เก็บตกประเด็นจากงาน Build 2024 ประกาศอันหนึ่งที่น่าสนใจในงานคือ ไมโครซอฟท์บอกว่าการพัฒนาแอพแบบ Win32 บนวินโดวส์ จากนี้ไปจะแนะนำให้ใช้เครื่องมือสร้าง UI เพียงแค่ 2 ตัวคือ WPF (Windows Presentation Foundation) และ WinUI 3 เท่านั้น (ลาก่อน WinForms คือไม่ถึงขั้นไม่ยอมให้รัน แต่ไม่แนะนำให้ใช้แล้ว)
ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงาน Microsoft Build ในวันที่ 21 - 23 พ.ค. 2567 ที่ซีแอตเทิลและออนไลน์
Microsoft Build เป็นงานประชุมที่รวบรวมบรรดานักพัฒนาจากทุก ๆ สายงานทั่วโลก มาร่วมรับฟังวิสัยทัศน์และติดตามการเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ ๆ ของไมโครซอฟท์ ซึ่งจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยเราคงได้เห็นการเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ที่น่าสนใจใน Microsoft Cloud, Copilot, Azure AI, Fabric, Windows และเครื่องมืออื่น ๆ สำหรับนักพัฒนา
ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนา Microsoft Build ประจำปี 2023 ตั้งแต่วันที่ 23 พฤษภาคม ถึง 25 พฤษภาคม 2023 โดยมีเวิร์กชอปก่อนหนึ่งวัน ในวันที่ 22 พฤษภาคม
งานในปีนี้จัดรูปแบบออนไลน์ เฉพาะวันที่ 23-24 พฤษภาคม ส่วนแบบเข้าร่วมงานในสถานที่ In-Person จะจัดที่เมืองซีแอตเทิล ในวันที่ 23-25 พฤษภาคม ทั้งนี้ในปีที่แล้วงาน Build จัดในรูปแบบออนไลน์ และจำกัดผู้เข้าร่วมงานในสถานที่ ตามสถานการณ์การระบาดของโควิด 19
ผู้สนใจสามารถลงทะเบียนล่วงหน้าได้ที่นี่
ที่มา: The Verge
ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาประจำปี Microsoft Build 2021 ระหว่างวันที่ 25-27 พฤษภาคมนี้ ในรูปแบบออนไลน์ โดยยังไม่กำหนดวันเปิดลงทะเบียนเข้าร่วมงาน และยังไม่มีรายละเอียดเนื้อหาในงานปีนี้ (ข้อมูลเบื้องต้น)
Microsoft Build เป็นงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาของบริษัทเทคโนโลยีรายล่าสุด ที่ประกาศจัดงานในรูปแบบออนไลน์อีกหนึ่งปี ก่อนหน้านี้แอปเปิลประกาศจัดงาน WWDC21 ในรูปแบบออนไลน์เช่นกัน
อีกหนึ่งในงานที่ปกติจัดใช้เวลาใกล้เคียงกันคือ Google I/O ซึ่งปีที่แล้วได้ยกเลิกงานทั้งหมดไป ส่วนปีนี้ยังไม่มีรายละเอียดออกมา
งาน Microsoft Build 2020 ปีนี้จัดเป็นงานออนไลน์ และไมโครซอฟท์กำลังเปิดบริการออกมาชุดใหญ่ โดยหนึ่งในนั้นคือ Windows Terminal ที่ออกรุ่น 1.0 ถือเป็นรุ่นพร้อมใช้งานจริงจังรุ่นแรกนับแต่ไมโครซอฟท์ประกาศโครงการมา
แต่จุดที่เปลี่ยนเยอะกว่าคือ Windows Subsystem for Linux หรือ WSL ที่ประกาศจะรองรับ GPU ในการประมวลผล พร้อมกับรองรับแอป GUI จากลินุกซ์ได้โดยตรง ทำให้นักพัฒนาสามารถติดตั้งแอป GUI โดยไม่ต้องติดตั้ง X Server เพิ่มเติมอีกต่อไป
นอกจากการเพิ่มฟีเจอร์แล้ว WSL จะสามารถติดตั้งด้วยคำสั่ง wsl.exe --install
ใน command line ได้โดยตรง
ไมโครซอฟท์ปลอ่ย WinUI 3 Preview 1 รุ่นพรีวิวแรกหลังจากปล่อยรุ่นอัลฟ่าไปเมื่อเดือนกุมพาพันธ์ โดย WinUI 3 จะเป็นเวอร์ชั่นแรกที่รองรับทั้งแอปแบบเดสก์ทอปและ UWP (Universal Windows Platform)
ในเวอร์ชั่น Preview 1 มีการปรับเปลี่ยนเพิ่มเติมหลักคือรองรับ .NET 5 สำหรับการพัฒนาแอปแบบเดสก์ทอป, WebView2 ที่เพิ่งปรับไปใช้เอนจิน Chromium รองรับจอความละเอียดสูง
เวอร์ชั่นนี้ต้องการ Visual Studio 2019, version 16.7 Preview 1 สามารถดาวน์โหลดได้แล้วเช่นกัน
ที่มา - Windows Blog
ปีนี้ Microsoft ประกาศปรับ Build 2020 เป็นงานแบบออนไลน์ วันนี้ทางบริษัทก็ประกาศอย่างเป็นทางการว่างาน Build 2020 ครั้งนี้จะเปิดให้ลงทะเบียนฟรี เมื่อเทียบกับปีก่อน ๆ ที่ต้องจ่ายเงิน 2,395 ดอลลาร์ในการเข้าร่วมงาน
สำหรับรายละเอียดของงาน Build 2020 คือ Microsoft จะจัดงานในวันที่ 19-20 พฤษภาคมนี้ โดยจะยังคงจัดตารางงานเหมือนเดิม ตั้งแต่ไฮไลต์คืองานเปิดตัวสไตล์คีย์โน้ตจากซีอีโอ Satya Nadella และเวิร์คชอป 48 ชั่วโมงที่จัดผ่าน Twitch ซึ่งแม้ว่างานจะจัดออนไลน์และฟรี แต่ Microsoft ก็จะยังมีช่วง Q&A และอินเตอร์แอคทีฟให้ผู้ชมทางบ้านมีส่วนร่วมในงาน Build ด้วย
ในช่วงโรคระบาด งานสัมมนา อีเว้นท์ใหญ่ที่ตั้งมั่นจะจัดในช่วงนี้ก็ต้องพับโปรเจกต์และจัดออนไลน์แทน และงานล่าสุดที่ประกาศจัดเป็นออนไลน์คือ Microsoft Build ที่เน้นฝั่งนักพัฒนาซอฟต์แวร์ โดยกำหนดการเดิมของ Microsoft Build คือ จัดวันที่ 19-21 พ.ค. ที่ซีแอตเทิล
ไมโครซอฟท์ประกาศจัดงานสัมมนาประจำปี Build 2019 ในวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2019 ที่เมืองซีแอทเทิลเช่นเดิม สิ่งที่เป็นประเด็นเหมือนกับปีที่แล้วคือ จัดชนกับงาน Google I/O 2019 ในวันที่ 7-9 พฤษภาคม
ปีที่แล้ว Build จัดชนกับ Google I/O โดยเหลื่อมกันวันเดียวเช่นกัน และมีข่าวว่าตั๋วขายไม่หมดก็เพราะเหตุผลนี้ด้วยส่วนหนึ่ง
ทั้งไมโครซอฟท์และกูเกิลยังไม่เผยกำหนดการของงานตัวเอง แต่สิ่งที่น่าจับตาที่สุดในปีนี้คงหนีไม่พ้น Microsoft Edge เปลี่ยนมาใช้ Chromium
ที่มา - ZDNet
งานสัมมนาประจำปี Build 2018 ของไมโครซอฟท์กลับขายตั๋วไม่หมดในปีนี้ จากเดิมที่ปีก่อนๆ ขายหมดในเวลาเพียงไม่กี่นาที แต่งานปีนี้ยังสามารถซื้อตั๋วได้อยู่จากหน้าเว็บ
เหตุผลมาจากปัจจัยหลายข้อ ทั้งตารางจัดงาน (7-9 พฤษภาคม) ที่ชนกับงาน Google I/O (8-10 พฤษภาคม) เข้าเต็มๆ และค่าตั๋วที่ราคาแพงถึง 2,495 ดอลลาร์ แพงที่สุดที่ไมโครซอฟท์เคยจัดมา (Google I/O ค่าตั๋ว 1,150 ดอลลาร์)
เว็บไซต์ MSPoweruser ยังแสดงความเห็นว่า กระแสการพัฒนาแอพบน Windows ยังชะลอตัวลง เหตุเพราะไมโครซอฟท์ยังเข็นแพลตฟอร์ม UWP และ Microsoft Store ไม่ขึ้น ทำให้นักพัฒนามีความสนใจเข้าร่วมงานน้อยลงจากปีก่อนๆ
เทรนด์อย่างหนึ่งที่น่าสนใจในโลกการประมวลผลยุคคลาวด์คือ เราไม่จำเป็นต้องเปิดเซิร์ฟเวอร์ค้างไว้เพื่อรอประมวลผลอีกต่อไป มีงานประเภทใหม่ๆ ที่เราสามารถประมวลผลแบบ event-based เฉพาะเมื่อเกิดเหตุการณ์ตามที่กำหนดเท่านั้น (แปลว่าไม่คิดเงินค่าใช้งานตามเวลา แต่คิดตามจำนวนรีเควสต์แทน) แนวทางนี้เรียกกันว่า serverless
ผู้ให้บริการคลาวด์รายใหญ่ต่างมีบริการลักษณะนี้ ไม่ว่าจะเป็น Amazon Lambda, Google Cloud Functions และ Microsoft Azure Functions
ในอดีต ไมโครซอฟท์เคยสัญญาว่าเกมบน Xbox One จะรองรับเมาส์และคีย์บอร์ด ความฝันนี้ใกล้เป็นจริงแล้ว
ในงาน Build 2017 มีหัวข้อหนึ่งที่พูดถึงการพัฒนาเกมแบบ UWP เพื่อให้รันได้ทั้งบน Windows 10 และ Xbox One โดยการสร้างเกมข้ามแพลตฟอร์มแบบนี้ เกมฝั่งวินโดวส์มักต้องใช้คีย์บอร์ดเพื่อการแชทคุยกันระหว่างผู้เล่น พอนำไปลง Xbox One ที่ไม่รองรับคีย์บอร์ด จึงกลายเป็นข้อจำกัดของนักพัฒนา
นโยบายของไมโครซอฟท์คือเกมที่สร้างด้วย UWP จะรองรับคีย์บอร์ดในตัว แต่ยังไม่รวมถึงเมาส์ ที่มีแผนจะรองรับเมาส์เพียงบางรุ่นก่อน แล้วค่อยขยายไปยังเมาส์ทุกรุ่นในอนาคตที่ยังไม่ระบุเวลา
ที่งาน Build 2017 ไมโครซอฟท์สาธิตเดโมของ Windows 10 on ARM ที่เคยประกาศข่าวไว้เมื่อปลายปี
หน้าตาของ Windows 10 on ARM คงไม่มีอะไรต่างไปจาก Windows 10 บนซีพียู x86 ตามปกติ แต่ข้อมูลที่สำคัญคือมันสามารถรันโปรแกรมแบบ x86 ได้ด้วย (ใช้วิธีรันบนอีมูเลเตอร์อีกทีหนึ่ง) ในคลิปเป็นการสาธิตแอพ 7Zip ที่คอมไพล์มาแบบ x86 โดยไม่ต้องแก้ไขโค้ดใดๆ
ตัวอีมูเลเตอร์ที่ใช้แปลงโค้ด x86 เป็น ARM เป็นตัวเดียวกับที่แปลงโค้ด x86 แบบ 32 บิทมารันบนซีพียู x86 แบบ 64 บิท (สำหรับแอพที่เขียนด้วย UWP และเผยแพร่ผ่าน Store จะถูกคอมไพล์เป็น ARM โดยตรงอยู่แล้ว ไม่ต้องผ่านอีมูเลเตอร์ตัวนี้)
ในโลกของไมโครซอฟท์มีภาษา XAML (อ่านว่า "ซาเมล") สำหรับบรรยาย UI แยกจากส่วนของโค้ดโปรแกรม ภาษา XAML ถูกสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัย .NET 3.0 และถูกใช้งานอย่างแพร่หลาย
ในยุคถัดมา XAML ถูกนำมาใช้กับการพัฒนาโปรแกรมบนแพลตฟอร์มอื่นที่ไม่ใช่ .NET เช่น Windows Phone (ปัจจุบันคือ UWP) หรือ Xamarin.Forms ของค่าย Xamarin (สมัยยังไม่ถูกไมโครซอฟท์ซื้อ) ปัญหาที่เกิดขึ้นคือแต่ละแพลตฟอร์มก็สร้างแท็ก XAML เฉพาะของตัวเองที่ใช้งานร่วมกันไม่ได้ สร้างความยุ่งยากให้กับนักพัฒนา
ข้อจำกัดของการเขียนแอพ iOS ในปัจจุบันคือเราจำเป็นต้องใช้แมคเพื่อเชื่อมต่อกับ iOS ในการรันและทดสอบแอพบนเครื่องจริง อย่างไรก็ตาม ในงาน Build 2017 เมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์ก็ทำลายข้อจำกัดนี้แล้วด้วย Xamarin Live
Xamarin Live เป็นแอพที่ติดตั้งบน iOS/Android ให้เราสามารถส่งไฟล์ไบนารีของแอพจาก Visual Studio ไปรันบนสมาร์ทโฟนได้แบบไม่ต้องต่อสาย
ขั้นตอนการทำงานคือเราต้องเชื่อมต่อ (pair) ฝั่งของ Visual Studio กับแอพ Xamarin Live บนมือถือก่อนด้วยการสแกน QR Code เมื่อจับคู่กันเสร็จแล้ว Xamarin Live จะพรีวิวโค้ดของเราบนหน้าจอสมาร์ทโฟน เมื่อเราแก้ไขโค้ด แอพบนหน้าจอ Xamarin Live ก็จะเปลี่ยนแปลงแบบเรียลไทม์
ไมโครซอฟท์ประสบความสำเร็จอย่างสูงกับโครงการ Windows Insider จนขยายมาเป็น Office Insider และ Xbox Insider ด้วยในภายหลัง
ล่าสุดไมโครซอฟท์ประกาศในงาน Build 2017 ว่าจะส่ง Windows Server ระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์เข้ามาร่วมโครงการ Windows Insider ด้วยในช่วงฤดูร้อนกลางปีนี้ โดยผู้ใช้ Windows Insider สามารถทดสอบ Windows Server เวอร์ชันหม่ล่าสุดได้เช่นเดียวกับ Windows 10
ไมโครซอฟท์ยังประกาศฟีเจอร์ใหม่ให้ Windows Server ประกอบด้วย Windows Subsystem for Linux (WSL) on Windows Server, การปรับเวอร์ชัน Nano Server ให้ทำงานร่วมกับ Container และ Container Orchestration/Storage โดยทั้งหมดจะให้ทดสอบกันผ่านโครงการ Insider
หลังจากไมโครซอฟท์ปรับทิศทางของ .NET เป็นโอเพนซอร์ส และออก .NET Core 1.0 เมื่อช่วงกลางปีที่แล้ว หนึ่งปีผ่านไปก็ได้เวลาของ .NET Core 2.0
.NET Core 2.0 ยังมีสถานะเป็นรุ่น Preview 1 โดยออกมาพร้อมกับ ASP.NET Core 2.0 Preview 1 และ Visual Studio 2017 Preview 15.3
ไมโครซอฟท์ยังเดินหน้าเต็มสูบกับ Microsoft Teams ที่กำลังกลายเป็นศูนย์กลางใหม่ของการทำงานบน Office 365 (ไม่รู้เอา Yammer ไปทิ้งไว้ไหนแล้ว) ล่าสุดในงาน Build 2017 ไมโครซอฟท์ก็เปิดให้นักพัฒนาเขียนแอพเชื่อมต่อกับ Teams และส่งมาเผยแพร่บน Office Store ได้แล้ว
ในงาน Build 2017 วันแรกเมื่อคืนนี้ ไมโครซอฟท์ประกาศขยายความสามารถให้ Cortana เปิดให้นักพัฒนาภายนอกเข้ามาเชื่อมต่อได้ (สักที)
ฟีเจอร์นี้เรียกว่า Cortana Skills (ชื่อและแนวคิดเหมือนกับ Alexa Skills ของฝั่ง Amazon) สามารถใช้งานได้กับ Cortana ข้ามแพลตฟอร์ม ทั้งบน Windows 10, Android, iOS รวมถึง Cortana ที่ฝังอยู่บนฮาร์ดแวร์อย่างลำโพง Harman Kardon Invoke และในอนาคตจะมีฮาร์ดแวร์จาก HP กับ Intel ตามมา
ตัวอย่าง Skills ในตอนนี้ก็เช่น สั่งพิซซ่าจาก Domino's, ถามสูตรอาหารจาก Food Network เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ฟีเจอร์ Skills ยังใช้งานได้เฉพาะในสหรัฐอเมริกาเท่านั้น
งาน Microsoft Build 2017 วันแรกเริ่มต้นด้วยคีย์โน้ตของ Satya Nadella ซีอีโอของไมโครซอฟท์ ขึ้นมาแสดงวิสัยทัศน์ใหม่ของไมโครซอฟท์ (next phase) ว่ากำลังเข้าสู่ช่วงเปลี่ยนผ่าน (paradigm shift) จาก Mobile First, Cloud First ไปสู่ Intelligent Cloud, Intelligent Edge ที่เน้นไปที่คลาวด์, ปัญญาประดิษฐ์และ IoT มากยิ่งขึ้น
ไมโครซอฟท์ประกาศวันจัดงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนา Build ประจำปี 2017 เป็นวันที่ 10-12 พฤษภาคม โดยรอบนี้ย้ายจากซานฟรานซิสโก ไปจัดที่เมืองซีแอทเทิล ใกล้กับสำนักงานใหญ่ของไมโครซอฟท์
ช่วงหลังไมโครซอฟท์ใช้เวที Build แถลงข่าวสำคัญๆ ของแพลตฟอร์ม Windows และเครื่องมืออื่นๆ สำหรับนักพัฒนา ต้องรอดูว่าปีนี้ Build จะมีอะไรให้ติดตามกันบ้าง
นอกจากนี้ ไมโครซอฟท์ยังปรับเปลี่ยนชื่องานสัมมนาอื่นๆ ของตัวเอง ดังนี้
ไมโครซอฟท์ออก Skype SDK ใหม่สองตัว เพื่อให้เราสามารถ "ฝัง" หน้าจอสนทนาผ่าน Skype ลงในเว็บเพจหรือแอพใดๆ ก็ได้
ตัวอย่างการใช้งานที่ไมโครซอฟท์นำมาโชว์คือแอพ MDLive ที่เปิดให้ผู้ป่วยคุยกับแพทย์ผ่านแอพ ด้วยเทคโนโลยีของ Skype ตามภาพ
Microsoft ประกาศจับมือกับ Wacom ทำปากกาที่ใช้ได้กับทุกพีซีที่รองรับปากกา และรองรับแพลตฟอร์ม Windows Ink ซึ่งจะมากับ Windows 10 Anniversary Update โดยน่าจะวางขายปากกาดังกล่าวในช่วงปลายปีนี้
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่ทั้งสองบริษัทร่วมงานกัน เพราะทั้งสองเคยร่วมกันพัฒนาปากกาให้ Surface Pro กับ Surface Pro 2 ก่อนที่ Microsoft จะแยกวงไปร่วมกับ N-Trig ทำปากกาให้ Surface Pro 3 เป็นต้นมา และเข้าซื้อเทคโนโลยี N-Trig ในที่สุด ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกคนที่ชอบปากกา N-Trig เพราะปากกา N-Trig เน้นงานจดบันทึกมากกว่างานวาดเขียนศิลปะ ที่ต้องเน้นความแม่นยำสูงกว่าและปากกา Wacom ให้ได้
ที่มา: The Next Web, Windows Experience Blog
ไมโครซอฟท์เพิ่งซื้อ Xamarin เมื่อเดือนที่แล้ว ในงาน Build 2016 วันที่สอง ก็มีข่าวใหญ่ที่หลายคนรอคอย
เว็บไซต์ ZDNet ได้ข้อมูลแผนการพัฒนาเว็บเบราว์เซอร์ Edge ของไมโครซอฟท์ จากการนำเสนอในงาน Build พบว่า Edge กำลังจะมีฟีเจอร์ใหม่หลายอย่าง (บางอย่างเคยมีใน IE แต่หายไปตอน Edge ออกใหม่ๆ)
ที่มา - ZDNet