Google Earth รวมมือกับพิพิธภัณฑ์พราโด (El Prado) เมืองมาดริด ประเทศสเปน บันทึกภาพวาดจากฝีมือจิตรกรเอกของโลก เพื่อให้ผู้หลงใหลในงานศิลปะสามารถชื่นชมผลงานอย่างใกล้ชิดผ่านทางเว็บไซต์ (ซึ่งโดยปกติแล้ว ผู้ที่ชมในพิพิธภัณฑ์นั้นไม่สามารถเข้าชมภาพในระยะใกล้ชิดได้) ด้วยความละเอียด 14 กิกะพิกเซล
จำนวนภาพที่สามารถชมได้จำนวน 14 ภาพ ตัวอย่างภาพที่ดัง "The Three Graces" (จากศิลปิน ปีเตอร์ พอล รูเบน) ภาพ "Third of May" (จากศิลปิน ฟรานซิสโก เดอ โกยา)
หลังจากที่ Google ซื้อ Jaiku และจากนั้นก็ประกาศเปิดซอร์สออกมา ตอนนี้ Google เปิดซอร์สเรียบร้อยแล้วครับ โดยจะหยุดการพัฒนาแล้ว
source code โหลดได้ที่ http://code.google.com/p/jaikuengine/ รองรับ Python 2.4, 2.5 (สังเกตว่าไม่มี 2.6 ครับ) ใช้ Framework Django ครับ รันอยู่บน Google App Engine อีกทีหนึ่ง สัญญาอนุญาตเป็น Apache License 2.0
ที่มา: Slashdot
Mitchell Baker ประธานของ Mozilla ให้สัมภาษณ์กับนิตยสาร BusinessWeek ถึงความสัมพันธ์ระหว่าง Mozilla กับกูเกิล ที่ต้องแปรเปลี่ยนไปหลังการมาของ Chrome
กูเกิลนั้นจ่ายเงินให้ Mozilla ถึง 75 ล้านดอลลาร์ในปี 2007 คิดเป็น 88% ของรายได้ทั้งหมดที่ Mozilla ได้รับ หลังที่ Chrome เปิดตัว Mitchell Baker ยอมรับว่าต้องมองหาแหล่งรายได้อื่นเผื่อเอาไว้ ถึงแม้ว่ากูเกิลจะยังไม่มีท่าทีที่จะไม่ต่อสัญญาในรอบหน้าก็ตาม ทางเลือกที่เป็นไปได้สูงมี 2 ทาง อย่างแรกคือ Fennec เบราว์เซอร์สำหรับมือถือ (ซึ่งจะมีโมเดลธุรกิจลักษณะใกล้เคียงกับ Opera) ส่วนอย่างที่สอง Mozilla อาจหาเงินจากการโฆษณา Add-ons จากภายในเบราว์เซอร์ (หน้า Get Add-ons นั่นล่ะครับ)
กูเกิลได้ซื้อกิจการของ GrandCentral เมื่อปี 2006 ด้วยมูลค่าสูงกว่า 50 ล้านดอลลาร์ หลังจากเอาไปซุ่มพัฒนาอยู่สองปีกว่า ตอนนี้บริการนี้กลับมาใหม่แล้วในชื่อใหม่ Google Voice
ผมพยายามหาวิธีอธิบาย Google Voice แต่พบว่ายากอีกเหมือนกันครับ เริ่มแรกสุดเราจะได้เบอร์โทรศัพท์ใหม่ของ GrandCentral/Google Voice มาหนึ่งเบอร์ แล้วเบอร์นี้จะเชื่อมกับเบอร์โทรศัพท์อื่นๆ ของเราไม่ว่าจะเป็นมือถือ เบอร์ที่ทำงานหรือที่บ้าน แล้วเราสามารถจัดการทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการสื่อสารผ่านโทรศัพท์ ไม่ว่าจะเป็น SMS, voice mail, ประชุมสามสาย, อัดเสียงสนทนา ฯลฯ ผ่านทางเบอร์นี้ โดยบริการแต่ละอันจะไปผูกกับระบบหน้าเว็บของ Google Voice ด้วย เช่น สั่งอัดเสียงแล้วมันจะไปเก็บบนเซิร์ฟเวอร์ของกูเกิลเลย
บริการ Reader ของกูเกิลนั้นเป็นที่นิยมในกลุ่มคนที่ชอบอ่านฟีด ปกติแล้วเราจะสามารถแลกเปลี่ยนสิ่งที่เราอ่านกับเพื่อนๆ เราได้ มาวันนี้นอกจากจะแลกเปลี่ยนแล้วกูเกิลยังเปิดให้สามารถพิมพ์แสดงความเห็นแลกเปลี่ยนกับเพื่อนได้ด้วยครับ
ความสามารถนี้จะใช้ได้เมื่อข่าวนั้นๆ ถูกแชร์ โดยจะมีกล่องขึ้นให้สามารถเพิ่มข้อความลงไป (ดูรูปประกอบ) นอกจากนี้เพื่อนคนอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันก็ยังสามารถที่จะมองเห็นความคิดเห็นที่พิมพ์ไว้ทั้งหมดได้อีกด้วย
นับเป็นบริการที่น่าสนใจทีเดียวนะครับ (มีใครสนใจแชร์กับผมบ้างไหม?)
AdWords/AdSense ของกูเกิลนั้นเดิมทีจะเลือกโฆษณาตามคีย์เวิร์ดที่ผู้ใช้ค้นหา หรือไม่ก็สแกนข้อความในหน้าที่กำลังอ่านอยู่ แล้วเลือกโฆษณาที่ใกล้เคียงกับเนื้อหาอันนั้น สรุปคือไม่ว่าจะเป็นแบบไหนก็ตาม กูเกิลจะเลือกโฆษณาให้เราโดยอิงจากข้อมูลที่เปิดเผยอยู่แล้ว (เช่น คีย์เวิร์ดที่เราพิมพ์ลงไป หรือ เนื้อหาในเว็บเพจ)
มีผู้ใช้ Google Docs บางส่วนพบว่าเอกสารของตัวเองนั้นถูกแชร์ไปให้คนอื่นที่ไม่ต้องการ โดยบั๊กนี้จะเกิดขึ้นเมื่อสั่งแชร์เอกสารหลายไฟล์พร้อมกัน แล้วถ้าเกิดว่าเลือกเอกสารมาสักฉบับ และเพิ่มชื่อเพื่อนร่วมงานลงไปเป็นพิเศษ เอกสารทุกฉบับในเซ็ตนี้จะถูกแชร์ไปยังเพื่อนร่วมงานคนนี้ตามไปด้วย
กูเกิลได้ยืนยันปัญหานี้แล้ว โดยระบุว่ามีเอกสารเพียง 0.05% เท่านั้นที่เจอปัญหานี้ (และเป็นเฉพาะ document กับ presentation เท่านั้น spreadsheet ไม่โดน) กูเกิลได้แก้บั๊ก และเอาการแชร์ทั้งหมดของเอกสารที่โดนผลกระทบออกไปเรียบร้อยแล้ว (ตอนนี้เราจะเป็นคนเดียวที่เห็นเอกสาร และต้องสั่งแชร์ใหม่) สำหรับผู้ใช้ที่โดนปัญหานี้จะได้รับอีเมลแจ้งเตือนจากกูเกิลครับ
หลายคนคงจะแอบหวังหรืออยากได้ G1 กันมานานแล้ว จนบางคนไปซื้อเครื่องหิ้วมาใช้กันแล้ว แต่อีกไม่นานนี้ G1 จะมาเมืองไทยแน่นอน คาดการว่าจะภายในช่วงเมษายนนี้ ในราคา 2-3 หมื่นบาทโดยการจัดจำหน่ายของบริษัท เอสไอเอส ดิสทริบิวชั่น
จากแหล่งข่าวได้ข้อมูลมาว่าทาง กูเกิล เป็นคนติดต่อมาเองว่าต้องการทำตลาด G1 ในเมืองไทย และในแหล่งข่าวยังระบุถึงความเป็นไปได้สูงที่จะใช้ UI เป็นภาษาไทยครับ
ที่มา - [กรุงเทพธุรกิจออนไลน์](http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/it/it/20090306/22266/เอสไอเอสคว้ากูเกิล แอนดรอยด์ ผนึกค่ายมือถือวาง.html)
ต่อจากข่าวเก่า Eric Schmidt: Twitter เปรียบได้กับอีเมลของคนยาก ทาง Schmidt ได้ออกมาแก้ข่าวแล้ว
เขาให้สัมภาษณ์กับ CNBC ว่าสิ่งที่เขาพูดไปนั้น ความหมายของมันก็คือ Twitter เป็นช่องทางการสื่อสารแบบหนึ่ง แต่คนเรานั้นไม่สามารถใช้การสื่อสารเพียงประเภทเดียวได้ ต้องใช้หลายๆ อย่างประกอบกันไป ปัจจุบันผู้ใช้นั้นใช้ทั้งอีเมล Twitter และ Facebook ร่วมกันอยู่แล้ว
นอกจากนี้เขายังปฏิเสธไม่ตอบคำถามว่ากูเกิลสนใจซื้อ Twitter หรือไม่ และให้สัมภาษณ์เรื่องอนาคตของโฆษณาออนไลน์และผ่านมือถืออีกยาว ต้นฉบับอ่านได้ตามลิงก์
ที่มา - Business Insider
Eric Schmidt ซีอีโอของกูเกิลให้สัมภาษณ์ในงานสัมมนาของ Morgan Stanley เกี่ยวกับ Twitter ประโยคสำคัญคือเขาบอกว่า Twitter นั้นเทียบได้กับอีเมลของคนยาก (poor man's email)
"Speaking as a computer scientist, I view all of these as sort of poor man's email systems,"
Schmidt ขยายความว่า Twitter นั้นมีคุณลักษณะของอีเมล เพียงแต่ยังขาดความสามารถหลายๆ อย่าง เช่น การแนบไฟล์ และเขาตั้งคำถามว่าในอนาคตนั้น Twitter จะพัฒนาไปให้เหมือน-ต่างกับอีเมลในปัจจุบันอย่างไร
Schmidt ชม Twitter ว่าเป็นบริษัทที่ประสบความสำเร็จ แต่สุดท้ายแล้ว เขามองว่าคนส่วนใหญ่จะยังใช้ Instant Messenger (ซึ่งกูเกิลมีผลิตภัณฑ์ตัวนี้) มากกว่า
สงสัย Schmidt จะลืม Jaiku
บริการ Analytics เพื่อเก็บสถิติในการเข้าชมเว็บไซต์ของกูเกิลนั้นเป็นที่นิยมโดยกว้างขวางเนื่องจากฟรีและติดตั้งง่าย (ที่ BN เองก็ใช้เก็บสถิติเหมือนกัน) แต่อย่างไรก็ดี สำหรับมือใหม่แล้วก็อาจลำบากในการเริ่มใช้งานพอสมควร
เกือบๆ สามเดือนแล้วหลังจากที่กูเกิลเปิดตัว Native Client (NaCl) ระบบที่สร้าง sandbox ขึ้นในบราวเซอร์เพื่อรันโค้ดที่ไว้ใจไม่ได้ในซีพียูโดยตรง แม้ว่าการรันโดยตรงเช่นนี้จะให้ความเร็วที่ไม่มีทางที่ระบบอื่นๆ จะทำได้เทียบเท่า แต่คำถามที่ถามกันมากคือประเด็นของความปลอดภัยว่าการนำโค้ดไปรันตรงๆ เช่นนี้จะปลอดภัยสักเพียงไร
ประเด็นอย่างนี้คงเป็นเรื่องยากที่จะมีใครตอบได้ กูเกิลเลยเลือกทางที่ง่ายกว่าด้วยการจัดการแข่งขันหาช่องโหว่ความปลอดภัยใน Native Client
รางวัลนั้นนอกจากจะเป็นเรื่องเงินแล้ว กูเกิลยังเชิญผู้เชี่ยวชาญความปลอดภัยจากมหาวิทยาลัยชั้นนำเช่น Princeton, Havard, MIT ฯลฯ มาเป็นกรรมการ ดังนั้นถ้าชนะจริงคงเป็นเรื่องความเท่อีกทางด้วย
กูเกิลเริ่มทำตลาดในเมืองไทยมากขึ้นหลังจากเปิดตัว Google Translate แปลภาษาไทยได้ไม่นาน กูเกิลก็ได้เปิดตัว Google Maps ประเทศไทยอย่างเป็นทางการแล้ว โดยไทยเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่กูเกิลได้เปิดตัว Google Maps เวอร์ชั่นท้องถิ่น
ความสามารถที่มีเพิ่มเติม
คงไม่บ่อยครั้งนักที่จะเห็นสามบริษัทยักษ์ใหญ่ที่เป็นคู่แข่งกันอย่างกูเกิล ไมโครซอฟท์และยาฮู หันมาทำอะไรร่วมกัน แต่ตอนนี้ทั้งยาฮูและไมโครซอฟท์ได้ประกาศว่าจะสนับสนุนเทคโนโลยีของกูเกิลในการแก้ปัญหาที่มีการอ้างถึงหน้าเว็บเดียวกันแต่ใช้ยูอาร์แอลต่างกัน ซึ่งปัญหานี้จะมีผลต่อการทำดัชนีของเสิร์ชเอ็นจิน เพราะ้ต้องทำดัชนีหน้าเว็บเดียวกันหลายครั้ง วิธีการง่าย ๆ ที่วิศวกรของกูเกิลคิดมาเพื่อแก้ปัญหานี้ก็คือให้ผู้ที่สร้างเนื้อหาของเว็บเป็นผู้ระบุยูอาร์แอลหลักที่ใช้ วิธีการนี้เรียกว่า Canonical Link Tag จริง ๆ แล้วเสิร์ชเอ็นจินแต่ละตัวก็มีเทคโนโลยีของตัวเองเพื่อแก้ปัญหานี้ แต่เมื่อตกลงที่จะใช้มาตรฐานเดียวกันได้แบ
กูเกิลเพิ่งเปิดให้นักพัฒนาสามารถขายซอฟต์แวร์บน Android จริงจังได้ไม่กี่วัน แต่ผู้ใช้โทรศัพท์ G1 รุ่นพัฒนากลับพบว่าโทรศัพท์ของพวกเขานั้นไม่สามารถเข้าไปซื้อซอฟต์แวร์ได้
กูเกิลให้เหตุผลของการบล็อคว่าโทรศัพท์รุ่นสำหรับนักพัฒนานั้นไม่มีการป้องกันใดๆ และอาจจะเป็นเครื่องมือของการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ที่วางขายอยู่ได้ เนื่องจากนักพัฒนาอาจจะนำเฟิร์มแวร์รุ่นใดๆ ก็ได้มาติดตั้ง อีกทั้งการซื้อซอฟต์แวร์บนร้านของกูเกิลนั้นยังสามารถคืนซอฟต์แวร์ได้เต็มราคาใน 24 ชั่วโมง
วันที่ 24 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา (วันเดียวกันกับที่เกิด Gfail) Google App Engine Blog ได้ประกาศการให้บริการ App Engine ในรูปแบบ "จ่ายตามการใช้งานจริง" (Pay-per-use) และนโยบายการให้โควต้าฟรีแบบใหม่ โดยผู้ใช้ยังคงสามารถใช้โควต้าฟรีแบบเดิมได้จนถึงวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 และหลังจากนั้น กูเกิลจะเริ่มใช้นโยบายโควต้าฟรีแบบใหม่ [อ้างอิง] ดังนี้
หลังจากที่เมื่อวันก่อน Gmail ล่มจนทำให้หลายๆ คนรู้สึกเสียอารมณ์ และบางคนก็ไม่รู้ว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นเป็นที่กูเกิลเองหรือว่าเป็นที่เครื่องตนเองกันแน่ วันนี้กูเกิลจึงแก้สถานการณ์ด้วยการเปิดให้ดูสถานะของบริการต่างๆ ว่าทำงานเป็นปกติดีหรือไม่ ผ่านหน้าของ Apps Status Dashboard ครับ
บริการที่สามารถดูสถานะได้มีทั้ง Mail, Calendar, Talk, Docs และ Sites โดยผู้ใช้สามารถกดย้อนดูวันก่อนหน้าได้ และเมื่อมีเหตุการณ์ผิดปกติก็จะแสดงสถานะของสิ่งที่เกิดขึ้นตามเวลาให้ดูไว้ด้วย
ข่าวนี้เป็นข่าวต่อเนื่องจาก Opera ร้องเรียน EU กรณีไมโครซอฟท์ผูกขาดเบราว์เซอร์ (ธ.ค. 2007) ครับ
ความคืบหน้าของกรณีนี้คือ EU ก็ได้เริ่มการสอบสวนไปตามขั้นตอน และก่อนหน้านี้ Mitchell Baker ซึ่งเป็นประธานของ Mozilla ก็ได้ออกมาสนับสนุน EU (บล็อก) และประกาศว่า Mozilla ยินดีให้ความร่วมมือ เช่น ให้ข้อมูลต่างๆ ในฐานะคู่แข่งร่วมวงการ และเคยฟาดฟันกันมาตั้งแต่สมัย Netscape
ผู้ใช้ Gmail ทั่วโลกหลายรายเข้าไปแสดงความเห็นใน Twitter เกี่ยวกับการที่บริการของ Gmail ไม่สามารถใช้งานได้ โดยเมื่อเปิดเข้าไปแล้วจะเจอหน้าจอ 502 Error หรือบางรายสามารถเปิดได้แต่ว่าเปิดได้ช้า โดยผู้ใช้ส่วนมากเรียกสถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ว่า Gfail
บริการ Google Street View นั้นให้บริการนำทางที่ค่อนข้างสะดวกมากเมื่อเทียบกับบริการแผนที่ปรกติเพราะเป็นภาพถ่ายจากบนถนนโดยตรง แต่บริการนี้ก็นำมาซึ่งการฟ้องร้องในประเด็นความเป็นส่วนตัวเป็นอย่างมาก เนื่องจากมีภาพของผู้คนตามถนนอย่างชัดเจน โดยทางกูเกิลได้เบลอภาพใบหน้าของคนมีในภาพทั้งหมดในภายหลัง
แต่คดีล่าสุดจากครอบครัว Boring ก็ยังฟ้องร้องทางกูเกิลเนื่องจากขับรถเข้าไปในถนนส่วนบุคคล แล้วถ่ายภาพบ้านของพวกเขามาแสดงบนเว็บ แต่หลังจากคดีผ่านไปหนึ่งปี วันนี้ผู้พิพากษาก็มีคำพิพาษายกฟ้องทั้งประเด็นการบุกรุกพื้นที่ส่วนบุคคล และการทำให้เสียชื่อเสียง, สร้างความอับอาย, หรือกระทบกระเทือนทางจิตใจ
จากการอ่านข่าวกูเกิลแถลงขอโทษ และจากการเข้าไปเช็คหลายๆ ข่าวที่เกี่ยวข้องจาก TechCrunch
ก็พบข่าวที่ TechCrunch รายงานว่า Picasa ได้เริ่มออกบริการ QR Code เพื่อความง่ายในการเข้าถึงจากโทรศัพท์มือถือ (ด้วยการใช้กล้องถ่ายรูปบนโทรศัพท์ถ่าย QR Code และจะถอดรหัสได้ออกมาเป็น URL)
หนึ่งในทีมพัฒนา Chrome ของกูเกิล นาย Mike Pinkerton ได้โพสสกรีนช็อทของเว็บเบราว์เซอร์ Chrome จากกูเกิลเวอร์ชั่นสำหรับ Mac OS X แล้ว มีหน้าตาตามนี้
เขายังได้ออกมาบอกว่า หนทางสำหรับ Chrome บน Mac OS X นั้นยังอีกยาวไกล และยังไม่สามารถกำหนดวันที่ที่่จะเปิดตัวหรือปล่อยให้ดาวน์โหลดกันได้ ไม่ว่าอย่างไรก็แล้วแต่ เห็นสกรีนช็อทแบบนี้ก็พอจะบอกได้ว่าโครงการนี้ก็ไปไกลพอสมควรแล้วเหมือนกัน
บ้านเราคนแถวๆ นี้บ่นเรื่องการทำ SEO แบบ black hat กันเยอะ แต่ล่าสุดคนที่ทำแบบนี้กลายเป็นกูเกิลไปซะแล้ว
เรื่องนี้เกิดขึ้นเมื่อกูเกิลของญี่ปุ่น (ประเทศซึ่ง Yahoo! ครองตลาดสูงมาก) ได้ว่าจ้างบริษัท Cyberbuzz โปรโมทเว็บของตนด้วยการให้บล็อกเกอร์จำนวนมากเขียนบล็อกเพื่อโปรโมทและส่งผลให้เกิดการดันค่า Pagerank ของ Google.co.jp ให้สูงขึ้นกว่าปรกติ
Android Market หรือ App Store ของกูเกิลนั้นเดิมทีรับเฉพาะโปรแกรมที่แจกฟรีเท่านั้น แต่ตอนนี้ได้เปิดให้นักพัฒนาที่อาศัยอยู่ในสหรัฐและสหราชอาณาจักร สามารถส่งโปรแกรมที่เขียนขึ้นมาเพื่อขายให้กับผู้ใช้ Android แล้ว
กูเกิลบอกว่าโปรแกรมที่ส่งมาจะถูกแสดงขึ้นใน Android Market เวอร์ชันสหรัฐอเมริกาในสัปดาห์หน้า นอกจากสองประเทศนี้แล้ว กูเกิลยังเตรียมจะเปิดให้นักพัฒนาในเยอรมนี, ออสเตรีย, เนเธอร์แลนด์, ฝรั่งเศส และสเปน ภายในไตรมาสนี้ ส่วนประเทศอื่นๆ จะประกาศอีกครั้งหลังสิ้นไตรมาสที่หนึ่ง สำหรับ Android Market แบบฟรีจะเปิดเพิ่มในอีกสองประเทศคือออสเตรเลียและสิงคโปร์
กูเกิลแถลงว่าบริษัทจะยุติส่วนธุรกิจการโฆษณาทางวิทยุ ซึ่งจะต้องปลดคนออกไปราว 40 คน โดยให้เหตุผลว่าธุรกิจนี้ไม่ให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าเลยเมื่อเวลาผ่านไป
อาจจะมีคนสงสัยว่ากูเกิลมีส่วนธุรกิจนี้ด้วยหรือ เมื่อปี 2006 กูเกิลได้เข้าซื้อบริษัท DMarc Broadcasting ซึ่งบริษัทคาดว่าจะได้ขยายเข้าไปส่วนธุรกิจซอฟต์แวร์เพื่อการจัดการโฆษณาทางวิทยุ โดยการยุติกิจการนี้จะเป็นเฉพาะส่วนของสถานีวิทยุปกติเท่านั้น ไม่รวมถึงสถานีวิทยุออนไลน์
กูเกิลยังมีแผนจะถอนตัวจากธุรกิจสื่อออฟไลน์อื่นด้วย คือธุรกิจการจัดการโฆษณาบนหน้าหนังสือพิมพ์
ที่มา: Bloomberg