ดีแทคได้รายงานต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเช้าวันนี้ ว่าจากการที่ กสทช. จะจัดการประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900 และ 1800 MHz ซึ่งมีกำหนดยื่นเอกสารเพื่อเข้าร่วมการประมูลภายในวันนี้ (8 สิงหาคม 2561) ทางดีแทคมีข้อสรุปสำหรับการเข้าร่วมประมูลดังนี้
Ookla Speedtest เผยผลทดสอบความเร็วเน็ตมือถือในไทย จากสี่ค่าย ได้แก่ AIS, TrueMove, my และ dtac ภายในช่วง 6 เดือน ตั้งแต่เดือนมกราคม – มิถุนายน 2561
dtac ออกจดหมายข่าวแสดงความกังวลต่อเงื่อนไขในการอนุญาตการประมูลคลื่น 900 เมกกะเฮิร์ต ข้อ 16, 17 และ 18 ที่ระบุให้ผู้ชนะประมูลต้องป้องกันและแก้ไขปัญหาคลื่นรบกวนเพียงผู้เดียว
ข้อบังคับข้อ 16, 17 และ 18 ระบุให้ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องติดตั้งฟิลเตอร์ป้องกันคลื่นรบกวนให้กับผู้รับใบอนุญาตรายอื่น ครอบคลุมคลื่นหลายย่านในย่านความถี่ที่กำลังประมูล, แม้ติดตั้งแล้วหากมีการรบกวนกับระบบขนส่งทางราง ทางกสทช. สามารถปรับคลื่นความถี่ได้
ระบบขนส่งทางรางที่ข้อกำหนดคลืน 900 นี้ระบุให้ผู้ชนะต้องป้องกัน ได้แก่ ระบบ Airport Rail Link, รถไฟกรุงเทพ-หนองคาย, รถไฟความเร็วสูงดอนเมือง-อู่ตะเภา, โครงการ GSM-R
ดีแทครายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 2 ประจำปี 2561 มีรายได้รวม 18,760 ล้านบาท ลดลง 3.5% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน สาเหตุจากทั้งรายได้จากการให้บริการและรายได้จากการจำหน่ายโทรศัพท์ที่ลดลง โดยมีกำไรสุทธิ 179 ล้านบาท ลดลงถึง 76% มีสาเหตุหลักจากค่าใช้จ่ายบริการข้ามโครงข่าย 4G 2300MHz กับทีโอทีที่เพิ่มเข้ามา และค่าใช้จ่ายด้านโครงข่ายที่เพิ่มขึ้น
จำนวนผู้ใช้งานดีแทคยังคงลดลงต่อไปอีกไตรมาส โดยล่าสุดอยู่ที่ 21.612 ล้านเลขหมาย ลดลงไป 2 แสนเลขหมายจากไตรมาส 1/2561 ด้วยแนวโน้มเดิมคือลูกค้าเติมเงินลดลง ขณะที่ลูกค้ารายเดือนมีจำนวนเพิ่มขึ้น ส่วนรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ไม่รวม IC) ยังคงเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 248 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน
หลายคนสงสัยว่า คลื่นใหม่ 2300 MHz dtac TURBO ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่าง ดีแทค และ TOT เปิดให้โดยใช้คลื่นความถี่ 2300MHz นั้นจะส่งผลต่อชีวิตผู้ใช้งานอย่างไร
ลองจินตนาการว่าเป็นคลื่นที่จะสามารถดู YouTube ยาวๆ หรือเล่นเกมหนักๆ อย่าง ROV ได้ไม่ติดขัด เพราะคลื่น dtac TURBO ใหญ่กว่า ด้วยคลื่นความถี่ 60 MHz กว้างใหญ่ที่สุดในไทย
ปัจจุบัน ดีแทคมีคลื่นความถี่สูงทั้ง 2100 MHz และ 2300 MHz ซึ่งมีแบนด์วิธมากพอในการให้บริการดาต้าและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง คลื่นใหม่นี้ยังมาพร้อมเทคโนโลยี TDD ช่วยเพิ่มช่องสัญญาณ จึงไม่มีปัญหาแม้มีช่วงการใช้งานหนาแน่น ทำให้การรับส่งข้อมูลผ่านมือถือ เร็วกว่าและลื่นกว่า
หลังเหตุรถไฟฟ้า BTS มีปัญหาต่อเนื่องหลายวัน และมีการคาดการณ์ว่าเป็นปัญหาจากคลื่นรบกวน dtac-T ที่ใช้คลื่น 2300 วันนี้ทาง dtac ก็ระบุว่าได้ปิดคลื่น 2300 จากสถานี 20 สถานีตามแนวรถไฟฟ้าแล้ว
ผู้ให้สัมภาษณ์คือ นายประเทศ ตันกุรานันท์ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มเทคโนโลยี ของ dtac ระบุว่าได้หยุดปล่อยคลื่น 2300 ตั้งแต่ช่วง 6 โมงเช้าที่ผ่านมา
อย่างไรก็ดี วันนี้ BTS ยังคงขัดข้องต่อเนื่อง ตั้งแต่เช้าที่ผ่านมาจนถึงช่วงสิบโมงวันนี้
ที่มา - เรื่องเล่าเช้านี้
หลังรถไฟฟ้า BTS เกิดปัญหาทั้งช่วงเช้าและเย็นของวันนี้ จนมีรายงานว่าอาจเกิดจากคลื่นความถี่ 2300MHz ที่ดีแทคและทีโอทีกำลังทดสอบ (อ้างอิง)
ล่าสุดดีแทคได้ออกมาชี้แจงว่าคลื่นความถี่ 2300MHz ของดีแทคและทีโอทีไม่ได้ส่งคลื่นใดๆ ออกมานอกเหนือจากแบนด์ของดีแทค และจากการส่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมคลื่นความถี่เข้าไปทำงานร่วมกับ BTS และทีโอทีและวิเคราะห์ร่วมกันพบว่า อุปกรณ์การส่งสัญญาณของ BTS อยู่ในช่องคลื่นความถี่ที่ตั้งอยู่ห่างจากแบนด์ 2300MHz ที่ดีแทคและทีโอทีกำลังดำเนินงานอยู่ จึงไม่น่าจะเป็นสาเหตุของปัญหาขัดข้องในการให้บริการ BTS ตามที่เป็นข่าว
ที่มา - ข่าวประชาสัมพันธ์
ดีแทครีบออกโปรโมชันจูงใจลูกค้าที่ยังใช้มือถือ 2G ให้เปลี่ยนมาเป็น 3G/4G หลังจาก กสทช. เร่งให้ดีแทคย้ายลูกค้า 2G ก่อนคลื่น 850 และ 1800MHz หมดสัมปทาน
ลูกค้าดีแทคที่ใช้มือถือ 2G ในปัจจุบัน สามารถเช็คสิทธิ์กับดีแทคเพื่อรับโปรโมชัน 3G/4G ได้ที่ศูนย์บริการดีแทคทั่วประเทศ หรือสอบถามที่เบอร์ *444
โปรโมชันย้ายคลื่นครั้งนี้ของดีแทค เป็นการป้องกันไม่ให้ลูกค้า 2G ได้รับผลกระทบ และสามารถใช้งาน 3G/4G ได้อย่างต่อเนื่องบนคลื่นความถี่ 2100 และ 2300MHz หากคลื่น 850 และ 1800MHz ที่ดีแทคถือครองอยู่ในปัจจุบันหมดสัมปทานลงในเดือนกันยายนนี้
ที่มา : ข่าวประชาสัมพันธ์ดีแทค, MGROnline
ดีแทค ประกาศแต่งตั้ง นางอเล็กซานดรา ไรช์ ขึ้นเป็นซีอีโอคนใหม่ แทนที่ลาร์ส นอร์ลิ่ง ที่ประกาศลาออกไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยจะเข้ามารับตำแหน่งหลังจากลาร์ส นอร์ลิ่ง หมดวาระ
จากกรณีที่ dtac ประกาศไม่เข้าร่วมประมูลคลื่น 1800MHz หลังจากนั้นไม่นาน dtac ได้จัดแถลงข่าวเพื่อยืนยันว่าแม้คลื่น 1800MHz หมดสัมปทาน ก็จะไม่กระทบกับลูกค้าแน่นอน
dtac ระบุว่า ปัจจุบันบริษัทมีคลื่นความถี่ 2100MHz จำนวน 15 MHz และคลื่น 2300MHz ที่ร่วมมือกับ TOT อีกจำนวน 45MHz รวมทั้งหมด 60MHz (หากไม่นับคลื่น 1800MHz) ทำให้ dtac มีคลื่นมากเพียงพอที่จะให้บริการลูกค้าได้ดีกว่ารายอื่นๆ แม้คลื่น 1800MHz จะหมดสัมปทานในเดือนกันยายนนี้ ก็มีคลื่น 2300MHz เข้ามาทดแทน
ดีแทคได้แจ้งต่อตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในวันนี้ ว่าบริษัทฯ และบริษัทในเครือ จะไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 1800MHz (ย่าน 1740-1785 และ 1835-1880) ที่ กสทช. จะจัดการประมูลในวันที่ 4 สิงหาคม นี้
ก่อนหน้านี้ดีแทคได้ออกมาให้ความเห็นว่าบริษัทยังมีคลื่นความถี่ 850MHz และเพิ่งลงนามเป็นพันธมิตรธุรกิจใช้คลื่นความถี่ 2300MHz กับ ทีโอที จึงไม่มีความต้องการคลื่น 1800MHz นัก (ข้อมูลจาก PPTV)
หลังจากดีแทคเปิดตัวบริการ dtac Turbo บนคลื่น 2300 MHz TDD อย่างเป็นทางการ คำถามที่ทุกคนถามย่อมเป็นคำว่ามือถือ-แท็บเล็ตของเรารองรับ 2300MHz TDD หรือไม่ คราวนี้มาดูกันว่ารายชื่ออุปกรณ์รุ่นใดบ้างที่รองรับการใช้คลื่นดังกล่าว มีดังนี้ครับ
ดีแทค เปิดตัวบริการ dtac Turbo บนคลื่น 2300 MHz TDD ด้วยคลื่นความถี่กว้าง 60 MHz มากสุดในไทย เริ่มให้บริการแล้ววันนี้ในกรุงเทพ, เชียงใหม่, ขอนแก่น, ภูเก็ต และจะขยายต่อไปอีก 37 จังหวัด ตามพื้นที่ที่มีการใช้ดาต้าสูงภายในปีนี้
dtac Turbo เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยี 4G TDD ที่มีคลื่นความถี่กว้าง 60 MHz รองรับปริมาณการใช้ดาต้าที่มากขึ้นของคนไทย โดยในปัจจุบันดีแทคมีคลื่นความถี่ 2100 MHz และ 2300 MHz เป็นแบนด์วิดท์ที่มากพอในการให้บริการดาต้าและอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ซึ่งพฤติกรรมการใช้งานอินเทอร์เน็ตบนมือถือของคนไทยมีปริมาณการรับส่งข้อมูลผ่านทางแชทมาเป็นอันดับหนึ่ง รองลงมา คือ วิดีโอ
โครงการ ดีแทคพลิกไทย แพลตฟอร์มระดมทุนออนไลน์เพื่อสังคมไปก่อนหน้านี้ เป็นโครงการที่ร่วมกับมูลนิธิกองทุนไทยและ meefund.com เว็บไซต์ระดมทุนออนไลน์เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รับสมัครคนทั่วไปที่มีไอเดียอยากแก้ปัญหาสังคม ล่าสุดได้ผู้ที่ผ่านการคัดเลือก 10 ทีม ที่จะเข้าสู่รอบระดมทุนต่อไป คือ
ทีโอที และดีแทค ประกาศความร่วมมือให้บริการบนคลื่นความถี่ 2300 MHz เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ในชื่อ “dtac-T” ด้วยโครงข่ายและเทคโนโลยีล้ำสมัยเพื่อก้าวสู่ 5G พร้อมขับเคลื่อนประเทศตามนโยบาย Thailand 4.0
ดร.มนต์ชัย หนูสง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ทีโอที เปิดเผยว่า สัญญาทางธุรกิจและความร่วมมือระหว่างทีโอทีและดีแทคในการใช้งานคลื่นความถี่ 2300 MHz บนแบนด์วิดท์ที่กว้างที่สุดถึง 60 MHz ถือเป็นการปักหมุดความก้าวหน้าครั้งสำคัญของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และเป็นครั้งแรกของประเทศไทยที่นำเทคโนโลยีล่าสุดอย่าง 4G LTE-TDD มาให้บริการอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงทั้งบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ และอินเทอร์เน็ตไร้สาย (Fixed Wireless broadboard) เพื่อขยายบริการให้ครอบคลุมชุมชนและครัวเรือนต่างๆ ในพื่นที่ห่างไกลทั่วประเทศ
ดีแทครายงานผลประกอบการประจำไตรมาสแรกของปี 2561 รายได้รวม 19,060 ล้านบาท ลดลง 3.5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 1,315 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 474% โดยสาเหตุที่รายได้ลดลงมาจากรายได้การขายเครื่องโทรศัพท์ลดลง และอัตราค่าเชื่อมต่อโครงข่ายใหม่ ที่ลดลงเป็น 0.19 บาท/นาที (เดิม 0.27) ส่วนที่กำไรเพิ่มขึ้น มาจากการให้ส่วนลดค่าเครื่องที่ลดลง และการลดค่าใช้จ่ายในการขายและการบริหาร
จำนวนผู้ใช้งานดีแทค สิ้นไตรมาส 1/2561 อยู่ที่ 21.812 ล้านเลขหมาย ลดลง 0.841 ล้านเลขหมาย โดยส่วนใหญ่มาจากกลุ่มลูกค้าเติมเงิน ขณะที่รายเดือนมีลูกค้าเพิ่มขึ้น 0.093 ล้านเลขหมาย แต่แนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตลอดคือรายได้เฉลี่ยต่อเลขหมาย (ไม่รวม IC) โดยไตรมาสนี้อยู่ที่ 240 บาทต่อเลขหมายต่อเดือน
TOT และ บริษัทเทเลแอสเสท บริษัทในเครือของกลุ่มดีแทค ลงนามในสัญญาเช่าเครื่องและอุปกรณ์โทรคมนาคม และสัญญาการใช้บริการข้ามโครงข่ายโทรศัพท์เคลื่อนที่ภายในประเทศระบบ 2300 MHz อย่างเป็นทางการ เพื่อให้บริการ 4G LTE-TDD คลื่น 2300 MHz
จากประเด็นหลายๆ อย่างของ dtac ในช่วงหลัง ตั้งแต่ยอดลูกค้าถดถอย ไปจนถึงการประกาศลาออกของซีอีโอ ลาร์ส นอร์ลิ่ง อาจทำให้ความเชื่อมั่นใน dtac สั่นคลอน
วันนี้ Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์ คุณซิกเว่ เบรกเก้ ประธานและซีอีโอของ Telenor Group ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ของ dtac ที่เดินทางมายังประเทศไทยพอดี และได้ถามคำถามที่หลายคนอยากรู้ว่า "Telenor จะยังอยู่ในเมืองไทยต่อไปหรือไม่"
เชื่อว่าหลายคนต้องเคยเจอปัญหาใช้เน็ตยังไม่หมด ก็ต้องจ่ายค่าเน็ตแล้ว ทั้งๆ ที่ปริมาณเน็ตยังเหลือ ดีแทคจึงมอบสิทธิพิเศษให้ลูกค้าทั้งเติมเงินและรายเดือน แม้ใช้เน็ตไม่หมดสามารถทบความเร็วเน็ตไปใช้รอบถัดไปได้ โดยแจ้งการใช้งานปริมาณอินเทอร์เน็ตผ่าน SMS และแอปพลิเคชั่นดีแทค
วันนี้นายลาร์ส นอร์ลิ่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ dtac ประกาศลาออก โดยจะดำรงตำแหน่งไปจนถึงวันที่ 1 กันยายนนี้ จนกว่าจะมีการแต่งตั้งซีอีโอคนใหม่ โดย dtac จะเริ่มกระบวนการสรรหาซีอีโอคนใหม่ต่อไป
หลังปีใหม่ได้เพียงสามเดือน ผู้บริหารระดับสูงของ dtac ประกาศลาออกแล้วสองคน โดยก่อนหน้านี้เป็นคุณสิทธิโชค นพชินบุตร ที่ลาออกจากตำแหน่งรองประธานเจ้าหน้าที่บริการ กลุ่มการตลาด (CMO)
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์
ปัญหา SMS กินเงินเป็นปัญหาที่ผู้ใช้จำนวนมากเจอกัน (ผมเองเคยเจอกับตัวเมื่อปีที่แล้ว) ตอนนี้ทาง dtac ก็ออกมาตรการเพิ่มเติม
มาตรการในตอนนี้ได้แก่
ดีแทครายงานผลประกอบการประจำไตรมาสที่ 4 ของปี 2560 มีรายได้รวม 20,274 ล้านบาท ลดลง 5.5% จากช่วงเดียวกันในปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 542 ล้านบาท
ภาพรวมผู้ใช้งาน ณ สิ้นปี 2560 ดีแทคมีอยู่ 22.652 ล้านเลขหมาย ลดลง 4.5 แสนเลขหมาย จากไตรมาส 3/2560 โดยยังเป็นแนวโน้มเดิมคือ ลูกค้าเติมเงินลดลง 5.6 แสนเลขหมาย ส่วนรายเดือนเพิ่มขึ้น 1.2 แสนเลขหมาย มีลูกค้าที่อยู่บนโครงข่าย 2.1GHz อยู่ 98% และมีผู้ใช้บริการ 4G อยู่ 7.9 ล้านเลขหมาย
ดีแทคมองแนวโน้มในปี 2561 ว่าอุตสาหกรรมยังมีการเติบโต แต่การแข่งขันยังคงอยู่ในระดับสูง โดยประเมินว่ารายได้ตลอดปี 2561 จะใกล้เคียงกับปี 2560
Disclaimer: บทความนี้เกิดจากประสบการณ์ใช้งานส่วนตัว ไม่ได้รับการสนับสนุนหรือมีส่วนได้เสียใดๆ กับ dtac ทั้งสิ้น
dtac เปิดตัว dtac call ไปเมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมาโดยส่วนตัวยอมรับว่าตอนนั้นเฉยๆ กับแอปตัวนี้ เพราะใช้งานอยู่เบอร์เดียวเป็นหลักอยู่แล้ว ก่อนจะพบว่าแอป Wi-Fi Calling ของ dtac ที่อยู่ในเครื่องได้เปลี่ยนโฉมเป็น dtac call อัตโนมัติ ทำให้ตอนนั้นอนุมานว่าตัวแอปมันมาพร้อมกับฟีเจอร์ Wi-Fi Calling ในตัว
ตลาดพรีเพดบ้านเรายกระดับไปอีกขั้น เมื่อค่ายสีฟ้า dtac เปิดตัว "ซิมเติมเงินรายปี" สำหรับการใช้เน็ตแบบระบุความเร็วแบบไม่จำกัดปริมาณ ไม่ลดสปีด ซื้อซิมครั้งเดียวใช้ได้นาน 12 เดือน ในราคาที่ถูกกว่าซื้อแพ็กเกจเอง 50%)
ชื่อซิม "โชคดีปีจอ" อาจฟังดูแปลกๆ อยู่บ้างเวลาไปซื้อ (มาพร้อมกับเบอร์มงคลด้วย ชื่อภาษาอังกฤษเรียก Golden Dog Sim) แต่เงื่อนไขการให้บริการก็ถือว่าน่าสนใจ
การประมูลคลื่น 1800MHz ที่จะเกิดขึ้นในปีหน้า 2561 มีประเด็นถกเถียงมากมาย
บริษัทที่ปรึกษาด้านโทรคมนาคมและการประมูลคลื่นความถี่ NERA Economic Consulting (เคยเป็นที่ปรึกษาของ กสทช. ในการประมูลคลื่นย่าน 2100MHz ในปี 2552) ก็ออกรายงาน whitepaper พูดถึงความเสี่ยงของการประมูลครั้งนี้ (Spectrum Auction Risks Leaving Thailand
Stranded in a Mobile Data Slow Lane)
Hans-Martin Ihle ที่ปรึกษาอาวุโสของ NERA มาให้ความเห็นต่อการประมูลครั้งนี้ที่ประเทศไทย (ภายใต้การจ้างศึกษาของ dtac ซึ่งเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญของการประมูล) ให้ความเห็นสำคัญ 2 ประการคือ เมืองไทยกำลังประสบปัญหาคลื่นไม่พอใช้จนทำให้เน็ตช้า และราคาตั้งต้นของการประมูลรอบใหม่นั้น "แพงเกินไป" และอาจส่งผลกระทบต่อผู้บริโภค