กสทช.
เมื่อสักครู่นี้ บอร์ด กสท. ได้ออกมาแถลงรับรองผลการประมูลดิจิตอลทีวีทั้ง 24 ช่องที่เกิดขึ้นไปเมื่อวันที่ 27 ธันวาคมที่ผ่านมาแล้ว โดยหน้าที่ของผู้ชนะหลังจากนี้ก็คือการจ่ายเงินค่าประมูลในสัดส่วน 50% ของทั้งหมด และถ้าช่องใดพร้อม หลังจากที่จ่ายเงินค่าประมูลแล้ว ก็สามารถออกอากาศได้ทันทีครับ
คุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขา กสทช. ได้เผยว่าในวันนี้ กสทช. ได้จัดส่งหนังสือเตือนไปยังเครือข่ายโทรศัพท์มือถือทุกค่าย ให้เตรียมพร้อมรับเหตุการณ์ชัตดาวน์กรุงเทพฯ ของกลุ่มกปปส. ในวันที่ 13 มกราคมที่จะถึงนี้ โดยขอให้เพิ่มความถี่ในการส่งสัญญาณ และเตรียมรถโมบายล์เคลื่อนที่เอาไว้อย่างน้อย 3 คัน ในพื้นที่การชุมนุมเขตกรุงเทพมหานครที่กลุ่มกปปส. ได้ประกาศแล้ว 20 จุด (รายชื่อแยกดูได้ท้ายเบรคครับ) เพื่อรองรับการสื่อสารที่มากกว่าปกติในพื้นที่การชุมนุมครับ
ก็จบลงไปอย่างสมบูรณ์เรียบร้อยแล้วครับ สำหรับการประมูลใบอนุญาตการให้บริการดิจิตอลทีวีในระบบ DVB-T2 ผ่านคลื่น ITU 700 MHz ที่มีกำหนดการประมูลที่เรียกว่าส่งท้ายปีเก่าเลยทีเดียวครับ โดยการประมูลในรอบนี้ กสทช. สามารถทำรายได้เข้าประเทศได้สูงถึง 50,862 ล้านบาทเลยทีเดียวครับ
หลังจากนี้ กสทช. จะขอตรวจสอบผลการประมูลก่อนประกาศผลอย่างเป็นทางการ และดำเนินการออกใบอนุญาตให้ต่อไปครับ ส่วนรายชื่อ "ว่าที่" ผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตในการดำเนินการดิจิตอลทีวีนั้น คาดว่าผู้อ่านคงจะทราบกันมาก่อนแล้ว แต่ก็ขออนุญาตสรุปรายชื่ออีกทีตามข้างล่างนี้นะครับ
หมายเหตุ: เรียงลำดับ ตามอันดับผู้ที่เสนอราคาเข้ามาสูงที่สุดเป็นอันดับแรกนะครับ
กสทช. ออกมาเผยสถิติการนำเข้าโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมายังประเทศไทย ซึ่งต้องผ่านการตรวจสอบจาก กสทช. โดยนับตั้งแต่ปี 2552 ถึง 19 ธันวาคม 2556 รวมทั้งสิ้น 3,880 รุ่น 92.7 ล้านเครื่อง คิดเป็นมูลค่ารวม 6.5 แสนล้านบาท
ปีที่นำเข้าโทรศัพท์และแท็บเล็ตมากที่สุดคือปี 2555 จำนวน 23 ล้านเครื่อง, ปี 2554 22.7 ล้านเครื่อง, ส่วนปี 2556 นำเข้า 10.7 ล้านเครื่อง (กสทช. ไม่อธิบายว่าทำไมปี 2556 ยอดถึงตกลงเยอะขนาดนี้ครับ)
กสทช. ยังเผยรายชื่อมือถือรุ่นยอดนิยมในแต่ละปี ดังนี้ (ไม่บอกว่าในแต่ละปีเรียงตามลำดับหรือไม่นะครับ)
จากการเปิดเผยของ นายก่อกิจ ด่านชัยวิจิตร รองประธาน กสทช. ถึงผลการอนุมัติให้การบินไทยสามารถให้บริการ Wi-Fi บนเครื่องบินได้ เหลือเพียงขั้นตอนเรื่องเอกสารก็จะสามารถเปิดให้บริการได้ทันที
ส่วนเครื่องบินที่การบินไทยจะเปิดให้บริการ Wi-Fi นั้น ได้เแก่เครื่องบิน Airbus A380 จำนวน 6 ลำ และ Airbus A330-300 จำนวน 7 ลำ หลังจากนั้นจะทยอยเปิดบริการบนเครื่องบินเพิ่มขึ้นอีก
ทั้งนี้ยังไม่มีรายละเอียดที่ชัดเจนมากกว่านี้ เช่น สามารถใช้ Wi-Fi ตลอดเวลาบนเครื่องบินหรือไม่, เปิดให้บริการบนเส้นทางไหนบ้าง, จะเปิดบริการเมื่อไหร่ รวมทั้งค่าใช้จ่ายของ Wi-Fi ก็ยังไม่มีรายละเอียดครับ
ที่มา - TrueLife
ต่อจากข่าว เปิดงบ กสทช. เงินบริจาค-ไปนอก-ประชาสัมพันธ์ 565 ล้านบาท, ซื้อ iPad เครื่องละ 70,000 ประเด็นที่คนสงสัยกันเยอะคงเป็นการซื้อ iPad ราคาแพง ล่าสุดทาง กสทช. ออกมาแถลงข้อมูลแล้วครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ออกมาแถลงว่า iPad ตัวที่ว่านั้นแพงเพราะติดตั้งซอฟต์แวร์ตรวจวัดและวิเคราะห์โครงข่ายโทรคมนาคม โดยถือเป็นอุปกรณ์ของโครงการ QoS Measuring Instrument and Analyzer โดย กสทช. ซื้อ iPad จำนวน 3 ตัว ตัวละ 66,250 บาท รวมเป็นเงิน 198,750 บาท
หลังจากที่มีกรณีพิพาทเรื่องที่ค่ายทรูมูฟ เอชเอา Galaxy Note 3 รุ่น 3G มาขายในประเทศจนทำให้ผู้ใช้บางกลุ่มถึงกับสงสัยว่าทำไมไม่มีรุ่น LTE ขาย ซึ่งค่ายทรูมูฟ เอชก็บอกว่าซัมซุงประเทศไทยส่งของมาให้แบบนี้ ไม่ได้ส่งรุ่น LTE มาวางขายแต่อย่างใด จึงทำให้เหล่าผู้ใช้ที่รอคอย Galaxy Note 3 ในไทยถึงกับก่อหวอดว่าทำไมซัมซุงประเทศไทยถึงลำเอียง ไม่ยอมเอารุ่น LTE มาขายเหมือนประเทศเพื่อนบ้าน จนเป็นเรื่องเป็นราวไปพักใหญ่และทำให้ยอดขายในประเทศไทยชะงักไปเพราะเหตุนี้พอสมควร
เมื่อวานนี้ โครงการติดตามนโยบายสื่อและโทรคมนาคม หรือกลุ่ม NBTC Policy Watch นำเสนอผลการศึกษาหัวข้อ “การใช้ทรัพยากรของหน่วยงานกำกับดูแล: กรณีศึกษาเปรียบเทียบระหว่างประเทศ” โดยนักวิจัยคือ ดร.พรเทพ เบญญาอภิกุล อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายกิตติศักดิ์ ศรีประเสริฐ กรรมการผู้จัดการใหญ่ CAT Telecom ให้ข้อมูลว่าบอร์ดบริหารของ CAT อนุมัติกรอบวงเงิน 280 ล้านบาทเป็นค่าธรรมเนียมในการยื่นฟ้อง กสทช. ต่อศาลปกครองแล้ว
คดีนี้ CAT จะฟ้อง กสทช. ที่ออกประกาศเรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการโทรคมนาคมในกรณีสิ้นสุดอายุการอนุญาตสัมปทานหรือสัญญาประกอบกิจการโทรคมนาคม (ประกาศเรื่องคลื่น 1800MHz ต้องกลับไปที่ กสทช.) เพราะจะทำให้ CAT สูญเสียรายได้จากคลื่น 1800MHz ที่ CAT เชื่อว่าสามารถครอบครองได้ถึงปี 2568 (ตามอายุใบอนุญาตของ CAT, ไม่ใช่อายุสัมปทานที่หมดในเดือนที่แล้ว)
ส่วนค่าเสียหาย CAT ตีไว้ 275,000 ล้านบาท โดยประเมินจากเลขหมาย 17-18 ล้านเลขหมาย และรายได้เฉลี่ย 200-300 บาทต่อเดือน
ก่อนหน้านี้ประชาชนผู้ใช้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ ETL (ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศลาว) ที่อาศัยอยู่ในเมืองเวียงจันทน์ประสบปัญหาคลื่นสัญญาณมือถือถูกรบกวนโดยคลื่นสัญญาณของเครือข่าย DTAC จากประเทศไทย จนส่งผลให้จำนวนผู้ใช้บริการของ ETL ลดลงอย่างมากเพราะลูกค้าต่างย้ายไปใช้งานเครือข่ายอื่น ล่าสุด DTAC ตัดสินใจยอมลดความแรงสัญญาณลงเพื่อแก้ปัญหานี้แล้ว
ปัญหาดังกล่าวเกิดขึ้นมานานกว่า 2 ปี โดยสัญญาณของ DTAC ในย่านความถี่ 850MHz บริเวณจังหวัดอุดรธานีและหนองคาย มีกำลังส่งสูงจนไปรบกวนสัญญาณของ ETL ในลาวซึ่งใช้งานในช่วงความถี่ 900Mhz ทำให้ กสทช. ต้องเรียก DTAC มาคุยเพื่อหาทางออก ก่อนจะมีการเข้าพูดคุยกับตัวแทนจากฝั่งลาว ณ เมืองปากเซ จนได้ข้อสรุปข้างต้น
วันนี้ดีแทคได้เผยว่าบริษัทได้เตรียมพร้อมที่จะดำเนินการ 4G LTE อย่างเป็นทางการแล้ว โดยในขณะนี้ได้เข้าดำเนินการปรึกษาหารือแนวทางดำเนินการกับ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด เพื่อที่จะนำคลื่น 1800 MHz ส่วนที่ไม่ได้ใช้งานจำนวน 24.5 MHz มาเปิดให้บริการ โดยรูปแบบธุรกิจคร่าวๆ ของบริการ 4G LTE ที่ดีแทคจะดำเนินการนั้น จะเหมือนกับฝั่งทรู คอร์ปอเรชัน (TrueMove H) ที่ทำหน้าที่เป็นตัวแทนขายต่อบริการครับ (สั้นๆ ก็ MVNO ของ CAT ครับ)
นายประเสริฐ ศีลพิพัฒน์ กสทช. และ กทค. ด้านเศรษฐศาสตร์ กล่าวในงานประชุมรับฟังความคิดเห็น โครงการศึกษาเรื่องการเตรียมความพร้อมของอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการศึกษาผลกระทบเพื่อรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 ว่า กสทช. มีแนวทางขอความร่วมมือจากโอเปอเรเตอร์ให้ลดราคาโรมมิ่งระหว่างประเทศลง
กสทช. ระบุว่าไม่สามารถบังคับให้ผู้ประกอบการลดค่าโรมมิ่งได้ เพราะการโรมมิ่งเป็นข้อตกลงระหว่างโอเปอเรเตอร์จากทั้งสองประเทศ แต่ถ้าผู้ประกอบการไม่ยอมลดราคาโรมมิ่งก็จะเสียประโยชน์ทางธุรกิจเอง เช่น คนไทยที่ไปต่างประเทศอาจใช้วิธีซื้อซิมการ์ด หรือ โทรผ่าน Skype แทน
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
การแก้ปัญหาช่องโหว่ของพื้นที่ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เป็นปัญหาที่ใช้เวลานานกว่าจะแก้ปัญหาได้แต่ละจุดเพราะต้องวางแผนการติดตั้งเสา แต่ทั่วโลกก็แก้ปัญหานี้ด้วยการเปิดให้ผู้ใช้นำเสาโทรศัพท์มือถือขนาดจิ๋วที่เรียกว่า femtocell ไปติดตั้งที่บ้านแล้วเชื่อมต่อกับเครือข่ายผ่านอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้เอง และตอนนี้ประเทศไทยก็รับรองการใช้ femtocell อย่างเป็นทางการแล้ว
รอบ 3 วันที่ผ่านมา (10-12 กันยายน) กสทช. เปิดขายซองเอกสารสำหรับยื่นประมูลทีวีดิจิตอลประเภทบริการทางธุรกิจระดับชาติ และปิดการขายไปเมื่อเวลา 16.00 น. ของวันนี้
สรุปรวมแล้วมีบริษัทสื่อมาซื้อซองประมูลไปทั้งสิ้น 33 บริษัท นับรวมได้ 49 ซอง แยกรายชื่อตามหมวดได้ดังนี้ (ในวงเล็บด้านหลังคือเครือธุรกิจที่สังกัด)
เปิดประมูล 3 ช่อง มีผู้สนใจซื้อเอกสารการประมูลจำนวน 8 ราย ได้แก่
กสทช. 4 คน (ยกเว้น กสทช.ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา) ยื่นฟ้องต่อ ดร.เดือนเด่น นิคมบริรักษ์ จาก TDRI และณัฏฐา โกมลวาทิน ผู้ดำเนินรยการ "ที่นี่ไทยพีบีเอส" ในการทำรายการเรื่องประกาศกันซิมดับ (ชื่อเต็ม "ประกาศ กสทช. เรื่องมาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ... ") ว่าหมิ่นประมาทโดยใส่ข้อความอันเป็นเท็จ
ชื่อบทความเดิม ตอบเรื่องวุ่นวายเกี่ยวกับฐานอำนาจทางกฎหมายในการออกประกาศ กสทช. ห้ามซิมดับ (ตอนที่หนึ่ง)
บทความโดย จันทจิรา เอี่ยมมยุรา คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ความนำ
ได้อ่านบทความที่ ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กสทช. ด้านกฎหมาย (กิจการโทรคมนาคม) ได้เขียนลงหนังสือพิมพ์มติชนรายวัน วันที่ 13-14 สิงหาคม 2556 รวม 2 วัน เรื่อง “เรื่องวุ่นวายของฐานอำนาจกฎหมาย กับ ประกาศ กสทช. ห้ามซิมดับ (ตอน 1-2)” ซึ่งคุณสุทธิพลกล่าวพาดพิงถึงนักวิชาการบางท่านหรือนักกฎหมายที่ออกมาเคลื่อนไหวแสดงความไม่เห็นด้วยกับร่างประกาศห้ามซิบดับของ กสทช.
เมื่อวานนี้ (29 ส.ค.) น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รัฐมนตรีไอซีที ในฐานะเจ้ากระทรวงกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ TOT และ CAT เข้าหารือกับ กสทช. โดยเสนอให้แก้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับกิจการโทรคมนาคม 3 ฉบับ
เหตุผลของรัฐมนตรีคือกฎหมายเหล่านี้มีความขัดแย้งกันเอง ทำให้การออกประกาศของ กสทช. มีปัญหาตามไปด้วย โดยเบื้องต้นทางกระทรวงไอซีทีกับ กสทช. จะตั้งคณะกรรมการร่วมกันพิจารณา ก่อนจะส่งให้คณะรัฐมนตรีอนุมัติต่อไป
วันนี้ 29 สิงหาคม 2556 ราชกิจจานุเบกษาได้ลง
"ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง มาตรการคุ้มครองผู้ใช้บริการเป็นการชั่วคราวในกรณีสิ้นสุดการอนุญาตสัมปทาน หรือสัญญาการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ พ.ศ. ๒๕๕๖"
แล้ว ซึ่งคงความคุ้มครองผู้ใช้บริการต่อไปอีกหนึ่งปีตามที่เป็นข่าวเพื่อให้ทันการประมูลในเดือนกันยายน 2557 และเมื่อเทียบกับร่างของคณะอนุ 1800 ชุดที่สอง (ดูข่าวเก่า Blognone) แล้วจะมีส่วนสำคัญที่ต่างกันและน่ารู้สำหรับผู้ใช้บริการทั่วไป คือ
คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) ออกใบอนุญาตการให้บริการ Wi-Fi ความถี่ 2.4GHz แก่ บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เพื่อนำไปบริการผู้โดยสารบนเครื่องบิน
ก่อนหน้านี้การบินไทยเคยยื่นขอใบอนุญาตทั้ง Wi-Fi และโทรศัพท์มือถือ แต่กฎหมายของไทยกำหนดว่าใบอนุญาตมือถือต้องใช้การประมูลเท่านั้น ทาง กทค. จึงอนุญาตเฉพาะ Wi-Fi ไปก่อน
ขั้นต่อไป การบินไทยจะต้องเลือกบริษัทผู้ให้บริการ Wi-Fi อีกทีหนึ่ง คาดว่าจะเริ่มเปิดบริการเดือนกันยายนนี้ (รอเช็คข่าวอย่างเป็นทางการจากการบินไทยอีกทีหนึ่งครับ)
ที่มา - ประชาชาติธุรกิจ
เมื่อวานนี้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ หรือกสท. (ที่เป็นหน่วยงานย่อยใน กสทช.) ได้ออกแถลงการณ์ถึงกรณีที่มีผู้ร้องเรียนไปยังสำนักงาน กสทช. ในเรื่องของการที่ช่อง "แก๊งค์การ์ตูน" ของบริษัท โรส มีเดีย แอนด์ เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด ออกอากาศฉากที่ไม่เหมาะสมออกไป โดยให้ความเห็นว่าช่อง "แก๊งค์การ์ตูน" ทำผิดมาตราที่ 37 และกำลังพิจารณาบทลงโทษต่อไปครับ
หลังจากที่เมื่อวานนี้มีข่าว กทค. ลงมติให้ดีแทคมีความผิดที่เก็บค่าบริการเกิน 99 สตางค์ ตามประกาศของกสทช. วันนี้ทางดีแทคก็ส่งจดหมายชี้แจงออกมาแล้ว
ใจความสำคัญคือการประกาศของกสทช. นั้นไม่ใช่เป็นการคุ้มครองผู้บริโภคอย่างแท้จริง และดีแทคกำลังอยู่ระหว่างการฟ้องต่อศาลปกครองต่อคำสั่งเหล่านี้
จดหมายฉบับเต็มอยู่ท้ายข่าวครับ
การปฎิบัติตามประกาศ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)
เรื่อง อัตราขั้นสูงของค่าบริการโทรคมนาคมสำหรับบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ประเภทเสียงภายในประเทศ พ.ศ.2555
กทค. มีมติสั่งให้ DTAC คืนค่าบริการให้แก่ผู้ใช้บริการรายหนึ่งที่ร้องเรียนมายังกสทช. ว่า DTAC เก็บค่าบริการเกิน 99 สตางค์ ตามประกาศของกสทช. พร้อมกับดอกเบี้ยร้อยละ 15 ในส่วนที่เกินมานั้น
ปัญหาคือมตินี้ สั่งเป็นกรณีเฉพาะของผู้ใช้รายเดียวเท่านั้น ไม่ได้สั่งเป็นกรณีทั่วไป ทำให้ผู้ใช้คนอื่นๆ ที่ถูกเก็บค่าบริการเกินเหมือนกัน จะต้องส่งเรื่องเข้าไปยังกทค. ให้พิจารณาเป็นคนๆ ไปทุกคน แม้จะมีบรรทัดฐานไว้ก่อนหน้า แต่รูปแบบการตัดสินแบบนี้ก็น่าจะทำให้ผู้ใช้จำนวนมากไม่ใส่ใจที่จะมาร้องเรียนกัน
ในประเด็นนี้ กสทช. ประวิทย์ ออกมาเชิญชวนให้ผู้บริโภครายอื่นๆ ส่งเรื่องร้องเรียนเข้าไปยังกสทช. เพื่อให้มีการพิจารณาในรูปแบบเดียวกัน และทางฝั่งในสำนักงานเองตอนนี้ก็มีเรื่องอยู่แล้วอีกเกือบ 130 เรื่อง
ที่ประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (กสท.) วันนี้ (19 ส.ค.) ลงมติแผนการจัดประมูลทีวีดิจิตอลใหม่
กำหนดการนี้ทำให้ช่วงเวลาการจัดประมูลที่เป็นไปได้อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2556 ไปจนถึงเดือนมกราคม 2557 ซึ่งกรอบเวลาหลังจากการประมูลคือ ประกาศผลการประมูลภายใน 15 วัน และผู้รับใบอนุญาตต้องออกอากาศภายใน 45 วันหลังการประมูล (ประมาณเดือนมีนาคม 2557) โดยช่วงแรกผู้ชนะการประมูลไม่จำเป็นต้องออกออกอากาศครบทั้ง 24 ชั่วโมง
เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556 ที่ผ่านมา ราชกิจจานุเบกษาได้ลง "ประกาศคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ เรื่อง กำหนดให้เครื่องวิทยุคมนาคมและสถานีวิทยุคมนาคมในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ได้รับยกเว้นไม่ต้องได้รับใบอนุญาตตาม พระราชบัญญัติวิทยุคมนาคม พ.ศ. ๒๔๙๘ พ.ศ. ๒๕๕๖" โดยมีใจความสำคัญอยู่ที่
ที่ประชุมบอร์ดโทรคมนาคม (กทค.) ของ กสทช. วันนี้ (31 ก.ค. 56) เห็นชอบ "กรอบระยะเวลา" การดำเนินการสำหรับคลื่น 1800MHz ชุดที่สัมปทานจะสิ้นสุดลง โดยจะกำหนดให้มีการประมูลคลื่นความถี่ 1800 MHz ในช่วงกลางเดือนถึงปลายเดือนกันยายน 2557