จากงานแถลงผลประกอบการไตรมาสล่าสุดของ Alphabet บริษัทปรับวิธีการแสดงตัวเลขรายได้ของฝั่งกูเกิลใหม่ โดยแยกรายได้จากโฆษณา กับรายได้อื่นๆ ออกจากกัน
รายได้อื่นๆ (Google other revenues) ครอบคลุมรายได้จากฮาร์ดแวร์ รายได้จาก Play Store และรายได้จากธุรกิจคลาวด์ (G Suite และ Google Cloud Platform) โดยกูเกิลระบุว่าคลาวด์ทำรายได้เกิน 1 พันล้านดอลลาร์ต่อไตรมาสแล้ว ถือเป็นครั้งแรกที่กูเกิลเปิดเผยตัวเลขนี้
Google ประกาศอัพเดต G Suite for Education บริการเพื่อสถาบันการศึกษาสองอย่างที่สำคัญ คือการเปิดตัวรุ่น G Suite Enterprise for Education และอัพเดตฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยให้ผู้ใช้ G Suite for Education เดิม
เริ่มกันที่ G Suite Enterprise for Education ก่อน Google ให้เหตุผลว่าทางบริษัทได้รับฟีดแบคจากสถาบันการศึกษาที่ใช้ G Suite for Education ว่าต้องการเครื่องมือที่ดีกว่านี้ จึงทำให้ Google เพิ่มฟีเจอร์ระดับองค์กรเข้าไป เพื่อตอบสนองความต้องการของสถาบันการศึกษา เช่น
กูเกิลประกาศความร่วมมือเป็นพันธมิตรด้านคลาวด์กับ Salesforce โดยครอบคลุมบริการหลายตัวทั้ง Google Cloud Platform, G Suite และ Google Analytics
กูเกิลเปิดตัวชุดฮาร์ดแวร์สำหรับประชุม Hangouts Meet โดยเป็นการต่อยอดจากชุด Chromebox for Meetings ที่เคยออกในปี 2014-2015
ในชุด Hangouts Meet ประกอบด้วยกล่อง ASUS Chromebox, หน้าจอทัชสกรีนสำหรับสั่งงาน, ชุดลำโพง-ไมโครโฟน, กล้องวิดีโอความละเอียด 4K ที่มีระบบ machine learning หันตามคนพูดและซูมหน้าขณะพูดได้อัตโนมัติ
ของใหม่ที่เพิ่มเข้ามาจากกรุ่นก่อนคือหน้าจอทัชสกรีน ที่แสดงตารางนัดหมาย สามารถเพิ่มผู้เข้าร่วมสนทนาได้ง่าย รวมถึงแสดงเอกสารนำเสนอจากพีซีมาออกจอนี้ได้ด้วย ส่วนชุดลำโพง-ไมโครโฟน (speakermic) ก็ออกแบบให้ลดเสียงสะท้อน เสียงรบบกวน และสามารถนำชุดลำโพง-ไมโครโฟนมาต่อกันสูงสุด 5 ตัว เพื่อให้ครอบคลุมห้องประชุมขนาดใหญ่
Google เพิ่มฟีเจอร์ใหม่ด้านความเข้าใจภาษาธรรมชาติให้กับ Google Cloud Search ซึ่งเป็นบริการเสิร์ชเอนจินสำหรับบริษัทเพื่อช่วยในการค้นหาไฟล์หรือรายละเอียดต่าง ๆ ตามที่ต้องการ
การเพิ่มฟีเจอร์ภาษาธรรมชาติบน Google Cloud Search นี้จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถถามรายละเอียดอย่างเช่น "Docs shared by Mary," "Who’s Bob’s manager?" หรือ "What docs need my attention?" จากนั้น Cloud Search จะแสดงคำตอบเป็นการ์ดให้
Cloud Search นั้นแต่เดิมคือบริการค้นหาใน G Suite ที่ชื่อว่า Springboard และเพิ่งเปลี่ยนชื่อเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งผู้สมัครสมาชิก G Suite Business หรือ Enterprise สามารถใช้งานฟีเจอร์ใหม่ของ Cloud Search ได้เลย
ต่อจากข่าว กูเกิลเปิดให้ดาวน์โหลด Backup and Sync ไคลเอนต์ Google Drive ตัวใหม่บนพีซี ที่มาแทนไคลเอนต์ Google Drive ตัวเดิม โดยยังเน้นเฉพาะลูกค้าทั่วไป
เมื่อวานนี้กูเกิลปล่อยฟีเจอร์ Drive File Stream หรือการแสดงไอคอนของไฟล์ที่อยู่บนคลาวด์ โดยไม่ต้องดาวน์โหลดไฟล์นั้นมาเก็บไว้บนเครื่องก่อน (แบบเดียวกับ OneDrive File On-demand) ให้กับลูกค้าฝั่งธุรกิจที่ใช้ Google Drive ผ่าน G Suite
Google Docs, Sheets, Slides ปรับปรุงฟีเจอร์ด้านการแก้ไขเอกสารร่วมกัน (collaboration) และการควบคุมเวอร์ชันของเอกสาร (version control) ดังนี้
กูเกิลเปิดตัวแอพใหม่ในตระกูล G Suite คือ Hire ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้ธุรกิจ SME จ้างพนักงานง่ายขึ้น
Hire เป็นแอพแนว workflow ที่ออกแบบมาสำหรับกระบวนการจ้างพนักงาน ครอบคลุมตั้งแต่การกำหนดขั้นตอนการจ้างงาน (เช่น ยื่นใบสมัคร-ทำข้อสอบ-สัมภาษณ์), การเก็บโพรไฟล์และให้คะแนนผู้สมัครระหว่างคณะกรรมการสัมภาษณ์, การนัดหมายเวลาสัมภาษณ์ และในกรณีที่มีตำแหน่งงานใหม่ ระบบก็จะช่วยแนะนำว่าเคยมีผู้สมัครคนก่อนๆ เหมาะสมกับงานนี้หรือไม่ เพื่อให้เราสามารถเสนอตำแหน่งงานนี้ไปยังผู้สมัครคนนั้นได้
จากปัญหา ผู้ใช้กูเกิลถูกโจมตีด้วย Phishing แบบใหม่ ปลอมตัวเป็น Google Docs จนกูเกิลต้องออกมาตรการฉุกเฉิน ห้ามตั้งชื่อเว็บแอพไม่ให้ซ้ำกับชื่อที่รู้จักกันอยู่แล้ว
ล่าสุดกูเกิลออกมาตรการระยะยาว ให้เว็บแอพที่ขอสิทธิเข้าถึงข้อมูลผู้ใช้ Google Account ผ่าน OAuth จำเป็นต้อง "ยืนยันตัวตน" เพื่อเป็น verified app ที่ผ่านการรับรองจากกูเกิลว่าปลอดภัย
ในเบื้องต้น กูเกิลจะแสดงหน้าจอเตือนผู้ใช้สำหรับเว็บแอพที่ยังไม่ผ่านการตรวจสอบ (unverified app) โดยจะเริ่มจากแอพใหม่ก่อน จากนั้นจะไล่ตรวจสอบแอพเก่าที่เคยสร้างมาก่อนหน้านี้
Google เพิ่มเครื่องมือความปลอดภัยใหม่ให้กับ G Suite ในชื่อ OAuth apps whitelisting เพื่อให้ผู้ดูแลระบบสามารถควบคุมแอพที่จะเข้าถึงและใช้ข้อมูลผู้ใช้ภายในระบบ รวมถึงป้องกันการถูก phishing
ฟีเจอร์นี้จะให้ผู้ดูแลระบบเลือกแอพจากบุคคลภายนอกที่สามารถเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้ G Suite ได้ โดยเมื่อแอพนั้นได้รับอนุญาตโดยผู้ดูแลระบบแล้ว ฝ่ายผู้ใช้ก็จะสามารถอนุญาตให้แอพเข้าถึงข้อมูล G Suite ของตัวเองได้ เพื่อเป็นการป้องกันแอพแปลกปลอมที่ใช้วิธีหลอกผู้ใช้ให้คลิกและอนุญาตให้เข้าถึงข้อมูล จนสามารถล้วงข้อมูลองค์กรใน G Suite ได้
สำหรับสิ่งที่ผู้ดูแลระบบจะสามารถจัดการได้คือ
ข้อครหาอย่างหนึ่งที่ Gmail โดนวิจารณ์มาตลอดคือ เปิดอ่านเนื้ออีเมลของผู้ใช้เพื่อหาโฆษณามาแสดงให้ตรงกับเนื้อหา ในอดีตกูเกิลถึงขั้นเคยถูกฟ้อง และไมโครซอฟท์ก็เคยออกโฆษณา Gmail Man มาโจมตี
ล่าสุดกูเกิลประกาศว่า Gmail เวอร์ชันสำหรับผู้ใช้ทั่วไป จะเลิกอ่านอีเมลของลูกค้าเพื่อการโฆษณาแล้ว โดยจะคัดเลือกโฆษณาจากข้อมูลอื่นๆ ของลูกค้าแทน (สามารถปิด ads personalization ได้จากหน้า Settings) ส่วน Gmail เวอร์ชัน G Suite นั้นไม่มีโฆษณาและไม่ได้อ่านอีเมลมาตั้งแต่แรก
ที่มา - Google
กูเกิลอัพเดตฟีเจอร์ให้ Google Sheets หลายอย่าง ฟีเจอร์สำคัญคือนำเทคนิค machine learning มาเรียนรู้ความต้องการของผู้ใช้งาน เราสามารถเปิดแท็บ Explorer ด้านขวามือ แล้วพิมพ์คำสั่งเป็นภาษาธรรมชาติ เช่น
เราก็จะได้ตาราง histogram หรือชาร์ทมาโดยอัตโนมัติ โดยไม่ต้องลากเมาส์หรือใส่ปุ่มใดๆ เพราะ AI ของกูเกิลจะอ่านความหมายในคำที่เราพิมพ์ เทียบกับข้อมูลในเอกสาร แล้วพยายามคาดเดาสิ่งที่เราต้องการให้เสร็จสรรพ
กูเกิลเพิ่มฟีเจอร์ด้านความปลอดภัยให้ Gmail/G Suite ทั้งหมด 4 อย่าง ดังนี้
เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว Google ได้เปิดตัวไวท์บอร์ดอัจฉริยะอย่าง Jamboard ออกมา ล่าสุดได้ขายอย่างเป็นทางการแล้วในประเทศสหรัฐอเมริกา ราคาอยู่ที่ 4,999 ดอลล่าร์สหรัฐ หรือประมาณ 175,000 บาท
ฟีเจอร์การใช้งานมีตามเปิดตัวทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นผนวกเข้ากับ G Suite, ขีดเขียนลงบอร์ดแล้วแปลงเป็นภาพบนจอ, ใช้งาน Hangouts ได้ทันทีและสามารถเชื่อมต่อกับแอพบน iOS และ Android เพื่อร่วมใช้งานบอร์ดได้
ปัจจุบันการติดต่อสื่อสารและรับส่งข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วแบบก้าวกระโดด การใช้อีเมลในการรับส่งข้อมูลหรือติดต่อสื่อสารกันก็เพิ่มมากขึ้น ในแต่ละวันเรารับ-ส่งอีเมลกันมากกว่า 100,000 ล้าน ฉบับทั่วโลกต่อวัน
ความต้องการของภาคธุรกิจต่อการใช้งานอีเมลก็เปลี่ยนไปจากในอดีต เพราะต้องการให้ติดต่อสื่อสารได้ตลอดเวลา จากอุปกรณ์ทุกชนิด โดยไม่จำกัดเรื่องสถานที่ แต่ในการใช้งานจริง ผู้ใช้มักประสบปัญหาอีเมลขององค์กรมีพื้นที่จำกัด ไม่รองรับการส่งไฟล์ขนาดใหญ่ที่กลายเป็นมาตรฐานในปัจจุบัน อีกทั้งระบบขาดเสถียรภาพ ล่มบ่อยหรือข้อมูลสูญหาย กลายเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจ
ในงาน Google Cloud Next นั้น Google ได้ประกาศเพิ่มความสามารถด้านความปลอดภัยใหม่ให้กับ Google Cloud Platform และ G Suite หลายอย่าง ดังนี้
Identity-Aware Proxy (IAP) สำหรับ Google Cloud Platform (ตอนนี้อยู่ในช่วงเบต้า) ให้ผู้ใช้จัดการการเข้าถึงแอพพลิเชั่นที่รันบน Google Cloud Platform ทีละตัวได้โดยขึ้นกับความเสี่ยง แทนที่จะใช้แนวคิดแบบ all-or-nothing
กูเกิลเปิดตัวฟีเจอร์ส่วนเสริม Add-ons ให้กับ Gmail โดยเขียนครั้งเดียว ใช้งานได้ทั้ง Gmail บนเว็บ และบนแอพเวอร์ชัน Android/iOS
ส่วนเสริมเหล่านี้ต้องเขียนด้วย Apps Script ภาษาสคริปต์ของกูเกิลเองที่ดัดแปลงมาจาก JavaScript และถูกใช้สำหรับสร้างส่วนเสริมของ Google Docs/Drive อยู่ก่อนแล้ว ตัว UI ของส่วนเสริมจะใช้แนวคิด "Card" แบบใหม่ที่นำไปผนวกรวมกับ UI ส่วนอื่นได้ง่าย
ตอนนี้ Gmail Add-ons ยังอยู่ในขั้น Developer Preview เปิดให้ทดสอบในวงปิด โดยมีส่วนเสริมจากบริษัทดังๆ อย่าง Intuit QuickBooks (สร้างใบแจ้งหนี้จาก Gmail ตัวอย่างตามภาพ) และ Salesforce (เชื่อมระบบ CRM) จากนั้นจะเปิดให้ลูกค้า G Suite ใช้งานภายในปีนี้
Google ได้เพิ่มเครื่องมือใหม่หลายอย่างให้กับ Google Drive เพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการใช้งานในภาคธุรกิจ ได้แก่ Team Drives, Google Vault for Drive, AppBridge, Drive File Stream และ Quick Access
ฟีเจอร์แรกคือ Team Drives คือ Google Drive ที่ออกแบบมาให้ใช้งานกันเป็นทีม ผู้ใช้สามารถเพิ่มคนในทีม, ติดตามไฟล์ของตัวเองแม้จะออกจากทีมไปแล้ว, จัดการสิทธิต่าง ๆ ของไฟล์ และมีเครื่องมือสำหรับจัดการ Team Drives ให้ผู้ดูแลระบบด้วย โดยฟีเจอร์ Team Drive เปิดให้ใช้แล้วสำหรับผู้ใช้งาน G Suite Business, Education และ Enterprise สามารถดูวิธีการตั้งค่าได้ที่นี่
หลังจากตั้งชื่อให้ผู้ใช้สับสนมานานหลายปี ระหว่าง Hangouts แบบแชท (Google Talk เดิม) และ Hangouts สำหรับการประชุมแบบเห็นหน้า (Google+ Hangouts เดิม) ในที่สุดกูเกิลก็ตัดสินใจแยกมันกลับเป็น 2 ตัว
Google ได้ประกาศนำ Google Keep บริการช่วยบันทึกข้อมูลมาเป็นบริการหลักของ G Suite หรือ G Suite core service แล้ว (เดิมมีบริการให้กับผู้ใช้ G Suite แต่ไม่ได้เป็นบริการหลัก) ซึ่งจะได้รับการสนับสนุนและการบริการในระดับเดียวกับบริการหลักอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Gmail หรือ Google Drive เช่น
กูเกิลประกาศฟีเจอร์ระดับ enterprise หลายอย่างให้กับชุด G Suite (Google Apps เดิม) ดังนี้
Google เปลี่ยนชื่อ Springboard ซึ่งเป็นระบบสำหรับการค้นหาข้อมูลบน G Suite มาเป็นชื่อใหม่คือ Cloud Search โดยระบบค้นหาข้อมูลนี้จะคล้ายกับการใช้งาน Google Search และใช้ machine intelligence เข้ามาช่วยในการค้นหา
ปัจจุบัน ธุรกิจหลายแห่งเลือกที่จะย้ายข้อมูลขึ้นคลาวด์กันแล้ว ซึ่งปัญหาอย่างหนึ่งที่จะเกิดตามมาคือผู้ใช้ G Suite นั้นจะต้องเจอฟอร์แมตเอกสารมากมาย เพราะต้องทำงานแบบผสม (ทั้งคลาวด์และไม่ใช่คลาวด์) รวมถึงข้อมูลแต่ละอย่างก็อยู่ในเอกสารแบบกระจัดกระจาย ตั้งแต่อีเมล, Docs, Sheets, Slides, Forms, Sites ฯลฯ ซึ่งจะทำให้พนักงานในองค์กรเสียเวลาอย่างมากในการค้นหาข้อมูลสำคัญ
กูเกิลประกาศรองรับมาตรฐาน S/MIME (rfc5751) สำหรับการเข้ารหัสอีเมลไปจนถึงเซิร์ฟเวอร์ปลายทาง โดยเปิดใช้งานเฉพาะลูกค้า G Suite Enterprise เท่านั้น
มาตรฐาน S/MIME ต่างจาก SMTP over TLS (ที่ Gmail เริ่มแสดงเครื่องหมายว่าอีเมลใดรองรับ) เพราะอีเมลจะถูกเข้ารหัสจนถึงเซิร์ฟเวอร์ขององค์กรฝั่งรับอีเมลเสมอ ขณะที่ SMTP over TLS จะเข้ารหัสระหว่างส่งต่ออีเมลเท่านั้น เซิร์ฟเวอร์ระหว่างทาง เช่น forwarder, relay จะเห็นเนื้อหาในอีเมลทั้งหมด
Google ได้เปิดตัว G Suite Enterprise บริการคลาวด์สำหรับองค์กร ซึ่งเป็นบริการที่มีฟีเจอร์ของ G Suite Business พร้อมกับฟีเจอร์เพิ่มเติมอีกหลายอย่าง โดยเฉพาะด้านความปลอดภัย
G Suite Enterprise จะมีฟีเจอร์พื้นฐานเหมือนกับ Business ตั้งแต่ Gmail, Google Calendar, Google Docs/Sheets/Slides, Google Drive, Google Sites, Google Forms ฯลฯ
ส่วนในด้านฟีเจอร์สำคัญของ G Suite Enterprise เช่น
กูเกิลประกาศบล็อคการแนบไฟล์ประเภท JavaScript ใน Gmail เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้งาน มีผลวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2017 เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ Gmail บล็อคไฟล์ประเภท executable อย่าง .exe, .msc, .bat, .vb อยู่แล้ว คราวนี้เพิ่ม .js เข้ามา คนที่แนบไฟล์นี้จะเห็นว่าไฟล์ถูกบล็อคจาก security reasons และกดดูคำอธิบายเพิ่มเติมได้ตามภาพ
กูเกิลแนะนำว่าถ้าจำเป็นต้องส่งไฟล์ .js จริงๆ ให้ส่งผ่าน Google Drive หรือบริการฝากไฟล์ยี่ห้ออื่นแทน การเปลี่ยนแปลงนี้จะมีผลทั้ง Gmail แบบปกติและ G Suite (Google Apps เดิม)