Walmart เปิดตัวบริการสมาชิกพรีเมียมรายปี Walmart+ คู่แข่งโดยตรงของ Amazon Prime ตามข่าวลือก่อนหน้านี้
Walmart+ คือการจ่ายค่าสมาชิกปีละ 98 ดอลลาร์ หรือเดือนละ 12.95 ดอลลาร์ (เทียบกับ Prime ปีละ 119 ดอลลาร์) แลกกับการส่งสินค้าฟรีแบบไม่จำกัดจำนวนครั้ง และถ้าอยู่ในพื้นที่บริการของห้าง Walmart จำนวน 2,700 สาขา (จากทั้งหมด 4,700 สาขา) จะได้ส่งฟรีภายในวันเดียวกับที่สั่งสินค้าด้วย
นอกจากเรื่องค่าส่งฟรีแล้ว สมาชิก Walmart+ ยังจะได้ฟีเจอร์ Scan & Go ในแอพ Walmart เพื่อสแกนสินค้าแล้วจ่ายเงินเองได้โดยไม่ต้องรอคิว และได้ส่วนลดค่าน้ำมันจากปั๊มของ Walmart และพันธมิตรอีก 5 เซนต์ต่อแกลลอน
กูเกิลร่วมกับหน่วยงานสำคัญในไทย เช่น กระทรวงพาณิชย์, กรมพัฒนาธุรกิจการค้า จัดการเรียนการสอนผ่านออนไลน์ฟรีสำหรับผู้ประกอบการ (SMEs) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร (NGOs) ตลอดจนประชาชนทั่วไปที่สนใจ เรียนรู้การทำธุรกิจเบื้องต้น เทคนิคการใช้เครื่องมือดิจิทัลฟรี ผ่านโครงการ Saphan Digital (สะพานดิจิทัล)
Facebook เปิดตัวปุ่มใหม่ Facebook Shop ดูแคตตาล็อกสินค้าจากแบรนด์ที่ชอบ และกดซื้อได้ใน Facebook เลยโดยตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างเปิดทดสอบใช้งานในสหรัฐฯ
วิธีการเข้าใช้งานคือกดที่ปุ่มสามขีดตรงด้านขวาบนของหน้าจอมือถือ จะเห็นเมนู Shop อยู่เป็นเมนูแรก เมื่อกดเข้าไปจะแสดงสินค้าจากแบรนด์ต่างๆ ในรูปแบบแคตตาล็อก และสามารถกดเข้าตะกร้าเพื่อทำการซื้อของได้
Facebook ทำ Chat Plugin หรือประสบการณ์การแชทคุยกับร้านค้าผ่าน Facebook Messenger ให้ธุรกิจนำไปใช้บนเว็บไซต์ของตัวเองฟรี โดยไม่จำเป็นต้องล็อกอินเข้า Facebook กดติดตั้งปลั๊กอินได้ที่นี่
ศูนย์บ่มเพาะสตาร์ทอัพของกูเกิล Area 120 ทดสอบแอป Shoploop รวมประสบกาณณ์ความบันเทิงแบบดูวิดีโอสั้นที่กำลังเป็นที่นิยม กับการช้อปปิ้งออนไลน์เข้าไว้ด้วยกัน
Shoploop คือการที่ผู้ใช้งานเลื่อนดูคลิปสั้น 90 วินาทีจากผู้ขายไปเรื่อยๆ เมื่อถูกใจสินค้าก็สามารถกด save ไว้ก่อนหรือกดซื้อได้ที่เว็บไซต์ของผู้ขายนั้นๆ โดยตอนนี้สินค้าที่อยู่บน Shoploop จะจำกัดที่สินค้าความงาม เครื่องสำอาง สกินแคร์ ผลิตภัณฑ์ดูแลเล็บและเส้นผม เป็นต้น
Tencent เปิดตัว Minishop ช่วยให้ร้านค้าเปิดหน้าร้านออนไลน์บน Wechat ได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย หวังดึงฐานลูกค้าและร้านค้าอีคอมเมิร์ซในจีนเข้ามายังแพลตฟอร์มตัวเองมากขึ้น จากที่ในจีนมีรายใหญ่ครองอยู่แล้วคือ อาลีบาบาและ JD
WeChat Minishop เป็นการให้ร้านค้ามาเปิดหน้าร้านโดยใช้เครื่องมือของ Tencent ไม่ต้องพึ่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือไม่ต้องสร้างเว็บไซต์ของตัวเองเลย และจะไม่เป็นระบบรวมศูนย์แบบ JD.com หรือ Taobao ของอาลีบาบา
ธุรกิจเกี่ยวกับไอที โดยเฉพาะฝั่งอีคอมเมิร์ซ เป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมที่สามารถเอาตัวรอดและไปต่อได้ในยุคโควิด มีโอกาสเติบโตขึ้นอีกมากในอนาคต
Fillgoods คือหนึ่งในสตาร์ทอัพสัญชาติไทยผู้ทำระบบจัดการร้านค้าออนไลน์ เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัท Tech ที่กำลังเติบโตและขยายธุรกิจ โดยตอนนี้เปิดรับพนักงานสาย Tech เข้าร่วมงานมากมาย
Fillgoods มีโซลูชั่นช่วยให้ร้านค้าดำเนินธุรกิจบนออนไลน์ได้อย่างราบรื่น ตั้งแต่ระบบการจัดการคลังสินค้า การสร้างออเดอร์สินค้า การแพ็คของรวมไปถึงขั้นตอนการจัดส่ง ซึ่งเป็นเบื้องหลังสำคัญที่ช่วยผลักดันให้ธุรกิจทุกขนาดดำเนินกิจการไปข้างหน้าได้
Blognone Workplace จะพาไปรู้จักสตาร์ทอัพน้องใหม่รายนี้ให้มากขึ้น รวมถึงเจาะลึกวัฒนธรรมและบรรยากาศการทำงานด้วย
LINE ประเทศไทยร่วมกับ Tellscore เอเจนซี่สำหรับอินฟลูเอนเซอร์ในประเทศไทย เปิดตัว Influencer Commerce หรือแพลตฟอร์มการตลาดใหม่ เป็นสื่อกลางให้แบรนด์เจออินฟลูเอนเซอร์ที่เหมาะกับแบรนด์ตัวเอง ซึ่งจะให้บริการภายใต้ LINE IDOL ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้
LINE IDOL คือช่องทางสื่อสารของดารา ศิลปิน และอินฟลูเอนเซอร์ ได้ใกล้ชิดกับแฟนคลับมากขึ้นด้วยการ Add Friend ผ่าน LINE Official Account ซึ่งจากการร่วมมือกับ Tellscore จะสามารถขยายขอบเขตของ LINE IDOL ให้ครอบคลุมอินฟลูเอนเซอร์ที่หลากหลายยิ่งขึ้นและจำนวนมากขึ้น ตั้งแต่คนดังที่มี ผู้ติดตาม 100,000 คนขึ้นไป จนถึงระดับ เฉพาะกลุ่มที่มีผู้ติดตาม 500 คนขึ้นไป
บริการ Amazon Prime ที่จ่ายค่าสมาชิกรายปี แลกกับการส่งสินค้าเร็วพิเศษและสิทธิประโยชน์อื่นๆ ถือเป็นอาวุธสำคัญของ Amazon มาช้านาน
ล่าสุดมีข่าวลือว่า Walmart คู่แข่งรายใหญ่ในวงการค้าปลีก เตรียมออกบริการพรีเมียมแบบเดียวกันชื่อ Walmart+ ในเร็วๆ นี้ จากเดิมที่มีข่าวลือเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ แต่แผนต้องเลื่อนเพราะสถานการณ์ COVID-19
ข้อมูลของ Walmart+ ตอนนี้คือจ่ายปีละ 98 ดอลลาร์ (ตอนนี้ Prime ปีละ 119 ดอลลาร์) สิทธิประโยชน์ที่ได้คือการส่งเร็วแบบ same-day, การจองสล็อตส่งสินค้าด่วน, ส่วนลดค่าน้ำมันที่ปั๊มของ Walmart และดีลส่วนลดสินค้าอื่นๆ
Bloomberg รายงานว่าอินเดียกำลังร่างกฎหมายอีคอมเมิร์ซ ที่น่าจะกระทบรายใหญ่อย่าง Amazon, Google โดยเนื้อหาสำคัญคือ รัฐบาลจะแต่งตั้งผู้ควบคุมอีคอมเมิร์ซเพื่อให้แน่ใจว่าอุตสาหกรรมสามารถแข่งขันได้ และมอบอำนาจให้รัฐบาลเข้าถึงรหัส source codes และอัลกอริธึมของแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซ ที่จะช่วยให้มั่นใจได้ว่าไม่เกิด “อคติที่เกิดจากดิจิทัล” โดยคู่แข่งทางการค้า รวมถึงวิธีการใช้ AI บนแพลตฟอร์มด้วย
กลุ่ม Alibaba ประกาศแต่งตั้ง Chun Li ขึ้นเป็นซีอีโอคนใหม่ของ Lazada กลุ่มธุรกิจอีคอมเมิร์ซในเครือ ที่ทำตลาดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2020 เป็นต้นไป
ประวัติของ Li เคยทำงานที่ Paypal และ eBay ก่อนมาร่วมงานกับ Alibaba ในปี 2014 ในตำแหน่งซีทีโอ (Chief Technology Officer) ของฝ่ายธุรกิจ B2B จากนั้นย้ายมาดูแล Lazada ในปี 2017 ด้วยตำแหน่งประธานและซีอีโอของ Lazada ในอินโดนีเซีย
ส่วนซีอีโอคนปัจจุบัน Pierre Poignant จะย้ายไปเป็นผู้ช่วยโครงการพิเศษ ขึ้นตรงกับ Daniel Zhang ประธานและซีอีโอของ Alibaba
ที่มา: Alizila
Instagram ประกาศเงื่อนไขสิทธิ์การเข้าถึง Instagram Shopping นอกจากร้านค้าแล้ว ให้ครอบคลุมไปยังครีเอเตอร์ด้วย ช่วยให้คนทำมาค้าขายได้มากขึ้นในช่วงโรคระบาดที่คนไม่เดินทางไปร้านค้า
โดยครีเอเตอร์ที่มีคุณสมบัติและมีสินค้าที่ผ่านเกณฑ์ของ Instagram อย่างน้อยหนึ่งรายการจะสามารถใช้แท็กช้อปปิ้งเพื่อพาผู้คนไปยังเว็บไซต์ของตนเองเพื่อทําการซื้อขายต่อได้ มาตรการใหม่มีผล 9 ก.ค. นี้
สองยักษ์ใหญ่อีคอมเมิร์ซจีน Alibaba และ JD.com รายงานตัวเลขยอดขายสุทธิ จากเทศกาลช้อปปิ้งกลางปีในวันที่ 18 มิถุนายนที่ผ่านมา หรือที่เรียกว่า 6.18 โดยมียอดขายรวมกัน 1.37 แสนล้านดอลลาร์ หรือกว่า 4.2 ล้านล้านบาท
โดย JD.com ระบุว่าปริมาณคำสั่งรวมทั้งมีมีมูลค่า 3.799 หมื่นล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 34% จากปีก่อน ส่วน Alibaba ระบุว่าจำนวนคำสั่งซื้อรวมมีมูลค่า 9.852 หมื่นล้านดอลลาร์ ที่น่าสนใจคือตัวเลขยอดขาย 6.18 ของ Alibaba นั้น สูงกว่าเทศกาล 11.11 ปีที่แล้วมากกว่า 2 เท่าตัวเลยทีเดียว จึงอาจสะท้อนได้ทั้งภาวะเศรษฐกิจในจีนและการฟื้นตัวจากการระบาดของโควิด-19
Facebook และ Instagram มีฟีเจอร์เพื่อธุรกิจอยู่แล้วคือ Facebook Marketplace หรือใน Instagram ก็มีฟีเจอร์ให้กดดูและซื้อสินค้าผ่านแบรนด์ที่ลงโฆษณา แต่ Facebook ต้องการไปให้ไกลกว่าเดิม โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่ร้านรวงรายเล็กปิดเพราะโรคระบาด
ล่าสุด Facebook เปิดตัว Facebook Shops เครื่องมือใหม่ที่ช่วยให้ธุรกิจรายเล็กสร้างหน้าร้านออนไลน์เองได้ฟรี เข้าถึงผู้ใช้งานทั้งใน Facebook และ Instagram คนขายเลือกผลิตภัณฑ์ที่พวกเขาต้องการนำเสนอจากแคตตาล็อก ปรับแต่งรูปลักษณ์และเลือกสีให้เข้ากับแบรนด์ตัวเอง พร้อมใส่ข้อความซึ่ง Facebook Shops มีเทมเพลทให้เลือกด้วย
Jet.com เป็นเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซมาแรงที่ถูกจับตามองว่าจะมาเป็นคู่แข่ง Amazon และ Walmart ก็ซื้อ Jet เพื่อพัฒนาบริการอีคอมเมิร์ซของตัวเองเมื่อ 4 ปีที่แล้วด้วยมูลค่ากว่า 3 พันล้านดอลลาร์
JioMart แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซในเครือ Reliance กลุ่มทุนรายใหญ่ของอินเดีย ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่คือการสั่งซื้อสินค้าผ่าน WhatsApp ซึ่งเป็นโปรแกรมสนทนาที่คนอินเดียนิยมใช้งาน
ฟีเจอร์นี้ออกมา หลังจากที่ Facebook บริษัทแม่ของ WhatsApp ประกาศถือหุ้น 9.99% ใน Jio ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือรายใหญ่ ซึ่งถือหุ้นใน JioMart นี้ (JioMart เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง Jio กับ Reliance Retail)
การทำงานก็น่าสนใจ โดยผู้ใช้ส่งข้อความว่า Hi ไปยังหมายเลขที่กำหนด ระบบจะตอบกลับรายการสินค้าให้เลือกซื้อ เมื่อยืนยันคำสั่งซื้อ ก็จะแจ้งให้ไปรับสินค้าที่ร้านค้าใกล้บ้านในลำดับถัดไป ไม่มีกระบวนการจ่ายเงิน ซึ่ง Facebook กำลังยื่นคำขอดำเนินการอยู่
Google ประกาศการเปลี่ยนแปลงสำคัญใน Google Shopping จากเดิมที่ร้านค้าและแบรนด์ ต้องจ่ายค่าโฆษณาให้ Google เพื่อให้สินค้าแสดงผลในแท็บ Google Shopping และบริการค้นหาอื่นๆ ของ Google ล่าสุด Google ประกาศให้ร้านค้านำสินค้ามาลงได้ฟรี เริ่มต้นที่สหรัฐฯก่อนขยายไปยังทั่วโลกภายในปีนี้
เท่ากับว่าผู้ใช้งานที่เข้ามาค้นหาสินค้าในแท็บ Google Shopping จะได้เห็นสินค้าหลากหลายแบรนด์มากขึ้นกว่าเดิม และผู้ขายก็มีโอกาสนำสินค้าของตัวเองมาให้คนเห็นมากขึ้นโดยไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณา
Shopify ผู้ให้บริการซอฟต์แวร์สำหรับเปิดร้านค้าออนไลน์และหน้าร้านประกาศว่าตอนนี้ทราฟฟิกของแพลตฟอร์มพุ่งสูงมากระดับ Black Friday ในทุก ๆ วัน
Jean Michael Lemieux ซีทีโอของ Shopify โพสต์ผ่านทวิตเตอร์ว่า หลังจากที่เราได้ช่วยให้ธุรกิจหลายพันแห่งย้ายร้านค้าไปไว้ออนไลน์ แพลตฟอร์มของเราก็มีทราฟฟิกระดับ Black Friday (เทศกาลช้อปปิ้งของตะวันตก) ในทุก ๆ วัน
เดือนที่แล้วเราเห็นข่าว Amazon ประกาศจ้างพนักงานเพิ่ม 1 แสนตำแหน่ง เพื่อตอบสนองความต้องการเดลิเวอรี-ส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นมาก
เวลายังผ่านไม่ครบเดือนดี Amazon ออกมาประกาศจ้างงานเพิ่มอีก 75,000 ตำแหน่ง เพราะ 1 แสนตำแหน่งที่จ้างไปชุดแรก (ได้คนครบหมดแล้ว) ยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า
ก่อนหน้านี้ Amazon ถูกวิจารณ์ว่า ดูแลความปลอดภัยของพนักงานเดลิเวอรีและคลังสินค้าไม่ดีนัก มีพนักงานเป็นโรค COVID-19 หลายราย ซึ่ง Amazon ก็ประกาศว่ามีมาตรการด้านความปลอดภัย เช่น อุปกรณ์ป้องกัน ตรวจอุณหภูมิ การทำความสะอาดคลังสินค้า หรือ ร้าน Whole Foods ในเครือ เป็นต้น
เว็บ Abacus มีรายงานพิเศษ ว่าด้วยการเติบโตของการขายสินค้าผ่านไลฟ์ในจีน ซึ่งแม้ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่จากสถานการณ์ COVID-19 ที่ทำให้คนต้องเก็บตัวอยู่บ้าน ก็มีการประเมินว่าการขายสินค้าผ่านไลฟ์ จะเติบโตสูง จากปี 2019 มูลค่าตลาดราว 4.33 แสนล้านหยวน เป็น 9.16 แสนล้านหยวนในปีนี้
ผู้เล่นหน้าใหม่ ที่เข้ามาขายของผ่านไลฟ์ช่วงที่ผ่านมา คือบรรดาห้างสรรพสินค้าที่ปิดให้บริการชั่วคราว ผลสำรวจพบว่าลูกค้าที่ชอบการเลือกสินค้าผ่านวิธีการนี้ มากกว่าการเลือกผ่านหน้าเว็บอีคอมเมิร์ซ เนื่องจากมีการโต้ตอบ และทำให้เข้าใจรายละเอียดสินค้าได้ดีกว่า
ปกติแล้ว Amazon มีเทศกาลช็อปปิ้งออนไลน์ครั้งใหญ่ประจำปีคือ Amazon Prime Day ช่วงกลางเดือนกรกฎาคมของทุกปี (ข่าวของปี 2019)
แต่สถานการณ์ COVID-19 ที่ส่งผลกระทบต่อการส่งสินค้าของ Amazon อาจทำให้บริษัทต้องเลื่อนวัน Prime Day ในปี 2020 ออกไป
สำนักข่าว Reuters อ้างข้อมูลจากเอกสารภายในของ Amazon ว่า Prime Day อาจต้องเลื่อนออกไปเป็นเดือนสิงหาคม "เป็นอย่างเร็ว"
Jeff Bezos โพสต์ข้อความถึงพนักงาน Amazon ผ่านบัญชี Instagram ของเขาว่าตอนนี้โลกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบาก ซึ่ง Amazon จะปรับตัวเต็มที่ โดยมาเน้นการส่งสินค้ากลุ่มของใช้ในบ้านและเวชภัณฑ์ เป็นอันดับแรก
เขายังย้ำว่า Amazon เปิดจ้างงานอีก 100,000 ตำแหน่ง และเพิ่มค่าแรงรายชั่วโมงให้คนทำงานในศูนย์กระจายสินค้า เขาบอกว่าตอนนี้มีคนตกงานจากธุรกิจที่ปิดตัว เช่น ร้านอาหารหรือบาร์ ซึ่งเขาก็เชิญชวนให้คนเหล่านี้มาทำงานกับ Amazon ไปก่อน จะกว่าจะสามารถกลับไปทำงานเดิมได้อีกครั้ง
สถานการณ์การระบาดของ COVID-19 ในจีนช่วงที่ผ่านมา มีการปิดร้านค้าจำนวนมาก ส่งผลให้ลูกจ้างโดยเฉพาะกลุ่มร้านอาหาร ผับ บาร์ ว่างงาน อย่างไรก็ตามธุรกิจอีกประเภทกลับมีความต้องการลูกจ้างเพิ่มสูงเฉพาะกาล เช่น บริการซื้อของออนไลน์ต่าง ๆ จึงทำให้ผู้ให้บริการหลายรายในจีน ปิดช่องว่างตรงนี้ด้วยแพลตฟอร์มแชร์ลูกจ้าง หรือ Employee Sharing
รายงานบอกว่า Freshippo แพลตฟอร์มสั่งสินค้าซูเปอร์มาร์เก็ตเครือ Alibaba หรือ 7Fresh แพลตฟอร์มแบบเดียวกันของ JD.com ได้เปิดระบบแชร์ลูกจ้าง โดยประสานงานกับบรรดาผู้ประกอบการร้านอาหารในเมืองต่าง ๆ จับคู่ลูกจ้างที่ว่างงาน เพื่อมาทำงานชั่วคราวโดยมีหน้าที่จัดและส่งสินค้า เนื่องจากการใช้งานแพลตฟอร์มเหล่านี้มีจำนวนสูงมาก จึงต้องการแรงงานชั่วคราวมาสนับสนุน
Coles เชนห้างในออสเตรเลียเจอปัญหาคนสั่งของจากออนไลน์เพื่อกักตุนของเยอะเกินไป ทางห้างจึงแก้ปัญหาด้วยการจำกัดการส่งของเฉพาะคนที่อยู่ไกลเท่านั้น
Coles ยกเลิกการส่งของผ่านบริการส่งของ Uber Eats และยกเลิกการสั่งของออนไลน์ชั่วคราว และจะใช้รถตู้ในเครือข่ายของห้างส่งของให้คนที่อยู่ไกลจากพื้นที่และคนที่มีความต้องการสินค้าจริงๆ นอกจากนี้ยังมีสาเหตุเรื่องปริมาณสินค้าในห้างลดลงด้วย ก่อนหน้านี้ทางห้างก็จำกัดจำนวนการซื้อออนไลน์ต่อคน ในสินค้าสำคัญอย่างพวกทิชชู่ แป้งพาสต้า ไข่ เจลล้างมือ
หลังสหรัฐอเมริกาประกาศภาวะฉุกเฉินเรื่อง COVID-19 ก็มีคนหัวใสจำนวนมาก รีบออกไปกว้านซื้อสินค้าที่เกี่ยวข้อง เช่น เจลล้างมือ กระดาษเช็ดที่ต้านแบคทีเรีย เพื่อนำมาขายต่อบนอินเทอร์เน็ตในราคาแพงขึ้น
แต่หลังจากนั้นไม่นาน แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซทั้ง Amazon และ eBay ก็ประกาศนโยบายไม่ให้พ่อค้าแม่ค้าออนไลน์ขายสินค้าเหล่านี้ และถอดรายการสินค้าของผู้ขายบางรายออกจากระบบ (ตัวเลขคร่าวๆ คือถอดสินค้าหลายแสนชิ้น และปิดบัญชีของผู้ขายนับพันราย)