Gartner ออกรายงานส่วนแบ่งการตลาดสมาร์ทโฟนไตรมาส 4 ปี 2020 เติบโตลดลงจากปีที่แล้ว -5.4
% ที่น่าสนใจคือแอปเปิลกลับมาครองส่วนแบ่งอันดับ 1 ในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีได้เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2016 ด้วยส่วนแบ่ง 20.8% เติบโต 14.9%
ส่วนซัมซุงเติบโตลดลง -11.8% ลงไปอยู่อันดับ 2 ที่ส่วนแบ่ง 16.2% ตามมาด้วย Xiaomi ส่วนแบ่ง 11.3% เติบโต 33.9% และ Huawei ในอันดับ 4 เติบโตลดลง -41.1% ส่วนแบ่ง 10.8% สาเหตุก็น่าจะหนีไม่พ้นการถูกสหรัฐแบนที่เริ่มส่งผลจริงจัง ส่วน Oppo อันดับ 5 ส่วนแบ่ง 8.3% เติบโต -5.8%
ที่มา - Gartner
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดสมาร์ทโฟนของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 โดยยอดขายทั้งหมดลดลง 5.4% เทียบกับไตรมาสเดียวกันในปี 2019 ที่ 384.6 ล้านเครื่อง
Anshul Gupta นักวิเคราะห์ของ Gartner ให้ความเห็นว่าสมาร์ทโฟน 5G ระดับล่างถึงกลาง มียอดขายเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ใช้บางส่วนต้องการเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ซึ่งช่วยชดเชยตัวเลขยอดขายรวมให้ลดน้อยลง ส่วนในปี 2021 สมาร์ทโฟน 5G กลุ่มราคาไม่สูงที่มีออกมามากรุ่นขึ้น จะเป็นตัวผลักดันตลาดรวมที่สำคัญ
3 บริษัทวิจัยตลาดทั้ง IDC, Gartner และ Canalys รายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาสที่ 4 ปี 2020 และตัวเลขรวมตลอดปี 2020 ซึ่งเป็นปีที่ตลาดพีซีมีอัตราการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี
เริ่มที่ข้อมูลจาก IDC เฉพาะไตรมาส 4/2020 จำนวนส่งมอบ 91.6 ล้านเครื่อง เติบโต 26.1% เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปีก่อน และตลอดปี 2020 ส่งมอบรวม 302.6 ล้านเครื่อง เติบโต 13.1% โดย Ryan Reith ฝ่ายวิจัยของ IDC บอกว่าแม้การเติบโตในตลาดพีซีจะทำให้คนสนใจประเด็นการทำงานและเรียนที่บ้าน แต่ตลาดเกมมิ่งพีซี, หน้าจอ และ Chromebook ก็ต่างเติบโตสูงเช่นกัน
บริษัทวิจัยตลาด IDC และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีของไตรมาส 3 ปี 2020 โดยต่างให้ข้อมูลว่าตลาดพีซีมีการเติบโตสูงสุดในรอบ 10 ปี เช่นเดียวกับ Canalys ที่ออกมารายงานก่อนหน้านี้
ตัวเลขของ IDC ระบุว่าตลาดเติบโต 14.6% เทียบกับไตรมาส 3 ปี 2019 จำนวนส่งมอบ 81.3 ล้านเครื่อง ขณะที่ Gartner ให้ตัวเลขเติบโต 3.6% จำนวนส่งมอบ 71.4 ล้านเครื่อง (ที่ตัวเลขต่างกันมากเพราะนิยามพีซีที่แตกต่างกัน)
Gartner ออกรายงานสรุปสถานการณ์แข่งขันในตลาดคลาวด์ (Magic Quadrant for Cloud Infrastructure and Platform Services) ประจำปี 2020
ผลลัพธ์ออกมาไม่มีอะไรน่าประหลาดใจ เพราะยังเหมือนปีก่อนๆ ที่ผู้ให้บริการ Top 3 ของโลก (AWS, Microsoft, Google) ยังอยู่ในกลุ่ม "ผู้นำ" (leaders) โดย AWS ยังนำคู่แข่งรายอื่นๆ แบบค่อนข้างทิ้งห่าง ส่วนผู้เล่นรายที่เหลือ 4 ราย (Alibaba Cloud, Oracle, IBM, Tencent Cloud) อยู่ในกลุ่ม "เฉพาะทาง" (niche players)
Gartner เผยรายงานการส่งมอบสมาร์ทโฟนในไตรมาส 2 ปี 2020 อยู่ที่ 295 ล้านเครื่อง ลดลงจากปีที่แล้วถึง 20.4% สาเหตุก็หนีไม่พ้นโควิด-19 โดยซัมซุงกระทบหนักที่สุด ยอดส่งมอบลดลงจากปีที่แล้วถึง -27.1% อยู่ที่ 5.4 ล้านเครื่องจาก 7.5 ล้านเครื่อง
แม้ส่วนแบ่งตลาดซัมซุงในไตรมาสนี้ยังเป็นเบอร์ที่ 1 อยู่ที่ 18.6% แต่ Huawei ก็ไล่บี้มาติด ๆ ที่ 18.4% โดยยอดส่งมอบของ Huawei ลดลงจากปีที่แล้วเพียง -6.8% โดยได้ตลาดในจีนที่เริ่มฟื้นตัวจากโรคระบาดช่วยเอาไว้ไม่ให้ดิ่งหนัก อันดับ 3 ยังคงเป็นแอปเปิลที่ส่วนแบ่ง 13% เติบโตลดลง -0.4% ส่วนหนึ่งจากตลาดจีนและ iPhone SE
อันดับ 4 เป็น Xiaomi ส่วนแบ่ง 8.9% เติบโตลดลงจากปีที่แล้วค่อนข้างเยอะ -21.5% ส่วนอันดับ 5 เป็น Oppo ส่วนแบ่ง 8% เติบโตลดลง -15.9%
บริษัทวิจัยตลาดทั้ง IDC และ Gartner รายงานตัวเลขส่งมอบพีซีของไตรมาสที่ 2 ปี 2020 ภาพรวมมีการเติบโตสูงขึ้น สะท้อนความต้องการสินค้าในช่วงที่ผ่านมาซึ่งมีการระบาดของโควิด-19 ทำให้คนทำงานที่บ้านมากขึ้น และสถานการณ์ซัพพลายเชนที่ดีขึ้น
ตัวเลขของ Gartner ระบุว่าพีซีที่ส่งมอบในไตรมาสมี 64.8 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 2.8% ส่วน IDC ระบุว่ามี 72.3 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 11.2% ทั้งนี้สาเหตุที่ตัวเลขของสองค่ายนี้ต่างกันมาก เนื่องจากการนับและไม่นับอุปกรณ์บางอย่างเป็นกลุ่มพีซี เช่น Surface หรือ Chromebook เป็นต้น
Gartner ออกรายงานคาดการณ์การใช้ซอฟต์แวร์จัดการระบบคอนเทนเนอร์ ชี้ว่าการใช้งานคอนเทนเนอร์ในองค์กรจะสูงขึ้นมาก และอัตราการใช้จ่ายค่าซอฟต์แวร์จัดการคอนเทนเนอร์ก็จะมากขึ้นด้วย โดยคาดว่าปี 2020 ตลาดซอฟต์แวร์จัดการคอนเทนเนอร์จะมีมูลค่า 465.8 ล้านดอลลาร์ และขึ้นไปถึง 944 ล้านดอลลาร์ในปี 2024
ขณะที่องค์กรระดับโลกที่รันแอปพลิเคชั่นเป็นคอนเทนเนอร์บนระบบโปรดักชั่นปีนี้อยู่ที่ต่ำกว่า 30% แต่ภายในปี 2022 น่าจะขึ้นไปถึง 75% โดยตอนนี้แม้จะมีองค์กรจำนวนมากแสดงความสนใจ แต่การใช้งานบนโปรดักชั่นจริงก็ยังน้อยอยู่ แต่หากนับเฉพาะซอฟต์แวร์ระดับองค์กร ตอนนี้มีการใช้รันบนคอนเทนเนอร์น้อยกว่า 5% และปี 2024 ก็ยังน่าจะเพิ่มขึ้นไม่เกิน 15% เท่านั้น จากข้อจำกัดด้านเทคนิคและงบประมาณขององค์กรที่จำกัด
Xiaomi ขึ้นแท่นเป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนที่มีส่วนแบ่งทางตลาดเป็นอันดับหนึ่งในไทยด้วยสัดส่วน 16.2% และมียอดขายมือถือถึง 691,000 เครื่อง เพิ่มขึ้นจาก 629,000 เครื่องในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ตามการสำรวจของบริษัทวิจัยตลาด Gartner อันดับถัดมาเป็น Oppo ที่ 12.6%, Vivo ที่ 12.5%, Samsung 9.9% และ Apple อยู่อันดับท้ายสุด ที่ 7.2% ส่วน Huawei ไม่ติดอันดับท็อป 5
ภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟนในไทยมียอดขายลดลงถึง 12.1% เหลือ 4.3 ล้านเครื่อง เทียบกับ 4.8 ล้านเครื่องในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว จากความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดจากการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 โดย Xiaomi เป็นแบรนด์สมาร์ทโฟนเจ้าเดียวที่มีการเติบโตในไตรมาสแรกของปีนี้
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานยอดขายสมาร์ทโฟนโดยรวมของไตรมาสแรก ปี 2020 ว่าลดลงถึง 20.2% จากผลกระทบของ COVID-19 โดย Samsung ยังเป็นเบอร์หนึ่งเช่นเคย มีส่วนแบ่งตลาด 18.1% แต่ Huawei มีส่วนแบ่งตลาดเป็น 14.2% แซงขึ้นมาแทน Apple ที่อยู่อันดับสองในไตรมาสที่แล้ว ส่วน Apple มีส่วนแบ่งตลาด 13.7% ลดลงจาก 17.1% ในไตรมาสที่สี่ของปีที่แล้วและ 11.9 ในไตรมาสแรกของปีก่อน อันดับถัดมาเป็น Xiaomi มีส่วนแบ่งตลาด 9.3% OPPO 8.0% และอื่นๆ 36.3%
Gartner ออกรายงานยอดขายสมาร์ทโฟนประจำไตรมาส 4 ปี 2019 เติบโตลดลง 0.4% โดยซัมซุงยังคงเป็นเบอร์ 1 ที่ส่วนแบ่งตลาด 17.3% ตามมาติด ๆ ด้วยแอปเปิลที่ 17.1%, Huawei 14.3%, Xiaomi 8% และ Oppo 7.5%
ที่น่าสนใจคือยอดขายแอปเปิลกลับมาเติบโตอีกครั้งหลังลดลงมา 4 ไตรมาสติด โดยยอดขายเพิ่มขึ้น 7.8% และหากนับเฉพาะในจีนที่เป็นตลาดใหญ่ของ iPhone ก็เติบโตมากถึง 39% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว ปัจจัยสำคัญมาจากการปรับราคา iPhone ลงมา โดยเฉพาะ iPhone 11
รายงานยอดขายพีซีประจำปี 2019 ของทั้ง Gartner และ IDC มีประเด็นที่น่าสนใจ คือยอดขายเครื่องแมคของแอปเปิลลดลงทั้งในแง่จำนวนเครื่องและส่วนแบ่งตลาด สวนทางกับภาพรวมของตลาดพีซีที่กลับมาเติบโตอีกครั้ง
บริษัทวิจัยตลาด IDC และ Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีในไตรมาสที่ 4 ปี 2019 ที่ผ่านมา ซึ่งต่างบอกว่ามีการเติบโตเหมือนกัน โดย IDC ให้ภาพรวมโต 4.8% ยอดส่งมอบ 71.8 ล้านเครื่อง ขณะที่ Gartner ประเมินว่าเติบโต 2.3% ยอดส่งมอบ 70.6 ล้านเครื่อง
เมื่อพิจารณาตัวเลขรวมตลอดปี 2019 ตลาดพีซีกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังลดลงต่อเนื่องมานานถึง 6 ปี ปัจจัยสำคัญหนึ่งมาจากการหยุดสนับสนุนของ Windows 7 ทำให้มีการอัพเกรดพีซีกันเป็นจำนวนมาก ส่วนปัญหาที่ซีพียูขาดตลาดนั้น ผู้ผลิตก็เปลี่ยนมาใช้ AMD ทดแทน
ส่วนแบ่งการตลาดแยกตามผู้ผลิต อันดับ 1-2-3 ยังคงเป็น เลอโนโว, เอชพี และเดลล์ เช่นเดิม ตามด้วยแอปเปิลในอันดับที่ 4
Gartner ออกรายงานส่วนแบ่งการตลาดพับลิกคลาวด์ (Iaas) ประจำปี 2018 ภาพรวมทั้งตลาดเติบโตที่ 31.3% มูลค่าอยู่ที่ 3.24 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ โดย AWS ของ Amazon ยังคงครองส่วนแบ่งการตลาดเบอร์ 1 อยู่เช่นเดิมที่ 47.8% โตขึ้นมา 26.8% ทิ้ง Azure ของไมโครซอฟท์เบอร์ 2 ที่มีส่วนแบ่งเพียง 15.5% แต่ก็เติบโตถึง 60.9%
ส่วนเบอร์ 3 เป็น Alibaba Cloud ส่วนแบ่ง 7.7% เติบโตมากสุดถึง 90.6% ตามมาด้วย Google Cloud และ IBM ที่ส่วนแบ่ง 4% และ 1.8% ตามลำดับ โดยผู้ให้บริการท็อป 5 มีส่วนแบ่งในตลาดรวมกันกว่า 77%
บริษัทวิจัยตลาด IDC และ Gartner ออกรายงานตัวเลขยอดขายพีซีทั่วโลก ประจำไตรมาสที่ 2 ปี 2019 โดยทั้งสองค่ายมองเหมือนกันว่าภาพรวมตลาดกลับมาเติบโตอีกครั้ง หลังตลาดทรงตัวหรือลดลงมาตลอด 6 ปี
โดย IDC ให้ตัวเลขการเติบโต 4.7% เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน 64.9 ล้านเครื่อง ส่วน Gartner ให้ตัวเลขโต 1.5% มียอดส่งมอบ 63 ล้านเครื่อง
ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ยอดขายพีซีเติบโตมาจากการอัพเกรดคอมพิวเตอร์เป็น Windows 10 ในกลุ่มลูกค้าองค์กร ก่อนที่ Windows 7 จะหยุดสนับสนุนในปีหน้า รวมทั้งปัญหาซีพียูอินเทลขาดตลาดก็ดีขึ้นมาก ส่วนประเด็นสงครามการค้าอเมริกา-จีน ไม่ส่งผลต่อยอดขายมากนัก
Gartner เผยสถิติยอดขายพีซีประจำไตรมาสแรกของปี 2019 ภาพรวมขายได้ 58.5 ล้านเครื่อง ลดลง 4.6% จากไตรมาสเดียวกันของปี 2018 โดยปัจจัยที่ทำให้ตลาดพีซีหดตัว ยังเป็นเรื่อง ซีพียูอินเทลขาดตลาด
ผู้ขายพีซีอันดับหนึ่งของไตรมาสนี้คือ Lenovo (นับรวมแบรนด์ Fujitsu) ยอดขาย 13.1 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งตลาด 22.5% ตามด้วย HP 21.9%, Dell 17.6%, Apple 6.8%, Asus 6.2%, Acer 5.7%
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานตลาดสมาร์ทโฟนของไตรมาสที่ 4 ปี 2018 ภาพรวมมียอดขายทั่วโลกรวม 408.4 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นเพียง 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2017 โดยการเติบโตส่วนใหญ่มากรุ่นราคาประหยัด (entry-level) และรุ่นราคากลาง ขณะที่สินค้ากลุ่มบน มียอดขายที่ชะลอตัว ทั้งจากลูกเล่นเทคโนโลยีใหม่ที่มีเพิ่มเติมไม่มาก รวมทั้งราคาเครื่องที่เพิ่มสูงขึ้น
ไฮไลท์ตัวเลขของไตรมาสที่ผ่านมาคือแอปเปิล มียอดขาย 64.5 ล้านเครื่อง ส่วนแบ่งการตลาด 15.8% คิดเป็นอันดับ 2 รองจากซัมซุง โดยลดลงถึง 11.8% เป็นตัวเลขที่ลดลงมากที่สุดในรอบ 3 ปี ของแอปเปิล โดยมาจากยอดขายที่ลดลงในเกือบทุกภูมิภาคยกเว้นอเมริกาและเอเชีย (ไม่รวมจีน)
Gartner ได้ทำผลสำรวจ 2019 CIO Survey โดยว่าภาคองค์กรตื่นตัวในการใช้ AI มากขึ้น โดยจำนวนองค์กรที่มีการใช้งาน AI เมื่อสี่ปีที่แล้วยังอยู่ที่ราว 10% แต่ในปี 2019 อยู่ที่ 37% ซึ่งเพิ่มขึ้นราว 270% ในช่วงเวลา 4 ปีที่ผ่านมา
จากผลสำรวจของ Gartner ระบุว่า ภาคองค์กรค่อนข้างตื่นตัวกับการใช้ AI โดยเหตุผลที่ทำให้มีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายนั้น เนื่องจากความสามารถของ AI ได้พัฒนาสูงขึ้นมาก ดังนั้นทางฝั่งองค์กรจึงเต็มใจในการใช้งานเทคโนโลยีนี้มากขึ้น ซึ่ง AI ถูกนำไปใช้งานในรูปแบบที่หลากหลาย โดยจากผลการสำรวจพบว่า 52% ของบริษัทโทรคมนาคมมีการดีพลอยแชทบอทแล้ว และ 38% ของผู้ให้บริการด้านสุขภาพมีการใช้งานระบบวินิจฉัยโรคด้วยคอมพิวเตอร์
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีในไตรมาสที่ 4 ปี 2018 มียอดส่งมอบรวม 68.6 ล้านเครื่อง ลดลง 4.3% จากช่วงเดียวกันในปี 2017 ขณะที่ภาพรวมตลอดปี 2018 ยอดส่งมอบ 259.4 ล้านเครื่อง ลดลง 1.3%
นักวิเคราะห์จาก Gartner บอกว่าช่วงต้นปี 2018 นั้น ตลาดพีซีมีสัญญาณที่ดี แต่ก็เจอปัจจัยใหม่ 2 อย่าง ทำให้กระทบต่อตัวเลขส่งมอบ นั่นคือปัญหาซีพียูขาดตลาดในช่วงปลายปี นอกจากนี้คือปัญหาเศรษฐกิจและการเมืองในหลายประเทศ
ในไตรมาส 4/2018 ผู้ผลิตพีซี 3 อันดับแรกคือ เลอโนโว, เอชพี และเดลล์ ตามลำดับ โดยทั้งสามค่ายมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันถึง 63% เพิ่มขึ้นจากปี 2017 ที่มีรวมกัน 59%
ตัวเลขส่วนแบ่งตลาดพีซีของ Gartner ประจำไตรมาส 3/2018 มีสิ่งที่น่าสนใจคือ ถ้าดูเฉพาะส่วนแบ่งตลาดในสหรัฐอเมริกาประเทศเดียว ไมโครซอฟท์ขึ้นมาติดอันดับ 5 อยู่ใน Top 5 แล้ว (แทนที่ Acer ที่ตกลงไปอยู่อันดับ 6)
ผู้นำตลาดพีซีสหรัฐคือ HP ที่สัดส่วน 30.7% ตามด้วย Dell 25.9%, Lenovo 15.4% ส่วนแอปเปิลอยู่อันดับสี่ที่ 13.7% และไมโครซอฟท์อันดับห้า 4.1% ถ้าเทียบสัดส่วนยอดขาย ตอนนี้ไมโครซอฟท์มียอดขายประมาณ 1/3 ของแอปเปิลแล้ว
Gartner ประเมินว่าไมโครซอฟท์ขายพีซี (ซึ่งก็คือสินค้าตระกูล Surface) ได้ประมาณ 6 แสนเครื่อง เติบโตขึ้น 1.9% จากไตรมาสเดียวกันของปีก่อน ในขณะที่แอปเปิลมียอดขายลดลง 7.9%
บริษัทวิจัยตลาด Gartner ออกรายงานภาพรวมตลาดพีซีในไตรมาสที่ 3 ปี 2018 ยอดส่งมอบรวม 67.2 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 0.1% เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 3 ในปี 2017 ซึ่งเป็นแนวโน้มเดียวกับไตรมาสก่อนหน้านี้
Gartner มองว่าตลาดพีซียังเติบโตได้จากตลาดลูกค้าองค์กร เนื่องจากเข้าสู่ช่วงอัพเกรดฮาร์ดแวร์รองรับ Windows 10 ซึ่งจะยาวไปถึงปี 2020 ขณะที่ตลาดลูกค้าส่วนบุคคลยังคงมีแนวโน้มลดลง นอกจากนี้ยังมีปัญหาซีพียูขาดตลาดซึ่งส่งผลให้ราคาพีซีปรับเพิ่มขึ้น แต่ Gartner ยังไม่เห็นผลกระทบที่ชัดเจนนัก
บริษัทวิจัยตลาด Gartner รายงานตลาดสมาร์ทโฟนประจำไตรมาสที่ 2 ของปี 2018 ซึ่งออกมาเหมือนกับที่ IDC และ Canalys รายงานก่อนหน้านี้ นั่นคือ Huawei มีส่วนแบ่งยอดขายทั่วโลกเป็นอันดับที่ 2 แซงหน้าแอปเปิลได้เป็นครั้งแรก
ในภาพรวมของสมาร์ทโฟนนั้น Gartner บอกว่ายอดขายอยู่ที่ 374 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้นมาเล็กน้อย 2%
Huawei มีการเติบโตสูงถึง 38.6% โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 13.3% ขณะที่อันดับ 1 ยังเป็นของซัมซุงที่ 19.3% แต่ก็ลดลงจากปีก่อนที่ 22.6% ซึ่งมีปัจจัยสำคัญจากผู้ผลิตสมาร์ทโฟนจากจีนที่เข้ามาแย่งส่วนแบ่ง
สรุป 5 อันดับแรกคือ ซัมซุง, Huawei, แอปเปิล, Xiaomi และ Oppo ตามลำดับ
บริษัทวิจัย Gartner ออกรายงานภาพรวมของตลาดสมาร์ทโฟน ประจำไตรมาสที่ 1 ปี 2018 สมาร์ทโฟนขายออกไป 384 ล้านเครื่อง เพิ่มขึ้น 1.3% จากช่วงเดียวกันในปี 2017 ทำให้ภาพรวมสมาร์ทโฟนกลับมาเติบโตอีกครั้ง
Anshul Gupta ผู้อำนวยการฝ่ายของ Gartner กล่าวว่า สมาร์ทโฟนระดับบนมีความต้องการที่ลดลง เนื่องจากราคาเครื่องที่แพงขึ้น ขณะที่ฟีเจอร์เพิ่มเข้ามาไม่ดึงดูดมากพอ แต่ที่ภาพรวมโตนั้นมันมาจากสมาร์ทโฟนรุ่นกลาง-ล่าง ที่มีคุณภาพดีขึ้น ดึงดูดให้คนที่ไม่เคยใช้สมาร์ทโฟนเลย หันมาใช้กันมากขึ้น
บริษัทวิจัยตลาด Gartner และ IDC ออกรายงานตัวเลขการส่งมอบพีซีในช่วงไตรมาสแรกของปี 2018 โดย Gartner ประเมินภาพรวมมียอดส่งมอบ 61.7 ล้านเครื่อง ลดลง 1.4% จากปีก่อน ส่วน IDC ให้ตัวเลข 60.4 ล้านเครื่อง ใกล้เคียงกับปีก่อน (0.0%)
อันดับส่วนแบ่งการตลาด 1-2-3 จากทั้งสองบริษัทวิจัยนั้นเหมือนกันคือ เอชพี, เลอโนโว และเดลล์ ตามลำดับ โดยเอชพีเติบโตราว 2-4% ส่วนเดลล์เติบโตมากที่สุด 6.4-6.5% ซึ่งส่วนแบ่งทั้ง 3 รายนี้รวมกันก็มากกว่าครึ่งหนึ่งของทั้งตลาด
Gartner บอกว่าตลาดเอเชียและอเมริกามียอดส่งมอบที่ลงมาก เฉพาะจีนลดลง 5.7% ขณะที่ภูมิภาคอื่นเติบโตเล็กน้อย ด้าน IDC มองว่าตลาดพีซีในอนาคตยังมีโอกาสเติบโตจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และตลาดคอมพิวเตอร์เกมมิ่งที่โตสูง