เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมาผู้โดยสารหญิงวัย 29 ปีแจ้งความคนขับ Grab ว่าข่มขืนเธอขณะที่ส่งเธอใกล้ถึงบ้านในเวลาตีสี่ โดยเธอไม่สามารถขัดขืนเพราะกำลังมึนเมา และตำรวจได้จับคนขับอายุ 30 ปีพร้อมยึดชุดที่ใส่ขณะขับรถไว้ได้ ล่าสุดทาง Grab มาเลเซียออกมาขออภัยในกรณีนี้แล้ว
ทาง Grab ระบุว่าคนขับถูกถอดออกจากระบบแล้ว จะให้ความช่วยเหลือผู้โดยสารและครอบครัว และจะร่วมมือกับตำรวจเต็มที่
ผู้บริหารยืนยันว่าคนขับผ่านการอบรมและตรวจสอบประวัติอาชญากรรมมาก่อนแล้ว แต่จะลงทุนเพื่อความปลอดภัยเพิ่มเติม โดยตอนนี้แอปฝั่งคนขับมีปุ่มขอความช่วยเหลือในกรณีฉุกเฉิน ทาง Grab มีแผนจะเพิ่มปุ่มนี้ให้แอปฝั่งผู้โดยสารในอนาคต
Grab อินโดนีเซียเปิดบริการ GrabNow สำหรับผู้โดยสารที่ "โบก" เรียกรถมาแล้ว แล้วค่อยใช้บริการ Grab มาจ่ายเงินทีหลัง แทนที่จะให้บริการ Grab หารถให้จากที่อื่นๆ โดยตอนนี้รองรับเฉพาะมอเตอร์ไซต์ GrabBike ก่อน
บริการนี้ผู้ใช้ต้อง "จับคู่" กับคนขับด้วยตนเอง โดยตัวแอป Grab จะสามารถจับคู่ระหว่างโทรศัพท์ของผู้โดยสารและคนขับที่อยู่ใกล้ๆ กันให้อัตโนมัติ หรือหากทำไม่สำเร็จก็สามารถใส่ PIN เพื่อจับคู่เองได้ อัตราค่าบริการ GrabNow เป็นอัตราเดียวกับ GrabBike และผู้โดยสารจะได้รับบันทึกการเดินทางแบบเดียวกัน
ทาง Grab ระบุว่าเตรียมจะขยายบริการนี้ไปยังแท็กซี่ด้วย ทำให้ในอนาคตเมื่อเจอแท็กซี่ข้างทางก็สามารถโบกแล้วขึ้นโดยสารได้ทันทีโดยจ่ายผ่าน Grab เหมือนการเรียกผ่านแอป
Grab ประกาศนโยบายใหม่ปรับผู้โดยสาร หากยกเลิกการเรียกเกินมากกว่า 6 ครั้งต่อสัปดาห์ การยกเลิกครั้งต่อไป (ครั้งที่ 7) จะคิดค่ายกเลิกครั้งแรก 30 บาท โดยจะขึ้นแจ้งเตือนในแอพ พร้อมเตือนให้เพิ่มเงินผ่าน GrabPay เพราะระบบจะตัดเงินผ่านช่องทางนี้เท่านั้น
การยกเลิกจะคิดเฉพาะการเรียกบริการ GrabCar และ Grab Taxi เท่านั้น โดยเงินส่วนนี้จะเข้าคนขับทั้งหมด
ที่มา - Grab, ChannelNewsAsia
Grab มีระบบจ่ายเงินผ่านบัตรเครดิต-เดบิตของตัวเองที่เรียกว่า GrabPay เปิดตัวมาก่อนหน้านี้ในเดือนพฤษภาคม 2559
ล่าสุด Grab ประเทศไทย ขยายความร่วมมือกับสถาบันทางการเงินในไทยเพิ่มเป็น 9 แห่ง อำนวยความสะดวกลูกค้าที่จ่ายเงินผ่าน Grab Pay ได้แก่ ธนาคารซิตี้แบงก์ ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกสิกรไทย บัตรเครดิต KTC ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด ธนาคารธนชาต ธนาคารทหารไทย และธนาคารยูโอบี
SMRT บริษัทขนส่งมวลชนในสิงคโปร์ มีรถแทกซี่ให้บริการ 3,400 คัน เข้าพูดคุยกับ Grab เพื่อขายกิจการ โดยขอมีหุ้นส่วนใน Grab และมีกรรมการจาก SMRT 1 คนเข้าไปนั่งเป็นกรรมการด้วย
SMRT เป็นผู้ให้บริการแทกซี่อันดับต้นๆ ในสิงคโปร์ มีบริษัทกลุ่ม Temasek เป็นผู้ถือหุ้น ด้านผลกระทบต่อพนักงานจากการขายกิจการยังไม่ชัดเจน ทาง SMRT กำลังเจรจาให้ Grab ยอมรับข้อเสนอให้พนักงานขับรถมีงานทำต่อไป
SMRT นอกจากจะมีกิจการรถแทกซี่แล้วยังมีกิจการอื่นเช่น รถบัส บริการระบบราง รถไฟฟ้าสาย MRT และ LRT โดยมีการคาดกันว่าถ้าดีลขายกิจการสำเร็จ SMRT จะนำเงินที่ได้มาพัฒนาการขนส่งมวลชนทางอื่นต่อไป
Grab เตรียมเข้าซื้อ Kudo บริษัทสตาร์ทอัพสัญชาติอินโดนีเซียที่ทำเกี่ยวกับ Mobile Payment และ e-commerce โดยจะผนวกเข้ากับทีมของ Grabpay และคาดว่าดีลนี้อาจจะมีมูลค่าสูงถึง 100 ล้านดอลล่าร์
การลงทุนในครั้งนี้น่าจะเป็นไปเพื่อการแข่งขันที่อินโดนีเซีย ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดของ Grab ในภูมิภาคนี้ หลังจากที่คู่แข่งสำคัญ อย่าง Go-Jek ได้เปิดบริการ Go-Pay ไปเมื่อปีที่แล้วและประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก
ที่มา - TechCrunch, Reuters
Grab ผู้ให้บริการแท็กซี่และพาหนะเรียกผ่านแอพ ประกาศเปิดตัวให้บริการที่ประเทศเมียนมาร์ นับเป็นประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ลำดับที่ 7 ที่บริษัทนี้เข้าไปในดำเนินธุรกิจ ซึ่งตอนนี้เข้าไปเริ่มที่แท็กซี่กลุ่มเล็กๆ แล้วในนครย่างกุ้ง
ด้าน Uber ก็ประกาศในวันเดียวกันว่าจะเข้าไปดำเนินธุรกิจที่เมียนมาร์ในเร็วๆ นี้เช่นกัน
Grab เปิดตัวกิจกรรมใหม่ร่วมกับ Tinder แอพหาคู่ด้วยกิจกรรมให้ผู้ใช้เปิดแอพ Grab และกดปุ่มจองรถจากไอคอนรูปไฟในช่วงระยะเวลาที่กำหนด เพื่อรับส่วนลดลุ้นได้เดินทางไปบุคคลที่มีบุคลิกภาพน่าดึงดูด 10 คนจากแอพ Tinder ผ่านการคัดเลือก
กิจกรรมส่งเสริมการขายนี้ทำในบางประเทศเท่านั้น สืบค้นพบที่เวียดนามและมาเลเซีย ไม่มีไทย
วันนี้กระทรวงคมนาคมเรียกตัวแทน Uber และแท็กซี่เข้ามาหารือใช้เวลากว่าสามชั่วโมง ได้ข้อสรุปสำคัญคือทางกระทรวงจะจ้างที่ปรึกษามาศึกษาว่าควรทำอย่างไร โดยใช้เวลา 6-12 เดือน
ทางกระทรวงขอให้ Uber หยุดให้บริการไปก่อนระหว่างนี้แต่ทางบริษัทไม่ตกลง
จนตอนนี้ชาติในอาเซียนออกกฎหมายสำหรับบริการนำรถยนต์ส่วนบุคคลออกมาให้บริการแล้วหลายชาติ เช่น อินโดนีเซียออกกฎหมายตั้งแต่มีนาคมปี 2016, สิงคโปร์และมาเลเซียก็ออกกฎหมายหรืออยู่ระหว่างออกกฎหมาย หากไทยใช้เวลาศึกษาก่อนที่จะเริ่มกระบวนการออกกฎหมายเราก็อาจจะเริ่มกระบวนการร่างกฎหมายกันได้ประมาณปี 2018
ที่มา - ThaiPBS
วันนี้ตัวแทนคนขับแท็กซี่ราว 40 คนรวมตัวกันไปยื่นหนังสือต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้ดำเนินการจัดการ Uber และ Grab Car อย่างเด็ดขาด ฐานเข้ามาประกอบอาชีพผิดกฎหมาย แย่งงานและทำลายอุตสาหกรรมของคนไทย รวมถึงเป็นแอพจากต่างชาติ เป็นการนำเงินออกนอกด้วย
นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ย้ำด้วยว่า Uber และ Grab Car ส่งผลกระทบต่อแท็กซีที่จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมาย โดยเรียกร้องให้กระทรวงบล็อกช่องทางบนโซเชียลมีเดียของทั้งสองบริษัทด้วย เนื่องจากถูกใช้เป็นช่องทางในการเชิญชวนให้สมัครเป็นผู้ให้บริการ พร้อมยืนยันว่ากรณีที่แท็กซี่ปฏิเสธผู้โดยสารเป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น สังคมเหมารวมไปเอง แถมแท็กซี่ที่ทำความดีก็มีให้เห็นบ่อยๆ
แอปเรียกรถโดยสารอย่าง Uber และ Grab (โดยเฉพาะ GrabCar) สร้างความไม่พอใจกับผู้ขับขี่รถโดยสารเดิมไปทั่วโลก ล่าสุดอินโดนีเซียพยายามหาจุดร่วมระหว่างสองกลุ่มด้วยการเปิดทางให้รัฐบาลท้องถิ่นควบคุมราคาและปริมาณรถของแอปเหล่านี้ หลังจากออกกฎควบคุมแล้วแต่คนขับแท็กซี่ยังแสดงความไม่พอใจอยู่
กฎหมายใหม่เปิดทางให้รัฐบาลท้องถิ่นสามารถกำหนดราคาขั้นต่ำและสูงของแอปเรียกรถ พร้อมกับจำกัดปริมาณรถได้ด้วย สำหรับเหตุผลการออกกฎครั้งนี้ ทางขนส่งอินโดนีเซียยอมรับตรงๆ ว่าเป็นการหาจุดร่วมระหว่างคนขับรถโดยสารเดิมกับกลุ่มใหม่ที่ให้บริการผ่านแอป
สิงคโปร์เดินหน้ากระบวนการนำ Uber และ GrabCar เข้ามาในระบบการควบคุม ด้วยการเปิดลงทะเบียนคนขับแท็กซี่แบบไม่เต็มเวลา (Private Hire Car Driver Vocational License - PDVL) ตั้งแต่วันจันทร์ที่ผ่านมา ผ่านมาเพียงสองวันทางขนส่งทางบกสิงคโปร์ก็ออกมาแถลงว่ามีคนลงทะเบียนแล้วประมาณ 5,000 คน
ทางขนส่งทางบกสิงคโปร์ให้โอกาสลงทะเบียน PDVL ก่อนบังคับว่าคนขับรถรับจ้างเหล่านี้ต้องลงทะเบียนและตรวจสุขภาพ ภายในวันที่ 30 มิถุนายนนี้ สิทธิประโยชน์ของคนลงทะเบียนล่วงหน้าคือทางขนส่งทางบกจะยืดระยะเวลาสอบใบขับขี่สาธารณะไปให้อีก 1 ปีจนถึง 30 มิถุนายน 2018 โดยระหว่างนี้ยังขับรถได้ไปพลาง
ท่ามกลางกระแสข่าวของความขัดแย้งระหว่างภาครัฐและผู้ให้บริการเรียกรถอย่าง Uber จนเกิดความเข้าใจผิดว่าแอพเรียกแท็กซี่อย่าง Grab Taxi, All Thai Taxi นั้นเข้าข่ายผิดกฎหมายไปด้วย ล่าสุดกรมการขนส่งออกายืนยันอีกครั้งแล้วว่าแอพที่ผิดกฎหมายนั้นคือกลุ่ม Uber, Grab Car ที่เรียกรถป้ายดำมาให้บริการ ไม่ใช่แอพเรียกแท็กซี่ข้างต้น
กรมการขนส่งระบุเหตุผลว่า เนื่องจากเป็นการใช้รถยนต์ผิดประเภทจากที่จดทะเบียนไว้, ไม่ใช้มาตรค่าโดยสารตามที่กฎหมายกำหนด, ผู้ขับรถไม่มีใบอนุญาตขับรถสาธารณะ, ไม่เคยผ่านการตรวจสอบประวัติอาชญากรรม และคนขับไม่ได้เข้าสู่ระบบทะเบียนของศูนย์ข้อมูลประวัติผู้ขับรถสาธารณะของกรมการขนส่งทางบก ซึ่งหากมีอุบัติเหตุเกิดขึ้น ประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย
ชาติในอาเซียนที่สนับสนุนแอปเรียกรถรับจ้างที่ใช้รถส่วนบุคคลมาให้บริการ นอกจากสิงคโปร์แล้ว มาเลเซียก็เป็นอีกชาติหนึ่งที่มีท่าทีต่อแอปเหล่านี้เปลี่ยนไปอย่างรวดเร็วในปี 2016 ที่ผ่านมา หลังจากที่ช่วงปี 2015 ขนส่งทางบกมาเลเซีย (Suruhanjaya Pengangkutan Awam Darat - SPAD) ไล่กวาดล้างทั้ง Uber และ GrabCar อย่างแข็งขัน การประชุมคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2016 กลับเปลี่ยนท่าทีเป็นการหาทางอยู่ร่วมกันระหว่าง Uber, Grab และแท็กซี่ดั้งเดิม
ลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ แสดงท่าทีแบบเดียวกันหลังมติคณะรัฐมนตรีของมาเลเซียประมาณสิบวัน (พูดวันที่ 22 สิงหาคม 2016)
Coalition of Taxi Companies and Associations กลุ่มพันธมิตรสหกรณ์แท็กซี่ในมาเลเซียประกาศลงนามความร่วมมือกับ Uber ในวันนี้แต่ต้องเลื่อนการลงนามออกไปหลังมีคนขับแท็กซี่กว่า 100 คนมาชุมนุมประท้วงหน้าคลับที่เป็นสถานที่ลงนาม
ข้อตกลงระหว่างกลุ่มพันธมิตรสหกรณ์แท็กซี่กับ Uber จะเปิดให้คนขับแท็กซี่ 500 คนเพื่อช่วยเพิ่มรายได้ให้คนขับเหล่านี้
Shamsubahrin Ismail ผู้ก่อตั้งสหกรณ์แท็กซี่ Big Blue Taxi Services ที่เป็นผู้สนับสนุนความตกลงครั้งนี้ระบุว่าข้อตกลงจะช่วยให้แท็กซี่กับ Uber อยู่ร่วมกันได้ โดยตัว Shamsubahrin เคยลงทุนถึง 700,000 ริงกิต (5,600,000 บาท) เพื่อสร้างแอปเรียกรถแท็กซี่ของตัวเองแต่ล้มเหลว
วันนี้มีข่าวว่ากรมการขนส่งทางบกอาจจะใช้คำสั่งตามมาตรา 44 เพื่อปิดบริการ Uber หากมีการใช้งานจริงก็น่าจะเป็น "ยาแรง" ที่สุดเท่าที่เคยมีมา หลังจากก่อนหน้านี้ไต้หวันเพิ่มค่าปรับการใช้รถรับผู้โดยสารโดยไม่ได้รับอนุญาตจน Uber ยอมถอยออกจากไต้หวันไป
แต่มุมมองของ ลี เซียน ลุง นั้นต่างออกไป เขาพูดถึงมุมมองต่อเรื่องนี้ในงาน National Day Rally เมื่อเดือนสิงหาคม 2016 ที่ผ่านมา
ถัดจากการล่อจับในเชียงใหม่เมื่อสัปดาห์ทีแล้ว เมื่อวานก็มีข่าวว่ากรมการขนส่งได้ล่อจับ Uber ไปได้ถึง 18 คัน ซึ่งล่าสุดนายณันทพงศ์ เชิดชู รองอธิบดีกรมการขนส่งทางบกเผยว่ากรมอาจจะใช้ ม.44 เป็นยาแรงสั่งปิด Uber จากการที่แอพลักษณะนี้ทำลายระบบขนส่งสาธาณะ
รองอธิบดีกรมการขนส่งระบุว่าว่าต้องสร้างความเข้าใจให้กับคนไทยว่าบริการเช่น Uber นั้นผิดกฎหมาย และหากเกิดอุบัติเหตุขึ้น ประชาชนจะไม่ได้รับการคุ้มครองจากกฎหมาย รวมถึงเรียกร้องให้กลุ่มผู้ให้บริการแท็กซี่ปรับปรุงการให้บริการ เพื่อกระตุ้นให้คนใช้บริการมากขึ้น
ที่มา - The Nation
Grab ประกาศเปิดตัว GrabShare บริการคาร์พูลในกรุงกัวลาลัมเปอร์ของมาเลเซียและกรุงมะนิลาของฟิลิปปินส์ หลังเปิดตัวในสิงคโปร์เป็นที่แรกเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา
GrabShare เป็นบริการเรียกรถคล้ายๆ กับ GrabCar เพียงแต่เมื่อเรียกผ่าน GrabShare คนขับสามารถรับผู้โดยสารที่ไปในจุดหมายใกล้ๆ กันหรือขับผ่านเส้นทางเดียวกัน โดยระบบจะคำนวนเส้นทางที่สั้นที่สุดและหารค่าใช้จ่ายของผู้โดยสารให้ ซึ่ง Grab ระบุว่าตั้งแต่เปิดตัวในสิงคโปร์มีผู้ใช้งานแล้วกว่า 2 ล้านราย ขณะที่คู่แข่งอย่าง UberPool เปิดตัวแล้วในสิงคโปร์และกรุงมะนิลาตั้งแต่กลางปีที่แล้ว
ที่มา - Tech in Asia
ธนาคารไทยพาณิชย์เปิดแคมเปญ “SCB พร้อมเพย์ แท็กซี่เดลิเวอรี่พร้อมรับ” โดยได้ร่วมกับ 2 พันธมิตรในเครือข่ายรถแท็กซี่ ได้แก่ แกร็บแท็กซี่ (Grab), ออลไทย แท็กซี่ (All Thai Taxi) และ 2 พันธมิตรในเครือข่ายเดลิเวอรี่เซอร์วิส ได้แก่ สกู๊ตตาร์ (Skootar) และ อีท เรนเจอร์ (Eat Ranger) ให้ผู้ใช้บริการสามารถชำระค่าบริการผ่าน SCB พร้อมเพย์ แทนเงินสด บนแอพพลิเคชั่น SCB Easy
สำหรับรถบริการที่เข้าร่วมแคมเปญจะสังเกตได้จากสติกเกอร์ “SCB พร้อมเพย์” ที่บริเวณด้านหน้ารถ”
ในเมื่อประสบปัญหากฎหมายท้องถิ่น ก็ต้องให้คนท้องถิ่นที่เชี่ยวชาญมาช่วย Grab ประกาศแต่งตั้ง Badrodin Haiti อดีตผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติของอินโดนีเซีย ที่เพิ่งเกษียณไปเมื่อปีที่แล้ว ในตำแหน่ง President Commissioner of Grab Indonesia หรือประธานบอร์ดของ Grab Indonesia
Grab คาดหวังให้ Haiti เข้ามาดูแล ช่วยเหลือและให้คำแนะนำที่เกี่ยวข้องกับปัญหาด้านกฎหมายท้องถิ่น โดยปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ให้บริการเรียกรถในปัจจุบันคือความล่าช้าของกระบวนการขอใบอนุญาตและตรวจสภาพรถ สำหรับรถยนต์แต่ละคันที่จะนำมาให้บริการ จนเกิดเป็นความขัดแย้งย่อมๆ ระหว่างรัฐบาลและผู้ให้บริการ รวมถึงอาจเข้ามาช่วยกรณีความขัดแย้งกับผู้ให้บริการรถแท็กซี่และแอพเรียกรถท้องถิ่นของอินโดนีเซียด้วย
รัฐสภาสิงคโปร์กำลังพิจารณาร่างแก้ไขกฎหมายจราจรใหม่ ที่มีบทลงโทษคนขับรถให้กับแอพเรียกรถ (Ride-Sharing) อาทิ Uber และ Grab ที่นำรถยนต์ส่วนตัวมาให้บริการ, ไม่มีใบอนุญาตขับขี่ที่ถูกต้องและไม่มีประกันภัย
คนขับที่ถูกจับได้ว่าทำผิดตามกรณีข้างต้น อาจถูกแบนจากการให้บริการในลักษณะนี้ ขณะที่แอพที่มีคนขับทำผิดกฎครบ 3 ครั้ง อาจถูกพักหรือระงับการให้บริการ โดยตัวกฎหมายระบุให้คนขับรถต้องเข้าคอร์สอบรบ ตรวจสอบภูมิหลังและตรวจสุขภาพก่อนสอบใบขับขี่สำหรับให้บริการรถสาธารณะ ขณะที่รถที่นำมาให้บริการก็ต้องขึ้นทะเบียนกับกรมการขนส่งด้วยว่า เป็นรถส่วนตัวที่นำมาให้บริการรับจ้าง
Honda ประกาศว่าบริษัทได้ลงนามความร่วมมือและลงทุนเชิงกลยุทธ์ใน Grab เพื่อเน้นไปที่การพัฒนาบริการมอเตอร์ไซด์ GrabBike ให้ดีมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน Grab ให้บริการใน 34 เมือง 6 ประเทศ ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ บริษัทเพิ่งได้รับการเพิ่มทุนก้อนใหญ่จาก SoftBank เมื่อเดือนกันยายน ทำให้มีมูลค่ากิจการราว 3 พันล้านดอลลาร์
ก่อนหน้านี้ Toyota ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของญี่ปุ่นก็ประกาศลงทุนใน Uber สะท้อนว่าบรรดาผู้ผลิตรถยนต์ญี่ปุ่นก็เริ่มให้ความสำคัญกับบริการ Ridesharing มากขึ้น
Foodpanda เว็บไซต์ส่งอาหารจากร้านอาหารทั่วกรุงเทพ ประกาศความร่วมมือกับ Grab ประเทศไทย ร่วมให้บริการส่งอาหารทั่วกรุงเทพฯ และมีแผนจะขยายส่งในพื้นที่อื่นในอนาคตด้วย
เอ็มดีของ Foodpanda กล่าวกับ Tech in Asia ว่าเขากำลังลดระยะเวลาขนส่งเฉลี่ยต่อรายการให้ต่ำกว่า 36 นาทีในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา ด้านคู่แข่งในไทยตอนนี้นอกจาก Line Man แล้ว มีข่าวคราวของ UberEATS ที่เปิดตัวที่สิงคโปร์ไปเมื่อกลางปี และเริ่มรับสมัครทีมงานในไทยแล้ว ขณะเดียวกันโมเดลธุรกิจส่งอาหาร Grab ทำเองเต็มตัวที่อินโดนีเซียในนาม GrabFood ส่วน Foodpanda เอง เพิ่งถอนตัวจากอินโดนีเซีย และจะถอนจากเวียดนามในสิ้นปีนี้
ที่มา - Tech in Asia
Grab ได้ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ GrabChat สำหรับคนขับและผู้โดยสารใช้สื่อสารกัน โดยไม่จำเป็นต้องเสียเงินเพื่อโทรศัพท์หากัน ซึ่งฟีเจอร์นี้รองรับทั้ง GrabCar และ GrabTaxi ทั่วภูมิภาคอาเซียนที่ Grab ไปเปิดให้บริการ
บริษัทระบุว่าต้องการแก้ปัญหาการสื่อสารระหว่างชาวต่างชาติและเจ้าของรถ โดยตั้งเป้าพัฒนาให้แอพรองรับการแปลภาษาที่ใช้กันอยู่ในหลายประเทศตั้งแต่อังกฤษ, ไทย, บาฮาซาของมาเลเซีย, บาฮาซาของอินโดนีเซีย, จีน (ตัวย่อ) และเวียดนาม นอกจากนี้ฟีเจอร์ GrabChat เองยังมี tamplate ข้อความไว้ให้จำนวนหนึ่งด้วย เพื่อช่วยให้ไม่ให้คนขับเสียสมาธิจากการขับรถมากเกินไปด้วย
Grab สตาร์ทอัพแอพเรียกรถโดยสาร ประกาศรับเงินลงทุนรอบใหม่เพิ่มอีก 750 ล้านดอลลาร์ โดยมีกลุ่ม SoftBank เป็นแกนนำในการลงทุนครั้งนี้ ทำให้บริษัทได้รับเงินลงทุน รวม-แล้ว กว่า 1 พันล้านดอลลาร์ มีมูลค่ากิจการประเมินอยู่ราว 3 พันล้านดอลลาร์
Grab ระบุว่าเงินลงทุนรอบนี้จะนำมาขยายกิจการในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งเป็นฐานที่มั่นหลักของ Grab ที่ครองส่วนแบ่งตลาดไว้สูงสุดต่อไป
หนึ่งในผู้ลงทุนรายสำคัญของ Grab ก็คือ Didi Chuxing ผู้ให้บริการแอพเรียกรถโดยสารจากประเทศจีน ที่ Uber เพิ่งขายกิจการในประเทศจีนไป ขณะที่ปลายปีที่แล้วก็มีข่าว Didi รวมกลุ่มแอพเรียกแท็กซี่ในหลายประเทศเป็นเครือข่ายกัน ก็น่าจะพอให้เห็นภาพการแข่งขันที่มีแนวโน้มจะสูงขึ้นไปอีกครับ