เรื่องที่น่าจะสำคัญที่สุดสำหรับนักพัฒนาเมื่อวานนี้ในงานประชุมประจำปีนักพัฒนาของ Microsoft คือการที่บริษัทตัดสินใจใส่ bash มาพร้อมกับ Windows 10 Annivarsary Update (ชื่อเต็มๆ อย่างเป็นทางการคือ Bash on Ubuntu on Windows) คำถามก็คือ ติดตั้งง่ายหรือไม่ และ Microsoft กับ Canonical ทำให้เป็นจริงได้อย่างไร?
ยุคนี้ แอพแชทหลายตัวเริ่มมีระบบบ็อตช่วยพูดคุยและตอบโต้กับผู้ใช้ (ตัวอย่างก่อนหน้านี้คือ LINE) ฝั่งไมโครซอฟท์ก็เปิดตัวระบบบ็อตสำหรับ Skype เช่นกัน
Skype Bots นำเสนอตัวเองผ่านการสนทนากับ Cortana ภายในแอพ Skype (นั่นคือเราจะมี Cortana เป็นผู้ช่วยส่วนตัวก่อน แล้ว Cortana จะเรียกบ็อตของบริการอื่นๆ ให้อีกที)
ไมโครซอฟท์ประกาศเพิ่มฟีเจอร์ชุดใหญ่ให้ Cortana และวางตัว Cortana เป็น "บริการข้ามแพลตฟอร์ม" ไม่ได้ผูกเฉพาะกับ Windows แต่สามารถใช้บน iOS/Android ได้ด้วย ซิงก์ข้อมูลทุกอย่างของเราได้อัตโนมัติ
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังเปิด API ของ Cortana ให้เชื่อมโยงกับแอพตัวอื่นๆ ได้แล้ว (ใช้ได้กับทุกแพลตฟอร์ม ไม่ใช่แค่บน Windows)
ที่งานประชุมนักพัฒนา BUILD 2016 ของ Microsoft ทางบริษัทได้ออกมาประกาศว่า Windows 10 อัพเดตใหม่ (เรียกว่า Anniversary Update) จะมาพร้อมกับ Bash ของ Linux อย่างเป็นทางการ
Microsoft ระบุว่าเป็นความร่วมมือกับ Canonical (ตามข่าวลือก่อนหน้าทุกประการ) โดยสร้าง Linux Subsystem เอาไว้ เพื่อให้นักพัฒนาและผู้ดูแลระบบระดับสูง สามารถใช้คำสั่งของ Linux ได้หลายตัว (ในการสาธิตคือ emacs)
ย้ำอีกครั้งว่าจะมาพร้อมกับ Anniversary Update ใหม่ครับ
ที่มา - งาน Build 2016
เว็บไซต์ ZDNet เผยว่า Microsoft และ Canonical ร่วมกันผนวก Ubuntu เป็นส่วนหนึ่งของ Windows 10 (ไม่ใช่ virtual machine) เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของนักพัฒนาแอพ โดยจะมีการกล่าวถึงความร่วมมือนี้ที่งาน BUILD 2016 คืนนี้
คาดว่า Ubuntu จะรันบน Linux subsystem ที่ถูกเพิ่มเข้ามาใน Windows 10 รุ่นทดสอบ 14251 โค้ดเนม Redstone แบบลับๆ โดยหากเป็นเช่นนี้จะหมายถึงว่าความร่วมมือนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการที่สองบริษัทร่วมกันทำ LXD container hypervisor ตั้งแต่ฤดูร้อนปีที่ผ่านมา และการรัน Ubuntu บน Windows 10 จะเฉพาะ Bash และเครื่องมือที่รันแบบ CLI อื่นๆ ไม่รวม Unity ด้วย
ต้องตามกันว่าที่ BUILD 2016 คืนนี้ Microsoft จะกล่าวถึงความร่วมมือทำให้รัน Ubuntu บน Windows 10 หรือไม่
ที่มา: ZDNet
หลังจากประกาศราคาของชุดพัฒนา HoloLens ในราคาแพงระยับถึง 3,000 เหรียญไปเมื่อปีก่อน วันนี้ไมโครซอฟท์ประกาศวันเปิดตัว HoloLens สำหรับนักพัฒนาอย่างเป็นทางการในวันที่ 30 มีนาคมนี้แล้ว
HoloLens รุ่นสำหรับนักพัฒนาที่เผยโฉมมาในบล็อกของไมโครซอฟท์ครั้งนี้หน้าตาต่างจากที่เคยเห็นพอสมควร ตัวแว่นใช้งานได้แบบไร้สาย ใช้ชิปประมวลผลจากอินเทล, หน่วยความจำ 64GB, แรม 2GB, รองรับ Wi-Fi ac, Bluetooth 4.1, USB 2.0 ใช้งานต่อเนื่องได้ 3 ชั่วโมง
Steven Guggenheimer ผู้ดำรงตำแหน่ง Chief Evangelist of Developer Experience จากไมโครซอฟท์ ได้เผยแพร่ข้อความผ่านทาง Twitter ว่าตั๋วลงทะเบียนงาน BUILD 2016 ได้ขายหมดภายในเวลา 1 นาที เร็วกว่าปีที่แล้ว ที่ทำไว้ 20 นาที
ส่วนผู้ที่อยากดูที่บ้านของตัวเอง ก็สามารถดูได้ผ่านเว็บ Channel 9 ของไมโครซอฟท์เอง
ที่มา - Steven Guggenheimer (Twitter) via The Verge
ไมโครซอฟท์เตรียมเปิดให้ลงทะเบียนงาน BUILD 2016 ในวันที่ 19 มกราคม เวลา 9 นาฬิกา ในเวลา Pacific Standard Time (UTC -8:00) ซึ่งค่าเข้างานอยู่ที่ 2,195 ดอลลาร์สหรัฐฯ (ประมาณ 79,000 บาท)
ในปีนี้งานจะจัดขึ้นที่ Moscone Center เมือง San Francisco รัฐ California วันที่ 30 มีนาคม ถึง 1 เมษายน ภายในงานจะมีการพูดถึงเครื่องมือและเทคโนโลยีในการช่วยผู้พัฒนาสร้างสรรค์ผลงาน
ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดได้ในที่มา
ที่มา - ไมโครซอฟท์
ผ่านพ้นกันไปกับงานแถลง Windows 10 ก็ถึงตาของงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาของทาง Microsoft อย่างงาน Build ที่จะมีขึ้นในวันที่ 29 เมษายนถึง 1 พฤษภาคม โดยเปิดให้ลงทะเบียนไปเมื่อวันที่ 22 มกราคมที่ผ่านมา ทว่าหลังจากเปิดให้ลงทะเบียนไปไม่ถึงชั่วโมงดี ทาง Microsoft ก็ออกมาเผยผ่านทางทวิตเตอร์ @bldwin ว่าตั๋วเข้างานหมดแล้ว
สำหรับสาเหตุที่ตั๋วเข้างานหมดในเวลาอันรวดเร็วนั้น คาดเดากันว่าเกิดจากการเปิดตัว HoloLens เมื่อวันที่ผ่านมา ซึ่งทำให้นักพัฒนาเกิดความสนใจกันมากเป็นพิเศษ
Microsoft กำหนดวันจัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนา Build 2015 ในวันที่ 29 เมษายนถึง 1 พฤษภาคมนี้ โดยจะเปิดให้ผู้สนใจเข้าร่วมงานเริ่มลงทะเบียนได้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม
งาน Build 2015 จะจัดขึ้นที่ Moscone Center ใน San Francisco โดยค่าตั๋วเข้างานนั้นตกคนละ 2,095 ดอลลาร์ ซึ่งเมื่อถึงกำหนด Microsoft จะเปิดให้ผู้สนใจเข้าไปลงทะเบียนได้ที่นี่
การลงทะเบียนนั้นจะเปิดให้ทำได้ 1 วันหลังการเปิดตัว Windows 10 ของ Microsoft
ที่มา - The Next Web