อัลกอริทึมของ Google Search ถือเป็นความลับของบริษัทมาโดยตลอด ถึงแม้เราจะพอรู้คร่าวๆ ว่าปัจจัยที่มีผลต่ออันดับในหน้าผลการค้นหามีอะไรบ้าง แต่ก็ไม่เคยรู้รายละเอียดของมันมากนัก
ในอดีตกูเกิลเคยเผยแพร่เอกสาร Search Quality Rating Guidelines เวอร์ชันย่อ ที่อธิบายว่าระบบการค้นหาของกูเกิลทำงานอย่างไร แต่บริษัทดูจะเปลี่ยนนโยบายภายใน และเผยแพร่เอกสารเวอร์ชันล่าสุด (2015) ฉบับเต็มความยาว 160 หน้าออกสู่สาธารณะ ด้วยเหตุผลว่าต้องการสร้างความโปร่งใสในกระบวนการทำงานของกูเกิลเอง
กูเกิลเดินหน้าโครงการ App Indexing ให้บ็อตกูเกิลมาดูดข้อมูลภายในแอพ และแสดงผลในหน้าผลการค้นหา (search result page) มาสักระยะหนึ่งแล้ว พัฒนาการล่าสุดก่อนหน้านี้คือ หน้าผลการค้นหาของ Google Search จะแสดงลิงก์จากแอพที่ผู้ใช้ไม่มีอยู่ในเครื่อง กดแล้วจะเจอปุ่ม Install ให้ติดตั้งแอพตัวนั้น
แต่รอบนี้กูเกิลไปไกลกว่าเดิมอีกขั้น ถ้าเราค้นหาอะไรบางอย่างแล้วเจอผลการค้นหาที่น่าสนใจในแอพที่เราไม่ได้ติดตั้งอยู่ในเครื่อง แต่การติดตั้งแอพตัวนั้นอาจยุ่งยากเกินไป หรือยังไม่มั่นใจในแอพดังกล่าว กูเกิลแก้ปัญหาให้เราโดย "สตรีม" หน้าจอแอพที่รันอยู่บนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลมาดูก่อนได้
ปีนี้ Google Search มีฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจคือ App Indexing หรือการให้บ็อตกูเกิลไปอ่านข้อมูลภายในแอพ เพื่อแสดงให้หน้าผลการค้นหาบนอุปกรณ์พกพา ซึ่งนักพัฒนาแอพต้องรองรับฟีเจอร์นี้เอง
แอพชื่อดังตัวล่าสุดที่รองรับฟีเจอร์นี้คือ Facebook ซึ่งถือเป็นเรื่องน่าแปลกใจพอสมควร เพราะที่ผ่านมาสองบริษัทนี้ไม่ค่อยลงรอยกันนัก
การที่ Facebook เปิดให้บ็อตของกูเกิลเข้าถึงเนื้อหาในแอพ ส่งผลให้ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลผ่านกูเกิล และเมื่อกดลิงก์ที่ปลายทางอยู่ที่ Facebook จะเปิดแอพ Facebook (รองรับเฉพาะ Android) ขึ้นมาแทนการเปิดเบราว์เซอร์ อย่างไรก็ตาม บ็อตของกูเกิลจะเข้าถึงแค่เนื้อหาที่เปิดเป็นสาธารณะเท่านั้น
Google Search ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ เข้าใจความหมายของประโยคยาวๆ มากขึ้นอีกเยอะ
เริ่มจากเข้าใจการเปรียบเทียบขนาด ว่าอะไรใหญ่ที่สุด หรือยาวที่สุด (superlative) เช่น
ตามด้วยเข้าใจเรื่องช่วงเวลา (point of time) สามารถใช้คำค้นระบุช่วงเวลาได้
“What was the Royals roster in 2013?”
เมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมา กูเกิลเพิ่งประกาศมาว่ายอดการค้นหาผ่านอุปกรณ์พกพาได้แซงหน้าเดสก์ท็อปไปแล้วในกว่า 10 ประเทศ โดยเฉพาะในประเทศใหญ่อย่างสหรัฐฯ และญี่ปุ่น (และอีก 8 ประเทศที่ไม่ได้เอ่ยชื่อ)
ผ่านไปราว 5 เดือนเศษ ทีมงานเว็บไซต์ Search Engine Land ได้ติดตามเรื่องนี้อีกครั้งกับ Amit Singhal รองประธานธุรกิจค้นหา ซึ่งอัพเดตสถิติการค้นหาผ่านอุปกรณ์พกพาทั่วโลกว่าได้แซงหน้าเดสก์ท็อปอย่างเป็นทางการแล้ว ไม่ใช่แค่ 10 ประเทศอย่างที่มีข่าวมาก่อนหน้า
Google Search มีฟีเจอร์ App Indexing ทำดัชนีเนื้อหาภายในแอพเพื่อให้ถูกค้นเจอจาก search มาได้สักระยะหนึ่งแล้ว (ข่าวเก่า) ฟีเจอร์นี้เริ่มจากบน Android แต่กูเกิลก็เคยประกาศไว้ว่าจะรองรับแอพบน iOS ด้วย
วันนี้กูเกิลประกาศว่าหลังจาก iOS 9 มีฟีเจอร์ HTTP deep link standard แบบเดียวกับฝั่ง Android ทำให้นักพัฒนาสามารถรองรับฟีเจอร์ App Indexing ของกูเกิลได้ง่ายขึ้น ขั้นตอนคือพัฒนาแอพโดยใส่ Universal Links ตามแนวทางของแอปเปิล และเชื่อมกับ SDK ของกูเกิล
Google Search ประกาศอัพเดตอัลกอริทึมรอบใหม่ ลบเว็บที่โดนแฮ็กแล้วฝังสแปมออกจากผลการค้นหา ตัวอย่างเว็บเหล่านี้คือโดนฝังมัลแวร์ หรือโฆษณาสินค้าปลอม ยาผิดกฎหมาย เว็บโป๊เปลือยต่างๆ
กูเกิลบอกว่าการปรับอัลกอริทึมรอบนี้จะกระทบผลการค้นหาประมาณ 5% (แตกต่างไปตามแต่ละภาษา) ในบางคำค้นอาจเห็นรายการเว็บลดลง เนื่องจากเว็บที่โดนแฮ็กถูกถอดออกไป
การปรับอัลกอริทึมครั้งนี้จะช่วยกระตุ้นให้เจ้าของเว็บไซต์ที่ปล่อยปละละเลย ไม่ดูแลความปลอดภัยของเว็บไซต์จนโดนแฮ็กต้องตื่นตัวมากขึ้น เพราะจะไม่ติดอันดับผลการค้นหาของกูเกิลนั่นเองครับ
ที่มา - Google Webmaster Central
ผู้ใช้ Google Now Launcher จำนวนหนึ่งรายงานว่า แอพเปลี่ยนหน้าตาจากเวอร์ชันเดิม (เลื่อนด้านข้าง) มาเป็นหน้าตาแบบใหม่ตามอย่าง Android 6.0 Marshmallow (เลื่อนขึ้นจอลง พร้อมกล่อง search ด้านบน)
ประเด็นเรื่องการเลื่อนหน้าจอของ launcher เป็นที่ถกเถียงกันมานานในโลกของ Android และความเห็นของผู้ใช้ก็แยกออกเป็น 2 ฝั่งชัดเจน การที่ Google Now Launcher เปลี่ยนตัวเองโดยไม่บอกกล่าว (แถมไม่สามารถตั้งค่ากลับคืนได้) ย่อมทำให้ผู้ใช้กลุ่มที่ชอบการเลื่อนจอแนวนอนไม่พอใจ และอาจเลิกใช้ Google Now Launcher ไปเลย
ทีม Google Webmaster ที่ดูแลเว็บละเมิดกฎการจัดอันดับ (search ranking) ของกูเกิลออกมาเตือนเว็บที่ทำผิดกฎซ้ำซากว่าอาจถูกแบนถาวร
ปกติแล้ว เวลาที่เว็บละเมิดกฎ Webmaster Guidelines จะโดนกูเกิลคาดโทษ ซึ่งผู้ดูแลสามารถเข้าไปอ่านรายละเอียดของปัญหาได้จากหน้า Search Console เพื่อปรับเว็บให้ตรงตามกฎ และยื่นขอให้กูเกิลนำเว็บนั้นเข้าไปจัดอันดับผลการค้นหาอีกครั้ง
อย่างไรก็ตาม เว็บไซต์บางแห่งเล่นตุกติกโดยการขอให้กูเกิลนำกลับไปจัดอันดับก่อน หลังจากนั้นจึงกลับมาทำผิดกฎอีกรอบ (เช่น ลบลิงก์ที่เป็น nofollow ออก) ซึ่งกูเกิลมองว่าเป็นการจงใจสแปมชัดเจน (a clear intention to spam) และประกาศว่าจะลงโทษเว็บไซต์เหล่านี้รุนแรงขึ้น
หลังจากปล่อยให้รอกันมานาน วันนี้กูเกิลปล่อยอัพเดตแอพ Google Search เวอร์ชันใหม่ 5.3 ซึ่งเปิดให้ผู้ใช้ที่ทดสอบ Android M รุ่นพรีวิว 3 สามารถใช้งานฟีเจอร์ Now On Tap ได้แล้ว
ฟีเจอร์ Now On Tap เป็นฟีเจอร์ใหม่ที่มาพร้อมกับ Android 6.0 Marshmallow เรียกใช้งานด้วยการกดปุ่มโฮมค้าง ตัวระบบจะสแกนหน้าจอในขณะนั้น และแนะนำแอพ หรือบริการที่คิดว่าผู้ใช้ต้องการในรูปแบบของการ์ดเหมือน Google Now โดยฟีเจอร์นี้ถูกพูดถึงมาตั้งแต่ Android M รุ่นพรีวิวตัวแรก แต่เพิ่งมาเปิดให้ใช้งานได้ครั้งแรกในอัพเดตนี้
กูเกิลอัพเดตแอพ Google บน Android (เมื่อก่อนชื่อ Google Search) การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือเปลี่ยนไอคอนตามโลโก้ใหม่ และปรับเปลี่ยนโทนสี แอนิเมชันให้เข้ากับโลโก้ใหม่ด้วย (แอนิเมชันตอนรอฟังคำสั่งเสียงเปลี่ยนเป็นจุดสี 4 จุดตามแบบของใหม่ ปุ่มไมโครโฟนเปลี่ยนสีเล็กน้อย)
แอพตัวเดียวกันเวอร์ชันบน iOS ยังไม่มีการอัพเดต และยังเป็นโลโก้ g เล็กสีฟ้าของเดิมอยู่ครับ
ที่มา - Android Police
ช่วงหลังเราเริ่มเห็นเว็บที่แสดงโฆษณาบังเนื้อหาเกือบเต็มจอ โดยเฉพาะ mobile web ที่มักมีโฆษณาชวนให้ดาวน์โหลดแอพ
โฆษณาแบบนี้สร้างประสบการณ์ที่ไม่ดีให้ผู้ใช้งาน ล่าสุด Google Search จึงออกมาตรการใหม่ ถ้าพบโฆษณาบังเนื้อหามากเกินไป กูเกิลจะมองว่าเว็บนั้นไม่มีคุณสมบัติ mobile-friendly และอาจมีผลต่อการจัดอันดับในผลการค้นหาได้
นโยบายใหม่ของกูเกิลจะมีผลเฉพาะโฆษณาเพื่อติดตั้งแอพเท่านั้น ไม่รวมถึงโฆษณาแบบอื่นๆ โดยเริ่มบังคับใช้วันที่ 1 พ.ย. 2015
ที่มา - Google Webmaster Central Blog
เราทราบกันมานานแล้วว่ากูเกิลชอบซ่อนลูกเล่น หรือ Easter Egg ไว้ในผลิตภัณฑ์ของตนอยู่เสมอ เช่นการพิมพ์ว่า "Do a barrel roll" ในช่องค้นหาเป็นต้น แต่เมื่อเร็วๆ นี้มีการเปิดเผยว่ากูเกิลก็ใช้ช่องค้นหานี้เป็นเครื่องมือลับในการค้นหาพนักงานใหม่ให้บริษัทเช่นกัน
ต่อจากข่าว กูเกิลเซ็นสัญญาทวิตเตอร์ แสดงข้อความทวีตใน Google Search เพิ่มขึ้น เมื่อเดือนพฤษภาคม ตอนนั้นยังมีผลเฉพาะ Google Search เวอร์ชันอุปกรณ์พกพาเท่านั้น แต่ล่าสุด กูเกิลขยายผลมายัง Google Search เวอร์ชันเดสก์ท็อปตามที่เคยประกาศไว้
Google Search เวอร์ชันเดสก์ท็อปจะดึงข้อความทวีตมาแสดงแล้ว โดยจะแสดงข้อความทวีตของบัญชีที่เราค้นหาแบบเลื่อนดูข้อความล่าสุดได้ ดังภาพ
ที่มา - Search Engine Land
ถึงแม้จะเป็นที่รู้กันดีว่า กูเกิลไม่ทำแอพลงแพลตฟอร์มฝั่งไมโครซอฟท์ (โดยเฉพาะ YouTube for Windows Phone ที่เรียกร้องกันมานาน) แต่เอาเข้าจริงแล้วมีแอพตัวหนึ่งที่กูเกิลทำลงแพลตฟอร์ม Windows 8 มาตั้งแต่ต้น นั่นคือแอพ Google Search ที่เอาไว้ใช้ค้นหาข้อมูลผ่านกูเกิล โดยไม่ต้องเข้าผ่านเว็บเบราว์เซอร์
ล่าสุดกูเกิลอัพเดตแอพ Google Search (ชื่อแอพจริงๆ คือ "Google" นะครับ แต่ขอเรียก Google Search เพื่อป้องกันความสับสน) สำหรับ Windows 10 เรียบร้อยแล้ว การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญคือปรับหน้าตามาเป็น Material Design ตามนโยบายบริษัท ส่วนฟีเจอร์อื่นๆ เหมือนเดิมทุกประการ ทั้งการค้นหาข้อมูล ภาพ และ voice search
หลายๆ ครั้ง เวลาเราไปตามสถานที่ต่างๆ เช่นร้านอาหาร เรามักจะเจอสถานการณ์ที่ไม่พอหรือโต๊ะไม่มีเพราะคนเยอะเกินไปในสถานที่นั้น แต่เรื่องดังกล่าวกำลังจะบรรเทาลง (แม้จะไม่หมดลงไป) เมื่อ Google ประกาศเพิ่มคุณสมบัติให้ Google Search สามารถแสดงว่าสถานที่นั้นๆ มีคนเยอะในช่วงเวลาไหนบ้าง
ถูกตั้งคำถามอีกครั้งสำหรับกูเกิล ที่เพิ่งมีผลการศึกษาของ Tim Wu นักวิชาการทางกฎหมาย และอดีตที่ปรึกษาของคณะกรรมการการค้าเสรี (FTC) หนึ่งในผู้ที่เคยสนับสนุนกูเกิลในช่วงถูกสอบสวนจาก FTC เมื่อปี 2013 (ซึ่งกูเกิลชนะ) ซึ่งคราวนี้ Wu ออกมาต่อต้านกูเกิลที่แสดงผลการค้นหาเข้าข้างบริการของตัวเอง โดยไม่ได้อิงจากผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
Behshad Behzadi ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารการค้นหาของกูเกิลสาธิตการใช้งานฟีเจอร์ Now on Tap และการค้นหาโดยอิงจากพิกัดผู้ใช้ (Location-Aware) ในงาน SMX Paris 2015 (Search Marketing Expo)
แม้ว่าปัจจุบันผู้นำของสหรัฐอเมริกา จะเป็นคนผิวสี แต่ในสังคมอเมริกัน ปัญหาเรื่องของการเหยียดผิว (racism) ยังคงมีอยู่ (ตัวอย่างเช่น กรณีการประท้วงในเมือง Ferguson มลรัฐ Missouri) ซึ่งทำให้กลุ่มนักวิจัยข้อมูล ตีพิมพ์งานวิจัยที่ระบุถึงการเหยียดผิวในแต่ละพื้นที่ โดยใช้ข้อมูลการค้นหาจาก Google Search
App Indexing เป็นเทคโนโลยีของกูเกิลที่ทำให้ Google Search สามารถค้นเจอเนื้อหาภายในแอพได้ และนำมาแสดงในหน้าผลการค้นหาเฉกเช่นเดียวกับเว็บเพจ (ข่าวเก่า)
ที่ผ่านมา App Indexing ยังใช้ได้เฉพาะแพลตฟอร์ม Android เท่านั้น แต่วันนี้กูเกิลประกาศแล้วว่ามันจะสามารถใช้กับ iOS ได้ด้วย โดยผู้ใช้จะต้องติดตั้งแอพ Google (Google Search เดิม) หรือ Chrome เวอร์ชันบน iOS ก่อน
ส่วนนักพัฒนาสาย iOS ที่อยากให้กูเกิลค้นแอพของตัวเองเจอ ต้องทำการบ้านเพิ่มเล็กน้อย อ่านวิธีได้ตามลิงก์ Set Up Your iOS App for App Indexing
กูเกิลเดินหน้าผลักดันให้นักพัฒนาแอพ นำแอพมาเข้าระบบ App Indexing เพื่อให้ติดอันดับในผลการค้นหาของกูเกิล
ล่าสุดกูเกิลเพิ่มความสามารถให้ Search Console (Webmaster Tools เดิม) แสดงข้อมูลของแอพได้แล้ว นักพัฒนาจำเป็นต้องเชื่อมบัญชี Play Store เข้ากับ Search Console ก่อนเพื่อยืนยันว่าเป็นเจ้าของแอพจริง จากนั้นจะสามารถดูสถิติได้ว่ามีคนค้นมาเจอเนื้อหาในแอพของเรามากน้อยแค่ไหน
ใครที่เป็นผู้ดูแลเว็บไซต์คงรู้จักและคุ้นเคยกับ Google Webmaster Tools ชุดรวมเครื่องมือให้ผู้ดูแลเว็บสามารถตรวจสอบได้ว่า Google Search มองเห็นเว็บไซต์ของเราอย่างไร
แต่หลังจากใช้ชื่อนี้มานานเกือบสิบปี กูเกิลพบว่านิยามของคำว่า "webmaster" เปลี่ยนไปจากเดิมมาก กระบวนการทำเว็บไซต์มีคนหลายฝ่ายเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น การใช้คำว่า webmaster อาจไม่สะท้อนทิศทางนี้สักเท่าไร (และอาจทำให้คนเข้าใจผิดว่าต้องเป็น webmaster เท่านั้นจึงจะใช้งานได้) กูเกิลจึงเปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Google Search Console แทน
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้เปลี่ยนเฉพาะชื่อของบริการเท่านั้น หน้าตาของมันและวิธีการใช้งานยังเหมือนเดิมทุกประการครับ
กูเกิลบรรลุข้อตกลงกับทวิตเตอร์ในการดึงข้อความทวีตมาแสดงในหน้าผลการค้นหาของ Google Search ทั้งการค้นหาด้วยคีย์เวิร์ด และการค้นหาด้วย hashtag (ดูภาพประกอบท้ายข่าว)
เบื้องต้น Google Search บนอุปกรณ์พกพา (ทั้งเว็บและแอพ) จะเริ่มแสดงข้อความทวีตที่เกี่ยวข้องกับผลการค้นหา สำหรับลูกค้าในสหรัฐก่อน จากนั้นจะค่อยๆ ขยายไปยัง Google Search เวอร์ชันเดสก์ท็อป และประเทศ-ภาษาอื่นๆ ในอนาคต
เดิมทีกูเกิลเคยมีสัญญาดึงข้อมูลของทวิตเตอร์ แต่ภายหลังสัญญานี้ถูกยกเลิกไป ทำให้กูเกิลไม่สามารถเข้าถึงข้อมูลทวีตได้โดยตรง ต้องใช้วิธีดูดหน้าเว็บมาดังเช่นเว็บไซต์อื่นๆ
หนังสือพิมพ์ Wall Street Journal รายงานข่าววงในว่ากูเกิลเตรียมเพิ่มปุ่ม "Buy" เข้ามาในหน้าผลการค้นหา เมื่อกดแล้วจะเข้าไปยังหน้า Shop on Google เพื่อซื้อสินค้าจากผู้ขายต่างๆ ที่เข้าร่วมโครงการ
ตามข่าวบอกว่าปุ่ม Buy จะโผล่ขึ้นมาในกรณีที่เราค้นหาข้อมูลสินค้าบางอย่างบนอุปกรณ์พกพา และจะแสดงในตำแหน่งด้านบนสุดของเพจ (ตำแหน่งเดียวกับ AdWords ที่โผล่มาอันดับแรกในผลการค้นหา แต่จะไม่ทับกัน และแสดงทั้ง AdWords กับ Shop on Google) โดยการแสดงปุ่ม Buy จะไม่ยุ่งกับผลการค้นหาปกติ 10 อันดับต่อเพจ
คาดว่ากูเกิลจะใช้พื้นที่ Shop on Google เปิดให้ร้านค้าต่างๆ มาลงโฆษณา แล้วทำเงินจากค่าโฆษณาโดยตรง ไม่ได้หักส่วนแบ่งจากราคาสินค้าแต่อย่างใด
กูเกิลยังเดินหน้าเพิ่มความสามารถให้ Google Search บนอุปกรณ์พกพา โดยตอนนี้ผู้ใช้ Google Search ในสหรัฐ สามารถค้นชื่อร้านอาหาร แล้วจะพบคำสั่ง "Place an order" เพิ่มเข้ามา เมื่อกดแล้วเราสามารถสั่งอาหารให้มาส่งที่บ้านได้เลย
งานนี้กูเกิลไม่ได้เปิดบริการสั่งอาหารเอง แต่ใช้วิธีจับมือเป็นพันธมิตรกับเว็บไซต์สั่งอาหารออนไลน์หลายรายแทน ตอนนี้ผู้ให้บริการที่เข้าร่วมมี 6 รายคือ Seamless, Grubhub, Eat24, Delivery.com, BeyondMenu, MyPizza.com แต่กูเกิลก็สัญญาว่าจะเพิ่มรายอื่นๆ เข้ามาอีกในอนาคต
ที่มา - +Google