หลังจากปล่อยให้คู่แข่งเกือบทุกรายนำหน้าในเรื่องนี้มานาน ในที่สุด Firefox ก็มีหน้า New Tab ที่แสดงเว็บไซต์ที่เราเข้าบ่อยให้เลือก (เป็นตารางขนาด 3x3)
ตอนนี้ Mozilla เพิ่งเปิดให้ทดสอบฟีเจอร์นี้ใน Firefox Aurora เท่านั้น เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ใช้ไปปรับปรุง (รายละเอียดอื่นๆ ดูได้จาก Bug #455553)
หลายคนเห็นหน้าตาแล้วคงสงสัยว่าทำไมใช้เวลาทำนานขนาดนี้
ที่มา - Firefox Future Releases
Mozilla เผยแผนการปรับปรุง "กระบวนการอัพเดต" ของ Firefox จำนวน 5 ประการ หลายอย่างเคยเป็นข่าวไปแล้ว แต่ก็เป็นสัญญาณอันดีว่ามันกำลังจะเกิดขึ้นครับ
ทุกวันนี้หลายๆ คนคงใช้งานเว็บต่างๆ เหมือนแอพพลิเคชั่นบนเดสก์ทอปกัน เช่น Gmail ความสะดวกในช่วงหลังๆ มีมากขึ้นเมื่อเราไม่ต้องมองหน้าเว็บเหล่านั้นตลอดเวลาเมื่อมีเหตุการณ์ที่เราควรได้รับการเตือนบนเดสก์ทอป เช่น แชตใหม่ หรือเมลใหม่ แต่ปัญหาอย่างหนึ่งก็คือเราต้องเปิดเว็บเหล่านั้นไว้ตลอดเวลา
ทางฝั่งไฟร์ฟอกซ์เริ่มเสนอทางออกในเรื่องนี้ ด้วยการเสนอ API ในชุด notification ทำให้เว็บสามารถสื่อสารกับเบราเซอร์ได้ตลอดเวลาแม้จะไม่ได้เปิดหน้าเว็บอยู่
Firefox 10 เข้าสถานะ Stable เรียบร้อยแล้ว ของใหม่มีดังนี้
Rust เป็นภาษาโปรแกรมภาษาใหม่ที่พัฒนาโดย Mozilla โดยมุ่งเป้าว่าต้องการเป็นภาษาสำหรับงานประมวลผลที่ทำงานพร้อมๆ กัน (concurrency) และทำงานบนระบบขนาดใหญ่ ออกแบบมาไม่ให้มีปัญหาด้านหน่วยความจำอย่าง buffer overflow
การใช้งานจะเป็นระบบคอมไพล์ ตัว syntax ของภาษาจะคล้ายกับ C/C++ คือเป็นภาษาที่ใช้วงเล็บปีกกา {} และประกาศตัวแปรแบบ static
ตอนนี้สถานะของ Rust ยังเป็นเวอร์ชัน 0.1 รุ่นทดสอบ ความสามารถและประสิทธิภาพยังไม่สมบูรณ์มากนัก ตัวซอร์สโค้ดของเครื่องมือต่างๆ เปิดเป็นโอเพนซอร์สด้วยสัญญาอนุญาตแบบ MIT (โค้ดอยู่บน GitHub)
reddit และ Wikipedia นำหน้าไปก่อนแล้ว ล่าสุดเ
จากที่ Firefox เปลี่ยนมาใช้การออกรุ่นเร็วแบบเดียวกับ Chrome ก็เกิดเสียงบ่นจากตลาดไอทีองค์กร เพราะต้องคอยปรับรุ่นตามตลอดเวลา ซึ่ง Mozilla ก็เคยเสนอไอเดีย Firefox Extended Support Release มาก่อนหน้านี้
Mozilla เผยแผนภาพ infographic แสดงสถิติที่น่าสนใจของ Firefox ในปี 2011 ครับ
คัดมาเฉพาะส่วนที่น่าสนใจ ที่เหลือดูกันเองตามภาพ
ที่มา - Mozilla Blog
ข่าวสั้นครับ หลัง Firefox 9 ออกรุ่นจริง เพียงวันเดียว ทาง Mozilla ก็ออก 9.0.1 ตามมาทันที โดยแก้บั๊กที่ทำให้เบราว์เซอร์แครชบนระบบปฏิบัติการหลักทั้งสามตัว ในกรณีที่ติดตั้งทูลบาร์บางตัวลงไป
รายละเอียดของบั๊กดูได้ที่ Bugzilla #711794
ต่อจากข่าว Mozilla ต่อสัญญากับกูเกิลไปอีก 3 ปี ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่ยอมเปิดเผยว่าจ่ายเงินกันเท่าไร
ล่าสุดมีแหล่งข่าวนำตัวเลขมาเปิดเผยแล้ว ว่ากูเกิลจะจ่ายให้ Mozilla ปีละ 300 ล้านดอลลาร์เป็นเวลา 3 ปี รวมกัน 900 ล้านดอลลาร์ เยอะกว่าสัญญาเดิม 3 เท่าตัว (300 ล้านดอลลาร์ตลอด 3 ปี)
แหล่งข่าวยังบอกด้วยว่าไมโครซอฟท์และยาฮูก็แย่งกันเป็นเครื่องมือค้นหาหลักของ Firefox แต่สุดท้ายกูเกิลจ่ายเยอะกว่าเลยได้ต่อสัญญาไป
David Ascher ผู้บริหารของ Mozilla เขียนบล็อกถึงแนวทางใหม่ที่ Mozilla จะมุ่งไปในอีก 5 ปีข้างหน้า
เขาบอกว่า Mozilla เดิมที่เราเคยรู้จักต้องเปลี่ยนแปลงแล้ว เดิมทีเป้าหมายของ Mozilla คือดึงศักยภาพของเว็บออกมาให้เต็มที่ (จากที่เคยถูก IE6 กดเอาไว้) โดยสร้างเบราว์เซอร์ที่ทำงานได้รวดเร็ว มีฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์ และมีฐานผู้ใช้เป็นจำนวนมาก ซึ่งผลที่ได้ (หมายถึงการออก Firefox) ออกมาค่อนข้างดี นั่นคือเบราว์เซอร์พัฒนาไปเยอะมาก มาตรฐานเว็บก็พัฒนาตาม และเว็บไซต์เองก็น่าสนใจกว่าเดิม
แต่เขาก็บอกว่าตอนนี้เบราว์เซอร์ไม่ใช่เรื่องสำคัญเพียงเรื่องเดียวของชีวิตออนไลน์อีกแล้ว เพราะมีประเด็นใหม่อีก 3 ประเด็นที่ปรากฏขึ้นมา และ Mozilla ควรจะให้ความสนใจกับมัน
ประเด็นทั้งสามได้แก่
จริงๆ ตัวไฟล์เปิดให้ดาวน์โหลดมาสองวันแล้ว แต่ผมรอให้ประกาศอย่างเป็นทางการออกเสียก่อนนะครับ (เชื่อว่าคนแถวนี้คงรัน Beta/Aurora กันเยอะด้วย)
ของใหม่ของ Firefox 9 รุ่นเดสก์ท็อป ได้แก่
จากข่าวก่อนหน้านี้ว่า สัญญา search box ของกูเกิลใน Firefox หมดระยะลง และทางต้นสังกัด Mozilla ก็ตอบอ้อมแอ้มในเรื่องนี้ ทำให้มีกระแสข่าวว่ากูเกิลจะไม่ต่อสัญญาอีก
ล่าสุดข่าวลือทั้งปวงก็ได้เวลาจากลา เพราะ Mozilla ออกมาแถลงข่าวแล้วว่าเซ็นสัญญากับกูเกิลเรียบร้อย ต่อเวลาไปอีก 3 ปี โดยไม่เปิดเผยรายละเอียดของสัญญาเช่นเดิม ซึ่งหมายความว่า Firefox จะใช้กูเกิลเป็นเครื่องมือค้นหาหลักต่อไปนั่นเอง
ข่าวขำๆ ที่คนโดนคงขำไม่ออก และเป็นประเด็นทางเทคนิคการพัฒนาโปรแกรมที่น่าสนใจครับ
เรื่องมีอยู่ว่าทีมพัฒนา Firefox ประสบปัญหา "โปรแกรมคอมไพล์ไม่ผ่าน" เพราะตัวซอร์สโค้ดมีขนาดใหญ่เกินไป จนหน่วยความจำบนเครื่องที่ใช้คอมไพล์ซึ่งเป็นเครื่องแบบ 32 บิตมีไม่พอ
ขั้นตอนการคอมไพล์ Firefox มาให้พวกเราๆ ใช้ดาวน์โหลดกัน สำหรับเวอร์ชันวินโดวส์จะทำบนเครื่องที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์แบบ 32 บิต ด้วย Microsoft Visual C++ 2005 ซึ่งใช้มานานแล้ว ส่วนเทคนิคการปรับแต่งประสิทธิภาพจะใช้เทคนิคที่เรียกว่า Profile-Guided Optimisation (PGO) ที่ช่วยรีดประสิทธิภาพได้ประมาณ 10% แต่ก็เปลืองหน่วยความจำระหว่างคอมไพล์มาก
รายได้หลักของ Mozilla มาจาก "สัญญา" ที่ทำกับบริษัทต่างๆ เพื่อนำตัวค้นหาไปใส่ไว้ในช่อง Search ของ Firefox
ตามรายงานประจำปีของ Firefox ระบุว่ามีรายรับ 134 ล้านดอลลาร์ต่อปี และสัญญากับ "บริษัทหนึ่ง" คิดเป็น 84% ของรายได้นี้ (ตีออกเป็นตัวเลขก็ราวๆ 100 ล้านดอลลาร์) ถึงแม้จะไม่เอ่ยชื่อแต่ทุกคนคงรู้กันดีว่าหมายถึงกูเกิล
สัญญานี้ทำมานานตั้งแต่สมัยกูเกิลยังไม่มี Chrome และสัญญาครบกำหนดแล้วในเดือนพฤศจิกายน 2011 ซึ่งก็ผ่านมาแล้ว ความน่าสนใจอยู่ที่ทาง ZDNet สอบถามไปยัง Mozilla ถึงการต่อสัญญากับกูเกิล แต่ทาง Mozilla กลับตอบว่ายังไม่มีอะไรจะแถลงในช่วงนี้
ต่อจากข่าวเก่า Firefox เตรียมแก้ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของส่วนเสริม-วิธีการอัพเดต วิศวกรของ Mozilla ประกา
จากข่าวเก่า เผยหน้าตาของ Firefox สำหรับ Honeycomb Tablet วันนี้มันเข้ามาอยู่ใน Firefox for Android รุ่น 9.0 Beta เรียบร้อยแล้ว
หน้าตาแบบใหม่ออกแบบมาให้การท่องเว็บบนแท็บเล็ต Honeycomb (และ ICS ในอนาคต) สะดวกมากขึ้น โดยการท่องเว็บในแนวนอนจะแสดงรายการแท็บเป็น thumbnail ของหน้าเว็บที่ขอบด้านซ้ายมือ ส่วนการท่องเว็บแนวตั้งจะแสดงรายชื่อแท็บที่เปิดอยู่แทน (ดูภาพตามข่าวเก่า/ที่มาของข่าวนี้)
Firefox รุ่นที่ 8 เปิดให้ดาวน์โหลดได้แล้วจากเว็บของ Firefox หรือสามารถอัปเดตด้วยการใช้เมนู "วิธีใช้" > "เกี่ยวกับ Firefox"
การปรับปรุงของรุ่นที่ 8 นี้มีดังนี้
Mozilla ออก Firefox 8 ทั้งเวอร์ชันเดสก์ท็อป และเวอร์ชัน Android
ของใหม่ของเวอร์ชันเดสก์ท็อปได้แก่
DigiCert Sdn. Bhd เป็นหน่วยงานออกใบรับรองแบบตัวกลาง (Intermediate CA) ที่ได้รับการรับรองจาก Entrust และ Verizon มาอีกที แต่หลังจากพบการออกใบรับรองอย่างหละหลวมหลายใบจนมีการนำใบรับรองเหล่านั้นไปโจมตีผู้อื่น ทางมอซซิลล่าและไมโครซอฟท์ก็ประกาศยกเลิกสถานะของ CA นี้
ComputerWorld ได้ลงบทสัมภาษณ์ Brendan Erich ผู้สร้างจาวาสคริปต์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง CTO ของมอซซิลล่า องค์กรดูแลการพัฒนาไฟร์ฟอกซ์
Erich เล่าให้ฟังว่าเขาเข้าทำงานใน Netscape ในกลุ่มซอฟต์แวร์เซิร์ฟเวอร์ และทำงานในกลุ่มนั้นอยู่ไม่ถึงเดือนจึงย้ายมาอยู่ฝั่งซอฟต์แวร์ไคลเอนต์ (ซึ่งก็คือเบราเซอร์ Netscape) และใช้เวลาสิบวันในการสร้างภาษาสคริปต์รุ่นตัวอย่าง เมื่อ Marc Andreesen มาเห็นแล้วเกิดชอบใจ (ในข่าวระบุว่า Marc พูดว่า "It's Emacs.") จึงได้รับการสนับสนุนให้พัฒนาอย่างจริงจัง
ถ้าเป็นเมื่อ 4-5 ปีที่แล้ว คงไม่มีใครคิดว่าจะมีวันนี้ แต่ประโยค "ไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร" ก็ยังใช้ได้เสมอ
Johnathan Nightingale หัวหน้าฝ่ายวิศวกรรมของ Firefox ได้โพสต์ข้อความในกลุ่มสนทนา mozilla.dev.planning ว่าในอนาคตอันใกล้ Firefox for Android จะเปลี่ยนมาเขียน UI ตามมาตรฐานของ Android
การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ถือว่าน่าสนใจมาก เพราะ Firefox และผลิตภัณฑ์ของค่าย Mozilla เกือบทุกตัวเขียน UI ด้วยภาษา XUL ของตัวเอง (มันคือ XML สำหรับเขียน UI แบบเดียวกับ XAML ของไมโครซอฟท์) ซึ่งข้อดีของมันคือความยืดหยุ่นของโปรแกรม ทำให้ Firefox มีส่วนขยายมากมาย แต่ข้อเสียก็มีไม่น้อย เช่น ประสิทธิภาพ และความเข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการต่างๆ
สำหรับกรณีของ Firefox for Android การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้มีเหตุผล 3 ประการ
ปัญหาเรื่องความเข้ากันได้ของส่วนเสริมหรือ add-ons เป็นปัญหาของ Firefox มาโดยตลอด และยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้นเมื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบการออกรุ่นทุก 6 สัปดาห์
นอกจากนี้ การออกรุ่นบ่อยๆ ยังทำให้เราต้องรัน auto-update บ่อยตามไปด้วย ซึ่งปัญหา (โดยเฉพาะกรณีของวินโดวส์) คือผู้ใช้จะเจอหน้าจอ UAC ทุกครั้งเมื่อ Firefox ออกรุ่นใหม่ (ยิ่งถ้าใครใช้ Aurora แบบผมจะเจอแทบทุกวัน)
ทาง Mozilla จึงเสนอทางแก้ 2 ปัญหาข้างต้น ด้วยนโยบายใหม่ 2 ข้อ
ความเข้ากันได้ของส่วนเสริม