ช่วงนี้กระแส fintech กำลังมาแรง ไปไหนเราก็จะได้ยินคำว่า Blockchain อยู่บ่อยๆ แต่ชื่อ Blockchain เป็นคำเรียกเทคโนโลยีโดยรวม (ที่เริ่มโดย Bitcoin) เท่านั้น ในแง่การใช้งานแล้วก็มีซอฟต์แวร์หลายตัวที่เขียนขึ้นมาใหม่ตามแนวคิดของ Blockchain
ซอฟต์แวร์ที่มาแรงที่สุดในยุคนี้คงหนีไม่พ้น Ethereum โครงการโอเพนซอร์สและสกุลเงินดิจิทัลที่ได้รับความนิยมเป็นอันดับสองรองจากต้นฉบับ Bitcoin เพียงรายเดียวเท่านั้น แถมยังมีคุณสมบัติด้าน Smart Contract ที่ช่วยให้นำไปใช้งานด้านอื่น เป็นระบบการประมวลผลแบบกระจายศูนย์ นอกเหนือจากการเป็นสกุลเงินเพียงอย่างเดียวได้
ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ร่วมกับ Digital Ventures (DV) บริษัทในเครือด้านฟินเทค จัดงานเสวนา Faster Future | SCB FinTech Forum ฉายภาพอนาคตของโลก FinTech และการปรับตัวของภาคธุรกิจ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 500 คน ทั้งผู้บริหารระดับสูงของธนาคาร ลูกค้ากลุ่มองค์กร และผู้ประกอบการด้านเทคโนโลยีในไทย
Simple สตาร์ทอัพด้านการเงินจากพอร์ทแลนด์ สหรัฐฯ ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี 2009 ทำบริการรวมบัญชีธนาคารไว้ในแอพพลิเคชั่นให้ผู้เช้าเข้าถึงง่ายโดยคลิกเดียว ล่าสุดทำบริการเสริม Shared account การแชร์บัญชีร่วมกันให้คู่รักที่ไม่ได้แต่งงานกัน หรือเพื่อนร่วมหอพัก เจาะกลุ่มคนอายุน้อย
ฟีเจอร์ใหม่ให้ผู้ใช้โอนเงินจากบัญชีของตัวเองในระบบ Simple มาที่ Shared account ขณะเดียวกันก็สามารถโอนจาก Shared account ไปยังบัญชีตัวเองได้เช่นกัน นอกจากนี้ยังมีฟีเจอร์ Goals ผู้ใช้สามารถระบุได้ว่า เงินก้อนนี้จัดเก็บไว้สำหรับวัตถุประสงค์อะไร เช่น ค่าไปเที่ยว ค่าห้อง
โครงการ Hyperledger ที่มีเป้าหมายพัฒนาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สด้าน Blockchain (เริ่มต้นโดย IBM และ Intel ปัจจุบันอยู่ภายใต้ Linux Foundation) ประกาศรายชื่อสมาชิกเข้าร่วมอีก 11 ราย ส่งผลให้ตอนนี้ Hyperledger มีสมาชิกรวม 122 รายแล้ว
สมาชิกรอบใหม่มีทั้งธนาคารแห่งชาติอังกฤษ Bank of England, ธนาคาร China Merchants Bank จากจีน และธนาคารกลางสหรัฐสาขาบอสตัน Federal Reserve Bank of Boston รวมถึงบริษัทไอทีด้าน FinTech รายอื่นๆ เช่น Bitmark, IC3, MadHive, Monax เป็นต้น
ไมโครซอฟท์ อินเทล Accenture และสถาบันการเงินชั้นนำของโลกอีกหลายแห่ง เช่น UBS, ING, J.P.Morgan, BBVA, Credit Suisse ประกาศตั้งกลุ่มพันธมิตร Enterprise Ethereum Alliance (EEA) เพื่อผลักดันการใช้ Ethereum ในโลกองค์กร
Ethereum เป็นเทคโนโลยี blockchain คู่แข่งของ Bitcoin ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ โดยมีจุดเด่นที่ฟีเจอร์ smart contract ที่ Bitcoin ไม่มีมาตั้งแต่แรก
Microsoft ประกาศร่วมมือกับ KPMG บริษัททำบัญชีและบริการธุรกิจอันดับต้นๆ ของโลก สร้างศูนย์พัฒนานวัตกรรม Blockchain ในชื่อว่า Blockchain Nodes ที่เมืองแฟรงค์เฟริ์ต สิงคโปร์ และนิวยอร์ก
Blockchain Nodes จะทำงานผสานกับบริษัทเทคโนโลยีในท้องถิ่น สร้างโซลูชั่นทางการเงินด้วยระบบ Blockchain พร้อมทั้งส่งเสริมให้เกิดสตาร์ทอัพด้านนี้โดยเฉพาะ ในช่วงแรกทางศูนย์จะทำ Blockchain เพื่อให้บริการอุตสาหกรรมการเงินก่อน
ปีที่แล้ว Microsoft ทำโครงการ blockchain pilot project โดยร่วมมือกับธนาคาร Merrill Lynch ในอเมริกา นำ Blockchain มาดำเนินการธุรกรรมการเงินลดขั้นตอนและเวลาของเจ้าหน้าที่ และก่อนหน้านี้ IBM ก็ทำบริการ Blockchain ในเดือนกรกฎาคมปีที่แล้ว
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้จัดงาน SEC FinTech Day 2017 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา เพื่อเป็นการประกาศจุดยืนการสนับสนุน FinTech ในประเทศไทย รวมถึงส่งสัญญาณให้ภาคส่วนต่างๆ เตรียมพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงด้านธุรกรรมทางการเงินและการลงทุนที่กำลังจะเกิดขึ้นด้วย
Revolut สตาร์ทอัพด้านฟินเทคจากลอนดอน ทำบริการกระเป๋าเงินอิเลกทรอนิกส์ผ่านการ์ด โอนเงินจากธนาคารเข้าการ์ดได้ และยังมีบริการแลกเงินสกุลอื่นผ่านแอพได้เพียงปลายนิ้วกด ไม่ต้องใช้เงินสดไปที่เคาเตอร์แลกเงิน และไม่มีค่าธรรมเนียม
ผู้ใช้แอพ Revolut จะได้การ์ดคล้ายบัตรเอทีเอ็ม เชื่อมกับบัญชีธนาคารที่ตนมีอยู่ ผู้ใช้สามารถโอนเงินจากบัญชีธนาคารมาไว้ในการ์ด นำไปจับจ่ายได้ 120 ประเทศทั่วโลก (มีประเทศไทยด้วย) และยังแลกเงินเป็นสกุลอื่นผ่านแอพพลิเคชั่น กรอกตัวเลขและเลือกสกุลเงินที่ต้องการเปลี่ยนได้ในแอพ นอกจากนี้ยังโอนเงินจากการ์ดให้คนอื่นผ่านช่องทางโซเชียลมีเดียได้ด้วย
ในกรณีที่ผู้ใช้ไม่แน่ใจว่าจะใช้ Revolut ในประเทศไหนได้บ้างก็สามารถพิมพ์ถามในแชท เพราะมีแชทบ็อตรอให้ข้อมูลอยู่แล้ว แต่ตัวแชทบ็อตจะตอบคำถามง่ายๆ ได้อย่างเดียว เช่น อัตราแลกเงินจากประเทศหนึ่งไปประเทศหนึ่งเป็นเท่าไร ฉันสามารถใช้ Revolut ที่ประเทศ...ได้หรือไม่ เป็นต้น
สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ประกาศสนับสนุนสตาร์ทอัพ จัดงาน SEC FinTech Day 2017 วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ ณ ศูนย์ C Asean ให้สตาร์ทอัพฟินเทค 10 ทีมที่เข้ารอบมาแข่งขันเสนอผลงาน ชิงเงินรางวัล 1 แสนบาท
ก่อนจะถึงวันงาน Blognone ขอแนะนำผู้อ่านให้รู้จักทั้งสิบทีมว่าเป็นใคร และใช้ฟินเทคทำบริการอะไรบ้าง
ปี 2016 ไม่ใช่ปีที่ดีนักของ Xiaomi แต่ล่าสุดซีอีโอ Lei Jun เขียนโน้ตถึงพนักงาน บอกว่าช่วงเวลาอันเลวร้ายที่สุดได้ผ่านไปแล้ว (the worst is over)
Lei Jun ยอมรับว่าในปีก่อนๆ Xiaomi ผลักดันตัวเองเร็วเกินไป (pushed ahead too fast) และในปีนี้ บริษัทจะชะลอจังหวะการเดินในบางด้าน เพื่อปรับปรุงธุรกิจให้ยั่งยืนมากขึ้น เขาบอกว่า Xiaomi จะเปลี่ยนโมเดลการขายมือถือ จากเดิมที่ขายออนไลน์อย่างเดียว ให้มีช่องทางการขายผ่านร้านค้าปลีกออฟไลน์เพิ่มเข้ามาด้วย
Baixin (ป่ายซิ่น) เป็นธนาคารออนไลน์ที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างธนาคาร CITIC ของจีน และ Baidu ก่อตั้งขึ้นเมื่อปลายปี 2015 โดย CITIC ถือหุ้น 70% และ Baidu ถือหุ้น 30%
Baixin ผ่านการอนุมัติจากคณะกรรมการกำกับดูแลภาคธนาคารแห่งประเทศจีน (China Banking Regulatory Commission) ให้สามารถดำเนินกิจการธนาคารออนไลน์อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เมื่อวันที่ 5 มกราคมที่ผ่านมา
Baixin Bank เน้นขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และบริการสินเชื่อส่วนบุคคล-ผู้ประกอบการธุรกิจขนาดย่อม ธนาคารจะดำเนินการโดยอิสระ ไม่เกี่ยวข้องกับบริษัทแม่ (CITIC และ Baidu) แต่จะนำเทคโนโลยีของ Baidu เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI), Big Data, Cloud Computing มาพัฒนาเป็นเทคโนโลยีช่วยสนับสนุนอยู่เบื้องหลัง
สมาคมฟินเทคแห่งประเทศไทย (Thai FinTech Association) นำโดยนายกรณ์ จาติกวณิช ประธานสมาคม ออกมาแสดงความกังวลต่อร่าง พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ ที่จะเข้าพิจารณาในสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) วันนี้
นายกรณ์ โพสต์แสดงความเห็นใน Facebook ว่าประเด็นที่กังวลที่สุดคือการให้อำนาจคณะกรรมการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวของประชาชนได้โดยไม่ต้องผ่านกระบวนการยุติธรรมปกติ และไม่ต้องมีการบันทึกการปฏิบัติหน้าที่โดยเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นหลักฐานในการตรวจความเหมาะสมในการปฏิบัติหน้าที่ในภายหลัง
ในโพสต์ยังมองว่ากฎหมายฉบับนี้สวนทางกับนโยบายเศรษฐกิจ Thailand 4.0 ที่ทีมเศรษฐกิจของรัฐบาลกำลังผลักดันอยู่ และจะบีบให้ผู้ประกอบการ FinTech ต้องออกไปทำธุรกิจที่ต่างประเทศแทนประเทศไทย
LINE ประเทศไทย เปิดตัวบริการใหม่ LINE Finance เป็น Official Account บ็อตที่คอยให้ข้อมูลด้านการเงิน มีฟีเจอร์ทั้งหมด 5 อย่าง ได้แก่
Omise บริการ payment gateway ที่ผ่านการรับรอง PCI-DSS 3.0 มาตั้งแต่ปี 2014 ผ่านมาสองปีทางบริษัทก็ระบุว่าผ่านการรับรอง PCI-DSS 3.2 เรียบร้อยแล้ว พร้อมระบุว่าเป็นบริษัทแรกในไทยที่ผ่านการรับรองมาตรฐานรุ่นล่าสุดนี้ ทั้งการจัดเก็บ, การประมวลผล, และการส่งข้อมูลบัตร
มาตรฐานความปลอดภัย PCI-DSS 3.2 เพิ่มความเข้มงวดในการเข้าถึงระบบเพิ่มเติม และต้องรายงานกระบวนการย้ายออกจาก SSL และ TLS รุ่นเก่าหากยังมีการใช้งานอยู่
ที่มา - Omise
สำนักงาน ก.ล.ต. จัดโครงการประกวดผลงานนวัตกรรมฟินเทค (FinTech Challenge) ทั้งด้านการเงิน การลงทุน การประกันภัย ชิงทุนพัฒนานวัตกรรมมูลค่ากว่า 400,000 บาท
ทีมที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารอบจะได้เข้าร่วมกิจกรรม Boot camp : “3-day FinTech Ideas” เพื่อเสริมสร้างความรู้ พัฒนาแนวคิดนวัตกรรม และแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้มีความรู้ ความเข้าใจในธุรกิจและกฎเกณฑ์ สามารถนำความรู้มาปรับพัฒนาผลงานได้อย่างเหมาะสมและนำไปปฏิบัติได้จริง
หัวข้อที่สนใจคือ Management Tools เครื่องมืออำนวยความสะดวกด้านการเงิน การลงทุน ประกันภัย, Applications Blockchain และ RegTech เครื่องมือสำหรับช่วยภาคเอกชนให้ปฏิบัติตามเกณฑ์ได้ง่ายขึ้นหรือช่วยให้หน่วยงานกำกับดูแลทำหน้าที่ได้สะดวกขึ้น
Ripple สตาร์ตอัพด้านระบบชำระเงินแบบกระจายศูนย์ (distributed settlement) ระดมทุนรอบใหม่ Series B เป็นเงิน 55 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนหลายราย เช่น Standard Chartered, Accenture Ventures, SBI Holdings, Santander Innoventures, Seagate และหนึ่งในนั้นมี SCB Digital Ventures บริษัทลูกของธนาคารไทยพาณิชย์รวมอยู่ด้วย ถือเป็นการลงทุนในบริษัทต่างประเทศเป็นครั้งแรกของ Digital Ventures
นายธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหารของ Digital Ventures ระบุว่าการลงทุนใน Ripple จะช่วยให้ธนาคารมองเห็นโอกาสของบริการใหม่ๆ ด้วยเทคโนโลยี blockchain โดยธนาคารไทยพาณิชย์ถือเป็นธนาคารไทยรายแรกที่เข้ามาลงทุนใน Ripple และทางธนาคารก็กำลังศึกษาเรื่องการโอนเงินข้ามประเทศด้วยโซลูชัน blockchain อยู่ด้วย
IBM ประเทศไทย ร่วมมือกับ Digital Venture จัดการประกวดแผนธุรกิจที่พัฒนาจาก IBM Watson (IBM Watson Business Case Competition) โดยใช้โจทย์ Fintech เปิดให้นักศึกษาหรือบุคคลทั่วไปสมัครเข้ามาผ่านเว็บไซต์ เป้าหมายคือให้ภาคการศึกษาเข้าถึงเทคโนโลยี Cognitive มากขึ้น
Omise บริษัท Payment Gateway ในไทย ประกาศระดมทุน Series B ซึ่งรอบนี้ได้รับเงินลงทุนรวม 17.5 ล้านดอลลาร์ โดยผู้ลงทุนหลักคือกองทุน SBI Investment จากประเทศญี่ปุ่น นอกจากนี้ยังมี Golden Gate Ventures ที่ SCB ไปลงทุนไว้อีกด้วย โดยการระดมทุนครั้งนี้ถือเป็นการระดมทุน Series B ของบริษัท Fintech ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่ง
วันนี้ Digital Ventures หรือ DV บริษัทลูกด้าน FinTech ของ SCB แถลงข่าวเปิดตัวอย่างเป็นทางการ (อ่าน บทสัมภาษณ์ ธนา เธียรอัจฉริยะ ประธานกรรมการบริหาร Digital Ventures ประกอบ) โดยเบื้องต้น DV จะมี 3 ส่วนธุรกิจ
ท่าทีของธนาคารใหญ่หลายรายในไทยปีนี้ไปในทางเดียวกันคือ ตั้งบริษัทลูกหรือหน่วยงานย่อยมาทำงานด้าน FinTech ซึ่งกรณีของธนาคารไทยพาณิชย์ก็มีข่าวมาโดยตลอดว่าตั้งบริษัทลูกชื่อ Digital Ventures และดึงเอา ธนา เธียรอัจฉริยะ ผู้บริหารด้านการตลาดชื่อดังที่ผ่านงานใหญ่ๆ มาแล้วหลายบริษัท เข้ามาดูแลเรื่องนี้
การขยับตัวของธนาคารยักษ์ใหญ่ในประเด็นร้อน บวกกับผู้บริหารระดับบิ๊กเนม ส่งผลให้หลายคนจับตาความเคลื่อนไหวของธนาคารค่ายสีม่วงว่าจะเดินเกม FinTech อย่างไร
Blognone มีโอกาสสัมภาษณ์คุณธนา ถึงยุทธศาสตร์ภาพรวมของ Digital Ventures ว่า SCB มองอย่างไรกับคำว่า FinTech ที่กำลังมาแรงในช่วงนี้
Krungsri RISE โครงการบ่มเพาะสตาร์ตอัพสาย FinTech ที่ Blognone เคยรายงานข่าวไป ประกาศรายชื่อทีมที่ผ่านเข้ารอบแล้ว โดยขยายเพิ่มจากที่ประกาศไว้ตอนแรก 10 ทีมเป็น 15 ทีม
หลายทีมที่เข้ารอบก็เป็นทีมค่อนข้างมีชื่ออยู่แล้ว เช่น Piggipo ที่ผ่านเข้ารอบสุดท้าย dtac Accelerate Batch 2 หรือ Pay Social บริษัทในเครือ efrastructure ของคุณภาวุธ พงษ์วิทยภานุ ส่วนทีมอย่าง iTAX, Meefund, Satangdee ก็ออกงานสตาร์ตอัพอยู่เรื่อยๆ และเป็นที่รู้จักในวงการ
ขั้นต่อไปคือทั้ง 15 ทีมจะต้องเข้าแคมป์บ่มเพาะแบบเข้มข้นนาน 8 สัปดาห์
จากข่าวก่อนหน้านี้ที่บอกว่า ธนาคารหลายแห่งในสหรัฐฯ เตรียมเปิดใช้งาน contactless ATM และตอนนี้ก็มีธนาคารหนึ่งที่เริ่มใช้งานระบบ contactless ATM แล้ว คือ Bank of America
สำหรับตู้ ATM ที่รองรับระบบนี้ จะมีรูป NFC ซึ่งผู้ใช้ที่ใช้งาน Apple Pay, Android Pay หรือ Samsung Pay สามารถเลือกบัตรจากอุปกรณ์ที่รองรับ จากนั้นเข้าไปใกล้ ๆ เครื่องรับสัญญาณ และใส่รหัส PIN ที่ตู้ ATM จากนั้นก็ใช้งานเหมือนบัตร ATM ตามปกติ
ที่มา - MacRumors, Bank of America
เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB) ตั้งบริษัทลูกชื่อ Digital Ventures ทำ FinTech วันนี้ Digital Ventures ประกาศลงทุนครั้งแรก โดยเข้าไปลงทุนในกองทุน Golden Gate Ventures (GGV) ของสิงคโปร์ ซึ่งเป็นกองทุนที่ลงทุนในสตาร์ตอัพภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ที่ผ่านมา GGV ลงทุนในสตาร์ตอัพไทยหลายราย เช่น Claim Di, Omise, Orami, Stamp, Noonswoon, ServisHero เป็นต้น โมเดลของกองทุน GGV คือบริหารเงินจากกองทุนหรือบริษัทยักษ์ใหญ่อีกทอดหนึ่ง ที่ผ่านมา GGV ได้เงินลงทุนจาก Temasek, Naver รวมถึง Eduardo Saverin หนึ่งในผู้ก่อตั้ง Facebook ด้วย (ขนาดของกองทุนตอนนี้มากกว่า 60 ล้านเหรียญสหรัฐ แต่ก็ไม่เปิดเผยว่า SCB ลงทุนเท่าไรใน GGV)
วงการฟินเทคสะเทือน เมื่อมีข่าวว่านักศึกษาจำนวนมากในจีนที่ใช้แพลตฟอร์มการกู้ยืมเงินออนไลน์ ใช้ภาพเปลือยของตัวเองที่กำลังถือหลักฐานประจำตัวเพื่อใช้เป็นเอกสารค้ำประกันในการยืมเงินแต่ละครั้ง ถ้าหากเบี้ยวชำระ ภาพนี้ก็จะถูกประจานทั่วโลกออนไลน์
การกู้ยืมเงินแบบนี้ สำนักข่าว Nandu Daily รายงานว่า เมื่อผู้กู้ส่งหลักฐานแบบดังกล่าวไป สามารถกู้ยืมเงินได้ถึง 15,000 หยวน (ประมาณ 80,300 บาท) แบ่งจ่ายสูงสุดได้ 36 เดือน ซึ่งยอดเงินที่กู้ยืมได้ก็แตกต่างกันไปตามประวัติการศึกษา โปรไฟล์ดียิ่งกู้ได้เยอะ
ขณะเดียวกันก็มีบทสัมภาษณ์ของผู้กู้ที่ระบุว่า โดนดอกเบี้ยร้อยละ 30 ต่อสัปดาห์จากยอดกู้ 500 หยวนตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ และเปิดเผยอีกว่ายังมีคนทำแบบนี้อีกมากแต่ไม่กล้าบอกใคร (ภาพประกอบอยู่ในที่มา)
ผมได้รับเชิญจาก IBM มาร่วมงานเปิดศูนย์ IBM Watson Center ที่ประเทศสิงคโปร์ หัวข้อหนึ่งที่น่าสนใจในงานคือ Piyush Gupta ซีอีโอของธนาคาร DBS ซึ่งเป็นธนาคารใหญ่รายหนึ่งของประเทศสิงคโปร์ มาขึ้นเวทีในฐานะพาร์ทเนอร์ของ IBM เล่าถึงการปรับตัวของธนาคารในยุคสมัยแห่ง FinTech ว่าจะอยู่รอดกันอย่างไรต่อไป