Infineon บริษัทชิปจากเยอรมนีเปิดโรงานล่าสุด Kulim เน้นการผลิตชิปด้านพลังงานและยานยนตร์ โรงงานนี้เป็นโมดูลที่สองและมีแผนการสร้างโมดูลที่สามต่อไปทันที เมื่อเสร็จทั้งหมดจะทำให้โรงงานแห่งนี้กลายเป็นโรงงานชิปแบบเวเฟอร์ขนาด 200mm ใหญ่ที่สุดในโลก
โรงงานแห่งนี้จะผลิตชิปด้วยเทคโนโลยี wide-bandgap (WBG) โดยใช้ Silicon Carbide (SiC) และ Galium Nitride (GaN) เป็นวัสดุหลัก
การขยายโรงงานครั้งนี้อาศัยการยืนยันคำสั่งซื้อล่วงหน้าจากลูกค้าของ Infineon รวมมูลค่า 5,000 ล้านยูโร โดยจ่ายเงินมาก่อนแล้วพันล้านยูโร คาดว่าจะผลิตคืนได้ครบภายในปี 2030 ส่วนโรงงานเฟสสองจะใช้เวลาก่อสร้างอีก 5 ปี
TSMC ประกาศตั้งบริษัทลูกในยุโรปชื่อ European Semiconductor Manufacturing Company (ESMC) ร่วมกับบริษัทเซมิคอนดักเตอร์จากยุโรปอีก 3 รายคือ Bosch, Infineon, NXP (TSMC ถือหุ้น 70% ส่วนอีก 3 รายถือรายละ 10%) โรงงานจะตั้งอยู่ที่เมืองเดรสเดน ประเทศเยอรมนี
โรงงานแห่งนี้จะผลิตชิปจากแผ่นเวเฟอร์ขนาด 300mm โดยใช้เทคโนโลยีการผลิตระดับ 28/22nm และ 16/12nm เน้นฐานลูกค้ากลุ่มยานยนต์และภาคอุตสาหกรรม การก่อสร้างจะเริ่มช่วงครึ่งหลังของปี 2024 และเดินสายการผลิตได้จริงช่วงปลายปี 2027
บริษัทด้านเซมิคอนดักเตอร์ชั้นนำ 5 ราย ได้แก่ Bosch, Infineon, Nordic Semiconductor, NXP
Semiconductors, Qualcomm ประกาศร่วมทุน (joint venture) ตั้งบริษัทใหม่ในเยอรมนี เพื่อพัฒนาการใช้งานซีพียูสถาปัตยกรรม RISC-V ให้กว้างขวางขึ้น
บริษัทใหม่แห่งนี้ยังไม่มีชื่อ และไม่ได้บอกสัดส่วนหุ้นว่ารายไหนถือหุ้นเท่าไร บอกแค่ว่าจะเน้นซีพียู RISC-V สำหรับอุตสาหกรรมรถยนต์ก่อน แต่ระยะยาวจะขยายไปยังอุปกรณ์พกพาและ IoT ด้วย
Nikkei Asian Review อ้างแหล่งข่าวภายในของบริษัท Infineon Technologies สองคน ระบุว่าบริษัทได้หยุดส่งชิปให้หัวเว่ยตั้งแต่สัปดาห์ที่ผ่านมา หลังจากคำสั่งประธานาธิบดีทรัมป์สั่งแบนหัวเว่ยและบริษัทในเครือ
ตัว Infineon เองเป็นบริษัทเยอรมัน อย่างไรก็ดีคำสั่งของทรัมป์มีผลกระทบ เพราะ Infineon ใช้เทคโนโลยีสหรัฐฯ ในสัดส่วนที่สูงจนมีผลบังคับ หากไม่ทำตามก็อาจถูกแบนแบบเดียวกับที่หัวเว่ยถูกแบนเพราะข้อกล่าวหาว่าขายเทคโนโลยีสหรัฐฯ ให้อิหร่าน
ช่องโหว่ TPM ที่ผลิตโดย Infineon รายงานออกมาครั้งแรกว่ากระทบการยืนยันตัวตนของคอมพิวเตอร์จำนวนมาก ตอนนี้รายงานเพิ่มเติมออกมาว่าช่องโหว่แบบเดียวกันก็กระทบสินค้าในกลุ่ม secure element อื่นๆ ทำให้สินค้าอื่นได้รับผลกระทบไปด้วย
โมดูล TPM เป็นโมดูลที่ช่วยยืนยันความถูกต้องของเครื่องลูกข่าย และใช้ในกระบวนการเข้ารหัสดิสก์ที่แม้แต่ตัวระบบปฎิบัติการเองก็ไม่มีกุญแจถอดรหัส แต่โมดูล TPM จาก Infineon กลับมีช่องโหว่ในกระบวนการสร้างกุญแจทำให้กุญแจ RSA ที่ได้อ่อนแอกว่าที่ออกแบบไว้
ช่องโหว่จากการสร้างกุญแจที่อ่อนแอ ทำให้การเข้ารหัสดิสก์อาจถูกถอดรหัสได้ กระทบทั้ง Chrome OS และ Bitlocker ของวินโดวส์ ขณะที่ฟีเจอร์ Verified Access ของ Chrome OS ก็อาจะถูกโจมตีจากการปลอมตัวเป็นอุปกรณ์ที่ถูกต้อง
หลังจากอินเทลเข้าซื้อ McAfee กลายเป็นดีลประวัติศาสตร์ของปีนี้ ล่าสุดอินเทลได้เข้าซื้อกลุ่มธุรกิจโซลูชันไร้สายของ Infineon เป็นเงินประมาณ 1.4 พันล้านดอลลาร์ โดยซีอีโอของอินเทลให้เหตุผลว่า เนื่องจากความต้องการโซลูชันไร้สายเติบโตอย่างมาก การเข้าซื้อกลุ่มธุรกิจโซลูชันไร้สายของ Infineon จะทำให้การดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวกับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นเสาหลักอันที่สองของอินเทลนั้นแข็งแกร่งยิ่งขึ้น และทำให้อินเทลมีผลิตภัณฑ์ที่ครอบคลุมด้านการเชื่อมต่อไร้สาย คือตั้งแต่ Wi-Fi และ 3G จนถึง WiMAX และ LTE (4G)