Python ย้ายระบบรายงานปัญหา (issue tracking) จาก Roundup มาเป็น GitHub หลังจากมีข้อเสนอนี้มาตั้งแต่ปี 2018
เหตุผลสำคัญคือระบบซอร์สโค้ดของ Python นั้นย้ายไป GitHub ตั้งแต่ปี 2017 แล้ว การใช้ระบบ issue tracking ในระบบเดียวกันช่วยให้ทำงานง่ายขึ้นมาก และยังมีฟีเจอร์ใหม่ๆ เช่น รองรับ markdown, ระบบ reaction ในความเห็นใช้โหวตได้, รองรับการล็อกอินสองขั้นตอน ที่สำคัญคือลดภาระทีมงานในการซ่อมบำรุงเว็บไซต์
Roundup นั้นเป็นระบบ issue tracking ที่มีมานานตั้งแต่ปี 2003 แม้จะยังมีการพัฒนาอยู่แต่ทุกวันนี้ทีมงานยังใช้ Mercurial พัฒนา และตัวโครงการไม่มีระบบ CI เพื่อทดสอบทำให้การแพตช์ทำได้ลำบาก
Thonny โครงการ Python IDE แบบโอเพนซอร์สเพื่อการศึกษา ใช้งานง่ายมี Python ในตัวพร้อมระบบตัวดีบั๊ก เปิดตัวเวอร์ชั่น 4.0.0b1 โดยประกาศว่าเวอร์ชั่นนี้เป็นเวอร์ชั่นที่อุทิศเพื่อชาวยูเครนที่ต่อต้าน "กองกำลังก่อการร้ายของปูติน" พร้อมกับเพิ่มไอคอนธงชาติยูเครนเพื่อให้ไปร่วมบริจาค
ความเปลี่ยนแปลงทางเทคนิคของเวอร์ชั่นนี้คือการรองรับ Python 3.10 และถอด Python 3.5, 3.6, และ 3.7 ออก เปลี่ยนไบนารีเป็น 64 บิต
Thonny เป็นโครงการที่เกิดมาจากมหาวิทยาลัย Tartu ในเอสโตเนีย และตอนนี้เองก็ดูแลโครงการโดยบริษัท Cybernetica ในเอสโตเนียเช่นกัน ทำให้ผู้พัฒนาโครงการจะมีความผูกพันกับยูเครนมากกว่าโครงการอื่นๆ เป็นพิเศษ
Python เป็นภาษาโปรแกรมที่มีแนวคิดสำคัญคือการรวมเอาไลบรารีมาตรฐานชุดใหญ่ (battery included) ทำให้มีไลบรารีที่อยู่ในชุดมาตรฐานมานานนับสิบปีอยู่ในโครงการจำนวนมาก ตอนนี้ทาง Python Steering Council ก็ประกาศยอมรับ PEP-594 ข้อเสนอสำหรับการถอดไลบรารีจำนวน 21 ตัวออกจากไลบรารีมาตรฐาน
ไลบรารีบางตัวเริ่มใส่มาในโครงการ Python ตั้งแต่ปี 1992 เช่น audioop, nntplib, pipes และบางตัวก็มีประกาศเตือนให้หยุดใช้งาน (deprecated) มานานแล้ว เช่น asynchat, asyncore, smtpd โดยโมดูลส่วนใหญ่ไม่มีผู้ดูแลรับผิดชอบโดยตรงแล้ว
Serhiy Storchaka และ Andrew Svetlov นักพัฒนาหลักของ Python ที่ร่วมโครงการมาตั้งแต่ปี 2012 ยังคงอยู่ในยูเครนต่อไปแม้อยู่ในเขตที่ใกล้การรบก็ตาม
Storchaka เล่าถึงเหตุการณ์เมื่อวันที่ 26 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมาว่าบ้านของเขาห่างจากเมือง Konotop ที่ทหารรัสเซียยึดไว้ได้ไปเพียง 20 กิโลเมตร และแนวรถถังของรัสเซียก็ห่างจากบ้านของเขาเพียง 2 กิโลเมตรเท่านั้น ไม่มีข้อมูลว่าล่าสุดเขาและครอบครัวย้ายไปอยู่ที่ใด แต่ทวีตล่าสุดระบุว่า Łukasz Langa นักพัฒนา Python อีกคนได้ช่วยหลานสาวของเขาและเพื่อนให้ปลอดภัยแล้ว
วันนี้ 30 มกราคม พ.ศ.2565 ทางทีมพัฒนา PyThaiNLP ได้ปล่อยแพ็กเกจประมวลผลภาษาธรรมชาติ PyThaiNLP รุ่น 3.0 หลังจากที่ปล่อย PyThaiNLP 2.3 ไปเมื่อปีก่อน
PyThaiNLP 3.0 มีความเปลี่ยนแปลงสรุปได้ดังนี้
ใน macOS Monterey 12.3 Beta มีการเปลี่ยนแปลงสำคัญสำหรับนักพัฒนาซอฟต์แวร์คือ แอปเปิลประกาศถอด Python 2.7 ออกแล้ว นักพัฒนาจำเป็นต้องย้ายมาใช้ Python 3.x แทน
Python 2.7 ออกเวอร์ชันสุดท้ายในปี 2020 หลังจากนั้น ระบบปฏิบัติการ และซอฟต์แวร์หลายตัว ก็ทยอยหยุดซัพพอร์ต Python 2.7 กันไป
เวอร์ชันปัจจุบันของ Python คือ 3.10 และกำลังเริ่มทดสอบ 3.11 Alpha
Python 3.6 กำลังจะหมดระยะซัพพอร์ตในวันที่ 23 ธันวาคม 2021 เนื่องจากมีอายุครบ 5 ปีเต็ม (ออกธันวาคม 2016) หลังจากนั้นไปจะไม่มีแพตช์ความปลอดภัยอีก ผู้ใช้ควรอัพเกรดไปใช้ Python เวอร์ชันที่ใหม่ขึ้น
เวอร์ชันปัจจุบันของ Python คือ 3.10 โดยเปลี่ยนระบบการออกรุ่นมาออกปีละ 1 ครั้ง ในช่วงเดือนตุลาคมของทุกปี
จากสถิติของ PyPI พบว่ายังมีการดาวน์โหลดแพ็กเกจสำหรับ Python 3.6 ในสัดส่วนที่เยอะพอสมควรคือ 17.39% ของแพ็กเกจทั้งหมด (เวอร์ชันยอดนิยมคือ Python 3.7 ตามด้วย Python 3.8 ส่วน 3.6 ตามมาเป็นอันดับสาม)
Django เว็บเฟรมเวิร์คยอดนิยมภาษา Python ประกาศออกเวอร์ชั่น 4.0 แม้ฟีเจอร์หลักๆ จะเปลี่ยนแปลงไม่มากนัก แต่การออกเวอร์ชั่นใหม่ก็ทำให้ตัดฟีเจอร์เก่าๆ ไปหลายตัวตามหลัก Semantic Versioning
ส่วนใหม่ๆ ใน Django 4.0 เช่น
ส่วนฟีเจอร์ที่ถูกตัดออกจนอาจจะกระทบแอปพลิเคชั่นเดิมๆ เช่น
JFrog บริษัทความปลอดภัยรายงานถึงแพ็กเกจมุ่งร้าย 11 รายการที่อัพโหลดอยู่ใน PyPI โดยตั้งชื่อให้คล้ายกับแพ็กเกจยอดนิยม เพื่อล่อให้โปรแกรมเมอร์ที่พิมพ์ผิดดาวน์โหลดไปใช้งาน
รายชื่อแพ็กเกจที่พบได้แก่ importantpackage, pptest, ipboards, owlmoon, DiscordSafety, trrfab, 10Cent10, yandex-yt, และ yiffparty แต่ละแพ็กเกจมีการดาวน์โหลดหลักร้อยถึงระดับหมื่นครั้ง รวมกว่า 41,000 ครั้ง
รายงานดัชนีความนิยมภาษาโปรแกรม TIOBE Index ประจำเดือนตุลาคม 2021 ประกาศให้ Python เป็นภาษายอดนิยมอันดับ 1 เป็นครั้งแรก หลังจากเดือนที่แล้วคาดว่าจะแซงได้ ทำให้ Python เป็นภาษาลำดับที่ 3 ที่ครองความนิยมเป็นอันดับ 1 ของการจัดอันดับของ TIOBE ตลอด 20 ปี (อีก 2 ภาษาคือ C และ Java)
TIOBE ยังได้แสดงความยินดีไปยัง Guido van Rossum ผู้สร้างภาษา Python ซึ่งปัจจุบันเขาทำงานอยู่ที่ไมโครซอฟท์
ระดับความนิยมของ Python คงเดิมจากเดือนก่อนคือ 11.27% ส่วนอันดับ 2 และ 3 คือภาษายอดนิยมที่เคยอยู่อันดับหนึ่งนั่นคือ C กับ Java ตามลำดับ ตามด้วย C++, C#, Visual Basic, JavaScript, SQL, PHP และ Assembly Language ได้ลำดับที่ 4-10
TIOBE Index ดัชนีความนิยมของภาษาโปรแกรม ฉบับเดือนกันยายน 2021 อันดับหนึ่งยังเป็นแชมป์เก่า C แต่อันดับสอง Python ก็ขยับเข้ามาใกล้เรื่อยๆ ส่วนต่างเหลือแค่ 0.16% แล้ว สามารถแซงหน้า C ได้ทุกเมื่อ
TIOBE จัดอันดับภาษาโปรแกรมมานาน 20 ปี เพิ่งเคยมี 2 ภาษาที่ครองแชมป์คือ C และ Java (C เพิ่งกลับมาแซง Java ได้ในปี 2020) หาก Python แซงหน้า C ได้สำเร็จก็จะกลายเป็นแชมป์รายที่สาม
Python ถือเป็นภาษาที่มาแรงในช่วงหลัง สามารถแซงหน้า Java ได้ในช่วงปลายปี 2020 และไล่จี้ C เข้ามาเรื่อยๆ จนใกล้แซงแล้ว
Redmonk บริษัทวิเคราะห์ข้อมูลนักพัฒนา ออกรายงานอันดับภาษาโปรแกรมยอดนิยมประจำไตรมาสสามปี 2021 โดยใช้แหล่งข้อมูลจาก GitHub (จำนวนโค้ด/แกนนอน) และ Stack Overflow (จำนวนการพูดคุย/แกนตั้ง) มาผสมกัน
ผลจากการจัดอันดับของ Redmonk ไม่ต่างจากอันดับของสำนักอื่นๆ (เช่น JetBrains หรือ GitHub) เพราะ Top 3 เป็นภาษายอดนิยมชุดเดียวกัน โดยอันดับหนึ่งคือ JavaScript ตามด้วย Python และ Java เป็นอันดับสองร่วม
RyotaK นักวิจัยความปลอดภัยชาวญี่ปุ่นที่เคยรายงานช่องโหว่ของ cdnjs รายงานถึงช่องโหว่ของบริการ PyPI ที่มีไว้สำหรับการแจกจ่ายแพ็กเกจภาษาไพธอน โดยช่องโหว่ในโค้ดของระบบ CI/CD ของ PyPI ทำให้ผู้ใช้มุ่งร้ายสามารถลบเอกสารโครงการที่ไม่ได้เป็นเจ้าของ หรือรันโค้ดในเซิร์ฟเวอร์ของ PyPI ได้โดยตรง
ช่องโหว่ทั้งหมดมี 3 รายการ โดย 2 ช่องโหว่เป็นการลบเอกสารออกจากหน้าเว็บ PyPI เนื่องจากโค้ดส่วนลบเอกสารนั้นตรวจสอบเพียงคำขึ้นต้น (prefix) ของชื่อโครงการ ทำให้แฮกเกอร์สามารถใช้ชื่อโครงการที่ขึ้นต้นเหมือนกันเพื่อลบเอกสารโครงการอื่นได้ อีกช่องโหว่หนึ่งคือการลบ role ID ของโครงการ โดยตัว SQL ที่ใช้ไม่ได้ระบุหมายเลขประจำโครงการไปในการคิวรี
รายงานดัชนีการจัดอันดับภาษาเขียนโปรแกรม TIOBE Index ประจำเดือนกรกฎาคม 2021 ซึ่งเป็นการฉลองครบรอบ 20 ปี ที่เริ่มมีการจัดอันดับภาษาโปรแกรมตั้งแต่ปี 2001 โดย 3 อันดับแรกของภาษายอดนิยมยังเหมือนเดือนก่อนหน้าคือ C Java และ Python ตามลำดับ
Paul Jansen ซีอีโอของ TIOBE ให้ข้อสังเกตว่า แม้อันดับยังไม่เปลี่ยน แต่ตัวเลขอัตราความนิยมก็มีส่วนต่างที่น้อยลงมา โดย C อยู่ที่ 11.62% ขณะที่ Python อยู่ที่ 10.95% ซึ่งต่างกันน้อยกว่า 1% แล้ว รวมทั้งแนวโน้มของ C และ Java ก็มีอัตราที่ลดลง ขณะที่ Python เพิ่มสูงขึ้น จึงมีโอกาสที่ Python จะขึ้นมาเป็นภาษาโปรแกรมยอดนิยมอันดับ 1 ในเวลาอันใกล้นี้
Guido van Rossum บิดาแห่ง Python เพิ่งกลับมาทำงานกับไมโครซอฟท์เมื่อปลายปี 2020 หลังเกษียณอายุตัวเองไปได้เพียงปีเดียว
เขาเพิ่งไปบรรยายในงานสัมมนา Language Summit เล่าว่าหลังเกษียณแล้วเจอสถานการณ์อยู่บ้าน เลยเบื่ออยู่บ้านเฉยๆ เขาจึงกลับมาสมัครงานใหม่และไมโครซอฟท์จ้าง โดยเขาได้อิสระจากไมโครซอฟท์ว่าจะทำอะไรก็ได้ เขาจึงเลือกกลับมาพัฒนา Python ต่อ และเขาถือว่าเป็นการตอบแทนชุมชนของไมโครซอฟท์ต่อโครงการ Python
สิ่งที่ Guido กลับมาโฟกัสในรอบนี้คือการพัฒนา CPython (Python เวอร์ชันมาตรฐานที่ใช้กันทั่วไป บางส่วนเขียนด้วยภาษา C เลยเรียก CPython) ให้ทำงานเร็วขึ้น โดยมีเงื่อนไขว่า ABI/API เดิมยังต้องใช้ได้ ซึ่งไม่ง่ายเลย
Flask เฟรมเวิร์คสำหรับพัฒนาเว็บยอดนิยมบนภาษา Python ออกรุ่น 2.0 ความเปลี่ยนแปลงใหญ่ที่สุดคือการยกเลิกรองรับ Python 2 และ Python 3.5 ลงไป โดยทีมงานวางแผนว่าในอนาคตจะซัพพอร์ตเฉพาะ Python เวอร์ชั่นที่โครงการหลักยังซัพพอร์ตอยู่เท่านั้น
การอัพเกรดครั้งนี้มาพร้อมกับการเปลี่ยนเลขเวอร์ชั่นของโมดูลย่อยๆ ทั้งหมด ได้แก่
ทีมวิศวกร Instagram เปิดเผยซอร์สโค้ดโครงการ Cinder ซึ่งเป็นการ fork ตัว CPython (Python เวอร์ชันหลักที่เราใช้กันทั่วไป) ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นกว่าเดิม
Cinder เป็นโครงการภายในของ Instagram ที่นำ CPython 3.8 มาปรับแต่งหลายด้าน เช่น bytecode inline caching, eager evaluation of coroutines, method-at-a-time JIT และการลองทำ Static Python ทั้งหมดเพื่อให้ประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม
Pyston โครงการภาษาไพธอนประสิทธิภาพสูงที่เริ่มต้นโครงการโดย Dropbox เมื่อปี 2014 กลับมาพัฒนาและเปิดซอร์สอีกครั้งในเวอร์ชั่น 2.2 หลังจากทาง Dropbox ทิ้งโครงการไปเมื่อปี 2017 ทีมงานตัดสินใจออกมาตั้งบริษัทแยกเพื่อให้บริการซัพพอร์ตในปี 2020
Pyston เป็นรันไทม์ไพธอนที่มี C API เข้ากันได้กับโครงการหลัก ทำให้สามารถใช้แพ็กเกจหลักๆ ได้ทันทีผ่านทางคำสั่ง pip-pyston3
ตัวโครงการรองรับภาษาไพธอนเวอร์ชั่น 3.8
วันที่ 31 มีนาคม พ.ศ.2564 ไลบรารีภาษาไพธอนสำหรับประมวลผลภาษาไทย PyThaiNLP ได้ปล่อยเวอร์ชัน 2.3 โดยสรุปความเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
ข้อมูลเปิดเผย: ผู้เขียนเป็นสมาชิกในทีมพัฒนา PyThaiNLP
ภาษา Python มีอายุครบ 30 ปีในเดือนกุมภาพันธ์ 2021 โดยนับจาก Guido van Rossum โพสต์เวอร์ชันแรก 0.9.0 ต่อสาธารณะบนนิวส์กรุ๊ป alt.source (ในสมัยที่ยังไม่มีเว็บด้วยซ้ำ) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 1991
Guido เริ่มสร้าง Python ในช่วงปลายปี 1989 และเปิดตัวต่อโลกช่วงต้นปี 1991 ประโยคแรกที่เขาแนะนำ Python คือ
This is Python, an extensible interpreted programming language that
combines remarkable power with very clear syntax.
กูเกิลเป็นผู้สนับสนุนมูลนิธิ Python Software Foundation (PSF) มานาน 11 ปี (ล่าสุดเพิ่งอัพเกรดเป็นสปอนเซอร์รายใหญ่ที่สุด ที่เรียกระดับ Visionary Sponsors) ล่าสุดกูเกิลประกาศสนับสนุนเงินเพิ่มอีก 350,000 ดอลลาร์เป็นพิเศษสำหรับเรื่อง supply-chain security ที่กำลังเป็นประเด็นหลังกรณีแฮ็ก SolarWinds
เงินก้อนนี้จะถูกนำไปใช้
Alex Birsan รายงานถึงการโจมตีองค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากด้วยการสร้างแพ็กเกจไลบรารีเลียนแบบชื่อไลบรารีในองค์กรแล้วไปวางตามบริการดาวน์โหลดไลบรารีไม่ว่าจะเป็น RubyGems, npm, หรือ PyPI
องค์กรขนาดใหญ่จำนวนมากมักมีไลบรารีเฉพาะทางของตัวเองใช้งานภายในเป็นเรื่องปกติ และหลายครั้งชื่อไลบรารีเหล่านี้ก็หลุดออกมาสู่โลกภายนอก เช่น Paypal เคยทำไฟล์ package.json ที่ใช้ภายในหลุดออกมาอยู่บน GitHub ทำให้รู้ว่าบริษัทมีการใช้งานไลบรารีภายในเช่น pplogger, auth-paypal, wurfl-paypal, analytics-paypal เป็นต้น หรือแม้แต่แอปเปิลก็เคยทำรายชื่อแพ็กเกจเหล่านี้หลุดออกมาเช่นกัน
O’Reilly รายงานผลสำรวจความนิยมเทคโนโลยีจากการใช้งาน O’Reilly Online Learning Platform ที่เป็นแพลตฟอร์มอ่านหนังสือ และเรียนออนไลน์ ซึ่งทำให้เห็นภาพรวมที่น่าสนใจเพราะเป็นอัตราการดูคอนเทนต์จริง เช่น อ่านหนังสือหรือเรียนวิชาออนไลน์ ไม่ใช่เพียงคำค้นเท่านั้น โดยรวมแล้วแพลตฟอร์มมีการใช้งานเพิ่มขึ้น 24% ทำให้เนื้อหาส่วนใดที่เติบโตต่ำกว่านี้นับว่าต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
สำหรับภาษาโปรแกรมมิ่ง Python ยังคงได้รับความนิยมสูงสุด มีอัตราการเติบโตที่สูงถึง 27%, Java ได้รับความนิยมอันดับสองแต่อัตราการเติบโตกลับติดลบ 3% แสดงให้เห็นว่าความนิยมลดลงชัดเจน, JavaScript เติบโตถึง 40% แซงค่าเฉลี่ยไปได้มาก ที่น่าสนใจคือภาษา Rust ได้รับความสนใจเพิ่มขึ้นถึง 94% มาอยู่ดับดับ 9 แล้ว
pip โปรแกรมติดตั้งแพ็กเกจภาษาไพธอนเลิกซัพพอร์ต Python 2 เป็นทางการหลังออก pip 21.0 พร้อมกับยกเลิกซัพพอร์ต Python 3.5 ไปพร้อมกัน
สำหรับผู้ใช้ Python 2.x ยังคงสามารถใช้ pip เวอร์ชั่นที่รองรับได้ต่อไป รวมถึงสามารถอัพเดต pip ได้โดยไม่ตัองกังวลเพราะ pip จะตรวจสอบให้เองว่ากำลังรัน Python เวอร์ชั่นใดและจะอัพเดตไปถึงเวอร์ชั่นที่รองรับอยู่เท่านั้น
GitHub ออกรายงานตัวเลขภาพรวมของชุมชนประจำปี 2020 มีนักพัฒนามากกว่า 56 ล้านคน มี repository ที่ถูกสร้างขึ้นในปีที่ผ่านมามากกว่า 60 ล้านโครงการ
ภาษาที่ได้รับความนิยมสูงสุด อันดับที่ 1 ยังเป็น JavaScript แต่มีการสลับในลำดับที่ 2 และ 3 โดย Python อยู่อันดับที่ 2 และ Java อยู่ในอันดับที่ 3 ตามด้วย TypeScript และ C# ในลำดับที่ 4-5
รายงานประจำปีนี้ยังพูดถึงผลกระทบของมาตรการล็อคดาวน์จากโควิด-19 โดยพบว่ามีการสร้างโครงการใหม่เพิ่มขึ้นกว่าเดิมตั้งแต่มีนาคม 2020 สะท้อนว่านักพัฒนาให้เวลากับชั่วโมงทำงานต่อวันที่มากขึ้น และ repository ที่สร้างขึ้นจำนวนมากก็เป็นโครงการเกี่ยวกับโควิด-19