GitHub ร่วมกับโครงการ fast.ai พัฒนาไลบรารี nbdev สำหรับการเขียนโมดูลไพธอนจากใน Jupyter Notebook ให้มีทั้งเอกสารประกอบโมดูลและชุดทดสอบโมดูล
nvdev ไลบรารีที่ทำให้นักพัฒนาสามารถพัฒนาโมดูลเต็มรูปแบบจาก Jypyter โดยยังคงสามารถพัฒนาแบบ interactive ที่ได้รับความนิยมสูงขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลัง ตัวโมดูลสามารถทำงานร่วมกับ GitHubg เต็มรูปแบบ ทั้งการสร้างเอกสารลงเป็น GitHub Pages และการสร้างชุดทดสอบเพื่อรันใน GitHub Actions และการพัฒนาก็ทำใน GitHub Codespaces ได้
โดยรวมแล้ว nbdev สนับสนุนให้นักพัฒนาที่นิยมการพัฒนาบน notebook ให้ปรับตัวเข้ากับแนวทางการทำงานที่ดี (best practice) ของวิศวกรรมซอฟต์แวร์ โดยไม่ต้องเปลี่ยนแนวทางการพัฒนามากนัก
Guido van Rossum ผู้สร้างภาษา Python ลาออกจาก Dropbox เมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้วเพื่อเกษียณอายุ แต่วันนี้เขาประกาศว่าเบื่อการเกษียณแล้วจึงกลับไปทำงานกับไมโครซอฟท์ในฝ่ายนักพัฒนา (Developer Division)
ทวีตประกาศของเขาระบุว่ายังไม่รู้ว่าจะเข้าไปทำงานอะไรแต่มีโอกาสมากมายและยังทำงานกับ Python เพื่อให้มันทำงานได้ดีขึ้น
แม้จะเกษียณและลาออกจากผู้นำโครงการ Python ไปแล้ว (ทุกวันนี้เขาอยู่ในฐานะผู้นำกิตติมศักดิ์) แต่ Guido ก็ยังไปพูดตามงาน Python เรื่อยมา
ที่มา - @gvanrossum
อันดับภาษาโปรแกรมยอดนิยม TIOBE Index มีการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญในเดือนพฤศจิกายน 2020 เพราะ Python สามารถแซงหน้า Java ขึ้นมาเป็นอันดับ 2 ได้สำเร็จ (คะแนนความนิยม 12.12% vs 11.68%) ส่วนอันดับหนึ่งยังเป็น C (16.21%) เช่นเดิม
ตั้งแต่ TIOBE เริ่มวัดความนิยมของภาษาโปรแกรมมาเกือบ 20 ปีก่อน การเปลี่ยนแปลงอันดับครั้งนี้ถือเป็นครั้งแรกที่ C และ Java ไม่ได้เป็น Top 2 อีกต่อไป
TIOBE ระบุว่าความนิยมของ Python เกิดจากการเป็นภาษาที่ทำงานได้หลากหลาย ในยุคที่ใครๆ ก็หัดเขียนโปรแกรมได้ Python เป็นภาษาแรกที่คนจำนวนมากเลือก มีจุดเด่นเรื่องความง่าย แก้ไขโค้ดได้เร็ว
โครงการ Python ออก Python 3.9.0 มีของใหม่หลายอย่าง เปิดให้ดาวน์โหลดไบนารีแล้วบน Windows และ macOS
เฟซบุ๊กเปิดตัวโครงการ Pysa (Python Static Analyzer, อ่านว่าพิซา แบบเดียวกับ Pisa) เป็นซอฟต์แวร์สำหรับวิเคราะห์ความปลอดภัยของโค้ดภาษาไพธอนโดยมุ่งหาเฉพาะช่องโหว่ที่มีความเสี่ยงจริง ไม่ใช่การวิเคราะห์โค้ดไปทั้งหมดจนเกิดการรายงานช่องโหว่เกินความเป็นจริง
Visual Studio Code มีส่วนขยายยอดนิยมสามภาษา ได้แก่ Python, C/C++, และ C# โดยไมโครซอฟท์รับนักพัฒนาส่วนเสริมภาษา Python มาร่วมงานตั้งแต่ปี 2007 และตอนนี้ก็หันมาพัฒนาเซิร์ฟเวอร์ภาษาใหม่ในชื่อ Pylance โดยระบุว่าประสิทธิภาพจะดีขึ้น, รองรับการตรวจสอบชนิดตัวแปร, และสามารถอิมพอร์ตโมดูลอัตโนมัติ
วันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2563 ไลบรารี PyThaiNLP ซึ่งเป็นไลบรารีประมวลผลภาษาไทยแบบโอเพนซอร์สในภาษาไพธอน ได้ออกรุ่น 2.2 โดยเน้นปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงานของไลบรารี โดยสรุปความเปลี่ยนแปลงได้ดังนี้
JetBrains ผู้พัฒนา IDE และสร้างภาษา Kotlin เปิดเผยผลสำรวจ The State of Developer Ecosystem ประจำปี 2020 ซึ่งเป็นการรายงานปีที่ 4 จากการสอบถามนักพัฒนา 19,696 คน ใน 18 ประเทศ มีประเด็นที่น่าสนใจดังนี้
Fedora ออกเวอร์ชัน 32 ของใหม่ได้แก่
โครงการ Python ออกเวอร์ชัน 2.7.18 ซึ่งเป็นเวอร์ชันสุดท้ายของ Python 2.x ตามที่เคยประกาศไว้
ทีมงาน Python ระบุว่า Python 3 พัฒนามานานเกินสิบปีแล้ว (ออกเวอร์ชัน 3.0 ในปี 2008) และมีเวลาให้ย้ายโค้ดจาก Python 2 กันมานานพอสมควร ตอนนี้ถึงเวลาที่ Python 2 จะต้องจากไป เพื่อให้ชุมชน Python หันไปโฟกัสกับ Python 3 อย่างเต็มที่
โครงการโอเพนซอร์สสำคัญๆ หลายตัวก็เข้าร่วมสนับสนุน Python 3 เพียงอย่างเดียวในเวอร์ชันใหม่ๆ ของตัวเอง เช่น Apache Spark, Numpy, CherryPy เป็นต้น
Liu Lei นักวิจัยจาก Institute of Computing Technology สถาบันภายใต้ Chinese Academy of Sciences (CAS) สถาบันวิจัยระดับชาติของจีนประกาศว่าตัวเองเป็นนักพัฒนาหลักของภาษา Mulan ที่เป็นภาษาโปรแกรมมิ่งที่สร้างขึ้นในจีนทั้งหมด แต่หลักจากนักพัฒนาเข้าไปดูโครงการแล้วก็พบว่าโค้ดสร้างมาจากภาษาไพธอนที่มีการใช้งานทั่วโลก
ตัว Liu เขียนจดหมายขอโทษต่อสาธารณะในภายหลัง ระบุว่าห้องวิจัยของเขาสร้างภาษา Mulan ที่เป็นส่วนพื้นฐาน แต่งานที่ซับซ้อนจะรันด้วยไพธอน โดยตัวภาษา Mulan ตั้งใจทำให้ง่ายลงเพื่อให้นักเรียนประถมใช้งานได้ง่าย
ทาง CAS ประกาศพักงาน Liu และจะสอบสวนถึงเหตุการณ์นี้ โดยข้อหาที่ถูกสอบสวนมีตั้งแต่การประพฤติตัวไม่เหมาะสม, หลอกลวง, และแถลงการเท็จ
Pandas ไลบรารีวิเคราะห์ข้อมูลภาษาไพธอนยอดนิยม เตรียมออกรุ่น 1.0.0 โดยตอนนี้เวอร์ชั่น 1.0.0rc0 ก็เปิดให้ดาวน์โหลดแล้ว
ความเปลี่ยนแปลงสำคัญของเวอร์ชั่น 1.0 คือทางโครงการจะมีนโยบายรักษาความเข้ากันได้ของ API ตามแนวทาง Semantic Versioning โดยเวอร์ชั่นหลัก (ตัวเลขหน้าสุด) จะไม่มีการถอด API ออก มีแต่การประกาศเตือน deprecation เท่านั้น
นอกจากความเสถียรของ API แล้ว ยังมีการเพิ่มชนิดข้อมูลแบบสตริงเป็นการเฉพาะ, ข้อมูลแบบ boolean ที่รองรับกรณีบางแถวไม่มีข้อมูล, เปลี่ยนเอนจินการรันฟังก์ชั่นเป็น Numba เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ, และการแสดงข้อมูลตารางออกมาเป็น Markdown
คาดว่าเวอร์ชั่น 1.0.0 ตัวจริงจะออกภายในสัปดาห์หน้า
บริษัทวิจัยตลาดแรงงาน Buring Glass วิเคราะห์ตลาดแรงงานไอทีในสหรัฐฯ ช่วง 30 วันที่ผ่านมา พบว่าภาษา SQL ยังคงเป็นภาษาอันดับหนึ่งที่นายจ้างต้องการ คิดเป็นจำนวนตำแหน่งงาน 56,272 ตำแหน่ง ตามมาด้วยภาษาจาวา 48,949 ตำแหน่ง, ไพธอน 34,426 ตำแหน่ง, และจาวาคริปต์ 33,619 ตำแหน่ง
ความสามารถด้านซอฟต์แวร์อื่น เช่น ลินุกซ์ 28,562 ตำแหน่ง ออราเคิล 24,218 ตำแหน่ง, และ SQL Server 14,299 ตำแหน่ง แสดงให้เห็นว่างานฐานข้อมูลยังคงเป็นความสามารถสำคัญ
โครงการ Python ประกาศออก Python 2.7 เวอร์ชันสุดท้ายของสาย Python 2.x ในเดือนเมษายน 2020 หลังจากนั้นแล้วจะไม่อัพเดต Python 2.x อีกแล้ว แปลว่าไม่มีแพตช์ความปลอดภัยด้วย
Python 2.0 ออกเมื่อเดือนตุลาคม 2000 นับอายุได้เกือบ 20 ปีพอดี เดิมทีโครงการ Python ตั้งใจหยุดการซัพพอร์ต Python 2 ตั้งแต่ปี 2015 แต่ก็ยืดเวลามาอีกถึง 5 ปีเพื่อให้โอกาสแอพต่างๆ อัพเกรดเป็น Python 3 (ออกครั้งแรกในปี 2008)
ปัจจุบัน Python 2 เวอร์ชันล่าสุดคือ 2.7.17 ที่ออกในเดือนตุลาคม 2019 และเดิมมีแผนหยุดซัพพอร์ต Python 2 ในวันที่ 1 มกราคม 2020 แต่สุดท้ายก็ยืดไปอีก 4 เดือน
วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ.2562 ไลบรารี PyThaiNLP ซึ่งเป็นไลบรารีประมวลผลภาษาไทยแบบโอเพนซอร์สในภาษาไพธอน ได้ออกรุ่น 2.1 โดยสรุปความสามารถใหม่ดังนี้
เมื่อวันที่ 1 ธันวาคมที่ผ่านมา Lukas Martini นักพัฒนาชาวเยอรมันรายงานถึงแพ็กเกจ python3-dateutil และ jeIlyfish ที่ตั้งใจตั้งชื่อให้คล้ายโมดูล dateutil และ jellyfish แต่ฝังโค้ดขโมยกุญจะเข้ารหัสและกุญแจล็อกอินเซิร์ฟเวอร์จากผู้ใช้
ทั้งสองโมดูลถูกสร้างตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและอยู่บน PyPI นานเกือบหนึ่งปี หลังจาก Lukas รายงาน ทาง PyPI ก็ถอนโมดูลทั้งสองออกในไม่กี่ชั่วโมง
กูเกิลเพิ่งประกาศ App Engine รองรับรันไทม์ Java 11 LTS ไปหมาด ๆ ล่าสุด App Engine ประกาศรองรับภาษาโปรแกรมเวอร์ชันใหม่ๆ อีกชุดใหญ่ดังนี้
Brett Cannon สมาชิกกรรมการดูแลทิศทางโครงการไพธอน (steering council) ประกาศรับแนวทางการพัฒนาตามเอกสาร PEP 602 ที่ระบุให้เปลี่ยนรอบการพัฒนาเป็นการออกปีละเวอร์ชั่น อย่างชัดเจน
แนวทางออกตามรอบปีจะทำให้ไพธอนมีรอบออกเวอร์ชั่นใหม่ล้อไปกับลินุกซ์ดิสโทร์ต่างๆ เช่น Fedora หรือ Ubuntu นักพัฒนาภายนอกเองก็จะรู้ว่าควรเริ่มทดสอบกับไพธอนรุ่นใหม่ช่วงไหนและเริ่มให้ความเห็นกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ได้ทันท่วงที
Guido van Rossum ผู้สร้างภาษา Python ประกาศลาออกจากงานปัจจุบันที่ Dropbox (ย้ายมาจากกูเกิลตั้งแต่ปี 2013) ด้วยเหตุผลว่าต้องการเกษียณอายุแล้ว (ปัจจุบันเขาอายุ 63 ปีแล้ว)
Dropbox ถือเป็นองค์กรที่ใช้ Python เยอะมากแห่งหนึ่ง นับตั้งแต่ Drew Houston ผู้ก่อตั้งบริษัทเริ่มเขียนโค้ดบรรทัดแรกของ Dropbox ด้วยภาษา Python และหลังจากนั้นก็เชิญ Guido มาพูดที่บริษัทอยู่บ่อยครั้ง จนกระทั่งชวน Guido ย้ายมาทำงานด้วย
เมื่อคืนวันที่ 19 ตุลาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา ทางมูลนิธิซอฟต์แวร์ไพทอน (Python Software Foundation) ได้ปล่อย Python 2.7.17 เป็นเวอร์ชั่นก่อนลำดับสุดท้าย (penultimate release) ของ Python 2.7 ซึ่งจะหมดระยะเวลาสนับสนุนในวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2563 นี้
ได้เวลาเปลี่ยนไปใช้ Python 3.X เต็มตัวแล้ว
รายงานวิจัยพบบั๊กในสคริปต์ไพธอนคำนวณค่าสถิติของสคริปต์ที่มีการแจกจ่ายมาตั้งแต่ปี 2014 และถูกนำไปใช้คำนวณผลวิจัยกว่าร้อยชิ้น แต่บั๊กในสคริปต์อาจจะทำให้ต้องถอนงานวิจัยเหล่านั้นทั้งหมด
สคริปต์ปัญหานี้เป็นสคริปต์สำหรับงานวิจัยหาสารเคมีที่มีผลต่อต้านมะเร็ง พัฒนาโดยทีมวิจัยของศาสตราจารย์ Philip Williams และถูกพบโดย Yuheng Luo นักศึกษาปริญญาโทเมื่อเขาพยายามทำซ้ำผลวิจัย
บั๊กในสคริปต์เกิดจากการใช้ฟังก์ชั่น glob
เพื่อดึงรายชื่อไฟล์จากโฟลเดอร์ออกมา โดยนักวิจัยไม่ได้ตระหนักว่าฟังก์ชั่นนี้ไม่รับรองว่ารายชื่อไฟล์จะเรียงอย่างไร แม้ว่าในบางระบบไฟล์ผลที่ได้จะเรียงตามตัวอักษรแต่บางระบบไฟล์ก็ให้ผลต่างออกไป
ไมโครซอฟท์อัพเดตส่วนไพธอนสำหรับ Visual Studio Code ทำให้สามารถรัน Jupyter Notebook ได้เต็มรูปแบบ นับเป็นความก้าวหน้าล่าสุดหลังจากไมโครซอฟท์มีแนวทางรองรับ data science บน VS Code ตั้งแต่ปีที่แล้ว
หลังจากนี้ VS Code ที่ติดตั้งส่วนเสริมไพธอนรุ่นล่าสุดจะสามารถสร้าง Jupyter Notebook ได้ในตัว ขณะพัฒนาโค้ดจะมี IntelliSense ช่วยแนะนำโค้ดให้ พร้อมหน้าจอปรับตัวแปร นอกจากนี้เพื่อพัฒนาเสร็จแล้วยังสามารถแปลงเป็นโค้ดไพธอนธรรมดาได้อีกด้วย
การรัน Jupyter Notebook ใน VS Code ตรงๆ จะรัน Jupyter ขึ้นมาบนเครื่องอัตโนมัติ หรือหากต้องการเชื่อมต่อกับเซิร์ฟเวอร์ภายนอกก็คอนฟิกได้
ไมโครซอฟท์ปล่อยวิดีโอสอนเขียนโปรแกรมภาษาไพธอนพื้นฐานลง YouTube รวม 44 ตอน ตอนละ 3-5 นาที พร้อมเอกสารประกอบบนเว็บไมโครซอฟท์เองสำหรับผู้ไม่ชอบดูวิดีโอ
เนื้อหาวิดีโอเบื้องต้นอย่างมาก น่าจะเหมาะกับผู้ที่ไม่เคยเขียนโปรแกรมมาก่อน มากกว่าจะเป็นกลุ่มคนเคยเขียนภาษาอื่น แต่เนื้องหาช่วงท้ายก็มีเนื้อหาระดับกลางๆ เช่น การสร้าง virtual environment หรือการทำ decorator
การเปิดเนื้อหาแบบนี้นับว่าเข้าถึงง่ายกว่าการนำเนื้อหาไปวางไว้ในเว็บเรียนรู้ต่างๆ ที่ต้องสมัครล่วงหน้า อย่างไรก็ดี เนื้อหาประกอบการสอนบนเว็บไมโครซอฟท์นั้น เมื่อจะทำแบบฝึกหัดต้องใช้ Azure Cloud Shell ที่ต้องสมัครสมาชิกก่อน
Python 2 กำลังจะหมดซัพพอร์ทในช่วงต้นปีหน้า ซึ่งศูนย์ความปลอดภัยไซเบอร์อังกฤษก็ออกมาเตือนให้ย้ายไป Python 3 ซึ่งถึงแม้ Python Foundation จะขยายเวลาซัพพอร์ทจากปี 2015 มาปี 2020 แล้วก็ตาม แต่หลายองค์กรก็น่าจะได้รับผลกระทบไม่น้อยและหนึ่งในนั้นคือธนาคาร JPMorgan
Python 3.8 มีกำหนดออกเดือนตุลาคมนี้ โดยตอนนี้อยู่ที่สถานะ beta 2 มีความเปลี่ยนแปลงฟีเจอร์หลายอย่าง แต่ที่สำคัญที่สุดคือการเพิ่มฟีเจอร์การตั้งค่าตัวแปรใน expression (Assignment Expressions หรือ PEP572 ทำให้สามารถตั้งค่าตัวแปรใน if statement ได้เลย