หลายคนคงทราบดีอยู่แล้วว่าซอฟต์แวร์ที่อยู่เบื้องหลังความสำเร็จขององค์กรมากมายทั่วโลกก็คือ SAP แน่นอนว่าคงไม่มีใครปฏิเสธถึงความสำคัญ ที่ระบบ SAP จำเป็นต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ เพราะหากระบบ SAP ไม่พร้อมสำหรับบริการแล้ว ธุรกิจคงประสบปัญหาไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง แม้ความมีสเถียรภาพของโครงสร้างพื้นฐานจะเป็นเรื่องสำคัญ แต่ความมีประสิทธิภาพก็มีบทบาทไม่แพ้กัน โดยเฉพาะซอฟต์แวร์ in-memory database ที่องค์กรหวังพึ่งพาความเร็วนี้ให้ตอบสนองการตัดสินใจทางธุรกิจได้อย่างทันทีทันใด
อินเทลประกาศเซ็นสัญญาความร่วมมือกับ SAP เพื่อนำซอฟต์แวร์ธุรกิจของ SAP (เช่น SAP S/4HANA, SAP Business Suite, SAP Leonardo) มารันบนฮาร์ดแวร์ในศูนย์ข้อมูลของอินเทลให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
ฝั่งอินเทลจะนำซอฟต์แวร์ของ SAP มาปรับปรุงให้ทำงานบนซีพียู Xeon Scalable และหน่วยความจำ Intel Optane DC ให้ดีขึ้น โดยเฉพาะการรันแอพพลิเคชันบน SAP HANA ในหน่วยความจำ Optane ก็ช่วยให้การทำงานหลายๆ อย่างที่เกี่ยวกับข้อมูลจำนวนมาก มีความรวดเร็วขึ้นมาก
ที่มา - Intel
ด้วยรายได้จากตัวซอฟต์แวร์ที่ยังเพิ่มขึ้นรวมถึงการขยายตัวของฐานลูกค้าในกลุ่มคลาวด์ ทำให้ผลประกอบการของ SAP ยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 8 ติดต่อกัน ภาพรวมหลังผ่านไตรมาสที่ 2 (สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2017) คือ
SAP เตรียมยุติการให้บริการ SAP HANA Developer Edition ในวันที่ 15 กันยายน 2017 โดยอินสแตนท์เดิมทั้งหมดจะยังคงใช้งานต่อได้แต่ทาง SAP จะไม่เปิดให้สร้างอินสแตนท์ใหม่แล้ว
SAP HANA Developer Edition เป็นเวอร์ชั่นที่เปิดให้นักพัฒนาได้มีโอกาสเข้าไปศึกษาและทดลองพัฒนาแอพพลิเคชันบน SAP HANA โดยหลังจากนี้ทาง SAP แนะนำให้นักพัฒนาเปลี่ยนไปใช้งาน SAP HANA express edition (HXE) แทน ซึ่งสามารถใช้งานได้ทั้งผ่าน SAP Cloud Platform ที่เป็นระบบเว็บ บนคลาวด์ของ Azure, AWS หรือ Google Cloud Platform รวมถึงเวอร์ชันสำหรับดาวน์โหลดมาติดตั้งบนเครื่อง
กูเกิลประกาศความร่วมมือกับ SAP ในงาน Google Cloud Next 2017 หลายอย่าง ความร่วมมือหลักคือบริการคลาวด์ Google Cloud Platform (GCP) ได้รับการรับรอง (certified) ให้รันฐานข้อมูล SAP HANA อย่างเป็นทางการ โดยรองรับทั้งกรณีลูกค้ามีไลเซนส์แล้วนำมารันบน GCP และรุ่น Express Edition สำหรับนักพัฒนา
ส่วนอื่นในข้อตกลง เน้นการเชื่อมต่อกันระหว่างบริการของกูเกิลกับ SAP
การใช้งาน SAP HANA platforms บนเครื่อง IBM Power Systems ขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในองค์กรขนาดใหญ่ โดยทาง Nextech System Service เป็นผู้ให้บริการออกแบบ วางแผน และติดตั้ง SAP HANA บน IBM Power Systems ซึ่งมีประสิทธิภาพในการทำงานแบบเหนือชั้น
ค่าย SAP ลงมาบุกตลาด Internet of Things ด้วยผลิตภัณฑ์ชื่อยาวเหยียด SAP HANA Cloud Platform for the Internet of Things (ตัวย่อคือ HCP for IoT)
SAP HCP for IoT ทำตัวเป็นแพลตฟอร์มกลางสำหรับบริหาร device cloud โดยจะทำหน้าที่ทั้งบริหารจัดการระดับของอุปกรณ์และระดับของแอพพลิเคชัน มันจะกลายเป็นโครงสร้างพื้นฐาน (infrastructure) เพื่อให้ภาคธุรกิจสามารถนำข้อมูลที่ได้จาก IoT ไปใช้งานต่ออีกชั้นหนึ่ง (ซึ่งองค์กรที่ใช้ SAP อยู่แล้วก็สามารถเชื่อมต่อข้อมูลไปยัง SAP Business Suite 4 ได้เลย)
ในโอกาสนี้ SAP ยังประกาศความร่วมมือกับ Intel ในการพัฒนา HCP for IoT ให้ทำงานได้กับแพลตฟอร์ม IoT ของอินเทลด้วย
SAP เปิดตัวโมเดลการใช้ระบบฐานข้อมูลในหน่วยความจำ HANA ให้เช่าใช้งานรายเดือน โดยให้ลูกค้าสามารถซื้อได้สามรูปแบบ คือ Infrastructure Services เช่าเฉพาะเซิร์ฟเวอร์และใช้ไลเซนส์ที่มีอยู่แล้วมารันบนโครงสร้างของ SAP, DB Service มาพร้อมกับไลเซนส์ HANA สามารถเช่าใช้งานได้เลย, App Service วางแอพพลิเคชั่นบนโครงสร้างของ SAP สามารถขายบน Marketplace ของ SAP ได้อีกด้วย
เอชพีประกาศเปิดบริการฐานข้อมูลในหน่วยความจำ (in-memory database) ด้วยซอฟต์แวร์ SAP HANA ในศูนย์ข้อมูลของตัวเองในนิวซีแลนด์และออสเตรเลีย
ชื่อเต็มของบริการนี้คือ HP As-a-Service Solution for SAP HANA โดยคิดค่าบริการรายเดือนเพื่อเช่าใช้ทั้งไลเซนส์ซอฟต์แวร์และโครงสร้างพื้นฐานของเอชพี
บริการนี้มาคู่กับบริการ HP Migration Factory for SAP HANA ที่ให้บริการย้ายฐานข้อมูล ส่วนเซิร์ฟเวอร์นั้นจะใช้เซิร์ฟเวอร์ HP AppSystem for SAP HANA ที่เปิดตัวไปแล้วก่อนหน้านี้
เอชพียังไม่ระบุว่าจะเปิดบริการนี้ในประเทศอื่นๆ เมื่อไหร่ แต่แนวทางช่วงหลังของเอชพีก็คงพยายามหันไปให้บริการซอฟต์แวร์มากขึ้นเรื่อยๆ บริการนี้ก็น่าจะกระจายไปตลาดหลักอื่นๆ ต่อไป