Firefox 119 ที่กำลังจะออกมีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง เช่น การเปิดแท็บกลับทีละมากๆ, รองรับการย้ายโปรไฟล์จาก Chrome แต่ฟีเจอร์เล็กๆ อันหนึ่งคือการแก้บั๊ก 148624 บั๊ก tooltip ค้างไม่ยอมหายไป แม้หน้าต่าง Firefox จะอยู่เบื้องหลังหรือย่อไปแล้ว
บั๊กนี้มีการรายงานครั้งแรกสุดตั้งแต่กลางปี 2000 และมีการรายงานอีกหลายครั้ง สุดท้ายจึงรวบเป็นบั๊กเดียวหมายเลข 148624 นี้
Firefox เพิ่งออกเวอร์ชั่น 118 เมื่อปลายเดือนกันยายนที่ผ่านมา โดยฟีเจอร์สำคัญตัวหนึ่งคือการเข้ารหัสข้อความเริ่มต้นเชื่อมต่อ TLS ตามมาตรฐาน Encrypted Client Hello (ECH) ที่เข้ารหัสข้อมูลแทบทั้งหมด ทำให้การดักฟังการเชื่อมต่อไม่สามารถมองเห็นได้ว่าผู้ใช้กำลังเชื่อมต่อไปยังโดเมนอะไร
กูเกิลอัพเดต Chrome เวอร์ชัน 117.0.5938.132 แก้ไขช่องโหว่ Zero-Day CVE-2023-5217 เกี่ยวกับ heap buffer overflow ของ libvpx ซึ่งกูเกิลใช้เวลา 2 วัน หลังจากมีการเปิดเผยช่องโหว่นี้ออกมา และเป็นการแก้ไขช่องโหว่ Zero-Day ครั้งที่ห้าของปีนี้ ผู้ใช้งานควรอัพเดตทันที
ทั้งนี้กูเกิลยังไม่ได้เปิดเผยรายละเอียดเกี่ยวกับช่องโหว่ดังกล่าว โดยจะเผยแพร่เมื่อมีผู้ใช้งานส่วนใหญ่ได้อัพเดต Chrome เป็นเวอร์ชันล่าสุดแล้ว
Chrome เวอร์ชันนี้ยังอัพเดตแก้ไขช่องโหว่อีกสองรายการคือ CVE-2023-5186 และ CVE-2023-5187 ด้วย
Mozilla ก็ออกอัพเดต Firefox เพื่อแก้ไขช่องโหว่นี้เช่นกันใน Firefox เวอร์ชัน 118.0.1 สำหรับเดสก์ท็อป รวมถึงในแพลตฟอร์มอื่นด้วย
สัปดาห์ที่ผ่านมา Citizen Lab รายงานถึงช่องโหว่ที่ใช้เจาะ iPhone ผ่านทาง iMessage ได้โดยเหยื่อไม่ต้องคลิกใดๆ ตอนนี้แอปเปิลก็พบว่าช่องโหว่นี้ที่จริงแล้วเป็นช่องโหว่ heap overflow ของ libwebp ซึ่งกระทบเบราว์เซอร์อื่นๆ ด้วย ตอนนี้ทั้ง Chrome ก็ออกแพตช์แก้ไขช่องโหว่นี้แล้ว ในเวอร์ชั่น 116.0.5845.187 และ 116.0.5845.188
แพตช์เดียวกันถูกส่งเข้า Firefox แล้ว คาดว่าจะออกเป็นเวอร์ชั่น 117.0.1 ภายในเร็วๆ นี้
Mozilla ประกาศผนวกเอา Firefox Relay บริการอีเมลแบบใช้ครั้งเดียวเพื่อความเป็นส่วนตัว เข้ามาอยู่ในตัวเบราว์เซอร์ Firefox โดยตรง
แนวคิดของ Relay คือการสร้างอีเมลแบบสุ่มสำหรับใช้ครั้งเดียว (random email mask) ให้สมัครบริการบนเว็บไซต์ต่างๆ เพื่อเลี่ยงการให้อีเมลจริง (ที่อาจถูกสแปมถล่มหรือข้อมูลรั่วไหลหากเว็บนั้นถูกแฮ็ก) จากนั้นข้อมูลการสมัครบริการจะถูกส่งต่อ (relay ตามชื่อบริการ) มายังอีเมลจริงของเราอีกที
Firefox เปลี่ยนมาใช้ระบบส่วนขยาย WebExtension แบบเดียวกับ Chrome มาตั้งแต่ปี 2017 แต่วิธีการใช้งานยังจำกัดว่าต้องติดตั้งส่วนขยายจาก addons.mozilla.com เท่านั้น (นักพัฒนาส่วนขยายบน Chrome ต้องนำไฟล์ของตัวเองขึ้นมาแจกจ่ายบนระบบของ Firefox ด้วย)
ล่าสุด Firefox เพิ่มฟีเจอร์ import ส่วนขยายจาก Chrome ที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องเดียวกันแล้ว วิธีการใช้งานต้องเข้าไปยังหน้า about:config แล้วเปลี่ยนค่า browser.migrate.chrome.extensions.enabled เป็น True ก่อน
Mozilla โชว์ประสิทธิภาพของ Firefox Nightly ในช่วงประมาณ 2 เดือนที่ผ่านมา ว่าสามารถเอาชนะ Chrome ได้แล้วในเบนช์มาร์ค SunSpider ที่ใช้วัดประสิทธิภาพของการรัน JavaScript บนเบราว์เซอร์
ข้อมูลจากหน้าเว็บ Are We Fast Yet ของทีม Firefox เอง ชี้ว่า Firefox ปรับปรุงประสิทธิภาพของ SunSpider ในช่วงปลายเดือนมิถุนายน 2023 ลดระยะเวลาการรันเบนช์มาร์คลงจากราว 160ms มาเหลือ 135ms และในช่วงล่าสุดขยับได้เกือบ 125ms แล้ว ในขณะที่ Chrome ค่อนข้างอยู่ตัวที่ราว 150-155ms
Mozilla ประกาศว่า Firefox for Android จะรองรับส่วนขยายจาก Firefox Desktop ในปีนี้ จากเดิมที่รองรับเฉพาะส่วนขยายจำนวนจำกัดมานานหลายปี
Firefox for Android จะสามารถเข้า addons.mozilla.org (AMO) เพื่อติดตั้งส่วนขยายได้เหมือนกับเวอร์ชันเดสก์ท็อป เหตุผลที่เพิ่งทำได้เป็นเพราะ Firefox for Android Nightly เพิ่งรองรับการทำงานแบบหลายโพรเซส ส่วนขยายจึงสามารถรันในโพรเซสแยกได้ และหากโดนระบบปฏิบัติการกำจัดโพรเซสทิ้ง ก็จะไม่กระทบโพรเซสหลัก
Mozilla ยังแนะนำให้นักพัฒนาส่วนขยาย เปลี่ยนวิธีการรันงานเบื้องหลังแบบ persistent มาเป็นการส่งค่าอีเวนต์แบบ non-persistent เพื่อให้ส่วนขยายกลับมาทำงานต่อได้ทันที แม้ปิดโพรเซสไป
Mozilla ระบุว่าจะประกาศวันเปิดตัวอีกครั้งในช่วงต้นเดือนกันยายน
เว็บเบราว์เซอร์อย่าง Chrome มีฟีเจอร์แปลภาษาหน้าเว็บมานานมาก เบื้องหลังการทำงานของมันคือส่งข้อความบนหน้าเว็บไปยังบริการ Google Translate บนเซิร์ฟเวอร์กูเกิล โดยเบราว์เซอร์ตัวอื่น (เช่น Edge) ก็มีการทำงานแบบเดียวกัน แต่ใช้บริการแปลภาษาต่างกันไป
Firefox เป็นเบราว์เซอร์ที่ยังไม่มีฟีเจอร์แปลภาษาอัตโนมัติมานาน ด้วยเหตุผลว่าการส่งข้อความไปแปลบนเซิร์ฟเวอร์อื่นจะกระทบความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้ แต่ปัญหานี้กำลังจะหมดไป เพราะ Firefox 117 (ตอนนี้เป็น Beta) เพิ่มฟีเจอร์แปลภาษาในเครื่องของผู้ใช้เองมาให้แล้ว
Mozilla ออกอัพเดต Firefox เวอร์ชัน 116 มีรายการของใหม่ที่เพิ่มมาดังนี้
ที่มา: Mozilla
Mozilla ออกอัพเดต Firefox เวอร์ชัน 115 โดยมีฟีเจอร์เด่นได้แก่ สามารถย้ายข้อมูลการจ่ายเงินจากเบราว์เซอร์ที่เป็นพื้นฐาน Chrome มา Firefox ได้, ฮาร์ดแวร์ถอดรหัสวิดีโอเปิดให้ใช้สำหรับจีพียูของอินเทลบน Linux, ดร็อปดาวน์ของ Tab Manager มีปุ่มปิด ทำให้ปิดแท็บได้เร็วขึ้น และอื่น ๆ
ในอัพเดตนี้ Mozilla แจ้งข้อมูลสำคัญเรื่องการสนับสนุนระบบปฏิบัติการเก่า โดย Firefox 115 จะเป็นเวอร์ชันสุดท้ายที่สนับสนุน Windows 7, Windows 8, macOS 10.12, 10.13 และ 10.14 หรือชื่อเวอร์ชัน Sierra, High Sierra และ Mojave ตามลำดับ
หากผู้ใช้งานไม่สามารถอัพเดตระบบปฏิบัติการได้ Firefox จะอัพเดตเวอร์ชันถัดไปเป็น Firefox ESR 115 ซึ่งจะอัพเดตเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยที่สำคัญเท่านั้น
Firefox ออกเวอร์ชัน 113 มีของใหม่หลายอย่าง ดังนี้
Mozilla ออก Firefox เวอร์ชัน 111 ทั้งบนเดสก์ท็อปและ Android
ของใหม่ในเวอร์ชันนี้เน้นไปที่เวอร์ชัน Android ได้แก่
Mozilla ออก Firefox 110 ต้อนรับวันวาเลนไทน์ มีของใหม่ดังนี้
Mozilla ออก Firefox เวอร์ชัน 109 มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญคือ
Firefox แก้บั๊กหมายเลข 290125 ที่เปิดมาตั้งแต่ปี 2005 เป็นบั๊ก CSS เรนเดอร์โดยไม่สนใจค่า line-height
ในตัวอักษรตัวแรก :first-letter
โดยไม่ว่าจะกำหนดความสูงของบรรทัดเป็นอย่างไรขนาด box ของ CSS รอบตัวอักษรแรกก็จะใหญ่เท่าเดิม แต่เบราว์เซอร์อื่นๆ เช่น Opera 7.5 และ Safari 1 ในยุคนั้นแสดงผลตามค่า line-height
Chrome, Safari/WebKit, Firefox ประกาศร่วมกันพัฒนาเบนช์มาร์ควัดประสิทธิภาพของเบราว์เซอร์ Speedometer เวอร์ชัน 3 เพื่อเบนช์มาร์คให้สะท้อนการใช้งานของผู้ใช้จริงมากขึ้น
Speedometer เป็นเบนช์มาร์คที่เริ่มพัฒนาโดยทีม WebKit แต่ภายหลังก็ได้รับความนิยมใช้ทดสอบกับเบราว์เซอร์ตัวอื่นด้วย เวอร์ชันล่าสุดในปัจจุบันคือ 2.1 รูปแบบการทำงานคือสร้างเว็บแอพ TodoMVC ที่มีการเรียกใช้ DOM API ของเบราว์เซอร์ผ่าน ECMAScript 5/6 รวมถึงเฟรมเวิร์ค JavaScript ยอดนิยมหลายตัว เช่น Vue.js, jQuery, React, Ember เพื่อจำลองสถานการณ์เสมือนเป็นการใช้งานของผู้ใช้ที่พบในโลกจริงๆ
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 108 มีรายการของใหม่ดังนี้
นอกจากนี้ยังแก้ไขบั๊กและช่องโหว่ความปลอดภัยหลายรายการ
ที่มา: Mozilla
Gabriele Svelto วิศกรของ Mozilla เขียนบล็อกเล่าถึงทริกการลดอัตราการแครชของไฟร์ฟอกซ์บนวินโดวส์ที่ใช้ตั้งแต่เวอร์ชั่น 105 ว่าสาเหตุสำคัญของการแครชอย่างหนึ่งคือแรมหมดทั้งแรมจริงๆ และไฟล์ swap ของระบบปฎิบัติการ
ปกติแล้วหากหน่วยความจำหมดทั้งหน่วยความจำจริงๆ และ swap นั้นระบบปฎิบัติการจะคืนค่า error เมื่อซอฟต์แวร์ร้องขอหน่วยความจำเพิ่มเติม จากนั้นตัวโปรแกรมก็จะปิดตัวเองไป
แต่ในไฟร์ฟอกซ์ 105 ทีมพัฒนาเปลี่ยนกลไกส่วนนี้ในวินโดวส์ เนื่องจากวินโดวส์มีความสามารถเพิ่มขนาดไฟล์ swap ได้เองเมื่อพื้นที่ใกล้เต็ม ดังนั้นหากตัวเบราว์เซอร์รออีกสักหน่อยแล้วขอหน่วยความจำอีกครั้งก็มักจะขอได้
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 106 มีของใหม่เพิ่มมาหลายรายการดังนี้
ที่มา: Mozilla
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 105 โดยมีการแก้ไขที่สำคัญคือลดปัญหาใช้หน่วยความจำจนหมดบน Linux ตลอดจนแก้ปัญหา การทำงานเมื่อเหลือหน่วยความจำไม่มากบนระบบปฏิบัติการอื่น
ส่วนฟีเจอร์ใหม่เป็นรายการเล็กน้อย เช่น เพิ่มตัวเลือกสั่งพิมพ์หน้าปัจจุบันในพรีวิว, swipe สองนิ้วบนทัชแพดไปทางซ้ายหรือขวา เพื่อ Back-Forward รองรับบน Windows แล้ว, ปรับปรุงการเสิร์ชเร็วขึ้น 2 เท่า
ที่มา: Mozilla
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 104 มีรายการของใหม่ดังนี้
ที่มา: Mozilla
Firefox ออกอัพเดตเวอร์ชัน 103 มีรายการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญหลายรายการ โดยเน้นประสิทธิภาพการทำงานที่สำคัญดังนี้
ส่วนการปรับปรุงอื่น ได้แก่ เพิ่มไฮไลท์ในช่องที่ Required ของแบบฟอร์มที่เป็น PDF, เปิดเร็วขึ้นบน Windows
ที่มา: Mozilla
ท่านผู้อ่านที่ติดตาม Blognone มานานแล้ว น่าจะพอจำกันได้ถึงธรรมเนียมปฎิบัติระหว่างทีม Firefox และ Microsoft Edge/Internet Explorer ที่จะส่งเค้กให้กัน เมื่ออีกทีมได้ผ่านหลักไมล์สำคัญของการพัฒนาเบราว์เซอร์ (ดูตัวอย่างเค้กจากข่าวเก่า 1, 2)
ล่าสุดเนื่องในโอกาสที่ไมโครซอฟท์ได้ประกาศปลดเกษียณ Internet Explorer ทีม Firefox ก็ไม่พลาดที่จะร่วมแสดงความยินดีให้ทีม MS Edge/IE ด้วยการส่งเค้กตามธรรมเนียม
Firefox 102 เพิ่งออกมาเมื่อวานนี้ มีการปรับปรุงฟีเจอร์ความเป็นส่วนตัวเพิ่มเติม คือการตัดคิวรีที่ใช้ติดตามตัวออกจาก URL โดยอัตโนมัติเมื่อเปิดใช้งานโหมดรักษาความเป็นส่วนตัว (Enhanced Tracking Protection - ETP) ทำให้เว็บไซต์จำนวนมากที่ติดตามการกดลิงก์ด้วยคิวรีเหล่านี้ไม่สามารถใช้งานได้อีกต่อไป
เว็บไซต์ที่ใช้คิวรีติดตามตัวชัดเจนที่สุดคงเป็นเฟซบุ๊ก ที่เพิ่มคิวรี fbclid=
ต่อท้าย URL ที่กดออกจากเฟซบุ๊ก ซึ่งทำให้เฟซบุ๊กรู้ได้ว่าผู้ใช้เว็บภายนอกนั้นได้ลิงก์มาจากโพสใด แม้เราจะเปิดลิงก์ในโหมด incognito หรือแม้แต่การแชร์ลิงก์ให้เพื่อนผ่านแชตก็ตาม