สืบเนื่องจากสถานการณ์ของ AMD ที่ต้องปลดพนักงานลง 15% หนึ่งในหน่วยงานที่ถูกปลดก็คือฝ่ายพัฒนาบนลินุกซ์ โดยได้มีการยืนยันแล้วว่า AMD ได้ปิดศูนย์ปฏิบัติการ Operating System Research Center (OSRC) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่พัฒนาส่วนขยายของระบบปฏิบัติการณ์ลินุกซ์เกือบทั้งหมดของฝั่ง AMD ส่งผลให้นักพัฒนาที่มีอยู่ทั้ง 25 คนจะหยุดให้การสนับสนุนการพัฒนาในนามของ OSRC อย่างถาวร
ถ้ายังจำกันได้ เมื่อปี 2008 จีนเริ่มพัฒนาระบบซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของตัวเอง โดยใช้ซีพียูตระกูล Loongson หรือ Goson ที่พัฒนาขึ้นใช้เอง (โดยอิงบน MIPS อีกทีหนึ่ง)
เวลาผ่านมาหลายปี ตอนนี้ Loongson เดินทางมาถึงเวอร์ชัน 3 ในชื่อ Loongson-3 โดยข้างในเป็นสถาปัตยกรรม MIPS64 แบบควอดคอร์ ทำงานที่ 1GHz, ผลิตที่ 65 นาโนเมตร และมีอัตราการใช้พลังงาน TDP 15 วัตต์
ซีพียูตัวนี้กำลังจะตาม Loongson รุ่นพี่ๆ เข้าไปอยู่ในเคอร์เนลของลินุกซ์แล้ว (แน่นอนว่าเป็นฝีมือนักพัฒนาจีน มาจากบริษัทคอมพิวเตอร์ Lemote) ถึงแม้อาจเข้าไม่ทันเคอร์เนล 3.7 แต่ก็ยังน่าจะทันเคอร์เนล 3.8 สบายๆ ครับ
ซัมซุงเปิดซอร์สโค้ดของระบบไฟล์ตัวใหม่ชื่อ Flash-Friendly File System (F2FS) หน้าที่ของมันก็ตามชื่อครับ เป็นระบบไฟล์ที่ออกแบบมาสำหรับหน่วยความจำแบบ NAND flash
ระบบไฟล์ตัวนี้พัฒนาต่อจาก Log-structured File System (LFS) โดยแก้ปัญหาหลายๆ อย่างของ LFS
ซัมซุงเพิ่งส่งโค้ดของ F2FS เข้าไปยังเคอร์เนลของลินุกซ์ ก็ต้องรอกันต่อไปว่าทีมเคอร์เนลจะรับหรือไม่ ถ้าได้เข้าเคอร์เนลจริงๆ ก็เป็นสัญญาณอันดีว่าผู้ผลิตฮาร์ดแวร์ยี่ห้ออื่นๆ สามารถใช้ F2FS ได้ด้วย
Greg Kroah-Hartman นักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ประกาศว่าเคอร์เนลเวอร์ชัน 3.4 จะเป็นรุ่นที่ได้รับการดูแลนานเป็นพิเศษ (long term support) คืออย่างน้อย 2 ปี
แวดวงลินุกซ์นั้นมีธรรมเนียมการเลือกเคอร์เนลบางรุ่นเป็นรุ่น long term support เพื่อการันตีว่าผู้ที่นำเคอร์เนลเหล่านี้ไปใช้ จะไม่ต้องตามเปลี่ยนไปใช้เคอร์เนลรุ่นใหม่ๆ อยู่เสมอ โดยเคอร์เนลกลุ่มนี้ได้แก่ 2.6.32 (หมดอายุแล้ว), 3.0 (ต่ออายุอีก 1 ปี) และล่าสุดคือ 3.4
ส่วนเคอร์เนล 3.5 ถือเป็นเคอร์เนลระยะสั้นตามปกติ และจะได้รับการสนับสนุนจนกว่าเคอร์เนล 3.6.1 จะออกในไม่ช้านี้เท่านั้น
Linus Torvalds ประกาศออกเคอร์เนลลินุกซ์ 3.4 เรียบร้อยแล้ว
ของใหม่รุ่นนี้ได้แก่ ปรับปรุงการรองรับระบบไฟล์แบบ Btrfs, รองรับ ABI (application binary interface) ตัวใหม่ X32 ที่กำหนดให้เป็นมาตรฐานของลินุกซ์, รองรับซีพียู-จีพียูใหม่ๆ อย่าง NVIDIA Kepler, AMD Trinity, AMD Radeon HD 7xxx, Intel Medfield
อีกไม่นานเราคงเห็นมันเริ่มโผล่ในดิสโทรต่างๆ และตอนนี้เคอร์เนล 3.5 ก็เริ่มเข้าสู่กระบวนการพัฒนาแล้ว
Linux Foundation ออกรายงานสรุปสถิติของการพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์ ประจำปี 2011 ครอบคลุมช่วงการพัฒนาจากเวอร์ชัน 2.6.36 ถึง 3.2
สิ่งที่น่าสนใจที่สุดคงหนีไม่พ้น "ไมโครซอฟท์" ที่ในอดีตเคยตั้งตัวเป็นศัตรูกับโลกโอเพนซอร์ส กลับกลายมาเป็นบริษัทที่ส่งโค้ดเข้ามาร่วมพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์มากเป็นอันดับ 17 และเป็นครั้งแรกที่ไมโครซอฟท์ติด 20 อันดับแรก โดยโค้ดส่วนใหญ่ของไมโครซอฟท์เกี่ยวกับงาน virtualization ที่ทำให้ลินุกซ์ทำงานร่วมกับ Windows Server ได้ดีขึ้น
บริษัทที่ส่งโค้ดเข้ามาในเคอร์เนลมากเป็นอันดับหนึ่งในรอบปีล่าสุด ยังเป็นของ Red Hat ตามด้วย Intel, Novell, IBM, Texas Instruments อย่างไรก็ตามสัดส่วนของกลุ่มนักพัฒนาที่ส่งโค้ดเข้ามาเยอะที่สุดยังเป็นนักพัฒนาอิสระ 16.2%
ลินุกซ์เคอร์เนลออกรุ่น 3.3 แล้ว โดยของใหม่ที่สำคัญคือเริ่มรวมโค้ดจากเคอร์เนลของแอนดรอยด์เข้ามา
เคอร์เนลของแอนดรอยด์เป็นลินุกซ์เวอร์ชันที่กูเกิลแยกไปพัฒนาเอง และส่งโค้ดกลับเข้ามาตามหลักการโอเพนซอร์ส เพียงแต่นักพัฒนาเคอร์เนลลินุกซ์เองกลับเสียงแตกเรื่องการรวมโค้ดของแอนดรอยด์กลับเข้ามา ทำให้ต้องคุยกันอยู่นานจนกว่าจะลงตัว สรุปว่าเคอร์เนล 3.3 ถือเป็นรุ่นแรกที่นำโค้ดจากแอนดรอยด์เข้ามาบางส่วน และจะตามเข้ามาอีกในอนาคต
ของใหม่อย่างอื่นได้แก่ ปรับปรุงการรองรับระบบไฟล์ Btrfs, รองรับซอฟต์แวร์สวิตช์เสมือน Open vSwitch, รองรับการบูตจากเฟิร์มแวร์ EFI เป็นต้น รายละเอียดอ่านได้จาก Kernel Newbies
ออราเคิลทำระบบปฏิบัติการลินุกซ์ของตัวเองมาตั้งแต่ปี 2006 โดยนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาพัฒนาต่อ (ซึ่งไม่ผิดสัญญาอนุญาตตาม GPL) และขายในชื่อ Oracle Enterprise Linux (ภายหลังเปลี่ยนเป็น Oracle Linux เฉยๆ)
สิ่งสำคัญที่เพิ่มเข้ามาคือเคอร์เนลของ Oracle Linux ที่ออราเคิลปรับแต่งให้เหมาะสมกับการรันฐานข้อมูลของตัวเองมากขึ้น ตัวเคอร์เนลนี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Unbreakable Enterprise Kernel ซึ่งของเดิมพัฒนาอยู่บนเคอร์เนลเวอร์ชัน 2.6
วันนี้ (12 มกราคม 2012) เว็บไซต์ The H Online ได้รายงานว่าเคอร์เนลลินุกซ์รุ่น 3.3 ตัวล่าสุดที่อยู่ใน Git ของสายพัฒนาหลัก (main Linux development tree) มีซอร์สโค้ดเป็นจำนวน 15,046,951 บรรทัด ตัวเลขนี้นับรวมพวก comments, blank lines, documentation, scripts และ userland tools ที่รวมอยู่ในเคอร์เนลทั้งหมด เป็นครั้งแรกที่จำนวนบรรทัดของซอร์สโค้ดเคอร์เนลลินุกซ์ทะลุหลักตัวเลข 15 ล้าน นับเป็นจุดหลักสำคัญอีกครั้งของโครงการลินุกซ์
โครงการลินุกซ์นั้นที่จริงแล้วเป็นผู้ดูแลตัวเคอร์เนลเป็นหลัก และเมื่อวานนี้เคอร์เนลรุ่น 3.2 ก็ออกมาแล้ว โดยมีฟีเจอร์สำคัญๆ หลายอย่าง
ผ่านไปไม่นานหลังจากที่เข็นเคอร์เนล 3.0 ออกมา ตอนนี้เคอร์เนล 3.1 ก็ได้ปรากฏโฉมแล้ว
ของใหม่ไม่มีอะไรมากไปกว่าซัพพอร์ต NFC และไดร์เวอร์ Wiimote นอกจากนี้ก็เป็นการปรับปรุงซัพพอร์ต Ivy Bridge กับ Cedar Trail ให้ดีขึ้น และเพิ่มประสิทธิภาพระบบจัดการพลังงาน
ดาวน์โหลดเลยได้ที่ Github หรือจะรออัพเดททางดิสโทรต่างๆ ก็ย่อมได้ครับ
นี่อาจเป็นข่าวใหญ่ประจำปีของ Linux เลยก็ว่าได้ เมื่อเซิร์ฟเวอร์หลายตัวในโครงการ Linux Kernel ซึ่งเป็นแกนหลักของ Linux ทุกตัวบนโลก กลับถูกเจาะและฝังโทรจันไว้เป็นเวลานานกว่าครึ่งเดือนก่อนจะถูกตรวจพบ
เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ทีมงานคนหนึ่งในโครงการ ได้ตรวจพบโทรจันในเซิร์ฟเวอร์หลายตัวของโครงการ Linux Kernel จากการตรวจสอบพบว่า การบุกรุกนั้นเกิดขึ้นก่อนวันที่ 12 สิงหาคม โดยผู้บุกรุกได้เข้าระบบด้วยบัญชีที่ขโมยมา แล้วใช้ local exploit bug เพื่อทำให้ได้สิทธิ root มา
เคอร์เนลของลินุกซ์ออกรุ่น 2.0 เมื่อปี 1996 หรือ 15 ปีที่แล้ว จากนั้นเราก็อยู่ในสายของ 2.x กันเรื่อยมา (รุ่นเสถียรล่าสุดตอนนี้คือ 2.6.39)
แต่ปีนี้ Linus Torvalds เปลี่ยนระบบนับเลขเวอร์ชันกันใหม่ เริ่มขึ้นหลัก 3.0 ใหม่อีกครั้ง (ส่วนโครงสร้างของเคอร์เนลยังเหมือนเดิม - ข่าวเก่า) และเมื่อสักครู่นี้ เขาก็ประกาศออกรุ่นเคอร์เนล 3.0 ตัวจริงแล้ว
So there it is. Gone are the 2.6. days, and 3.0 is out.
หลังจากที่เคอร์เนลใช้เลขรุ่น 2.x มานานเป็นสิบปี Linus Torvalds ในฐานะผู้ตัดสินใจสูงสุดของโครงการพัฒนาเคอร์เนลของลินุกซ์ ได้อนุมัติการออกรุ่น 3.0 RC1 แล้ว
การเปลี่ยนแปลงในเคอร์เนล 3.0 RC1 ไม่ต่างอะไรจากรุ่น 2.6.x ตามปกติ คือเพิ่มไดรเวอร์และแก้บั๊ก โดย Linus บอกว่ารูปแบบการพัฒนาไม่มีอะไรเปลี่ยนไปจากเดิม เปลี่ยนเฉพาะเลขเวอร์ชันเท่านั้น อยากให้มองว่าเป็นการเปลี่ยนเพื่อฉลอง 20 ปีของลินุกซ์มากกว่า (ลินุกซ์รุ่นแรกสุดออกปี 1991)
ที่มา - ConceivablyTech
กระแสการใช้ชิปกราฟิกเพื่อการเร่งความเร็วซอฟต์แวร์เริ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง แต่นับจากนี้เราอาจจะได้ใช้ชิปกราฟิกตั้งแต่เริ่มบูตเครื่องเมื่อมีความพยายามจะใช้พลังของชิปกราฟิกตั้งแต่ในเคอร์เนล โดยโมดูล KGPU ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อทดสอบการใช้ GPU ในระดับเคอร์เนล
งานที่ GPU สามารถทำได้ดีนั้นมีอยู่หลายอย่างเช่นการประมวลผลเน็ตเวิร์ค ที่ GPU เช่น NVIDIA GTX 480 สามารถส่งต่อแพ็กเก็ตเน็ตเวิร์คได้ถึง 40Gbps มากกว่า CPU ปรกติถึง 4 เท่าตัว นอกจากนี้ยังมีงานประเภทการเข้ารหัส, อัลกอริทึมพื้นฐาน, การค้นหาข้อมูลในไฟล์, และบริการอื่นๆ