เว็บไซต์ CNBC อ้างแหล่งข่าวใกล้ชิดว่า Uber เตรียมถอนตัวจากภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยจะขายกิจการให้ Grab แลกกับการเข้ามาถือหุ้นใน Grab ด้วย
รูปแบบของดีลจะคล้ายกับในจีน ที่ Uber ขายกิจการให้คู่แข่ง Didi Chuxing ในปี 2016 แลกกับการถือหุ้นบางส่วนใน Didi และการถอนตัวจากรัสเซียโดยควบกิจการกับ Yandex Taxi ในปี 2017
การถอยทัพในภูมิภาคเหล่านี้ จะทำให้ Uber มีเวลาและทรัพยากรกลับไปโฟกัสในตลาดสำคัญๆ อย่างสหรัฐและยุโรปมากขึ้น
Grab ประเทศไทย ประกาศเพิ่มจังหวัดที่ให้บริการอีกหนึ่งจังหวัดคือ กระบี่ เริ่มตั้งแต่วันนี้ (22 มกราคม 2561) เป็นต้นไป
ก่อนหน้านี้ Grab เคยประกาศให้บริการในภาคใต้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี, สมุย และสงขลา-หาดใหญ่ โดยมีกระบี่เป็นจังหวัดล่าสุด
ที่มา: Facebook Grab
oBike บริการแชร์จักรยานของสิงคโปร์ ประกาศความร่วมมือกับ Grab โดยผู้ใช้ oBike สามารถเลือกจ่ายเงินได้ผ่านบัญชี GrabPay และจะสามารถสะสมแต้มของรางวัล GrabRewards ได้อีกด้วย นอกจากนี้ oBike จะเพิ่มจักรยานรุ่นใหม่ที่มีการติดสัญลักษณ์ Grab บนตัวจักรยาน
ความร่วมมือระหว่าง oBike กับ Grab นี้เริ่มต้นเฉพาะที่สิงคโปร์ แต่ปัจจุบัน oBike มีการทำตลาดใน 17 ประเทศ ส่วน Grab ก็มีฐานอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จึงน่าจะเห็นความร่วมมือนี้ขยายไปยังประเทศที่ทั้งสองบริษัททำธุรกิจอยู่ รวมทั้งในไทยด้วย
ทิศทางของ Grab ตอนนี้คือการเข้าสู่ธุรกิจ Mobile Payment มากขึ้น โดยล่าสุดบริษัทประกาศเข้าซื้อกิจการ iKaaz สตาร์ทอัพบริการจ่ายเงินผ่านมือถือของอินเดียด้วยมูลค่าที่ไม่เปิดเผย ซึ่งปัจจุบัน Grab มีสำนักงานอยู่ที่บังกะลอร์ ประเทศอินเดีย โดยทีมงานของ iKaaz จะย้ายเข้าไปร่วมทีมกับ Grab ที่นี่ด้วย
iKaaz ก่อตั้งในปี 2012 โดย Soma Sundaram อดีตวิศวกรของโนเกีย ซึ่งผลิตภัณฑ์มีทั้งแพลตฟอร์มจ่ายเงินออนไลน์ ตลอดจนฮาร์ดแวร์ POS สำหรับร้านค้า และแอพกระเป๋าเงินบนมือถือ MOWA
Hyundai Motor ผู้ผลิตรถยนต์จากเกาหลีได้ลงทุนใน Grab ผู้ให้บริการเรียกรถจากเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในการระดมทุนรอบล่าสุด โดยทางบริษัทกล่าวว่าการลงทุนครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ Hyundai ได้ลงทุนกับบริษัทเรียกรถโดยตรง แต่ทางบริษัทไม่ได้เปิดเผยมูลค่าการลงทุน ซึ่งเท่ากับว่า Hyundai จะเป็นอีกบริษัทที่ถือหุ้นใหญ่ใน Grab เพิ่มเติมจาก Didi Chuxing, SoftBank และ Toyota Tsuho (กองทุน Next Technology ของ Toyota)
ทั้งบริษัท Hyundai และ Grab จะร่วมมือกันพัฒนาแพลตฟอร์มให้บริการรถยนต์ ซึ่ง Hyundai จะใช้รถยนต์อย่าง Ioniq Electric ของบริษัทมาให้บริการ ซึ่งตอนนี้มีรุ่นที่ใช้พลังงานแตกต่างกันสามแบบคือ powertrain-hybrid, plug-in hybrid และรถยนต์แบตเตอรี่ล้วน
สำนักงานใหญ่ Grab ในสิงคโปร์ประกาศผู้บริหารในตำแหน่งกรรมการผู้จัดการที่ดูแล GrabPay คนใหม่เป็นผู้หญิงชื่อ Ooi Huey Tyng ซึ่งก่อนหน้านี้เธอรับตำแหน่ง Country Manager ของ Visa ที่ดูแลสิงคโปร์และบรูไนมาก่อน ส่วนก่อนหน้านั้นก็เคยมีประสบการณ์กับธนาคารใหญ่ๆ อย่าง UOB และ Citi ด้วย
ก่อนหน้านี้ Grab เคยระบุว่ามีแผนจะเปิดให้บริการ GrabPay ในมาเลเซียและบริการโอนเงินระหว่างผู้ใช้ (peer-to-peer) ในฟิลิปปินส์ ขณะที่ Ooi ถูกวางตัวให้ดูแล GrabPay ในสิงคโปร์, มาเลเซียและฟิลิปปินส์ ซึ่ง Grab ก็น่าจะตั้งใจดึงเธอมาดูแลบริการใหม่ใน 2 ประเทศนี้โดยเฉพาะ
Grab ประกาศเพิ่มบริการเดินทางระยะไกล โดยมีตัวเลือกจุดหมายปลายทางได้แก่ ระยอง นครราชสีมา ขอนแก่น สระบุรี ตลอดจนจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวอย่าง พัทยา หัวหิน และเขาใหญ่ ซึ่งมีตัวเลือกรถทั้ง GrabCar, GrabCar Plus และ GrabCar XL
เส้นทางทั้งหมดเป็นแบบขาเดียว คือจากกรุงเทพฯ ไปยังปลายทาง ยังไม่มีขากลับ ยกเว้นพัทยา ที่มีทั้งไปและกลับ
สำหรับราคาค่าบริการนั้น สระบุรี เริ่มต้นที่ 1,000 บาท พัทยา 1,600 บาท โคราช-เขาใหญ่ และระยอง 2,000 บาท หัวหิน 2,200 บาท ส่วนขอนแก่นเริ่มต้นที่ 4,300 บาท
Grab ผู้ให้บริการเรียกรถได้เริ่มเปิดให้บริการในกัมพูชาแล้ว ถือเป็นประเทศที่แปดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเริ่มให้บริการในกรุงพนมเปญแล้ว
Tan Hooi Ling ผู้ร่วมก่อตั้ง Grab กล่าวในงานเปิดตัว Grab ที่พนมเปญว่า “เอเชียตะวันออกเฉียงใต้คือบ้านของเรา และเป้าหมายของเราคือการปรับปรุงคุณภาพชีวิตที่นี่” โดย Grab ได้เซ็นสัญญาร่วมกับกระทรวงโยธาธิการและคมนาคมของกัมพูชาเพื่อรองรับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้วย โดยในการเปิดตัวครั้งนี้ Grab มีผู้ขับรถมาลงทะเบียนกับบริษัทแล้วกว่า 500 คน ซึ่ง Grab จะตรวจสอบข้อมูลของคนขับรถเพื่อความปลอดภัยของผู้โดยสาร
นอกจากนี้ Grab ยังร่วมมือกับ Wing Money ผู้ให้บริการธนาคารบนมือถือของกัมพูชา เพื่อให้บริการบัญชีสำหรับการเงินดิจิทัลกับผู้ขับรถของ Grab อีกด้วย
Grab ประเทศไทยเปิดตัวบริการใหม่ GrabFood บริการรับส่งอาหารด้วย GrabBike โดยเบื้องต้นเปิดให้บริการแบบจำกัดพื้นที่ในกรุงเทพฯ ได้แก่ สยาม สีลม สาทร เยาวราช และสุขุมวิท ซึ่งผู้ใช้สามารถใช้บริการได้ผ่านแอพ Grab
บริการ GrabFood จะจัดส่งอาหารจากร้านในรัศมี 4 กิโลเมตรจากตำแหน่งของผู้ใช้เท่านั้น ในช่วงเวลา 10:00-22:00น. ของทุกวัน คิดราคาค่าบริการจัดส่งแบบเหมาจ่าย 60 บาท ยังไม่รวมค่าอาหาร ในช่วงแรกนี้รองรับการจ่ายค่าบริการและค่าอาหารเป็นเงินสดเท่านั้น
บริการ GrabFood เริ่มให้บริการครั้งแรกที่ประเทศอินโดนีเซีย
เป็นที่รู้กันว่า SoftBank ได้ลงทุนในบริษัทเรียกรถมากมาย Ola, Grab, 99, DiDi Chuxing และล่าสุด Uber ซึ่งยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ
ล่าสุดสำนักข่าว Reuters รายงานข้อมูลจากแหล่งข่าวที่ใกล้ชิดกับ Grab ว่า SoftBank อาจจะรวมบริษัทเรียกรถที่อยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นบริษัทเดียว (ทั้ง Uber และ Grab) ซึ่งดีลการควบบริษัทอาจจะคล้าย ๆ กับที่ Uber ควบกิจการกับ DiDi Chuxing ในจีนก็ได้
Grab ประกาศว่าบริการเรียกรถโดยสารผ่านแอพ ได้ผ่านจุดสำคัญไปแล้ว โดยมีจำนวนเที่ยวโดยสารทะลุ 1 พันล้านครั้งเป็นที่เรียบร้อย โดยมีเที่ยวโดยสาร 66 เที่ยวที่ถูกนับเป็นครั้งที่หนึ่งพันล้าน
Grab เริ่มให้บริการที่มาเลเซียในปี 2012 ปัจจุบันให้บริการใน 142 เมืองของ 7 ประเทศ เฉพาะภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
เมื่อมาดูตัวเลขของคู่แข่งรายอื่น Uber ได้ประกาศ 5 พันล้านเที่ยวไปเมื่อเดือนมิถุนายน, Didi ของจีน (ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้น Grab ด้วย) ไม่ได้บอกตัวเลขแต่ก็มากกว่า 1 พันล้านแล้ว ส่วน Lyft ประกาศว่าผ่าน 500 ล้านเที่ยวไปเมื่อกลางปีที่ผ่านมา
Grab ประกาศเพิ่มจังหวัด-เมือง ที่ให้บริการในประเทศไทยวันนี้ ได้แก่ สุราษฎร์ธานี, สมุย และสงขลา-หาดใหญ่ ทำให้พื้นที่ให้บริการในภาคใต้ครอบคลุมมากขึ้น โดยเริ่มให้บริการตั้งแต่วันนี้ (6 พฤศจิกายน) เป็นต้นไป
ปัจจุบัน Grab มีให้บริการในเมืองไทยในหลายเมือง ได้แก่ กรุงเทพฯ, พัทยา, เชียงใหม่, เชียงราย, ภูเก็ต, อุบลราชธานี, ขอนแก่น, นครราชสีมา และอุดรธานี
ที่มา: Facebook Grab
Grab คู่แข่งสำคัญของ Uber ตะวันออกเฉียงใต้ จะไม่มีสถานะเป็นผู้ให้บริการแชรร์ถอย่างเดียว แต่จะเป็นบริษัทให้บริการด้าน Payment ด้วย Grab ซึ่งมีระบบจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิตและเดบิตอยู่แล้วนั่นก็คือ Grab Pay โดยนี่จะเป็นครั้งแรกที่ Grab Pay ใช้เป็น E wallet จ่ายค่าอาหารได้
Grab Pay เริ่มจ่ายค่าอาหารได้ตามร้านค้า street food ในสิงคโปร์ก่อนเป็นที่แรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ใช้วิธีการจ่ายเงินด้วยการสแกน QR Code มีร้านค้าในระบบแล้ว 25 ร้านค้า เป้าหมายคือจะเพิ่มเป็น 1,000 ร้านค้าภายในสิ้นปี 2017
ที่ผ่านมา Uber ประสบปัญหาถูกโจมตีเรื่องการเล่นไม่ซื่อมาตลอด ไม่ว่าจะข่าวเรื่องการติดตามข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้ ไปจนถึง Greyball เครื่องมือปล่อยรถปลอมให้เจ้าหน้าที่รัฐที่มาล่อซื้อ ซึ่งผู้บริหารของ Uber ก็ออกมายอมรับว่าจริง ไปจนถึงคู่แข่งอย่าง Lyft ล่าสุดคู่แข่งในอีกฝั่งซีกโลกอย่าง Grab ก็เคยเผชิญปัญหาเดียวกันนี้
การแข่งขันระหว่าง Uber และ Grab ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ปีนี้ หลังทั้งคู่เข้าไปเปิดบริการในเมียนมาร์ ห่างกันไม่กี่เดือน ล่าสุดทั้ง Uber และ Grab ประกาศเปิดให้บริการในกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาห่างกันแค่หลักวัน
Grab ประกาศบริการ GrabTaxi ในเมืองหลวงของกัมพูชาเมื่อวานนี้ ก่อนที่วันนี้ Uber จะเปิดให้บริการ UberX ตามมาติดๆ ซึ่งทั้งสองเจ้า โดยเฉพาะ Uber ไม่น่าจะมีปัญหาเรื่องการให้บริการอย่างผิดกฎหมาย เมื่อ TechCrunch ระบุว่าทั้ง Grab และ Uber ต่างเข้าพูดคุยกับกระทรวงคมนาคมของกัมพูชาก่อนประกาศเปิดให้บริการไปเรียบร้อยแล้ว
Grab ประกาศรับเงินลงทุนจากกลุ่มบริษัท Toyota ผ่านบริษัทลูก Toyota Tsusho Corporation และกองทุน Next Technology Fund
การลงทุนของ Toyota ครั้งนี้ไม่เปิดเผยตัวเลข แต่นับเป็นส่วนหนึ่งของเงินลงทุนก้อนใหญ่ 2.5 พันล้านดอลลาร์ ที่เพิ่งประกาศข่าวไปเมื่อเดือนที่แล้ว
นอกจากเงินลงทุนแล้ว บริษัทแม่ Toyota Motor Corporation (TMC), Toyota Financial Services Corporation (TFS) และบริษัทประกันภัย Aioi Nissay Dowa Insurance ยังประกาศความร่วมมือกับ Grab นำระบบเก็บล็อกคนขับ TransLog ที่พัฒนาโดย The Connected Company บริษัทลูกของ TMC มาติดตั้งในรถยนต์ของ Grab เพื่อใช้คำนวณข้อมูลด้านประกันภัย สินเชื่อ และการซ่อมบำรุงด้วย
Grab ประกาศเข้าไปให้บริการในเมียนมาร์ตั้งแต่ต้นปี ก่อน Uber จะตามมาช่วงกลางปี ยิ่งทำให้การแข่งขันเพิ่มมากขึ้น ล่าสุด Grab ประกาศลงทุนในเมียนมาร์เพิ่มเติมอีกราว 100 ล้านเหรียญในช่วงระยะเวลา 3 ปีข้างหน้า
Grab ที่ให้บริการเฉพาะในนครย่างกุ้งและเติบโตค่อนข้างเร็ว มีแผนจะขยายบริการไปเมืองอื่นๆ เพิ่มเติมที่มีอัตราการใช้งานสมาร์ทโฟนเพิ่มขึ้น รวมถึงกำลังพิจารณานำฟีเจอร์ Grab for Work โซลูชันบริหารจัดการค่าใช้จ่ายในการเดินทางสำหรับลูกค้าฝั่งธุรกิจด้วย เช่นเดียวกับ Grab Pay ก็อยู่ในแผนเปิดตัวในเมียนมาร์เร็วๆ นี้
รัฐสภามาเลเซียมีมติผ่านร่างแก้ไขกฎหมาย 2 ฉบับได้แก่กฎหมายว่าด้วยการขนส่งทางบกและกฎหมายที่ว่าด้วยการออกใบอนุญาตรถยนต์สาธารณะ ที่ทำให้การให้บริการของ Uber และ Grab Car ถูกกฎหมาย
จากการแก้กฎหมายดังกล่าว มาเลเซียได้จัดสรรประเภทธุรกิจใหม่ขึ้นมาเพื่อรองรับ Ride-Hailing โดยเฉพาะในชื่อ Intermediation Business License ซึ่งทั้ง Uber, Grab Car หรือผู้ให้บริการอื่นๆ ที่จะทำธุรกิจนี้ต้องขอใบอนุญาตประกอบธุรกิจประเภทนี้
ก่อนหน้านี้มาเลเซียเผชิญปัญหาคล้ายกับบ้านเรา คือภาครัฐประกาศว่าทั้ง Uber และ Grab Car ให้บริการอย่างผิดกฎหมาย ขณะเดียวกันก็ถูกกลุ่มสมาคมแท็กซี่รวมตัวประท้วง หลังทราบข่าวว่ารัฐบาลกำลังพิจารณาให้บริการ Ride-Hailing ถูกกฎหมาย
ขนส่งทางบกฟิลิปปินส์ (Land Transportation Franchising and Regulatory Board - LTFRB) สั่งให้ Uber และ Grab ส่งรายชื่อคนขับทั้งหมดให้กับขนส่งทางบกและหยุดรับคนขับใหม่ หลักจาก LTFRB เชื่อว่ามีคนขับจำนวนมากไม่มีใบอนุญาตถูกต้อง โดยเชื่อว่ามีคนขับรวมถึง 42,000 คนแต่มีคนขับที่ใบอนุญาตถูกต้องเพียง 15,400 คน
งานนี้เป็นความขัดแย้งระหว่าง Grab/Uber และ LTFRB โดยทั้งสองบริษัทไม่ต้องการหยุดรับคนขับเพิ่มเติม คำสั่งของ LTFRB ออกเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคมที่ผ่านมาแต่มีผลย้อนหลังให้ปิดบัญชีคนขับทั้งหมดที่ลงทะเบียนกับระบบหลังวันที่ 30 มิถุนายน โดยทั้งสองบริษัทได้ยื่นหนังสือโต้แย้งคำสั่งนี้
Grab ประกาศรับเงินลงทุนก้อนใหม่รอบล่าสุดอีก 2,000 ล้านดอลลาร์ โดยมี Didi Chuxing แอพแท็กซี่รายใหญ่ของจีน และกลุ่ม SoftBank เป็นผู้นำในการลงทุนรอบนี้ และเงินลงทุนรอบนี้อาจเพิ่มสูงขึ้นเป็น 2,500 ล้านดอลลาร์ จากนักลงทุนกลุ่มใหม่ที่เข้ามา ซึ่งทำให้เป็นการเพิ่มทุนครั้งเดียวที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
Grab ระบุว่าในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น มีส่วนแบ่ง 95% ในฐานะแอพเรียกรถแท็กซี่เดิมในระบบ และมีส่วนแบ่ง 71% ในตลาดเรียกรถยนต์ส่วนตัวสำหรับโดยสาร มีการเรียกรถโดยสารเฉลี่ยวันละ 3 ล้านครั้ง
Grab ร่วมมือกับสายการบิน Nok Air ออกโปรโมชั่นส่วนลด 70 บาทให้แก่ผู้โดยสาร Nok Air ที่ต้องการเรียกรถ Grab Taxi และ Grab Car จากสนามบินภูเก็ต ขอนแก่น และเชียงใหม่ไปยังจุดหมายที่ต้องการ นอกจากนี้ ผู้โดยสารยังสามารถจองรถทางออนไลน์ผ่าน www.nokair.com หรือ www.nokfanclub.com ได้ด้วย
โปรโมชั่นสามารถใช้ได้ตั้งแต่วันนี้จนถึง 15 กันยายน 2560
สิงคโปร์ประกาศแนวทางการควบคุมรถส่วนตัวที่ให้บริการโดยสาร (private hire car) มาตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ตอนนี้เข้าสู่สัปดาห์สุดท้ายก่อนกฎข้อแรกคือการลงทะเบียนและติดสติกเกอร์จะมีผลบังคับในวันที่ 1 กรกฎาคม ทางขนส่งทางบกสิงคโปร์ก็ออกมาแถลงตัวเลขว่ามีใบสมัครเข้ามาแล้วถึง 39,000 คน และได้รับอนุมัติไปแล้วถึง 33,000 คน
นอกจากตัวคนขับต้องตรวจสุขภาพและลงทะเบียนแสดงความจำนงที่จะสอบใบขับขี่รถส่วนตัวให้บริการโดยสารแล้ว ตัวรถเองก็ต้องติดสติกเกอร์แสดงตนว่าเป็นรถที่ให้บริการโดยสาร โดยตอนนี้มีรถติดสติกเกอร์ไปแล้ว 27,000 คัน
หลังจากที่มีการรายงานข่าวกันอย่างต่อเนื่องเรื่องผู้โดยสารรายหนึ่งที่ใช้ชื่อว่า May Natsupa โพสต์ข้อความผ่าน Facebook ว่าทหารเรียกแท็กซี่ที่ถูกเรียกผ่าน Grab ว่าจะปรับห้าพันบาทนั้น
จากกรณีที่ผู้ใช้ Facebook ชื่อ May Natsupa เผยแพร่เรื่องทหารจับแท็กซี่ที่ถูกเรียกผ่านแอพ โดนจับปรับ 5,000 บาทนั้น ทาง TV Pool Online อ้างว่า ASTV ผู้จัดการ รายงานว่า พ.ท.กฤษณพล โภชนดา ผู้บังคับกองทัพทหารปืนใหญ่ที่ 12 รักษาพระองค์ แจงผ่าน Facebook ถึงกรณีดังกล่าว
วานนี้ ผู้ใช้ Facebook ชื่อ May Natsupa โพสต์ข้อความพร้อมคลิป 4 ชิ้น แสดงเหตุการณ์การเรียก GrabTaxi มารับและถูกทหารเข้าจับกุม
ทางทหารระบุว่าได้รับคำสั่งมาและหากต้องการโต้แย้งให้ไปคุยกับนายก ทางฝั่งแท็กซี่จึงถามย้ำว่าต้องการทราบว่าผิดข้อหาอะไร ทหารตอบเพียงว่า "ผมทำตามหน้าที่"
ด้านแท็กซี่เล่าผ่านคลิปโดยยืนยันว่าตัวเองไม่ได้จอดรถรอแต่คลาดกับผู้โดยสาร แต่ทหารใช้มือล้วงเข้ามาในรถเพื่อบิดกุญแจดับเครื่องและจะปรับเงินจำนวน 5,000 บาท พร้อมไล่ผู้โดยสารลงจากรถ มิฉะนั้นจะโดนปรับด้วย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้กรมขนส่งยืนยันว่า GrabTaxi ถูกกฎหมาย