ช่วงหลังๆ มานี้ โปรแกรมบน Android เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจนเลือกไม่ถูก ในโอกาสที่เว็บไซต์ 2 แห่งพร้อมใจกันรีวิวโปรแกรมด้านการแพทย์บน Android โดยมิได้นัดหมาย ผมเลยเอามาแนะนำต่อครับ
เริ่มจาก Talk Android แนะนำโปรแกรมด้านการแพทย์สำคัญๆ 5 ตัว ที่ผมว่าน่าสนใจและชาวบ้านๆ แบบเราใช้กันได้คือ First Aid คู่มือปฐมพยาบาลเบื้องต้น และ Epocrates ฐานข้อมูลยาแบบมีภาพประกอบ (คือรู้แค่ชื่อยาแล้วมาหาข้อมูลต่อในนี้ได้) ที่เหลือเป็นโปรแกรมเฉพาะทางสำหรับผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้
แม้ตัวเลขที่แต่ละแพลตฟอร์มมักใช้มาข่มกันคือจำนวนแอพลิเคชั่นในตลาด แต่อีกประเด็นที่น่าสนใจคือตลาดไหนของถูกกว่ากัน ในประเด็นนี้บริษัท Distimo ที่ให้บริการสำรวจตลาดก็แสดงผลออกมาแล้วปรากฏว่า Android Market ชนะในเรื่องของสัดส่วนแอพลิเคชั่นฟรี
รายงานฉบับนี้พูดถึงแง่มุมต่างๆ อยู่มากมาย แต่ประเด็นที่สำคัญคือ Android Market นั้นมีแอพลิเคชั่นฟรีถึง 57% เทียบกับ Apple App Store ที่มีเพียง 28%, Blackberry 26%, Nokia Ovi 26%, Palm App Catalog 34%, และ Windows Marketplace 22%
สงครามมือถือที่ร้อนแรง โดยเฉพาะคู่ iPhone vs Android ซึ่งเห็นได้บ่อยๆ ว่าทั้งสองค่ายต่างขุดตัวเลขมาบลัฟกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนโปรแกรมหรือจำนวนนักพัฒนา
แต่การสำรวจล่าสุดของเว็บไซต์ AppStoreHQ ซึ่งมีฐานข้อมูลของโปรแกรมบนมือถือจำนวนมาก ได้ตัวเลขออกมาดังนี้
แม้ว่าตัวเลข 1,412 จะดูน้อยเมื่อเทียบกับยอดรวม แต่ทาง AppStoreHQ ได้วิเคราะห์เชิงคุณภาพด้วย และพบว่านักพัฒนากลุ่มนี้คือรายใหญ่อย่าง Gameloft, Facebook, AOL, Amazon, Warner Brothers, Yelp, Intuit, PayPal และ The New York Times
ไมโครซอฟท์ได้โชว์ฟีเจอร์ปลดล็อกเกมจากโหมดทดลองใช้บน Windows Phone 7 ช่วยให้ผู้ใช้สามารถอัพเกรดเกมจากเวอร์ชั่นทดลองใช้ไปเป็นเวอร์ชั่นเต็มได้ในเกมนั้นเลยโดยไม่ต้องดาวน์โหลดใหม่ ซึ่งแตกต่างจากแอปเปิลและ Android ที่เมื่อผู้ใช้สั่งซื้อเกมแล้วจะต้องดาวน์โหลดเวอร์ชั่นเต็มแยกต่างหาก
นอกจากนั้น นักพัฒนายังสามารถสร้างโซลูชั่นแบบ subscription based services ที่ผู้ใช้สามารถจ่ายเงินเพิ่มเพื่อให้สามารถใช้งานฟีเจอร์ในแอพพลิเคชั่นได้มากกว่าผู้ใช้ทั่วไปที่ไม่ได้จ่ายเงินเพิ่มได้
ใครสนใจลองเข้าไปศึกษา API ชื่อ LicenseInfo ได้ครับ
ข่าวก่อนหน้านี้ กูเกิลติดต่อ-ชักจูงนักพัฒนา iPhone ให้ย้ายมา Android เครื่องมือที่กูเกิลใช้คือแจก Nexus One ให้นักพัฒนาฟรี
มาถึงคิวของไมโครซอฟท์บ้าง คราวนี้ไมโครซอฟท์ควักเงินมาล่อเลยทีเดียว เรื่องมีอยู่ว่านักพัฒนาโปรแกรมบน iPhone คนหนึ่ง เปิดเผยกับเว็บไซต์ PocketGamer.biz ว่าเขาได้รับการติดต่อจากไมโครซอฟท์ ให้พอร์ตโปรแกรมไปลง Windows Phone 7 โดยจะได้รับค่าตอบแทนในการพอร์ต
ทางสถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (บางคนอาจรู้จักในชื่อ TRIDI เป็นองค์กรลูกของ กทช.) ฝากมาช่วยประชาสัมพันธ์แบบสอบถามด้าน mobile application ในไทย แถวนี้น่าจะมีอยู่เยอะ ถ้าใครอยากให้ภาครัฐรับรู้ปัญหา หรือมีไอเดียนำเสนอ นี่คือโอกาสทองครับ
แบบสอบถามปัญหาของนักพัฒนา mobile application ไทย
แบบสอบถามนี้จัดทำโดย สถาบันวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมโทรคมนาคม (TRIDI) มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมปัญหาต่างๆ ที่นักพัฒนา application ไทยประสบอยู่ เพื่อจะได้กำหนดมาตรการส่งเสริมการพัฒนา mobile application โดยคนไทยให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
ทุกวันนี้เราอยู่ในโลกยุค mobile application กันอย่างไม่มีข้อกังขา แต่ถ้าถามว่า mobile app ตัวไหนได้รับความนิยมสูงสุด อาจตอบยากสักนิด ตอนนี้สำนักวิจัย Nielsen ให้คำตอบมาแล้วว่าเป็น Facebook
โปรแกรม Facebook บนมือถือได้รับความนิยมสูงสุดบน iPhone, BlackBerry และสมาร์ทโฟนอื่นๆ จะมีแค่บน Android เท่านั้นที่พ่ายให้กับ Google Maps (ซึ่งเป็นอันดับสองในแพลตฟอร์มอื่นๆ) โปรแกรมที่ได้รับความตามมาเป็นอันดับสามและสี่คือ Weather Channel และ Pandora
นอกจากนี้ยังมีข้อมูลอื่นๆ เช่น 21% ของคนอเมริกันมีสมาร์ทโฟนใช้แล้ว, 14% ของผู้ใช้มือถือเคยดาวน์โหลด app ในรอบ 30 วัน, เจ้าของสมาร์ทโฟนมี app เฉลี่ย 22 ตัว ถ้าเป็นมือถือธรรมดาจะมี 10 ตัว
AllThingsD รายงานว่า ในวันจันทร์ที่จะถึงนี้ (ตามเวลาในสหรัฐฯ) โนเกียและยาฮูจะประกาศจับมือเป็นพันธมิตรกันใน Project Nike โดยโครงการดังกล่าวโนเกียจะเพิ่มแอพพลิเคชั่นและบริการของยาฮูลงมือถือ
ยาฮูนั้นเป็นบริษัทเดียวในบรรดาสามบริษัทชั้นนำอย่างไมโครซอฟท์และกูเกิลที่ไม่ได้เน้นทำแอพพลิเคชั่นและบริการเข้าสู่ตลาดมือถือมากนัก หากข่าวนี้เป็นจริงก็ถือว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญครั้งหนึ่งของยาฮูเลยก็ว่าได้
ที่มา: AllThingsD
ทวิตเตอร์ได้อัพเดทโปรแกรมสำหรับแบล็คเบอร์รี่แล้ว ขณะนี้ยังเป็นเวอร์ชั่นเบต้าอยู่ มีรายละเอียดดังนี้
NTT DoCoMo ได้โชว์โปรแกรมสร้างอีเมลอัตโนมัติบนมือถือโดยใช้ข้อมูลเสียง ในงาน Wireless Technology Park 2010 เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยผู้ใช้จะป้อนข้อมูลเป็นเสียงไม่เกิน 3 คำลงไป (อาทิ "ไปสาย 10 นาที") แล้วโปรแกรมจะแปลงเป็นข้อความและใส่ลงในอีเมลที่สร้างขึ้นตามสถานะทางสังคมระหว่างผู้ส่งและผู้รับ อาทิ หากผู้รับเป็นเพื่อนหรือพ่อแม่กับผู้ส่ง โปรแกรมก็จะสร้างข้อความที่มีความเป็นกันเอง แต่หากเป็นเจ้านาย โปรแกรมก็จะสร้างข้อความที่มีความเป็นทางการ
ลองดูการสาธิตการทำงานได้จากคลิปวีดีโอท้ายข่าว
David Pogue คอลัมนิสต์ของหนังสือพิมพ์ The New York Times ระบุว่ามีนักพัฒนาโปรแกรมบน iPhone คนหนึ่ง (เจ้าของโปรแกรม Texts From Last Night) ได้เขียนเมลมาเล่าว่า เขาได้รับการติดต่อจากกูเกิล
คนของกูเกิลที่ว่าบอกว่าอยู่ในทีม Android Advocacy Group และต้องการคุยกับนักพัฒนาคนนี้ เพื่อชักชวนให้เขาพอร์ตโปรแกรมไปลง Android และยินดีมอบ Nexus One ให้ฟรีหนึ่งเครื่องเพื่อทดสอบโปรแกรม
นักพัฒนาคนนี้ยังได้เปรียบเทียบวิธีการของกูเกิลกับแอปเปิลว่า ในขณะที่กูเกิลใช้คนมาติดต่อเป็นการเฉพาะ และมอบมือถือให้ฟรี แต่แอปเปิลกลับไม่ได้ทำอะไร ทั้งที่โปรแกรมของเขาขึ้นอันดับ 7 ในกลุ่ม paid app แถมยังพิจารณาโปรแกรมของเขาถึงสามเดือน
แม้ว่าวัดกันที่จำนวน โปรแกรมของ Android หลักหมื่นจะน้อยกว่าโปรแกรม iPhone หลักแสนมาก แต่อัตราการเติบโตของ Android กลับไม่ธรรมดา สามารถทำให้แอปเปิลหนาวๆ ร้อนๆ ได้เหมือนกัน
ล่าสุดเดือนมีนาคม Android มีโปรแกรมใหม่ 9,331 ตัว ฟังดูไม่เยอะนัก แต่ถ้าเทียบกับเดือนมกราคม มีโปรแกรมใหม่ 4,458 และเดือนกุมภาพันธ์ มีโปรแกรมเกิดใหม่ 5,532 ตัว ถือว่าเพิ่มจำนวนขึ้นด้วยอัตราเร่งสูงมาก
ปัจจุบัน Android มีโปรแกรมทั้งหมด 27,243 ตัว ตามสถิติของ AndroidLib.com แต่โฆษกของกูเกิลเคยให้สัมภาษณ์เมื่อเดือนที่แล้วว่ามีโปรแกรมเกิน 30,000 ตัวแล้ว
ที่มา - ReadWriteWeb
หลังเปิดตัว iPad อย่างเป็นทางการเรียบร้อย เว็บไซต์หลายแห่งก็เริ่มออกคู่มือ, คำแนะนำ, รายชื่อโปรแกรมสำหรับ iPad เพื่อให้เจ้าของเครื่องได้เล่นสนุกกัน คราวนี้เป็นรายชื่อโปรแกรมใน App Store ที่ทาง TechCrunch แนะนำว่าน่าสนใจ
ผมคัดมาเฉพาะรายชื่อ ดูหน้าตาของโปรแกรมและลิงก์ได้จากที่มาครับ
อ่านข่าวนี้แล้ว ควรอ่านข่าว ตลาด Mobile Cloud Computing จะมีมูลค่า 9.5 พันล้านดอลลาร์ในปี 2014 กับ ตลาดแอพลิ เคชั่นอิงตำแหน่งจะมีมูลค่ากว่าสี่แสนล้านบาทในปี 2014 ควบคู่กันไปด้วย ข้อมูลมาจากคนละสำนัก แต่เนื้อหาใกล้เคียงกัน
ข้อมูลนี้มาจาก GetJar ร้านขายโปรแกรมบนมือถือที่ (อ้างว่า) ใหญ่เป็นอันดับสองของโลก ประเมินว่าตลาดแอพพลิเคชันบนมือถือปัจจุบันมีขนาดประมาณ 4 พันล้านดอลลาร์ (ปี 2009 ทั้งปี) และจะโตขึ้นเป็น 17.5 พันล้านดอลลาร์ภายในสามปี (2012)
ไม่ได้ถูกสแปมบุกเว็บ แต่นี่เป็นข่าวเกี่ยวกับโปรแกรมที่ชื่อว่า Car Locator ที่เขียนโดยนาย Edward Kim ที่ลาพักร้อนอยู่กับครอบครัวเมื่อห้าเดือนก่อน จนได้เป็นโปรแกรมส่งขึ้น Market ในเวลาต่อมา
Car Locator มีราคาในช่วงเริ่มต้นที่ 1.99 ดอลลาร์ และปรับเป็น 3.99 ในเวลาต่อมา Kim พบว่าการขึ้นราคาเท่าตัวไม่ได้ส่งผลกระทบต่อยอดขายนัก แต่จุดสำคัญของความสำเร็จคือการได้ขึ้นเป็น Featured App ส่งผลให้ยอดขายจากวันละ 80-100 ดอลลาร์กลายเป็นเฉลี่ย 435 ดอลลาร์ต่อวันทันที ส่วนวันที่ขายดีที่สุดคือวันวาเลนไทน์ (คนใช้ Android ไม่ไปเดทกัน?) มียอดขายถึง 772 ดอลลาร์ในวันเดียว รวมรายได้ในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมาเขามีรายได้กว่า 13,000 ดอลลาร์ หรือ 425,000 บาทภายในเดือนเดียว
บริษัท AdMob ซึ่งเป็นผู้นำด้านโฆษณาในโปรแกรมบนมือถือ (ปัจจุบันเป็นของกูเกิลไปแล้ว) เปิดเผยสถิติที่เก็บได้จากโปรแกรมที่ลงโฆษณา
สถิติบอกว่าคนใช้ iPod touch โหลดโปรแกรมมากที่สุด เฉลี่ย 12.1 ตัวต่อเดือน ตามมาด้วย iPhone ซึ่งเฉือน Android เล็กน้อย และ Palm webOS ตามลำดับ
สัดส่วนของโปรแกรมจ่ายเงินกับโปรแกรมฟรีก็เป็นไปตามที่คาด คือยังไม่เยอะมาก อย่างในกรณีของ iPod touch มีคนเสียเงินโปรแกรมเพียง 1.6 ตัวต่อเดือนเท่านั้น (จากทั้งหมด 12.1 ตัว) ตัวเลขอื่นๆ ดูได้จากกราฟครับ
ที่มา - AdMob
เมื่อวานนี้ผมได้รับเชิญจาก True ให้ไปร่วมงานแถลงข่าวผลงานของ True App Center หลังจากเปิดมาได้ประมาณครึ่งปี เลยได้คุยถึงทิศทางวงการ mobile app ของไทย และยังได้ถามคำถามที่หลายๆ คนอยากรู้ ไม่ว่าจะเป็น iPad หรือ Android
ผู้บริหารของ True ที่มาแถลงข่าวครั้งนี้คือ คุณพิชิต ธันโยดม หัวหน้าคณะผู้บริหาร ด้านสารสนเทศ คอนเวอร์เจนซ์ บมจ. ทรู คอร์ปอเรชั่น และคุณอุทัย คุ้มคง รองผู้อำนวยการ สายงานบริการมัลติมีเดียและการตลาด บริษัท ทรู มูฟ จำกัด หน้าตาดังภาพ
ขอแบ่งเนื้อหาเป็นประเด็นๆ ไปละกันครับ
คุณ Ray Ozzie ได้กล่าวในการสัมภาษณ์ในงาน Professional Developers Conference (PDC) ว่าแอพพลิเคชันบนมือถือ "ไม่" เป็นส่วนสำคัญต่อความสำเร็จของแพลตฟอร์มสมาร์ทโฟน แต่เขาได้กล่าวเป็นนัยว่าตัวระบบปฏิบัติการเองและฟีเจอร์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการจะเป็นตัวสร้างความแตกต่างให้เห็น
เขาได้มองว่าแอพพลิเคชันบนสมาร์ทโฟนใช้เวลาในการพัฒนาไม่นานนัก และส่วนใหญ่ก็มักถูกแปลงให้สามารถลงได้บนทุกแพลตฟอร์ม ซึ่งแตกต่างจากแอพพลิเคชันบนคอมพิวเตอร์ที่ต้องพัฒนาให้รองรับบนแพลตฟอร์มหนึ่งๆ เท่านั้น
เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา เมอร์เซเดส-เบนซ์ไฟแนนเชียล หนึ่งในบริษัทลูกของผู้ผลิตรถยนต์จากเยอรมนี เมอร์เซเดส-เบนซ์ ที่ประเทศสหรัฐฯ ได้เปิดตัวแอพพลิเคชันบนไอโฟน ที่ให้ลูกค้าสามารถจ่ายค่างวดผ่อนรถ รวมถึงค้นหาดีลเลอร์และรับข่าวสารล่าสุดจากทางบริษัทได้ ทำให้เมอร์เซเดส-เบนซ์ไฟแนนเชียลกลายเป็นบริษัทรับจัดไฟแนนซ์รถยนต์รายแรกที่มีบริการในลักษณะดังกล่าว
แอพพลิเคชันดังกล่าวจะถูกแจกให้ลูกค้าจำนวน 450,000 รายฟรี (จากการสำรวจของบริษัท 75% ของลูกค้ามีสมาร์ทโฟนใช้ โดยเป็นไอโฟนสูงถึง 25%) มีลูกค้าดาวน์โหลดแอพพลิเคชันไปแล้วมากกว่า 150 ราย โดยคุณ Andreas Hinrichs รองประธานบริษัทได้กล่าวว่า นอกจากช่วยลดค่าใช้จ่ายของบริษัทแล้ว ยังช่วยเสริมสร้างความจงรักภักดี (loyalty) ของลูกค้าที่มีต่อบริษัทอีกด้วย
แม้ว่า App Catalog ซึ่งเป็นที่ดาวน์โหลดโปรแกรมของปาล์ม ซึ่งตอนนี้จะมีเพียง 18 โปรแกรมเท่านั้นในวันเปิดตัว และปัจจุบันก็ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากเท่าไหร่ อาจจะเป็นเพราะว่า SDK ยังไม่ออกมาก็เป็นได้
แต่อย่างน้อยๆ ตอนนี้สาวกปาล์มก็ได้ใจชื้นอีกหน่อยแล้ว เพราะว่าโปรแกรมใน App Catalog ถูกดาวน์โหลดไปมากกว่าหนึ่งล้านครั้งในรอบ 18 วันที่มีการเปิดใช้งาน ในขณะที่มีโปรแกรมอยู่ใน App Catalog เพียง 30 โปรแกรม
ซึ้งอัตราการดาวน์โหลดที่สูงมากแปรผันกับจำนวนโปรแกรมที่ยังน้อยอยู่ในขณะนี้ ถือว่าเป็นสัญญาณอันดีว่าตลาดยังคงตอบรับกับปาล์มอยู่ไม่น้อย และอาจคิดได้อีกแบบว่า Palm Pre นั้นประสบความสำเร็จไปก้าวนึงกับการเปิดตลาดในส่วนนี้แล้วทีเดียว