EFF และ ACLU สององค์กรไม่หวังผลกำไรด้านสิทธิการแสดงออกชนะคดีที่ฟ้องร้องกระทรวงความมั่นคงแห่งมาตุภูมิ (DHS) พร้อมกับหน่วยงานดูแลชายแดน CBP (U.S. Customs and Border Protection) และ ICE (U.S. Immigration and Customs Enforcement) จากการตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้เดินทางเข้าประเทศจำนวน 11 รายโดยไม่สามารถแจ้งเหตุผลอันสมควรได้
การตรวจค้นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เช่น โทรศัพท์มือถือหรือโน้ตบุ๊ก มีมากขึ้นเรื่อยๆ ในสหรัฐฯ โดยปี 2018 ที่ผ่านมามีการตรวจค้นกว่า 33,000 ครั้ง เพิ่มขึ้นสี่เท่าตัวในห่วงสามปี
ออสเตรเลียกำหนดกลุ่มความสามารถพิเศษสำหรับโครงการมอบวีซ่าถาวรให้กับแรงงานที่จะมีความสำคัญในอนาคต โดยกลุ่มอาชีพ เช่น เทคโนโลยีการเกษตร, เทคโนโลยีอวกาศ, พลังงาน, เทคโนโลยีการแพทย์, ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์, คอมพิวเตอร์ควอนตัม, วิทยาศาสตร์ข้อมูล เป็นต้น
เมื่อเดือนมีนาคม 2018 กระทรวงต่างประเทศสหรัฐฯ ได้เสนอไอเดียให้ผู้ขอวีซ่าเข้าสหรัฐฯ ต้องเปิดเผยข้อมูลบัญชีโซเชียลมีเดียร่วมด้วย ล่าสุดข้อบังคับดังกล่าวเกิดขึ้นจริงและมีผลแล้ว
ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป ผู้ที่ยื่นขอวีซ่าเข้าสหรัฐอเมริกาต้องระบุชื่อบัญชีโซเชียลมีเดียของตนย้อนหลัง 5 ปี โดยในแบบฟอร์มคำร้องจะมีรายชื่อโซเชียลมีเดียอยู่จำนวนหนึ่งเอาไว้ให้ผู้ขอวีซ่ากรอกชื่อบัญชีลงไป และหากผู้ขอวีซ่ามีการใช้งานโซเชียลมีเดียอื่นๆ ที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อข้างต้นก็สามารถเปิดเผยข้อมูลเพิ่มเติมได้โดยสมัครใจ
โดนัลด์ ทรัมป์ ประธานาธิบดีสหรัฐฯ เตรียมลงนามในคำสั่งยกเลิกโครงการ DACA (Deferred Action for Childhood Arrivals) อนุญาตให้เยาวชนที่หลบเข้ามาในประเทศตั้งแต่ยังเด็ก สามารถอาศัย ศึกษาและทำงานได้อย่างถูกกฎหมายในสหรัฐฯ ต่อไปได้ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อคนในโครงการหรือ Dreamer เกือบ 800,000 คน และเป็นอีกครั้งที่เหล่าผู้บริหารบริษัทเทคโนโลยีระดับบิ๊กต้องออกมาประกาศจุดยืน ไม่เห็นด้วยกับนโยบายของประธานาธิบดี
ทันทีที่นโยบายปิดกั้นผู้อพยพจาก 7 ประเทศมุสลิมไม่ให้เข้าสหรัฐฯเป็นการชั่วคราวได้รับการอนุมัติ และอาจมีการทบทวนวีซ่าทำงาน H-1B บรรดาบิ๊กบอสวงการไอทีต่างก็ประสานเสียงไม่เห็นด้วย ล่าสุดวันนี้มีเอกสารอย่างเป็นทางการจาก 162 บริษัทไอทีระบุข้อโต้แย้งทางกฎหมาย และเรียกร้องให้รัฐบาลทบทวนนโยบายใหม่อีกครั้ง
วันที่ 1 พ.ค. นอกจากเป็นวันแรงงานแล้ว ที่สหรัฐฯยังมีจัดการประท้วงโดยกลุ่มสนับสนุนผู้อพยพ เป็นการประท้วงเชิงสัญลักษณ์ต่อประธานาธิบดีโดยตรง และ Facebook ประกาศว่าจะไฟเขียวให้พนักงานเข้าร่วมการประท้วงดังกล่าวได้ โดยจะจัดดูแลความปลอดภัยและอำนวยความสะดวกให้ด้วย ไม่ว่าจะเป็นรถบัส เจ้าหน้าที่ดูแลความปลอดภัย
โฆษก Facebook บอกว่า บริษัทส่งเสริมบรรยากาศที่พนักงานสามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเสรี สนับสนุนให้พนักงานตระหนักถึงความสำคัญของวันแรงงานสากล และตระหนักในเงื่อนไขอื่นที่ก่อให้เกิดความเป็นธรรมในการจ้างงาน
บริษัทไอทีหลายแห่งไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบนผู้อพยพของทรัมป์ และแนวคิดอนุรักษ์นิยมสุดโต่งของทรัมป์ด้วย Mark Zuckerberg เองก็เคยประกาศจุดยืนต่อต้านนโยบายดังกล่าว
ช่วงนี้ซีอีโอบริษัทเทคโนโลยีสองแห่งคือ Travis Kalanick แห่ง Uber กับ Elon Musk แห่ง Tesla กำลังโดนโจมตีอย่างหนัก เนื่องจากรับตำแหน่งที่ปรึกษาให้ประธานาธิบดี Donald Trump (Presidential Advisory Forum) จึงถูกมองว่าให้การสนับสนุนรัฐบาล (ตอนนี้ฝั่ง Travis ลาออกแล้ว)
ล่าสุด Elon Musk ได้ทวีตเกี่ยวกับกระแสวิพากษ์วิจารณ์นี้ โดยยืนยันว่าเขารับตำแหน่งที่ปรึกษาให้ Trump เพราะต้องการให้คำแนะนำในประเด็นที่เขาคิดว่าสำคัญสำหรับประเทศและสำหรับโลก และในวันพรุ่งนี้เขาและที่ปรึกษาคนอื่นจะเข้าพบประธานาธิบดีเพื่อคัดค้านคำสั่งแบนผู้อพยพ และเสนอการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับนโยบายดังกล่าว
พนักงานกูเกิลกว่า 2,000 คนรวมตัวประท้วงที่สำนักงานทั่วโลก แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับนโยบายแบนผู้อพยพจากประเทศมุสลิม 7 ประเทศเป็นการชั่วคราว โดยผู้ประท้วงต่างโพสต์รูป วิดีโอ และข้อความบนทวิตเตอร์ โดยใช้แฮชแทกว่า #GooglersUnite
การประท้วงเกิดขึ้นหลังจากพนักงานร่วมกันระดมทุนกว่าสองล้านดอลลาร์ จ่ายให้องค์กรไม่แสวงหาผลกำไร เพื่อสนับสนุนการทำงานเรื่องผู้อพยพโดยเฉพาะ มีรายงานว่า Sundar Pichai ซีอีโอกูเกิลก็อยู่ในเหตุการณ์ประท้วงที่สำนักงานใหญ่ในเมือง Mountain View ด้วย โดยเขากล่าวกับพนักงานว่าการต่อสู้ของเราต้องดำเนินต่อไป
ไม่ได้มีแต่ Uber เท่านั้นที่ถูกวิจารณ์ว่าเข้าไปช่วยงาน Donald Trump ซีอีโอคนดังคนล่าสุดที่โดนถล่มคือ Elon Musk ที่เข้าไปนั่งอยู่ในคณะที่ปรึกษาของ Trump ชุดเดียวกับซีอีโอของ Uber
Musk ออกมาวิจารณ์นโยบายต่อต้านผู้อพยพของ Trump ผ่านทวิตเตอร์ เขาบอกว่าการแบนผู้อพยพครั้งนี้ไม่ใช่แนวทางที่ถูกต้อง และเขาจะหาโอกาสพูดคุยเรื่องนี้กับคณะที่ปรึกษา แล้วนำเสนอประเด็นไปยังประธานาธิบดี Trump
นโยบายสกัดกั้นผู้อพยพของ Donald Trump อาจเป็นเพียงแค่ปัญหาเล็กๆ ของวงการไอที เพราะก้าวต่อไปของ Trump อาจเป็นการเปลี่ยนนโยบายวีซ่าทำงาน H-1B แบบยกเครื่อง ส่งผลกระทบต่อบริษัทไอทีในสหรัฐที่ใช้แรงงานจากต่างประเทศจำนวนมาก
สำนักข่าว Bloomberg รายงานข่าววงในว่าทีมงานของ Trump กำลังร่างนโยบายวีซ่าทำงานแบบใหม่ บังคับให้บริษัทอเมริกันต้อง "จ้างคนอเมริกันก่อน" (hire American first) และถ้าจำเป็นต้องจ่ายคนต่างชาติ รัฐบาลจะจัดลำดับความสำคัญตามค่าจ้าง คนที่มีค่าจ้างสูงก็มีโอกาสจะได้รับการอนุมัติวีซ่ามากกว่านั่นเอง
บรรดาผู้นำโลกไอทีสหรัฐต่างออกมาคัดค้านนโยบายผู้อพยพของ Donald Trump ที่ดูเป็นเอกภาพ แต่กรณีของ Uber กลับแตกต่างออกไป
Travis Kalanick ซีอีโอของ Uber เคยเข้าร่วมเป็นที่ปรึกษาให้กับ Trump มาก่อน (คนอื่นที่เข้าร่วมคือ Elon Musk และซีอีโอของบริษัทใหญ่อื่นๆ เช่น Disney, IBM, Wal-Mart, GM, PepiCo รวม 19 คน) ทำให้เขาถูกวิจารณ์มาก่อนแล้วว่าเข้าไปช่วย Trump และในแถลงการณ์ของเขาเรื่องผู้อพยพ ก็ไม่ได้แสดงท่าทีชัดเจน (เท่ากับซีอีโอคนอื่นๆ) ในการคัดค้าน Trump
เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดี Donald Trump เซ็นคำสั่งห้ามผู้อพยพเข้าประเทศ สร้างเสียงวิจารณ์มากมาย แต่ผลกระทบคือชาวต่างชาติจากประเทศมุสลิมที่ระบุในคำสั่งทั้งหมด 7 ประเทศ จะถูกห้ามเข้าสหรัฐอเมริกาชั่วคราว 90 วัน (ยกเว้นผู้อพยพจากซีเรียที่ถูกสั่งห้ามแบบไม่มีกำหนด)
หลังคำสั่งนี้มีผลบังคับใช้ หน่วยงานตรวจคนเข้าเมืองของสหรัฐก็ห้ามคนจากประเทศเหล่านี้เดินทางเข้าสหรัฐทันที และคนที่จะเดินทางเข้าสหรัฐจะไม่ได้รับการอนุญาตให้ขึ้นเครื่องจากต้นทาง แม้ว่ามีวีซ่าหรือกรีนการ์ดแล้วก็ตาม (ข้อมูลยังสับสนว่าผู้ถือกรีนการ์ดเข้าประเทศได้หรือไม่)