Reuters รายงานอ้างอิงแหล่งข่าว 3 แหล่งที่ระบุตรงกันว่า Grab เตรียมยื่น IPO เข้าตลาดหลักทรัพย์สหรัฐในปีนี้ และคาดว่าจะระดมทุนได้อย่างน้อย 2 พันล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งหากเป็นไปตามนี้ Grab จะกลายเป็นบริษัทเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีมูลค่า IPO สูงที่สุด
ส่วนรายละเอียดอย่างเช่นจำนวนหุ้นหรือช่วงเวลายังไม่มีการกำหนดออก ขึ้นอยู่กับสภาพตลาดอีกครั้ง ขณะเดียวกันการ IPO ก็น่าจะขึ้นหลังดีลควบรวมกิจการ Grab/Gojek ไม่ว่าดีลนี้จะสำเร็จหรือล้มเหลวก็ตาม
ที่มา - Reuters
Grab Financial Group (GFG) กลุ่มธุรกิจการเงินในเครือ Grab ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ A เป็นจำนวนมากกว่า 300 ล้านดอลลาร์ มีผู้ลงทุนหลายรายนำโดยกองทุน Hanwha จากเกาหลีใต้ ร่วมด้วย K3 Ventures, GGV Capital, Arbor Ventures และ Flourish Ventures ซึ่งเป็นครั้งแรกที่ส่วนธุรกิจนี้รับเงินจากนักลงทุนภายนอก
Grab ระบุว่า GFG มีรายได้เพิ่มขึ้น 40% ในปี 2020 เทียบกับปี 2019 ซึ่งเป็นการเติบโตที่สำคัญ จากบริการต่าง ๆ อาทิ AutoInvest ผลิตภัณฑ์ด้านการลงทุน, ผลิตภัณฑ์ด้านประกันภัย และอื่น ๆ
เงินลงทุนรอบนี้ GFG จะนำไปขยายบริการทางการเงินให้เข้าถึงทั้งลูกค้าส่วนบุคคล และธุรกิจรายย่อย รวมทั้งใช้ในการเพิ่มเติมบุคลากรและขยายธุรกิจในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
วันนี้กลุ่มไรเดอร์ Grab ในประเทศไทยรวมตัวประท้วงหน้าอาคารธนภูมิ สำนักงานแกร็บประเทศไทย เพื่อเรียกร้องเงื่อนไขการทำงานหลายประเด็น นับแต่การจัดการเมื่อเกิดเรื่องร้องเรียนจากผู้ใช้, กระบวนการคุ้มครองไรเดอร์เมื่อเกิดอุบัติเหตุ และรายได้
ข้อเรียกร้องด้านรายได้ เช่น ค่ารับงานในต่างจังหวัดไม่เท่ากับในกรุงเทพฯ ไรเดอร์เรียกร้องให้มีค่าตอบแทนจากการรอหลายออเดอร์ในการวิ่งรอบเดียวกัน (งานแบช) ไปจนถึงขอให้มีค่ารออาหารเมื่อต้องรอนาน ผู้ประท้วงบางคนร้องเรียนว่าเมื่อ Grab ให้ส่วนลดคนเรียกใช้งานก็กลับไปลดค่าบริการของคนขับด้วย ทำให้รายได้ลดลง
ธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore - MAS) ประกาศผู้ได้รับใบอนุญาตธนาคารดิจิทัล 4 ราย หลังจากก่อนหน้านี้ทาง MAS ได้ประกาศออกใบอนุญาตธนาคารเพิ่มเติมไม่เกิน 5 รายและได้รับใบสมัครถึง 14 ราย ใบอนุญาตแบ่งออกเป็นสองประเภทได้แก่
การเจรจาควบรวมกิจการระหว่าง Grab / Gojek ที่ผ่านมาน่าจะลุ่ม ๆ ดอน ๆ หลังทั้งสองบริษัทปฏิเสธข่าวลือตั้งแต่ต้นปี ก่อนจะมีข่าวการกลับมาเจรจาอีกครั้ง และล่าสุด Bloomberg รายงานอ้างอิงคนใกล้ชิดว่าการเจรจาใกล้ได้ข้อสรุปแล้ว
Bloomberg บอกว่าความเห็นต่างในดีลระหว่าง 2 บริษัทได้ข้อสรุปไปเป็นส่วนใหญ่แล้ว แต่ก็ยังมีรายละเอียดบางส่วนที่ต้องเจรจาต่อไปและแน่นอนว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังดีลนี้ไม่ใช่ใครอื่น Softbank เจ้าเดิม
Marriott International ประกาศเป็นพาร์ทเนอร์กับ Grab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 6 ประเทศคือสิงคโปร์, เวียดนาม, อินโดนีเซีย, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์และไทย เพื่อเอาตัวรอดจากสถานการณ์โควิดที่ไม่มีนักท่องเที่ยว
ดีลนี้ทำให้ลูกค้าสามารถสั่งอาหารจากร้านอาหารและบาร์ในเครือของ Marriott ได้ผ่านทาง Grab Food นอกจากนี้คะแนนใน loyalty program ของทั้ง Grab และ Marriott สามารถแลกเปลี่ยนข้ามแพลตฟอร์มกันได้ด้วย
ที่มา - TechCrunch
สำนักข่าว Bloomberg รายงานโดยอ้างแหล่งข่าวที่เกี่ยวข้องว่ากลุ่ม Alibaba กำลังเจรจาเพื่อเข้าลงทุนใน Grab เป็นเงินถึง 3,000 ล้านดอลลาร์
รายงานระบุว่า Alibaba จะเป็นนักลงทุนเพียงรายเดียว ที่ทำดีลเข้าลงทุนในรอบนี้ โดยเป็นการซื้อหุ้นต่อจาก Uber และจะทำให้เป็นดีลการลงทุนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ใหญ่ที่สุด นับตั้งแต่การลงทุนใน Lazada เมื่อปี 2016
ดีลถือเป็นดีลขนาดใหญ่มาก เนื่องจากมูลค่ากิจการของ Grab ตามที่มีการรายงานล่าสุดอยู่ราว 14,000 ล้านดอลลาร์
ทั้งนี้ตัวแทนของ Grab และ Alibaba ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นต่อข่าวดังกล่าว
ช่วงต้นปีมีข่าวลือว่า Grab และ Gojek เจรจากันเพื่อควบรวมกิจการก่อนที่ทั้งสองแบรนด์จะออกมาปฏิเสธอย่างเป็นทางการ โดย SoftBank มีท่าทีไม่เห็นด้วยกับการควบรวม ทว่าล่าสุด Financial Times รายงานการเจรจาถูกนำกลับมาขึ้นโต๊ะอีกครั้งแล้วและ SoftBank ก็เป็นหนึ่งในคนที่ผลักดันเรื่องนี้อีกครั้ง
Bloomberg รายงานอ้างอิงคนที่เกี่ยวข้องว่า Grab ได้รับเงินลงทุนเพิ่มอีกราว 200 ล้านเหรียญจาก Stic Investment บริษัท Private Equity ของเกาหลีใต้
ตอนนี้จำนวนเงินที่ Grab ระดมทุนได้อยู่ที่รวม 1 หมื่นล้านเหรียญแล้ว โดยมี SoftBank มีหนึ่งในผู้ลงทุนใหญ่ที่สุดด้วยจำนวนเงินราว 3 พันล้านเหรียญและจาก SoftBank Vision Fund อีก 1.46 พันล้านเหรียญ ขณะที่มูลค่าของ Grab จากการประเมินของ CB Insights บริษัทวิจัยด้านการลงทุนล่าสุดคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณ 1.43 แสนล้านเหรียญ
ที่มา - Bloomberg
Anthony Tan ซีอีโอ Grab ประกาศปลดพนักงาน 360 คนคิดสัดส่วนเป็นราว 5% ของพนักงาน เซ่นผลกระทบทางเศรษฐกิจจาก COVID-19 หลังจากก่อนหน้านี้ใช้มาตรฐานขออาสาพนักงานให้หยุดงานโดยไม่จ่ายเงินไปก่อนหน้านี้แล้ว
Tan ยอมรับว่าโรคระบาดส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจค่อนข้างยาวนาน เช่นเดียวกับการฟื้นตัว บริษัทพยายามลดต้นทุนทุกส่วนแล้ว รวมถึงโปรเจ็คต่าง ๆ ที่ไม่ได้อยู่ในส่วนธุรกิจหลัก (non-core project) พร้อมยืนยันว่าการปลดคนครั้งนี้จะเป็นครั้งสุดท้ายในปีนี้ และจะไม่มีการปิดสำนักงานที่ไหนแน่นอน
Ninja Van สตาร์ทอัพผู้ให้บริการขนส่งพัสดุจากสิงคโปร์ ประกาศรับเงินเพิ่มทุนซีรี่ส์ D อีก 279 ล้านดอลลาร์ หรือราว 9,000 ล้านบาท จากกลุ่มนักลงทุน อาทิ GeoPost บริษัทขนส่งพัสดุรายใหญ่ของยุโรป, B Capital Group กองทุนของ Eduardo Saverin ผู้ร่วมก่อตั้ง Facebook, Golden Gate Ventures, Intouch Holding และ Grab
ทั้งนี้ Ninja Van ไม่ได้ประกาศมูลค่ากิจการจากการเพิ่มทุนรอบล่าสุด โดยบริษัทได้เงินเพิ่มทุนไปแล้วรวมกว่า 400 ล้านดอลลาร์
หลังจากมีข่าว Grab ปิดสำนักงานในไทยและสิงคโปร์ ล่าสุดทาง Grab ประเทศไทยได้ส่งแถลงถึงเหตุการณ์นี้แล้ว โดยระบุว่าพนักงานคนนี้เดินทางมาติดต่องานในประเทศไทยในระหว่างวันที่ 5–6 มีนาคม ที่สำนักงานชั้น 19 ของอาคารสมัชชาวาณิช 2 (หรืออาคาร UBC 2) โดยไม่มีอาการป่วยและเดินทางกลับไปยังสิงคโปร์ในวันที่ 6 มีนาคม หลังจากนั้นจึงเข้าตรวจในโรงพยาบาลในสิงคโปร์เมื่อวันที่ 7 มีนาคมและพบผลเป็นบวก
อย่างไรก็ดีศูนย์บริการพาร์ทเนอร์คนขับแกร็บ (Grab Driver Center) ตั้งอยู่อาคารธนภูมิไม่ได้รับผลกระทบและยังเปิดดำเนินการตามปกติ รวมถึงการให้บริการทั้งหมดของ Grab ในไทย
update Grab แถลงพนักงานที่ติด COVID-19 อยู่ส่วนสำนักงาน ไม่เกี่ยวกับคนขับ ตรวจพบเชื้อหลังกลับจากไทยหนึ่งวัน
Grab ปิดสำนักงานที่ไทยและสิงคโปร์ 5 วันเพื่อทำการฆ่าเชื้อ หลังมีการยืนยันว่า พนักงาน Grab ที่สำนักงาน Marina One West Tower สิงคโปร์ติดเชื้อเป็นโรค COVID-19 และก่อนหน้านี้ตัวเขาได้ไปที่สำนักงานที่กรุงเทพด้วย แต่กลับมาแล้ว
พนักงานคนดังกล่าวตรวจและยืนยันว่าเป็นโรคในวันที่ 7 มีนาคม และกำลังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล ก่อนหน้านี้สำนักงาน Facebook ก็ปิดฆ่าเชื้อหลังเจอพนักงานติดเชื้อเป็นโรค COVID-19 ด้วย
ถือเป็นอีกก้าวที่น่าสนใจของโรงพยาบาลสมิติเวช ในฐานะโรงพยาบาลเอกชนรายใหญ่ของไทย ที่ขยายตัวเองจากบริการด้านการแพทย์โดยตรง (medical services) มายังบริการอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสุขภาพด้วย (health-related services)
รอบนี้ สมิติเวชลงมาจับมิติด้าน “อาหาร” แต่ไม่ใช่อาหารเพื่อคนป่วยแต่อย่างใด สิ่งที่สมิติเวชสนใจคืออาหารที่เรากินเป็นปกติในแต่ละวัน ซึ่งพฤติกรรมด้าน “ไลฟ์สไตล์การกิน” ของคนไทยที่เปลี่ยนไปมากที่สุดในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคือ การสั่งอาหารแบบเดลิเวอรีมาส่งถึงบ้าน แทนการออกไปกินข้าวนอกบ้าน
มีรายงานจาก The Information เผยว่าผู้บริหารของ Grab แอปให้บริการเรียกรถโดยสารรายใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และผู้บริหารจาก Gojek แอปประเภทเดียวกันที่เป็นผู้นำในตลาดอินโดนีเซีย และกำลังขยายตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน ได้มีการเจรจาเพื่อหาแนวทางควบรวมกิจการกัน แต่การเจรจายังไม่คืบหน้าเนื่องจากทั้งสองฝ่ายยังหาข้อสรุปเรื่องการถือหุ้นหลังควบรวมไม่ได้
ตัวแทนของทั้งสองบริษัทออกมาปฏิเสธข่าวดังกล่าว โดย Gojek บอกว่าไม่มีแผนการควบรวมใด ๆ และข่าวที่รายงานก็ไม่ถูกต้อง ขณะที่ Grab ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นกับข่าวนี้
มีรายงาน MUFG ธนาคารรายใหญ่ของญี่ปุ่น ได้เข้าลงทุนใน Grab แอปให้บริการเรียกรถ ด้วยวงเงินที่อาจสูงถึง 80,000 ล้านเยน (720 ล้านดอลลาร์ หรือ 22,000 ล้านบาท)
โดยเหตุผลที่ MUFG เลือกลงทุนใน Grab นั้น เพื่อเจาะกลุ่มฐานลูกค้าใหม่ให้มากขึ้น โดยเฉพาะกลุ่มลูกค้าที่ไม่ได้เข้าถึงระบบธนาคารดั้งเดิม ซึ่ง Grab มีข้อมูลลูกค้าที่จะช่วยส่วนนี้ได้
นอกจากนี้ Grab เองยังคาดว่าจะได้ประโยชน์จากองค์ความรู้ในธุรกิจการเงิน เพื่อมาเสริมกลุ่มธุรกิจการเงินที่บริษัทกำลังขยายไปด้วย
ที่มา: Japan Times
วันนี้ Grab Financial Group ประเทศไทย บริษัทลูกในเครือ Grab ประเทศไทยที่ให้บริการด้านการเงินเปิดตัวบริการสินเชื่อรายย่อยสำหรับคนขับรถและร้านอาหารที่เป็นพาร์ทเนอร์ โดยมีจุดเด่นคือการชำระคืนรายวัน เป็นการต่อยอดจากบริการ Grab Pay ที่ให้บริการมาราวครึ่งปี
จุดแข็งที่ Grab Financial Group ชู นอกจากความสะดวกในการกู้ยืม ที่ไม่ต้องยื่นเอกสารและการจ่ายเงินคืนเป็นรายวันได้ (สำหรับผู้คนขับรถหรือเจ้าของร้านอาหาร การจ่ายคืนเป็นรายวันรู้สึกเป็นภาระน้อยกว่าจ่ายเป็นก้อนตอนสิ้นเดือน) คือโมเดลการสร้าง Credit Scoring จากข้อมูลเชิงพฤติกรรมร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ บนแพลตฟอร์ม Grab ที่คุณวรฉัตร ลักขณาโรจน์ กรรมการผู้จัดการ Grab Financial Group บอกว่าไม่เหมือนที่สถาบันการเงินใช้ เพราะ Grab มีข้อมูลพฤติกรรมจริงของลูกค้ามากกว่าและข้อมูลก็มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้ Grab สามารถปรับเครดิตและปรับโมเดลได้ตลอดเวลาเช่นกัน
Grab สิงคโปร์ ประกาศเข้าซื้อกิจการสตาร์ทอัพ Bento ที่ให้บริการระบบจัดการลงทุนอัตโนมัติ (Robo Advisor) โดยไม่เปิดเผยมูลค่าดีล ซึ่ง Grab จะรีแบรนด์บริการนี้เป็น GrabInvest และให้บริการผ่านแอป Grab
Chandrima Das ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Bento จะมารับตำแหน่งหัวหน้าฝ่าย Grab Financial หน่วยธุรกิจด้านการเงินของ Grab ที่ตอนนี้มีบริการอยู่แล้วได้แก่ GrabPay, GrabRewards, GrabFinance และ GrabInsure
GrabInvest จะให้บริการจัดการความมั่งคั่งส่วนบุคคล โดยใช้ระบบจัดพอร์ตการลงทุนอัตโนมัติ เน้นค่าธรรมเนียมที่ต่ำ โดยจะเริ่มให้บริการที่สิงคโปร์เป็นแห่งแรก เนื่องจากได้รับอนุญาตจากหน่วยงานท้องถิ่นแล้ว จากนั้นจะให้บริการต่อในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นฐานลูกค้าของ Grab อยู่แล้วต่อไป
Grab สิงคโปร์ ประกาศความร่วมมือกับ Singtel บริษัทรายใหญ่ จัดตั้งกิจการค้าร่วมเพื่อขอรับใบอนุญาตให้บริการธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบในประเทศสิงคโปร์ โดย Grab จะถือหุ้น 60% และ Singtel ถือหุ้น 40%
ในแถลงการณ์ระบุว่าทั้งสองบริษัทมีประสบการณ์ในบริการทางการเงินมาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น Dash, VIA, GrabPay หรือ GrabInsurance การเข้ามาสู่ธนาคารดิจิทัลเต็มรูปแบบเพื่อให้เกิดความง่าย เข้าถึงได้กับลูกค้ามากขึ้น และสามารถเพิ่มผลิตภัณฑ์ทางการเงินต่าง ๆ ได้มาก เนื่องจากมีสถานะเป็นธนาคาร โดยธนาคารจะเน้นให้บริการทางดิจิทัลเป็นหลัก (Digital-First) เน้นลูกค้าขนาดเล็ก-กลาง
ทั้งนี้กิจการค้าร่วมของทั้ง Grab และ Singtel จะต้องได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานของสิงคโปร์ก่อน จึงจะเริ่มให้บริการธนาคารได้
Lim Kell Jay หัวหน้าฝ่ายธุรกิจส่งอาหาร GrabFood ของ Grab เปิดเผยว่าตอนนี้ธุรกิจส่งอาหาร และธุรกิจบริการทางการเงิน มีมูลค่าการใช้จ่ายผ่านแพลตฟอร์ม (GMV) รวมกันมากกว่า 50% ของ GMV รวมของ Grab แล้ว
Grab เริ่มต้นจากธุรกิจเรียกรถโดยสารเพื่อสร้างฐานผู้ใช้งาน จากนั้นจึงขยายมาลงทุนในธุรกิจส่งอาหารและบริการทางการเงินมากขึ้น เนื่องจากมองว่าเป็นโอกาสในการเติบโต ปัจจุบัน GrabFood ให้บริการใน 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย, สิงคโปร์, มาเลเซีย, ฟิลิปปินส์, เวียดนาม และไทย ครอบคลุมกว่า 220 เมือง
Grab ประเทศสิงคโปร์ประกาศเปิดตัวบัตร GrabPay Card เป็นบัตร Mastercard แบบพรีเพดสำหรับใช้จ่ายผ่าน GrabPay Wallet เปิดให้ใช้งานในประเทศสิงคโปร์แล้ววันนี้
GrabPay Card จะมีบัตรทั้งแบบพลาสติกและบัตรดิจิทัล โดย Grab ระบุว่า GrabPay Card เป็นบัตรพลาสติกแรกในเอเชียที่ไม่มีเลขพิมพ์ไว้บนบัตร ตัวบัตรผูกกับเงินใน GrabPay Wallet สามารถรูดใช้จ่ายได้ทุกที่ทั่วโลกที่รองรับ Mastercard และจะได้รับ GrabRewards เมื่อใช้จ่ายผ่านบัตร
GrabPay Card เป็นส่วนต่อขยายของ GrabPay Wallet การจัดการตัวบัตรไม่ว่าจะเป็นการล็อกหรือสั่งปิดการใช้งานบัตรเมื่อบัตรหายสามารถทำได้ผ่านแอป Grab และมีระบบ 3DSecure สำหรับป้องกัน online fraud ในตัว
Grab ประกาศขยายบริการไปในประเทศญี่ปุ่นและ 13 ประเทศในตะวันออกกลาง ผ่านความร่วมมือกับพาร์ทเนอร์อย่าง JapanTaxi และ Careem ตามลำดับ โดยเมืองในญี่ปุ่นที่ให้บริการมี Tokyo, Kyoto, Nagoya, Sapporo, และ Okinawa ส่วนตะวันออกกลางมี Dubai, Doha, Istanbul, Cairo, Riyadj, Kuwait, Lahore, Muscat, และ Amman
Grab บอกว่าลูกค้าในสิงคโปร์, มาเลเซียและอินโดนีเซีย (ไม่มีไทย) สามารถเรียกใช้บริการจากแอป Grab ตัดเงินผ่าน GrabPay และยังคงได้ GrabRewards ตามปกติ
ที่น่าสนใจคือ Careem ที่มาเป็นพาร์ทเนอร์ Grab ในตะวันออกกลาง เป็นผู้ให้บริการเรียกรถที่ถูก Uber ซื้อไปเป็นบริษัทลูกเมื่อต้นปีและกระบวนการควบรวมกิจการน่าจะเสร็จสิ้นต้นปีหน้า
Grab ประกาศปรับนโยบายใหม่เกี่ยวกับการยกเลิกการเดินทาง ซึ่ง Grab ได้ประกาศไปตั้งแต่เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา แต่เริ่มมีผลกับผู้โดยสารและผู้ขับรถทั้งหมดตั้งแต่วันนี้ (4 พฤศจิกายน 2562) เป็นต้นไป
โดยประเด็นสำคัญคือการคิดค่าปรับหากมีการยกเลิกการเดินทาง เริ่มต้นที่ 10 บาท ไปจนถึง 50 บาท ซึ่งการยกเลิกนั้นมีเงื่อนไขต่อนี้
Booking.com ร่วมมือกับ Grab ให้ผู้ใช้งานเรียกรถ Grab จากแอพ Booking.com ได้เลย สามารถจ่ายเงินในสกุลเงินของประเทศตัวเองได้ เริ่มต้นใช้งานในสิงคโปร์ก่อน และจะขยายไปยังอินโดนีเซีย และไทยภายในสิ้นปี 2019 นี้ และภายในปี 2020 จะขยายไปยัง กัมพูชา, มาเลเซีย, เมียนมาร์, เวียดนามและฟิลิปปินส์
Grab และไฮเนเก้นประกาศยุทธศาสตร์ความร่วมมือใหม่ให้บริการเจาะในตลาดเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในแถลงการณ์ความร่วมมือระบุว่า ไฮเนเก้นจะใช้ประโยชน์จากบริการด้านอาหารการจัดส่งและการชำระเงินของ Grab เพื่อตอบสนองความต้องการด้านโลจิสติกส์ ถือเป็นการขยายช่องทางที่ผลิตภัณฑ์ไฮเนเก้นจะไปถึงลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น
ลูกค้าที่อายุถึงเกณฑ์สามารถสั่งเบียร์ไฮเนเก้นผ่าน Grabfood ซึ่งไฮเนเก้นจะส่งโปรโมชั่นให้ลองชิมเครื่องดื่มใหม่ๆ ผ่านแคมเปญส่งเสริมการขาย