จากประเด็นที่ Elon Musk ได้สั่งปิดเพจ Tesla และ SpaceX เพราะไม่เห็นด้วยกับเหตุการณ์ข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด 50 ล้านบัญชี เขาได้ทวีตพูดคุยกับผู้ใช้ทวิตเตอร์อีกหลายทวีต และพอจะมีประเด็นที่น่าสนใจเลยเอามาสรุปอีกทีครับ
เรื่องแรกคือมีคนทวีตไปหา Elon โดยขุดข่าวเก่าที่ Facebook เคยว่าจ้าง SpaceX ให้ปล่อยดาวเทียมเมื่อเดือนกันยายน 2016 แต่จรวด Falcon 9 กลับระเบิดคาฐานระหว่างทดสอบติดเครื่อง (static fire test) ส่งผลให้ดาวเทียม Amos-6 ของ Facebook เสียหายทั้งหมด ซึ่ง Elon ก็ตอบกลับไปว่า "ผมผิดเองที่งี่เง่า แต่เราก็ได้ยิงจรวดให้ฟรีเป็นการตอบแทนแล้วนะ และพวกเขา [Facebook] น่าจะมีประกันแหละ"
จากเหตุการณ์อื้อฉาวของ Facebook ที่มีข้อมูลผู้ใช้หลุด 50 ล้านบัญชี ก่อให้เกิดกระแส #DeleteFacebook ชักชวนให้ปิดบัญชี Facebook ของเราทิ้ง
ล่าสุด Elon Musk ได้สั่งปิดเพจของ Tesla และ SpaceX แล้ว โดยเหตุการณ์เริ่มจากทวีตของ Brian Acton ผู้ร่วมก่อตั้ง WhatsApp ที่ออกมาสนับสนุนกระแส #DeleteFacebook เมื่อสามวันก่อน และ Elon Musk ได้ตอบทวีตของ Brian เมื่อไม่กี่ชั่วโมงที่ผ่านมาว่า "อะไรคือ Facebook?" จากนั้นมีผู้ใช้ทวิตเตอร์คนหนึ่งท้ากลับไปหา Elon ว่า "ลบเพจของ SpaceX ออกจาก Facebook สิถ้าแน่จริง" ซึ่ง Elon ก็รับคำท้า และทวีตว่า "ผมไม่รู้นะว่ามีเพจนี้ด้วย จะลบมัน"
เหตุการณ์ Cambridge Analytica ยังมีผลกระทบตามมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด Elon Musk จัดการลบเพจของ ทิ้งไปเรียบร้อยแล้ว
เริ่มจากการที่ Musk ไปแซว Brian Acton อดีตผู้ก่อตั้ง WhatsApp ที่หนุนกระแส #deletefacebook (ข่าวเก่า) จากนั้นจึงมีคนไปท้าให้เขาลบเพจของ SpaceX ซึ่ง Musk ตอบว่าเขาเพิ่งรู้ว่ามีเพจของบริษัทด้วยและจะลบแน่นอน หลังนั้นก็มีคนท้าให้ลบเพจของ Tesla ด้วย ซึ่ง Musk ก็รับปากทันทีแถมยังกล่าวว่ายังไงมันก็ดูไม่ได้เรื่องอยู่แล้ว ซึ่งเพจทั้งสองก็หายไปในเวลาไม่นาน
ทั้งสองเพจมีผู้ติดตามรวมประมาณ 2.5 ล้านคนก่อนที่จะถูกลบไป
ประเด็นขัดแย้ง Facebook/Cambridge Analytica ยังมีแง่มุมต่างๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุด Campbell Brown หัวหน้าฝ่ายข่าวของ Facebook ไปพูดที่งานสัมมนา Future of News ที่จัดโดยหนังสือพิมพ์ Financial Times และยอมรับว่า Facebook เคยขู่จะฟ้องหนังสือพิมพ์ The Guardian ที่เป็นผู้ออกมาแฉเรื่อง Cambridge Analytica
ในโพสต์ของ Mark Zuckerberg เขายอมรับว่า Facebook รู้เรื่องปัญหา Cambridge Analytica ครั้งแรกจาก The Guardian ในปี 2015 และล่าสุดก็ทราบข้อมูลสื่อสามรายจาก The Guardian, Channel 4 และ The New York Times ว่า Cambridge Analytica ไม่ได้ลบชุดข้อมูลที่เป็นปัญหาทิ้ง
LinkedIn จัดอันดับบริษัทที่คนสหรัฐฯ อยากทำงานด้วยมากที่สุดประจำปี 2018 จัดอันดับตามฐานผู้ใช้งาน 546 ล้านราย และเฉพาะสหรัฐฯ 146 ล้านราย การจัดอันดับยึดตามหลัก 4 ข้อคือ การแสดงความสนใจของผู้ใช้ต่อบริษัท, การมีส่วนร่วมกับพนักงานในบริษัท, ความต้องการงานและการเก็บรักษาพนักงาน
LinkedIn จัดอันดับมา 50 บริษัทในที่นี้จะกล่าวถึง 20 อันดับแรก โดยอันดับ 1 คือ Amazon ตามด้วย Alphabet และ Facebook
Sheryl Sandberg ซีโอโอ Facebook ออกมาให้สัมภาษณ์ MSNBC ต่อประเด็นร้อนแรงระหว่าง Facebook และบริษัทวิจัยข้อมูลทำแคมเปญหาเสียงการเมือง Cambridge Analytica เธอบอกว่า "เราเปิดกว้างสำหรับการควบคุม เราทำงานร่วมกับฝ่ายนิติบัญญัติทั่วโลก"
Sandberg ให้คำมั่นสัญญาว่า "เรารู้ว่านี่เป็นเรื่องของความไว้วางใจของผู้ใช้ และเรารู้ว่านี่เป็นช่วงเวลาที่สำคัญสำหรับบริษัท และเราจะทำทุกอย่างที่เราทำได้เพื่อแก้ไขมัน" เธอบอกด้วยว่า Facebook มีคนใช้เป็นพันล้านคนทั่วโลก นั่นหมายความว่า จะต้องมีคนที่พยายามใช้มันในทางที่ผิด สิ่งที่เราต้องทำคือ โต้กลับให้เร็วที่สุดที่จะแก้ปัญหา และเปิดเผยปัญหา
Sandberg ออกมาพูดถึงกรณีดังกล่าวหลังจาก Mark Zuckerberg เพียงวันเดียว เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า Facebook ออกมาพูดถึงกรณี Cambridge Analytica ช้าเกินไป ถ้าย้อนเวลากลับไปยังสัปดาห์ก่อนหน้าได้ ก็อยากจะออกมาเปิดเผยให้เร็วกว่านี้
จากกรณีข้อมูลหลุดผู้ใช้ Facebook กับบริษัท Cambridge Analytica สร้างเสียงวิจารณ์อย่างกว้างขวาง
Mozilla ในฐานะองค์กรที่ผลักดันเรื่องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้เน็ต จึงประกาศหยุดลงโฆษณาบน Facebook ชั่วคราว ด้วยเหตุผลว่าค่าดีฟอลต์ของ Facebook อนุญาตให้แอพภายนอกเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้มากเกินไป โดยครอบคลุมถึงประวัติการศึกษา สถานที่ทำงาน เมืองที่อาศัย และการโพสต์บน timeline
ผู้ใช้ Facebook จำนวนมากไม่เคยสนใจเปลี่ยนค่าเหล่านี้ และใช้ค่าดีฟอลต์ที่ Facebook กำหนดให้ ส่งผลให้เกิดความเสี่ยงที่ข้อมูลจะรั่วไหลโดยไม่รู้ตัว Mozilla จึงออกมาเรียกร้องให้ Facebook แก้ไขค่าดีฟอลต์นี้ และหยุดลงโฆษณาชั่วคราวจนกว่า Facebook จะยอมเปลี่ยน
ในที่สุดก็มาถึงจุดนี้ จุดที่ผู้ใช้ Facebook จำนวนไม่น้อย คิดอยากจะลบบัญชี Facebook ออกไปให้รู้แล้วรู้รอด เพราะข่าวฉาวที่กระทบข้อมูลส่วนบุคคลโดยตรง ยังไม่นับข่าวปลอมต่างๆ บทความที่แล้ว Blognone เสนอฮาวทูตั้งค่าข้อมูลส่วนตัวบน Facebook ไม่ให้บริการภายนอกมาดูดไปง่ายๆ บทความนี้จึงเสนอฮาวทูลบบัญชี Facebook ออก โดยขอเตือนก่อนว่า ถ้าลบแล้วและจะกลับเข้ามาใช้ใหม่ ต้องสมัครใหม่ เริ่มจากศูนย์
แม้ Facebook กำลังอยู่ในวิกฤตรอบใหม่ แต่การพัฒนาเครื่องไม้เครื่องมือต่างๆ ก็ยังต้องดำเนินต่อไป Facebook ประกาศในงาน GDC 2018 (Game Developers Conference) ว่าได้เปิดแพลตฟอร์ม Instant Games ให้นักพัฒนาสร้างเกมแบบ HTML5 ใน Facebook Messenger และยังประกาศเปิดตัวชุดโปรแกรมที่ช่วยให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์สร้างไลฟ์สตรีมเกมใน Facebook ได้โดยตรงเพียงใช้แค่คอมพิวเตอร์ ไม่ต้องใช้ฮาร์ดแวร์อื่น
Facebook Messenger ได้ออกอัพเดตใหม่ โดยรอบนี้เน้นปรับปรุงการแชทกลุ่ม มีฟีเจอร์สองอย่างคือผู้ดูแลกลุ่มและการเชิญเข้ากลุ่มด้วยลิงก์ เพื่อให้การใช้งานแชทกลุ่มขนาดใหญ่สะดวกยิ่งขึ้น
ฟีเจอร์ใหม่ที่สำคัญอย่างแรกในแชทกลุ่ม คือสิทธิผู้ดูแลกลุ่มหรือแอดมิน ผู้ใช้สามารถเลือกเปิดสิทธิแอดมินได้ ซึ่งเมื่อเปิดใช้งานแล้ว ผู้ใช้คนใหม่ที่จะเข้ากลุ่มแชทผ่านลิงก์หรือผ่านการเชิญจากคนที่ไม่ใช่แอดมินจะต้องได้รับอนุญาตจากแอดมินก่อน นอกจากนี้แอดมินยังสามารถลบผู้ใช้ออกจากกลุ่ม ไปจนถึงการแต่งตั้งและถอดสถานะแอดมินของผู้ใช้คนอื่นในกลุ่มได้ด้วย
จากเหตุการณ์ข้อมูลผู้ใช้ Facebook หลุด 50 ล้านบัญชี ซึ่งสร้างผลกระทบความเชื่อมั่นอยู่มาก ผ่านไปหลายวันในที่สุดซีอีโอ Mark Zuckerberg ก็ออกมาชี้แจงปัญหาดังกล่าวผ่านโพสต์บน Facebook แล้ว
Zuckerberg เปิดด้วยประโยคที่ว่า ความรับผิดชอบของ Facebook คือการปกป้องข้อมูลของทุกคน และหากเราทำไม่ได้ เราก็ไม่สมควรอยู่เพื่อให้บริการต่อ มาตรการที่ออกมาของ Facebook ในวันนี้เป็นสิ่งที่เคยทำมาก่อนหน้าแล้ว แต่มีความผิดพลาด ยังทำได้ไม่ดีพอ และมีอะไรที่ต้องปรับปรุงอีกมาก
เฟซบุ๊กประกาศเพิ่มมาตรการรักษาข้อมูลที่ถูกบริษัทอื่นนำไปใช้ให้หนาแน่นขึ้น โดยประกาศมาตรการ 6 ประการ ได้แก่
ข่าวข้อมูลผู้ใช้เฟซบุ๊ก 50 ล้านรายถูกดึงไปใช้งานโดย Cambridge Analytica ต่อเนื่องมาจนถึงนักข่าว Channel 4 เปิดเผยว่าซีอีโอของบริษัทพูดถึงการส่งหญิงสาวไปยังบ้านนักการเมืองฝั่งตรงข้าม เมื่อวานนี้ทางบริษัทก็ออกจดหมายข่าวชี้แจงข้อความนี้ โดยระบุว่าซีอีโอของบริษัทตกหลุมพลางนักข่าวที่พยายามล่อให้เข้าพูดประโยคเช่นนั้น
ประเด็นความเป็นส่วนตัวของข้อมูลใน Facebook กำลังดุเดือดอีกครั้ง จนถึงกับมีกระแสเลิกใช้ Facebook แต่ถ้าใครยังไม่พร้อมจะหักล้างกับ Facebook ก็ยังมีวิธีอื่นที่ช่วยรักษาข้อมูลส่วนบุคคลให้ปลอดภัย ไม่ถูกนำไปใช้ง่ายๆ
บทความนี้จึงนำวิธีตรวจสอบว่ามีแอพภายนอกอะไรบ้าง ที่ใช้การล็อกอินผ่าน Facebook และมีสิทธิเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของเรา รวมทั้งวิธีปิดไม่ให้คนภายนอกเข้าถึงข้อมูล แต่การปิดการใช้งานลักษณะนี้ อาจทำให้ผู้ใช้ Facebook เข้าใช้แอพอืื่น หรือใช้บริการอื่นหลายๆ ตัวไม่ได้ เช่น ใช้ Facebook ล็อกอินเข้าเกม A ไว้ ถ้าตั้งค่าปิดการใช้งานตามฮาวทูนี้ ข้อมูลในไทม์ไลน์ที่เคยโพสไว้, คะแนนสูงสุด อาจหายหมด
Mark Zuckerberg ซีอีโอเฟซบุ๊กน่าจะได้เข้าแทบทุกสภาใหญ่ในยุโรปจากการบินไปครั้งเดียว หลังก่อนหน้านี้ถูกคณะกรรมาธิการสภาผู้แทนอังกฤษเรียกตัว เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับ การรั่วไหลของข้อมูลผู้ใช้ที่ถูกนำไปใช้ด้านการเมือง ล่าสุดรัฐสภายุโรปเรียกตัวซีอีโอเฟซบุ๊กเพื่อให้ข้อมูลด้วยเช่นกัน
Antonio Tajani ประธานรัฐสภายุโรปได้ทวีตว่า สภาได้เชิญ Mark Zuckerberg เข้ามาให้ข้อมูลและให้ความกระจ่างกับสภาว่า ข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้ชาวยุโรปจะไม่ถูกใช้งานเพื่อบงการชักใยระบอบประชาธิปไตย
จากประเด็น Cambridge Analytica นำข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้บนเฟซบุ๊กไปทำแคมเปญหาเสียง (อ่านเรื่องราวทั้งหมดได้จากบทความนี้) ล่าสุดคณะกรรมาธิการของสภาสามัญชนของอังกฤษเรียกตัว Mark Zuckerberg ซีอีโอเฟซบุ๊กเพื่อให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเด็นข้างต้น
Damien Collins ประธานคณะกรรมาธิการ ระบุในหนังสือเรียกตัว Zuckerberg ว่าก่อนหน้านี้เฟซบุ๊กให้ข้อมูลที่ทำให้คณะกรรมาธิการเข้าใจผิด เมื่อถูกถามว่าข้อมูลที่ Cambridge Analytica นำไปใช้ไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ใช่หรือไม่ ซึ่งรอบนี้ Collins ระบุว่าต้องการได้ยินข้อมูลจากผู้บริหารของเฟซบุ๊กที่มีอำนาจและมีข้อมูลที่ถูกต้อง พร้อมวางกรอบให้ซีอีโอเฟซบุ๊กตอบรับก่อน 26 มีนาคมนี้
Brian Acton ผู้ร่วมก่อตั้ง WhatsApp ที่ Facebook เข้าซื้อไปในปี 2014 แต่ตอนนี้เขาลาออกไปทำมูลนิธิแล้ว และจากข่าวฉาวระลอกใหม่ข้อมูลหลุดและข้อพิพาทระหว่าง Facebook กับ Cambridge Analytica ส่งผลให้ Acton โพสต์ทวิตเตอร์หนุนกระแส #deletefacebook ด้วย
2-3 วันนี้ ชาว Blognone อาจได้ยินข่าวดราม่าระลอกใหม่ของ Facebook ประเด็นข้อมูลส่วนบุคคล ที่มีบริษัทนำข้อมูลผู้ใช้งาน Facebook ไปทำแคมเปญหาเสียงทางการเมืองในสหรัฐฯ ข่าวนี้กลายเป็นประเด็นถกเถียงครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ทั้งในแง่ความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานและในแง่การเมืองสหรัฐ
เพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจที่มาที่ไปของประเด็นดังกล่าว Blognone จึงสรุปเหตุการณ์ในบทความนี้
จากมูลเหตุเรื่องข้อมูลผู้ใช้ Facebook ถูกนำไปใช้เพื่อการหาเสียง จนทำให้ฝ่ายนิติบัญญัติหันมาเพ่งเล็งและเริ่มผลักดันให้มีการตรวจสอบ ตอนนี้ไม่เพียงแต่จะเริ่มมีกระแส #DeleteFacebook เพื่อแสดงจุดยืนต่อต้าน Facebook บนสังคมออนไลน์เท่านั้น ทางด้านมูลค่าขององค์กรก็ได้รับผลกระทบเช่นเดียวกันเมื่อดัชนีหุ้นของ Facebook ลดลงทันที 6.8% เมื่อวานนี้
ถือเป็นคลื่นลูกใหญ่อีกลูกของ Facebook หลังจากข่าวปลอมเลยก็ว่าได้ เมื่อ Facebook ประกาศระงับบัญชี Cambridge Analytica บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลที่ทำแคมเปญหาเสียงให้โดนัลด์ ทรัมป์ ด้วยเหตุผลบริษัทไม่ทำลายข้อมูลผู้ใช้ Facebook ที่ได้มาอย่างไม่ถูกต้องตามที่ได้ตกลงกันไว้ ล่าสุดเกิดแรงตีกลับจากผู้ใช้งานแล้วคือ #DeleteFacebook
The New York Times รายงานว่า Alex Stamos หัวหน้าฝ่ายความปลอดภัยของข้อมูล Facebook เตรียมลาออกจากบริษัทเร็วๆ นี้ เนื่องจากมีความเห็นขัดแย้งภายในกับฝ่ายบริหาร ต่อวิธีการที่บริษัทควรจัดการกับเรื่องปัญหาข้อมูลข่าวสารในช่วงที่ผ่านมา
แหล่งข่าวบอกว่าช่วงที่ผ่านมา Stamos พยายามบอกให้ Facebook สอบสวนและเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับข่าวปลอมจากรัสเซียต่อสาธารณะ แต่เป็นความเห็นที่แตกต่างจากผู้บริหารระดับสูงคนอื่น ทำให้เขาตัดสินใจลดบทบาทลง ซึ่ง Facebook เองก็พยายามขอให้เขาอยู่ต่อเพื่อไม่ให้สถานการณ์ดูแย่ลง และเพื่อส่งต่องานให้ผู้บริหารคนใหม่
ก่อนหน้านี้มีประเด็นว่า Facebook สั่งลบบัญชีของ Cambridge Analytica เนื่องจากทางบริษัทสงสัยเรื่องการแอบใช้ข้อมูลแม้ว่าจะถูกลบไปแล้ว โดยบริษัทสามารถดึงข้อมูลจากบัญชี Facebook ได้กว่า 50 ล้านบัญชีผ่านแอพของอาจารย์มหาวิทยาลัย Aleksandr Kogan โดยไม่ได้ขออนุญาตจาก Facebook และข้อมูลเหล่านี้ถูกนำไปทำเป็นแคมเปญโฆษณาหาเสียงของประธานาธิบดี Trump ช่วงปี 2016
Facebook แจ้งว่าได้ปิดบัญชีของ Strategic Communication Laboratories หรือ SCL รวมถึง Cambridge Analytica ซึ่งเป็นบริษัทวิเคราะห์ข้อมูลด้านการเมืองภายใต้ SCL ด้วย
Facebook พบว่า Dr. Aleksandr Kogan ซึ่งเป็นอาจารย์ด้านจิตวิทยาของ University of Cambridge ได้โกหกและฝ่าฝืนนโยบายแพลตฟอร์มของบริษัท โดย Kogan ได้ทำแอพ thisisyourdigitallife และระบุว่าเป็นแอพทำวิจัยโดยนักจิตวิทยา ใช้ Facebook Login แต่ Facebook พบว่า Kogan นำข้อมูลไปส่งให้ SCL/Cambridge Analytica ซึ่งทำงานเกี่ยวกับการเมือง, รัฐบาล และการทหารทั่วโลก รวมถึง Christopher Wylie จาก Eutonia Technologies, Inc. อีกด้วย
ไม่ทราบได้ว่า Facebook เกิดความผิดพลาดอะไรอีก เมื่อมีผู้ใช้งาน Facebook โพสต์ในทวิตเตอร์ว่าเวลาพิมพ์ที่ช่องค้นหาบน Facebook ว่า Video of... ระบบกลับแนะนำวิดีโอเกี่ยวกับการร่วมเพศมาให้ เช่น video of girl sucking dick under water, videos of sexuals และ video of little girl giving oral มีผู้ใช้ค้นหาคำเป็นภาษาอื่น ก็ยังเจอการแนะนำวิดีโอดังกล่าวอยู่
Facebook จึงเจอคำวิพากษ์วิจารณ์อีกครั้ง ล่าสุด Facebook ออกมาขอโทษแล้วพร้อมบอกว่ากำลังหาสาเหตุความผิดพลาดครั้งนี้ และได้ลบการแนะนำวิดีโอจากการค้นหาออกไปแล้ว และยังระบุด้วยว่า การแนะนำการค้นหา สะท้อนสิ่งที่ผู้คนอาจค้นหาใน Facebook แต่ไม่จำเป็นต้องสะท้อนเนื้อหาจริงบนแพลตฟอร์ม ซึ่งแพลตฟอร์มไม่อนุญาตให้มีภาพเปลือย คลิปโป๊อย่างชัดเจน
ประเด็นความเป็นส่วนตัวหนึ่งที่ค้างคามายาวนานคือ การแชร์ข้อมูลระหว่าง Facebook กับ WhatsApp (Facebook เข้าซื้อ WhatsApp ไปในปี 2014) ซึ่งทาง WhatsApp ได้อัพเดตนโยบายความเป็นส่วนตัว แชร์ข้อมูลเบอร์โทรศัพท์กับ Facebook เพื่อทำการโฆษณาและแนะนำเพื่อน ปัญหาจึงเกิดขึ้นเพราะการกระทำเช่นนี้ละเมิดความเป็นส่วนตัว อีกทั้งการแชร์ข้อมูลนี้ไม่ได้รับการยินยอมจากผู้ใ้ช้
ล่าสุด สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของอังกฤษ หรือ ICO ออกมาเคาะอย่างเป็นทางการว่า ภายใต้กฎใหม่คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลยุโรป GDPR ที่กำลังจะบังคับใช้ในเดือนพฤษภาคมนั้น WhatsApp ไม่สามารถแชร์ข้อมูลผู้ใช้ไปยัง Facebook ได้
อย่างไรก็ตาม ทั้งสองบริษัทจะไม่ถูกปรับจากการอัตเดทนโยบายแชร์ข้อมูลที่ผ่านมา แต่ ICO จะให้ WhatsApp ลงนามสัญญาไว้ว่าจะไม่แชร์ข้อมูลจนกว่าทั้ง WhatsApp และ Facebook จะมีนโยบายที่สอดคล้องกับกฎ GDPR