กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ แถลงคดีของ David Tinley อดีตโปรแกรมเมอร์สัญญาจ้างของบริษัท Siemens Corporation ในสหรัฐฯ ที่เขียนโปรแกรมเป็น spreadsheet สำหรับการจัดการคำสั่งซื้อให้บริษัทเอาไว้ตั้งแต่ปี 2002 และเมื่อส่งมอบงาน ไฟล์จะทำงานไม่ได้เป็นระยะจนบริษัทต้องเรียก Tinley กลับมาซ่อม
Tinley ล็อกไฟล์ห้ามแก้ไขด้วยรหัสผ่าน แต่ในปี 2016 เขาเดินทางไปต่างประเทศและไฟล์ก็หยุดทำงานตามสคริปต์ที่เขากำหนดไว้ ทำให้บริษัทต้องแก้ไขด่วน จึงยอมมอบรหัสผ่านให้โปรแกรมเมอร์ของ Siemens โปรแกรมเมอร์คนนั้นจึงพบโค้ดที่ Tinley วางยาไว้
ตำรวจอังกฤษออกกฎให้เหยื่อคดีร้ายแรงทั้งอาชญากรรมและข่มขืน แสดงความยินยอมมอบสมาร์ทโฟนให้ตำรวจเพื่อดูข้อมูลส่วนตัวที่จะเป็นประโยชน์ต่อการสืบสวนคดี ซึ่งถ้าไม่ยินยอม ก็มีความเสี่ยงที่คดีจะไม่คืบหน้า
โดยในการแถลงการณ์จากหน่วยงานผู้ดูแลเรื่องนี้บอกว่า หากโจทก์ปฏิเสธการอนุญาตให้ตำรวจทำการสอบสวนหรือปฏิเสธการเปิดเผยข้อมูล ตำรวจอาจไม่สามารถทำการสอบสวนหรือดำเนินคดีต่อไปได้
เกิดเหตุระเบิดหลายครั้งที่โบสถ์และโรงแรมในศรีลังกา ระหว่างที่คริสตศาสนิกชนกำลังเฉลิมฉลองเทศกาลอีสเตอร์ มีผู้เสียชีวิตตอนนี้อาจจะถึง 200 รายแล้ว
Washington Post รายงานสถานการณ์ตอนนี้ว่ารัฐบาลได้ประกาศเคอร์ฟิวและบล็อคโซเชียลมีเดียเพื่อป้องกันการแพร่กระจายของข่าวปลอม อ้างอิงจากคนที่อยู่ในพื้นที่ศรีลังกาชื่อ @RoshniFernando โพสต์ Twitter ว่าไม่สามารถติดต่อผ่าน Facebook กับ WhatsApp ได้ แต่ดูเหมือนว่าจะยังสื่อสารผ่าน Twitter และ SMS ได้อยู่ นอกจากนี้เธอก็ไม่สามารถใช้งาน YouTube กับ Instagram ได้เช่นกัน
รัฐบาลสหรัฐนำโดยสำนักงานอัยการเขต Eastern District of Virginia ประกาศแจ้งความผิดต่อ Julian P. Assange ผู้ก่อตั้ง WikiLeaks ที่เพิ่งถูกจับกุมในอังกฤษ ในข้อหาร่วมกันบุกรุกระบบคอมพิวเตอร์ของรัฐบาลสหรัฐที่มีเอกสารลับ
เรื่องนี้คือเหตุการณ์ในปี 2010 ที่ Chelsea Manning หรือชื่อเดิม Bradley Manning นักวิเคราะห์ข่าวกรองของกองทัพสหรัฐ นำเอกสารโทรเลขของสถานทูตสหรัฐทั่วโลกมาเผยแพร่ผ่าน WikiLeaks ซึ่งตัวของ Manning ถูกจับ โดนลงโทษจำคุก ได้รับการลดโทษ และพ้นโทษ ถูกปล่อยตัวมาเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปี 2017
Facebook ออกมาตอบข้อสงสัยเพิ่มเติมเรื่องคลิปเหตุร้ายนิวซีแลนด์ที่คนร้ายไลฟ์การกระทำของตัวเองไว้ ดังนี้
ในวันศุกร์ 15 มีนาคมที่เกิดเหตุมือปืนกราดยิงที่มัสยิดเมืองไครส์เชิร์ต และผู้ก่อเหตุได้ทำการไลฟ์ลง Facebook ด้วยนั้น Neal Mohan หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิตภัณฑ์ของ YouTube บอกกับ The Washington Post ว่าตัวคลิปมีการอัพโหลดขึ้น YouTube เร็วมากอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
Mohan ระบุในกรณีนี้ว่า AI สามารถตรวจจับการอัพโหลดคลิปได้ดีกว่าคน เขาจึงให้คนหยุดกรองเนื้อหา และให้ AI เข้ามาทำแทนก่อน และยังปิดการใช้งานเมื่อคนค้นหาคลิปที่เพิ่งอัพโหลดบนช่องค้นหา อย่างไรก็ตาม คนที่อัพโหลดยังสามารถใช้ทริคอื่นๆ เช่น ทำลายน้ำ ตัดต่อเพิ่ม ทำแอนิเมชั่นเพิ่มเข้าไปให้เพื่อจะสามารถอัพโหลดได้
อย่างไรก็ตาม YouTube ไม่ได้บอกตัวเลขคลิปที่มีการอัพโหลด รวมทั้งจำนวนคลิปที่ YouTube บล็อกได้สำเร็จ ส่วน Facebook ได้ออกมาชี้แจงตัวเลขแล้ว
วันศุกร์ที่ 15 มีนาคม ที่นิวซีแลนด์เกิดเหตุเศร้าสลด มือปืนกราดยิงในมัสยิดเมืองไครส์เชิร์ต ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 50 ราย โดยมือปืนทำการถ่ายทอดสดลง Facebook ไว้ขณะก่อเหตุ
ล่าสุด Chris Sonderby รองประธาน Facebook และที่ปรึกษาทั่วไป ออกมาบอกว่า วิดีโอดังกล่าวในช่วงที่ไลฟ์ มีคนดู 200 ครั้ง และก่อนที่วิดีโอจะถูกลบออก มีคนดูรวมแล้ว 4,000 ครั้ง เริ่มมีผุ้ใช้ report เข้ามาครั้งแรก 29 นาทีหลังจากที่คลิปเริ่มไลฟ์ และหลังไลฟ์จบมีการ report เข้ามา 12 นาทีหลังไลฟ์นั้นจบลง
กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ประกาศผลการจับกุม Konstantin Ignatov ผู้บริหารบริษัท OneCoin Ltd. พร้อมเปิดเผยการแจ้งข้อหา Ruja Ignatov ผู้ก่อตั้ง OneCoin และบริหารช่วงเริ่มต้น โดยการจับกุมเป็นการร่วมมือกันของอัยการ, FBI, และหน่วยสอบสวนอาชญากรรมกรมสรรพากรสหรัฐฯ
William Sweeney เจ้าหน้าที่ FBI ระบุว่า OneCoin ไม่เหมือนการหลอกลวงคริปโตอื่นๆ ที่แม้จะไม่สามารถส่งมอบบริการได้ แต่ก็ยังมีกระบวนการตรวจสอบการถ่ายโอนและประวัติการถือครอง แต่ OneCoin นั้นเป็นเงินคริปโตที่จินตนาการขึ้นมาล้วนๆ ไม่มีมูลค่า และไม่มีช่องทางตรวจสอบประวัติการถือครอง
ตำรวจญี่ปุ่นในเมือง Kariya ได้เข้าจับกุมเด็กนักเรียนหญิงวัย 13 ปีในคดีอาชญากรรมข้อหากระจายโค้ดอันตราย หลังจากที่เธอนำลิงก์ที่ใส่โค้ด infinite loop ที่เขียนด้วย JavaScript แปะลงเว็บบอร์ด
ภายในลิงก์ที่เด็กหญิงแปะลงเว็บบอร์ดนั้น เป็นหน้าเว็บที่มีโค้ด JavaScript ที่เขียนแบบ infinite loop ที่จะส่ง alert เป็น kaomoji พร้อมข้อความที่แปลว่า “ไม่มีประโยชน์ที่จะปิดหลาย ๆ ครั้ง” ออกมาเรื่อย ๆ ซึ่งทุก ๆ ครั้งที่คลิก OK ข้อความจะไม่หายไปแต่จะปรากฏข้อความใหม่ขึ้นมาเรื่อย ๆ แต่เบราว์เซอร์รุ่นใหม่ ๆ ได้ป้องกันเหตุการณ์เหล่านี้ไว้แล้ว อย่างเช่น Edge สามารถติ๊กสั่งห้ามเว็บไซต์แสดง alert อีก หรือ Chrome, Safari ที่แม้จะมี alert แสดงออกมาก็กดปิดแท็บได้
YouTube เจอปัญหาอีกครั้งเมื่อพบว่า YouTube รันโฆษณาคู่กับคลิปเด็กผู้หญิงที่อาจมีท่าทางล่อแหลม ล่าสุดผู้ลงโฆษณารายใหญ่อย่าง Nestle, ดิสนีย์, Epic Games หยุดการโฆษณาบน YouTube แล้ว
เรื่องราวเริ่มต้นจาก Mark Watson ยูทูเบอร์รายหนึ่งโพสต์คลิปตีแผ่ปรากฏการณ์ทั้งหมด เริ่มจากมีคลิปที่เด็กๆ โพสต์ซึ่งเป็นเรื่องรวธรรมดาที่เกิดขึ้น เช่น เล่นของเล่น ฝึกโยคะ แต่มีผู้ใช้บางรายไปทำ time stamp หรือระบุช่วงเวลาคลิปที่เด็กๆ แสดงอาการบางอย่างออกมาโดยไม่ได้ตั้งใจ ล่อแหลมเป็นที่ชื่นชอบของของคนที่ชอบร่วมเพศกับเด็ก และเมื่อคลิกเข้าไป อัลกอริทึม YouTube ก็จะแนะนำคลิปลักษณะเดียวกันมาให้ และมันมีโฆษณาด้วย นอกจากนี้ Watson ยังให้ดูผู้ใช้ที่มีพฤติกรรมคอมเม้นท์หยาบคาย ละลาบละล้วงต่อเด็ก เขาเรียกร้องให้มีใครทำอะไรสักอย่างกับเรื่องนี้
เกิดเหตุระทึกที่ออฟฟิศ Netflix ในลอสแองเจลิส เมื่อมีมือปืนโทรมาข่มขู่ว่าจะก่อเหตุร้าย ส่งผลให้ต้องปิดอาคารด่วน ซึ่งในตึกนั้นมีออฟฟิศบริษัทอื่นอยู่ด้วยคือ Sunset Bronson Studios CBS และช่องข่าวท้องถิ่น
โฆษกกรมตำรวจลอสแอนเจลิส ออกมาเผยว่ามือปืนไม่มีตัวตนอยู่จริง ทางตำรวจได้ตรวจค้นทุกคนที่อยู่ในตึกแล้ว ไม่มีใครมีปืน
ยังไม่มีรายละเอียดว่าคนโทรขู่มีความเกี่ยวข้องอย่างไรกับ Netflix แต่ Forbes และ Los Angeles Times รายงานว่าคนขู่เป็นอดีตพนักงาน Netflix และมีข่าวลือว่ามือปืนแอบบนดาดฟ้า แต่ตำรวจออกมาบอกล่าสุดแล้วว่าไม่เจอมือปืนในตึก
สำนักข่าว Sunday Times เปิดเผยว่าเจ้าหน้าที่ตำรวจในสหราชอาณาจักรได้สอบสวนการข่มขืนเหยื่อที่เป็นผู้เยาว์กว่า 30 คดี ซึ่งเป็นเหยื่อที่หลบเลี่ยงไม่ใส่อายุจริงบนแอพหาคู่ โดยเป็นการสอบสวนมาตั้งแต่ปี 2015 ส่งผลให้รัฐบาลอังกฤษตั้งคำถามถึงความรัดกุมของบริษัททำแอพหาคู่ทั้ง Tinder และ Grindr
Jeremy Wright รัฐมนตรีกระทรวงวัฒนธรรม สื่อ และการกีฬา ระบุว่า มีหลักฐานและเหตุการณ์น่าตกใจปรากฏขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งบริษัทเทคโนโลยีต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อปกป้องผู้เยาว์ ซึ่ง Wright บอกว่าจะเขียนอีเมลไปยังบริษัทผู้สร้างแอพ ตั้งคำถามว่าบริษัทจะมีมาตรการอย่างไร ถ้ายังไม่ได้รับคำตอบที่พึงพอใจ ก็จำเป็นต้องดำเนินการมาตรการในขั้นต่อๆ ไป
นอกจาก คดี Huawei และ Wanzhou Meng เรื่องขายสินค้าให้อิหร่าน กระทรวงยุติธรรมสหรัฐยังยื่นฟ้อง Huawei เป็นคดีที่สองควบคู่กันไป นั่นคือ ขโมยความลับทางการค้าของ T-Mobile
จำเลยในคดีนี้ต่างจากคดีแรกเล็กน้อย นั่นคือ Huawei Device Co., Ltd. และ Huawei Device Co. USA (บริษัทแม่ในจีนและ Wanzhou Meng ไม่เกี่ยวข้องกับคดีนี้) มีความผิดรวม 10 ข้อหา
จากกรณี Wanzhou Meng รองประธานและซีเอฟโอของ Huawei โดนจับในแคนาดา จากคำขอของรัฐบาลสหรัฐ ตอนแรกเราไม่รู้รายละเอียดว่าโดนจับเพราะอะไร แต่ภายหลังเมื่อคดีเข้าสู่ชั้นศาลในแคนาดา ก็มีรายละเอียดจากการไต่สวนออกมา
ล่าสุดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐในฐานะต้นเรื่อง ก็เปิดเผยรายละเอียดของคำฟ้องออกมาแล้ว จำเลยมี 4 รายได้แก่ บริษัทแม่ Huawei Technologies Co. Ltd. ในจีน, Huawei Device USA Inc. บริษัทลูกในสหรัฐ, Skycom Tech Co. Ltd. บริษัทลูกที่เป็นปัญหา และตัวของ Wanzhou Meng โดยมีความผิดรวมกัน 13 ข้อหา
จำเลยแต่ละรายมีความผิดแตกต่างกันไป
ศาลเขตแคลิฟอร์เนีย ตัดสินโทษจำคุก Renato Libric ซีอีโอของสตาร์ตอัพ Bouxtie (อ่านว่า "โบไท) เป็นเวลา 3 ปี เนื่องจากฉ้อโกงนักลงทุน
บริษัท Bouxtie ทำธุรกิจบัตรของขวัญเสมือน (virtual gift card) ที่สามารถซื้อได้ผ่านแอพ บริษัทนี้ได้เงินลงทุนตั้งต้นมาจำนวนหนึ่งเหมือนกับสตาร์ตอัพทั่วไป ซึ่งธุรกิจก็ไปได้ไม่ดีนักจนเงินหมด ไม่สามารถหานักลงทุนรายใหม่ได้ ทำให้ Libric ตัดสินใจปลอมประวัติของตัวเองขึ้นมา
จากเหตุการณ์จับกุม Meng Wanzhou รองประธานและซีเอฟโอของ Huawei ในประเทศแคนาดา ที่ยังขาดรายละเอียดของคดีในช่วงแรกๆ วันนี้เริ่มมีรายละเอียดออกมาเพราะเธอถูกส่งขึ้นศาลแคนาดาแล้ว
John Gibb-Carsley อัยการของรัฐบาลแคนาดา (ซึ่งเป็นผู้ยื่นฟ้อง Meng ต่อศาล) ให้ข้อมูลว่า Meng มีส่วนเกี่ยวข้องกับธุรกรรมในอิหร่าน โดยใช้บริษัทลูก Skycom Tech ในฮ่องกงของ Huawei หลอกให้สถาบันการเงินบางแห่งในสหรัฐทำธุรกิจกับประเทศอิหร่าน (ซึ่งถูกสหรัฐคว่ำบาตรและห้ามทำธุรกิจด้วย)
เป็นเรื่องสะเทือนวงการเทคโนโลยีไม่น้อย เมื่อรัฐบาลออสเตรเลียผ่านกฎหมายต้านการเข้ารหัส ผลของกฎหมายคือ บริษัทเทคโนโลยี หรือแม้กระทั่งเว็บไซต์ที่ปฏิบัติการในออสเตรเลียต้องให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่หากต้องแฮ็กเข้าอุปกรณ์ไอที ผังมัลแวร์เพื่อทำลายการเข้ารหัส เพื่อประโยชน์ต่อการสืบสวนคดี เท่านั้นยังไม่พอ กฎหมายระบุให้บริษัทห้ามเปิดเผยการทำลายการเข้ารหัสออกสู่สังคมด้วย
หากบริษัทปฏิเสธไม่ยอมทำตามจะเจอโทษปรับ 10 ล้านดอลลาร์ และ 5 หมื่นดอลลาร์สำหรับบุคคลที่ไม่ทำตาม ผู้ร่างกฎหมายบอกว่า กฎหมายฉบับนี้จะเจาะจงเฉพาะคดีร้ายแรงเช่น ก่อการร้าย ความผิดทางเพศ ยาเสพติด
National Crime Agency (NCA) หน่วยงานปราบปรามอาชญากรรมร้ายแรงสูงของสหราชอาณาจักร (คล้าย DSI ของไทย) ระบุว่าพบตลาดมืดออนไลน์ (dark web) หลายแห่งเริ่มถอดประกาศขายยา Fentanyl พร้อมๆ กับอาวุธที่ฆ่าคนได้จำนวนมากและระเบิด
Fentanyl แรงกว่าเฮโรอีนถึง 100 เท่า และผู้เสพได้รับยาเกินขนาดได้โดยง่าย เฉพาะในสหราชอาณาจักร มีผู้ใช้ Fentanyl เสียชีวิตในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมาถึง 160 คน
เรื่องนี้น่าจะเป็นกรณีศึกษาสำหรับคนที่ทำแคมเปญการตลาดซึ่งเล่นกับข้อมูลพิกัด โดยที่ญี่ปุ่นมีข่าวว่าตำรวจได้จับกุมชายวัย 29 ปี คนหนึ่ง เนื่องจากทำการโกงเครือห้างสรรพสินค้า Aeon คิดเป็นมูลค่าความเสียหายถึง 5.38 ล้านเยน
โดยห้างสรรพสินค้า Aeon มีกิจกรรมที่ให้เล่นผ่านแอปของทางห้าง หากลูกค้าเดินเข้ามาภายในห้างสรรพสินค้าสาขาใดก็ได้ จะได้รับแต้มสะสมมูลค่า 2 เยน ในทุกครั้งที่เข้ามา ซึ่งชายคนดังกล่าวได้โกงข้อมูลพิกัด จนสามารถเดินเข้าห้าง Aeon แต่ละสาขาทั่วญี่ปุ่นไปมา และได้เงินโบนัสนี้รวมแล้วกว่า 2.7 ล้านครั้ง
ปกติแล้ว ฟีเจอร์ล้างข้อมูลของ iOS มักถูกใช้ในกรณีที่เครื่องหายหรือถูกขโมย แต่ในคราวนี้มันกลับถูกนำมาใช้ในทางที่ไม่ถูกต้องเท่าไหร่นัก
ตำรวจนิวยอร์กจับกุมหญิงสาวผู้หนึ่งในคดีใช้อาวุธปืนยิงคนได้รับบาดเจ็บ และยึด iPhone X มาเป็นหลักฐานในคดีดังกล่าว แต่จู่ๆ ไอโฟนเครื่องนี้ก็ถูกล้างข้อมูลทั้งหมด (คาดว่าผ่านทาง iCloud) โดยทางตำรวจเชื่อว่าหญิงสาวคนดังกล่าวเป็นผู้กระทำเหตุการณ์ดังกล่าว เพื่อทำลายหลักฐานในคดี
หญิงสาวคนนี้ชื่อว่า Juelle L. Grant ถูกกล่าวหาว่าเป็นผู้ขับรถให้กับมือปืนในขณะก่อเหตุ รวมไปถึงช่วยเหลือมือปืนในการหลบหนีอีกด้วย
คดีมัลแวร์ Mirai ที่ติดไปตามอุปกรณ์ IoT จำนวนมาก จนสามารถยิง DDoS ให้เว็บใดๆ ล่มได้ และสามารถล่มบริการ DynDNS ได้ในปี 2016 ตอนนี้คดีสิ้นสุดลงแล้ว เมื่อศาลนิวเจอร์ซีย์กำหนดโทษให้ Paras Jha ให้ถูกกุมขังในบ้านนาน 6 เดือน ปรับ 8.6 ล้านดอลลาร์หรือ 280 ล้านบาท คุมความประพฤติ 5 ปี และทำงานบริการสังคมอีก 2,500 ชั่วโมง
Jha สารภาพเมื่อปลายปี 2017 ว่าร่วมกับ Dalton Norman สร้างมัลแวร์ Mirai และเผยแพร่มัลแวร์ติดเราท์เตอร์และอุปกรณ์ IoT ได้กว่า 100,000 เครื่อง นอกจากจะใช้ยิง DDoS แล้ว ยังใช้คลิกลิงก์หาค่าโฆษณา
บทความล่าสุดจากสำนักข่าวรอยเตอร์แสดงให้เห็นปัญหาอีกด้านของเงินคริปโต ที่มีการก่ออาชญากรรมในระบบมากขึ้นเรื่อยๆ แต่กลับมีอัตราการดำเนินคดีน้อย โดยตัวเลขล่าสุดคาดว่าครึ่งปีแรกของปี 2018 นี้มีการขโมยเงินคริปโตรวม 800 ล้านดอลลาร์หรือ 26,000 ล้านบาท และคาดว่าผู้เสียหายถึง 85% ไม่ได้แจ้งความ
บริษัทวิจัย Autonomous Next and Crypto Aware สัมภาษณ์เหยื่อขโมยเงินคริปโต 6 คน และพบว่ามีเพียง 2 รายเท่านั้นที่แจ้งความ
Didi Chuxing ปิดบริการเรียกรถแบบคาร์พูล Hitch ไปชั่วคราวหลังเกิดเหตุคนขับฆาตกรรมผู้โดยสารไปแล้วสองครั้ง สังคมกดดันให้บริษัทไปหามาตรการความปลอดภัยมา ล่าสุด ทางบริษัทกำลังทดลองระบบใหม่คืออัดเสียงเวลาใช้บริการ ลูกค้าต้องกดยินยอมให้อัดเสียงถึงจะใช้บริการได้
บริษัทระบุว่าข้อมูลเสียงจะอยู่ในเซิร์ฟเวอร์ ทำการเข้ารหัสไว้ด้วย แต่มาตรการดังกล่าวนำมาซึ่งความกังวลเรื่องการละเมิดความเป็นส่วนตัวด้วย มีผู้ใช้หลายรายท้วงติงเชิงว่า ระหว่างที่อยู่บนรถ จะไม่สามารถพูดคุยเรื่องส่วนตัวกับเพื่อน หรือคุยผ่านโทรศัพท์ได้เลย รู้สึกเหมือนถูกดักฟังตลอดเวลาทั้งคนขับและผู้โดยสาร
ถือเป็นปัญหาที่ท้าทาย Didi Chuxing ผู้ให้บริการเรียกรถรายใหญ่ของจีน ที่เมื่อเร็วๆ นี้เกิดเหตุการณ์คนขับฆาตกรรมและข่มขืนผู้โดยสาร ที่สำคัญคือเกิดขึ้นถึงสองครั้งในรอบสามเดือน ล่าสุดทางบริษัทออกมาขอโทษและหยุดให้บริการแบบ Hitch ชั่วคราวเพื่อยกเครื่องความปลอดภัย และโทษความ "ไม่รู้" ของบริษัทที่ทำให้เกิดเหตุสลดนี้
Didi Chuxing เจอคำวิจารณ์อย่าล้นหลามจากชาวเน็ต มีการทำแคมเปญจะลบแอพออกด้วย แม้บริษัทจะหยุดให้บริการ Hitch ไปแล้วชั่วคราว แต่คำถามที่สังคมสนใจคือ จากนี้ไป Didi Chuxing จะดำเนินการเรื่องความปลอดภัยอย่างไรต่อจากนี้
ตำรวจเกาหลีจับคนร้ายสร้างเว็บโป๊รวมภาพและคลิปแอบถ่าย โดยคนร้ายอัพโหลดคลิปแอบถ่ายผิดกว่าแสนคลิปใน 7 เว็บไซต์ โฆษณาค้าประเวณีอีก 15,000 รายการ สร้างรายได้ถึง 200 ล้านวอน (180,000 ดอลลาร์)
ทางตำรวจยังบอกด้วยว่า คนร้ายได้สร้างโดเมนเว็บไซต์รองรับไว้ 40 โดเมนเพื่อให้เปลี่ยนที่อยู่โดเมนได้ถ้าเว็บหายไปเกาหลีใต้ยังมีปัญหาเรื่องกล้องแอบถ่ายระบาดในที่สาธารณะ จนผู้หญิงต้องคอยระวังตลอดเวลาเข้าห้องน้ำ ลองเสื้อผ้า