ไมโครซอฟท์ออก iOS App Analysis ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Windows Bridge for iOS (โครงการ Project Islandwood เก่า) ที่ช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเหล่านักพัฒนาแอพในการพอร์ตแอพมายัง Windows 10 ได้ง่ายขึ้น
ตัว iOS App Analysis จะช่วยตรวจสอบโค้ดต่างๆ ว่าตรงไหนรองรับกับ Windows Bridge for iOS บ้าง ซึ่งเครื่องมือนี้สามารถใช้งานได้ผ่านเว็บไซต์เลย ไม่ต้องดาวน์โหลดเพิ่ม และหากตัวแอพใช้ libraries จากภายนอก และ SDK อื่นๆ ตัวเครื่องมือก็จะแนะนำตัวเลือกอื่นที่สามารถแทนที่กันได้
ไมโครซอฟท์ประกาศจับมือกับอินเทลในการผลักดัน Project Islandwood เครื่องมือในการพอร์ตแอพภาษา Objective-C บน iOS มาใช้งานบน Windows 10 ด้วยการรองรับ Accelerate framework ชุด API บน iOS ซึ่งใช้งานสำหรับงานประเภททางคณิตศาสตร์, คำนวณสัญญาณแบบดิจิทัล (digital signal) และการประมวลผลภาพ สำหรับอุปกรณ์ Windows ที่ทำงานบนสถาปัตยกรรมของอินเทล
กระบวนการนี้ต้องการโปรแกรม Visual Studio 2015 บนพีซีระบบปฏิบัติการ Windows 10 และ Windows Bridge for iOS รุ่นล่าสุด
ไมโครซอฟท์สาธิตการใช้งานด้วยการนำแอพแต่งภาพบน iOS ในส่วนของรายละเอียดมีค่อนข้างเยอะ ผู้ที่สนใจสามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ในที่มา
ที่มา - Building Apps for Windows
กลับมาอีกครั้งกับดัชนี TIOBE ที่วัดค่าความนิยมของภาษาผ่านข้อมูลการค้นหา โดยสถิติที่น่าสนใจ คือ
สำหรับ 10 อันดับแรก เรียงได้ดังนี้: Java, C, C++, C#, Python, PHP, JavaScript, VB.NET, Perl, Objective-C
ที่มา: TIOBE
เมื่อเดือนเมษายนที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ช็อควงการโดยประกาศว่า สามารถนำโค้ด Android/iOS มาแปลงเป็นแอพบน Windows 10 ได้ ภายใต้โครงการ Universal Windows Platform Bridges
วันนี้ตัวแปลงโค้ด iOS เปิดให้ใช้งานแล้ว โดยใช้ชื่ออย่างเป็นทางการว่า Windows Bridge for iOS (ของเดิมใช้โค้ดเนมว่า Project Islandwood) โดยยังมีสถานะเป็นรุ่นพรีวิว และมีแผนจะออกรุ่นสมบูรณ์ในฤดูใบไม้ร่วงปีนี้
Windows Bridge for iOS รุ่นพรีวิวสามารถแปลงโค้ดภาษา Objective-C ไปเป็นแอพรันได้ทั้งบน Windows 10 และ Windows 8.1 โดยตอนนี้ยังรองรับเฉพาะสถาปัตยกรรม x86/x64 แต่จะเพิ่มสถาปัตยกรรม ARM ในภายหลัง
ไมโครซอฟท์ประกาศเป้าหมายของ Windows 10 ว่าภายใน 2 ปีข้างหน้าจะต้องมีอุปกรณ์ที่รัน Windows 10 จำนวน 1 พันล้านชิ้น ซึ่งถือเป็นแพลตฟอร์มที่ใหญ่มาก เพราะ Android KitKat ยังทำได้แค่ประมาณ 500 ล้านชิ้นเท่านั้น
เพื่อให้ Windows 10 มีแอพจำนวนมากพอ ไมโครซอฟท์จึงประกาศแนวทาง 4 ข้อที่ช่วยให้นักพัฒนาสามารถนำโค้ดของแอพบนแพลตฟอร์มอื่นๆ มาใช้งานบน Windows 10 ได้ง่ายขึ้น
ไฮไลท์อยู่ที่การนำโค้ด Android และ iOS มารันบน Windows 10 นั่นเองครับ
กลุ่มทำงาน (Working Group) การพัฒนาภาษาโปรแกรมบนมาตรฐาน ISO กลุ่ม WG11 (ภาษา C) และ WG16 (C++) ตกลงกันว่าจะรวมตัวภาษากลับมาเป็นภาษาเดียวกันอีกครั้งในปี 2016
เมื่อข่าวนี้ไปถึงกลุ่มทำงานของภาษาอื่นๆ กลุ่มทำงานที่แสดงความสนใจเข้าร่วมทันทีคือ Objective-C และเมื่อส่งอีเมลภายในออกไปไม่กี่ชั่วโมง ภาษา C# ก็แสดงความสนใจเข้าร่วมกันด้วยเช่นกัน ที่น่าแปลกใจคือ WG4 (COBOL) ระบุว่าสนใจพัฒนาภาษาใหม่นี้ด้วย เพื่อเผยแพร่การตั้งชื่อเป็นตัวอักษรใหญ่ในภาษาใหม่นี้ต่อไป
มีภาษาอื่นๆ ที่สนใจเข้าร่วมแต่ถูกปฎิเสธ ได้แก่ JavaScript, Rust, และ Snobol เนื่องจากไม่มีตัวซีใหญ่ในชื่อภาษา
หลังจากที่กูเกิลออกเครื่องมือแปลงโค้ด Java เป็น Objective-C ในชื่อ J2ObjC ผ่านมาเกือบ 3 ปีก็ได้เวลาของไมโครซอฟท์กันบ้าง
ไมโครซอฟท์ออกเครื่องมือแปลงโค้ด จาก Java เป็น C#, C++ และ Objective C++ (โดยในส่วนของ C++ และ Objective C++ จะมีการรองรับในเร็วๆ นี้) ในชื่อ JUniversal มาพร้อมกับไลบรารี JSimple และสามารถใช้ร่วมกันกับ J2ObjC ในการแปลงเป็น Objective-C ได้
ดัชนี TIOBE ประจำเดือนมกราคม 2014 ออกแล้ว โดยมีข้อมูลที่น่าสนใจคือ ภาษา JavaScript ตลอดปี 2014 นั้นเติบโตขึ้นกว่า 1.70% ในปี 2014 นับว่าเป็นภาษาที่มีความนิยมเพิ่มสูงที่สุดในรอบปี ตามมาด้วย PL/SQL ที่ 1.38% และ Perl ที่ 1.33%
หากดูช่วงต้นของตาราง จะพบว่าภาษายอดนิยมอันดับ 1-6 คือ C, Java, Objective-C, C++, C#, PHP ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือสลับอันดับ ส่วนใหญ่มีความนิยมลดลงเล็กน้อย แต่ Objective-C กลับตกลงมากถึง 4.14%
ผลกระทบของ Objective-C เดาได้ไม่ยากว่าน่าจะมาจาก Swift ที่เพิ่งเปิดตัวกลางปีที่แล้ว แต่ตอนนี้ก้าวขึ้นมาอยู่อันดับ 25 ของตาราง โดย TIOBE คาดว่า Swift จะเป็นหนึ่งในผู้ท้าชิงขึ้นอับดับต้นๆ ของตารางในอีกไม่นานนัก
กูเกิลอธิบายเบื้องหลังการสร้างแอพอีเมลแนวใหม่ Inbox ที่ทำงานได้บน 3 แพลตฟอร์มหลักคือ iOS, Android และเว็บ โดยโจทย์ของกูเกิลคือต้องการสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีและมีประสิทธิภาพที่ยอดเยี่ยม แต่ก็ต้องการให้โค้ดเรียบง่าย ไม่ต้องดูแลหลายเวอร์ชัน
คำตอบของกูเกิลคือเขียนส่วน frontend ของแต่ละแพลตฟอร์มแยกจากกัน ใช้ภาษาและเครื่องมือแบบเนทีฟ โดยเวอร์ชัน Android เป็น Java, เวอร์ชันเว็บเป็น JavaScript+CSS, เวอร์ชัน iOS เป็น Objective-C
ดัชนีวัดความนิยมของภาษาโปรแกรม TIOBE เผยสถิติเดือนเมษายน ภาษา Objective-C ร่วงลงสู่อันดับ 4 เป็นครั้งแรกที่ตำแหน่งลดลง (ก่อนหน้านี้อันดับพุ่งขึ้นเรื่อยๆ จนมาหยุดที่อันดับ 3) โดน C++ แซงกลับสู่ตำแหน่งเดิมอีกครั้ง
กูเกิลออกเครื่องมือแปลงโค้ดชื่อ J2ObjC หน้าที่ของมันก็ตามชื่อคือแปลงโค้ดภาษา Java เป็น Objective-C
เครื่องมือตัวนี้จะช่วยให้เราเขียนแอพบน iOS ด้วยภาษา Java ได้ เป้าหมายของกูเกิลคือต้องการให้นักพัฒนาแอพสามารถพัฒนาโค้ดพื้นฐานด้วยภาษา Java เพียงชุดเดียว ส่วนตัว GUI ก็เลือกได้ว่าจะใช้อะไรเขียนตามแพลตฟอร์มที่ต้องการ (เช่น Android/Java, iOS/Objective-C, Web/GWT)
J2ObjC จะแปลงคลาสของ Java เป็นคลาสของ Objective-C โดยอิงกับ iOS Foundation Framework เป็นหลัก รองรับตัวภาษา Java 6 เต็มรูปแบบ และสามารถแปลงโค้ดส่วนของ JUnit ได้ด้วย ใครสนใจเขียนแอพมือถือแบบ (เกือบ) ข้ามแพลตฟอร์ม ก็ไปดาวน์โหลดมาทดสอบกันได้
ดัชนี TIOBE ที่พยายามวัดความนิยมของภาษาโปรแกรมออกสถิติเดือนกรกฎาคมพบสิ่งน่าสนใจคือภาษา Objective-C ที่ได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องมาตลอด ได้คะแนนในดัชนีจนแซงหน้าภาษา C++ ไปแล้ว
ภาษา C++ มีความนิยมเป็นอันดับสามรองจากภาษา C และ Java มาตั้งแต่เริ่มวัดดัชนี TIOBE ช่วงกลางปี 2001 แต่ความนิยมตามดัชนีก็ตกลงมาเรื่อยๆ อย่างช้าๆ เช่นเดียวกับภาษา Java ที่มีแนวโน้มได้รับความนิยมลดลงเช่นเดียวกัน
น่าสนใจว่าขณะที่ภาษา Objective-C นั้นได้รับความนิยมเพราะการเติบโตของ iOS เป็นหลัก การเติบโตของแอนดรอยด์ที่ใช้ Java เป็นแกนกลางกลับไม่สามารถดันความนิยมให้กลับขึ้นมาตามดัชนีนี้ได้
ที่มา - TIOBE
ถือเป็นข่าวดีสำหรับผู้ที่ใช้งานแอพ Facebook บนมือถือบ่อยๆ หลังจากที่มีข่าวว่า Facebook เตรียมปรับปรุงแอพบนแพลตฟอร์ม iOS ใหม่เพื่อให้แอพทำงานได้รวดเร็วขึ้น
สำหรับใครที่ตามคอนเฟอเรนซ์ f8 เมื่อปลายปี 2011 จะรู้ว่า Facebook เลือกใช้ HTML5 ทำแอพบนมือถือ เพื่อให้สามารถใช้โค้ดเดียวกันกับหลายๆ แพลตฟอร์มได้ แต่จากข่าวที่ออกมาว่า Facebook มีแผนจะปรับปรุงแอพใหม่ แม้ว่าทาง Facebook จะไม่ตอบอะไร แต่วิศวกรสองคนที่ทำงานส่วนนี้บอกกับ Bits Blog ว่าแอพตัวใหม่จะเปลี่ยนไปเขียนด้วย Objective-C แทนการใช้ HTML5 ซึ่งการันตีประสิทธิภาพว่าดีกว่าเดิมอย่างแน่นอน
ส่วนคนที่หวังว่าจะมีการปรับอินเทอร์เฟซคงต้องรอกันต่อไป เพราะว่าการปรับปรุงครั้งนี้เน้นไปที่ประสิทธิภาพอย่างเดียว
TIOBE เป็นดัชนีวัดอันดับความนิยมของภาษาโปรแกรมผ่านทาง search engine ต่างๆ ซึ่งเดือนเมษายนก็มีอันดับที่น่าสนใจดังนี้ครับ
ดัชนีวัดความนิยมภาษาโปรแกรมนั้น คงมีดัชนี TIOBE ที่ได้รับความนิยมค่อนข้างมาก ล่าสุดทาง TIOBE ก็แถลงดัชนีประจำเดือนธันวาคมออกมาแล้ว