Python ออกเวอร์ชั่น 3.6 หลังออกเวอร์ชั่น 3.5 มาตั้งแต่กันยายนปีที่แล้ว ในเวอร์ชั่นนี้มีฟีเจอร์สำคัญๆ เพิ่มเข้ามาหลายอย่าง
ฟีเจอร์ที่คนทั่วไปจะเห็นชัดที่สุดคือการฟอร์แมตสตริงแบบใหม่ โดยสั่งเรียกตัวแปรจากในสตริงได้เลย ซึ่งใน bash หรือ ruby มีใช้กันอยู่แล้ว แต่สำหรับ Python ผู้ที่ต้องการใช้งานจะต้องประกาศสตริงเป็นแบบ f คล้าย unicode หรือ raw ที่ต้องประกาศคล้ายๆ กัน ฟีเจอร์ต่อมาคือการใช้ขีดล่าง (_) เพื่อแยกกลุ่มตัวเลขออกจากกัน เพิ่มความสะดวกในการเขียนตัวเลขขนาดใหญ่ๆ เช่น 100_000
สำหรับการรับการรันแบบ asynchronous ในเวอร์ชั่นนี้รองรับเพิ่มเติม เช่นการสร้างฟังก์ชั่น generator แบบ async และการทำ comprehension แบบ async ก็ได้ทั้งคู่
เมื่อต้นปี ไมโครซอฟท์ออกชุดเครื่องมือพัฒนา Deep Learning สำหรับเทรน AI ในชื่อ CNTK (ย่อมาจาก Microsoft Cognition Toolkit) พร้อมเปิดซอร์สขึ้นบน GitHub
ล่าสุดไมโครซอฟท์ออกชุดเครื่องมือเวอร์ชันใหม่ 2.0 Beta แล้ว พร้อมเปลี่ยนชื่อมันจากตัวย่อ มาเป็นชื่อเต็มๆ คือ Microsoft Cognitive Toolkit แทน
ของใหม่ที่สำคัญในเวอร์ชันนี้คือรองรับภาษา Python เพิ่มเข้ามาจากรุ่นแรกที่รองรับแต่ C++ (ในอนาคตจะรองรับภาษาอื่นๆ อย่าง R และ C#), ปรับปรุงประสิทธิภาพ และทำงานร่วมกับ Visual Studio ได้แล้ว
MicroPython เปิดระดมทุนปีที่แล้วเพื่อพัฒนาโค้ดสำหรับ ESP8266 ให้ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ และได้เงินไปถึง 28,534 ปอนด์จากเป้าหมาย 6,000 ปอนด์ ตอนนี้ผลจากการระดมทุนก็เริ่มชัดเจนเมื่อโค้ดปรับปรุงการทำงานสำหรับ ESP8266 รวมเข้ามาใน MicroPython 1.7 ชุดแรกแล้ว
รายการปรับปรุงเช่น ระบบไอพี, รองรับ Bignum, เปิดใช้งานโมดูลเพิ่มเติมจำนวนมาก
ทางทีมพัฒนา MicroPython แสดงผลโหวตโมดูลเพิ่มเติมสำหรับการระดมทุน สองโมดูลหลักที่ได้รับการโหวตสูงสุดคือ MQTT และ OTA ดังนั้นทีมงานจะเริ่มพอร์ตสองโมดูลนี้ก่อน
โครงการ Python ประกาศแผนการหลัง Python 3 พร้อมใช้งานเต็มที่แล้วว่าถึงเวลาวางแผนถึงเวอร์ชั่นต่อไป และตอนนี้ก็ประกาศว่ารุ่นต่อไปจะเป็น Python 8
สาเหตุที่ต้องประกาศแผนอย่างรวดเร็วเพราะในสมัย Python 2 นั้นมีการวางแผนยาวนานจน Python 2 มีการใช้งานเป็นวงกว้างและการอัพเกรดทำได้ยาก เช่น เหตุการณ์ล่าสุดที่ Ubuntu ถอด Python 2 ไม่ได้ เพื่อให้การอัพเกรดได้รวดเร็วก็จะต้องรีบออกเวอร์ชั่นใหม่ ส่วนสาเหตุที่ต้องเป็น Python 8 เพื่อให้เลขเวอร์ชั่นนำหน้า Perl 6 และ PHP 7 และหลังจากนั้นจะออกเวอร์ชั่นใหม่ทุกๆ 2 ปี พร้อมกับปรับเลขเวอร์ชั่นเป็นการคูณสองจากเวอร์ชั่นก่อนหน้าไปเรื่อยๆ คาดว่าเลขเวอร์ชั่นจะแซงหน้าไฟร์ฟอกซ์ในปี 2022 เพราะไฟร์ฟอกซ์จะเป็นเวอร์ชั่น 44 แต่ Python จะเป็นเวอร์ชั่น 64
Python 3 ออกมาตั้งแต่ปลายปี 2008 แต่จนทุกวันนี้ลินุกซ์ส่วนมากก็ยังต้องติดตั้ง Python 2 มาด้วยเสมอ เพราะไลบรารีและแอปพลิเคชั่นต่างๆ ยังต้องการ Python 2 อยู่มาก แต่ Ubuntu 16.04 ก็พร้อมแทบทุกประการแล้วที่จะติดตั้ง Python 3 อย่างเดียว
Barry Warsaw จาก Canonical รายงานว่าตอนนี้ Ubuntu 16.04 ติดเงื่อนไขที่ต้องติดตั้ง Python 2 มาด้วยเพียงอย่างเดียวคือ samba-libs ที่ยังต้องใช้ libpython2.7 และ samba-libs นี้จำเป็นสำหรับการใช้พรินเตอร์ที่แชร์จากวินโดวส์ การถอด Python 2 จะทำให้ Ubuntu Desktop มองไม่เห็นพรินเตอร์ที่วินโดวส์แชร์อยู่ในเครือข่าย
เมื่อเดือนที่แล้ว Pycom ผู้ผลิตบอร์ด IoT ประกาศระดมทุนบอร์ด LoPy เกตเวย์สำหรับ IoT ที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ด้วยมาตรฐาน LoRa ตอนนี้โครงการระดมทุนได้เกินเป้าหมายไปเรียบร้อย (ตั้งเป้า 50,000 ปอนด์ตอนนี้เกิน 100,000 ปอนด์แล้ว) แต่ความคืบหน้าล่าสุดกลับน่าสนใจกว่า เมื่อทาง Pycom ระบุว่าจะใช้ชิป ESP32 จาก Espressif
โครงการ LIGO ที่เพิ่งประกาศค้นพบคลื่นความโน้มถ่วง (gravitational wave) เปิดเผยข้อมูลดิบชุด GW150914 สู่สาธารณะพร้อมกระบวนการประมวลผล
ข้อมูลเป็นไฟล์ในฟอร์แมต HDF5 การประมวลผลใช้ไลบรารีไพธอนที่ใช้งานกันทั่วไปอย่าง numpy และ matplotlib เอกสารที่เปิดมาพร้อมข้อมูลมีโค้ดสอนการประมวลผลข้อมูลจากข้อมูลดิบออกมาเป็นกราฟที่ใช้ในรายงานวิจัยทีละขั้นอย่างละเอียด
ต่อให้ไม่ได้ทำวิจัยด้านดาราศาสตร์ แต่ไปโหลดมาทำตามเล่นๆ ศึกษาการประมวลผลข้อมูลก็น่าจะคุ้มอยู่ดี
ที่มา - LIGO
หนึ่งในองค์ประกอบสำคัญของกระแส IoT คือเครือข่ายที่ครอบคลุม ตอนนี้ยังมีหลายมาตรฐานแข่งกันอยู่ สำหรับคนที่สนใจจะพัฒนาเครือข่ายเอง pycom บริษัทที่เคยพัฒนาบอร์ด WiPy สำหรับการเชื่อมต่ออุปกรณ์ IoT สู่อินเทอร์เน็ตผ่าน Wi-Fi ก็หันมาพัฒนา LoPy บอร์ดเกตเวย์ขนาดจิ๋วสำหรับให้บริการเครือข่าย LoRa
LoPy ไม่ได้บอกว่าใช้ชิปอะไรภายในแต่ระบุว่าเป็น Cortex-M4 สองคอร์เป็น Wi-Fi SoC ฝั่ง LoRa นั้นใช้ชิป Samtech SX1272 ให้บริการอุปกรณ์ได้ถึง 100 ตัวในระยะทางถึง 5 กิโลเมตร (ในที่โล่ง) บนตัวบอร์ดของรับการเชื่อมต่อ Wi-Fi และ Bluetooth ในตัว
ทีมงาน MicroPython โครงการพัฒนาไพธอนเพื่อใช้งานบนซีพียูขนาดเล็กๆ เช่น Cortex-M ตอนนี้ทางโครงการก็ออกมาระดมทุนเพื่อพอร์ต MicroPython ไปรันบน ESP8266 แล้ว
ผู้ที่ร่วมระดมทุนจะได้รับสิทธิ์ในการโหวตว่าจะพอร์ตโมดูลใดบ้าง พร้อมกับสิทธิ์เข้าถึงเฟิร์มแวร์ล่วงหน้า พร้อมกับการอัพเดตต่อเนื่องอีกหนึ่งปี โครงการตั้งเป้าหมายไว้ที่ 6,000 ปอนด์และหากระดมได้ 12,000 ปอนด์ทางทีมงานจะเปิดซอร์สโค้ดทั้งหมดให้เข้าถึงได้ทันที
ที่มา - KickStarter
เมื่อวันปีใหม่ที่ผ่านมา ชุมชนพัฒนาภาษา Python ได้ตัดสินใจเลือก GitHub เป็นที่ฝากซอร์ส แทนที่จะโฮสต์เองด้วย Mercurial แล้วครับ
เดิมนั้น Python ใช้ระบบจัดการซอร์สด้วย Mercurial ซึ่งน่าจะเป็นเพราะมันเขียนด้วย Python เช่นเดียวกัน แต่ Git ก็ได้รับความนิยมขึ้นมาอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นเจ้าตลาดด้านการฝากซอร์สไปเรียบร้อยแล้ว ทำให้ชุมชนพัฒนาภาษา Python เลือกที่จะย้ายไปฝากซอร์สไว้บน Git แทน
งานนี้ Guido van Rossum ลงความเห็นแล้วว่า เขาชอบ GitHub (ฝากซอร์สไว้กับคนอื่น) มากกว่า GitLab (โฮสต์ซอร์สบนเซิร์ฟเวอร์ตัวเอง) และตอนนี้ซอร์สของ CPython ก็ย้ายมาอยู่บน GitHub เรียบร้อยแล้วครับ
โครงการ Ubuntu เริ่มวางแผนสำหรับรุ่น 16.04 LTS ที่จะออกในปีหน้า ประเด็นที่น่าสนใจคือตัวจัดการซอฟต์แวร์ Ubuntu Software Centre จะถูกถอดออก และเปลี่ยนมาใช้ GNOME Software Center แทน
เหตุผลที่ Ubuntu เลิกทำซอฟต์แวร์จัดการแพ็กเกจของตัวเอง เป็นเพราะต้องการลดภาระการดูแลซอฟต์แวร์ลง และหันมาใช้ซอฟต์แวร์ของ GNOME โดยเขียนปลั๊กอินเพิ่มเข้าไปให้รองรับซอฟต์แวร์ของ Ubuntu แทน
Ubuntu 16.04 LTS ยังจะถอดซอฟต์แวร์เขียนแผ่นซีดี Brasero, ซอฟต์แวร์แชท Empathy ออกจากชุดซอฟต์แวร์มาตรฐาน ด้วยเหตุผลว่าคนใช้น้อยลงและโครงการไม่ค่อยอัพเดตแล้ว
นอกจากนี้ Ubuntu ยังเตรียมถอด Python 2 ออกจากชุดซอฟต์แวร์มาตรฐาน และติดตั้ง Python 3 มาให้เพียงอย่างเดียวด้วย
Python 3.5 มาแล้วครับ จุดเด่นรอบนี้เป็นการพัฒนาการคำนวณทางคณิตศาสตร์ และการทำงานแบบไม่ประสานเวลา โดยมีสามารถใหม่ๆ บางส่วน ดังนี้
เมื่อกลางปีที่แล้ว ไมโครซอฟท์เปิดตัว Azure Machine Learning บริการวิเคราะห์ข้อมูลผ่านกลุ่มเมฆที่ใช้หลัก machine learning เรียนรู้รูปแบบในอดีตเพื่อพยากรณ์อนาคต วันนี้บริการนี้เปิดบริการเชิงพาณิชย์ (general availability)
ฟีเจอร์สำคัญที่เพิ่มเข้ามาในรุ่นจริงคือรองรับการเขียนโปรแกรมด้วยภาษา Python (ก่อนหน้านี้รองรับแค่ R), ปรับระบบการควบคุมผ่านเว็บให้ง่ายขึ้น, รองรับการเทรนซ้ำ (retrain) ให้โปรแกรมเมื่อได้รับข้อมูลชุดใหม่ๆ ตามระยะเวลาที่กำหนด, รองรับการประมวลผลข้อมูลใหญ่ขนาด TB โดยทำงานร่วมกับ Azure HDInsight ที่เป็นบริการ big data ของไมโครซอฟท์
คุณ Philip Guo ผู้ก่อตั้งเว็บ Online Python Tutor เขียนตัววิเคราะห์การเลือกภาษาโปรแกรมสำหรับการเรียนเขียนโปรแกรมในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ พบว่าภาษา Python มีการใช้งานขึ้นนำแทนภาษา Java แล้ว
เกณฑ์การเลือกมหาวิทยาลัยใช้ข้อมูลจาก US News หมวดมหาวิทยาลัยที่ขึ้นชื่อในคณะวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเขาเลือกมหาวิทยาลัย 39 ชื่อแรกมาประมวลผล
ภาษา Python นั้น โดยทางการแล้วตัวแปลภาษาเขียนอยู่บนภาษา C อีกที (เรียกว่า CPython) แต่เราได้รู้จักตัวแปล Python อื่นๆ เช่น PyPy.js ที่เขียนบน JavaScript มาแล้ว วันนี้มีของเล่นใหม่คือ Micro Python ภาษา Python 3 สำหรับอุปกรณ์ไมโครคอนโทรลเลอร์โดยเฉพาะ
แม้ว่า Micro Python จะยังคงเขียนอยู่บน C เช่นเดิม แต่ภายในนั้นมีการปรับแต่งรีดปริมาณการใช้ RAM ให้ลดลงจนสามารถนำไปใช้บนไมโครคอนโทรลเลอร์ได้ ฟีเจอร์หลักๆ คือ
ปรกติผมไม่ค่อยได้เข้าหน้าแรกของเว็บ Python.org (เว็บโครงการของภาษา Python) เท่าไหร่ (จะเปิดหน้าเอกสารซึ่งเป็นเว็บย่อยของโครงการโดยตรงเลยเสียมากกว่า) แต่วันนี้ผมได้พบว่าหน้าเว็บถูกแปลงโฉมใหม่แล้ว
การออกแบบครั้งนี้เน้นสร้างความประทับใจให้มือใหม่ ด้วยตัวอย่างโค้ดพร้อมทั้งคอนโซลให้ทดลองเล่นจริง และปรับตำแหน่งและโครงสร้างเมนูให้หาสิ่งต่างๆ ได้ง่ายขึ้นครับ
ใครนึกไม่ออกว่าเว็บเก่าเป็นอย่างไร เปลี่ยนแล้วดูดีขึ้นแค่ไหน สามารถย้อนเวลาไปชมได้ที่ web.archive.org
โครงการ PyPy.js พอร์ต PyPy มาเป็นจาวาสคริปต์ให้รันบน asm.js ล่าสุดโครงการแถลงผลว่าสามารถรันได้เร็วกว่า CPython ในบางกรณีที่โค้ดเดิมถูกรันซ้ำๆ จำนวนรอบมากพอแล้ว
Dropbox ประกาศเปิดตัวไพธอนที่พัฒนาใช้เองชื่อว่า Pyston อีมพลีเมนต์ไพธอนโดยแปลงเป็นภาษากลางของ LLVM แล้วคอมไพล์ออกมาเป็นโค้ดแบบเนทีฟ
เหตุผลที่ Dropbox ไม่ร่วมกับโครงการที่มีอยู่แล้วอย่าง PyPy เพราะว่าโครงสร้างของโครงการนั้นแก้ไขเพิ่มฟีเจอร์ที่ต้องการได้ยาก เช่น กระบวนการจัดการหน่วยความจำแบบใหม่ที่ Dropbox ต้องการทดลองใช้งานก็แพตซ์เข้าไปยัง PyPy ได้ลำบาก ขณะที่แก้ไขผ่าน LLVM นั้นง่ายกว่ามาก
วงการคอมพิวเตอร์บนกลุ่มเมฆตอนนี้ น่าจะพอเรียกได้ว่าโครงการโอเพนซอร์ส OpenStack กลายเป็นมาตรฐานกลายๆ (de facto) ไปเรียบร้อยแล้ว การพัฒนาซอฟต์แวร์บนกลุ่มเมฆที่อยู่บน OpenStack API จึงได้เปรียบกว่าในแง่การย้ายงานข้ามผู้ให้บริการกลุ่มเมฆกัน
อย่างไรก็ตาม ยังมีระบบกลุ่มเมฆอีกไม่น้อยที่ถูกพัฒนาขึ้นมาก่อน OpenStack จะดัง และการพัฒนาระบบเหล่านี้ให้รองรับ OpenStack API เป็นเรื่องที่ต้องใช้เวลาและทรัพยากรอีกมาก
บริษัทกลุ่มเมฆ SoftLayer (ที่เพิ่งถูก IBM ซื้อกิจการเมื่อปีที่แล้ว) เห็นโอกาสตรงนี้ จึงพัฒนาซอฟต์แวร์ชื่อ Jumpgate ขึ้นมาเป็นมิดเดิลแวร์แปลง API ของกลุ่มเมฆเดิมให้กลายเป็น OpenStack API
บริษัทผู้ถือโดเมน Python.co.uk กำลังยื่นขอจดเครื่องหมายการค้า Python สำหรับซอฟต์แวร์, บริการ, และเซิร์ฟเวอร์ ให้ครอบคลุมทั้งเครือสหภาพยุโรป ทำให้มูลนิธิ Python ต้องออกมาขอให้ทุกคนช่วยกันรวบรวมหลักฐานการใช้ชื่อ Python ที่เกิดขึ้นในยุโรป
ทางมูลนิธิ Python ระบุว่าได้ติดต่อเจ้าของโดเมน Python.co.uk มานาน แต่ล่าสุดทางบริษัทได้หันไปยื่นจดเครื่องหมายการค้าแทน ทำให้ทางมูลนิธิต้องยื่นคำขอจดเครื่องหมายการค้าเข้าไปแข่งเพราะใช้ชื่อนี้มาก่อน โดยภาษา Python เกิดมานานถึง 20 ปีแล้วขณะที่ตัวโดเมนจดทะเบียนมานาน 13 ปี
Aaron Swartz ผู้ร่วมสร้างมาตรฐาน RSS 1.0 (ตั้งแต่อายุ 14 ปี) ในปี 1995 และมีผลงานด้านคอมพิวเตอร์และการทำกิจกรรมเพื่อเสรีภาพได้เสียชีวิตลงแล้วจากการฆ่าตัวตายในวันที่ 11 มกราคมที่ผ่านมา
Swartz มีอาการเครียดเรื้อรัง (chronic depression) มาตั้งแต่ปี 2007 ในช่วงปี 2011 เขาได้เขียนโปรแกรมเข้าไปดาวน์โหลดงานวิจัยจาก JSTOR จำนวนกว่าสี่ล้านไฟล์จนทำให้ถูกฟ้องและยังคงเป็นคดีมาจนทุกวันนี้
เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมาทางทีมงาน Pylons Project ได้ประกาศออกรุ่น Pyramid (Python web framework ที่พัฒนาขึ้นใหม่จากทีมงาน Pylons เดิม ซึ่ง Pyramid ไม่ใช่ full stack framework อย่าง Django) เวอร์ชัน 1.4 อย่างเป็นทางการ หลังจากปล่อยรุ่นทดสอบมาพักใหญ่ โดยมีคุณสมบัติเด่นๆ ดังประกาศไว้ที่ What’s New In Pyramid 1.4 ต่อไปนี้
วันนี้ Guido van Rossum ประกาศว่าเขากำลังทำงานในกูเกิลเป็นวันสุดท้ายเพื่อไปทำงานยัง Dropbox ในเดือนมกราคมที่จะถึงนี้
Dropbox ใช้ภาษา Python เป็นภาษาหลักในการพัฒนาเสมอมา เพื่อให้สามารถพัฒนาบนหลายแพลตฟอร์มไปได้พร้อมๆ กัน
ที่ผ่านมางานของ Guido ในกูเกิลไม่ชัดเจนนัก ที่เราเห็นได้บ้างเช่น Google Apps Engine รองรับภาษา Python เป็นภาษาแรก ก่อนจะรองรับภาษาอื่นๆ ในเวลาต่อมา ส่วนโครงการ unladen-swallow ที่ตั้งเป้าจะสร้าง Python ให้ทำงานได้เร็วกว่าเดิม 5 เท่านั้นก็แทบจะไม่มีข่าวอะไรออกมาอีกเลยหลังเปิดตัวไปหนึ่งปี โดยระหว่างนั้นมีโครงการอย่าง PyPy เข้ามาแทนที่ไปได้แล้ว
หลังจากได้รับรายงานจุดที่เสี่ยงต่อการถูกเจาะระบบเป็นจำนวน 24 รายการโดยทีมรักษาความปลอดภัยและผู้ใช้งาน ตอนนี้ Plone ก็ได้ออก hotfix ปิดจุดเสี่ยงเหล่านั้นแล้วครับ
ดาวน์โหลด hotfix และอ่านวิธีติดตั้งได้ที่นี่ โดยมันถูกทดสอบแล้วว่าสามารถใช้ได้กับ Plone เวอร์ชั่น 4 และ 3 (ส่วนรุ่นต่ำกว่านั้นต้องทดสอบกันเอง) สำหรับรายงานจุดเสี่ยงทั้งหมดที่ถูกจัดการในคราวนี้สามารถอ่านได้จากที่นี่
Plone เป็น CMS ยอดนิยมตัวหนึ่งจากฝั่ง Python ครับ
ตามปรกติของรอบ release ที่ผ่านๆ มา Python 2.x และ 3.x เวอร์ชันใหม่จะถูกปล่อยในเวลาใกล้เคียงกัน แต่สำหรับรอบนี้จะไม่มีเวอร์ชันใหม่สำหรับ Python 2 อีกแล้ว (อ้างอิง: PEP 404)
ส่วน Python 3.3.0 ซึ่งเป็นเวอร์ชันใหม่ของสาย 3.x ก็มีลูกเล่นเพิ่มเติมดังนี้