เทคโนโลยี WebM ดูจะได้รับการสนับสนุนจากซอฟต์แวร์มากขึ้นเรื่อยๆ ถ้าไม่นับเว็บเบราว์เซอร์ 3 ยี่ห้อดัง Chrome/Firefox/Opera ที่เปิดตัวไปตั้งแต่แรกแล้ว ก็มี FFmpeg และ VLC 1.1.0 จากฝั่งโปรแกรมมัลติมีเดียที่รองรับ เป็นต้น
ล่าสุด Winamp โปรแกรมฟังเพลงขวัญใจมหาชน ก็ออกรุ่น 5.58 ที่รองรับ WebM แล้วเช่นกัน
ผมคาดว่ากูเกิลอาจจะรอ Android 3.0 ที่น่าจะใช้ WebM ได้ออกมาก่อน แล้วค่อยผลักดันให้ YouTube เข้าสู่ WebM อย่างเต็มรูปแบบ
นักพัฒนาของโครงการ FFmpeg ซึ่งเป็นโครงการซอฟต์แวร์ถอดรหัสวิดีโอแบบโอเพนซอร์ส ประกาศว่าตอนนี้ FFmpeg เริ่มทำงานกับ VP8 ได้แล้ว
VP8 เป็น codec ของบริษัท On2 ซึ่งถูกกูเกิลซื้อกิจการเมื่อปี 2009 ก่อนที่กูเกิลจะเปิดสเปกและซอฟต์แวร์ของ VP8 ให้เป็นโอเพนซอร์สใต้ชื่อโครงการ WebM
หลังจากกูเกิลประกาศโอเพนซอร์ส VP8 ใต้โครงการ WebM การแข่งขันในโลก codec ก็เริ่มเข้มข้นขึ้น โดย WebM นั้นแม้ว่าจะมีความเสรีในการนำไปใช้สูงกว่า H.264 ของฝั่ง MPEG-LA แต่ก็โดนวิจารณ์เรื่องคุณภาพของภาพ ที่ยังด้อยกว่า H.264 เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีประเด็นเรื่อง hardware decoder ที่ยังไม่รองรับ VP8/WebM แต่รองรับ H.264 กันเยอะแล้ว
แม้ว่าอินเทลจะมีความร่วมมือกับกูเกิลในโครงการ Google TV โดยส่งชิป Atom CE4100 เข้าร่วมวง แต่พอถึงเรื่องของ WebM/VP8 อินเทลยังแบ่งรับแบ่งสู้อยู่
Wilfred Martis ผู้บริหารของอินเทลให้สัมภาษณ์ว่า ถ้า WebM ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในโลกของ Smart TV (อินเทลเลือกใช้คำนี้ เราได้เห็นอีกบ่อยๆ แน่) ทางอินเทลก็ยินดีจะทำตัวถอดรหัส WebM ฝังลงไปในฮาร์ดแวร์ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดการบริโภคพลังงาน
ตอนนี้ Atom มีตัวช่วยถอดรหัสวิดีโอที่ได้รับความนิยม เช่น MPEG2, H.264 และ VC-1 อยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม ตอนนี้เราสามารถเล่น WebM ได้อย่างไม่มีปัญหา เพียงแต่มันจะใช้ซอฟต์แวร์ถอดรหัสแทน
จากข่าวที่แล้วว่าจ๊อบส์คิดยังไงกับ WebM และ VP8 และลิงค์ไปยังบล็อกผู้พัฒนา ซึ่งให้ความเห็นว่า VP8 ด้อยกว่า H.264 แต่ในมุมมองผู้ใช้อาจมีคำถามว่าด้อยกว่าแล้วยังไง ในเมื่อ VP8 นั้นเปิดให้ใช้ฟรี หากไม่ด้อยกว่ากันจนน่าเกลียด VP8 ก็เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจกว่าอย่างแน่นอน
การเปรียบเทียบได้ทำการแปลงไฟล์ต้นฉบับเป็น VP8 และ H.264 โดยมีรายละเอียดดังนี้
หลังจาก กูเกิลเปิดตัวโครงการ WebM หนึ่งในคำถามที่คนทั้งโลกสนใจมากที่สุด (ถัดจาก "Flash 10.1 Android ลื่นแค่ไหน") คงเป็นคำถามว่า สตีฟ จ็อบส์ คิดยังไงกับ WebM
โชคดีที่เดี๋ยวนี้จ็อบส์ตอบอีเมลบ่อย เลยมีผู้อ่านคนหนึ่งของเว็บไซต์ The Register ส่งเมลไปถามว่าเขาคิดยังไงกับการประกาศเปิด VP8 คำตอบของจ็อบส์สั้นๆ ตามปกติ แต่คราวนี้เขาไม่ตอบด้วยคำพูด และให้ลิงก์มาแทน
ผ่านช่วงเวลาแห่งข่าวดีมาได้เพียงสองวันหลังกูเกิลเปิดโครงการ WebM ทาง MPEG-LA ซึ่งเป็นผู้เสียผลประโยชน์จากโครงการนี้อย่างชัดเจนก็ออกมาให้สัมภาษณ์แล้วว่าบริษัทกำลังเตรียมการออกขายใบอนุญาตในการใช้สิทธิบัตรจาก MPEG-LA เพื่อใช้งาน WebM
MPEG-LA เป็นการรวมตัวกันของบริษัทกว่า 20 บริษัทที่เอาสิทธิบัตรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องมาเทกองรวมกัน แล้วเรียกเก็บเงินจากผู้ใช้และผู้ผลิตเทคโนโลยีหลายๆ ตัวเช่น MPEG2, MPEG4 หรือกระทั่ง IEEE1394 ด้วยกองสิทธิบัตรที่ใหญ่มาก ทำให้ยากที่ VP8 จะรอดเงื้อมมือ MPEG-LA ไปได้ง่ายๆ หรืออย่างน้อยๆ กูเกิลก็อาจจะต้องสู้รบไปอีกหลายปี
ทั้งไมโครซอฟท์และแอปเปิลก็เป็นสมาชิกผู้อนุญาตให้ MPEG-LA ใช้งานสิทธิบัตรของตนด้วยเช่นกัน
หลังจากตกลงราคากับผู้ถือหุ้นของ On2 เมื่อกลางเดือนที่กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาได้สำเร็จ ก็เริ่มมีข่าวออกมาว่ากูเกิลจะเปิด VP8 ที่เป็น codec ตัวที่ดีที่สุดของ On2 ให้เป็นโอเพนซอร์สโดยสมบูรณ์ในงาน Google I/O เดือนหน้า
การเข้าซื้อ On2 เริ่มต้นมาตั้งแต่เดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยนับแต่เริ่มต้นก็มีผู้คาดการณ์กันมาว่ากูเกิลน่าจะตั้งใจจะปล่อย VP8 เป็นโอเพนซอร์ส เมื่อเดือนที่แล้วทาง Free Software Foundation เองก็ส่งจดหมายเปิดผนึกไปยังกูเกิลอีกครั้งว่ากูเกิลจะช่วยให้โลกนี้ดีขึ้นได้มากแค่ไหนหากมีการเปิด VP8 เป็นโอเพนซอร์ส
ปัญหาในเรื่องของ codec นั้นเป็นปัญหาที่เรื้อรังมานานแม้แต่ใน HTML5 ที่ดูเหมือนจะไม่สามารถหาข้อยุติกันได้ ประเด็นสำคัญอีกอย่างหนึ่งคือยังไม่มี codec ที่ไม่ติดสิทธิบัตรตัวใดได้รับความนิยมอย่างสูงเลย ทำให้โทรศัพท์ทุกวันนี้จำเป็นต้องจ่ายเงินค่าสิทธิบัตรเหล่านี้เพื่อติดตั้งซอฟต์แวร์เล่นไฟล์ MP4 และไฟล์อื่นๆ เช่น DivX ส่วน codec โอเพนซอร์สเช่น Theora นั้นก็มีข้อจำกัดมาก ปัญหาหนึ่งของ codec ตัวนี้คือประสิทธิภาพไม่ดีนัก และทางกูเกิลก็ได้ประกาศสนับสนุนทางการเงินเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของ codec นี้ในโทรศัพท์มือถือ
MPEG LA ซึ่งเป็นผู้ถือสิทธิ์ในเทคโนโลยีตระกูล MPEG ทั้งหมด ได้ออกมาประกาศว่าเทคโนโลยี H.264 หรือชื่ออย่างเป็นทางการของมันคือ MPEG-4 Part 10 AVC ซึ่งเป็นสิทธิบัตรของ MPEG LA จะยังไม่เก็บเงินจากผู้ที่นำเทคโนโลยีนี้ไปใช้กับวิดีโอออนไลน์ จนกว่าจะถึงวันสิ้นปี 2015
ปัจจุบัน H.264 ถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย เช่น ในภาพยนตร์ Blu-ray, เคเบิลทีวีแบบความละเอียดสูง, การแพร่สัญญาณทีวีแบบดิจิทัล และซอฟต์แวร์อีกเป็นจำนวนมาก (ซึ่งทั้งหมดต้องจ่ายเงินให้กับ MPEG LA)