นักวิจัยจากภาควิชาฟิสิกส์ของ MIT ประสบความสำเร็จในการส่งพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีสายไฟ โดยสามารถทำให้หลอดไฟขนาด 60 วัตต์สว่างได้ แม้อยู่ห่างจากแหล่งพลังงาน 2 เมตร
ทีมวิจัยเรียกกรรมวิธีนี้ว่า "WiTricity" (wireless electricity) หลักการของมันคือวัตถุที่มีความถี่ resonant เหมือนกัน จะถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานไม่รั่วไหลออกไปสู่วัตถุอื่น ทีมนี้ใช้ความถี่ resonant ทางแม่เหล็ก ต่างออกไปจากความถี่เสียงแบบที่เราเคยเรียนกันในวิชาฟิสิกส์
อาจารย์ Peter Fisher หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า ถ้าใช้ขดลวดขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ก็สามารถส่งพลังงานโน้ตบุ๊คต้องใช้ในการทำงานได้เหลือเฟือ แปลว่าถ้านั่งทำงานอยู่ในห้อง ก็ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่เลย
Multitasking คือการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆภายในเวลาเดียวกัน เช่น เขียนโปรแกรมไปเช็คอีเมล์ไป ขับรถไปคุยโทรศัพท์ไป ใช้ sms ในระหว่างที่เดินข้ามถนนและฟัง iPod ไปด้วย เป็นต้น
คนจำนวนมากคิดว่า การที่เราทำอะไรได้หลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน เป็นคุณสมบัติที่ดี และเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เรายิ่งทำอะไรได้มากขึ้นในคราวเดียว ก็ยิ่งเป็นพัฒนาการในการทำงานที่ดีเข้าไปใหญ่ มือถือ อีเมล์ แมสเสจ และอื่นๆ จึงกลายเป็นสิ่งที่เราคิดว่าจำเป็นต้องชีวิตตลอดเวลา
แม้กล้องดิจิตอลทุกวันนี้จะเล็กลงมาก และใช้งานสะดวกจนไม่ต้องการความรู้อะไรมากไปกว่าการกดชัดเตอร์ตามปรกติแล้ว แต่ปํญหาภาพเบลอ ภาพมืด ฯลฯ ก็ยังตามรบกวนคนใช้มาตั้งแต่ยุคกล้องคอมแพคจนถึงยุคนี้ แต่เราอาจจะได้เห็นกล้องในยุคต่อไปที่ไม่ต้องการแฟลชแต่ยังให้ภาพสว่างได้อย่างเต็มที่ เมื่อบริษัท Planet82 ได้เปิดตัวเทคโนโลยี Single carrier Modulation Photo Detector (SMPD) ที่งาน CES 2007 โดยบริษัทระบุว่าเซ็นเซอร์ของบริษัทตัวนี้มีความไวแสงสูงกว่าเซ็นเซอร์ทั่วไปถึงสองพันเท่า โดยยังให้ภาพสีตามปรกติ ต่างจากเซ็นเซอร์ความไวสูงอื่นๆ ที่มักให้ภาพขาวดำ
ทิศทางของเทคโนโลยีไมโครชิปยุคต่อไปนั้นค่อนข้างแน่ว่าเทคโนโลยีด้านออปติคอลจะเข้ามามีผลมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ทุกวันนี้เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อการส่งข้อมูลความเร็วสูงกันได้แล้ว แต่เรายังมีข้อจำกัดที่ต้องแปลงสัญญาณโฟตอนเหล่านั้นมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อจัดเก็บและประมวลผลในชิปแบบดั้งเดิม
แต่ตอนนี้อนาคตอาจจะเข้าใกล้เรามากขึ้น เมื่อนักวิจัยที่ไอบีเอ็มสามารถสร้างชิปเพื่อ "หน่วง" สัญญาณโฟตอนไว้ในไมโครชิปได้เป็นเวลา 0.5 นาโนวินาที โดยก่อนหน้านี้การหน่วงสัญญาณต้องใช้สายไฟเบอร์ออปติกที่มีขนาดใหญ่และราคาแพง การสร้างไมโครชิปเพื่อทำหน้าที่นี้ทำให้เราสามารถกักเก็บสัญญาณโฟตอนไว้ได้ในอุปกรณ์ราคาถูก