กสทช.
บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ได้แจ้งมติที่ประชุมคณะกรรมการของบริษัทฯ ครั้งที่ 4/2559 ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ ว่าจะไม่เข้าร่วมการประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz อีกหนึ่งสลอตที่กำหนดจัดประมูลวันที่ 27 พฤษภาคม 2559 นี้ ถึงแม้ทรูจะมีสิทธิ์เข้าร่วมการประมูลก็ตาม
ทรูให้เหตุผลว่าปัจจุบันมีคลื่นความถี่ครบถ้วนและเพียงพอที่จะให้บริการได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่แล้ว ทั้งคลื่นความถี่สูงและคลื่นความถี่ต่ำรวม 55 MHz ซึ่งครอบคลุมการให้บริการได้ในทุกมิติ
ที่มา: ทรู
ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีวันที่ 19 เมษายน 2559 เห็นชอบร่างกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล 3 ฉบับ ที่นำเสนอตั้งแต่ปีที่แล้ว และผ่านกระบวนปรับแก้โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา
กฎหมาย 3 ฉบับนี้ประกอบด้วยกฎหมายเศรษฐกิจดิจิทัล, พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฉบับใหม่ และ พ.ร.บ. กสทช. ฉบับใหม่
หลังจากที่ คสช. ได้มีคำสั่งให้จัดประมูลคลื่น 900 MHz ในอีกหนึ่งสลอตวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ในวันนี้ที่สำนักงาน กสทช. ตัวแทนจากบริษัท แอดวานซ์ ไวเลสเน็ตเวิร์ค (AWN) ในเครือเอไอเอสก็ได้มารับเอกสารสำหรับการเข้าร่วมการประมูลเป็นบริษัทแรก
โดยคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้ให้ความเห็นว่าไม่น่ามีผู้ประกอบการรายอื่นสนใจร่วมประมูล ซึ่งหาก AWN เป็นรายเดียวที่ประมูลก็สามารถจัดประมูลได้ โดยเริ่มต้นที่ราคา 75,654 ล้านบาท และเคาะเพื่อยืนยันหนึ่งครั้งบวกไป 152 ล้านบาท
อย่างไรก็ตามเอไอเอสอาจต้องจัดการประชุมผู้ถือหุ้นวาระพิเศษ เพื่อขออนุมัติในการเข้าร่วมการประมูลครั้งนี้ด้วย ทั้งนี้บริษัทที่สนใจยังสามารถมาขอรับเอกสารเข้าร่วมการประมูลได้จนถึงวันที่ 17 พฤษภาคมนี้
วันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี ใช้อำนาจตามมาตรา 44 ของรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พ.ศ. 2557 ออกคำสั่งฉบับที่ 16/2559 ให้มีการจัดประมูลคลื่นความถี่ 900 MHz ใหม่อย่างเป็นทางการแล้ว หลังจากเกิดเหตุการณ์ที่ JAS ไม่ยอมมาชำระค่าประมูลคลื่น
สาระสำคัญของประกาศฉบับนี้ คือการให้นำเอาคลื่นเดิมออกมาประมูลใหม่อีกครั้งหนึ่ง โดยใช้ราคาประมูลเริ่มต้นที่ราคาซึ่งผู้ประมูลชนะในรอบที่แล้วได้ไป (75,654 ล้านบาท) และผู้เข้าร่วมประมูลต้องวางหลักประกันการเข้าประมูลครั้งนี้เป็นจำนวนเงิน 3,783 ล้านบาท, ไม่จำกัดว่าใครจะเข้าประมูล ยกเว้นคนที่ฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามประกาศของ กสทช. ว่าด้วยการประมูลคลื่น 900 MHz ในรอบที่แล้ว (แปลว่า JAS หมดสิทธิ แต่ True เข้าร่วมได้), ให้ใบอนุญาตที่ออกไปก่อน สิ้นสุดพร้อมกับในอนุญาตใหม่ที่กำลังจะประมูล (แปลว่าใบของ True ที่ประมูลไปแล้วจะถูกต่ออายุไป) และยังคุ้มครองผู้ใช้คลื่นรายเดิมไปจนถึงวันที่ 30 มิถุนายน หรือจนกว่าจะออกใบอนุญาต แล้วแต่ว่ากำหนดใดถึงก่อน (แปลว่า AIS 2G ยังคุ้มครองต่อไป)
ทั้งนี้ ในคำสั่งที่ออกมานี้ ระบุชัดเจนว่าไม่เป็นการตัดสิทธิหน่วยงานรัฐ ในการเรียกร้องค่าเสียหายหรือค่าใช้จ่ายอื่น ตามประกาศประมูลคลื่น 900 MHz ของ กสทช. ฉบับที่แล้ว ซึ่งก็แปลว่า JAS มีโอกาสถูกฟ้องจากการไม่ชำระเงินประมูลในรอบที่แล้ว และยังกำหนดเพิ่มว่า หากในรอบนี้ผู้เข้าร่วมประมูลไม่มาชำระเงิน จะต้องเสียค่าปรับอย่างน้อย 11,348 ล้านบาท
ที่มา - ราชกิจจานุเบกษา
วันนี้มีคำสั่ง คสช. เพื่อกำหนดวันประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่ หลังจากที่แจส (แจส โมบาย บรอดแบนด์ > JMBB) ไม่ไปจ่ายเงินเมื่อการประมูลที่ผ่านมา โดยกำหนดวันประมูลเป็นวันที่ 27 พฤษภาคมนี้ ซึ่งเป็นการเลื่อนการประมูลให้เร็วขึ้นกว่าเดิมเกือบ 1 เดือน (เดิม 24 มิถุนายน) โดยตัดช่วงเวลาในการรับฟังความเห็นสาธารณะออกไป ขณะที่หลักเกณฑ์การประมูลก็เป็นไปตามที่เคยให้ข่าวก่อนหน้านี้
Official Line ของทรูวิชั่นส์ ประกาศให้ทราบว่าในวันที่ 26 เมษายน ตั้งแต่เวลา 00:01-10:00 จะเรียงลำดับช่องทีวีดิจิตอลตามที่ กสท. กำหนดไว้ ส่งผลให้ช่วงเวลาดังกล่าวไม่สามารถชมรายการได้
คงเป็นการเปลี่ยนแปลง หลังจากที่ กสท. เตรียมพิจารณาเงื่อนไขเช็คบิล "ทรูวิชันส์" หลังยังไม่เรียงช่อง+ย้ายช่องทีวีดิจิทัลออกจากช่อง 1-10
ต่อจากข่าว กสทช. บอกไม่มีอำนาจพิจารณาข้อเสนอ AIS ต้องส่งเรื่องให้ คสช. ใช้ ม.44 เมื่อวานนี้ 8 เมษายน 2559 นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ประชุมร่วมกับ นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ เพื่อหาทางออกในเรื่องนี้
หลังการประชุม นายวิษณุเปิดเผยว่า ที่ประชุมไม่เห็นด้วยกับการให้คลื่น AIS ตามราคาที่ JAS ประมูลได้ เพราะจะตัดโอกาสผู้ประกอบการรายอื่น และป้องกันไม่ให้เกิดข้อครหา แต่มองว่า กสทช. ควรจัดประมูลโดยให้ผู้ประกอบการทุกราย (รวมถึง True) เข้าประมูลได้ ยกเว้นแค่ JAS เท่านั้น
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ได้เปิดเผยหนังสือด่วนจากสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ผ่านบัญชี Twitter ของตน ซึ่งพูดถึงการขอให้ กสทช. พิจารณาข้อเสนอขอรับช่วงคลื่น 900MHz จาก AIS ด้วยความรอบคอบ
ทาง สตง. ได้ให้ความเห็นต่อประเด็นต่างๆ ที่ทาง AIS ได้เสนอมา ซึ่งมี 3 ประเด็นคือ ขอซื้อต่อคลื่น, ขยายเวลาคุ้มครองลูกค้า 2G จนกว่าจะชำระเงิน และดูแลคลื่นรบกวนที่ติดกับ 850MHz ของดีแทค โดยสรุปได้ดังนี้
แม้ว่า JAS จะตัดสินใจทิ้งคลื่น 4G ไปแล้ว แต่ผลจากการตัดสินใจดังกล่าวยังไม่น่าจะจบลงง่ายๆ เมื่อล่าสุด เว็บไซต์ของหนังสือพิมพ์ไทยรัฐ รายงานว่าคณะทำงานพิจารณาความรับผิดชอบกรณี JAS Mobile ไม่มาชำระเงินค่าประมูล ของ กสทช. ที่มีอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีปราบปรามการทุจริต สำนักงานอัยการสูงสุด เป็นประธาน เตรียมเรียกผู้บริหารของธนาคารกรุงเทพเข้าพบเพื่อชี้แจง หลังจากที่ทาง JAS โดยนายพิชญ์ โพธารามิก ระบุว่าได้มีการหารือกับ นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ธนาคารกรุงเทพ เกี่ยวกับการไม่ยอมออกหนังสือค้ำประกันจากทางธนาคาร จนเป็นเหตุให้ JAS ไม่สามารถนำเงินมาชำระได้ทันเส้นตายของ กสทช.
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน
ในระหว่างที่ กสทช. เตรียมการจัดประมูลคลื่น 900 MHz โดยจะนำราคาชนะประมูลของคลื่นที่ถูกทิ้งใบอนุญาตเดิม คือราคา 75,654 ล้านบาท มาเป็นราคาตั้งต้นการประมูลใหม่แล้วนำไปรับฟังความคิดเห็นสาธารณะว่าเป็นระดับราคาที่เหมาะสมหรือไม่ หลายฝ่ายก็ถกเถียงกันว่า การตั้งต้นประมูลที่ราคานี้เท่ากับเป็นการอุ้มผู้ทิ้งใบอนุญาตหรือไม่ เพราะไม่มีส่วนต่างราคาประมูลที่จะต้องรับผิดชอบ และถ้าไม่มีใครเข้าร่วมประมูลเพราะเป็นราคาที่สูงเกินไป คลื่นจะถูกเก็บไว้โดยไม่ได้ใช้ประโยชน์ ใครจะรับผิดชอบค่าเสียโอกาสของประเทศ อีกทั้งการเก็บคลื่นไว้เป็นเวลานานจนราคาเปลี่ยนแปลงไป ก็จะทำให้ไม่สามารถเรียกร้องส่วนต่างราคาจากผู้ทิ้งใบอนุญาตได้
ประเด็นเรื่อง AIS เสนอ กสทช. ยินดีจ่าย 75,654 ล้านบาท เอาคลื่น 900MHz แทน JAS ถือเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจอย่างสูงในวันนี้ ถึงแม้บอร์ด กสทช. ชุดใหญ่ ไม่มีวาระพิจารณาเรื่องนี้ในการประชุมวันนี้ แต่เลขาธิการ กสทช. ก็ออกมาให้ข้อมูลแล้วครับ
นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. ระบุว่าข้อเสนอของ AIS อยู่นอกอำนาจของ กสทช. และต้องส่งเรื่องให้ คสช. พิจารณาใช้อำนาจตามมาตรา 44 โดย กสทช. จะส่งความเห็นทางกฎหมาย และบทวิเคราะห์ข้อดีข้อเสียให้ คสช. พิจารณาภายในวันศุกร์นี้ (8 เมษายน 2559)
บอร์ดชุดใหญ่ กสทช. ประชุมวันนี้ มีมติ 5:3 ไม่อนุญาตให้ True เข้าประมูลคลื่น 900MHz ครั้งใหม่ได้อีก ซึ่งถือเป็นการคว่ำ มติบอร์ดโทรคมนาคม (กทค.) ก่อนหน้านี้ ที่อนุญาตให้ True ประมูลได้
คะแนนการโหวตวันนี้จึงเป็นบอร์ด กสท. 4 คน รวมกับนายประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา (กทค. เสียงข้างน้อย) อีก 1 เสียง รวม 5 เสียง (มีกรรมการลาประชุม 2 ราย)
ส่วนราคาตั้งต้นของการประมูลยังยืนตามเดิมคือราคาสุดท้ายที่ JAS เสนอ (75,654 ล้านบาท)
AIS ยื่นหนังสือต่อ กสทช. ว่ายินดีรับช่วงคลื่น 900MHz ล็อตที่ JAS ชนะการประมูลแต่ไม่มาจ่ายเงิน ที่ราคา 75,654 ล้านบาท และปฏิบัติตามเงื่อนไขของผู้ชนะการประมูลทุกประการ (จ่าย 4 งวด, วางหนังสือค้ำประกัน)
ถ้า กสทช. อนุมัติให้ AIS รับช่วงคลื่นต่อจาก JAS ทาง AIS จะต้องนำเรื่องให้ผู้ถือหุ้นอนุมัติ ซึ่งใช้เวลาประมาณ 2 เดือน และขอให้ กสทช. ช่วงหามาตรการด้านคลื่นรบกวน (สล็อต 1 ติดกับคลื่นของ dtac) และมาตรการคุ้มครองลูกค้า 2G เดิมบนคลื่น 900MHz ด้วย
กสทช. จะพิจารณาข้อเสนอของ AIS ในวันนี้ แต่แหล่งข่าวภายใน กสทช. ก็บอกกับ The Nation ว่า กสทช. อาจต้องขออนุมัติจากรัฐบาลก่อน
การประชุมบอร์ด กทค. เมื่อวานนี้ (31 มีนาคม) ได้ข้อสรุปเรื่องการจัดประมูลคลื่น 900MHz รอบใหม่แล้ว
บทความโดย ประวิทย์ ลี่สถาพรวงศา กรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคและการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพประชาชน)
เมื่อผู้ชนะการประมูลคลื่น 900 MHz รายหนึ่งไม่มาชำระเงินตามกำหนด เท่ากับสละสิทธิการใช้คลื่น ในความเป็นจริงแล้ว คลื่นความถี่ย่านนี้ถือเป็นคลื่นที่ขาดแคลนและสามารถสร้างผลตอบแทนทางเศรษฐกิจต่อประเทศได้มาก จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องจัดประมูลคลื่นครั้งใหม่โดยเร็ว นอกจากนี้ การเก็บคลื่นไว้อาจทำให้มูลค่าคลื่นลดลงเนื่องจากในอนาคตจะมีการจัดสรรคลื่น 1800 MHz หรือคลื่นย่านอื่นๆ อีก ทำให้อุปทานคลื่นในตลาดเพิ่มขึ้น
วันนี้ บริษัท ดีแทค ไตรเน็ต จำกัด ยื่นจดหมายแสดงความคิดเห็นเรื่องการประมูลคลื่น 900 MHz รอบใหม่ที่จะเกิดขึ้นในอีก 4 เดือนข้างหน้า โดยดีแทคเสนอแนวทางที่ “น่าจะเป็นไปได้” สำหรับการประมูลในรอบนี้ขึ้นมาครับ
แนวทางที่ดีแทคเสนอ ประกอบด้วยราคาตั้งต้นในการประมูลรอบใหม่ที่ กทค. มีมติว่าใช้ราคาสุดท้ายของ JAS เป็นราคาตั้งต้น (75,654 ล้านบาท) ดีแทคมองว่าราคาดังกล่าวสูงเกินความเป็นจริงสำหรับตลาดอุตสาหกรรม แม้จะเป็นผลดีต่อภาครัฐที่ได้รายได้จากการประมูลจำนวนมาก แต่ก็ส่งผลลบต่ออุตสาหกรรมโทรคมนาคมเช่นกัน โดยเฉพาะบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ทั้งในแง่ของความเชื่อมั่นในการลงทุน และความกังวลเรื่องต้นทุนการให้บริการที่สูงเกินความจำเป็น ทำให้ที่ผ่านมามูลค่าต้นทุนต่อตลาดอุตสาหกรรมของบริษัทที่เข้าร่วมประมูลทั้งหมดลดลงกว่า 5 แสนล้านบาท ในระยะเวลาประมูลเพียง 4 วัน
หลังจาก ทรูวิชันส์ขัดขืนไม่ยอมเรียงช่องใหม่ ล่าสุดเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา บริษัท ทรูวิชันส์ กรุ๊ป จำกัด ได้ทำหนังสือแจ้งต่อคณะกรรมการ กสท. โดยยินยอมที่จะทำตามประกาศของทาง กสทช. แต่ทางทรูวิชันส์ จะไม่ได้ดำเนินการเรียงช่องตามประกาศ กสทช. ในทันที บริษัทจะเป็นคนแจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ทางฝั่ง กสทช. ได้สั่งปรับตามคำสั่งทางปกครอง วันละ 20,000 บาท (ในกรณีขัดคำสั่งตาม ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การจัดลำดับบริการโทรทัศน์) ปรับ 1 ล้านบาทและวันละ 50,000 บาท (ตามกฎ Must Carry) ค่าปรับจะเพิ่มสูงขึ้นหากยังฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามคำสั่ง
มาถึงตอนนี้ เลยเส้นตายการจ่ายค่าประมูลคลื่น 900MHz ที่บริษัท JAS ในเครือ Jasmine ชนะการประมูลเมื่อปลายปี 2558 ไปเรียบร้อยแล้ว นั่นแปลว่า JAS ยอมทิ้งคลื่นที่ประมูลได้มาในราคาแพงระดับโลก
JAS ยังไม่แถลงข้อมูลหรือเหตุผลที่ไม่จ่ายค่าคลื่น (รอคำอธิบายจาก JAS กันต่อไป) คำถามที่หลายคนสงสัยคือ ต่อจากนี้ไปจะเกิดอะไรขึ้น ซึ่ง Blognone มีบทวิเคราะห์ดังนี้
กำหนดการซิมดับเที่ยงคืนวันนี้ถูกเลื่อนไปอีกหนึ่งเดือน เมื่อทาง AIS ฟ้องศาลปกครอง และทางศาลปกครองได้ส่งคำคุ้มครองชั่วคราวให้ AIS ใช้งานคลื่นความถี่ได้ไปอีกหนึ่งเดือน สิ้นสุดวันที่ 14 เมษายน 2559
งานนี้ผู้ใช้ทั้ง 400,000 เลขหมายก็จะมีเวลาย้ายค่ายอีกระยะหนึ่ง หากใครใช้งานอยู่ก็ควรไปย้ายกันเสียให้เรียบร้อยครับ
จากกรณี กสทช. ไม่ขยายระยะเวลาคุ้มครอง ลูกค้า AIS 2G วันนี้ (14 มีนาคม) AIS ยื่นฟ้องศาลปกครองกลาง คัดค้านมติของ กทค. พร้อมยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว ให้ AIS สามารถให้บริการด้วยคลื่นความถี่ 900MHz ช่วงสล็อต 1 ไปอีกระยะหนึ่ง
ศาลปกครองกลางนัดไต่สวนในวันพรุ่งนี้ (15 มีนาคม) ส่งผลให้การประชุม กทค. วันพรุ่งนี้ต้องยกเลิกไปด้วยครับ
จากที่ AIS จะยื่นขอความคุ้มครองกับ กสทช. เป็นการเพิ่มเติม ล่าสุดคุณฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช. เผยว่า ในที่ประชุม กทค. วันนี้ มีมติการออกใบอนุญาตให้ True อย่างเป็นทางการ โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2559 - 15 มีนาคม พ.ศ. 2574 และมีมติไม่ขยายระยะเวลาคุ้มครองลูกค้าตามที่ AIS ยื่นจดหมายร้องขอไปตั้งแต่วันที่ 11 มีนาคม ส่งผลให้ลูกค้า AIS 2G ที่คงเหลือกว่า 300,000 ราย ซิมดับในคืนวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2559 อย่างแน่นอน
เช้าวันนี้ AIS แถลงข่าวเรื่องการคุ้มครองลูกค้าเก่าที่อยู่บนระบบ 2G 900MHz เดิม โดยมีประเด็นดังนี้
สัปดาห์ที่แล้ว True เข้าไปจ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 900MHz กับ กสทช. วันนี้ กสทช. ออกใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 900MHz ให้กับ True แล้ว
การออกใบอนุญาตนี้มีผลให้ความคุ้มครองชั่วคราวกับผู้ใช้ 2G ระบบเดิมของ AIS สิ้นสุดลง (ตามกฎของ กทค. ที่มีผลเมื่อมอบใบอนุญาตให้ผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่ง) แนวทางก่อนหน้านี้ True เสนอให้ AIS เช่าคลื่น แต่ทาง AIS ก็ปฏิเสธ และระบุว่าจะใช้วิธีขอ roaming กับเครือข่าย 2G 1800MHz ของ dtac แทน
ขณะที่เขียนข่าวนี้ AIS กำลังแถลงข่าว เดี๋ยวจะแยกเรื่อง AIS เป็นอีกข่าวนะครับ
ที่มา - อีเมลประชาสัมพันธ์ กสทช.
วันนี้เวลา 13.39 น. บริษัท ทรู มูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด เข้าไปจ่ายเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ย่าน 900MHz กับ กสทช. แล้ว มูลค่าการจ่ายเงินงวดแรก จำนวน 8,040,000,000 บาท รวมภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 7 อีก 562,800,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 8,602,800,000 บาท
True ยังนำหนังสือค้ำประกันจากสถาบันการเงิน เพื่อค้ำประกันเงินค่าประมูลงวดที่เหลืออีก 73,036,060,000 บาท มามอบให้ กสทช. ด้วย
ลำดับถัดไป สำนักงาน กสทช. จะนำเรื่องเสนอบอร์ด กทค. เพื่อออกใบอนุญาตให้ True ส่วนเงินค่าประมูลจะนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้แผ่นดินต่อไป
จากข่าว ทรูเตรียมจ่ายค่าใบอนุญาตคลื่น 900 วันที่ 11 มีนาคมนี้ ซึ่งจะมีผลให้มาตรการเยียวยาลูกค้าเก่าของ AIS GSM 900 สิ้นสุดลง
วันนี้ที่ประชุม คณะกรรมการกิจการโทรคมนาคม (กทค.) มีมติไม่อนุมัติให้ AIS ขยายมาตรการคุ้มครองชั่วคราวออกไปอีก ตามมติเดิมว่ามาตรการคุ้มครองชั่วคราวจะสิ้นสุดลงเมื่อ กทค. ออกใบอนุญาตให้กับผู้ชนะการประมูลรายใดรายหนึ่ง
ส่วนประเด็นว่า True เสนอให้ AIS สามารถใช้ความถี่ 900MHz จำนวน 10MHz ได้อีก 3 เดือน โดยคิดค่าเช่าใช้งาน 450 ล้านบาทต่อเดือน ทางคณะกรรมการ กทค. รับทราบและมอบหมายให้สำนักงาน กสทช. เป็นเจ้าภาพเชิญผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง (True, AIS, AWN, TOT) มาหารือว่าสามารถทำได้หรือไม่