Non-fungible token
ผู้บริหารของสตูดิโอ PlatinumGames คือซีอีโอ Atsushi Inaba และรองประธาน Hideki Kamiya ให้สัมภาษณ์กับเว็บไซต์ VGC ถึงแผนการในอนาคต มีประเด็นน่าสนใจดังนี้
NFT กลายเป็นคำที่ทุกคนได้ยินบ่อยครั้งในช่วงหลังๆ และหลายคนอาจจะสนใจ NFT ในแง่มุมต่างๆ ทั้งศิลปินที่สนใจผลิตงานเพื่อขายเป็น NFT หรือจะเป็นการลงทุน ในงาน Bangkok Design Week 2022 เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ ทาง SC Asset ก็แถลง แผนที่จะเข้าไปในตลาด NFT และ Metaverse เพื่อสร้างบริการรูปแบบใหม่ๆ พร้อมกับจัดงานสัมมนา NFT 101 presented by SC Asset ที่เชิญผู้เชี่ยวชาญมาบรรยายถึงสิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับ NFT และโอกาสต่างๆ
คุณเอ็ดดี้-ภรากร ไทยวรศิลป์ ผู้ก่อตั้งกลุ่ม NFT and Crypto Art Thailand อธิบายถึงแนวคิดของ NFT หรือ non-fungible token ว่าเป็น token ที่แต่ละอันทดแทนกันไม่ได้ ต่างจากเงินคริปโตทั่วๆ ไป เช่น Ethereum ที่ token ใดๆ ก็เหมือนกันขอให้เป็นสกุลเดียวกันเท่านั้น
Wired UK มีบทความเล่าถึงปัญหาของ OpenSea แพลตฟอร์มซื้อขาย NFT ที่มาแรงที่สุดในตอนนี้ แต่การเติบโตที่รวดเร็วก็ตามมาซึ่งปัญหามากมาย ทั้งเรื่องชิ้นงานปลอม-ก๊อปปี้มา, พนักงานทุจริต และช่องโหว่ความปลอดภัย
Wired ชี้ว่าเหตุผลสำคัญเกิดจาก OpenSea เติบโตเร็วมาก เพราะเลือกแนวทางเร่งโตจากการเปิดให้สร้าง (mint) NFT ฟรี จนเจอปัญหาการสเกลทั้งโครงสร้างพื้นฐานและทรัพยากรคนไม่ทัน บริษัทเพิ่งมีผู้บริหารฝ่ายความปลอดภัย (Chief Security Officer) คนแรกเมื่อเดือนธันวาคม 2021 นี้เอง
Cent แพลตฟอร์มประมูล NFT (เคยเป็นที่ประกาศขาย NFT ข้อความทวีตแรกของโลก) ประกาศหยุดการทำธุรกรรมเกือบทั้งหมดชั่วคราว หลังเจอปัญหาว่างาน NFT ส่วนใหญ่เป็นของปลอม ของก๊อปปี้ ของละเมิดลิขสิทธิ์
Cameron Hejazi ผู้ก่อตั้งและซีอีโอของ Cent ให้สัมภาษณ์กับ Reuters ว่านี่เป็นปัญหาระดับโครงสร้างของวงการ NFT เลยทีเดียว โดยปัญหาแบ่งเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ คือ ขาย NFT ที่ก็อปปี้มา, นำเนื้อหาที่ไม่ใช่ของตัวเองมาทำ NFT, และขายชุดของ NFT ที่มีลักษณะคล้ายหลักทรัพย์
Hejazi บอกว่า Cent พยายามแบนบัญชีผู้ใช้ที่มีปัญหา แต่ก็เป็นเกมแมวไล่จับหนูไปเรื่อยๆ ไม่มีวันจบสิ้น แม้ว่า Cent เป็นแพลตฟอร์ม NFT รายเล็กที่มีผู้ใช้ราว 150,000 คนเท่านั้น
Bloomberg รายงานว่า Ubisoft ประกาศแผนการด้านบล็อกเชนและ NFT ลงในเว็บบอร์ดภายในของบริษัท ผลคือพนักงานแห่กันมาคอมเมนต์ในเชิงลบเป็นจำนวนหลายร้อยคอมเมนต์
ตัวอย่างคอมเมนต์จากพนักงานได้แก่ "รู้สึกอับอายที่ทำงานที่นี่" "เราไม่เชื่อใจทีมบริหารตั้งแต่ประเด็นการคุกคามทางเพศแล้ว ยังมาเจอสิ่งนี้อีก" "ทำไมเราไม่โฟกัสกับการทำเกมให้สนุกแทน" และ "เรากำลังจะแซงหน้า EA เป็นสตูดิโอเกมที่คนเกลียดที่สุด"
โฆษกของ Ubisoft แจ้งกับ Kotaku ว่าตัวแทนของทีมยุทธศาสตร์ได้โพสต์ตอบว่ารับทราบความเห็นเหล่านี้แล้ว และจะนำไปพิจารณาปรับปรุงแผนการต่อไป
Andrew Wilson ซีอีโอของ EA ในฐานะคู่แข่ง "สตูดิโอที่คนเกลียดมากที่สุด" เพิ่งประกาศว่าจะยังไม่ทำ NFT ในเร็วๆ นี้
OnlyFans เป็นบริการโซเชียลรายล่าสุดที่เข้าวงการ NFT โดยเปิดให้ผู้ใช้สามารถนำภาพ NFT มาเป็นภาพโปรไฟล์ของตัวเองได้ ลักษณะเดียวกับที่ Twitter เพิ่งประกาศไป
Ami Gan ซีอีโอของ OnlyFans ให้ข้อมูลกับ Reuters ว่าภาพ NFT ในโปรไฟล์ถือแค่เป็นก้าวแรกของการใช้ NFT บนแพลตฟอร์มเท่านั้น โดยเบื้องต้นยังรองรับเฉพาะภาพ NFT ที่อยู่บน Ethereum เพียงอย่างเดียว และโพรไฟล์จะมีไอคอน Ethereum เล็กๆ แปะมาด้วยเพื่อให้รู้ว่าเป็นภาพจาก NFT จริงๆ
ที่มา - Reuters
The Sandbox เกมลูกผสม metaverse สร้างอวตารในโลกเสมือน Web3 ซื้อขายที่ดินในเกม และ NFT บนบล็อกเชน (ครบทุกคีย์เวิร์ดยอดฮิต) ประกาศความร่วมมือกับ Ubisoft นำคาแรกเตอร์กระต่ายเถื่อน Rabbids เข้ามาในเกม The Sandbox
โครงการนี้เป็นความพยายามของ Ubisoft ในการผลักดันคาแรกเตอร์ของตัวเองเข้าวงการ NFT จากที่ก่อนหน้านี้ผลักดันผ่านเกม Ghost Recon ของตัวเอง คราวนี้เป็นการใช้คาแรกเตอร์กับเกมของพาร์ทเนอร์แทน รูปแบบคือ Ubisoft จะไปสร้างที่ดิน ("Land") ในเกม The Sandbox ที่ผู้เล่นสามารถเข้าไปปฏิสัมพันธ์กับกระต่าย Rabbids ได้
Alfa Romeo แบรนด์รถดังจากอิตาลี เปิดตัวรถ SUV รุ่นใหม่ Alfa Romeo Tonale ที่จะมาพร้อมกับ NFT โดย NFT ชิ้นนี้ไม่ได้มีประโยชน์แค่ระบุความเป็นเจ้าของรถเท่านั้น แต่มีประโยชน์ในการใช้งานด้วย โดยการเก็บประวัติต่างๆ จากระบบอิเล็กทรอนิกส์ของรถ เช่นประวัติการซ่อมบำรุง ระยะทาง ประวัติการชน เพื่อบันทึกไว้บนบล็อกเชนโดยอิงกับ NFT ประจำตัวรถ และช่วยให้ราคาขายต่อของรถดีขึ้น เพราะประวัติบนบล็อกเชนสามารถตามดูย้อนหลังได้ และปลอมแปลงได้ยาก
Binance เว็บเทรดคริปโตชั้นนำของโลก จับมือเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับ YG Entertainment บริษัทชั้นนำด้านความบันเทิงในเกาหลีใต้ ต้นสังกัดของ Blackpink และ Big Bang เตรียมทำโปรเจกต์ NFT, Metaverse และเกม NFT ร่วมกัน โดย Binance จะเป็นฝั่งดูแลแพลตฟอร์มและเทคโนโลยี ส่วน YG จะดูแลคอนเทนต์สำหรับ NFT และเกม NFT
Itch.io เว็บขายเกมอินดี้ชื่อดัง แถลงจุดยืนเรื่อง NFT ของแพลตฟอร์ม โดยประกาศชัดว่า "NFT คือการหลอกลวง" (NFTs are scam) ที่เหลืออ่านกันเองตามข้อความทวีตน่าจะได้อรรถรสมากกว่า
Bored Ape Yacht Club คอลเล็กชั่นภาพสะสม NFT สร้างโดย Yuga Labs เป็นรูปภาพกราฟฟิกลิงใส่เครื่องแต่งกายต่างกัน 10,000 แบบ และกำลังเป็นที่นิยมในหมู่คนดังในสหรัฐฯ เช่น Jimmy Fallon กับ Paris Hilton ที่เพิ่งนำมาโชว์ในรายการ The Tonight Show โดยทั้งสองคนซื้อกันคนละภาพ รวมเป็นเงินมูลค่ากว่า 5.16 แสนดอลลาร์ หรือราว 17 ล้านบาท
ปฏิเสธไม่ได้ว่าในช่วงปีที่ผ่านมา วงการ NFT ค่อนข้างเป็นที่คึกคัก ได้รับความสนใจทั้งในระดับประเทศและระดับโลก โดยเฉพาะการถูกนำมาเป็นแพลตฟอร์มการซื้อขายผลงานศิลปะ ให้ศิลปินมีช่องทางการขายและสร้างชื่อเสียงได้ง่ายขึ้น ขณะที่นักสะสมก็สามารถแสดงเป็นเจ้าของผลงานศิลปะนั้นได้จริงๆ
แต่หากกลับมามองในประเทศไทย ก่อนหน้านี้ทั้งศิลปินและนักสะสม ยังต้องพึ่งพาแพลตฟอร์มต่างประเทศแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งก็อาจมีอุปสรรคและปัญหาในหลายๆ ส่วน ไม่รวมวงการศิลปะเองที่กำลังเผชิญปัญหาละเมิดลิขสิทธิ์ ผลงานถูกขโมยและนำไปวางขายในแพลตฟอร์มต่างประเทศ ยากแก่การดำเนินเรื่อง ขณะที่แพลตฟอร์มเองก็ยากที่จะพิสูจน์ว่าผลงานดังกล่าวเป็นของผู้ที่วางขายจริงหรือไม่
Ubisoft ยังมุ่งมั่นเดินหน้าโครงการ NFT ของตัวเองต่อไป แม้ได้รับเสียงคัดค้านจากผู้เล่น (ตอบโต้ด้วยการบอกว่าเกมเมอร์ไม่เข้าใจคุณค่าของ NFT) หรือแม้แต่พนักงานของบริษัทเองก็ตาม
โครงการ NFT ของ Ubisoft ชื่อว่า Quartz โดยเป็นทีมแยกเฉพาะ และมีแผนทำ NFT กับเกมในเครือหลายเกม โดยเกมแรกคือ Ghost Recon: Breakpoint แต่เอาเข้าจริงแล้ว นักพัฒนาในทีม Ghost Recon เองก็ไม่ทราบ-ไม่เห็นด้วยกับแผนการ NFT กันเท่าไร
คณะกรรมการโอลิมปิกสากล (International Olympics Committee หรือ IOC) เปิดตัวเกมมือถืออย่างเป็นทางการของโอลิมปิกฤดูหนาว 2022 ที่กรุงปักกิ่ง ใช้ชื่อเกมว่า Olympic Games Jam: Beijing 2022 มีให้เล่นทั้งบน Android/iOS
เกม Olympic Games Jam: Beijing 2022 เป็นการรวมกีฬาฤดูหนาว เช่น สกี สเก็ตน้ำแข็ง สโนว์บอร์ด มาให้เล่นรับเทศกาลโอลิมปิก แข่งกับผู้เล่นคนอื่นๆ ได้แบบเรียลไทม์
จุดเด่นของเกม Olympic Games Jam คือระบบการเล่นแบบ play-to-earn ตามสมัยนิยม ผู้เล่นจะได้รับป้ายโอลิมปิกเป็น NFT "ที่ระลึกถึงโอลิมปิก 2022" ซึ่งสามารถนำไปขายต่อใน marketplace ได้ถ้าต้องการ
สตูดิโอเกมอังกฤษ Team17 เจ้าของเกมซีรีส์หนอนทำสงคราม Worms เกาะกระแส NFT แห่งยุคสมัยด้วยการประกาศทำโครงการ MetaWorms โดยจับมือกับบริษัท Reality Gaming Group นำคาแรกเตอร์จากเกม Worms มาทำ NFT ขาย
ปฏิกิริยาของผู้เล่นก็ไม่ต้องคาดเดากันให้ยาก หลังจากนั้นไม่ถึง 24 ชั่วโมง Team17 ต้องออกมาประกาศยกเลิกโครงการทำ NFT ทั้งหมดทันที
หลังมีผู้โพสต์ขายงาน NFT ศิลปะไทยประยุกต์ รูปท้าวเวสสุวรรณบนเว็บไซต์ OpenSea ในราคา 9 ETH หรือราว 7.5-7.6 แสนบาท จนในที่สุดก็ขายออก ดูเหมือนว่าจะเป็นการซื้อภาพมูลค่าสูงอีกครั้งในวงการ NFT ไทย แต่กลับไม่เป็นอย่างที่คิด เมื่อชาวเน็ตขุด transaction ในการซื้อขายดู พบว่าแอคเคาท์ที่เป็นผู้ขาย ส่งเงินให้อีกแอคเคาท์เพื่อมาซื้องานตัวเอง
เกิดคดีฉ้อโกงขึ้นในวงการ NFT (อีกแล้ว) รอบนี้ชื่อโครงการว่า Blockverse เป็นการทำระบบ play-to-earn (P2E) อย่างไม่เป็นทางการบน Minecraft โดยผู้เล่นต้องซื้อ token เพื่อเข้าไปเล่นบนเซิร์ฟเวอร์ Minecraft PvP แบบคัสตอมเป็นตัวละครพิเศษตามงาน NFT ที่สร้างขึ้น
วิธีการเข้าร่วมคือต้องซื้อตัวละครเป็น NFT ในราคา 0.05 ETH (ประมาณ 4,400 บาท) ซึ่งมีขายจำนวน 10,000 ชิ้น ตามข่าวบอกว่าขายหมดภายใน 8 นาที ทำเงินไปได้ 500 ETH (ประมาณ 44 ล้านบาท) แต่หลังจากนั้นไม่ทันพ้นวัน ผู้สร้างโครงการก็ลบเซิร์ฟเวอร์เกม ลบหน้าเว็บ ลบห้องสนทนาใน Discord แล้วก็หายสาบสูญไป
OpenSea เว็บไซต์ขายงานศิลปะแบบ NFT มีบริการสร้างชิ้นงานเป็น NFT (เรียกว่า mint) โดยผู้สร้างงานจำเป็นต้องจ่ายค่าธุรกรรม Ethereum ที่เรียกว่า "ค่าแก๊ส" ซึ่งมีราคาต่างกันไปตามแต่ละช่วงเวลา ข้อเสียของวิธีการนี้คือผู้สร้างงานจำเป็นต้องจ่ายเงินออกไปก่อน และไม่มีอะไรการันตีว่าจะขายงานถอนทุนคืนได้
เมื่อปี 2020 OpenSea จึงเปิดฟีเจอร์ชื่อ lazy minting ให้สร้าง NFT ได้ฟรี เพราะตัวชิ้นงานอยู่บนระบบ NFT เท่านั้น (เมื่อเกิดธุรกรรมครั้งแรกถึงย้ายไปอยู่บนบล็อกเชน Ethereum ค่อยเสียค่าแก๊ส) ช่วยให้ผู้เริ่มต้นเข้ามาสร้าง NFT ได้ง่ายขึ้น
ต่อจากข่าว Ubisoft เริ่มทำไอเทม NFT ขายในเกม Ghost Recon: Breakpoint และโดนแฟนๆ ถล่มไปตามความคาดหมาย อย่างไรก็ตาม ผู้บริหารของ Ubisoft ยังไม่ยอมแพ้ และล่าสุดออกมาวิจารณ์เกมเมอร์ว่าไม่เข้าใจประโยชน์ของ NFT
Susan Wojcicki ซีอีโอ YouTube โพสต์ข่าวสารอัพเดตข้อมูลสำหรับครีเอเตอร์ โดยพูดถึงแผนงานในปี 2022 เริ่มต้นด้วยบริการคลิปวิดีโอสั้น Shorts ว่ามีจำนวนยอดวิวรวมทุกคลิปตั้งแต่เริ่มให้บริการมากกว่า 5 ล้านล้านวิว แล้ว นอกจากนี้ยังเผยว่ามีช่องของครีเอเตอร์ที่ได้เงินมากกว่า 10,000 ดอลลาร์ต่อปี เพิ่มขึ้น 40%
Shorts ยังเตรียมเพิ่มฟีเจอร์ใหม่ ๆ เช่น remix ที่สามารถนำเสียงจากวิดีโออื่นมาใส่ในคลิปของตนได้ รวมทั้งกองทุน Shorts Fund ก็เข้าถึงครีเอเตอร์หน้าใหม่ได้มากขึ้น
แม้ประเทศจีนจะระบุว่าธุรกรรมคริปโตทั้งหมดผิดกฎหมาย แต่ก็ใช่ว่ารัฐจะไม่สนใจเทคโนโลยีบล็อกเชนโดยสิ้นเชิง ล่าสุดบริษัท Blockchain Services Network (BSN) ได้เริ่มเปิดใช้งาน BSN-Distributed Digital Certificates (BSN-DDC) โครงสร้างบล็อกเชนพื้นฐานเพื่อรองรับการมิ้นต์และใช้งาน NFT ของธุรกิจต่างๆ โดยจะไม่เกี่ยวข้องกับเงินคริปโตสกุลใด แตกต่างจากการทำงานของ NFT ในปัจจุบันที่ส่วนใหญ่อยู่บนเครือข่าย Ethereum
บริษัทความปลอดภัย Elliptic รายงานการค้นพบบั๊กของ OpenSea แพลตฟอร์มขาย NFT ชื่อดัง ที่เปิดให้แฮ็กเกอร์สามารถซื้องาน NFT ในราคาที่ต่ำกว่าตลาดมากๆ แล้วไปขายต่อในราคาแพงได้
กรณีตัวอย่างเกิดกับงานในคอลเลคชัน Bored Ape Yacht Club NFT หมายเลข #9991 ที่ราคาตลาดขายกันอยู่ราว 198,000 ดอลลาร์ กลับถูกผู้ใช้ชื่อ jpegdegenlove ซื้อในราคาที่ต่ำกว่ามาก (0.77 ETH หรือราว 1,800 ดอลลาร์) แล้วนำกลับไปขายต่อในราคาถูกกว่าตลาดเล็กน้อยคือ 196,000 ดอลลาร์ในเวลาหลังจากนั้นไม่นาน เท่ากับทำกำไร 194,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 6.4 ล้านบาท)
ผู้ใช้รายนี้ยังซื้อ NFT อีก 7 ชิ้นด้วยช่องโหว่แบบเดียวกัน ทำกำไรไปอีก 31 ล้านบาท
หลัง Bitkub เปิดตัวเป็นผู้สนับสนุนทีมชาติไทยและไทยลีกเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา วันนี้ Bitkub ได้มอบเงิน 30 ล้านบาท และของสะสม NFT ชิ้นแรกของวงการฟุตบอลไทย ให้กับสมาคมกีฬาฟุตบอลแห่งประเทศไทยฯ และบริษัทไทยลีก จำกัด เพื่อเริ่มต้นการเป็นผู้สนับสนุนอย่างเป็นทางการแล้ว ที่สนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยจะสนับสนุนการแข่งขันฟุตบอลไทยลีกประจำฤดูกาล 2564-2565 และฤดูกาล 2565-2566
ทุกปีๆ ในงานรวมตัวนักพัฒนาเกม Game Developers Conference หรือ GDC ทีมงานจะมีการทำแบบสำรวจนักพัฒนาด้วยคำถามต่างๆ ที่กำลังเป็นจุดสนใจ โดยในปีนี้คำถามข้อที่เด่นๆ เป็นเรื่องเกี่ยวกับคริปโตเคอเรนซี และ NFT
คำถามที่ถามว่าสตูดิโอของนักพัฒนาสนใจใช้คริปโตเคอเรนซีเป็นช่องทางการจ่ายเงินมากแค่ไหน มีนักพัฒนาตอบว่าสนใจมากแค่ 6% สนใจนิดหน่อย 21% และไม่สนใจถึง 72% ส่วนคำถามเรื่องสตูดิโอของนักพัฒนา สนใจด้าน NFT มากแค่ไหน ก็มีสัดส่วนใกล้เคียงกัน คือสนใจมาก 7% สนใจนิดหน่อย 21% และไม่สนใจเลย 70%
Alipay ประกาศความร่วมมือกับพิพิธภัณฑ์ในจีน 24 แห่งสร้าง NFT บนแพลตฟอร์มบล็อคเชนของตัวเองที่ชื่อว่า Jingtan หรือชื่อนอกจีนว่า AntChain สามารถซื้อ NFT ได้ทางแอป Topnod (鲸探) ของ Alipay เองเท่านั้น