Odoo บริษัทซอฟต์แวร์ ERP โอเพนซอร์ส ประกาศขายหุ้นเดิมให้กับกลุ่มนักลงทุน รวมเป็นเงิน 500 ล้านยูโร ซึ่งกลุ่มนักลงทุนนำโดย CapitalG ของ Alphabet และ Sequoia Capital ร่วมด้วย BlackRock, Mubadala Investment Company, HarbourVest Partners, AVP และ Alkeon
Odoo บอกว่าการขายหุ้นครั้งนี้ทำให้มูลค่ากิจการของบริษัทเพิ่มเป็น 5 พันล้านยูโร ทั้งนี้ Odoo มีสถานะเป็นยูนิคอร์นมาตั้งแต่ปี 2021
จำนวนผู้ใช้งาน Odoo มีมากกว่า 13 ล้านราย มีลูกค้าใหม่เพิ่มเติมเฉลี่ย 7,000 รายทุกเดือน มีการเติบโตที่ระดับ 40% ต่อปี ใน 12 เดือนข้างหน้าคาดมีรายรับ 650 ล้านยูโร และน่าจะแตะ 1 พันล้านยูโรได้ในปี 2027
ไมโครซอฟท์เปิดตัว Microsoft Supply Chain Platform แพลตฟอร์มสำหรับบริหารจัดการซัพพลายเชน ที่มีเครื่องมือเสริมครบครันไม่ว่าจะเป็น Microsoft AI, ระบบการทำงาน collaboration, เครื่องมือ low-code, ระบบความปลอดภัย และแอพพลิเคชัน SaaS
ไมโครซอฟท์บอกว่าเครื่องมือจัดการซัพพลายเชน ไม่ได้เป็นของใหม่ในวงการ แต่ความท้าทายในการบริหารจัดการซัพพลายเชนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้สภาพตลาดและการจัดการเปลี่ยนแปลงด้วยความเร็วที่มากขึ้น ซอฟต์แวร์จึงเข้ามามีบทบาทมาก เพื่อให้ผู้ดูแลเห็นข้อมูลมากที่สุด และรองรับการพยากรณ์เพื่อลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
Odoo บริษัทซอฟต์แวร์ ERP โอเพนซอร์ส ระดมทุนอีก 112 ล้านยูโร มูลค่าบริษัทตอนนี้อยู่ที่ 3.2 พันล้านยูโรแล้ว
บริษัท Odoo เพิ่งระดมทุนรอบล่าสุดเมื่อ 1 ปีที่แล้วพอดี มูลค่าบริษัททะลุ 1 พันล้านดอลลาร์ มีสถานะเป็นยูนิคอร์น การระดมทุนรอบล่าสุดรับเงินจาก Summit Partners เจ้าเดิมจากการระดมทุนรอบก่อน ที่ตอนนี้ถือหุ้น 25% ใน Odoo แล้ว ส่วนอีกหุ้น 65% ยังอยู่ในมือกลุ่มผู้ก่อตั้งและผู้บริหารของบริษัท
Odoo บอกว่าจะนำเงินก้อนใหม่นี้ไปขยายธุรกิจเพิ่มเติม และเปิดเผยว่าตอนนี้มีลูกค้าใช้บริการซอฟต์แวร์ ERP มากกว่า 7 ล้านคนแล้ว
Odoo บริษัทด้านซอฟต์แวร์ ERP/CRM โอเพนซอร์สจากประเทศเบลเยียม ประกาศข่าวการเข้ามาซื้อหุ้นมูลค่า 180 ล้านยูโรจาก Summit Partners ทำให้มูลค่ารวมของบริษัทตอนนี้อยู่ในระดับยูนิคอร์น (เกิน 1 พันล้านดอลลาร์) แล้ว
ธุรกรรมรอบนี้เป็น Summit Partners เข้ามาซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นเดิม (ด้วยมูลค่าที่สูงขึ้นจนเป็นยูนิคอร์น) โดยไม่ได้ระดมทุนเข้าบริษัทเพิ่ม ซึ่ง Odoo ให้เหตุผลว่าไม่ได้ต้องการเงินเพิ่ม เนื่องจากบริษัทมีกำไร มีกระแสเงินสดเหลือเฟือ และมีอัตราการเติบโตปีละ 60%
SAP เปิดตัวบริการ SAP Business Network แพลตฟอร์มสำหรับสำหรับเชื่อมต่อธุรกิจเข้าด้วยกัน โดย SAP หวังว่าบริการนี้จะเป็นศูนย์รวมสำหรับคู่ค้าต่างๆ ให้ทำงานร่วมกัน
ก่อนหน้านี้ SAP มีบริการสำหรับเชื่อมต่อธุรกิจเข้าด้วยกันแยกเป็นด้านๆ เช่น Ariba Network, SAP Logistics Business Network, และ SAP Asset Intelligence Network ต่อจากนี้ทาง SAP จะเชื่อมบริการเหล่านี้เข้ามาใน SAP Business Network
ฟีเจอร์ที่ SAP เตรียมเพิ่มเข้ามาในบริการนี้ เช่น การติดตามรายการซื้อสินค้าให้ติดตามการส่งสินค้าได้ทั่วโลก, ระบบให้บริการทางการเงินเพื่อให้ธุรกิจหาคู่ค้าที่เข้ามาช่วยการบริหารกระแสเงินสด, การแสดงข้อมูลวัดประสิทธิภาพการทำงาน เทียบกับธุรกิจอื่นๆ ในอุตสาหกรรมเดียวกัน
กระทรวงการคลังออสเตรเลียเลือก SAP S/4HANA เป็นแพลตฟอร์มสำหรับอิมพลีเมนต์ ERP กลางสำหรับรัฐบาลเป็นการรวบระบบจากเดิมที่แยกกันอยู่ 6 ระบบ โดยคาดว่าจะเปิดทางให้การจัดการทางการเงินและบุคลากรสามารถมองเห็นข้อมูลทันที
ระบบทั้ง 6 ระบบเดิมนั้นเป็น SAP อยู่แล้ว 5 ระบบที่มีแผนต้องอัพเกรดตามกำหนดหมดซัพพอร์ตของ SAP อยู่แล้ว และมีเพียงกรมสรรพากรเท่านั้นที่ใช้ระบบเฉพาะที่ไม่ใช่ SAP ทางกระทรวงการคลังคาดกว่าการรวบระบบเข้ามาเช่นนี้จะลดต้นทุนลง
ก่อนหน้านี้ทางกระทรวงการคลังออสเตรเลียแสดงจุดยืนว่าจะรวบระบบทั้ง 6 เข้าด้วยกันมาก่อนแล้วแต่เปิดกว้างว่าอาจจะใช้แพลตฟอร์มใดก็ได้ และเพิ่งมาตัดสินใจใช้ SAP S4/HANA ในสัปดาห์นี้
การอัพเกรดซอฟต์แวร์ในองค์กรขนาดใหญ่ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะเมื่อซอฟต์แวร์เดิมรันได้ดีอยู่แล้ว องค์กรก็ไม่มีแรงจูงใจในการอัพเกรดมาใช้ซอฟต์แวร์เวอร์ชันใหม่ ที่ต้องจ่ายเพิ่ม+เรียนรู้กันใหม่
กรณีของ SAP เปิดตัวแพลตฟอร์ม S/4HANA ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ ERP เวอร์ชันใหม่ ที่มาแทน SAP R3 (ออกครั้งแรกปี 1992) และ SAP ERP 6.0 / SAP ECC (ออกครั้งแรกปี 2005) เวอร์ชันเดิม โดย SAP ประกาศนโยบายว่าจะหยุดซัพพอร์ต ERP เวอร์ชันเก่าในปี 2025 จากนั้นจะเหลือเพียง S/4HANA อย่างเดียว
แนวโน้มการรันซอฟต์แวร์องค์กรแบบ on premise เริ่มลดลงเรื่อยๆ เมื่อองค์กรเริ่มหันมาใช้ public cloud สำหรับโครงการใหม่ๆ ที่เริ่มทำในยุคหลัง
SAP เป็นผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ ERP รายใหญ่ที่เติบโตมากับยุค on premise ก็เริ่มปรับตัวเช่นกัน เมื่อกลางปีนี้ SAP ประกาศโครงการ Project Embrace ที่จับมือกับผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ทั้ง 3 รายคือ AWS, Azure, Google Cloud เพื่อผลักดันการย้ายลูกค้า SAP S/4HANA ซอฟต์แวร์ ERP ตัวหลักของบริษัทขึ้นคลาวด์
ล่าสุด SAP แถลงความร่วมมือใน Project Embrace กับไมโครซอฟท์ เพื่อส่งเสริมให้ลูกค้า SAP S/4HANA ย้ายมาอยู่บน Azure
ในปัจจุบันมีหลากหลายบริษัททางด้าน Systems Integrator (SI) ที่ให้บริการระบบ ERP ในประเทศไทย ไม่ว่าจะเป็นตั้งแต่ระบบบัญชีเล็ก ๆ ไปจนถึงระบบใหญ่อย่าง SAP และจะดีกว่าหรือไม่? หากระบบ ERP สามารถ On Top/ต่อยอด เพิ่มได้ด้วยระบบ e-Tax Invoice & Receipt ที่ผู้ประกอบการทุกรายจำเป็นต้องใช้ในอนาคตอันใกล้นี้
นอกจาก Office แล้ว ไมโครซอฟท์ยังมีซอฟต์แวร์ฝั่งธุรกิจอีกแบรนด์คือ Dynamics ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ตระกูล ERP/CRM
ในปี 2016 ไมโครซอฟท์จัดทัพ Dynamics ใหม่เป็นชุด Dynamics 365 ที่เป็นบริการบนคลาวด์ และคิดค่าบริการรายเดือนแบบเดียวกับ Office 365 และเมื่อปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์ก็ประกาศว่าจะอัพเดตฟีเจอร์ให้ Dynamics 365 ปีละสองครั้ง แบบเดียวกับ Windows 10
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศข้อมูลของอัพเดตตัวแรกคือ April ’19 Release ที่จะทยอยปล่อยให้ใช้งาน ตั้งแต่เดือนเมษายน 2019 จนถึงเดือนกันยายน 2019 (ก่อนก้าวเข้าสู่อัพเดตตัวที่สองคือ October '19 ต่อไป)
ช่วงหลังเราเห็นไมโครซอฟท์ใช้นโยบายออกอัพเดตฟีเจอร์ทุก 6 เดือน (หรือปีละ 2 ครั้ง) ให้กับซอฟต์แวร์หลายตัว ทั้ง Windows 10 และ Windows Server ล่าสุดแนวทางนี้เริ่มขยายไปยังซอฟต์แวร์ตัวอื่นๆ ของบริษัทแล้ว
Microsoft Dynamics 365 ซอฟต์แวร์ CRM/ERP สำหรับองค์กร เป็นผลิตภัณฑ์ตัวล่าสุดของไมโครซอฟท์ที่จะได้อัพเดตปีละ 2 ครั้ง ทุกเดือนเมษายนและตุลาคม ด้วยเหตุผลว่าองค์กรจะรู้กำหนดเวลาแน่ชัดว่าอัพเดตจะออกเมื่อไร และแอดมินสามารถเตรียมตัวทดสอบฟีเจอร์ใหม่ตั้งแต่เนิ่นๆ (ส่วนอัพเดตย่อยแก้บั๊กและอุดช่องโหว่ ยังปล่อยตามปกติ)
Workday ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ ERP บนคลาวด์ ที่เน้นงานด้านฝ่ายบุคคลและการเงิน (บทความเก่า: รู้จักกับ Workday) ประกาศเข้าซื้อกิจการ Adaptive Insights ซอฟต์แวร์คลาวด์สำหรับการวางแผนธุรกิจ ด้วยมูลค่ารวม 1,550 ล้านดอลลาร์ ซึ่ง Workday บอกว่าดีลนี้จะทำให้บริการมีความครอบคลุม และรองรับการเปลี่ยนผ่านทางธุรกิจสู่ยุคดิจิทัล
ไมโครซอฟท์ซื้อ LinkedIn มาตั้งแต่ปีที่แล้วในราคาถึง 26.2 พันล้านดอลลาร์ ตอนนี้ก็เริ่มการหลอมรวมบริการเข้าเป็นส่วนหนึ่งของไมโครซอฟท์ด้วยการเชื่อมต่อเข้ากับบริการ Dynamics 365 โดยเชื่อมต่อทั้งบริการด้านงานขายและงานฝ่ายบุคคล
ด้านการขายจะกลายเป็นโซลูชั่น Microsoft Relationship Sales ที่เชื่อม LinkedIn Sales Navigator เข้ากับ Dynamics 365 for Sales เพื่อจัดการความสัมพันธ์กับลูกค้า ขณะที่งานด้านฝ่ายบุคคลจะเชื่อม Dynamics 365 for Talent เข้ากับ LinkedIn's Recruiter and Learning เพื่อบริการบุคคลากรในองค์กร
Microsoft Relationship Sales คิดค่าบริการ 135 ดอลาร์ต่อผู้ใช้ต่อเดือน โซลูชั่นทั้งสองจะเริ่มเปิดบริการจริงเดือนกรกฎาคมนี้
Oracle ประกาศซื้อกิจการครั้งใหญ่อีกรอบ โดยซื้อบริษัท NetSuite ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์ ERP, CRM, Commerce และซอฟต์แวร์ฝั่งองค์กรอื่นๆ ผ่านระบบคลาวด์ ด้วยมูลค่า 9.3 พันล้านดอลลาร์ (แพงกว่าตอนซื้อ Sun ด้วยซ้ำ ตอนนั้น 7.4 พันล้านดอลลาร์)
NetSuite ก่อตั้งในปี 1998 โดยได้รับเงินลงทุน 125 ล้านดอลลาร์จาก Larry Ellison ซีอีโอของ Oracle มาตั้งแต่แรก และตัว Ellison เองก็มีหุ้นในบริษัทมากถึง 47.4% (NetSuite เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์) ทั้งสองบริษัทก็มีสายสัมพันธ์ที่ดีต่อกันมายาวนานอยู่แล้ว
ช่วงหลัง Oracle หันมาเน้นซอฟต์แวร์สำหรับลูกค้าองค์กรที่รันผ่านคลาวด์ และไล่ซื้อบริษัทแอพพลิเคชันเฉพาะอุตสาหกรรมเป็นจำนวนมาก การซื้อ NetSuite จะยิ่งเข้ามาเสริมให้ซอฟต์แวร์ของ Oracle แข็งแกร่งมากขึ้น
ปีที่แล้วไมโครซอฟท์โชว์ Dynamics AX7 ซอฟต์แวร์ ERP รุ่นใหม่ มาแล้วครั้งหนึ่ง เมื่อคืนนี้ไมโครซอฟท์ก็ได้ฤกษ์เปิดตัว Microsoft Dynamics AX รุ่นล่าสุดอย่างเป็นทางการ
Dynamics AX เป็นซอฟต์แวร์ ERP สำหรับองค์กรขนาดใหญ่ (enterprise) ความสามารถเด่นของ AX รุ่นล่าสุดคือออกแบบมาสำหรับคลาวด์เป็นหลัก (cloud-first) และใช้งานร่วมกับซอฟต์แวร์อื่นของไมโครซอฟท์ได้เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็น Office 365, Power BI, Cortana Analytics Suite, Dynamics CRM
ซอฟต์แวร์ในชุด Microsoft Dynamics มีทั้งฝั่ง CRM (Dynamics CRM 2016) และฝั่ง ERP ซึ่งแยกย่อยเป็นผลิตภัณฑ์หลายตัวตามขนาดและภูมิภาคขององค์กร วิธีการเรียกรุ่นของไมโครซอฟท์คือเพิ่มตัวย่อห้อยท้าย เช่น Dynamics AX จับตลาดองค์กรขนาดใหญ่, Dynamics NAV สำหรับองค์กรขนาดกลาง และ Dynamics GP สำหรับองค์กรขนาดเล็ก เป็นต้น (ที่มาของตัวย่อมาจากชื่อเดิมของซอฟต์แวร์แต่ละตัว)
ในงานแถลงข่าวเรื่อง Microsoft Dynamics ผู้บริหารของไมโครซอฟท์ก็นำตัวท็อป Dynamics AX รุ่นใหม่ล่าสุด AX7 มาโชว์บ้างเล็กน้อย ก่อนเปิดตัวจริงในเดือนธันวาคม
แนวทางของซอฟต์แวร์ในปัจจุบันและอนาคตที่เริ่มหมุนไปในทิศทางของการบริการ (SaaS) โดยใช้ระบบคลาวด์เข้ามาเป็นโครงสร้างหลักนั้น เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งในตลาดระดับองค์กรและผู้บริโภค (ตัวอย่างเช่น Adobe Creative Cloud หรือ Microsoft Office 365) ซึ่งในฝั่งองค์กร ความเปลี่ยนแปลงอาจจะเป็นไปค่อนข้างช้าพอสมควร เพราะการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างพื้นฐานสำคัญของบริษัท (เช่น ระบบการจ่ายเงินเดือน) ถือเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้รอบคอบพอสมควร
ปัญหาสำคัญในระดับ dilemma ของไมโครซอฟท์บนโลกแห่งกลุ่มเมฆก็คือ โปรแกรมหากินของตัวเองเกือบทั้งหมดเป็น native ทำให้การขยับไปยังกลุ่มเมฆอาจจะไปกินรายได้จากตลาดเดิม
ดังนั้นถึงแม้ไมโครซอฟท์จะมีแพลตฟอร์มกลุ่มเมฆ Azure ที่แข็งแกร่ง และโหมโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ภายนอกมาสร้างแอพบน Azure อย่างต่อเนื่อง แต่นับกันจริงๆ แล้วไมโครซอฟท์กลับมีแอพของตัวเองบน Azure ไม่เยอะนัก ซึ่งตรงนี้จะต่างไปจากกูเกิลที่นิยมสร้างแอพเล็กๆ เฉพาะทางของตัวเองไว้บน App Engine อยู่เรื่อยๆ
โครงการ General Fund Enterprise Business System (GFEBS) เป็นโครงการใช้ ERP ในกองทัพบกสหรัฐฯ ด้วยงบประมาณโครงการ 2,400 ล้านดอลลาร์ มีผู้ใช้ 80,000 คนและต้องบริหารงบประมาณปีละ 140,000 ล้านดอลลาร์ มาถึงวันนี้โครงการกำลังอยู่ในภาวะเสี่ยงที่จะล้มเหลว
เป้าหมายโครงการนั้นตั้งไว้ให้เริ่มใช้งานได้ตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2007 และทำงานได้เต็มรูปแบบในธันวาคม 2009 แต่การเริ่มใช้งานเพิ่งเริ่มได้เมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา และการทำงานเต็มรูปแบบถูกปรับไปอยู่ปลายปีนี้ ส่วนงบประมาณในการวางระบบครั้งแรกนั้นก็เกินกว่าที่ตั้งไว้ไป 53 ล้านดอลลาร์แล้ว