Google Docs เตรียมเปิดให้คอมเมนต์งานด้วย Emoji จากเดิมที่คอมเมนต์งานด้วยตัวอักษรเท่านั้น โดย Emoji สามารถปรับเปลี่ยนเพศได้ตามต้องการ รวมถึงสีผิว และ Admin ของระบบไม่สามารถควบคุมการใช้งาน Emoji ของผู้ใช้ทั่วไปได้
ทั้งนี้ผู้ใช้บางส่วนสามารถคอมเมนต์งานด้วย Emoji บน Google Docs ได้ตั้งแต่วันที่ 5 เม.ย. 2022 ก่อน Google จะเปิดให้ผู้ใช้งานทั่วไปใช้ในวันที่ 20 เม.ย. 2022 นอกจากนี้ผู้ใช้งานระดับองค์กรสามารถคอมเมนต์งานด้วย Emoji ได้เช่นกัน
Emoji เริ่มถูกใช้งานในการทำงานมากขึ้น เช่น การใช้งาน Emoji บนแอปพลิเคชัน Slack ถือเป็นการต่อยอดจากเดิมที่ Emoji จะถูกใช้งานในแอปพลิเคชันพูดคุยทั่วไป หรือบนโซเชียลมีเดียต่าง ๆ ที่ไม่ได้เน้นเรื่องความทางการในการสื่อสาร
Meta ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ให้กับแอป Messenger (Facebook Messenger) ชุดใหม่ เป็นคีย์ลัดให้พิมพ์ในช่องแชต ฟีเจอร์สำคัญคงเป็น /silent
ที่ทำให้ข้อความไม่ถูกแจ้งเตือน สำหรับการส่งข้อความไม่สำคัญที่ไม่ต้องการรบกวนผู้รับ หรือส่งนอกเวลาที่เหมาะสม และยังมีฟีเจอร์อื่นๆ เช่น
Unicode Consortium หน่วยงานที่รับรองมาตรฐานการออกอีโมจิ รายงานสถิติอีโมจิยอดนิยมของปี 2021 โดยใบหน้าดีใจพร้อมน้ำตาไหล หรือ tears of joy (?) เป็นอีโมจิที่คนนิยมส่งหากันมากที่สุด ตามด้วยหัวใจสีแดง (❤️) อยู่ในอันดับที่ 2
ข้อมูลน่าสนใจจากการจัดอันดับนี้พบว่าอีโมจิยอดนิยมใน 10 อันดับแรกนั้น ของปี 2021 เทียบกับปี 2019 ซึ่งมีการจัดอันดับเช่นกัน คล้ายกันมาก โดยมีอีโมจิที่ต่างกันเพียง 1 รายการ รวมทั้งอันดับ 1-2 ก็เหมือนเดิม เมื่อจัดกลุ่มดูว่าอีโมจิประเภทไหนที่คนนิยมส่ง พบว่าใบหน้ายิ้มในแบบต่าง ๆ เป็นกลุ่มอีโมจิที่คนส่งหากันมากที่สุด ตามด้วยหัวใจในรูปแบบต่าง ๆ และกลุ่มใบหน้าที่แสดงความกังวล
ดูรายละเอียดอันดับอีโมจิยอดนิยมแบบแยกรายหมวดได้จากที่มา
ไมโครซอฟท์เริ่มปล่อยอีโมจิดีไซน์ใหม่ของ Windows 11 ตามที่สัญญาไว้ โดยตอนนี้ผู้ใช้ Windows 11 สามารถเลือกอัพเดต November 2021 Windows 11 แบบพรีวิว (เป็น optional ใน Windows Update) ได้แล้ว
อีโมจิใหม่ของ Windows 11 เป็นการปรับดีไซน์ให้เข้าสไตล์ Fluent Design ของไมโครซอฟท์ มีแสงเงามากขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ยังไม่ใช่อีโมจิ 3D ที่เคยโชว์มาก่อนหน้า ซึ่งไมโครซอฟท์ก็ไม่ได้ให้เหตุผลว่าทำไมถึงไม่ทำอีโมจิแบบ 3D อีกแล้ว
หลังเสร็จภารกิจออก Windows 11 ตัวจริง (GA) ไมโครซอฟท์ก็เดินหน้าพัฒนา Windows 11 ต่อภายใต้โครงการ Windows Insider และออก Preview Build 22478 ถือเป็นรุ่นพรีวิวตัวแรกของ Windows 11 เวอร์ชันถัดไป (ตอนนี้เปลี่ยนมาอัพเดตปีละครั้งแล้ว รอบหน้าเจอกันตุลาคม 2022)
ของใหม่ใน Build 22478 คืออีโมจิแบบใหม่ที่ปรับดีไซน์ตามแนวทาง Fluent Design ของ Windows 11 ซึ่งดูเผินๆ ก็น่ารัก สดใสสวยงามดี (อีโมจิชุดนี้จะเปิดให้กลุ่ม Insider ใช้งานก่อน แล้วจะปล่อยให้คนใช้ Windows 11 GA ผ่านอัพเดตรายเดือนในภายหลัง)
LINE เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ “ไอคอน REACTION” บนห้องแชท โต้ตอบข้อความและรูปภาพในห้องแชทได้ คล้ายกับฟีเจอร์รีแอคชั่นใน Facebook แต่มีความแตกต่างตรงที่ ไอคอน REACTION ใน LINE จะไม่มีการแจ้งเตือน เพื่อไม่ให้รบกวนการสนทนา
โดยไอคอน REACTION นี้จะสามารถใช้งานได้สำหรับผู้ใช้งาน LINE เวอร์ชั่น 11.11.0 ขึ้นไป สามารกดยกเลิกและเปลี่ยนรีแอคชั่นได้ กดดูที่ข้อความว่าใครเป็นผู้ส่งอีโมจินั้นๆ ได้ด้วย
กูเกิลประกาศปรับปรุงอีโมจิบนแพลตฟอร์ม เพื่อฉลองวันอีโมจิโลก 17 กรกฎาคม โดยระบุว่าทำให้เข้าถึงกับผู้ใช้งานทุกคน (Universal Design) และมีความชัดเจนมากขึ้น
อีโมจิที่ปรับปรุงใหม่มีทั้งหมด 992 รายการ กูเกิลจะเริ่มทยอยเปลี่ยนแปลงในแพลตฟอร์ม Gmail และ Google Chat รวมถึง Chrome OS ในเดือนนี้ ส่วน Android จะมาพร้อมกับ Android 12 ที่กำหนดออกช่วงปลายปี
ตัวอย่างการเปลี่ยนแปลงของอีโมจิที่น่าสนใจ เช่น รูปหน้าสวมมาสก์ ลูกตาจะเปิดโตขึ้น จากเดิมเป็นตาปิด, ขนมพาย เปลี่ยนจากแบ่งชิ้น เป็นทั้งถาด เพื่อให้ใช้แทนได้ทั้งพายแบบคาวและหวาน, บิกินี่ เปลี่ยนการจัดวาง ให้ไม่ดูเป็นการสวมใส่กับหุ่น เป็นต้น
Facebook Messenger ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ Soundmojis หรืออีโมจิแบบมีเสียง (คนใช้ LINE อาจชินแล้ว) ซึ่ง Facebook บอกว่า เป็นการเพิ่มประสบการณ์การแชตที่สนุกมากขึ้น และร่วมฉลองวันอีโมจิโลก 17 กรกฎาคมนี้ โดยสามารถกดเลือกส่งอีโมจิแบบมีเสียงได้ ซึ่งอยู่ในส่วนไอคอนรูปหน้ายิ้มข้างกล่องข้อความ และเลือกแถบลำโพงส่งเสียง
เบื้องต้น Soundmoji มีให้เลือก 27 แบบ อาทิ เสียงปรบมือ จิ้งหรีด รัวกลอง เป็นต้น โดยจะมีเพิ่มเติมอีกในอนาคต
ดูตัวอย่างได้จากคลิปด้านล่าง
ที่มา: Facebook
Twitter เปิดตัวอีโมจิสำหรับ #MilkTeaAlliance หรือพันธมิตรชานม เป็นอีโมจิรูปแก้วชานมที่มีพื้นหลังสามสีซึ่งสะท้อนถึงสีต่างๆ ของชานมในแต่ละประเทศ โดย MilkTeaAlliance เป็นพันธมิตรความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันทางออนไลน์ซึ่งเกิดขึ้นครั้งแรกเมื่อเดือนเมษายนปี 2020 ที่ผ่านมา
การแสดงอีโมจิชานม สามารถพิมพ์ได้ทั้งภาษาไทยว่า พันธมิตรชานม และภาษาอื่นๆ คือ ภาษาอังกฤษ จีน เกาหลี เมียนมา ทาง Twitter บอกด้วยว่า มีการทวีตพูดคุยถึงพันธมิตรชานม 11 ล้านทวีตในปีที่ผ่านมา
iOS 14.5 รุ่นเบต้าของแอปเปิล มีการแสดงตัวอย่างอีโมจิใหม่ที่จะมาในฤดูใบไม้ผลินี้ เช่น หัวใจลุกเป็นไฟ หัวใจบาดเจ็บ คู่รักในความหลากหลายทางเพศและสีผิว นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนอีโมจิเข็มฉีดยา จากเดิมที่มีเลือดอยู่ในหลอด ของใหม่มีการเอาเลือดออก เพื่อสื่อถึงวัคซีน COVID-19 มากขึ้น
มีข้อมูลน่าสนใจจาก Emojipedia ถึงการเปลี่ยนแปลงของอีโมจิรูปคนสวมหน้ากากปิดปาก เนื่องจากปีที่ผ่านมา การสวมหน้ากากเป็นเรื่องพื้นฐานเพราะการระบาดของโควิด-19 อีโมจิรูปคนสวมหน้ากากก็เลยมีความนิยมใช้งานสูงมากขึ้นด้วย
ที่ผ่านมาการสวมหน้ากากมักบ่งบอกอาการป่วย อีโมจิรูปสวมหน้ากากจึงมาพร้อมสายตาที่ดูหมดแรง แต่เมื่อการสวมหน้ากากเป็นเรื่องปกติ แอปเปิลจึงตัดสินใจเปลี่ยนอีโมจิสวมหน้ากาก ให้มีสายตาที่สดชื่น ยิ้มแย้ม ดูสุขภาพดีด้วย โดยจะมีผลตั้งแต่ iOS 14.2 เป็นต้นไป ทั้งนี้ซัมซุงน่าจะเป็นรายแรก ๆ ที่ทำอีโมจิสวมหน้ากาก ด้วยสีหน้าปกติไม่มีอาการป่วย
Windows 10 รองรับการใส่ emoji มานานหลายปี โดยเพิ่มหน้าจอ emoji picker (กดปุ่มลัด Win + . หรือ Win + ;) เพื่อเลือกใส่ eomji ที่ต้องการได้ (ภายหลังเพิ่ม kaomoji และ symbols เข้ามา)
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศปรับดีไซน์หน้าจอ emoji picker ใหม่ดังนี้
หลังจากปล่อยให้ทดลองใช้ไปเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ล่าสุด แอป Messages จาก Google สามารถกดค้างที่ข้อความเพื่อแสดงความรู้สึกด้วย Emoji ได้เป็นที่เรียบร้อย ตามรอยฟีเจอร์บน iMessage และ Facebook Messenger ที่เปิดตัวไปก่อนหน้านี้
ในอัพเดทเดียวกัน Google ก็ยังเพิ่มให้ Smart Reply สามารถแนะนำสติ๊กเกอร์ให้กับผู้ใช้งานได้ พร้อมทั้งเพิ่มฟีเจอร์แก้ไขรูปภาพ สามารถขีดเขียนบนรูปภาพก่อนส่งได้ นอกจากนี้ ผู้ใช้งานสามารถส่งข้อความเสียงและวิดีโอคอลผ่าน Duo บนแอป Messages ได้เป็นที่เรียบร้อย
อนึ่ง ฟีเจอร์แสดงความรู้สึกด้วย Emoji และ ฟีเจอร์แก้ไขรูปภาพได้จะสามารถรับส่งได้ผ่านเครื่องและเครือข่ายที่รองรับ RCS เท่านั้น
นอกจาก Fleets ที่เลียนแบบ Stories ดูเหมือน Twitter กำลังซุ่มทดสอบอีกฟีเจอร์ ที่ให้ผู้ใช้งานสามารถกดแสดงความรู้สึก (reaction) กับทวีตได้ด้วยอีโมจิ นอกเหนือจากการรีทวีตและกดไลค์
Jane Manchun Wong นักวิจัยแอปจากฮ่องกงได้ทวีตรูปสกรีนช็อตตัวเลือกอีโมจิ ที่เพิ่มเข้ามาให้เลือกระหว่าง Retweet, Retweet with comment และ React with Fleet อย่างไรก็ตามการรีแอคกับทวีตด้วยอีโมจิเคยมีประเด็นแล้วครั้งหนึ่งเมื่อราวปี 2015 ช่วงที่มีข่าวว่า Facebook เริ่มทดสอบฟีเจอร์ Reactions ขณะเดียวกันภาพหลุดการทดสอบอีโมจิครั้งนี้ของ Twitter ก็ไม่ได้เป็นการยืนยันว่า ในท้ายที่สุดฟีเจอร์นี้จะถูกปล่อยออกมาจริง
ก่อนหน้านี้ Facebook เปิดตัว Facebook Avatars ให้ผู้ใช้งานสร้างตัวละครอวตารของตัวเองไว้ใช้ในโอกาสต่างๆ ล่าสุดเริ่มเปิดใช้งานในสหรัฐฯ แล้ว วิธีใช้งานคือ กดที่ Make Your Avatar ในเมนูสติกเกอร์ ก็สามารถสร้างตัวละครอวตารของตัวเองได้ เลือกทรงผม สีผิว เสื้อผ้าได้
การสร้างอวตารเป็นฟีเจอร์ที่ Snapchat ก็มีคือ BitMoji แต่ต้องโหลดเป็นแอปแยกเพื่อที่จะใช้งานตัวอวตารใน Snapchat ได้ จนถึงตอนนี้ Facebook Avatars ยังใช้ได้เฉพาะการโพสต์ใต้คอมเม้นท์เพื่อนๆ เป็นรูปโปรไฟล์ใน Facebook Gaming และใช้ใน Facebook Messenger
Unicode Consortium ซึ่งเป็นกลุ่มที่รับรองการออกอีโมจิใหม่ ประกาศว่า Emoji เวอร์ชัน 14 จะเลื่อนการรับรองจากกำหนดเดิมออกไปอีก 6 เดือน เนื่องจากผลกระทบของ COVID-19
โดย Unicode 14.0 จะประกาศรับรอง จากเดิมมีนาคม 2021 ออกไปเป็น กันยายน 2021 ทั้งนี้การประกาศเลื่อนดังกล่าวไม่มีผลกับ Emoji 13.0 ที่รับรองไปก่อนหน้านี้ โดยระบบปฏิบัติการหลักจะเริ่มใช้กันช่วงปลายปีตามเดิม
ผลดังกล่าว น่าจะทำให้ในปี 2021 อาจไม่มี Emoji ใหม่ออกมาให้ใช้งาน เนื่องจากหลังประกาศรับรองแล้ว ฝั่งผู้พัฒนาระบบปฏิบัติการ จะใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อเพิ่มชุดอีโมจิเข้าไป
กูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจชื่อ Emoji Kitchen มันเป็นการนำอีโมจิ 2 ตัวมารวมร่างกัน กลายเป็นสติ๊กเกอร์อันใหม่ที่สามารถส่งให้กันได้
ฟีเจอร์นี้ยังใช้ได้เฉพาะบน Gboard เวอร์ชัน Android และยังไม่มีข้อมูลว่าจะตามมายังเวอร์ชัน iOS ด้วยหรือไม่
Unicode Consortium กลุ่มที่รับรองการออกอีโมจิ ประกาศอีโมจิชุดใหม่ของปี 2020 เรียกว่า Emoji 13.0 ประกอบด้วยอีโมจิใหม่ 62 ตัว และอีก 55 อีโมจิที่มีการแบ่งเพศและสีผิว
ตัวอย่างอีโมจิใหม่ในครั้งนี้ เช่น นินจา, คนกอดกัน, แมวดำ, ไบซัน, แมมมอธ, หมีขาว, แมวน้ำ, เต่าทอง, แมลงสาบ, หนอน, ก้อนหิน, ไม้, ไม้เสกคาถา, เข็มเย็บผ้า, บันได, แอกคอร์เดียน ฯลฯ
สำหรับอีโมจิอาหารที่เพิ่มเข้ามา ก็ตามกระแส ได้แก่ บลูเบอร์รี่, มะกอกออลิฟ, พริกหยวก, แฟลตเบรด, ทามาเล่, ฟองดู และชาไข่มุก
อีโมจิชุดใหม่นี้ คาดว่าจะเริ่มมีผลในระบบปฏิบัติการหลักช่วงครึ่งหลังของปี 2020
แอปเปิลประกาศเพิ่มตัวเลือกในการสลักข้อความลงบนเคสสำหรับชาร์จ AirPods เพิ่มเติม โดยสามารถเลือกสลักข้อความเป็นอีโมจิได้ด้วย จากที่ก่อนหน้านี้ได้เฉพาะข้อความตัวอักษรปกติ สำหรับการสั่งซื้อออนไลน์ผ่านเว็บของแอปเปิล
ถึงอาจดูเป็นอัพเดตเรื่องเล็กน้อย แต่แอปเปิลก็ดูให้ความสำคัญกับเรื่องนี้มาก โดยถึงกับนำประกาศขึ้นหน้าแรกของเว็บไซต์เลยทีเดียว
อย่างไรก็ตามอีโมจิที่นำมาสลักข้อความได้นั้น ไม่ได้รองรับทุกอีโมจิ แต่ต้องเลือกจากตัวเลือกที่แอปเปิลมีให้แต่ก็หลากหลาย อาทิ หน้ายิ้ม หน้าแลบลิ้น ชูสองนิ้ว หัวใจ ยูนิคอร์น ผี หัวกะโหลก ไปจนถึงอุนจิ
ที่มา: MacRumors
Adobe เปิดเผยผลสำรวจเนื่องในวันอีโมจิโลก (World Emoji Day) ซึ่งตรงกับวันที่ 17 กรกฎาคม โดยได้สอบถามคนอเมริกา 1,000 คน เกี่ยวกับพฤติกรรมการใช้งานอีโมจิ พบข้อมูลที่น่าสนใจดังนี้
อีโมจิยอดนิยมที่สุดยังคงเป็นใบหน้าดีใจพร้อมน้ำตาไหล (?) ตามด้วยหัวใจ (❤️) ในอันดับที่สอง และใบหน้าส่งจูบ (?) อยู่ในอันดับที่สาม นอกจากนี้ยังมีการจัดอันดับอีโมจิที่นิยมใช้คู่กัน โดยใบหน้าดวงตาหัวใจและส่งจูบ (??) เป็นคู่อีโมจิที่นิยมใช้มากที่สุด
ข้อมูลอื่นมีดังนี้
กูเกิลฉลองวันอีโมจิโลก (World Emoji Day) ซึ่งเป็นวันที่ 17 กรกฎาคมของทุกปี โดยเปิดเผยภาพอีโมจิใหม่ๆ ที่กำลังจะเปิดใช้งานใน Android Q
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญคือความเป็นกลางทางเพศมากขึ้น ภาพคนคู่ (couple) นั้นมีให้เลือกถึง 71 แบบ ผสมระหว่างเพศสภาพและสีผิวแบบต่างๆ รวมถึงภาพคนที่ไม่ระบุเพศสภาพ เช่นเดียวกับอาชีพหรือภาพที่คำบรรยายไม่ได้ระบุเพศ กูเกิลจะเลือกใช้ภาพที่ไม่แสดงถึงเพศของคนในภาพเช่นเดียวกัน โดยกูเกิลระบุว่าจะมีตัวเลือกให้ระบุเพศในคีย์บอร์ดอีกครั้ง
ภาพที่เพิ่มเข้ามาใหม่ เช่น ตัวสลอต, นาก, กระเทียม, วาฟเฟิล, คนคุกเข่า, สุนัขนำทาง, มีดโกน ฯลฯ
ที่วันอีโมจิโลกเป็นวันนี้เนื่องจากอีโมจิปฎิทินที่สร้างโดยแอปเปิลเมื่อปี 2002 ใช้วันนี้บนภาพ
Unicode Consortium กลุ่มที่ให้การรับรองว่าจะสามารถใช้อีโมจิชุดไหนออกไปในอุปกรณ์ต่างๆ ได้ออกอีโมจิชุดใหม่ของปี 2019 กว่า 50 ตัว โดยธีมปีนี้ที่ชัดเจนคือความครอบคลุมโดยเฉพาะผู้พิการ มีเพิ่มอีโมจิผู้พิการทางหู นั่งวีลแชร์ พิการทางสายตา แขนเทียมขาเทียม เป็นต้น
ด้านอาหารมีเพิ่มวาฟเฟิล กระเทียม หอมใหญ่ หอยนางรม เป็นต้น อีโมจิสัตว์มีสลอต ตัวนาก อุรังอุตัง ส่วนอีโมจิคนมีท่าทางคุกเข่า และคนที่ยืนคู่กันก็สามารถคละสีผิวได้แล้ว ส่วนอีโมจิสถานที่มีวัดฮินดู วงแหวนดาวเสาร์ และเมื่อรวมจำนวนทั้งหมด แยกตามเพศและสีผิว เราจะมีอีโมจิใหม่ใช้ถึง 230 รูป โดยเริ่มมีผลใช้ 5 มีนาคม 2019
Windows 10 เพิ่มปุ่มลัด Win+. สำหรับเปิดหน้าจอแทรก Emoji มาให้สักระยะหนึ่งแล้ว ล่าสุดใน Windows 10 Insider Preview Build 18305 (19H1) ไมโครซอฟท์ปรับปรุงหน้าจอนี้เพิ่มเติม เพิ่มแท็บการแทรกสัญลักษณ์ (symbols) และ Emoji แบบญี่ปุ่น (Kaomoji) เข้ามา
ชื่อ Kaomoji อาจไม่เป็นที่คุ้นเคยมากนัก แต่หลายคนน่าจะเคยเห็นการพิมพ์ใบหน้าอารมณ์ต่างๆ ด้วยตัวอักษรและสัญลักษณ์ ASCII (ตอนหลังในยุค Unicode ก็มีความหลากหลายมากขึ้นมาก) ตัวอย่างเช่นท่าล้มโต๊ะ (╯°□°)╯︵ ┻━┻ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี
Kaomoji เกิดขึ้นในยุคส่งข้อความบนมือถือญี่ปุ่น แต่ภายหลังก็ได้รับความนิยมไปทั่วโลกในยุคโซเชียล ถึงขนาดไมโครซอฟท์ผนวกเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ Windows 10 ในที่สุด
ปัญหาปวดหัวของอีโมจิมีมาอีกแล้ว คราวนี้เป็นอีโมจิรูปหมึก (สัตว์น้ำ) ใน iOS ของแอปเปิล โดยพิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำมอนเทอเรย์เบย์ (Monterey Bay Aquarium) ได้ออกมาทักท้วงผ่าน Twitter ของพิพิธภัณฑ์ว่า อีโมจิรูปหมึก (Squid) มีข้อผิดพลาดที่ต้องแก้ไข
โดยหมึกนั้นจะมีส่วนประกอบที่เรียกว่าไซฟอน เป็นท่อน้ำไว้พ่นเพื่อควบคุมการเคลื่อนที่, หายใจ และขับของเสีย ซึ่งไซฟอนของหมึกนั้นจะอยู่ที่ด้านหลังส่วนหัว หรือฝั่งตรงข้ามกับด้านที่เป็นลูกตาสองข้าง ขณะที่อีโมจิของแอปเปิลนั้นนำไซฟอนมาไว้ด้านเดียวกับลูกตา ซึ่งทางพิพิธภัณฑ์ก็บอกว่าแอปเปิลน่าจะเข้าใจว่าไซฟอนคือส่วนจมูกซึ่งไม่ถูกต้อง และเรียกร้องให้มีการแก้ไข
iOS 12.1 ซึ่งตอนนี้อยู่ในสถานะเบต้า มีการเปลี่ยนแปลงหนึ่งคืออีโมจิใหม่ ๆ ที่เพิ่มเข้ามา แต่อีโมจิตัวหนึ่งก็กลายเป็นประเด็น (อีกแล้ว) นั่นคืออีโมจิรูปเบเกิล
สาเหตุที่เป็นปัญหาก็เพราะมีหลายคนให้ความเห็นว่าเบเกิลในเวอร์ชันแรก (ภาพซ้าย) นั้น ดูเป็นเบเกิลผลิตจากโรงงาน ใช้เครื่องจักรผ่ากลาง เหมือนซื้อแบบแช่แข็งในซูเปอร์มาร์เก็ตมาอุ่นร้อน ซึ่งเป็นการทำลายคุณค่าของเบเกิล เรื่องนี้เป็นประเด็นกันจนมีคนไปเรียกร้องใน Change.org เลยทีเดียว