NASA เปิดชุดข้อมูลดวงจันทร์ CGI Moon Kit ให้เข้าถึงผ่านออนไลน์ สำหรับผู้ที่สนใจนำไปสร้างเป็นแผนที่ดวงจันทร์ 3 มิติ ซึ่ง NASA บอกว่าข้อมูลภูมิประเทศของพื้นผิวละเอียดในระดับมองจากความสูง 30 เมตรจากพื้นผิว
ข้อมูลและภาพทั้งหมดได้มาจากดาวเทียม Lunar Reconnaissance Orbiter ที่โคจรรอบดวงจันทร์มานานกว่า 10 ปี โดยเก็บข้อมูล 2 ส่วนได้แก่ภาพถ่ายสเปคตรัม (multispectral) ร่วมกับเลเซอร์วัดความสูงและสภาพภูมิประเทศ รวมกันออกมาเป็นข้อมูลดิบที่ส่งกลับโลก
คนที่สนใจสามารถเข้าไปดาวน์โหลดได้ที่นี่
ที่มา - NASA
เมื่อเช้าวันอาทิตย์ที่ผ่านมาตามเวลาประเทศไทย Elon Musk ได้ไปพูดที่โรงงานประกอบยาน Starship ของ SpaceX ณ เมือง Boca Chica รัฐ Texas โดยเป็นการประกาศความคืบหน้าของโครงการ Starship ที่มีเป้าหมายส่งคนไปดาวอังคาร
ก่อนงานนี้หนึ่งวัน Jim Bridenstine ผู้อำนวยการ NASA ได้ทวีตถึง SpaceX ว่าเขาจะจับตาดูงานนี้ แต่ขณะนี้โครงการ Commercial Crew ที่มีเป้าหมายส่งมนุษย์จากโลกไปสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) นั้นล่าช้าไปหลายปีแล้ว (ซึ่ง NASA เป็นลูกค้าอยู่) โดย NASA คาดหวังว่า SpaceX จะทุ่มเทกับโปรเจ็คนี้ให้คุ้มกับที่ชาวอเมริกันเสียภาษีมาให้ และตอนนี้ควรจะส่งมอบงานได้แล้ว
Anne McClain นักบินอวกาศหญิงถูกฟ้องว่าล้อกอินเข้าบัญชีธนาคารของ Summer Worden อดีตคู่สมรสเพศเดียวกันขณะที่ปฎิบัติภารกิจอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติ ทำให้คดีนี้น่าจะเป็นคดีแรกที่มีการก่อเหตุขณะอยู่ในอวกาศ โดยตอนนี้เธอกลับจากสถานีอวกาศนานาชาติเรียบร้อยแล้ว
McClain ยอมรับว่าล็อกอินบัญชีธนาคารของ Worden จริง แต่ทำไปด้วยความบริสุทธิ์ใจ เนื่องจากต้องการดูสถานะทางการเงินว่าเพียงพอต่อการเลี้ยงดูบุตรหรือไม่
Worden อดีตคู่สมรสของ McClain นั้นมีบุตรชายจากความสัมพันธ์ก่อนหน้า และทั้งสองแต่งงานกันในปี 2014 แต่ McClain ยังไม่ได้รับลูกของ Worden เข้าเป็นบุตรบุญธรรมอย่างเป็นทางการเนื่องจาก หลังจากนั้นทั้งสองหย่ากัน McClain ขอสิทธิ์การเลี้ยงดูบุตรต่อศาล
นาซ่าประกาศโครงการเตรียมนำมนุษย์เดินทางกลับไปยังดวงจันทร์ภายในปี 2024 โดยรอบนี้มีโครงการให้คนทั่วไปมีส่วนร่วม คือการเสนอเพลงให้นักบินอวกาศฟังระหว่างการเดินทาง 3 วันจากโลกถึงดวงจันทร์ (ไป-กลับอย่างละ 3 วัน) โดยเพลงชุดแรกที่ได้รับเลือกเป็นเพลงของวง BTS จากเกาหลีใต้
เมื่อวันที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา SpaceX ได้ยิงจรวด Falcon 9 ที่ส่วนหัวเป็นแคปซูล Crew Dragon ขึ้นสู่วงโคจร ต่อมาแคปซูลได้เชื่อมต่อเข้ากับสถานีอวกาศนานาชาติ หรือ ISS ได้สำเร็จ และคงอยู่ที่ ISS มาอีกห้าวัน
ล่าสุดวันนี้ช่วงบ่ายตามเวลาประเทศไทย แคปซูล Crew Dragon ได้แยกตัวออกจาก ISS และเริ่มเดินทางกลับสู่โลก ใช้เวลาราว 5 ชั่วโมง โดยก่อนเข้าสู่ชั้นบรรยากาศมันได้เร่งตัวผลักดัน หรือ thruster เป็นเวลา 15 นาที เพื่อดิ่งเข้าชั้นบรรยากาศ ซึ่งแคปซูลเดินทางเร็วกว่าเสียงและเผชิญกับความร้อนมหาศาล (Elon Musk ให้สัมภาษณ์ว่าเขากังวลกับจังหวะนี้มากที่สุด)
หลังจาก SpaceX ส่งยาน Crew Dragon ขึ้นไปยังวงโคจรโลกเมื่อวานนี้ วันนี้ยานก็เชื่อมต่อกับสถานีตามกำหนด โดยมนุษย์อวกาศบนสถานีได้รับตัวหุ่น Ripley ที่จำลองคนและตุ๊กตาลูกโลกเข้าสู่สถานีอวกาศนานาชาติเรียบร้อยแล้ว
หุ่น Ripley ไม่ได้เป็นเพียงหุ่นรูปเหมือนคนธรรมดา แต่ภายในบรรจุเซ็นเซอร์เพื่อเก็บข้อมูลว่ามนุษย์จะรู้สึกอย่างไรเมื่อโดยสารไปกับยาน Crew Dragon
ก่อนหน้าการเชื่อมต่อ ตัวยาน Crew Dragon โคจรรอบโลกมาก่อนแล้ว 18 รอบ ส่งคำสั่งให้ยาน Crew Dragon เข้ามาเชื่อมต่อขณะที่สถานีกำลังลอยอยู่เหนือนิวซีแลนด์ จนกระทั่งสองเมตรสุดท้าย และเชื่อมเข้ากับโมดูล Harmony
SpaceX ส่งแคปซูล Crew Dragon ขึ้นสู่วงโคจรเป็นผลสำเร็จ ถือเป็นการทดสอบขั้นสุดท้ายก่อนจะใช้แคปซูล Crew Dragon นี้ส่งมนุษย์อวกาศขึ้นสู่สถานีอวกาศนานาชาติกลางปีนี้ โดยในการสาธิตจะใช้หุ่น Ripley และตุ๊กตาลูกโลก
ยาน Crew Dragon มีกำหนดเชื่อมต่อกับสถานีอวกาศนานาชาติในวันพรุ่งนี้ โดยนอกจากจะนำส่งหุ่น Ripley เพื่อสาธิตการส่งมนุษย์อวกาศแล้ว ยังนำส่งสัมภาระอีกเกือบ 200 กิโลกรัมขึ้นไปพร้อมกัน และส่งยานกลับสู่โลกในวันที่ 8 มีนาคม
หากทางนาซ่าตรวจสอบข้อมูลความปลอดภัยและอนุมัติให้ Crew Dragon สามารถใช้ส่งมนุษย์อวกาศได้ ก็จะเริ่มภารกิจแรกในเดือนกรกฎาคมนี้ และเป็นครั้งแรกที่สหรัฐฯ ส่งมนุษย์ขึ้นไปยังอวกาศได้อีกครั้งหลังยกเลิกโครงการกระสวยอวกาศไปตั้งแต่ปี 2011
ก็อดซิล่า หรือไคจู ราชาปีศาจที่มีต้นกำเนิดจากญี่ปุ่น และยักษ์เขียวฮัลค์จากมาร์เวลนอกจากจะโลดแล่นในโลกฮอลลีวูดแล้ว ยังขึ้นไปโลดแล่นบนอวกาศ เพราะ NASA ตั้งชื่อกลุ่มดาวรังสีแกมม่าใหม่ มีก็อตซิล่าและฮัลค์อยู่ในกลุ่มนั้นด้วย
ในโอกาสครบรอบสิบปีของกล้องโทรทรรศน์อวกาศแกมมา Fermi ใน NASA ทางองค์การจึงประกาศตั้งชื่อกลุ่มดาวใหม่ 21 กลุ่มดาวด้วยกัน นอกจากก็อดซิล่า, ยักษ์เขียวฮัลค์แล้ว ยังมีกลุ่มดาวไอน์สไตน์, สะพานโกลเดนเกท, ภูเขาฟูจิ, ค้อนทอร์, แมงมุม Black Widow, เจ้าชายน้อย เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม กลุ่มดาวเหล่านี้ไม่ได้มาจากดวงดาวจริงๆ แต่เป็นรังสีแกมมาที่กล้องโทรทรรศน์ Fermi จับได้ โดยแกมมาไม่ใช่ดวงดาวแต่เป็นรูปแบบของแสงที่แรงที่สุดบนอวกาศ
เมื่อวันที่ 30 สิงหาคมที่ผ่านมา สถานีอวกาศนานาชาติตรวจพบแรงดันอากาศในสถานีลดลงเล็กน้อย และเมื่อไล่ตรวจสอบ รอยรั่วขนาด 2 มิลลิเมตรบนยาน Soyuz MS-09 หลังจากนั้นนักบินได้แปะเทปอุดรอยรั่ว และป้ายน้ำยาอุดในภายหลัง
แต่สัปดาห์นี้ Dmitry Rogozin หัวหน้าองค์กรอวกาศรัสเซีย หรือ Roscosmos ตั้งข้อสงสัยว่ารอยรั่วนี้เกิดจากฝีมือมนุษย์ โดยระบุว่ามีความพยายามเจาะรูด้วยสว่าน และผู้เจาะมือไม่นิ่งพอทำให้มีรอยไถล
ขณะเกิดเหตุมีนักบินอวกาศอยู่บนสถานีอวกาศนานาชาติเพียง 6 คน เป็นคนสหรัฐฯ 3 คน, รัสเซีย 2 คน, และเยอรมัน 1 คน และยาน Soyuz MS-09 มีกำหนดพานักบิน 3 รายกลับสู่โลกในเดือนธันวาคมนี้
ตั้งแต่กล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิลที่ถูกใช้งานมากว่า 28 ปี ทำให้เราได้เห็นภาพดวงดาว กาแล็กซี่และจักรวาลส่วนอื่นๆ มาศึกษา ทำให้เราได้รู้จักจักรวาลมากขึ้น แต่ข้อจำกัดของมันก็ยังมีอยู่ มันยังไม่สามารถถ่ายภาพหรือเก็บแสงช่วงต้นกำเนิดจักรวาลได้
กว่า 20 ปีที่ผ่านมา องค์การนาซ่าได้พยายามพัฒนากล้องโทรทรรศน์อวกาศใหม่ที่มีความสามารถให้เหนือชั้นยิ่งกว่ากล้องโทรทรรศน์อวกาศฮับเบิล ภายใต้โครงการที่ชื่อว่า James Webb Space Telescope หรือ JWST ซึ่งเป็นกล้องที่ใช้กระจกทองขนาดใหญ่ถึง 25 ฟุต ที่มีความสามารถในการเก็บแสงอินฟราเรดที่ไกลและเก่าแก่ย้อนไปได้ถึงช่วงยุคแรกของการกำเนิดดวงดาวและกาแล็กซี่หลังจากเกิด Big Bang ซึ่งเป็นสิ่งที่นักดาราศาสตร์ฟิสิกส์ต้องการเห็นมากที่สุด
ในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับที่ NASA ประกาศรายชื่อนักบินอวกาศสำหรับภารกิจบินทดสอบ ยังได้ประกาศกำหนดการของภารกิจดังกล่าวด้วย โดยเร็วสุดที่จะมีมนุษย์เดินทางสู่อวกาศด้วยยานสัญชาติอเมริกันคือเดือนเมษายน 2019
NASA เซ็นสัญญาทำโครงการส่งมนุษย์ไปอวกาศกับ 2 บริษัทคือ Boeing / ULA และ SpaceX เป็นจำนวนเงิน 4.2 และ 2.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐตามลำดับ โดย NASA ประกาศว่าฝั่ง Boeing ที่ใช้ยาน Starliner จะทำภารกิจทดสอบแบบไม่มีมนุษย์ได้ช่วงปลายปีนี้หรือต้นปีหน้า และจะทดสอบแบบมีมนุษย์ในช่วงกลางปี 2019
ส่วนฝั่ง SpaceX ที่ใช้ยาน Dragon จะทดสอบแบบไม่มีมนุษย์ในเดือนพฤศจิกายนปีนี้ และทดสอบแบบมีมนุษย์ในเดือนเมษายน 2019
นาซ่าประกาศตัวมนุษย์อวกาศชุดแรกของโครงการนำส่งนักบินด้วยจรวดจากบริษัทเอกชน และจะเป็นการนำส่งมนุษย์อวกาศครั้งแรกหลังจากนาซ่าปิดโครงการกระสวยอวกาศไปเมื่อปี 2011
นาซ่ากำหนดตัวมนุษย์อวกาศทั้งหมด 9 คนสำหรับสองบริษัท คือ ยาน Starliner จาก United Launch Alliance (ULA) จำนวน 5 คน และยาน Dragon จาก SpaceX จำนวน 4 คน สำหรับบริษัทละสองภารกิจ ได้แก่ภารกิจบินทดสอบ และภารกิจแรก
กระบวนการทำสัญญาภารกิจนั้น นาซ่าระบุว่าบริษัทที่บินทดสอบได้สำเร็จ และผ่านการตรวจสอบรับรองจากนาซ่าแล้ว แต่ละบริษัทจะได้สัญญาชุดแรก 6 เที่ยวบิน แต่ละเที่ยวบินมีมนุษย์อวกาศไม่เกิน 4 คน
มนุษย์อวกาศที่ได้รับเลือกชุดนี้ ได้แก่
NASA เปิดเผยวันนี้ว่าโครงการส่งยานอวกาศไปดาวอังคารในปี 2020 ที่ชื่อ Mars 2020 จะลำเลียงเฮลิคอปเตอร์ขนาดเล็กชื่อว่า The Mars Helicopter ไปด้วย เพื่อทำการถ่ายภาพพื้นผิวดาวอังคารในมุมสูงกลับมา
ความท้าทายของโครงการนี้คือชั้นบรรยากาศบนดาวอังคารที่เบาบางกว่าโลกมาก เป็นโจทย์ว่าเฮลิคอปเตอร์นี้จะสามารถบินเหนือพื้นผิวดาวอังคารได้ราบรื่นดีหรือไม่ โดยโครงการดังกล่าวได้เริ่มออกแบบพัฒนาตั้งแต่ปี 2013 ได้ออกมาเป็นเฮลิคอปเตอร์น้ำหนัก 1.8 กิโลกรัม ติดตั้งกล้อง 2 ตัว และด้วยชั้นบรรยากาศที่เบาบางกว่า ใบพัดเฮลิคอปเตอร์ก็จะหมุนเร็วกว่าบนโลกถึงสิบเท่า
NASA เผยผลการศึกษาความเปลี่ยนแปลงของนักบินอวกาศเมื่อปฏิบัติงานอยู่ในอวกาศเป็นระยะเวลานาน ผ่านโครงการวิจัย "Twins Study" และพบว่าพันธุกรรมในร่างกายมนุษย์มีความเปลี่ยนแปลง แต่ความเปลี่ยนแปลงส่วนใหญ่จะกลับคืนสภาพเดิมอย่างรวดเร็วเมื่อมนุษย์อวกาศเดินทางกลับสู่ผิวโลก เว้นแค่บางอย่างที่อาจต้องใช้เวลานานขึ้นเพื่อคืนสภาพ
โครงการ Twin Study มีทีมวิจัยย่อยนับสิบทีมที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญที่รวบรวมมาจากทั่วประเทศ แบ่งหน้าที่กันศึกษาความเปลี่ยนแปลงทั้งสภาพร่างกายและสภาพจิตใจของ Scott Kelly นักบินอวกาศของ NASA เปรียบเทียบคู่แฝดของเขา Mark Kelly โดยข้อมูลที่เก็บได้จาก Mark ผู้ที่อยู่บนผิวโลกตลอดเวลาจะถือเป็นข้อมูลกลุ่มควบคุม
คืนวันพรุ่งนี้ (31 มกราคม 2018) จะมีปรากฏการณ์ "Super Blue Blood Moon" ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ของดวงจันทร์ 3 อย่างที่เกิดพร้อมกัน ได้แก่
กูเกิลเผยข้อมูลว่า เข้าไปช่วย NASA แยกภาพจากกล้องโทรทรรศน์บนยานอวกาศ Kepler ที่มีภารกิจในการค้นหา "ดาวเคราะห์" ลักษณะเดียวกับโลกในระบบสุริยะจักรวาลอื่น (exoplanet)
ยาน Kepler ถูกส่งออกไปยังอวกาศตั้งแต่ปี 2009 และถ่ายภาพทางช้างเผือกส่งกลับมาทุก 30 นาที มีภาพถ่ายดาวฤกษ์กว่า 200,000 ดวงที่ต้องมาวิเคราะห์ ถือเป็นข้อมูลมหาศาลที่ NASA ต้องทุ่มทรัพยากรมาประมวลผล
ปัญหานี้แก้ได้ด้วย machine learning และทีม AI ของกูเกิลก็เข้าไปช่วยสร้างโมเดล TensorFlow เพื่อแยกแยะดาวเคราะห์ออกจากวัตถุอื่นๆ ด้วยเทคนิค pattern recognition ผลการทดสอบโมเดลของกูเกิลกับข้อมูลที่ตรวจสอบแล้ว พบว่ามีความแม่นยำ 96%
สถานีอวกาศนานาชาติ กำลังจะมีซูเปอร์คอมพิวเตอร์ของตัวเองเป็นครั้งแรก ในชื่อว่า Spaceborne Computer เป้าหมายของมันคือลองนำซูเปอร์คอมพิวเตอร์ไปทำงานบนอวกาศนาน 1 ปีเต็ม เพื่อทดสอบการใช้ซูเปอร์คอมพิวเตอร์กับภารกิจที่ยาวนานกว่านั้น อย่างการเดินทางไปดาวอังคาร
ที่ผ่านมา การประมวลผลส่วนใหญ่ของสถานีอวกาศนานาชาติเกิดขึ้นบนโลก เพราะบนสถานีอวกาศมีพื้นที่และทรัพยากรจำกัด แต่ข้อเสียของแนวทางนี้คือต้องส่งข้อมูลกลับไปกลับมาระหว่างสถานีกับโลก ซึ่งจะกลายเป็นปัญหาใหญ่มากขึ้นเรื่อยๆ ตามระยะห่างระหว่างยานอวกาศกับโลก การมีพลังประมวลผลให้ใช้งานบนยานอวกาศเลยจึงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับภารกิจพิชิตดาวอังคาร
Mars 2030 คือเกม VR ที่พัฒนาโดย FMG Labs เป็นเกมจำลองการสำรวจดาวอังคารที่ได้รับความร่วมมือจาก NASA โดยตรง วางขายในราคา 315 บาท บน Steam (สามารถขอฟรีได้ถ้าทำงานในพิพิธภัณฑ์ หรือเป็นผู้ให้การศึกษา)
รองรับอุปกรณ์ HTC Vive และ Oculus Rift ส่วน PlayStation VR จะตามมาในภายหลัง แต่ถึงไม่มีอุปกรณ์ VR ก็สามารถเล่นได้เช่นกัน
ตัวเกมถูกพัฒนาด้วย Unreal Engine 4 พื้นที่ทั้งหมดกว่า 40 ตารางกิโลเมตรของดาวอังคารถูกสร้างขึ้นโดยอ้างอิงข้อมูลที่ได้รับจาก NASA ทำให้มีความใกล้เคียงกับดาวอังคารของจริงมาก
เพื่อฉลองครบรอบ 48 ปี ที่มนุษย์คนแรกไปเหยียบดวงจันทร์ Google Street View ปล่อยรูปภายในของสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) ทั้ง 15 ส่วน เพื่อให้ทุกคนบนโลกเข้าไปเยี่ยมชมได้
สถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) เป็นทั้งยานอวกาศและห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์ ที่โคจรอยู่รอบโลกในปัจจุบันและจะเป็นฐานสำหรับภารกิจสำรวจอวกาศต่างๆ ในอนาคตด้วย ภายในมี 5 ห้องนอน 2 ห้องน้ำ สามารถอยู่อาศัยได้ 6 คน มีน้ำหนักเกือบล้านปอนด์ และมีขนาดใหญ่พอที่จะคลุมสนามฟุตบอลได้ 1 สนาม
ปัจจุบันสถานีอวกาศนานาชาติ (ISS) มีห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์จากทั้ง สหรัฐอเมริกา, รัสเซีย, ญี่ปุ่นและยุโรป เอาไว้ให้นักบินอวกาศที่ประจำการอยู่ ได้ศึกษาเกี่ยวกับการใช้ชีวิตและการทำงานในอวกาศ
ยานอวกาศ Juno ของ NASA โคจรใกล้ "จุดแดงยักษ์" (Great Red Spot) ของดาวพฤหัส และส่งภาพถ่ายความละเอียดสูงกลับมาถึงโลก ช่วยให้มนุษย์ได้เห็นภาพจุดแดงยักษ์แบบชัดๆ อย่างที่ไม่เคยทำได้มาก่อน
ยาน Juno ถูกยิงขึ้นอวกาศตั้งแต่ปี 2011 และทำภารกิจโคจรรอบดาวพฤหัสมาเป็นเวลาหนึ่งปีเต็ม ล่าสุด Juno เข้าไปใกล้ผิวดาวพฤหัสโดยลอยอยู่เหนือขอบเมฆ 3,500 กิโลเมตร เพื่อถ่ายภาพจุดแดงยักษ์นี้มา
จุดแดงยักษ์ของดาวพฤหัสมีขนาดยาวประมาณ 16,000 กิโลเมตร (เส้นผ่านศูนย์กลางของโลกยาว 12,742 กิโลเมตร) และถูกมนุษย์ค้นพบครั้งแรกในปี 1830
องค์การ NASA เคยพูดถึงการเดินทางไปดาวอังคาร พูดถึงการส่งคนไปสู่ระบบมาร์เชียนในทศวรรษ 2030 สิ่งหนึ่งที่องค์การอวกาศไม่เคยทำสำเร็จเลยคือการสรุปว่าต้นทุนในการเดินทางนั้นเท่าไร?
มีรายงานชิ้นใหม่เพิ่งออกมาเพื่อช่วยให้ผู้มีอำนาจในการตัดสินใจ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับภารกิจนี้ทั้งในสภาคองเกรส องค์กรธุรกิจ ฝ่ายวิจัย ฯลฯ ได้ประเมินว่า จะทำให้โครงการสำรวจดาวอังคารนี้ยั่งยืนได้อย่างไร โดยคาดว่าน่าจะเดินทางไปได้ในช่วงปลายทศวรรษ 2030 ถึงต้นทศวรรษ 2040
หลังสัญญาณวิทยุถูกใช้เป็นช่องทางการติดต่อสื่อสารในอวกาศหรือแม้แต่ระหว่างโลกและอวกาศมายาวนาน ซึ่งก็มีข้อจำกัดมากมาย ล่าสุด NASA ประกาศแผนการปฏิวัติวงการสื่อสารในอวกาศ ด้วยการใช้งานเลเซอร์เป็นสื่อกลางในการรับส่งข้อมูลที่ความเร็วระดับ Gigabit แทน ผ่านอุปกรณ์ที่เรียกว่า The Laser Communications Relay Demonstration (LCRD)
อุปกรณ์ LCRD นี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนาและทดสอบ โดยอุปกรณ์ชุดแรกที่ NASA จะส่งออกไปโคจรรอบโลกจะถูกใช้ติดต่อสื่อสารกับฐานในรัฐแคลิฟอร์เนียและฮาวาย อย่างไรก็ตามด้วยข้อจำกัดของการเป็นแสงเลเซอร์ ทำให้ LCRD จะต้องโคจรด้วยความเร็วเดียวกับที่โลกโคจรรอบตัวเอง เพื่อให้อุปกรณ์รับส่งสัญญาณอยู่ในตำแหน่งเดียวกับฐานควบคุม ซึ่งข้อมูลที่ถูกส่งผ่าน LCRD จะมีการเข้ารหัสด้วย
NASA ตีพิมพ์แคตาล็อกซอฟต์แวร์ที่ใช้ในปี 2017-2018 พร้อมลิงก์ดาวน์โหลดนำไปใช้ได้ฟรี ไม่ต้องกังวลเรื่องลิขสิทธิ์
ตัวโปรแกรมมีหลายประเภท ทั้งที่นาซ่าใช้งานอยู่เป็นประจำ และโปรแกรมที่คนทั่วไปนำไปปรับใช้กับงานของตัวเองได้ แบ่งเป็นหมวดหมู่ต่างๆ เช่น ระบบการจัดการธุรกิจ การทดสอบระบบ การออกแบบ การจัดการยานพาหนะ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
เมื่อคืนนี้ NASA ประกาศการค้นพบครั้งสำคัญ ว่าพบระบบสุริยะที่มีดาวเคราะห์ขนาดเดียวกับโลกถึง 7 ดวงโคจรรอบดาวฤกษ์ และมี 3 ดวงที่อยู่ในตำแหน่งที่สิ่งมีชีวิตสามารถอาศัยอยู่ได้ (habitable zone คือไม่ใกล้หรือไกลจากดาวฤกษ์มากเกินไป)
NASA ตั้งระบบสุริยะนี้ว่า TRAPPIST-1 และตั้งชื่อดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงตามตัวอักษร b-h การค้นพบครั้งนี้ถือเป็นการพบดาวเคราะห์ที่น่าจะอาศัยอยู่ได้จำนวนเยอะที่สุด ที่โคจรรอบดาวฤกษ์ดวงเดียว ดาวเคราะห์ทั้ง 7 ดวงมีความเป็นไปได้ที่จะพบ "น้ำ" ในรูปแบบของเหลว ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญของสิ่งมีชีวิต
Eugene Cernan มนุษย์อวกาศที่เคยลงไปเหยียบดวงจันทร์เป็นคนสุดท้าย เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 82 ปี
Cernan เป็นกัปตันยาน Apollo 17 ซึ่งเป็นภารกิจสุดท้ายของโครงการ Apollo ของ NASA ที่ส่งมนุษย์ไปเยือนดวงจันทร์ เขาเคยออกสู่อวกาศทั้งหมด 3 ครั้ง และไปเยือนดวงจันทร์ถึง 2 ครั้ง ประวัติการทำงานของเขาในฐานะมนุษย์อวกาศคือเป็นนักบินยาน Gemini 9A (1966) ไปดวงจันทร์กับยาน Apollo 10 (1969) และไปดวงจันทร์กับ Apollo 17 (1972)