เฟซบุ๊กเริ่มทำข้อตกลงกับเว็บไซต์ พับลิชเชอร์และผู้ผลิตคอนเทนต์ต่างๆ เพื่อให้พับลิชเชอร์เหล่านี้ทำคอนเทนต์วิดีโอหรือไลฟ์วิดีโอบนเฟซบุ๊ก เพื่อเป็นการผลักดันแพลตฟอร์มโฆษณา โดยเฟซบุ๊กจะจ่ายเงินก้อนให้ผู้ผลิตคอนเทนต์ในแต่ละเดือนแลกกับจำนวนวิดีโอตามที่ตกลงกันไว้
เงื่อนไขของเฟซบุ๊กคือวิดีโอจะต้องมีความยาวไม่น้องกว่า 90 วินาที ส่วนไลฟ์วิดีโอต้องไม่ต่ำกว่า 6 นาที เพื่อให้วิดีโอเหล่านี้สามารถแสดงโฆษณาคั่นกลางได้ ขณะที่รายได้จากโฆษณาจะเฟซบุ๊กจะแบ่งกับผู้ผลิตวิดีโออีกส่วนนอกเหนือจากเงินที่ตกลงกันไว้ในดีล โดยเฟซบุ๊กจะหักไป 45% ส่วนผู้ผลิตได้ไป 55%
ในงานสัมมนา F8 ของ Facebook ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 18 - 19 เมษายนที่ผ่านมามีการพูดถึงเทคโนโลยีและนวัตกรรมต่างๆ ที่ทาง Facebook กำลังพัฒนาอยู่ หนึ่งในโปรเจ็กต์ที่ผมคิดว่าน่าทึ่งมากจนอยากบอกต่อคือ "ระบบคำพูดไร้เสียง" (Silent Speech System) ซึ่งอาศัยเซ็นเซอร์ในการรับและส่งสัญญาณข้อมูลให้สมองโดยไม่ต้องออกเสียงเลย
ต่อเนื่องจากข่าวบริษัทสื่อหลายแห่งเริ่มหยุดใช้งาน Facebook Instant Articles ล่าสุด The Guardian หนึ่งในสื่อกลุ่มแรกที่เป็นคู่ค้าร่วมทดลอง Instant Articles ได้ประกาศหยุดใช้ทั้ง Instant Articles และ Apple News แล้ว
The Guardian ให้เหตุผลว่าช่วงที่ผ่านมาเป็นการทดสอบดูว่าระบบเหล่านี้ จะตอบสนองทั้งด้านการอ่านข่าว และประโยชน์เชิงธุรกิจได้หรือไม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไป The Guardian ก็ตัดสินใจให้ผู้อ่านเข้ามาอ่านเนื้อหาผ่านเว็บไซต์ ซึ่งสามารถควบคุมบรรยากาศ ระบบสมาชิก และสิ่งต่างๆ ได้ดีมากกว่า เนื่องจากแนวทางของ The Guardian ต้องขายระบบสมาชิกในการเข้าถึงเนื้อหาด้วย
ทั้งนี้ The Guardian ยังคงให้เนื้อหาบางส่วนรองรับ Google AMP อยู่
ที่มา: 9to5Mac
คนที่ติดตามวงการ deep learning คงรู้จัก Caffe เฟรมเวิร์คสำหรับเทรน AI ให้เรียนรู้ด้วยเทคนิค deep learning
Caffe ถูกสร้างโดย Yangqing Jia อดีตนักวิจัยปริญญาเอกของมหาวิทยาลัย UC Berkeley ปัจจุบันมันเป็นซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สที่ดูแลโดย Berkeley AI Research
ตัวของ Yangqing Jia ตอนนี้มีสถานะเป็นพนักงานของ Facebook (ก่อนหน้านี้เขาเคยทำงานกับกูเกิล และอยู่ในทีม TensorFlow ด้วย) สิ่งที่เกิดขึ้นคือ Jia พัฒนาเฟรมเวิร์คตัวใหม่ Caffe2 ที่ดีกว่าของเดิม
งาน F8 2016 ปีที่แล้ว Facebook เปิดตัวกล้อง Surround 360 สำหรับถ่ายภาพรอบทิศทางความละเอียดสูง มาถึงงาน F8 2017 ปีนี้ บริษัทเปิดตัวกล้องใหม่อีก 2 รุ่นรวด
Surround รุ่นใหม่เปลี่ยนจากดีไซน์ทรงลูกข่างมาเป็นทรงกลม รุ่นใหญ่ใช้ชื่อว่า x24 (24 เลนส์) และรุ่นเล็กชื่อ x6 (6 เลนส์) ทั้งสองตัวมีความสามารถที่เรียกว่า six-degrees-of-freedom (6DoF) ที่ให้ผู้สวมใส่แว่น VR เคลื่อนที่ใน 6 ทิศทาง (หน้า-หลัง-ซ้าย-ขวา-บน-ล่าง) แล้วจะเห็นภาพที่แตกต่างกันไปในแต่ละมุม ต่างไปจากโลก VR แบบเดิมที่เราเห็นภาพแบนๆ หมุนรอบตัวเรา ให้ประสบการณ์เสมือนจริงมากยิ่งขึ้น
Facebook เปิดตัวช่องทางโซเชียลมีเดียใหม่ Facebook Spaces ให้ผู้ใช้สร้างตัวตนใหม่บนแพลตฟอร์ม VR พูดคุยและแฮงเอาท์กับเพื่อนๆ ทดลองใช้ระบบเบต้าแล้วบนอุปกรณ์ Oculus Rift และ Touch สามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่ Oculus Store
ตัวตนใหม่ของผู้ใช้บน Facebook Spaces มีลักษณะเป็นร่างอวตารที่ระบบอ้างอิงจากรูปภาพใน Facebook โดยสามารถเปลี่ยนสีผม สีตา เสื้อผ้าได้ และสามารถใช้มือวาดอะไรบนอากาศก็ได้ เช่นเล่นเกม XO กับเพื่อนๆ
Facebook Spaces มีฟีเจอร์วิดีโอคอล Messenger กับเพื่อนได้ โดยจะปรากฏหน้าต่างแชทวีดิโอคอลใน VR
ที่งาน F8 2017 วันที่สอง มีการโชว์เทคโนโลยีแปลงคลื่นสมองออกมาเป็นข้อความ พิมพ์ตัวอักษรได้ทันทีเพียงแค่คิดเท่านั้น
เทคโนโลยีนี้เป็นผลงานของ Building 8 แล็บฮาร์ดแวร์ของ Facebook ที่เพิ่งดึงตัว Regina Dugan หัวหน้าทีม ATAP ของกูเกิลและอดีตผู้อำนวยการทีมวิจัยของ DARPA มาคุมทีม
ทีมนักวิจัยของ Facebook ใช้วิธีดักจับคลื่นที่ตำแหน่งเฉพาะของสมอง ตอนนี้เทคโนโลยียังอยู่ระหว่างการพัฒนาเซ็นเซอร์ที่ดีกว่าเดิม และจะนำไปสร้างเป็นอุปกรณ์สวมใส่ในอนาคต โดย Facebook ตั้งเป้าว่าต้องการให้เราพิมพ์ได้เร็ว 100 คำต่อนาที
Facebook ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับ React เฟรมเวิร์คจาวาสคริปต์ชื่อดังสำหรับสร้างเว็บแอพ (และภายหลังพัฒนาต่อมาเป็น React Native สำหรับสร้างแอพมือถือ) แต่เมื่อ React ถูกนำไปใช้งานอย่างกว้างขวาง ข้อจำกัดของมันเรื่องประสิทธิภาพก็เริ่มเด่นชัด
Facebook แก้ปัญหานี้ด้วยการเขียนแกนของ React ใหม่หมด โดยใช้ชื่อว่า React Fiber
React Fiber มีข้อดีเหนือกว่า React ตัวเดิมหลายอย่าง ทั้งประสิทธิภาพดีกว่า การมีขนาดไฟล์ที่เล็กกว่า ควบคุมตัวแปรและข้อผิดพลาดได้ง่ายกว่า แถมยังการันตีว่า backward compatible กับ React ตัวเดิมทั้งหมด 100% ส่งผลให้นักพัฒนาไม่ต้องแก้ไขโค้ดเก่าแต่อย่างใด
หลังเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อปลายปีที่แล้ว เฟซบุ๊กพยายามอัพเดตและเพิ่มความสามารถให้ Workplace by Facebook แพลตฟอร์มโซเชียลสำหรับฝั่งองค์กรอย่างต่อเนื่อง
ล่าสุดในงาน F8 ตัว Workplace ก็รองรับการเชื่อมต่อ (intergration) เข้ากับผู้ให้บริการคลาวด์ เพื่อการจัดการไฟล์ที่ไหลลื่นและง่ายมากยิ่งขึ้น ซึ่งพาร์ทเนอร์ที่เฟซบุ๊กประกาสออกมาตอนนี้มี Box, Onedrive (Office) และ Saleforce (Quip)
Facebook ขยายผลิตภัณฑ์ในสาย React เพิ่มอีกตัว เปิดตัว React VR ไลบรารีสำหรับสร้างเนื้อหาแบบ VR ผ่านเว็บด้วยจาวาสคริปต์
React VR เป็นตัวกลางให้เราสร้างเนื้อหา VR บนเทคโนโลยี WebVR และ WebGL โดยไม่ต้องเขียนเองทั้งหมด และยังใช้สไตล์การเขียนโปรแกรมแบบ React/React Native ที่นักพัฒนาจำนวนมากคุ้นเคย งานที่ได้จะออกมาเป็นฉาก 3 มิติที่มีมุมมองพานอรามา 360 องศา รวมถึงแสดงวิดีโอและเล่นเสียงแบบ immersive รอบทิศทางได้ด้วย
Facebook บอกว่าเลือกสร้างไลบรารี VR สำหรับเว็บขึ้นมาบน React ซึ่งเป็นเฟรมเวิร์คที่ได้รับความนิยมอยู่แล้ว มีชุมชนผู้ใช้งานจำนวนมาก และใช้ประโยชน์จากสถาปัตยกรรมประมวลผลกราฟิกของ React Native ที่แสดงผลภาพโดยเฟรมเรตไม่ตก แม้ทำงานแบบเธร็ดเดียวก็ตาม
เฟซบุ๊กเปิดตัวบริการ Delegated Recovery ซึ่งเป็นบริการหรือเครื่องมือสำหรับกู้บัญชีผ่านโปรโตคอลของเฟซบุ๊ก แทนการใช้งาน SMS หรืออีเมลในแบบเดิมเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยเปิดให้กู้เฉพาะบน Github ก่อนเท่านั้น
ล่าสุดในงาน F8 เฟซบุ๊กประกาศปล่อยทั้ง SDKs, แนวทางและตัวอย่างการใช้งาน ให้กับบริษัทหรือเว็บไซต์ทั่วไปที่สนใจนำไปทดลองใช้งานแล้ว ทั้งภาษา Java และสำหรับแพลตฟอร์ม NodeJS
วันที่ 1 พ.ค. นอกจากเป็นวันแรงงานแล้ว ที่สหรัฐฯยังมีจัดการประท้วงโดยกลุ่มสนับสนุนผู้อพยพ เป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ต่อประธานาธิบดีโดยตรง และ Facebook ประกาศว่าจะไฟเขียวให้พนักงานเข้าร่วมการประท้วงดังกล่าวได้ โดยจะจัดดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นรถบัส เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย
โฆษก Facebook บอกว่า บริษัทส่งเสริมบรรยากาศที่พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี สนับสนุนให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของวันแรงงานสากล และตระหนักในเงื่อนไขอื่นที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน
บริษัทไอทีหลายแห่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบนผู้อพยพของทรัมป์ และแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่งของทรัมป์ด้วย Mark Zuckerberg เองก็เคยประกาศจุดยืนต่อต้านนโยบายดังกล่าว
เป็นกระแสกันมาซักพักสำหรับเฟซบุ๊ก ที่ถูกวิจารณ์ว่าไม่สร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ (innovative) เพราะก๊อปปี้ฟีเจอร์ของ Snapchat มาอย่าง Stories และฟิลเตอร์หน้ากากสำหรับเซลฟี่นั้น
ล่าสุดในงาน F8 ซีอีโอเฟซบุ๊ก Mark Zuckerberg ให้สัมภาษณ์โต้ตอบในประเด็นนี้ว่า การก๊อปปี้ Snapchat เป็นเพียงก้าวแรกของแพลตฟอร์ม Augmented Reality เท่านั้น โดยเป้าหมายของเฟซบุ๊กไม่ใช่แค่ทำฟีเจอร์เบสิกสำหรับกล้อง แต่ตั้งใจจะทำแพลตฟอร์ม AR จนกลายเป็นกระแสหลัก ซึ่งก่อนที่จะออกฟีเจอร์หรือบริการทั้งหลายที่อยู่ในแผน (ซึ่งเป็นก้าวถัดไป) ก้าวแรกคือต้องออกฟีเจอร์ที่ผู้คนทั่วไปคุ้นเคยและทำให้มันมั่นคง ก่อนที่จะสร้างแพลตฟอร์มต่อยอดขึ้นไป
ผู้ใช้เฟซบุ๊กและเฟซบุ๊กแมสเซนเจอร์อาจจะพอได้เล่นฟีเจอร์ที่มีการใส่เอ็ฟเฟ็คหรือหน้ากากเข้าไปที่หน้าผู้ใช้ในลักษณะ Augmented Reality เมื่อเปิดกล้อง ล่าสุดเฟซบุ๊กเปิดแพลตฟอร์มนี้อย่างเป็นทางการให้กับนักพัฒนาที่สนใจ สามารถพัฒนาเอ็ฟเฟ็คขึ้นบนแพลตฟอร์มได้แล้วในงาน F8 เมื่อคืนที่ผ่านมา
Steve Stephens ชายผิวสีคนหนึ่งทำการถ่ายทอดการฆาตกรรมผ่าน Facebook Live เหยื่อเป็นชายผิวสีเช่นกัน ชื่อ Robert Godwin อายุ 74 ปี ตัววิดีโอความยาวไม่ถึง 1 นาที โดย Stephens ขับรถไปจอดบริเวณที่ Godwin ยืนอยู่
จากนั้นนำปืนยิง Godwin จนเสียชีวิต
จากคำพูดที่ Stephens พูดก่อนลงจากรถไปหา Godwin สันนิษฐานว่า Godwin เป็นสาเหตุให้เขากับแฟนมีปัญหากัน ก่อนหน้าวิดีโอฆาตกรรมนี้ Stephens ยังโพสต์วิดีโอบอกว่าตนเคยฆ่าคนมาแล้ว 13 รายด้วย แม้ตำรวจจะยังไม่พบหลักฐานฆาตกรรมก่อนหน้าที่ Stephens ทำ แต่ก็กำลังดำเนินการตามล่าเขาอย่างเต็มที่
The Verge มีบทความเสนอประเด็นว่าเว็บสื่อใหญ่ของโลกหลายราย เริ่มหยุดหรือลดการใช้ Facebook Instant Articles ด้วยเหตุผลว่าไม่ตอบโจทย์เรื่องรายได้จากโฆษณา ตามที่ Facebook เคยโปรโมทไว้
สื่อชื่อดังที่หยุดใช้แล้วคือ The New York Times (ซึ่งเป็นพันธมิตรร่วมเปิดตัว), Vice, Forbes, L.A. Times, Chicago Tribune และสื่อในเครือ Hearst บริษัทนิตยสารรายใหญ่ ส่วนสื่อที่ลดการใช้งาน Instant Articles ลงเหลือเพียงบางบทความ (ส่วนใหญ่ลิงก์ให้เข้าเว็บโดยตรงแทน) ได้แก่ CNN, Wall Street Journal, New York Daily News เป็นต้น ส่วนสถิติของ The Verge เองก็ชี้ให้เห็นว่าการใช้ Instant Articles ไม่ได้ทำให้คนอ่านเยอะขึ้นจากเว็บเพจปกติ แต่รายได้ลดลง
หนึ่งในสาเหตุปัญหาข่าวปลอมบน Facebook คือบัญชีสแปม โดย Facebook เผยว่าได้ตรวจสอบบัญชีสแปมที่มีคนติดตามกดไลค์มากกว่า 1 แสนคน และมีพฤติกรรมเผยแพร่เนื้อหาคุณภาพต่ำ และสามารถระงับบัญชีสแปมไปแล้วกว่า 3 หมื่นบัญชีภายในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา
การสร้างบัญชีปลอมหรือบัญชีไม่มีตัวตนใน Facebook ทำได้ยากกว่าแต่ก่อน เพราะต้องยืนยันเบอร์โทรศัพท์หรือข้อมูลระบุตัวตนอื่นๆ แต่บัญชีสแปมมีวิธีหลบเลี่ยง เปลี่ยนเส้นทางการรับส่งข้อมูลผ่าน proxy ที่สามารถปลอมแปลงตำแหน่งได้ โดยบัญชีที่สแปมที่พบเป็นบัญชีจากประเทศบังกลาเทศ ซาอุดิอาระเบีย อินโดนีเซีย เป็นต้น
ถึงแม้ที่ผ่านมา Facebook Messenger จะเริ่มเปิดฟีเจอร์ด้านการโอนเงิน จ่ายเงิน หรือฟีเจอร์โอนเงินในแชทล่าสุดก็ตาม ไม่นับรวมสติ๊กเกอร์ต่างๆ ที่มีให้ดาวน์โหลดมากมาย แต่ดูเหมือนโมเดลธุรกิจที่เฟซบุ๊กวางแผนเอาไว้ให้กับ Messenger เพื่อสร้างรายได้จะเป็นโฆษณาแทน ลักษณะเดียวกับที่เฟซบุ๊กและ Instagram กำลังทำอยู่
Facebook ได้เปิดตัวฟีเจอร์ใหม่สำหรับการจับจ่ายเงินบน Messenger คือการโอนเงินในแชทกลุ่ม จากเดิมที่จะเปิดให้โอนเงินเมื่ออยู่ในแชทระหว่างบุคคลเท่านั้น ซึ่งจะมีประโยชน์เมื่อต้องการแชร์ค่าอาหารระหว่างคนในกลุ่ม หรือออกเงินร่วมกันซื้ออะไรบางอย่าง
วิธีใช้งานคือกดปุ่ม + และเลือก $ ซึ่งเป็นไอคอนของระบบจ่ายเงินบน Facebook จากนั้นเลือกว่าต้องการให้หรือรับเงินจากใครในกลุ่ม ใส่จำนวนเงินต่อคน หรือจะใส่จำนวนเงินทั้งหมดแล้วให้ระบบเฉลี่ยให้ก็ได้ และกด Request
ฟีเจอร์จ่ายเงินแบบกลุ่มของ Facebook Messenger เปิดให้ใช้งานแล้วทั้งบน Android และเดสก์ท็อป และฟีเจอร์นี้ยังคงเปิดให้ใช้งานเฉพาะในสหรัฐฯ
ถ้ายังไม่ลืมกัน ในปี 2015 Facebook เปิดตัวผู้ช่วยส่วนตัวในเวอร์ชันของตัวเองชื่อ M จากนั้นก็เงียบหายไปนาน ล่าสุดบริษัทเปิดให้ผู้ใช้ Messenger ในสหรัฐอเมริกาทุกคน เข้าถึงฟีเจอร์ของ M แล้ว
รูปแบบการใช้งาน M ต่างกับแช็ทบ็อทในระบบ Messenger ที่ให้เราพิมพ์คุยกับบ็อท แต่ M จะเข้ามาแทรกอยู่ในการสนทนาระหว่างเรากับเพื่อน โดยอ่านข้อความแช็ทแล้วแนะนำฟีเจอร์บางอย่างของ Messenger ให้เราแทน
Workplace แพลตฟอร์โซเชียลสำหรับการทำงานของ Facebook เตรียมออกเวอร์ชันใช้ฟรี เพื่อให้ธุรกิจขนาดเล็ก-กลางสามารถร่วมใช้งานได้
โดยเวอร์ชันฟรีนี้จะมีคุณสมบัติพื้นฐานเหมือนกับเวอร์ชันเสียเงิน แต่ตัดคุณสมบัติระดับองค์กรใหญ่ออกไป อาทิ มีผู้ดูแลระบบ, Single sign-on ฯลฯ เรียกชื่อว่า Workplace Standard
โฆษกของ Facebook บอกว่าปัจจุบันมีองค์กรที่ใช้ Workplace Premium แบบเสียเงินอยู่หลายพันแห่ง ส่วน Workplace Standard จะเปิดให้สมัครใช้งานเร็วๆ นี้
Facebook เปิดตัว Facebook Stories มาได้หนึ่งสัปดาห์แล้ว แต่ดูเหมือนว่าผู้ใช้งาน Facebook ดูไม่นิยมนัก Facebook เลยหาทางแก้เพื่อกระตุ้นให้เกิดการลองใช้งาน
โดยมีผู้พบว่าพอไม่ค่อยมีโพสต์ Stories ในแถบด้านบน จากเดิมที่ Facebook ปล่อยให้เป็นพื้นที่ว่าง ก็แก้ปัญหาโดยการใส่รูปสีจางของเพื่อนที่ไม่เคยโพสต์ให้เต็มพื้นที่แทน เมื่อกดเข้าไปก็จะขึ้นข้อความบอกว่าเพื่อนคนนี้ยังไม่ได้เพิ่ม Stories เข้าไป
ก็ไม่รู้ว่าทำแบบนี้แล้วปริมาณ Facebook Stories จะเพิ่มขึ้นได้หรือไม่
ที่มา: The Verge ภาพ @Kantrowitz
มีผู้ใช้งานแอพ Facebook บางส่วนพบว่ามีหัวข้อใหม่ในแถบด้านล่าง ตำแหน่งถัดจาก News Feed เป็นรูปจรวด โดยไม่ได้อธิบายว่าเป็นหัวข้ออะไร ซึ่งเนื้อหาในแถบนั้นเป็นการแนะนำวิดีโอ และบทความจากแหล่งต่างๆ ที่ผู้ใช้ยังไม่ได้ Like หรือติดตาม
ตัวแทนของ Facebook ยืนยันการทดสอบนี้ โดยบอกว่าเป็นหน้า Feed ที่รวบรวมบทความ วิดีโอ และรูปภาพที่ได้รับความนิยม โดยปรับเลือกให้เหมาะกับแต่ละบุคคล ซึ่งคาดว่าจะสนใจ ช่วยให้ผู้ใช้งานค้นหาเนื้อหาใหม่ๆ ได้ง่ายขึ้น แต่สถานะตอนนี้ก็ยังเป็นการทดสอบกับผู้ใช้บางกลุ่มอยู่
อาจจะเรียกว่า News Feed 2 ก็คงไม่ผิดนัก
ที่มา: Business Insider
Palmer Luckey ผู้ก่อตั้ง Oculus ลาออกจากบริษัทแล้ว โดยเขาพ้นสภาพความเป็นพนักงานของ Facebook ในฐานะบริษัทแม่ของ Oculus เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว
ตอนนี้ยังไม่มีสาเหตุที่ Luckey ลาออก แต่ในรอบหนึ่งปีที่ผ่านมา เขาลดบทบาทของตัวเองลงไปมากและแทบไม่ปรากฏตัวหรือสื่อสารต่อสาธารณะเลย ส่วน Oculus เองก็ดูจะมีปัญหาภายใน จนต้องปรับโครงสร้างบริษัทใหม่เมื่อเดือนธันวาคม 2016 โดย Brendan Iribe ผู้ร่วมก่อตั้งและซีอีโอ ลงจากตำแหน่งซีอีโอไปคุมงานเฉพาะส่วนแว่น Rift แทน ส่วน Facebook ก็ดึง Hugo Barra จาก Xiaomi มาคุมงาน VR ทั้งหมดของบริษัท ไม่จำกัดเฉพาะแค่ Oculus อย่างเดียว
มาถึงตอนนี้ เราคงคุ้นเคยกับฟีเจอร์ Instagram Stories หรือ Messenger Day ที่--ลอก--ได้แรงบันดาลใจมาจาก Snapchat กันพอสมควรแล้ว ล่าสุดฟีเจอร์นี้ลามมาถึงแอพ Facebook ตัวหลักแล้ว โดยใช้ชื่อว่า Facebook Stories
วิธีการใช้งาน Stories บนแอพทั้งสองตัวเหมือนกันทุกประการ นั่นคือเป็นการแชร์สั้นๆ ชั่วคราว โพสต์จะอยู่นานแค่ 24 ชั่วโมงแล้วหายไปอัตโนมัติ หน้าตาก็เหมือนกันคือเป็นหน้าของเพื่อนในไอคอนรูปวงกลมอยู่ที่ด้านบนสุดของหน้าจอหลักแอพ
นอกจาก Stories ที่โพสต์ให้เพื่อนของเราทุกคนมีโอกาสเห็นได้ Facebook ยังมีฟีเจอร์โพสต์ภาพ/วิดีโอแล้วส่งให้เพื่อนเฉพาะบางคนในชื่อ Direct (ชื่อเหมือน Instagram อีกเช่นกัน) โดยเป็นการส่งภาพ/วิดีโอชั่วคราว ที่ดูได้เพียงครั้งเดียวเท่านั้นด้วย