นับว่าดุเดือดจริงๆ กรณีคลิป Facebook Live ของ Diamond Reynolds ถ่ายทอดสดเหตุการณ์หลังแฟนตัวเองถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิต Facebook นำคลิปดังกล่าวออกชั่วคราวโดยให้เหตุผลว่าเป็นความผิดพลาดทางเทคนิค คลิปนั้นกลับมาดูได้โดยมีป้ายคาดเนื้อหามีความรุนแรง และจะไม่ play บนไทม์ไลน์อัตโนมัติจนกว่าผู้ใช้จะกด play
นอกเหนือจากประเด็นความขัดแย้งระหว่างเจ้าหน้าที่รัฐ กับคนผิวสีแล้ว สปอตไลต์อีกดวงก็หันมาจับจ้องที่ Facebook ทันที สังคมตั้งคำถามว่า Facebook เป็นหน่วยเซนเซอร์เนื้อหาไปตั้งแต่เมื่อไร ล่าสุด Facebook ออกมาแถลงนโยบาย และสำนักข่าว Techcrunch ได้พูดคุยเพิ่มเติมกับทีมงาน Facebook สรุปความสำคัญได้ดังนี้
ช่วงนี้กระแส Pokemon Go กำลังมาแรง ล่าสุดมีข่าวว่า Shayla Wiggins สาวชาวอเมริกันในรัฐไวโอมิง ออกไปตามล่าหาโปเกมอนในแถบแม่น้ำ Big Wind River เพื่อจับโปเกมอนธาตุน้ำ โดยเดินลัดเลาะไปตามชายฝั่ง แต่สิ่งที่เธอพบกลับเป็นศพที่จมน้ำอยู่
เธอแจ้งตำรวจท้องถิ่นและตำรวจก็มาทันที ซึ่งตำรวจสอบสวนเบื้องต้นว่าผู้เสียชีวิตน่าจะเกิดอุบัติเหตุจมน้ำ และไม่มีร่องรอยของการฆาตกรรม
จากเหตุการณ์ที่ผู้หญิงผิวสี Diamond Reynolds ใช้ Facebook Live ถ่ายทอดเหตุการณ์คู่หมั้นของเธอ Philando Castile ถูกตำรวจยิงจนเสียชีวิตบนรถ หลังจากนั้น Facebook ก็ลบคลิปดังกล่าวออก
เหตุการณ์นี้มี 3 ประเด็นใหญ่ที่ควรกล่าวถึง หนึ่งคือ เป็นอีกครั้งที่คนผิวสีถูกตำรวจยิงตาย สอง Facebook กลายเป็นที่พึ่งของคนที่รู้สึกไม่ปลอดภัย และสาม Facebook กลายเป็นด่านเซ็นเซอร์ข้อมูลก่อนออกสู่สังคมไปแล้ว
Sanford Wallace ชาวอเมริกันวัย 47 ปีที่เรียกตัวเองว่า Spam King ถูกศาลสั่งจำคุก 2 ปีครึ่งและปรับอีกหลายแสนเหรียญ ฐานปล่อยสแปมกว่า 27 ล้านครั้งไปยังผู้ใช้บนเฟซบุ๊ก หลังเจ้าตัวยอมรับความผิดต่อศาลเมื่อเดือนสิงหาคมปีที่แล้ว โดยศาลสั่งให้ Wallace เข้ารับการบำบัดทางจิตเวช รวมถึงห้ามครอบครองและใช้งานคอมพิวเตอร์หากไม่ได้รับอนุญาตด้วย
Wallace ยอมรับว่าในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2008 ถึงกุมภาพันธ์ 2009 เขาได้บัญชีเฟซบุ๊กกว่า 550,000 บัญชีจากการเปิดหน้าเว็บปลอมกว่า 1,500 เว็บและปล่อยสแปมไปยังบัญชีเฟซบุ๊กเหล่านั้นดังที่กล่าวไปข้างต้น รวมถึงยอมรับว่าละเมิดคำสั่งศาลที่ห้ามเขายุ่งเกี่ยวกับเฟซบุ๊กในปี 2009 ด้วย
EFF (Electronic Frontier Foundation) องค์กรไม่หวังผลกำไรที่ทำด้านสิทธิของผู้ใช้งานไอที ได้เผยข้อมูลจากการศึกษาจนทราบว่าขณะนี้ FBI กำลังร่วมกับ NIST ซึ่งเป็นหน่วยงานออกมาตรฐานอุตสาหกรรมสหรัฐอเมริกา พัฒนาปัญญาประดิษฐ์ที่จะวิเคราะห์ภาพรอยสักเพื่อช่วยในการระบุตัวตนอาชญากร
แนวคิดของโครงการนี้คือการใช้พลังการวิเคราะห์ภาพถ่ายรอยสักเพื่อนำมาทำข้อมูลเฉพาะตัวของอาชญากรแต่ละคน ขั้นตอนแรกของการพัฒนาปัญญาประดิษฐ์นี้เป็นการใช้ภาพถ่ายรอยสักของผู้ต้องคดีกว่า 15,000 ภาพ มาสอนให้ระบบรู้จักจำแนกแยกแยะลักษณะเฉพาะของรอยสักเหล่านั้น หลังจากนั้นจะเพิ่มจำนวนภาพถ่ายอีกกว่า 100,000 ภาพ โดยนำมาจากฐานข้อมูลของหน่วยงานรัฐใน Florida, Michigan และ Tennessee
ProPublica เว็บไซต์ข่าวเชิงลึกของสหรัฐอเมริกา ตีพิมพ์รายงานชิ้นใหม่ที่เป็นการวิเคราะห์อัลกอริทึมของซอฟต์แวร์ประเมินความเสี่ยงด้านอาชญากรรมจากสถิติ ซึ่งผู้พิพากษาศาลต่างๆ มักจะนำข้อมูลเหล่านี้ (ที่จะออกมาเป็นคะแนนเรียกว่า risk assessment score) มาพิจารณาร่วมกับโทษที่ได้รับทำให้กำหนดโทษที่เหมาะสม โดย ProPublica ระบุว่าตัวซอฟต์แวร์มีความลำเอียงหรืออคติ (bias) ในการประเมินและให้คะแนน
ที่เมืองชิคาโก สำนักงานตำรวจประจำเมืองชิคาโก (Chicago Police Department: CPD) ได้ร่วมมือกับสถาบันเทคโนโลยีแห่งอิลลินอยส์ (Illinois Institute of Technology: IIT) สร้างระบบอัลกอริทึมซึ่งจะทำนายความเสี่ยงที่จะเกิดเหตุอาชญากรรม จากเดิมที่อาศัยกระบวนการตรวจตราอย่างเข้มงวดทั่วเมือง หลังจากที่เมื่อปีที่ผ่านมามีคนถูกยิงมากถึง 3,000 คน
เมื่อวานนี้พนักงานสอบสวนกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับอาชญากรรมทางเทคโนโลยี (บก.ปอท.) ขออนุมัติหมายจับนางสาวหนึ่งนุช ชาญกิจ จากข้อหาทำความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 และพ.ร.บ.คอมพิวเตอร์มาตรา 14
ข้อกล่าวหาระบุถึงการแชตระหว่างผู้ใช้เฟซบุ๊ก Burin Intin และ Nuengnuch Chakij โดยผู้ใช้ Burin ได้ลงข้อความเจ้าหน้าที่ระบุว่ามีความผิดอย่างชัดเจน พร้อมกับลงข้อความต่อมาว่า "อย่าว่าผมนะที่คุยแบบนี้" และผู้ใช้ Nuengnuch ได้ตอบกลับว่า "จ้า" เจ้าหน้าที่ระบุว่าหมายถึงการยอมรับ และถูกตีความว่ามีส่วนร่วมในการนำข้อมูลเข้าระบบคอมพิวเตอร์
พนักงานสอบสวนไม่อนุญาตให้ประกันตัวในชั้นสอบสวน
ฝ่ายอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์และทรัพย์สินทางปัญญา (Computer Crime and Intellectual Property Section) สังกัดกระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ ร่วมกับอัยการเขต Northern District of Georgia ฟ้องนาย Aaron Blake Buckley ฐานละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา จากการนำแอพพลิเคชันบน Play Store มาปล่อยบน Applanet ซึ่งเป็นสโตร์เถื่อนเป็นระยะเวลากว่า 2 ปี ซึ่งเจ้าตัวก็ยอมรับผิดต่อศาล
นอกจากนาย Buckley แล้ว นาย Gary Edwin Sharp ก็ถูกยื่นฟ้องและยอมรับผิดในข้อหาเดียวกัน ในฐานะผู้มีส่วนร่วมและนำแอพไปปล่อยบน SnappzMarket สโตร์เถื่อนอีกแห่ง โดยทั้งคู่จะถูกตัดสินความผิดในวันที่ 1 สิงหาคมนี้
ทั้งนี้กระทรวงยุติธรรมสหรัฐฯ รายงานว่ามีแอพพลิเคชันมากกว่ากว่า 4 ล้านแอพถูกดาวน์โหลดผ่าน Applanet คิดเป็นมูลค่ารวมกันกว่า 17 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่บน SnappzMarket มีผู้ดาวน์โหลดแอพไปกว่า 1 ล้านรายการ คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 ล้าน 7 แสนเหรียญสหรัฐฯ
ที่มา - DoJ via Android Central
จากกรณีพบศพพนักงานแอปเปิลเสียชีวิตในห้องประชุมใหญ่ของบริษัท และเจ้าหน้าที่สืบสวนชั้นต้นยังไม่ลงสาเหตุของการเสียชีวิต ล่าสุดเจ้าหน้าที่สืบสวนของเมืองซานตาคลาราที่เข้ามารับผิดชอบคดีนี้ เผยรายละเอียดของผู้เสียชีวิตแล้ว
ผู้เสียชีวิตคนดังกล่าวคือ Edward Thomas Mackowiak อายุ 25 ปี เป็นชาวเมืองซานตาคลารา ทำงานตำแหน่งวิศวกรซอฟต์แวร์ของแอปเปิล เจ้าหน้าที่สืบสวนได้ระบุสาเหตุหลังชันสูตรศพว่าเป็นการฆ่าตัวตาย โดยใช้อาวุธปืนที่ตกในที่เกิดเหตุยิงเข้าที่หัว แต่ยังไม่ระบุสาเหตุของการฆ่าตัวตาย
ตัวแทนของแอปเปิลเผยว่านี่เป็นเหตุการณ์ที่น่าเศร้าสำหรับบริษัท เพราะบริษัทต้องสูญเสียบุคลากรรุ่นใหม่ไฟแรง อนาคตไกล และมีความสามารถสูงไป
ที่มา - Reuters
เมื่อช่วงเช้าเวลา 8.30 น. ตามเวลาท้องถิ่นรัฐแคลิฟอร์เนีย มีรายงานข่าวจากสถานีโทรทัศน์ KTVU ว่ามีนายอำเภอประจำเมือง Cupertino รัฐแคลิฟอร์เนียเข้าตรวจสอบศพปริศนาภายในห้องประชุมใหญ่ของสำนักงานใหญ่แอปเปิลในรัฐแคลิฟอร์เนีย หลังจากได้รับแจ้งว่ามีศพคนตายอยู่ภายในบริษัท
หลังจากการสืบสวนเบื้องต้นพบว่าศพดังกล่าวเป็นศพผู้ชาย ใกล้ๆ ศพมีอาวุธปืนวางอยู่ และจากการหาหลักฐานพบว่าชายคนนี้เป็นพนักงานของแอปเปิลด้วย เบื้องต้นเจ้าหน้าที่ยังไม่ลงความเห็นเรื่องสาเหตุของการตายในครั้งนี้ และกำลังสืบสวนจากปัจจัยต่างๆ เพิ่มเติมเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง
แน่นอนว่าเรื่องนี้แอปเปิลขอปฏิเสธในการให้ความเห็นทุกกรณี
ที่มา - 9to5mac, KTVU, Mercury News
ช่วงเวลาไม่ถึง 2 เดือนที่ผ่านมา มีบริษัททำธุรกิจออนไลน์หลายแห่งได้รับอีเมลจากผู้ที่อ้างตัวว่าเป็นกลุ่ม "Armada Collective" ข่มขู่ว่าจะโจมตีบริการออนไลน์ของบริษัทเหล่านั้นด้วยวิธี DDoS และยื่นเงื่อนไขให้บริษัทจ่ายเงินเป็น bitcoin เพื่อแลกกับการละเว้นไม่ลงมือโจมตี ซึ่งผลก็คือมีหลายบริษัทยอมจ่ายเงินแต่โดยดี ขนาดที่ว่ารวมมูลค่าแล้วเป็นเงินกว่า 100,000 ดอลลาร์ ทั้งที่ในความเป็นจริงผู้ส่งอีเมลข่มขู่นั้นยังไม่เคยโจมตีใครเลยสักครั้ง
ใจความของอีเมลข่มขู่กรรโชกนั้น ระบุจำนวนเงินที่ต้องการไว้ที่ 10 bitcoin (หรือประมาณ 165,000 บาท) โดยมีการหลอกล่อให้ผู้รับอีเมลกดเข้าไปดูข้อมูลผลการค้นหาของชื่อ "Armada Collective" ซึ่งคาดว่าเป็นการแอบอ้างเอาชื่อมาขู่มากกว่าจะเป็นฝีมือกลุ่มดังกล่าวจริง ("Armada Collective" เป็นชื่อของกลุ่มที่ลงมือโจมตี ProtonMail ผู้ให้บริการอีเมลแบบเข้ารหัสที่โฆษณาตัวเองว่า "NSA เจาะไม่เข้า" โดยลงมือโจมตีเพื่อเรียกค่าไถ่เป็น bitcoin ไปเมื่อปีก่อน)
ตำรวจเนเธอร์แลนด์จับชายอายุ 36 ปีที่เป็นผู้ต้องสงสัยในคดีฟอกเงิน และเขายังเป็นเจ้าของบริษัทที่ขายโทรศัพท์ที่ส่งแต่อีเมลเข้ารหัสได้เท่านั้น โดยบริษัทของเขาเองก็ถูกกล่าวหาว่าให้บริการการสื่อสารกับอาชญากร
โทรศัพท์ที่ผู้ต้องสงสัยผู้นี้ขายมีราคา 1,500 ยูโร หรือประมาณหกหมื่นบาท แต่ไม่สามารถใช้งานอย่างอื่นได้นอกจากอีเมลเท่านั้น โดยอีเมลจะเข้ารหัสด้วยโปรแกรม PGP ที่มีใช้กันโดยทั่วไป
ทางตำรวจเนเธอร์แลนด์ระบุว่า ตอนนี้ได้สำเนาข้อมูลจากเซิร์ฟเวอร์หลายเครื่องในเนเธอร์แลนด์ และอีกเครื่องหนึ่งในแคนาดา ข้อมูลที่ได้ในตอนนี้คือข้อมูลว่าใครส่งอีเมลหาใครบ้าง แต่กำลังพยายามหาถอดรหัสข้อความต่อไป
Theranos ออกมายอมรับว่าตอนนี้สำนักงานอัยการของ California เขตเหนือ และ SEC (U.S. Securities and Exchange Commission) หน่วยงาน ก.ล.ต. ของสหรัฐอเมริกา กำลังเข้ามาสืบสวนว่า Theranos กระทำความผิดเข้าข่ายหลอกลวงนักลงทุนหรือไม่
ข้อมูลนี้มาจากบันทึกที่ Theranos ส่งถึงบริษัทพันธมิตรธุรกิจซึ่งร่วมถึง Walgreens Boots Alliance Inc. บริษัทเจ้าของร้านขายยาผู้รับหน้าที่เป็นศูนย์ตรวจเลือดของ Theranos กว่า 40 แห่ง โดยมีใจความระบุว่า Theranos กำลังทำงานอย่างใกล้ชิดกับบรรดาหน่วยงานรัฐให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่สำหรับการสืบสวนในทุกประเด็น
Dell SecureWorks เผยแพร่รายงานเกี่ยวกับตลาดว่าจ้างแฮกเกอร์ใต้ดิน ซึ่งให้บริการหลากหลายรูปแบบในราคาไม่แพง ตั้งแต่ DDoS ในราคา 5 เหรียญต่อชั่วโมง, คะแนนสะสมสายการบิน 300,000 แต้มในราคา 90 เหรียญ, หรือแม้แต่มีบริการสอน เช่น การส่งอีเมลหลอกล่อ (phishing emails) ในราคา 20 - 40 เหรียญ เป็นต้น
จากการสำรวจพบว่าบริการเหล่านี้ให้บริการเหมือนธุรกิจทั่วไป มีฝ่ายบริการลูกค้าตลอด 24 ชั่วโมง และมีบริการทดลองโจมตีให้ทดลองฟรี
รายงานยังระบุว่าข้อมูลที่เป็นเป้าหมาย ไม่ได้มีแค่เพียงข้อมูลทางการเงิน เช่น หมายเลขบัญชี และหมายเลขบัตรเครดิตเท่านั้น แต่รวมถึงบัญชีสะสมไมล์สายการบิน และบัญชีสะสมคะแนนของโรงแรมด้วย
ต่อจากข่าว FBI ถอดรหัส iPhone ได้แล้ว ไม่ต้องพึ่งแอปเปิล ล่าสุดความรู้ด้านการถอดรหัสครั้งนี้กำลังจะถูกนำไปใช้กับของกลาง iPhone ในคดีอื่นๆ ด้วยครับ
คดีที่ FBI และกระทรวงยุติธรรมเรียกร้องให้แอปเปิลอำนวยความสะดวกให้ถอดรหัสง่ายขึ้น เป็นคดีการยิงที่เมือง San Bernardino แต่ในสหรัฐอเมริกาก็มีคดีอื่นๆ ที่ตำรวจหรืออัยการท้องถิ่นจำเป็นต้องเข้าถึงข้อมูลใน iPhone ของผู้ต้องสงสัยด้วยเหมือนกัน และประสบปัญหาเรื่องการถอดรหัสแบบเดียวกัน
Dennis Nicholl ชายวัย 63 ปี ผู้อาศัยอยู่ใน Chicago ถูกจับกุมในขณะโดยสารรถไฟสาย Red Line เขาโดนแจ้งข้อหาหนักจากการแอบใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์รบกวนสัญญาณโทรศัพท์มือถือในระหว่างการเดินทาง
Nicholl เดินทางด้วยรถไฟสาย Red Line ไปทำงานทุกวัน ผู้โดยสารรถไฟสายนี้ได้แจ้งร้องเรียนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเรื่องปัญหาสัญญาณโทรศัพท์ที่ขัดข้องอยู่เป็นนิจมานานตลอดระยะเวลาหลายเดือนหลัง ในขณะที่ยังไม่มีใครค้นพบสาเหตุของปัญหานั้นเอง ผู้โดยสารรายหนึ่งรู้สึกไม่สบายใจจนถึงขนาดโทรหาหน่วยฉุกเฉิน 911 นั่นเป็นที่มาของการสืบสวนสอบสวนเรื่องนี้โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจ
กลายเป็นหนึ่งในประเด็นร้อน เมื่อหนึ่งในคนขับรถบนแพลตฟอร์มของ Uber ที่มีชื่อว่า Jason Dalton ก่อเหตุกราดยิงที่เมือง Kalamazoo มลรัฐมิชิแกนของสหรัฐอเมริกา เป็นผลทำให้มีผู้เสียชีวิตหกรายและบาดเจ็บสองคน สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาคือ Uber ถูกวิจารณ์อย่างหนักว่าระบบตรวจสอบคนขับของ Uber ทำไมถึงไม่มีการตรวจสอบเรื่องเหล่านี้ได้ดีเพียงพอ
เสียงวิจารณ์ดังกล่าวทำให้ Joe Sullivan หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของบริษัท ออกมาระบุว่าระบบของ Uber ในปัจจุบันนั้นถือว่าปลอดภัยเพียงพอ และการตรวจสอบประวัตินั้นก็ไม่พบความผิดปกติใดๆ เรื่องนี้ถูกเน้นย้ำโดย Ed Davis ซึ่งเป็นหนึ่งในที่ปรึกษาของบริษัทและเป็นอดีตกรรมการของตำรวจในเมืองบอสตัน มลรัฐแมสซาชูเซตส์ ระบุว่าระบบปัจจุบันของ Uber นั้นดีเพียงพอแล้ว
หลังมีการเปิดเผยออกมาว่า ตำรวจดัตช์ฺกำลังฝึกอินทรีเพื่อจับโดรนผิดกฎหมาย ตำรวจนครบาลของอังกฤษก็ออกมาเปิดเผยว่ากำลังพิจารณาใช้อินทรีเพื่อดักจับโดรนผิดกฎหมายอยู่เช่นกัน โดยกำลังพยายามศึกษาวิธีการของตำรวจเนเธอแลนด์อยู่ด้วย
การใช้งานโดรนอย่างผิดกฎหมายในอังกฤษนี้ มีรายงานจากกระทรวงยุติธรรมเมื่อปลายปีที่แล้วว่า เจ้าหน้าที่เรือนจำในเมืองแมนเชสเตอร์ พบการใช้โดรนเพื่อลักลอบขนส่งโทรศัพท์มือถือ ซิมการ์ดและยาเสพติดเข้ามาในเรือนจำ รวมไปถึงมีความพยายามใช้โดรนบินเข้ามาในเรือนจำของทั้งอังกฤษและและเวลส์ถึง 9 ครั้งในช่วง 5 เดือนแรกของปีที่แล้วด้วย
ที่มา - BBC
ในบางประเทศที่ให้ความสำคัญเรื่องการจัดการโดรนเถื่อนที่ออกบินโดยไม่ได้รับอนุญาต ก็จะมีวิธีการปราบปรามแตกต่างกันไป ก่อนหน้านี้ก็มีโดรนขับไล่โดรนที่ Michigan Tech กำลังพัฒนาอยู่ ล่าสุดหน่วยงานตำรวจดัตช์ใช้วิธีธรรมชาติในการดูแลเรื่องนี้ นั่นคือการฝึกนกอินทรีให้จัดการจู่โจมโดรนในเวลาฉุกเฉิน เช่นกรณีโดรนเถื่อนรุกล้ำบางพื้นที่และลอบเก็บภาพ
หน่วยงานตำรวจดัตช์ร่วมมือฝึกซ้อมนกอินทรีกับ Guard From Above บริษัทรับฝึกซ้อมสัตว์ปีก ในข่าวมีภาพ GIF ที่นกอินทรีถูกฝึกสอนให้ตะครุบโดรนของ DJI กลางอากาศ และนำกลับสู่พื้นดินด้วย
ที่มา - Engadget
นี่ไม่ใช่รายการคดีเด็ด แต่เป็นกรณีที่เกิดขึ้นจริงใน Arlington County รัฐเวอร์จิเนียร์ สหรัฐฯ เมื่อมีช่างซ่อมคอมพิวเตอร์เข้าซ่อมเครื่องของลูกค้าที่บ้านพัก จู่ๆ เขาก็ถูกเจ้าของบ้านใช้ปืนจี้ ว่าถ้าไม่ซ่อมเครื่องของเขาให้ได้ ก็จะโดนฆ่า และถูกหน่วงเหนี่ยวไม่ให้ช่างรายนี้ออกไปเอาอะไหล่ด้วย
สุดท้ายเรื่องคลี่คลาย เมื่อภรรยาเจ้าของบ้านลงมาพบ เป็นจังหวะที่ช่างรายนี้เผ่นออกมา และแจ้งทางการฯ ให้เข้ามาตามลำดับ เจ้าของบ้านยอมมอบตัวโดยละม่อม ถูกดำเนินคดี และปืนที่ใช้เป็นปืนปลอม ในข่าวไม่ได้ระบุว่าอะไรเป็นมูลเหตุของการใช้อาวุธแบบนี้
ที่มา - Naked Security
วันนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีนายปิยะ ผู้ถูกกล่าวหาว่าใช้เฟซบุ๊กในชื่อ "นายพงศธร บันทอน" และ "Tui Fishing" เพื่อโพสต์ภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพร้อมกับข้อความหยาบคายในลักษณะหมิ่นประมาทหรือดูหมิ่น โดยศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุก 6 ปี
จำเลยคือนายปิยะ เคยสวมชื่อบุคคลอื่นก่อนจะแจ้งตายและแจ้งเปลี่ยนชื่อเป็นนายพงศธร บันทอนและเขาเองเคยใช้เฟซบุ๊กในชื่อพงศธร บันทอน ในช่วงปี 2553-2554 แต่ภายหลังใช้ชื่อ Piya เมื่อทราบว่ามีการใช้ชื่อเดิมของเขาโพสต์ก็พยายามล็อกอินแต่ล็อกอินไม่ได้ เขาระบุว่าเคยพยายามติดต่อเฟซบุ๊กและกูเกิลให้ลบข้อความออกแล้วด้วยอีเมล joob1459
เมื่อวันเสาร์ที่ผ่านมา ทางตำรวจของมาเลเซียได้บุกจับกุมตัวชายวัย 37 ปีคนหนึ่ง สืบเนื่องจากชายคนดังกล่าวได้โพสต์ข้อความโจมตีราชวงศ์ของสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ลงบน Facebook หลายข้อความ
ตำรวจได้ดำเนินการบุกจับกุมหลังได้รับรายงานว่าชายคนดังกล่าวได้โพสต์ข้อความมุ่งร้ายต่อสุลต่านแห่งรัฐยะโฮร์ โดยข้อความดังกล่าวแสดงออกถึงความไม่พอใจการตัดสินใจของสุลต่านที่สั่งให้แบนบุหรี่ไฟฟ้าในรัฐตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมที่กำลังจะมาถึงนี้
ชายคนดังกล่าวจะถูกควบคุมตัวไว้ 4 วันในระหว่างถูกสอบสวน โดยทางตำรวจได้ตรวจสอบโทรศัพท์มือถือของเขาด้วย หากชายคนนี้ถูกดำเนินคดีและผิดจริง เขาอาจต้องติดคุกนานถึง 18 เดือน หรืออาจโดนโทษปรับเงินสูงสุด 20,000 ริงกิต (ประมาณ 167,000 บาท)
สำนักงานของ Facebook ซึ่งตั้งอยู่ในเมือง Hamburg ประเทศเยอรมนี ถูกคนกลุ่มหนึ่งขว้างปาสิ่งของและทุบกระจก รวมทั้งพ่นสีสเปรย์ใส่เมื่อช่วงคืนวันอาทิตย์
เจ้าหน้าที่ตำรวจยืนยันว่าการทุบทำลายกระจก พร้อมพ่นสีสเปรย์เป็นข้อความว่า "Facebook Dislike" บนผนังหน้าทางเข้าอาคาร เป็นฝีมือของกลุ่มคนราว 15 - 20 คน ซึ่งอำพรางตัวตนด้วยการสวมใส่ชุดดำพร้อมเสื้อแบบมีที่คลุมศีรษะ โดยตอนนี้เจ้าหน้าที่กำลังเร่งสืบสวนหากลุ่มผู้กระทำความผิด
ด้านโฆษกของ Facebook ออกมายืนยันว่าไม่มีใครได้รับบาดเจ็บจากเหตุการณ์ในครั้งนี้ โดยทาง Facebook ยังไม่สามารถออกความเห็นในขณะนี้ได้ว่าผู้ลงมือมีเหตุจูงใจมาจากเรื่องใด
หลังเหตุการณ์ระเบิดครั้งใหญ่ในกรุงปารีสในช่วงกลางเดือนพฤศจิกายน นอกจากจะสร้างความโกลาหลให้มวลชนแล้ว ฝั่งราชการเองก็หัวปั่นกับการป้องกันไม่ให้เหตุการณ์ไม่สงบเกิดขึ้นอีก ล่าสุดมีรายงานว่ากรมตำรวจฝรั่งเศสมีแผนรับมือมาแล้ว
แผนดังกล่าวเขียนอยู่ในเอกสารภายใน พบเห็นโดยนักข่าวของหนังสือพิมพ์ Le Monde ซึ่งระบุถึงมาตรการวัดผลการจัดการด้านความปลอดภัยที่จะเสนอร่างกฎหมายในปี 2016 นี้ โดยหนึ่งในนั้นคือการปิดกั้นช่องทางที่ผู้ก่อการร้ายใช้ติดต่อกันตั้งแต่ Free Wi-Fi ที่มีอยู่เกลื่อนเมือง และความพยายามจะแบนการใช้งาน Tor ซึ่งคาดว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่คนร้ายใช้ติดต่อเช่นกัน