กูเกิลโชว์ฟีเจอร์ใหม่ของ Android Studio 2.2 (ตอนนี้สถานะยังเป็นพรีวิว) แบ่งออกเป็น 3 เรื่องคือ ความเร็ว ความฉลาด และการทำงานร่วมกับแพลตฟอร์มของ Android
ชื่อ Daydream เคยเป็นฟีเจอร์หนึ่งของ Android รุ่นก่อนๆ แต่กูเกิลนำมันกลับมาใช้เรียกแพลตฟอร์ม Virtual Reality ของตัวเอง
แนวทางของ Daydream จะยังเดินตามรอยของ Google Cardboard คือใช้หน้าจอมือถือเป็นจอแสดงผล (ไม่ได้สร้างแว่นเองทั้งอันเหมือน Oculus) แต่จะปรับปรุงให้การแสดงผลมีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่า Cardboard
งาน Google I/O ปีนี้ กูเกิลยังไม่บอกชื่อโค้ดเนมของ Android N ที่หลายคนอยากรู้ แต่เปลี่ยนวิธีการตั้งชื่อโค้ดเนมใหม่ เปิดให้ผู้ชมทางบ้านสามารถเสนอชื่อเข้ามาได้ด้วย ผ่านเว็บไซต์ android.com/n
กูเกิลจะเปิดให้เสนอชื่อถึงวันที่ 8 มิถุนายนนี้ ไม่จำกัดจำนวนชื่อที่เสนอต่อคน แต่ก็ไม่มีรางวัลแจกด้วยเช่นกันครับ
กูเกิลหวนคืนวงการแชตอีกครั้งด้วยแอปสองตัวพร้อมกัน คือ Allo สำหรับการแชต และ Duo สำหรับการโทรแบบวิดีโอ
Allo เป็นแอปที่มาพร้อมกับฟีเจอร์หลักๆ สำหรับแอปแชตสมัยใหม่ รองรับการส่งอีโมจิและสติกเกอร์ นอกจากนั้นยังสามารถ "ตะโกน" ด้วยการขยายฟอนต์ในแชตได้ (MSN Plus กลับมาเกิดใหม่แล้ว) และยังมีความช่วยเหลือจากกูเกิล เสนอคำตอบที่ใช้บ่อย เช่นรูปน่ารัก หรือเมื่อคุยถึงสถานที่กินข้าวก็แนะนำร้านอาหารให้ในแชต กระบวนการแนะนำใช้บัญญาประดิษฐ์วิเคราะห์ประโยคที่ผู้ใช้กำลังคุยกัน
ในกรณีที่ต้องการความเป็นส่วนตัวสูง Allo มีโหมด Incognito ปรับให้เป็นการแชตเข้ารหัสแบบ end-to-end
ไม่ผิดจากที่ลือก่อนหน้านี้ Google ได้เปิดตัว Google Home อุปกรณ์ที่รองรับการสั่งงานด้วยเสียงตลอดเวลา ออกมาท้าชน Amazon Echo โดยตรง
รูปทรงของ Google Home ไม่แตกต่างจากเราท์เตอร์ OnHub มากนัก โดยฐานของตัวเครื่องจะมีตัวเลือกให้ผู้ใช้เปลี่ยนได้หลากหลายทังสีและวัสดุ
เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีข่าวลือว่า Google กำลังซุ่มพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นคู่แข่งของ Amazon Echo ซึ่งไม่น่าจะเปิดตัวในงาน Google I/O ที่จะถึงนี้ แต่ล่าสุด Wall Street Journal รายงานว่า Google จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์นี้แน่นอนภายในชื่อ Google Home
ความสามารถของ Google Home ที่ทราบตอนนี้คือรองรับการสั่งงานและควบคุมอุปกรณ์บางอย่างภายในบ้านด้วยเสียงตลอดเวลา โดยแหล่งข่าวของ Wall Street Journal ระบุว่า Google Home จะวางจำหน่ายในช่วงฤดูใบไม้ร่วง หรือประมาณเดือนกันยายนถึงพฤศจิกายนนี้
ที่มา - Wall Street Journal
เว็บไซต์ Recode รายงานว่า Google แอบซุ่มพัฒนาฮาร์ดแวร์ที่รองรับการสั่งงานด้วยเสียง ในลักษณะเดียวกับ Amazon Echo ซึ่งจะเป็นดึงเอา Google Now ให้กลายมาเป็นผู้ช่วยภายในบ้าน และตัวฮาร์ดแวร์จะมีลักษณะคล้ายกับเร้าท์เตอร์ OnHub
แหล่งข่าวของ Recode เผยว่าโปรเจ็คนี้มีชื่อเรียกเป็นการภายในว่า Chirp และระบุด้วยว่า Google "ไม่น่า" จะเปิดตัวผลิตภัณฑ์นี้ในงาน Google I/O สัปดาห์หน้า แต่น่าจะเป็นภายในปีนี้แทน
ที่มา - Recode
อัพเดตเพิ่มเติมจากที่กูเกิลเคยประกาศว่าปีนี้งาน Google I/O 2016 จะจัดในวันที่ 18-20 พฤษภาคม พร้อมย้ายสถานที่จัดงานไปเป็นเวทีกลางแจ้ง Shoreline Amphitheatre แทน ตอนนี้มีรายละเอียดการจองตั๋วเข้างานออกมาแล้ว
รายละเอียดการจองตั๋วเข้าร่วมงานมาพร้อมกับเว็บไซต์โฉมใหม่สำหรับ Google I/O 2016 โดยระบุว่าจะเริ่มให้จองสิทธิ์ซื้อตั๋วกันได้ในวันที่ 8-10 มีนาคมนี้ สำหรับคนที่ดวงดีก็ต้องเตรียมเงินอีก 900 เหรียญสำหรับบุคคลทั่วไป และ 300 เหรียญสำหรับภาคการศึกษา โดยซื้อได้หนึ่งใบต่อคนเท่านั้น (ถ้าเปลี่ยนใจสามารถขอคืนเงินได้ก่อนวันที่ 29 เมษายน)
Sundar Pichai CEO ของกูเกิล ใช้โอกาสพิเศษทวีตรายละเอียดแรกของงาน Google I/O 2016 ที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้ โดยกูเกิลจะจัดงานอย่างเป็นทางการในวันที่ 18-20 พฤษภาคมนี้ แต่ปีนี้พิเศษกว่าเพราะกูเกิลย้ายสถานที่จากหอประชุม Moscone West Center ใน San Francisco เป็น Shoreline Amphitheatre ซึ่งเป็นเวทีคอนเสิร์ตกลางแจ้งใน Mountain View แทน
สำหรับปีนี้คาดว่าจะได้เห็นกูเกิลเผยความคืบหน้าของแพลตฟอร์ม Android Ecosystem หรือบริการต่างๆ ในมุมมองของนักพัฒนา พร้อมกับเปิดตัว Android the "N" ภายในเวทีนี้ด้วยครับ
แล้วจะเปิดขายบัตรเมื่อไหร่ อันนี้ยังไม่บอกแม้กระทั่งเงื่อนไขการขายบัตรว่าจะเป็นการ "สุ่ม" เหมือนเดิมหรือไม่ครับ
โครงการ ATAP ของกูเกิลกำลังพัฒนาวิธีตรวจสอบความปลอดภัยแบบใหม่ที่ใช้แทนรหัสผ่าน โดยใช้ชื่อว่า Project Abacus
จากการสาธิตการทำงานของ Project Abacus ในงาน Google I/O ที่ผ่านมา ระบบนี้จะเฝ้าสังเกตพฤติกรรมการใช้มือถือ เช่น รูปแบบการพิมพ์ และแอพพลิเคชันที่ใช้งาน แทนการใช้ระบบจดจำเสียงและระบบจดจำใบหน้า ผลลัพธ์จากพฤติกรรมการใช้งานซ้ำๆ อย่างมีรูปแบบจะสร้างฐานคะแนนความน่าเชื่อถือขึ้น เพื่อใช้ระบุตัวตนของผู้ใช้ และสามารถบอกความแตกต่างระหว่างผู้ใช้สองคนได้อย่างชัดเจน ซึ่งการประเมินทางความปลอดภัยของระบบนี้จะทำการล็อกมือถือเมื่อคนอื่นมาใช้งานเครื่องของเราได้ทันที
เก็บตกของใหม่จากงาน Google I/O ทีม Google ATAP ออกมาโชว์ผลงาน Project Soli ระบบสั่งงานด้วยมือแบบใหม่ที่ใช้เรดาร์มาเป็นตัวกลางในการรับข้อมูล
Project Soli เป็นเซ็นเซอร์ตัวจิ๋วขนาดเท่าไมโครชิปที่สามารถติดตั้งเข้าไปได้ทุกพื้นผิว และยังสามารถตรวจจับการเคลื่อนไหวของมือผ่านเรดาร์ได้รวดเร็ว และแม่นยำระดับมิลลิเมตร ด้วยการคำนวณจากคลื่นสะท้อนจากวัตถุที่ต่างกันในทุกท่วงท่า ทำให้สามารถใช้มือในการสั่งงานได้อย่างอิสระ ไม่ต้องกังวล เรื่องแสงสว่าง และระวังว่านิ้วจะถูกบังหรือไม่
เมื่อพูดถึงอุปกรณ์จำพวก wearable หลายคนคงนึกถึงนาฬิกาหรือแว่นตา แต่งาน Google I/O รอบล่าสุด ทีมงาน ATAP ของกูเกิลก็เปิดตัว Project Jacquard ทำเสื้อผ้าอัจฉริยะ โดยร่วมมือกับผู้ผลิตกางเกงยีนส์ชื่อดัง Levi Strauss
แนวคิดของ Project Jacquard คือใช้เส้นด้ายนำไฟฟ้า (conductive yarn) เย็บลงไปบนผืนผ้าปกติ เพื่อเชื่อมแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ที่แปะอยู่บนผ้าเข้าด้วยกัน (แทนที่จะใช้สายไฟ ก็เปลี่ยนมาเป็นด้ายนำไฟฟ้าที่เย็บลงไปในเนื้อผ้าแทน)
ในงาน Google I/O 2015 วันที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา Google ได้เปิดตัวคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กพิเศษในชื่อ Project Vault โดยเจ้าเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ว่านี้มีขนาดและรูปร่างเหมือนการ์ด microSD
ผลงาน Project Vault ถูกออกแบบโดยทีม ATAP (Advanced Technology and Projects) ของ Google ในทางเทคนิคแล้วมันก็คือคอมพิวเตอร์เครื่องนึง แต่ออกแบบมาเพื่อใช้งานลักษณะเฉพาะสำหรับการติดต่อสื่อสารที่ต้องการความมั่นคงปลอดภัยสูงและใช้วิธีการยืนยันตัวตนที่ไม่ใช่รหัสผ่าน
งาน Google I/O 2015 เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา อาจดูจืดๆ ไปบ้างเมื่อเทียบกับ I/O 2014 เมื่อปีที่แล้ว ที่กูเกิลเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ชุดใหญ่ ทั้ง Android 5.0, Art Runtime, Material Design, Android One, Android Auto, Android TV, Android Wear, Polymer, Google Fit,
ปีที่แล้ว กูเกิลเปิดตัว Material Design พร้อม Android 5.0 และในรอบปีที่ผ่านมา เราก็เห็นแอพ Android จำนวนไม่น้อยปรับโฉมตัวเองเป็น Material Design มากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ระบบปฏิบัติการ Android ที่รองรับ Material Design เต็มรูปแบบต้องเป็น Android 5.0 ขึ้นไปเท่านั้น ถ้านักพัฒนาแอพอยากรันบนระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าให้ราบรื่น ก็ต้องลงแรงแก้ปัญหากันเอง ซึ่งเป็นงานยากพอสมควร ในงาน I/O ปีนี้ กูเกิลจึงออกตัวช่วยเพื่อให้ Android รุ่นเก่าสามารถมี UI แบบ Material โดยนักพัฒนาไม่ต้องทำอะไรเพิ่ม กูเกิลเตรียมมาให้หมดแล้ว
นอกจากตัวระบบปฏิบัติการ Android M กูเกิลยังออกคู่แฝดคนละฝา Google Play Services เวอร์ชันใหม่ 7.5 ด้วย ของใหม่ได้แก่
หนึ่งในฟีเจอร์ใหม่ของ Android M ที่กูเกิลไม่ได้พูดถึงในคีย์โน้ตเมื่อวานคือ Smart Lock for Passwords หรือก็คือระบบจัดการรหัสผ่านนั่นเอง การใช้งานก็ตรงไปตรงมา คือเมื่อผู้ใช้ล็อกอินในแอพที่รองรับฟีเจอร์นี้ เครื่องจะถามว่าต้องการเก็บรหัสผ่านไว้ในระบบ Smart Lock หรือไม่ ถ้าตอบต้องการ รหัสผ่านเราก็จะถูกส่งไปเก็บไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ แล้วเมื่อผู้ใช้เข้าแอพนั้นครั้งต่อไป เครื่องก็จะล็อกอินให้ทันที ระบบจัดการรหัสผ่านนี้จะใช้งานได้บนทุกอุปกรณ์ที่ผูกกับบัญชีกูเกิลไว้ รวมไปถึงเบราว์เซอร์บนคอมพิวเตอร์ด้วย เช่น ผู้ใช้ล็อกอิน Netflix ไว้บนหน้าเว็บ แล้วเพิ่งมาติดตั้งแอพ Netflix ในโทรศัพท์มือถือ ก็จะสามารถเข้าและใช้งานแอพได้ทันที (ในทางกลับกันก็ยังได้)
กูเกิลเปิดแอพอีเมล Inbox ให้ทุกคนใช้งานโดยไม่ต้องขอ invite แล้ว และเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ดังนี้
นอกจากตัวระบบปฏิบัติการ Android และเครื่องมืออื่นๆ สำหรับนักพัฒนาแล้ว กูเกิลยังเพิ่มความสามารถให้ Google Play Developer Console เพื่อสนับสนุนแอพของนักพัฒนาให้ทำรายได้-มีผู้ใช้งานมากขึ้น
ฟีเจอร์แรกคือกูเกิลผนวกเอาระบบโฆษณาของตัวเอง มาอยู่ใน Google Play Developer Console เรียบร้อยแล้ว ดังนั้นนักพัฒนาสามารถซื้อโฆษณาแบบ install ads ได้จาก Google Play Developer Console เลย การใช้งานก็เพียงแค่ตั้งงบประมาณที่ต้องการจ่ายเท่านั้น ที่เหลือกูเกิลจะกระจายโฆษณาไปยัง AdWords, AdMob, YouTube รวมถึง search ads บนหน้า Google Play ที่จะเริ่มใช้ในเร็วๆ นี้ด้วย
เพื่อรองรับกับจำนวนผู้ใช้ที่เพิ่มขึ้นอย่างมหาศาล ในงาน Google I/O กูเกิลได้ประกาศความร่วมมือกับ Udacity เว็บไซต์คอร์สเรียนออนไลน์เพื่อเปิดคอร์สสอนการพัฒนา Android เต็มรูปแบบแล้ว
คอร์ส Android บน Udacity จะกินระยะเวลา 6-9 เดือน โดยจะสอนตั้งแต่เริ่มต้น จนถึงการเรียนรู้ส่วน front-end, การวิเคราะห์ข้อมูล รวมถึงการเขียนแอพ ซึ่งจะถูกตรวจโดยนักพัฒนาในเครือข่ายมากกว่า 300 คน
สำหรับผู้ที่ผ่านหลักสูตรนี้จะได้รับ nanodegree (คล้ายกับใบประกาศ เล็กกว่าอนุปริญญา) จากทั้ง Udacity และกูเกิล โดยค่าใช้จ่ายของคอร์สจะอยู่ที่เดือนละ 200 เหรียญ
ของใหม่สำหรับนักพัฒนาในงาน Google I/O เมื่อคืน นอกจากไลบรารี Polymer จะออกเวอร์ชัน 1.0 ฝั่ง Android Studio ก็ออกเวอร์ชัน 1.3 รุ่นพรีวิวที่ปรับปรุงความเร็วในการบิลด์แอพ รวมถึงรองรับการแก้ และดีบั๊ก C/C++ เต็มรูปแบบ
นอกจากอัพเดตเวอร์ชันของ Android Studio แล้ว กูเกิลยังบอกว่า Android กำลังจะรองรับ CocoaPods ตัวจัดการไลบรารียอดนิยมของนักพัฒนา iOS ให้สามารถใช้งานกับเครื่องมือของกูเกิลอย่าง Google Analytics และ Google Maps เป็นต้น โดยยังไม่แจ้งว่าจะเริ่มใช้ได้เมื่อไร
นอกจากจะเปิดตัว Cardboard รุ่นใหม่แล้ว ในงาน Google I/O ยังเผยแผนบุกโลก Virtual Reality ของกูเกิลเพิ่มเติม ทั้ง Expeditions และ JUMP
เริ่มต้นกันที่ Expeditions เป็นโครงการ VR เพื่อการศึกษา เพื่อให้เด็กๆ สามารถไปดูของจริงได้โดยที่ไม่ต้องถ่อไปจริงๆ ด้วยการใช้ Cardboard เพื่อไปดูสถานที่จริง โดยคุณครูสามารถควบคุมได้จากแท็บเล็ต
วิดีโอโปรโมตโครงการ Expeditions ตั้งชื่อได้น่าสนใจว่าโครงการนี้คือการพาเด็กๆ ไปยังที่ๆ รถโรงเรียนไปไม่ถึง
งาน Google I/O ปีนี้ แม้แต่ Cardboard กล่องกระดาษตัวจิ๋วสำหรับแปลงร่างสมาร์ทโฟนเป็นแว่น VR ก็ได้อัพเดตเช่นกัน พร้อมทั้งเผยสถิติตลอดปีมาด้วย
สำหรับ Cardboard รุ่นใหม่จะรองรับสมาร์ทโฟนขนาดหน้าจอใหญ่ขึ้นสูงสุด 6" ปรับเอาปุ่มแม่เหล็กออก แล้วเปลี่ยนเป็นปุ่มจริงๆ ที่จะรองรับการใช้งานกับสมาร์ทโฟนทุกเครื่อง รวมถึงสามารถประกอบร่างได้ง่ายขึ้นเพียงสามขั้นตอนเท่านั้น
ฝั่งนักพัฒนา Cardboard SDK จะมีเวอร์ชันสำหรับ iOS แล้ว นั่นหมายความว่าคนใช้ iPhone ก็จะสามารถใช้เจ้า Cardboard ได้เช่นกัน (ยินดีต้อนรับสู่โลก VR)
ตลอดปีที่ผ่านมา มีผู้ใช้งาน Cardboard มากกว่า 1 ล้านคนทั่วโลก และตอนนี้มีแอพที่รองรับหลายร้อยแอพเข้าไปแล้ว
เก็บตกฟีเจอร์ใหม่จากงาน Google I/O ทางฝั่งแอพแผนที่ Google Maps ได้ฟีเจอร์ออฟไลน์เพิ่มขึ้นจากเดิมที่ทำได้แค่เซฟแผนที่ไว้ดูแล้ว
โดยฟีเจอร์ใหม่ที่ได้เพิ่มเข้ามาคือการใช้งานค้นหาสถานที่ ระบบนำทางแบบ turn-by-turn รวมถึงยังรองรับการสั่งงานด้วยเสียงในระหว่างที่ไม่ได้เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตอีกด้วย
นอกจากฟีเจอร์หลักๆ แล้ว ถ้าหากผู้ใช้เปิดดูรีวิวของร้านอาหารไว้ก่อนจะออฟไลน์ ก็สามารถเข้าดูได้ภายหลังอีกด้วย นอกจาก Google Maps แล้วแอพอื่นๆ อย่าง Chrome และ YouTube ก็ได้จะฟีเจอร์ออฟไลน์ด้วย ซึ่งจะจำกัดประเทศที่ใช้งาน
สำหรับฟีเจอร์ออฟไลน์บน Google Maps จะเริ่มปล่อยปลายปีนี้ครับ
หลังจาก Google Play เริ่มเปิดรับแอพสำหรับเด็กและครอบครัว มาได้ระยะหนึ่ง กูเกิลก็ใช้เวที Google I/O 2015 เปิดเซคชั่น Family ใน Google Play Store แล้วทั้งเว็บและแอพ (ผมลองกับ Play Store ของไทยก็ใช้ได้แล้วนะครับ)
สื่อที่มีเนื้อหาหมวด Family ได้แก่ Apps, Games, Movies & TV จะมีปุ่ม Family เพิ่มเข้ามา ส่วน Books จะเป็นหมวดชื่อ Children's Books แทน โดยเนื้อหาในหมวด Family จะถูกคัดกรองแล้วว่าไม่เป็นพิษเป็นภัยสำหรับเด็กๆ