ลาซาด้าเตรียมแก้ไขปัญหาของปลอม โดยใช้ประโยชน์จากเทคโนโลยี Intellectual Property Protection Platform ของอาลีบาบา ระบบที่ให้ผู้ผลิตที่เป็นของแท้และแบรนด์ สามารถแจ้งลบสินค้าปลอมได้ โดยในลาซาด้าจะใช้ชื่อว่า IP Protection Platform
Alibaba ประกาศเปิดตัวเว็บขายสินค้า Tmall Global เวอร์ชันภาษาอังกฤษ เพื่อให้ผู้จัดจำหน่าย และแบรนด์สินค้า มีความสะดวกในการนำสินค้ามาขายบนแพลตฟอร์มมากขึ้น จากปัจจุบันมีร้านค้าราว 20,000 แบรนด์ ให้เป็น 40,000 แบรนด์ภายใน 3 ปี ข้างหน้า
เว็บ Tmall Global เป็นส่วนเพิ่มเติมของเว็บขายสินค้า Tmall ในเครือ Alibaba ที่ให้ผู้จำหน่ายสินค้าจากต่างประเทศ เข้ามาเปิดร้านเพื่อขายสินค้าให้กับคนจีน ก่อตั้งในปี 2014
Alibaba บอกว่าเดิมแบรนด์สินค้าต่างประเทศที่ต้องการขายของนั้น ต้องติดต่อกับ Alibaba ผ่านงานเทรดโชว์ หรือติดต่อผ่านหน้าเว็บที่เป็นภาษาจีน การเปิดเว็บภาษาอังกฤษจึงช่วยอำนวยความสะดวกมากขึ้น และในแผนงานนั้นก็เตรียมเพิ่มภาษาอื่นในอนาคต อาทิ สเปน และญี่ปุ่น
มีรายงานเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมเผยว่า การส่งสินค้ารวดเร็วในวงการอีคอมเมิร์ซมีส่วนช่วยให้เกิดภาวะโลกร้อน
สิ่งที่ควรจะเป็นเมื่อผู้คนหันมาซื้อสินค้าออนไลน์คือเมื่อคนไม่ต้องเดินทางมาซื้อของเอง ก็ไม่ต้องขับรถสร้างมลภาวะ จนกระทั่งธุรกิจแข่งกันที่ความเร็วในการจัดส่ง ยิ่งเร็วยิ่งดี ผลที่เกิดขึ้นคือ ต้องใช้รถในการขนส่งสินค้าขนาดเล็กจำนวนมากและยังมีบรรจุภัณฑ์ที่เป็นกระดาษและพลาสติกอีก
ลาซาด้า ประกาศโลโก้ใหม่ เป็นรูปหัวใจ ที่นำเสนอด้วยตัวอักษร “แอล” (L) ซึ่งหมายถึงลาซาด้าในรูปแบบของกล่องสามมิติ โดยลาซาด้าระบุว่ากล่องเป็นตัวแทนหัวใจของธุรกิจลาซาด้า และยังสามารถสื่อถึงความหมายอื่นๆ ได้อีกหลากหลาย ส่วนสีสันที่เป็นไล่สีระหว่างส้มไปจนถึงชมพูยังสะท้อนความมีชีวิตชีวาของการช้อปปิ้ง
ไอคอนของแอพยังเปลี่ยนเป็นกล่องหัวใจสามมิติ มีตัวอักษร Laz ซึ่งเป็นตัวอักษรย่อของ Lazada อยู่ตรงกลางด้วย
Jet.com ผู้เล่นอีกรายที่สำคัญในตลาดอีคอมเมิร์ซที่ทำธุรกิจตั้งแต่ปี 2015 ด้วยการหวังโค่น Amazon ต่อมาถูก Walmart ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกซื้อกิจการไปเมื่อปี 2016 ด้วยราคาถึง 3 พันล้านดอลลาร์ หวังเจาะตลาดนักช็อปยุคมิลเลนเนียล
อย่างไรก็ตาม ดาวดวงนี้ดูท่าจะไม่สดใสเหมือนช่วงแรกๆ เสียแล้ว โดยแหล่งข่าวระบุว่า Jet.com ไม่สามารถเร่งยอดขายออนไลน์ให้กับ Walmart ได้ อีกทั้งยังล้มเหลวในการทำยอดขายให้ได้ตามเป้าที่ Walmart ตั้งไว้
Global Fashion Group (GFG) กลุ่มบริษัทค้าปลีกสินค้าแฟชั่นออนไลน์ ที่เน้นทำตลาดในทวีปเอเชียและลาตินอเมริกา ประกาศเตรียมนำบริษัทเข้าไอพีโอในตลาดหุ้นแฟรงค์เฟิร์ต ประเทศเยอรมนี ทั้งนี้เพราะผู้ถือหุ้นหลักของ GFG คือกลุ่ม Rocket Internet ของเยอรมนีนั่นเอง
แบรนด์ร้านค้าแฟชั่นออนไลน์ในพอร์ตโฟลิโอของ GFG นั้นมีทั้ง The Iconic, Drafiti, Lomoda แต่ที่อาจคุ้นหูคนไทยอยู่บ้างคือ Zalora เพราะเคยทำตลาดในไทย แต่ปัจจุบันขายให้กลุ่มเซ็นทรัลและเปลี่ยนชื่อเป็น LOOKSI แล้ว อย่างไรก็ตาม Zalora ยังทำตลาดอยู่ในมาเลเซีย สิงคโปร์ ฮ่องกง และอีกหลายประเทศ
เว็บไซต์ The Information รายงานโดยอ้างอิงบุคคลภายในระบุว่า Google กำลังทดสอบฟีเจอร์ฝังลิงก์ใต้วิดีโอบน YouTube ให้ผู้ใช้งานกดเข้าไปช้อปปิ้งได้ และของจะจัดส่งผ่าน Google Express ซึ่งเป็นบริการส่งของที่ Google ร่วมมือกับผู้ค้ารายปลีกใหญ่อย่าง Costco, Fry's, Target และกำลังให้บริการในหลายพื้นที่ของสหรัฐฯ
JD.com อีคอมเมิร์ซรายใหญ่ของจีน ประกาศเข้าซื้อหุ้นจำนวน 46% ใน Jiangsu Five Star คิดเป็นมูลค่า 1,270 ล้านหยวน เพื่อต่อยอดกลยุทธ์ O2O (Online-to-Offline)
Jiangsu Five Star เป็นเชนร้านขายเครื่องใช้ไฟฟ้ารายใหญ่ของจีนที่มีสาขามากกว่า 220 แห่ง ซึ่งตามแผนการเข้าถือหุ้นของ JD.com นั้น ก็เพื่อเสริมธุรกิจการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าออนไลน์ของ JD.com ให้ลูกค้าสามารถดูสินค้าที่ร้านของ Jiangsu ก่อน แล้วค่อยมาสั่งซื้อออนไลน์ได้
หากวัดที่ส่วนแบ่งการขายเครื่องใช้ไฟฟ้าออนไลน์ของจีน JD.com ยังมีส่วนแบ่งสูงสุดที่ 38.9% แต่คู่แข่งรายอื่นก็เริ่มกินส่วนแบ่งมากขึ้น ทั้ง Suning.com (Alibaba มีหุ้น) และ Tmall (ก็ของ Alibaba) ที่มีส่วนแบ่ง 30.1% และ 24.9% ตามลำดับ
Amazon ออกมายืนยันข่าวว่าได้มีการแจ้งผู้จัดจำหน่ายสินค้าบนแพลตฟอร์มของ Amazon ที่จีน (Amazon.cn) แล้ว ว่าจะปิดให้บริการตั้งแต่วันที่ 18 กรกฎาคมนี้ หรืออีก 3 เดือนข้างหน้า ทั้งนี้บริการที่ปิดตัวคือการซื้อและขายสินค้าท้องถิ่นภายในประเทศจีน โดย Amazon บอกว่าลูกค้ายังสามารถสั่งซื้อสินค้านำเข้าจากต่างประเทศได้ ผ่านช่องทาง Amazon หลัก
หลายคนอาจไม่ทราบว่า Amazon มีบริการในจีนเช่นกัน โดยเริ่มทำตลาดที่จีนตั้งแต่ 15 ปีที่แล้ว ผ่านการซื้อเว็บ Joyo.com ที่ในเวลาต่อมาก็รีแบรนด์เป็น Amazon ซึ่งก่อนหน้านี้ก็มีข่าวว่า Amazon อาจถอนธุรกิจโดยขายกิจการให้เว็บในจีน Kaola
ShopBack ประกาศรับเงินเพิ่มทุน 45 ล้านดอลลาร์ หรือกว่า 1,400 ล้านบาท จากผู้ลงทุนหลักสองรายคือ EV Growth และ Rakuten Capital ทำให้ ShopBack ได้เงินเพิ่มทุนรวมแล้วถึง 83 ล้านดอลลาร์ โดยเงินทุนก้อนใหม่นี้จะนำมาใช้ปรับปรุงการใช้งานแอป การจัดการข้อมูล ตลอดจนใช้ในการบุกตลาดใหม่เพิ่มขึ้น
ShopBack เป็นสตาร์ทอัพที่จดทะเบียนในสิงคโปร์ มีบริการหลักคือการให้เงินคืนเมื่อลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการออนไลน์จากผู้ให้บริการต่าง ๆ ซึ่งล่าสุด ShopBack ก็เริ่มขยายมาคืนเงินให้กับบริการแบบออฟไลน์บ้างแล้วในชื่อ ShopBack GO
ตัวเลขในปี 2018 ของ ShopBack มีจำนวนคำสั่งซื้อและยอดขายเติบโต 250% ใน 8 ประเทศหลักที่ดำเนินงานรวมทั้งประเทศไทย ยอดขายรวมกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ จากร้านค้ากว่า 2,000 ราย
Walmart ประกาศเป็นพาร์ทเนอร์กับ Google พัฒนาระบบ Walmart Voice Order ที่สามารถสั่งสินค้าของ Walmart ได้จาก Google Assistant บนทุกแพลตฟอร์ม ไม่ว่าจะเป็นลำโพง, สมาร์ทโฟน, สมาร์ทวอช หรืออื่น ๆ เพื่อแข่งกับระบบสั่งสินค้าของ Amazon ที่ใช้ผ่าน Alexa
การร่วมมือครั้งนี้ จะคล้ายกับดีล Walmart-Google Express คือเมื่อลูกค้าสั่งสินค้าไปแล้ว ระบบจะเลือกสินค้าให้ลูกค้าเอง เช่น ถ้าสั่งซื้อนม ระบบจะตรวจสอบว่าก่อนหน้านี้สั่งนมอะไรไป ก็จะสั่งสินค้านั้นให้ซ้ำ โดยวิธีการเข้าใช้ระบบคือสั่ง OK Google, talk to Walmart
Adobe เปิดตัว Commerce Cloud แพลตฟอร์มจัดการธุรกิจอีคอมเมิร์ซ ซึ่งเป็นผลจากการที่บริษัทเข้าซื้อกิจการ Magento ซอฟต์แวร์ CMS สำหรับอีคอมเมิร์ซในราคาสูงถึง 1.68 พันล้านดอลลาร์
Commerce Cloud จะเป็นการผสานแลพตฟอร์ม Magento เข้ากับเครื่องไม้เครื่องมือของ Adobe ไม่ว่าจะเป็น Analytics Cloud, Cloud Marketing และ Cloud Advertising มีแดชบอร์ดจับตาดูความเคลื่อนไหวกลยุทธ์ของบริษัทว่าเป็นไปในทิศทางใด และถือเป็นครั้งแรกที่สามารถใช้ Commerce Cloud ดูกลยุทธ์บน Amazon ได้ด้วย โดยผู้ใช้ จะสามารถเลือกได้ว่าจะเอารายการสินค้าใดไปปรากฏในพื้นที่ของ Amazon รวมถึงราคา
ด้านแลพตฟอร์ม Magento เป็น CMS สำหรับสร้างเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซแบบโอเพนซอร์ส พัฒนาด้วยภาษา PHP และได้รับความนิยมอย่างสูง มีชุมชนนักพัฒนาขนาดใหญ่กว่า 300,000 ราย และมีพาร์ทเนอร์ภายนอกอีกราวพันราย
คนขายของออนไลน์เดี๋ยวนี้ใช้การไลฟ์ขายของเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการเพิ่มรายได้ เพราะลูกค้าจะได้เห็นสินค้าจริง เป็นการยืนยันอีกทางว่ามีสินค้า สื่อสารข้อมูลสินค้าได้เรียลไทม์ และเป็นความสนุกของคนซื้อ ที่ต้องคอนเฟิร์มการซื้อสินค้าให้ทันในกรณีที่เป็นสินค้าหายาก
ล่าสุด Lazada แพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซรายใหญ่ก็พร้อมที่จะสนับสนุนผู้ขายไม่ว่ารายเล็กหรือใหญ่ ติดอาวุธสู่สุดยอดธุรกิจออนไลน์ (Super eBusiness) ด้วยฟีเจอร์ไลฟ์สตรีม ซึ่งเปิดตัวในประเทศไทยเป็นที่แรก เมื่อพฤศจิกายน 2018 ที่ผ่านมา จากสถิติพบว่า วิดีโอที่ได้รับความนิยมสูงสุด มีจำนวนไลค์กว่า 1.2 ล้านครั้ง ภายใน 1 ชม. ในช่วงเทศกาล 12.12 มีคนไทยกว่า 2 ล้านคน รับชมลาซาด้า ไลฟ์สตรีม และหนึ่งในผู้ค้าที่ใช้ฟีเจอร์ไลฟ์สตรีม ซึ่งประสบความสำเร็จสูงสุด มียอดขายเติบโตขึ้นจากเดิมกว่า 50 เท่า
Office Depot ร้านจำหน่ายอุปกรณ์สำนักงานรายใหญ่ในอเมริกา ประกาศความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับ Alibaba โดยมีเป้าหมายช่วยให้ธุรกิจรายเล็กในอเมริกา เข้าถึงการซื้อขายสินค้าระดับลูกค้าองค์กรกับจีนได้สะดวกมากขึ้น (B2B - Business-to-Business)
โดยในช่วงแรกนั้นทั้ง Office Depot และ Alibaba จะสร้างเว็บอีคอมเมิร์ซร่วมกัน เพื่อให้ลูกค้าธุรกิจในอเมริกาสามารถเข้าถึงสินค้า หรือสั่งผลิตสินค้าได้ง่ายขึ้น ส่วนเป้าหมายสำคัญที่ทำให้สองบริษัทนี้ร่วมมือกันคือระบบการจัดส่งสินค้า ซึ่ง Office Depot ก็จะได้ใช้ประโยชน์การส่งสินค้าระหว่างอเมริกากับจีนจาก Alibaba ขณะที่ Alibaba ก็ได้เครือข่ายการส่งของ Office Depot ด้วย เนื่องจากมีบริการ Next-Day อยู่แล้ว
เราคงคุ้นเคยกับบริการส่งด่วน Amazon Prime กันแล้ว ล่าสุด Amazon ต่อยอดบริการนี้ไปอีกขั้นด้วย Amazon Day ที่สามารถล็อคได้ด้วยว่าให้ส่งวันไหน
Amazon Day เหมาะกับคนที่มีเวลาว่างแน่นอน เช่น หยุดทุกวันเสาร์ ก็สามารถระบุวันให้ Amazon รับทราบ เพื่อที่ Amazon จะได้จัดการส่งสินค้าทั้งหมดที่เราสั่งไปในสัปดาห์นั้น รวมมาส่งพร้อมกันในวันเสาร์เลย แถมในหลายกรณียังรวมมาในกล่องเดียวเพื่อให้ประหยัดทรัพยากรด้วย
สมาชิก Amazon Prime ในสหรัฐ สามารถใช้บริการ Amazon Day ได้ทันที โดยเข้าไปตั้งค่าวันที่สะดวก และสามารถเลือกสั่งของให้ส่งแบบปกติ (ส่งทันทีไม่สนใจวัน) ได้เช่นกัน
Amazon ประกาศเลิกขายปุ่มสั่งของทันใจ Amazon Dash ที่เปิดตัวมาตั้งแต่ปี 2015 โดยให้เหตุผลว่าสภาพตลาดเปลี่ยนไป ลูกค้าสามารถสั่งของทันใจได้ผ่านอุปกรณ์ชนิดใหม่ๆ อย่างลำโพง Echo หรือปุ่ม Dash เสมือนบนแอพของ Amazon แทน
ปุ่ม Dash Button ที่ซื้อไปแล้วยังใช้งานได้ดังเดิม และโครงการเติมสินค้า Dash Replenishment ก็ยังคงอยู่ สิ่งที่เปลี่ยนมีแค่ปุ่ม Dash จะไม่มีวางขายอีกแล้ว
FTC หรือคณะกรรมการค้าแห่งสหรัฐฯ ได้ประกาศจัดการกรณีจ่ายเงินเพื่อให้ทำรีวิวปลอมให้สินค้าบนเว็บไซต์ Amazon รวมถึงมีการอวดอ้างสรรพคุณผลิตภัณฑ์เกินจริง ซึ่งถือเป็นกรณีแรกที่ FTC ลงมาจัดการเอง
กรณีที่ FTC จัดการนี้ เป็นของ Cure Encapsulations Inc. และเจ้าของ Naftula Jacobowitz ซึ่งบริษัทนี้ได้วางขายสินค้าบน Amazon โดยบริษัทนี้ได้จ่ายเงินให้เว็บไซต์ amazonverifiedreviews.com ทำการเขียนและโพสต์ฟีดแบคแบบปลอม ๆ ให้สินค้าลดน้ำหนัก
Rakuten เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซญี่ปุ่นประกาศความร่วมมือกับ JD.com เว็บไซต์อีคอมเมิร์ซจากจีน เพื่อพัฒนาโซลูชั่นระบบขนส่งโดยไม่ต้องใช้คนร่วมกันในประเทศญี่ปุ่น
ภายใต้ความร่วมมือครั้งนี้ Rakuten จะนำประสบการณ์ขนส่งสินค้าผ่านโดรนในญี่ปุ่น และโซลูชั่นด้านไอทีของบริษัท มาแชร์กับ JD.com ที่มีประสบการณ์ด้านโดรนและกลุ่มพาหนะแบบไม่ต้องใช้คนบังคับ (unmanned group vehicles หรือ UGV) ในจีน เพื่อพัฒนาบริการขนส่งสินค้าโดยไม่ต้องใช้คนของ Rakuten ให้ใช้งานได้หลากหลายสถานการณ์
มีรายงานว่า Amazon กำลังเจรจาเพื่อควบรวมส่วนธุรกิจอีคอมเมิร์ซในประเทศจีน ซึ่งหลายคนอาจไม่ทราบว่า Amazon ก็มีธุรกิจที่นั่น กับ Kaola เว็บอีคอมเมิร์ซจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในเครือ NetEase ของจีน
Kaola เปิดให้บริการในปี 2015 และเป็นอีคอมเมิร์ซจำหน่ายสินค้านำเข้าจากต่างประเทศในจีนที่มีขนาดใหญ่ที่สุด และใหญ่กว่าส่วนสินค้านำเข้าทั้ง Tmall ของ Alibaba และ JD Worldwide ของ JD.com
นักวิเคราะห์มองว่าดีลนี้ถือว่าได้ประโยชน์ร่วม เพราะ Kaola ก็จะได้ประโยชน์จากการจัดหาสินค้าต่างประเทศมาจำหน่ายมากขึ้นผ่านหุ้นส่วนอย่าง Amazon
คนไทยอาจยังไม่คุ้นชื่อ Zilingo มาก แต่อาจคุ้นๆ โฆษณาอีคอมเมิร์ซใหม่ที่ได้ ใหม่ ดาวิกา เป็นพรีเซนเตอร์ ที่ช่วงนี้รุกการตลาดในไทยหนักมาก
Zilingo คือสตาร์ทอัพด้านอีคอมเมิร์ซสิงคโปร์ ที่ล่าสุดระดมทุนได้เพิ่ม 226 ล้านดอลลาร์ และเตรียมจะรุกหนักขึ้นในตลาดแฟชั่น โดยเฉพาะในฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และออสเตรเลีย โดยจากคำพูดของคนใกล้ชิดกับบริศัทระบุว่ามูลค่าบริษัท Zilingo มี 970 ล้านดอลลาร์แล้ว
เมื่อปลายปีที่ผ่านมา อินเดียได้ออกกฎหมายห้ามอีคอมเมิร์ซขายสินค้าที่ตัวเองมีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งส่งผลกระทบเต็ม ๆ กับ Amazon และ Flipkart (ซึ่งมีผู้ถือหุ้นใหญ่คือ Walmart) จึงทำให้ทั้งสองบริษัทต้องนำสินค้าจากบริษัทที่ตัวเองมีส่วนในการลงทุนออกจากร้านค้าออนไลน์ทันที
Lazada ในฐานะเว็บอีคอมเมิร์ซที่สิงคโปร์ ประกาศรวม RedMart แพลตฟอร์มซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์ จัดส่งสินค้าภายในวันเดียวกัน ที่ซื้อกิจการมาเมื่อปี 2016 เข้ามาอยู่ใน Lazada มีผลตั้งแต่ 15 มีนาคมนี้เป็นต้นไป โดยผู้ใช้ RedMart ที่เดิมอยู่ในฐานะแอปแยก จะต้องเข้ามาซื้อผ่าน Lazada แทน
Lazada ซื้อกิจการ RedMart ไปเมื่อปี 2016 ด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผยเป็นทางการ แต่คาดอยู่ราว 30-40 ล้านดอลลาร์ และให้แอปแยกดำเนินงานอิสระ อย่างไรก็ตามหลังการรวมแอปเข้ามา Lazada บอกว่ากระบวนการจัดส่งสินค้าหลังบ้านของ RedMart จะยังคงแยกดำเนินงานกับ Lazada ต่อไป
Xiaomi เปิดตัว ShareSave แพลตฟอร์มสำหรับการซื้อสินค้าของแบรนด์ Xiaomi และพาร์ทเนอร์สาย IoT จำนวนมากผ่านระบบอีคอมเมิร์ซ โดยชูจุดเด่นเรื่องความเป็นโซเชียล ช่วยกันซื้อเยอะๆ ทุกคนจะได้ของในราคาถูกลง
ShareSave มีโมเดลย่อย 3 แบบ
Xiaomi ยังบอกว่าสินค้าในเครือของตนเองจำนวนมาก ไม่ถูกนำมาขายนอกจีนเพราะติดข้อจำกัดหลายอย่าง แต่สินค้าเหล่านี้จะถูกนำมาขายผ่านช่องทาง ShareSave โดยยังคงบริการหลังการขายให้ด้วย
Bukalapak สตาร์ทอัพสายอีคอมเมิร์ซ ที่เป็นสตาร์ทอัพรายล่าสุดของอินโดนีเซียที่เพิ่มทุนจนทำให้มีมูลค่ากิจการสูงกว่า 1 พันล้านดอลลาร์ กลายเป็นสตาร์ทอัพยูนิคอร์นเมื่อปีที่แล้ว ต่อจาก Tokopedia, Go-Jek และ Traveloka โดยล่าสุดบริษัทได้ประกาศรับเงินทุนซีรี่ส์ D เพิ่มอีก 50 ล้านดอลลาร์ จากกองทุน Mirae Asset-Naver Asia Growth ที่เป็นการร่วมทุนระหว่าง กองทุน Mirae Asset และ Naver จากเกาหลีใต้
รายชื่อผู้ลงทุนก่อนหน้านี้ใน Bukalapak ก็มีทั้ง Ant Financial บริษัทการเงินเครือ Alibaba, Emtek ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในอินโดนีเซีย และกองทุน GIC ของประเทศสิงคโปร์
กลายเป็นธรรมเนียมของช่วงเทศกาลวันหยุดที่ Amazon จะออกมาเปิดเผยสถิติยอดขายและครั้งนี้ก็เช่นกัน โดยในช่วงก่อนคริสต์มาสที่ผ่านมา Amazon เผยว่ามียอดขายสูงสุดเป็นประวัติการณ์ มีลูกค้าสมาชิก Prime เพิ่มขึ้นนับล้านราย
Amazon ชี้ว่าที่สมาชิก Prime เพิ่มขึ้นเป็นเพราะโปรโมชั่นส่งของเร็วใน 1 วัน และส่งฟรี 2 ชั่วโมงในสมาชิกแบบ Prime Now เฉพาะในสหรัฐฯ มีการจัดส่งสินค้าฟรีใน 1 วันนับล้านรายการ