างแรกก่อน แล้วจะตามมาด้วยฐานข้อมูลอื่นคือ PostgreSQL, Redis, MongoDB ในไตรมาสที่สองของปี 2022
Google Cloud ประกาศว่าบริการประมวลผลที่ปลายทาง Google Distributed Cloud Edge ที่เปิดตัวครั้งแรกในเดือนตุลาคม 2021 เข้าสถานะ general availability (GA) แล้ว
บริการตัวนี้เป็นส่วนหนึ่งของ Google Distributed Cloud (GDC) ชุดบริการที่กระจายการประมวลผลบนแพลตฟอร์ม Google Cloud ไปรันที่อื่นที่ไม่ใช่ศูนย์ข้อมูลของกูเกิลเอง ซึ่งเลือกได้หลายแนวทาง เช่น ศูนย์ข้อมูลลูกค้า, ศูนย์ข้อมูลพาร์ทเนอร์ หรือเอาเครื่องเซิร์ฟเวอร์ไปวางที่ไซต์งานในโรงงาน เป้าหมายคือใช้ประมวลผลงาน (เช่นภาพจากกล้องหรือเซ็นเซอร์แล้วรันงาน ML แยกแยะภาพ) ให้ใกล้กับตัวเนื้องานมากที่สุด
ตลาดคลาวด์สำหรับให้บริการเกม เป็นอีกตลาดที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และมีบริษัทเข้ามาสู่ตลาดนี้กันเรื่อยๆ ทั้งฝั่งผู้ให้บริการคลาวด์ยักษ์ใหญ่ (AWS, Azure, Google) และฝั่งบริษัทสายพัฒนาเกม
สัปดาห์นี้ Unity ในฐานะเจ้าของเอนจินเกมชื่อดัง ก็ประกาศว่า Unity Gaming Services (UGS) จะเปิดให้บริการอย่างเป็นทางการในเดือนมิถุนายน 2022 หลังทดสอบ Beta มาสักพักใหญ่ๆ
Unity Gaming Services (UGS) เป็นชุดเครื่องมือและบริการออนไลน์สำหรับบริษัทผู้พัฒนาเกม ตัวอย่างคือ Analytics, Authentication, Cloud Save, Economy, Relay (เกมเซิร์ฟเวอร์แบบ P2P), Lobby, Vivox (แชทระหว่างผู้เล่นในเกม), Matchmaking เป็นต้น วิธีการใช้งานเป็นแบบ pay per use คิดตามปริมาณเหมือนบริการคลาวด์ทั่วไป
คอมพิวเตอร์เมนเฟรมกับคลาวด์อาจเป็นเทคโนโลยีคนละยุค ที่ฟังชื่อแล้วดูห่างไกลกันมาก แต่ถ้ามีหน่วยงานที่ต้องการเช่าเครื่องเมนเฟรมผ่านคลาวด์ ตอนนี้ IBM เปิดให้ทำได้แล้ว
IBM ถือเป็นผู้ขายเมนเฟรมรายใหญ่ของโลก เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการ z/OS ของตัวเอง ประกาศทำ Wazi as a Service (Wazi aaS) เปิดให้เช่าเครื่อง z/OS แบบออนดีมานด์ผ่านคลาวด์ IBM Cloud VPC โดยจะเริ่มให้บริการในช่วงครึ่งหลังของปี 2022
กลุ่มเป้าหมายของบริการ IBM Wazi aaS คือลูกค้าองค์กรที่มีเครื่องเมนเฟรม Z ของ IBM อยู่แล้ว แต่ต้องการหาเครื่องมาทดสอบการพัฒนาแอพเพิ่มเติม โดยไม่ต้องซื้อเครื่องใหม่ให้เปลืองงบประมาณ
AWS ประกาศเตรียมเปิดให้บริการ Local Zones เพิ่มอีก 32 เมือง 25 ประเทศ ภายในอีก 2 ปีข้างหน้า เพิ่มจากเดิมที่มีแค่ 16 เมืองในสหรัฐฯ เป็น 48 เมือง และหนึ่งในเมืองที่ประกาศใหม่ มีกรุงเทพฯ ด้วย
Local Zones คือศูนย์ข้อมูลขนาดย่อมของ AWS ในระดับเมือง ที่ AWS ดูแลเองสำหรับงานที่ต้องการเวลาหน่วงต่ำกว่า 10ms เช่น การทำวิดีโอสตรีมมิ่ง, การยิงโฆษณา บริการบน Local Zones จะมีน้อยกว่าโซนปกติ โดยทั่วไปแล้ว จะมี ALB, EC2, EBS, EKS, ECS, และ VPC เท่านั้น และเครื่อง EC2 เองก็จะมีขนาดเครื่องให้เลือกเพียงไม่กี่แบบ
กูเกิลเปิดตัวเครื่องมือวาดแผนผังไดอะแกรมใหม่ชื่อ Google Cloud Architecture Diagramming Tool โดยออกแบบมาเพื่อใช้วาดแผนผังของ Google Cloud เป็นหลัก
เครื่องมือวาดแผนผังตัวนี้เป็นเว็บแอพที่ใช้เอนจินจาก Exclaridraw (เป็นโอเพนซอร์สบน GitHub) โดยเพิ่มไอคอนของสถาปัตยกรรม Google Cloud มาให้พร้อม มีเทมเพลตของสถาปัตยกรรมที่เตรียมไว้ให้แล้ว (reference architecture) และวาดเสร็จแล้วมีปุ่ม one-click deploy ในระบบของ Google Cloud ได้ทันที
Akamai ผู้ให้บริการ CDN รายใหญ่ประกาศเข้าซื้อ Linode ผู้ให้บริการคลาวด์เข้ามาเสริมบริการโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure-as-a-Service) มูลค่า 900 ล้านดอลลาร์
คาดว่าปี 2022 นี้ Linode จะมีรายได้รวม 100 ล้านดอลลาร์ ทั้งสองบริษัทระบุว่าการรวมตัวกันทำให้ประสบการณ์ผู้ใช้สมบูรณ์ตั้งแต่การวางแอปพลิเคชั่นในเซิร์ฟเวอร์กลางไปจนถึงปลายทาง
หลายปีที่ผ่านมาบริการคลาวด์และบริการ CDN กลายเป็นคู่แข่งกันมากขึ้นเรื่อยๆ บริการคลาวด์แทบทุกรายหันมาเสริมบริการประมวลผล (compute) หรือ Cloudflare ที่หันมาเปิดบริการคลาวด์สตอเรจ ขณะที่ผู้ให้บริการคลาวด์นั้นก็พยายามทำบริการ CDN ให้ทัดเทียมกับผู้ให้บริการ CDN โดยตรง
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานหัวข้อ Cloud Shift ระบุว่าการใช้จ่ายของหน่วยงานไอทีองค์กร จะเปลี่ยนเป็นเทคโนโลยี Public Cloud มากขึ้น จนแซงเทคโนโลยีแบบเดิม (Traditional) ในปี 2025
รายงานพิจารณาการใช้จ่าย 4 หมวดเทคโนโลยี ที่สามารถเปลี่ยนไปใช้บริการคลาวด์ได้ ได้แก่ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน, ซอฟต์แวร์ Infrastructure, Business Process และ ระบบ Infrastructure พบว่าในปี 2025 องค์กรมีแผนใช้จ่ายบนคลาวด์ 51% ของค่าใช้จ่ายรวม เทียบกับตัวเลข 41% ในปี 2022 หมวดที่มีการย้ายไปอยู่บนคลาวด์สูงสุดคือ ซอฟต์แวร์แอพพลิเคชัน (65.9% ปี 2025)
ไมโครซอฟท์ทำข้อตกลงกับ Home Team Science and Technology Agency (HTX) หน่วยงานด้านเทคโนโลยีภายใต้ Ministry of Home Affairs หรือ Home Team กระทรวงดูแลความมั่นคงภายในของสิงคโปร์ เตรียมพัฒนาคลาวด์ภาครัฐ (sovereign cloud) ให้เป็นการเฉพาะ
ไม่มีรายละเอียดว่าคลาวด์นี้จะมีความสามารถอะไรเป็นพิเศษบ้าง แต่โดยทั่วไปแล้วการสร้างคลาวด์เฉพาะสำหรับรัฐบาลเช่นนี้มักให้สิทธิ์ควบคุมข้อมูลได้มากขึ้น ห้ามนำข้อมูลออกนอกเขตแดนที่กำหนด ทางด้านไมโครซอฟท์ระบุว่าคลาวด์นี้จะสร้างบนพื้นฐานของ Microsoft Azure
นอกจากการสร้างคลาวด์ให้รัฐบาลแล้ว ข้อตกลงนี้ยังรวมการฝึกบุคลากรของ HTX พร้อมการสอบใบรับรองอีกปละ 600 ตำแหน่ง
วันนี้ Amazon รายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่อัตราการเติบโตยังคงสูงอย่างน่าประทับใจ แต่ช่วงท้ายของการแถลง Brian Olsavsky ซีเอฟโอของบริษัทก็ระบุว่าจะเปลี่ยนนโยบายการตัดค่าเสื่อมราคาของเซิร์ฟเวอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คให้นานขึ้น ทำให้ไตรมาสนี้ประหยัดค่าเสื่อมราคาไปประมาณพันล้านดอลลาร์ แต่ก็จะเห็นผลน้อยลงเรื่อยๆ ในไตรมาสต่อๆ ไป
นโยบายใหม่จะยืดอายุเซิร์ฟเวอร์จาก 4 ปีเป็น 5 ปี และอุปกรณ์เน็ตเวิร์คจาก 5 ปีเป็น 6 ปี โดยนับรวมฮาร์ดแวร์ทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นของ AWS หรือเซิร์ฟเวอร์ภายในของ Amazon เองก็ตาม
Amazon Web Services (AWS) ประกาศเปิดเขต Asia Pacific (Jakarta) ใช้ตัวย่อว่า ap-southeast-3 โดยถือเป็นเขต (Region) ที่สามในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (1 คือสิงคโปร์, 2 คือซิดนีย์) และเขตที่ 10 ในเอเชีย
การเปิดบริการของ AWS ทำให้อินโดนีเซียมีผู้ใช้บริการคลาวด์รายใหญ่ของโลกครบ 3 รายแล้ว รายแรกคือ Google Cloud เปิดตัวช่วงกลางปี 2020 ตามด้วย Microsoft Azure ประกาศว่าจะเปิด (แต่ยังไม่เริ่มเปิด) ส่วน AWS ถึงแม้จะมาเป็นรายที่สาม ก็เปิดเลยทันทีก่อน Azure
ที่มา - AWS Blog
นับจากการเปิดตัว AWS Lambda ในปี 2014 เราก็เห็น AWS ทยอยปรับบริการเดิมของตัวเองจากการเช่าเครื่องตามระยะเวลา มาเป็นการจ่ายตามการใช้งานรายครั้ง (Serverless) มากขึ้นเรื่อยๆ (ตัวก่อนหน้านี้คือฐานข้อมูล Aurora Serverless)
ปี 2021 เป็นคิวของ Amazon Redshift บริการ data warehouse ที่ออกเวอร์ชัน Serverless แล้ว ใช้ชื่อตรงไปตรงมาว่า Amazon Redshift Serverless
Google Cloud มี Anthos ชุดจัดการคอนเทนเนอร์ Kubernetes แบบมัลติคลาวด์ ออกมาสักระยะ ใช้งานได้กับทั้งคลาวด์กูเกิลเอง และคลาวด์ค่ายอื่นๆ โดยเริ่มจาก AWS เมื่อปีที่แล้ว
ล่าสุดกูเกิลออก Anthos Multi-Cloud API เวอร์ชันใช้งานจริง (general availability) ทำให้รองรับคลาวด์ Azure แบบ GA ตามมาด้วยเช่นกัน
เมื่อ Anthos รองรับคลาวด์รายใหญ่ครบ 3 ค่ายแล้ว ทำให้เราสามารถสั่งสร้างคลัสเตอร์บนคลาวด์ทั้ง 3 ค่ายได้ง่ายๆ ผ่านคอมมานด์ไลน์แบบเดียวกัน ตามภาพ (กูเกิลบอกว่าจะรองรับการคอนฟิกผ่าน Terraform ตามมา)
ช่วงนี้ Azure เปิดตัวเครื่องมือสำหรับทดสอบระบบหลายตัว ก่อนหน้านี้เป็น Chaos Studio ที่ใช้จำลองเหตุการณ์ระบบล่มเพื่อให้ผู้ดูแลระบบซ้อมรับมือได้ก่อน ล่าสุดได้เปิดตัว Azure Load Testing ใช้จำลองโหลดหนักๆ เข้ามาที่แอพหรือระบบเราเพื่อดูว่ายังทำงานได้ตามปกติหรือไม่
การใช้งาน Azure Load Testing ต้องเขียนสคริปต์ Apache JMeter ขึ้นมาแล้วอัพโหลดเข้าไปที่ Azure จากนั้นมันจะรันการทดสอบให้เราตามสคริปต์ที่เขียนไว้ โดยกำหนดได้ว่าจะให้มี test engine รันขนานกันกี่ตัว ยิ่งมากก็ยิ่งส่งโหลดเข้าไปที่ระบบเรามากขึ้น
AWS เปิดตัวเซิร์ฟเวอร์ EC2 สองรุ่น คือ M6a ที่ใช้ซีพียู AMD EPYC รุ่นที่ 3 และ G5g ใช้ซีพียู Graviton2 ของ AWS เองพร้อมกับชิปกราฟิก NVIDIA T4G
เครื่อง M6a สามารถเลือกเครื่องขนาดใหญ่กว่าเดิม เครื่องใหญ่สุดคือ m6a.48xlarge ขนาดถึง 192 vCPU พร้อมแรม 768 GiB แบนด์วิดท์เน็ตเวิร์คสูงสุด 50 Gbps และเชื่อมต่อสตอเรจ EBS แบนด์วิดท์สูงสุด 40 Gbps
ตอนนี้ยังใช้งานได้เฉพาะในสหรัฐฯ ทาง AWS ระบุว่าประสิทธิภาพต่อราคาของเครื่อง M6a ดีกว่า M5a ถึง 35%
ที่มา - AWS
เป็นอีกมหากาพย์ของวงการคลาวด์สหรัฐมาตั้งแต่ปี 2019 หลังไมโครซอฟท์ชนะโครงการ JEDI Cloud มูลค่า 1 หมื่นล้านดอลลาร์ของกระทรวงกลาโหมสหรัฐ ทำให้ผู้แพ้ AWS ต้องฟ้องศาลว่ากระบวนการคัดเลือกไม่เป็นธรรม และสุดท้าย กระทรวงกลาโหมต้องยกเลิกโครงการ JEDI ไปเมื่อกลางปีนี้
Atlassian เปิดเผยว่าย้ายบริการฝากซอร์สโค้ด Bitbucket จากศูนย์ข้อมูลของตัวเอง ขึ้นมาอยู่บน AWS ทั้งหมดตั้งแต่เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา
เดิมที Bitbucket โฮสต์อยู่ในศูนย์ข้อมูลของ Atlassian เองมานานกว่าสิบปี แต่บริษัทก็พบปัญหาในการดูแลศูนย์ข้อมูลของตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ (เช่น ปัญหาระบบล่ม ฮาร์ดแวร์พัง) ทำให้บริการถูกจำกัดศักยภาพจากศูนย์ข้อมูลแบบดั้งเดิม จึงตัดสินใจย้ายระบบมาสู่ AWS โดยรันบนแพลตฟอร์มคลาวด์ Micros ของตัวเอง (ที่รันอยู่บนเครื่อง AWS อีกที)
Tecent Cloud แถลงในงานสัมมนาเทคโนโลยีของตัวเองระบุถึงความก้าวหน้าในการพัฒนาชิปของตัวเองได้ 3 ตัวแล้ว แม้จะไม่มีข้อมูลสถาปัตยกรรมภายในหรือรายละเอียดการทำงานอื่นๆ ชิปทั้ง 3 ตัวได้แก่
Azure เปิดให้บริการเครื่องเซิร์ฟเวอร์ในกลุ่ม confidential computing ที่เน้นความน่าเชื่อถือว่าซอฟต์แวร์รันในบนคลาวด์โดยผู้อื่นมาอ่านข้อมูลไปไม่ได้ โดยรอบนี้ใช้ชิป Intel Xeon Scalable รุ่นที่ 3 ที่เปิดตัวไปเมื่อเดือนเมษายน ใช้ชื่อเครื่องว่า DCdsv3
เครื่อง DCdsv3 จะอาศัยฟีเจอร์ของ Xeon Scalable สองตัวคือ Intel SGX ที่เป็นการรันในส่วนที่แยกออกไปจากซีพียูปกติ และ TME-MK ฟีเจอร์เข้ารหัสแรมที่ AMD ใส่มาในซีพียู EPYC ก่อนหน้านี้
ตอนนี้ DCdsv3 เปิดให้ใช้งานแบบพรีวิวแล้วในสหรัฐฯ และยังใช้ได้เฉพาะฟีเจอร์ SGX เท่านั้น ส่วน TME-MK จะเปิดให้ในภายหลัง
Alibaba Cloud ประกาศเปิดตัวศูนย์ข้อมูลในไทย นับเป็นศูนย์ข้อมูลในอาเซียนแห่งที่ 5 ต่อจากสิงคโปร์, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย, และฟิลิปินส์ โดยประกาศพร้อมๆ กับศูนย์ข้อมูลในเกาหลีใต้ คาดว่าจะเปิดให้บริการภายในปี 2022 ทั้งสองแห่ง
ประกาศครั้งนี้ทำให้ประเทศไทยจะมีศูนย์ข้อมูลของผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ในจีนครบ 3 อันดับแรก คือ Alibaba Cloud, Huawei Cloud, และ Tencent Cloud (อันดับ 4 คือ Baidu AI Cloud) โดยตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลว่าศูนย์ข้อมูลที่เปิดใหม่จะมีกี่ Availability Zone และจะมีบริการอะไรบ้าง
กลุ่มผู้ให้บริการคลาวด์ 3 รายใหญ่คือ Amazon, Google, Microsoft พ่วงด้วยบริษัทไอทีองค์กรยักษ์ใหญ่ Cisco, IBM, SAP, Atlassian, Salesforce/Slack ประกาศตั้งกลุ่ม Trusted Cloud Principles กำหนดหลักการพื้นฐาน (principles) ที่ผู้ให้บริการคลาวด์พึงกระทำกรณีภาครัฐมาขอข้อมูลจากลูกค้าที่มาเช่าคลาวด์
หลักการมีทั้งหมด 5 ข้อดังนี้
Mirantis บริษัทซอฟต์แวร์สายคลาวด์ เปิดตัว Mirantis Flow ชุดเครื่องมือจัดการแอปพลิเคชันบนคลาวด์ทั้งระบบ ครอบคลุมทั้งฝั่ง Dev และ Ops รองรับเทคโนโลยีทั้งสาย OpenStack และ Kubernetes ในตัวเดียว
Mirantis Flow เป็นการรวมเอาเครื่องมือทั้งหมดในเครือ Mirantis ที่ทยอยพัฒนา-ซื้อกิจการมาในช่วงหลังเข้าไว้ด้วยกัน และผสานเพื่อให้ทำงานร่วมกันได้ราบรื่น หวังเป็นเครื่องมือตัวเดียวสำหรับจัดการแอปพลิเคชันยุค Cloud Native อย่างในปัจจุบัน ลดภาระการดูแลเครื่องมือหลายๆ ตัวจากหลายค่ายลง
AWS ประกาศเปลี่ยนชื่อบริการ Amazon Elasticsearch Service (Amazon ES) มาเป็น Amazon OpenSearch Service หลังจากแยกมาทำโครงการ OpenSearch เอง
เดิมที AWS นำซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส Elasticsearch มาพัฒนาเป็นบริการ Amazon ES ในปี 2015 แต่หลังจากมีปัญหาเรื่องไลเซนส์กับบริษัท Elastic ผู้พัฒนา Elasticsearch ในช่วงต้นปีนี้ ทำให้ AWS ตัดสินใจ fork ซอร์สโค้ดมาเป็นโครงการใหม่คือ OpenSearch ที่เพิ่งออกเวอร์ชัน 1.0 ไปเมื่อเดือนกรกฎาคม
AWS ประกาศข่าวบริการ Amazon Elastic Kubernetes Service (Amazon EKS) Anywhere ซึ่งเป็นการนำซอฟต์แวร์ EKS จากเดิมที่มีเฉพาะบนคลาวด์ของ AWS มาสู่ศูนย์ข้อมูลของลูกค้าเองแล้ว
AWS เปิดตัวบริการ Amazon Elastic Container Service (Amazon ECS) Anywhere และ EKS Anywhere ครั้งแรกในเดือนธันวาคม 2020 (ความแตกต่างคือ ECS เป็นระบบจัดการคอนเทนเนอร์ของ AWS เอง ส่วน EKS ใช้ Kubernetes) ตอนนี้บริการ EKS Anywhere พร้อมใช้งานแบบ general availability (GA) เรียบร้อยแล้ว
ซิสโก้ร่วมมือกับ Boston Consulting Group (BCG) ออกรายงานภาพคาดการณ์การใช้งานคลาวด์ในภูมิภาคอาเซียน และเอเชียแปซิฟิก (APJC) ทำนายว่าอัตราการใช้จ่ายระบบไอทีในภูมิภาคนี้จะเติบโตปีละ 8% แต่การใช้งานคลาวด์น่าจะเติบโตสูงกว่า 20% จนกลายเป็นการซื้อบริการคลาวด์ 40% ของการซื้อระบบไอทีทั้งหมด
รายงานคาดว่าประเทศไทยจะมีรายจ่ายระบบไอทีโดยรวม 4 พันล้านดอลลาร์ เติบโตปีละ 8% ขณะที่อัตราการเติบโตฝั่งคลาวด์จะเป็น 19% ชาติที่มีอัตราการใช้คลาวด์ค่อนข้างเร็วคืออินโดนีเซียและมาเลเซีย ที่อัตราการเติบโตน่าจะอยู่ที่ 25% และ 23% ตามลำดับ