Gartner เผย 10 อันดับบริษัทซอฟต์แวร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก (วัดตามรายได้จากซอฟต์แวร์) อันดับหนึ่งยังเป็นของไมโครซอฟท์ ที่เป็นแชมป์แบบทิ้งห่าง มีรายได้จากซอฟต์แวร์ในปี 2013 ถึง 65.7 พันล้านดอลลาร์
แต่อันดับสองและสามมีการเปลี่ยนแปลงจากปี 2012 โดยออราเคิลแซงหน้าไอบีเอ็มขึ้นมาเป็นเบอร์สองได้สำเร็จ มีรายได้จากซอฟต์แวร์ 29.6 พันล้านดอลลาร์ ส่วนไอบีเอ็มมีรายได้จากซอฟต์แวร์ 29.1 พันล้านดอลลาร์
อันดับต่อๆ มาคือ 4) SAP 5) Symantec 6) EMC 7) HP 8) Vmware 9) CA Technologies 10) Salesforce.com (ถือเป็นครั้งแรกที่ Salesforce.com ติดท็อปเท็น)
Android ตีตลาดสมาร์ทโฟนแตกไปนานแล้ว แต่ก็ยังเหลือตลาดแท็บเล็ตที่ยังเจาะ iOS ได้ไม่สำเร็จสักที อย่างไรก็ตาม สถิติล่าสุดของ Gartner ระบุว่าปี 2013 ค่าย Android ผงาดขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งของตลาดได้เรียบร้อยแล้ว
สถิติในปี 2012 ส่วนแบ่งตลาดคือ iOS 52.8% ตามด้วย Android 45.8% แต่พอเป็นปี 2013 ฝั่งของ Android กวาดส่วนแบ่งที่ 61.9% ส่วน iOS ลดลงมาเหลือ 36% (แต่ยอดขายเป็นจำนวนเครื่องก็เพิ่มขึ้นจาก 61 ล้านเครื่องเป็น 70 ล้านเครื่อง)ส่วนแท็บเล็ต Windows ยอดขายเพิ่มจาก 1.1 ล้านเครื่องเป็น 4 ล้านเครื่อง แต่ส่วนแบ่งตลาดยังมีแค่ 2.1% เท่านั้น
ตลอดทั้งปี แท็บเล็ตขายได้ทั้งหมด 195 ล้านเครื่อง เพิ่มจากปี 2012 ที่ขายได้ 116 ล้านเครื่อง
Gartner เผยสถิติยอดขายพีซีทั่วโลกประจำไตรมาส 4/2013 ขายได้ 82.6 ล้านเครื่อง ลดลงจากไตรมาส 4/2012 ที่ 6.9%
เมื่อนับรวมสถิติตลอดทั้งปี 2013 สรุปยอดขายพีซีโลกคือ 315.9 ล้านเครื่อง ลดลงจากปี 2012 ถึง 10% ซึ่งถือว่าเป็นการหดตัวครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่มีธุรกิจพีซีเป็นต้นมา และใกล้เคียงกับระดับการหดตัวในปี 2009 หลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์
ส่วนอันดับผู้ผลิตพีซีโลกตลอดทั้งปีคือ Lenovo (16.9%), HP (16.2%), Dell (11.6%), Acer (8.1%), ASUS (6.3%) โดยใน 5 อันดับแรกมีเพียง Lenovo เจ้าเดียวที่ขายพีซีนับเป็นจำนวนเครื่องได้มากกว่าปีก่อน (โตขึ้น 2.1%) ส่วนรายที่บาดเจ็บหนักที่สุดคือ Acer ยอดขายติดลบ 28.1% ตามด้วย ASUS ติดลบ 17.7%
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกมาปรับตัวเลขประเมินยอดขายสินค้าไอทีตลอดทั้งปี 2013
ข่าวนี้เป็นสถิติของสำนัก Gartner เอาไว้ดูเทียบกับสถิติของสำนัก IDC ที่เขียนเป็นข่าวไปก่อนแล้วนะครับ
Gartner สรุปยอดขายพีซีไตรมาสสามปี 2013 ว่าขายออกไปทั้งสิ้น 80.3 ล้านเครื่อง ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน 8.6% (IDC บอกลด 7.6% ก็ถือว่าต่างกันไม่มาก) ส่วนแบ่งตลาด 5 อันดับแรกก็ไล่เลี่ยกัน
ที่มา - Gartner
โฆษกของ BlackBerry ส่งเอกสารชี้แจงมายังเว็บไซต์ AllThingsD เกี่ยวกับประเด็นที่ Gartner เตือนลูกค้าระดับองค์กรให้เริ่มมองหาทางเลือกอื่นที่ไม่ใช่ BlackBerry ได้แล้ว ว่า BlackBerry รับทราบถึงบทวิเคราะห์ของ Gartner แล้ว แต่อย่างไรก็ตาม คำพูดที่กล่าวถึงจุดจบของ BlackBerry ทางด้านยอดขาย หรือด้านอื่น ๆ เป็นเพียงแค่การคาดเดาทั้งนั้น
โฆษกของ BlackBerry ยังกล่าวอีกว่า ตอนนี้ BlackBerry กำลังอยู่ในช่วงปรับโครงสร้างองค์กร เพื่อพุ่งเป้าไปยังเป้าหมายด้านตลาดองค์กรให้เข้มข้นยิ่งขึ้น บริษัทยังคงเชื่อมั่นในเป้าหมายของบริษัท เพื่อนำโซลูชั่นด้านอุปกรณ์เคลื่อนที่ที่ปลอดภัยและมีพลังมากที่สุด
Roberta Cozza นักวิเคราะห์ของ Gartner ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ Computing ของสหราชอาณาจักรในประเด็นต่าง ๆ ของไมโครซอฟท์
เริ่มแรก Cozza ระบุว่า ไมโครซอฟท์นั้นมีปัญหาด้านแบรนด์ ซึ่งในทุกวันนี้ที่ผลิตภัณฑ์หลายตัวของไมโครซอฟท์ทำให้คนทั่วไปสับสนอย่างมาก อย่างเช่น Xbox, Skype และอีกหลายแบรนด์ ซึ่ง Cozza แนะนำให้ทางไมโครซอฟท์ผูกบริการทั้งหลายเข้าด้วยกันให้มากขึ้น
Cozza ยังบอกอีกว่า เพื่อเป็นการแก้ปัญหาในตัวแบรนด์ที่สับสน ไมโครซอฟท์ควรคงแบรนด์ "โนเกีย" ในตลาดสมาร์ทโฟนต่อไป เพราะแบรนด์ของโนเกียยังคงแข็งแกร่งในตลาดอยู่ และผู้ใช้จะยังคงรู้สึกดีที่แบรนด์โนเกียยังไม่หายไปไหน ซึ่งจะเป็นวิธีเดียวกับที่ทางไมโครซอฟท์คงแบรนด์ Skype ไว้เหมือนเดิม
บริษัทวิเคราะห์ตลาดไอทีชื่อดังอย่าง Gartner เตรียมออกรายงานแนะนำให้ฝ่ายไอทีขององค์กรขนาดใหญ่ทั่วโลก เตรียมหาโซลูชันมือถือองค์กรแบบอื่นๆ เป็นตัวเลือกแทน BlackBerry
นักวิเคราะห์ของ Gartner แนะนำว่าองค์กรที่ใช้ BlackBerry อยู่ในตอนนี้ควรเตรียมหาโซลูชันการจัดการข้อมูลบนอุปกรณ์พกพา (mobile data management) และทดสอบการใช้ฮาร์ดแวร์มือถือจากค่ายอื่นๆ ที่ไม่ใช่ BlackBerry ในทันทีหรืออย่างช้าก็ไม่ควรเกิน 6 เดือนข้างหน้านี้
Gartner บอกว่า BlackBerry จะไม่หายไปในทันที ทำให้องค์กรยังพอมีเวลาเตรียมปรับตัวได้อีกสักพักหนึ่ง ซึ่ง Gartner ก็ระบุว่าตอนนี้องค์กรใหญ่ๆ หลายแห่งก็เริ่มใช้ iOS/Android แทนการใช้ BlackBerry ในองค์กรกันแล้ว
ตลาดองค์กรในสิบปีที่ผ่านมาส่วนมากมักตกในมือของวินโดวส์และลินุกซ์มากขึ้นเรื่อยๆ แต่อย่างนั้นก็ยังมีการใช้งานยูนิกซ์อยู่มาก ปีที่แล้วยูนิกซ์ยังมีส่วนแบ่งตลาดอยู่ถึง 16% แต่รายงานคาดการณ์ของการ์ตเนอร์ระบุว่าส่วนแบ่งนี้น่าจะเหลือเพียง 9% ในปี 2017 หรืออีกสี่ปีข้างหน้า
ในโลกองค์กรนั้น x86 ยังคงกินตลาดเซิร์ฟเวอร์มากขึ้นเรื่อยๆ และลูกค้าจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ โดยตลาดส่วนมากของยูนิกซ์นั้นครองโดยผู้ผลิตเพียงสามรายคือ ไอบีเอ็ม 56%, ออราเคิล 19.2%, และเอชพี 18.6%
อย่างไรก็ดี Richard Fichera รองประธานของ Forrester ระบุว่ายูนิกซ์จะไม่หายไปในเร็วๆ นี้ ผู้ผลิตซอฟต์แวร์จะเริ่มรองรับลินุกซ์เพื่อให้ลูกค้าย้ายไปใช้งานได้ง่ายขึ้นแต่ลูกค้าจำนวนมากจะยังคงเลือกใช้ยูนิกซ์ต่อไป
Gartner เผยสถิติยอดขายสมาร์ทโฟนประจำไตรมาสที่สองของปี 2013 สรุปว่าทั้งไตรมาสขายได้ 225 ล้านเครื่อง ถือเป็นครั้งแรกที่สมาร์ทโฟนขายได้เยอะกว่าฟีเจอร์โฟน (ขายได้ 210 ล้านเครื่อง) ถ้าคิดเป็นสัดส่วน สมาร์ทโฟนขายได้ 51.8% ของยอดขายโทรศัพท์มือถือทั้งหมด
ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนแยกตามยี่ห้อ ซัมซุงยังเป็นแชมป์ต่อไปที่ 31.7% ส่วนแบ่งเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนเล็กน้อย ตามด้วยแอปเปิล 14.2% ลดลง, แอลจี 5.1% เพิ่มขึ้น, เลอโนโว 4.7% เพิ่มขึ้น, ZTE 4.3% เพิ่มขึ้น
ส่วนแบ่งตลาดสมาร์ทโฟนแยกตามระบบปฏิบัติการ แอนดรอยด์มีส่วนแบ่งตลาด 79% เพิ่มขึ้นอย่างมาก, iOS 14.2% ลดลง, อันดับสามและสี่สลับกันเป็นครั้งแรกคือ Windows Phone 3.3% เบียดแซง BlackBerry ที่ตกลงไปเหลือ 2.7%
ข่าวนี้เป็นอีกเวอร์ชันหนึ่งของข่าว ยอดขายพีซีไตรมาสสอง 2013 แต่เปลี่ยนค่ายเก็บสถิติจาก IDC มาเป็น Gartner (เอาไว้ดูเทียบกัน)
ตลาดพีซีโลกในไตรมาสที่สองปี 2013 หดตัวลง 10.9% (IDC บอกลดลง 11.4%) โดยแชมป์เป็นของ Lenovo ที่แซง HP กลับขึ้นมาเป็นเบอร์หนึ่งได้อีกครั้ง (Lenovo เคยเป็นแชมป์ของ Gartner มารอบหนึ่งแล้ว ก่อนจะโดน HP แซงกลับลงไป) ส่วนแบ่งตลาดของเบอร์หนึ่งและสองคือ 16.7% และ 16.3% ตามลำดับ
อันดับสามเป็นของ Dell 11.8%, อันดับสี่ Acer 8.3%, อันดับห้า ASUS 6.0% ส่วนที่เหลือรวมกัน 40.8%
Gartner เผยสถิติยอดขายเซิร์ฟเวอร์ทั่วโลกประจำไตรมาสแรกของปี 2013 ปรากฎว่าลดลงจากปีก่อน ทั้งในแง่จำนวนเครื่อง (ลดลง 0.7%) และรายได้เป็นตัวเงิน (ลดลง 5%)
Gartner บอกว่าภูมิภาคที่มียอดขายเซิร์ฟเวอร์เพิ่มขึ้นคือเอเชียแปซิฟิกและสหรัฐอเมริกา ในขณะที่ภูมิภาคอื่นลดลงทั้งหมดทำให้ยอดรวมตกลงตามไปด้วย ส่วนถ้าแยกตามสถาปัตยกรรม เซิร์ฟเวอร์สาย x86 ค่อนข้างคงตัว ในขณะที่เซิร์ฟเวอร์สาย RISC/Itanium มียอดขายตกลงถึง 38.8% ถ้านับตามจำนวนเครื่อง
Gartner เผยสถิติยอดขายมือถือทั่วโลกในไตรมาสแรกของปี 2013 สรุปว่าขายได้ทั้งหมด 426 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นจากปีก่อนเพียง 0.7%
ข้อมูลที่น่าสนใจคือยอดขายมือถือเกือบทุกภูมิภาคลดลงจากปีก่อน มีเพียงเอเชียแปซิฟิก (ไม่รวมญี่ปุ่น) ที่เดียวที่ยอดขายเติบโตอย่างมาก ช่วยดันให้ยอดขายรวมทั่วโลกยังเป็นบวกได้
ข้อมูลอีกชุดที่น่าสนใจคือยอดขายในประเทศจีนที่มีสัดส่วนสูงถึง 25.7% ของทั้งโลก และผู้ผลิตมือถือแบรนด์จีนก็มียอดขายรวมกันคิดเป็น 29% ของยอดขายทั้งหมดในจีนแล้ว เพิ่มจากปีก่อนที่มีสัดส่วนเพียง 13.2% โดยผู้ผลิตกลุ่มนี้เน้นมือถือราคาถูก ที่บางครั้งรองรับแค่ EDGE ไม่มี 3G ด้วยซ้ำ
อันดับผู้ผลิตมือถือ (รวมฟีเจอร์โฟน) ทั่วโลกประจำไตรมาสแรกของปี 2013
บริษัทวิจัยตลาด Gartner เผยยอดขายมือถือ (ไม่ใช่แค่สมาร์ทโฟน) ตลอดทั้งปี 2012 อยู่ที่ 1.75 พันล้านเครื่อง ซึ่งนับเป็นจำนวนแล้วลดลงจากปี 2011 อยู่ 1.7% โดยสาเหตุมาจากปัญหาเศรษฐกิจโลก, ความต้องการของลูกค้าที่เปลี่ยนไป และการแข่งขันที่เข้มข้นในตลาดเองด้วย
แชมป์ตลอดปีเป็นของซัมซุง 384 ล้านเครื่อง (22%) ตามด้วยโนเกีย 333 ล้านเครื่อง (19.1%) แอปเปิล 130 ล้านเครื่อง (7.5%) ZTE 67 ล้านเครื่อง (3.9%) และแอลจี 58 ล้านเครื่อง (3.3%)
แต่ถ้านับเฉพาะตลาดสมาร์ทโฟนก็ยังมาแรง ในไตรมาสสี่ไตรมาสเดียวมียอดขาย 207.7 ล้านเครื่อง เพิ่มจากปีก่อนถึง 38.3% อันดับหนึ่งและสองเป็นของซัมซุงกับแอปเปิล ครองตลาดสมาร์ทโฟนรวมกัน 52% เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
Gartner เผยสถิติยอดขายพีซีประจำไตรมาสที่สี่ของปี 2012 (นับรวมเน็ตบุ๊กแต่ไม่รวมแท็บเล็ต) สรุปว่าขายได้ทั้งหมด 90.3 ล้านเครื่อง ลดลงจากไตรมาสที่สี่ปี 2011 อยู่ 4.9% ซึ่งเป็นสัญญาณอันตรายว่าตลาดพีซีกำลังหดตัว
Gartner ให้ความเห็นว่าปัจจัยสำคัญมาจากผู้บริโภคไม่ได้ซื้อพีซีใหม่มาแทนพีซีเก่า แต่เปลี่ยนมาซื้อแท็บเล็ตแทน และใช้งานพีซีเครื่องเก่าต่อไปโดยไม่อัพเกรดหรือซื้อใหม่
ดูเหมือนว่านอกจากธุรกิจสายพีซีของ Lenovo จะไปได้สวยแล้ว ทางฝั่งมือถือก็ไม่ได้น้อยไปกว่ากัน หลังรายงานของ Gartner ชี้ว่าปีหน้า Lenovo น่าจะครองเบอร์หนึ่งส่วนแบ่งสมาร์ทโฟนในประเทศจีนแล้ว
การเตรียมขึ้นเป็นเบอร์หนึ่งของ Lenovo สำหรับตลาดสมาร์ทโฟนในประเทศจีนนั้นไม่ใช่เรื่องเกินคาดนัก เนื่องจากสมาร์ทโฟนซีรีส์ LePhone เติบโตอย่างรวดเร็วภายในปีเดียว จากส่วนแบ่งเพียง 1.7% เมื่อไตรมาสสามของปี 2011 กระโดดมาเป็น 14.8% ในไตรมาสที่สามของปี 2012 ขึ้นเป็นเบอร์สองของตลาดรองจาก Samsung (16.7%) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
บริษัทวิจัยตลาด Gartner แถลงส่วนแบ่งตลาดมือถือโลก ประจำไตรมาสที่สามของปี 2012 (ข่าวของไตรมาสสอง 2012)
มือถือโดยรวม
ตลาดมือถือโดยรวม (นับฟีเจอร์โฟน+สมาร์ทโฟน) ลดลง 3% จากไตรมาสที่สามของปี 2011 โดยมียอดขายทั้งหมด 428 ล้านเครื่อง แชมป์คือซัมซุง 97.9 ล้านเครื่อง (22.9%) ตามด้วยโนเกีย 82.3 ล้านเครื่อง (19.2%) และแอปเปิล 23.5 ล้านเครื่อง (5.5%)
ส่วนแบ่งตลาดของซัมซุงและแอปเปิลเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว ในขณะที่โนเกียก็ลดลงเรื่อยๆ จากเดิมไตรมาสสามปีก่อนมีส่วนแบ่งตลาด 23.9%
รายงานสำรวจตลาดพีซีประจำไตรมาสที่สามของปีจากค่ายการ์ตเนอร์ออกมาแล้วในวันนี้ เรื่องสำคัญที่สุดคือเลอโนโวแซงหน้าเอชพีขึ้นเป็นผู้ผลิตพีซีรายใหญ่ที่สุดของโลกได้เป็นครั้งแรก นับจากที่เอชพีครองตำแหน่งมาตั้งแต่ปี 2006 ที่น่าสนใจคือเลอโนโวเป็นผู้ผลิตรายเดียวที่มียอดขายสูงขึ้นในบรรดาแบรนด์หลัก ส่วนแบรนด์อื่นๆ นั้นลดลงทั้งหมด
การ์ตเนอร์แถลงผลวิจัยส่วนแบ่งโทรศัพท์มือถือไตรมาสสองของปีนี้ พบว่ายังคงหดตัวจากปีที่แล้วเช่นเดียวกับในไตรมาสแรก โดยยอดขายรวม 419 ล้านเครื่องลดลง 2.3% ขณะที่สมาร์ทโฟนนั้นมียอดขายถึง 154 ล้านเครื่องแล้ว โตขึ้นกว่าปีที่แล้ว 42.7% ขณะที่ไตรมาสที่แล้วยอดขาย 144.4 ล้านเครื่อง
การ์ตเนอร์รายงานตัวเลขส่งมอบพีซีทั่วโลกในไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ยอดรวม 87.5 ล้านเครื่อง ลดลง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 2 ในปี 2011 โดยถือเป็นไตรมาสที่ 7 ติดต่อกันที่ยอดส่งมอบพีซีชะลอการเติบโต เนื่องมาจากความไม่มั่นใจในสภาพเศรษฐกิจ รวมถึงผู้บริโภคก็สนใจซื้อพีซีน้อยลงด้วย ส่วนความหวังที่จะปลุกตลาดพีซีด้วย Ultrabook นั้นยังมียอดส่งมอบที่น้อยมากเมื่อเทียบกับภาพรวม โดยการ์ตเนอร์มองว่ายอดส่งมอบ Ultrabook น่าจะเริ่มสูงขึ้นช่วงปลายปีนี้
Gartner เผยส่วนแบ่งตลาดมือถือโลกประจำไตรมาสแรกของปี 2012 พบว่ายอดขายมือถือลดลงจากไตรมาสแรกของปี 2011 อยู่ 2% ซึ่งถือว่าผิดปกติพอสมควร เนื่องจากตรงกับเทศกาลตรุษจีนที่ยอดขายมือถือในเอเชียแปซิฟิกมักพุ่งสูงเป็นพิเศษ
Gartner ให้ความเห็นว่าปัจจัยอาจเป็นเพราะไม่มีมือถือใหม่ที่น่าสนใจวางขายเยอะพอ และผู้ใช้รอมือถือรุ่นดีๆ ที่จะวางขายในช่วงอื่นของปีแทน อย่างไรก็ตาม Gartner ยังมองในแง่ดีว่า Android/Windows Phone รุ่นใหม่ รวมไปถึง iPhone 5 น่าจะช่วยกระตุ้นตลาดประเทศพัฒนาแล้วได้เพิ่มในครึ่งหลังของปีนี้
สำหรับส่วนแบ่งตลาดผู้ผลิตมือถือ แชมป์โดยรวมยังเป็นของซัมซุงที่ 20.7%, อันดับสองโนเกีย 19.8%, แอปเปิล 7.9%, ZTE 4.2%, แอลจี 3.5%
Gartner ได้เปิดเผยการคาดการณ์ตลาดแท็บเล็ตระหว่างปีนี้ถึงปี 2016 พบว่าในปีนี้แท็บเล็ตรัน Windows จะขายได้ 4.8 ล้านเครื่อง หรือเพียงร้อยละ 4 ของจำนวนแท็บเล็ตที่จะขายได้ในตลาดทั้งปีราว 119 ล้านเครื่องเท่านั้น โดยยอดขายทั้งหมดจะเป็นของแอปเปิล 73 ล้านเครื่อง และผู้ผลิตที่ใช้ Android 38 ล้านเครื่อง และ ณ สิ้นปี 2016 แท็บเล็ตรัน Windows จะขายได้ 43.6 ล้านเครื่อง หรือเพียงร้อยละ 11.8 ของจำนวนแท็บเล็ตที่จะขายได้ในตลาดทั้งปีราว 369 ล้านเครื่อง โดยยอดขายทั้งหมดจะเป็นของแอปเปิล 169 ล้านเครื่อง และผู้ผลิตที่ใช้ Android 137 ล้านเครื่อง
แม้ปีที่ผ่านมาตลาดพีซีจะเจอมรสุมหลายอย่างนับแต่น้ำท่วมในไทย ไปจนถึงการบุกตลาดอย่างหนักของแท็บเล็ต แต่การ์ตเนอร์ก็ยังเชื่อว่าตลาดพีซีจะเติบโตต่อเนื่องในสองปีข้างหน้า โดยปีนี้ตลาดพีซีน่าจะเติบโต 4.4% มาอยู่ที่ 368 ล้านเครื่อง และทะลุ 400 ล้านเครื่องในปี 2013
แม้ตัวเลขจะดูสูงแต่ก่อนหน้านี้ตลาดพีซีเคยเติบโตเกิน 10% มานานหลายต่อหลายปี การเติบโตที่เลขหลักเดียวเช่นนี้แสดงแนวโน้มที่ถดถอยของตลาดพีซีอย่างชัดเจนแล้ว
Windows 8 และ Ultrabook ดูจะเป็นความหวังของโลกพีซีที่จะปรับตัวกลับมาเป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมอีกครั้งหลังจากถูกแบ่งส่วนแบ่งตลาดจากแท็บเล็ตมาโดยตลอด แต่พีซีก็ยังเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับคอมพิวเตอร์เพื่องานธุรกิจ ดังนั้นมันคงไม่หายไปจากชีวิตของเราในเร็วๆ นี้
การบุกตลาดของแท็บเล็ตและโทรศัพท์มือถือที่เริ่มมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อยๆ ตั้งคำถามว่าพีซีเติมๆ นั้นจะถูกกินตลาดไปบ้างหรือไม่ และตัวเลขสำรวจตลาดไตรมาสที่ 4 ของปี 2011 ก็ออกมาแล้วว่าตลาดพีซีนั้นกำลังหดตัวลงไป 5.9% ในสหรัฐฯ และ 1.4% ในตลาดโลก
คนที่ได้รับผลกระทบชัดเจนที่สุดจากความเปลี่ยนแปลงของตลาดคือ HP ที่ครองตลาดพีซีอันดับหนึ่งของโลก โดยยอดขายของ HP นั้นอยู่ที่ 14.7 ล้านเครื่องในไตรมาสที่ 4 ของปี 2011 ขณะที่ปี 2010 นั้นมียอดขายถึง 17.5 ล้านเครื่อง ส่วนบริษัทที่ยอดขายยังดีมากคือ Lenovo ที่เติบโต 23% มาเป็น 12.9 ล้านเครื่องในปี 2011 จากเดิม 10.5 ล้านเครื่อง Apple เติบโตขึ้นเป็น 2.1 ล้านเครื่องจาก 1.7 ล้านเครื่อง และ Asus เติบโตขึ้นเป็น 6.2 ล้านเครื่องจากเดิม 5.2 ล้านเครื่อง