กลุ่มมาตรฐานอุตสาหกรรม Alliance for Open Media (AOMedia) ประกาศออกสเปกการเข้ารหัสวิดีโอความละเอียดสูง 4K UHD ตัวใหม่ชื่อว่า AV1 (ย่อมาจาก AOMedia Video Codec 1.0)
จุดเด่นของ AV1 คือใช้เทคโนโลยีบีบอัดข้อมูลแบบใหม่ที่มีประสิทธิภาพดีกว่าคู่แข่งถึง 30% โดยที่ยังคงฟีเจอร์สำคัญๆ ของการแสดงผลภาพยุคใหม่ไว้ครบถ้วน ด้วยจุดเด่นนี้มันจึงเหมาะกับการใช้ทำวิดีโอสตรีมมิ่งที่จะกินปริมาณทราฟฟิกอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ
มาตรฐานการเข้ารหัสวิดีโอ H.265 หรือ HEVC เป็นมาตรฐานที่ถูกพัฒนาขึ้นให้เหนือกว่า H.264 เดิม (ข่าวเก่า) อย่างไรก็ตาม ค่าใช้งาน HEVC กลับแพงกว่า H.264 มาก จนบริษัทไอทีหลายแห่งหาทางออกด้วยการตั้ง Alliance for Open Media ขึ้นมาทดแทน (บริษัทที่เข้าร่วมมีผู้พัฒนาเบราว์เซอร์ 3 รายใหญ่คือ Google, Microsoft, Mozilla ด้วย)
ผู้ผลิตเบราว์เซอร์ 3 รายใหญ่คือ Mozilla, Google, Microsoft ร่วมกับบริษัทไอทีอีกหลายราย ได้แก่ Amazon, Intel, Cisco, Netflix ประกาศตั้งกลุ่ม Alliance for Open Media พัฒนา codec วิดีโอยุคถัดไปที่ไม่มีปัญหาเรื่องค่าใช้สิทธิบัตร
ปัญหานี้เกิดจาก codec รุ่นหน้า H.265 มีค่าใช้งานแพงกว่า H.264 ในปัจจุบันมาก จนเป็นเหตุให้ Cisco ออกมาประกาศโครงการ Thor เพื่อเป็นทางเลือกใหม่เมื่อไม่นานมานี้
ฝั่งของ Google มีโครงการ VP9/VP10 ของตัวเอง และ Mozilla ก็มีโครงการแบบเดียวกันชื่อ Daala สุดท้ายทุกฝ่ายจึงมารวมกลุ่มกันเป็น Alliance for Open Media เพื่อพัฒนา codec ร่วมกัน
Cisco เปิดตัว Thor โครงการซอฟต์แวร์เข้ารหัส-ถอดรหัสวิดีโอ (video codec) สำหรับอนาคต ที่ประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาสิทธิบัตรของ H.265 มีราคาแพงเกินไป
Cisco บอกว่า H.265 มีสิทธิบัตรอยู่เบื้องหลังเป็นจำนวนมาก ใครก็ตามที่นำ H.265 ไปใช้งานต้องจ่ายเงินแพงกว่าการใช้ H.264 ถึง 16 เท่า (แม้จะใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ให้ลูกค้าใช้ฟรีก็ตาม) และในวงการเองก็มีทางเลือกไม่มากนัก นอกจาก H.265 มีเพียง VP9 ของกูเกิลที่เป็นเทคโนโลยีเฉพาะของกูเกิลเอง (proprietary)
ไมโครซอฟท์ประกาศของใหม่ในตระกูล Azure หลายอย่างดังนี้
กำเนิดมาตรฐานใหม่สำหรับภาพนิ่งบนโลกออนไลน์อีกหนึ่งสกุลแล้วในชื่อสกุล BPG (Better Portable Graphics) ซึ่งทำมาเพื่อทดแทน JPEG โดยเฉพาะ
BPG เป็นโครงการโอเพนซอร์สจากฝีมือของ Fabrice Bellard ที่พัฒนาบนโครงการเข้ารหัสวิดีโอ x265 (มีพื้นฐานมาจาก H.265) รองรับการเข้ารหัสสีแบบ 14 บิต เข้ารหัสแบบ lossless, มี EXIF และฟีเจอร์มาตรฐานอย่างการลดสีเหลื่อม เทียบกับ JPEG ที่เข้ารหัสสีแบบ 8 บิตแล้วจึงเหนือกว่ามาก แถมยังใช้พื้นที่น้อยกว่าถึงเท่าตัวด้วยกัน
หลังจาก Windows 10 รุ่นทดสอบ 9901 หลุดสู่โลกอินเทอร์เน็ตก็มีการขุดคุ้ยว่ามีอะไรอยู่ในรุ่นทดสอบดังกล่าวบ้าง ดังนี้
ท้ายสุด Gabriel Aul หัวหน้าทีม Data and Fundamentals ของ Operating Systems Group ไมโครซอฟท์ เตือนว่าผู้ที่ติดตั้งรุ่นทดสอบ 9901 จะไม่สามารถอัพเกรดไปเป็นรุ่นทดสอบใหม่ในอนาคตได้เนื่องจากมีบั๊ก หากจะอัพเกรดหลังจากนี้ต้องใช้ไฟล์ ISO อย่างเดียว - @GabeAul
Mozilla ออก Firefox 33 ทั้งบนเดสก์ท็อปและ Android ของใหม่ได้แก่
เว็บไซต์ GigaOm มีเรื่องราวเบื้องหลังฟอร์แมตรูปภาพ WebP ที่กูเกิลพยายามผลักดัน โดยมีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
ไฟร์ฟอกซ์รุ่น 33 เตรียมรองรับ H.264 ผ่านโครงการ OpenH264 ที่ทางซิสโก้ดูแลและจ่ายค่าสิทธิบัตรให้ โดยตอนนี้ยังไม่สามารถเปิดใช้งานได้ แต่หากใครใช้รุ่น Nighty ตอนนี้ก็จะเห็นคอนฟิกนี้ให้เลือกแล้ว
กระบวนการเปิดใช้งาน H.264 ในตอนนี้ผู้ใช้จะต้องเปิดคอนฟิก media.peerconnection.video.h264_enabled
แล้วจะสามารถเลือกปลั๊กอิน OpenH264 ขึ้นมาใช้งานได้ ตัวปลั๊กอินจะดาวน์โหลดจากทางซิสโก้โดยตรง แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถดาวน์โหลดได้ ทำให้ยังทดสอบการใช้งานไม่ได้
แนวทางนี้เป็นไปตามที่ไฟร์ฟอกซ์ประกาศไว้ตั้งแต่ปีที่แล้ว
Mozilla ออก Firefox 28 ทั้งบนพีซีและแอนดรอยด์ ของใหม่ที่สำคัญได้แก่
Mozilla เปิดตัว mozjpeg 1.0 ตัวเข้ารหัสภาพสกุล JPEG ใหม่ที่สามารถลดขนาดของไฟล์ภาพลงได้อีก และยังสามารถทำงานได้กับตัวเข้ารหัสส่วนใหญ่ที่ใช้กันในปัจจุบัน
Josh Aas ผู้อยู่เบื้องหลังโครงการนี้บอกว่า ถึงตัวเข้ารหัส mozjpeg แม้จะไม่ได้เป็นการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดในวงการบีบอัดภาพ แต่ก็เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพของ JPEG มากขึ้นไปอีก ส่วนถ้าในอนาคตมีฟอร์แมตใหม่ที่ดีกว่ามาก ก็อาจตัดสินใจเปลี่ยนไปรองรับอีกที
ไดรเวอร์กราฟิกโอเพนซอร์สของลินุกซ์มีปัญหาเรื่องการรองรับฟีเจอร์ไม่เท่ากับไดรเวอร์ปิดของผู้ผลิตเองเสมอ แต่ความร่วมมือจากผู้ผลิตที่ส่งแพตซ์เข้ามาก็ช่วยให้กระบวนการพัฒนาเร็วขึ้นมาก ตอนนี้ค้ายเอเอ็มดีก็ส่งโค้ดเข้าโครงการ Mesa ที่เป็นไดรเวอร์โอเพนซอร์สสำหรับชิปเอเอ็มดี
โค้ดใหม่จะช่วยให้ Mesa รองรับฮาร์ดแวร์ VCE2 บนชิปรุ่นใหม่ๆ ตั้งแต่ Sea Island, Kabini ขึ้นมา โดยมีโค้ดบางส่วนถูกคอมไพล์เป็นไบนารีมาแล้ว
VCE2 เป็นตัวเข้ารหัส H.264 ความเร็วสูง ใช้งานเช่นระบบแสดงภาพไร้สาย ที่ต้องเข้ารหัสให้รวดเร็วเพื่อส่งข้อมูลไปแสดงบนจอภาพ
ตัวเข้ารหัสวิดีโอ VP8 ในโครงการ WebM ของกูเกิลนั้นไม่ค่อยประสบความสำเร็จนัก ทั้งในแง่ประสิทธิภาพที่ด้อยกว่า H.264 และการเปิดตัวโครงการที่ช้ากว่ารอบการพัฒนาฮาร์ดแวร์ ทำให้หน่วยประมวลผลในตลาดไม่ค่อยมีตัวช่วยถอดรหัส VP8 ที่ระดับฮาร์ดแวร์มากนัก
ข้ามมาถึงยุคของ VP9 กูเกิลเตรียมแก้ตัวเรื่องนี้มาเป็นอย่างดี เรื่องประสิทธิภาพนั้นใกล้เคียงกับ H.265 ส่วนเรื่องฮาร์ดแวร์ กูเกิลเปิดสเปกของตัวถอดรหัส VP9 ให้ใช้กันฟรีๆ และไล่เจรจากับผู้ผลิตฮาร์ดแวร์หลายรายให้รองรับ VP9 มาตั้งแต่แรก
YouTube ประกาศว่าที่งาน CES ปีนี้จะเริ่มใช้ตัวเข้ารหัสวิดีโอ VP9 เพื่อสาธิตการส่งวิดีโอไปยังทีวี 4K ประเด็นสำคัญของงานนี้คือผู้ผลิตอย่าง LG และ Sony จะร่วมสาธิตกับกูเกิล แสดงให้เห็นว่ามีผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ร่วมด้วยกับการผลักดันมาตรฐาน VP9
ทางฝั่ง YouTube ระบุว่ายังไม่ปิดช่องที่จะรองรับมาตรฐาน H.265 ที่ใช้เข้ารหัสวิดีโอ 4K เหมือนกัน ส่วนฮาร์ดแวร์ที่รองรับ VP9 ในตัวนั้นจะเริ่มวางตลาดในปี 2015 โดยตอนนี้มีผู้ผลิตชิปที่เปิดตัวว่าจะรองรับแล้วได้แก่ ARM, Intel, Broadcom, และ Marvell
ที่มา - GigaOM
หลังจากกูเกิลเปิดตัว codec VP9 ตัวใหม่ที่ดีกว่า VP8 และ Chrome ก็รองรับไปก่อนแล้ว ล่าสุดฝั่ง Firefox ก็เริ่มเปิดใช้งาน VP9 เป็นค่าดีฟอลต์แล้ว และผู้ใช้ทั่วไปจะเริ่มได้ใช้งานใน Firefox 28 Stable
ท่าทีของ Firefox เรื่อง codec ของวิดีโอในช่วงหลังคือรองรับทั้ง H.264 และ WebM/VP8/VP9
ตอนนี้ยังไม่ชัดเจนว่าเบราว์เซอร์ตัวอื่นๆ จะรองรับ VP9 หรือไม่และเมื่อไรครับ (Opera ที่เปลี่ยนมาใช้เอนจิน Blink น่าจะรองรับตาม Chrome อยู่แล้ว)
ที่มา - Phoronix
ต่อจากข่าว Cisco ใจดีเตรียมปล่อยโค้ด H.264 เป็น open source ทางค่าย Mozilla ที่มีปัญหากับ H.264 ด้วยเหตุผลด้านค่าสิทธิการใช้งานมายาวนาน ก็ประกาศว่า Firefox จะรองรับ OpenH.264 ของ Cisco ในเร็วๆ นี้
Mozilla อธิบายว่าปัญหาของการใช้ H.264 คือต้องจ่ายเงินค่าใช้งานสิทธิบัตรให้กับ MPEG LA แต่เมื่อ Cisco ใจป้ำยอมจ่ายเงินส่วนนี้ให้แทน (ครอบคลุมถึงใครก็ได้ที่นำ OpenH.264 ไปใช้งาน ไม่เฉพาะ Firefox) ปัญหานี้จึงหมดไป
ข่าวสั้น K-Lite Codec Pack โปรแกรมเล่นหนัง ฟังเพลง หรือสตรีมมิ่งผ่านโปรโตคอลต่างๆ เป็นฟรีแวร์บนระบบปฏิบัติการ Windows ได้เดินทางเข้ามาสู่เวอร์ชั่น 10.0.0 เป็นที่เรียบร้อย ซึ่งแต่เดิมถ้าใครอยากใช้ตัว 64 บิต ต้องโหลดมาติดตั้งเพิ่มทีหลัง ส่วนในเวอร์ชั่น 10.0.0 ได้รวม 32 บิต และ 64 บิต เข้าไว้ด้วยกันเป็นที่เรียบร้อยแล้ว เพิ่มความเร็วในการสร้าง thumbnail รองรับการสตรีม HTTP/RTP/RTSP/MMS/RTMP และปรับปรุงเวอร์ชั่น codec และเครื่องมือที่รวมมาภายในตามเวอร์ชั่นที่พัฒนาใหม่
ที่มา - Codec Guide, Codec Guide (Changelog)
โครงการ x264 เป็นความพยายามของโลกโอเพนซอร์สในการสร้างซอฟต์แวร์เข้ารหัสวิดีโอตามมาตรฐาน H.264 (AVC) ซึ่งผลลัพธ์ของโครงการก็ออกมาเป็นซอฟต์แวร์ยอดนิยมตัวหนึ่ง
เมื่อมาตรฐานวิดีโอกำลังวิวัฒนาการเข้าสู่ H.265 (HEVC) โลกโอเพนซอร์สก็เริ่มเดินหน้าพัฒนาโครงการ x265 ด้วยเช่นกัน เบื้องต้นมีเว็บไซต์ของโครงการแล้ว และโค้ดชุดแรกที่พัฒนาโดยบริษัท MultiCoreWare ก็เปิดโค้ดออกมาให้ชุมชนเริ่มพัฒนากันแล้ว
ที่มา - Phoronix
Google พัฒนาโค้ด VP9 สำเร็จแล้ว และเตรียมพร้อมจับใส่เป็นเครื่องมือมาตรฐานของเว็บเบราว์เซอร์ของตนเองอย่าง Chrome และเว็บสำหรับดูวิดีโออย่าง YouTube
VP9 คือ เครื่องมือเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์วิดีโอที่ Google พัฒนาขึ้นมาเองต่อจาก VP8 ซึ่งทั้งหมดเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ WebM ที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่งาน Google I/O เมื่อ 3 ปีก่อน ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นความพยายามของ Google ที่จะพัฒนาเครื่องมือเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์วิดีโอ โดยหวังจะลดการพึ่งพาซอร์สโค้ดที่มีค่าใช้จ่ายทางด้านลิขสิทธิ์อย่าง H.264 ซึ่งเป็นเครื่องมือเข้ารหัสและถอดรหัสไฟล์วิดีโอที่ได้รับความนิยมมากที่สุดอยู่ในขณะนี้
ที่งาน Google I/O กูเกิลได้โชว์รายละเอียดของ VP9 ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้
วิศวกรของกูเกิลบอกว่าจุดเด่นของ VP9 อยู่ที่ความสามารถในการบีบอัดที่ดีกว่า H.264 ที่ช่วยลดแบนด์วิธลงได้ถึง 50% และถ้านำไปเทียบกับ H.265 ที่ขนาดไฟล์เดียวกัน H.265 จะให้คุณภาพของภาพดีกว่า VP9 เพียงแค่ 1% เท่านั้น
สเปกสุดท้ายของ VP9 จะเสร็จวันที่ 17 มิถุนายนนี้ แต่ตอนนี้ผู้ใช้ Chrome 28 Dev สามารถเปิดใช้ VP9 Beta ได้ก่อนแล้ว (จากหน้า chrome://flags) และ VP9 ตัวจริงจะเริ่มเข้ามาใน Chrome 29 Dev ที่เปิดใช้งานมาเป็นมาตรฐาน ไม่ต้องเปิด flag เอง
กูเกิลพยายามอย่างมากกับโครงการ WebM ในการสร้างตัวเข้ารหัสวิดีโอที่ไม่ต้องจ่ายค่าใช้งานสิทธิบัตรแบบ MPEG-4
แต่ที่ผ่านมาโครงการ WebM ยังไม่ประสบความสำเร็จมากนัก เหตุผลหนึ่งก็เพราะตัวเข้ารหัสภาพเคลื่อนไหว (ไม่รวมเสียง) อย่าง VP8 มีคุณภาพไม่สูงมากพอเมื่อเทียบกับคู่แข่ง
ทางออกของกูเกิลคือพัฒนาตัวเข้ารหัสรุ่นถัดไป VP9 ซึ่งตอนนี้สเปกใกล้เสร็จสมบูรณ์ และจะออกสเปกรุ่นสมบูรณ์ในวันที่ 17 มิถุนายนนี้
ลูกค้ารายแรกๆ ของ VP9 ย่อมเป็นผลิตภัณฑ์ของกูเกิลเอง ได้แก่ Chrome, Chrome OS และที่สำคัญคือ YouTube ซึ่งจะเริ่มใช้งานหลัง Chrome พร้อมแล้ว
จากข่าว กูเกิลอ่วม MPEG LA ผนึกกำลัง 12 บริษัทเตรียมฟ้อง WebM ละเมิดสิทธิบัตร ล่าสุดกูเกิลสามารถยุติคดีกับ MPEG LA และบริษัทอื่นๆ ได้แล้ว
Amazon เปิดให้บริการกลุ่มเมฆบริการใหม่ชื่อ Amazon Elastic Transcoder ที่ช่วยให้ลูกค้าแปลงไฟล์วิดีโอให้เป็นฟอร์แมต ขนาด หรือคุณภาพที่ต้องการได้ เหมาะต่อกลุ่มลูกค้าที่ต้องการแปลงไฟล์วิดีโอให้เหมาะต่อการแสดงผลบนอุปกรณ์หลากหลายแบบ (เช่น คอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ และแท็บเล็ต) จากแหล่งข่าวกล่าวว่า บริการนี้รองรับไฟล์วิดีโอต้นฉบับหลากหลายฟอร์แมตด้วยกัน หากแต่ปัจจุบัน บริการรองรับการแปลงไฟล์ให้เป็นผลลัพธ์ตามมาตรฐาน MP4 ซึ่งเป็นวิดีโอแบบ H.264 และเสียงแบบ AAC
ITU ได้อนุมัติฟอร์มแมตวีดีโอ H.265 ซึ่งเป็นรุ่นต่อจาก H.264 ที่เป็นฟอร์แมตมาตรฐานที่พวกเราส่วนใหญ่รู้จักกัน H.265 นั้นมีชื่อเรียกอย่างไม่เป็นทางการอีกชื่อหนึ่งว่า High Efficiency Video Coding (HEVC) โดยมีเป้าหมายคือการลดแบนด์วิดท์ในการสตรีมมิงวีดีโอลงไปกว่าครึ่งหนึ่งเมื่อเทียบกับฟอร์แมต H.264 ซึ่งจะเป็นประโยชน์มากสำหรับการสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ 4k ที่กำลังจะมาแรงในอนาคต และยังช่วยให้การสตรีมมิงวีดีโอความละเอียดระดับ HD บนเครือข่ายของโทรศัพท์มือถือที่มีข้อจำกัดเรื่องแบนด์วิดท์นั้นดีขึ้นด้วยครับ