ฮิตาชินำเสนอชิป RFID รุ่นใหม่หลังจากครองความเป็นหนึ่งในด้านความเล็กของชิป RFID มาแล้วตั้งแต่ปี 2003 โดยชิปรุ่นใหม่นี้มีขนาดเพียง 0.15x0.15 มิลลิเมตร หรือหนึ่งในสี่ของรุ่นก่อนหน้านี้ (0.3x0.3 มิลลิเมตร) โดยมีความหนาเพียง 7.5 ไมโครเมตรเท่านั้น
ตัวชิปมีความจุ 128 ไบต์ โดยข้อมูลภายในต้องเขียนมาจากโรงงานเท่านั้น ด้วยขนาดที่เล็กมากของชิป RFID เช่นนี้ทำให้สามารถนำไปใช้งานในรูปแบบหใหม่ๆ ได้ เช่นการฝังชิปนี้ลงในธนบัตรเพื่อตรวจสอบว่าเป็นธนบัตรจริง
คนที่ทำงานตามบริษัทคงรู้กันดีว่าเวลาจะขอใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สสักตัวในบริษัทมันช่างยากเย็นเสียเหลือเกิน เนื่องจากความกลัวปัญหาเช่นเรื่องของการติด GPL แล้วต้องเปิดซอร์สของโปรแกรมในบริษัทไปด้วย แต่งานวิจัยล่าสุดของการ์ตเนอร์ ออกมาชี้ให้เห็นว่าแทบไม่มีทางเป็นไปได้เลยที่เราจะหลีกเลี่ยงการใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส เพราะในปี 2011 อย่างน้อยร้อยละ 80 ของซอฟต์แวร์เพื่อการค้าทั่วโลกจะมีบางส่วนที่ไปโค้ดจากโครงการโอเพนซอร์ส
ดังนั้นแทนที่จะมัวแต่กลัวว่าจะมีซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สหลุดเข้ามา ผู้บริหารควรศึกษาและทำความเข้าใจกับประเภทของลิขสิทธิ์ของซอฟต์แวร์แต่ละตัวว่ามีข้อจำกัดและเงื่อนไขการใช้งานอย่างไรบ้างน่าจะเป็นเรื่องที่ดีกว่า
วัณโรค (Tuberculosis -TB) เป็นโรคคร่าชีวิตมนุษย์ไปปีละกว่าสองล้านคนทั่วโลก และมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นปีละกว่า 5 ล้านคนนับว่าเป็นโรคที่ต้องให้ความใส่ใจเป็นอย่างมาก งานนี้มูลนิธิบิลล์และมาลินดา (Wikipedia) เกตต์จึงได้มีโครงการลงทุนในการพัมนาหนทางการต่อสู้กับโรคร้ายนี้เป็นเงิน 280 ล้านดอลลาร์ โดยจะแบ่งส่วนออกไปเป็นเงินวิจัยด้านต่างๆ จำนวนมาก แต่เงินก้อนใหญ่ที่สุดจะไปอยู่ที่ Aeras Global TB Vaccine Foundation of Rockville, Md เป็นเงินถึง 200 ล้านดอลลาร์ ส่วนเงินก้อนอื่นๆ จะแบ่งตามความจำเป็นเช่นการจำแนกสายพันธุ์
ด้วยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีอิงค์เจ็ตที่ซับซ้อนขึ้นเรื่อยๆ แต่ราคาถูกลงทุกวัน ทำให้เริ่มมีคนคิดจะทำเทคโนโลยีเหล่านี้ไปใช้งานอย่างอื่นๆ กันบ้างแล้ว ล่าสุดคือการนำเข็มขนาดจิ๋วที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ตไปใช้งานในการจ่ายยาให้กับผู้ป่วย
ข้อดีของระบบเทคโนโลยีอิงค์เจ็ตคือมันเป็นระบบการฉีดของเหลวในปริมาณน้อยมากๆ ได้อย่างแม่นยำ เมื่อนำไปใช้ในการจ่ายยา ทำให้เราสามารถควบคุมการจ่ายยาในปริมาณน้อยมากๆ แต่ต่อเนื่องไปตลอดเวลาให้กับผู้ป่วยได้ โดยเทคโนโลยีที่กำลังจะถูกนำไปใช้นี้เป็นของบริษัท HP ที่ได้วิจัยขึ้นในศูนย์วิจัยที่สิงคโปร์
นักวิจัยของ NASA ออกแบบชิปที่ทำงานได้ในอุณหภูมิสูงถึง 600 องศาเซลเซียส จากการทดสอบมันสามารถทำงานที่อุณหภูมิ 500 องศาได้นานติดต่อกัน 1,700 ชั่วโมงอย่างไม่มีปัญหา
เทคโนโลยีที่ใช้ทำชิปเป็น Silicon Carbide (SiC) นอกจากจะมีประโยชน์ในการสร้างยานสำรวจดาวเคราะห์ที่อุณหภูมิเลวร้าย (เช่น ดาวศุกร์) แล้ว ยังสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมทั่วๆ ไป เช่น เครื่องจักร การบิน ฯลฯ ได้อีกด้วย ไม่แน่ถ้าเทคโนโลยีตรงนี้แพร่หลาย ต่อไปเราอาจไม่ต้องมีฮีทซิงค์กันก็ได้นะ
ที่มา - Ars Technica
กล้องดิจิตอลรุ่นใหม่ๆ เราอาจจะเห็นระบบตรวจจับใบหน้ากันเป็นเรื่องปรกติไปแล้ว จะเกิดอะไรขึ้นถ้ากล้องดิจิตอลบอกได้ด้วยว่าหน้าที่อยู่ในกล้องนั้นยิ้มแย้มดีแค่ไหน เรื่องนี้กำลังจะไม่ไกลเกินความจริงเมื่อบริษัท Omron ได้เสนอซอฟต์แวร์ที่สามารถประมวลผลภาพและบอกได้ว่าหน้าใดในภาพบ้างกำลังยิ้ม และที่เท่กว่านั้นคือยังบอกได้ด้วยว่ายิ้มมากน้อยเพียงไร
โปรแกรมที่ว่านี้จะให้คะแนนระดับความยิ้มแย้มตั้งแต่ 0 ถึง 100 โดยสามารถบอกได้แม้แต่หน้าที่ไม่ได้มองกล้องโดยตรงก็ตาม ที่น่าสนใจคือความเร็วที่ทำได้ค่อนข้างดี โดยทาง Omron อ้างว่าโปรแกรมสามารถให้คำตอบได้ใน 0.044 วินาทีเมื่อใช้เครื่องเดสก์ทอปประมวลผลภาพ
นักวิจัยได้มีแนวความคิดที่จะออกแบบเกมที่มีความสามารถที่จะรู้การเคลื่อนไหวของมนุษย์ในการบังคับตัวละครในเกมก่อนที่การเคลื่อนไหวนั้นจะเกิดขึ้น โดยการวัดการเปลี่ยนแปลงของผิวหนังมนุษย์ โดยคอมพิวเตอร์จะมีเซ็นเซอร์ในการรับรู้ว่ามนุษย์จะกดปุ่มเมื่อใด
นักวิจัยชาวฮังการี ได้พัฒนาความคิดในการสร้างเกมที่มนุษย์ไม่สามารถชนะได้เพื่อศึกษาปฏิกิริยาตอบสนองของสิ่งมีชีวิต ซึ่งงานวิจัยชิ้นนี่สามารถนำไปใช้ได้กับการทหาร เพื่อให้ทหารที่บังคับเครื่องบินมีปฏิกิิริยาตอบสนองที่ฉับไวขึ้น
หลายปีหลังมานี้บ้านเรามีการพูดถึงน้ำมันชีวภาพ (Biofuel) กันมาก นอกจากบ้านเราแล้วทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศในแถบยุโรปก็ตื่นตัวในเรื่องนี้กันมากเช่นกัน แต่จากรายงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Leeds ระบุว่าหากเราใช้เทคโนโลยีในวันนี้ผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพอย่างจริงจัง ผลลัพธ์ที่ได้จะกลับกลายเป็นการทำลายสิ่งแวดล้อมลงไปยิ่งกว่าเดิม
งานวิจัยชี้ว่ากระบวนการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพในปัจจุบันนั้นตลอดกระบวนการตั้งแต่การปลูกพืช การแปลงภาพให้กลายเป็นเชื่อเพลิง ไปจนถึงการใช้งานขั้นสุดท้ายนั้นจะให้ผลลัพธ์เป็นคาร์บอนจำนวนมากกว่าการใช้เชื้อเพลิงจากซากฟอสซิลในปัจจุบันระหว่างสองถึงเก้าเท่าตัว
แม้คนส่วนใหญ่จะเชื่อกันว่าการโทรศัพท์ขณะขับรถจะทำให้เกิดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุมากขึ้น แต่รายงานวิจัยจากมหาวิทยาลัย Berkeley ชิ้นล่าสุดก็แสดงให้เห็นว่าในช่วงปี 2002 ถึง 2005 ที่ผ่านมา พฤติกรรมการใช้งานโทรศัพท์มือถือขณะขับรถไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณอุบัติเหตุบนท้องถนนแต่อย่างใด
รายงานดังกล่าวศึกษาแนวโน้มของปริมาณอุบัติเหตุในช่วงปี 1987 ถึงปี 2005 ในทุกรัฐของประเทศสหรัฐอเมริกา แล้วหาความเกี่ยวข้องกับปริมาณการใช้โทรศัพท์มือถือที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงปี 1990 จนถึงปี 2005
ข้อถกเถียงในเรื่องของความน่าเชื่อถือของ Wikipedia ถูกยกขึ้นมาพูดกันหนาหูขึ้นเรื่อยๆ ในช่วงหลังมานี้ โดยเฉพาะเมื่อมีการอ้างอิงข้อมูลไปใช้ในงานจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ และมีข่าวการปลอมข้อมูลไปใส่ไว้โดยไม่ได้รับการตรวจสอบอยู่เป็นระยะ
นักวิจัยที่UCSC จึงเสนอทางออกใหม่ที่จะให้ชุมชนใน Wikipedia สามารถตรวจสอบความถูกต้องของข้อความที่ถูกแก้ไขได้เร็วขึ้น โดยการเพิ่มแถบสีแสดงความน่าเชื่อถือของแต่ละข้อความเอาไว้
อ่านข่าว เด็กฉลาดมีเพศสัมพันธ์น้อย ทำให้นึกถึงงานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งที่เคยอ่าน เกี่ยวกับอิทธิพลของคำชมที่มีต่อเด็ก
เด็กที่ได้รับคำชมอย่างสม่ำเสมอว่าเป็นเด็กฉลาด โดยที่ผู้ใหญ่คาดว่าจะช่วยเสริมความเคารพตัวเอง และมีความมั่นใจในการเรียนรู้ให้เก่งขึ้น ๆ นั้น งานวิจัยจากทีมมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย กลับพบผลตรงกันข้าม โดยเฉพาะเด็กที่เป็นหัวกะทิ จะกลัวความล้มเหลวจนปฏิเสธการเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ ที่ตัวเองรู้สึกว่าจะทำได้ไม่เท่ามาตรฐานของตัวเอง อีกทั้งมีแนวโน้มจะดูถูกการลงแรงอีกด้วย
มีรายงานการวิจัยด้านสังคมชิ้นล่าสุดออกมาแสดงความเกี่ยวเนื่องกันระหว่างไอคิวและการมีเพศสัมพันธ์ ระบุว่าเด็กมัธยมปลายในสหรัฐจะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์ลดลงตามไอคิวที่สูงขึ้นตามลำดับ
รายงานฉบับนี้ระบุว่าเด็กที่มีไอคิวอยู่ที่ระดับ 75-90 จะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์สูงที่สุด และค่อยๆ ลดต่ำลงไปเรื่อยๆ ตามลำดับไอคิวที่มากขึ้น โดยเด็กที่มีไอคิวสูงถึง 120-130 นั้นจะมีโอกาสมีเพศสัมพันธ์เพียงหนึ่งใน 1.5 ถึง 5 ของเด็กที่มีไอคิว 75-90 เท่านั้น
ช่วงหลักที่กระแสเรื่องภาวะโลกร้อนถูกจุดติดขึ้นมา เรามักจะเห็นโครงการพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นมาอย่างมากมายเช่นฟาร์มกระแสลมที่ใช้กังหันขนาดใหญ่มาปั่นไฟ หรือพลังงานคลื่นทะแล ตลอดจนพลังงานจากเขื่อน
นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Jesse Ausubel จากมหาวิทยาลัย Rockefeller ได้ตีพิมพ์ในวารสาร International Journal of Nuclear Governance, Economy and Ecology ว่าการใช้พลังงานทดแทนเหล่านี้จะทำลายสิ่งแวดล้อมในที่สุดเนื่องจากการใช้พื้นที่จำนวนมหาศาล
ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Alberta ประเทศแคนาดา นำทีมโดย Jonathan Schaeffer ได้พัฒนาโปรแกรมเล่นเกมกระดาน "Checkers" หรือที่รู้จักกันในชื่อไทยว่า "หมากฮอส" ที่มีชื่อว่า "Chinook" และสร้างฐานข้อมูลรูปแบบการเล่นโดยใช้คอมพิวเตอร์ 200 เครื่องทำงานพร้อมกันตั้งแต่ปี 1989 จนถึงตอนนี้ เขาสามารถพิสูจน์ได้แล้วว่าไม่ว่าคู่แข่งของโปรแกรมนี้จะเก่งแค่ไหน อย่างดีที่สุดก็ทำได้แค่เสมอ
ตามหนังวิทยาศาสตร์ใหม่ๆ (หรือเก่าๆ ก็ตาม) เรามักเห็นหุ่นยนต์แมลงตัวเล็กเป็นดารากันเป็นประจำ ความฝันเช่นนั้นกำลังจะกลายเป็นจริงขึ้นมาเมื่อนักวิทยาศาสร์จากมหาวิทยาลัยฮาวาร์ดได้ประกาศความสำเร็จในการสร้างหุ่นยนต์แมลงวันที่สามารถบินได้จริง ในขนาดเพียง 3 เซนติเมตรเท่านั้น
ความยากในการสร้างหุ่นยนต์ขนาดเล็กนั้นคือการสร้างชิ้นส่วนเช่นฟันเฟืองต่างๆ ให้มีความแม่นยำเพียงพอต่อการใช้งาน แต่เดิมนั้นชิ้นส่วนเหล่านี้มักสร้างด้วยกระบวนการเดียวกับการสร้างไอซีในคอมพิวเตอร์ ซึ่งมีราคาต่อชิ้นแพงมากจนไม่สามารถสร้างอุปกรณ์จำนวนมากเพื่อประกอบเป็นหุ่นยนต์ได้
ลืมชุดอวกาศตัวใหญ่ๆ แบบเก่าไปได้เลย เพราะ MIT กำลังสร้างชุดอวกาศแบบใหม่ที่รัดรูป กระชับ และเน้นความคล่องตัวมากขึ้น
ศาสตราจารย์ Dava Newman แห่งภาควิชาวิศวกรรมอวกาศ MIT ออกแบบชุดอวกาศที่เรียกว่า BioSuit ที่มีขนาดเล็กและช่วยให้นักบินอวกาศเคลื่อนที่ได้คล่องตัวมากขึ้น Dava กล่าวว่าปัจจุบันชุดอวกาศหนักประมาณ 300 ปอนด์ (130 กิโล) และพลังงานประมาณ 70-80% ของมนุษย์อวกาศสิ้นเปลืองไปกับออกแรงต้านชุดอวกาศเสียเอง
ตามกฏหมายลิขสิทธิ์ (ซึ่งมีผลมาจาก Berne Convention) เมื่อเราสร้างสรรค์ผลงานขึ้นมาแล้ว ลิขสิทธิ์ในผลงานนั้นๆ จะเป็นของผู้สร้างอัตโนมัติในช่วงระยะเวลาหนึ่ง (แปรตามกฎหมายแต่ละประเทศ และชนิดของผลงาน แต่ส่วนมากก็ 50 ปีขึ้นไป) จากนั้นลิขสิทธิ์จะขาด กลายเป็นของสาธารณชน (public domain)
เรื่องนี้ถูกวิจารณ์มาเยอะว่าเป็นระยะเวลาที่นานไป คนอื่นต้องรอกันนานมากกว่าจะนำผลงานเหล่านี้ไปใช้ได้ ปัญหามีอยู่ว่าระยะเวลาที่เหมาะสมเป็นเท่าไรกันแน่ ที่จะดุลระหว่างการคุ้มครองสิทธิ์เจ้าของ และการให้คนอื่นนำไปใช้ต่อ
นักวิจัยจากภาควิชาฟิสิกส์ของ MIT ประสบความสำเร็จในการส่งพลังงานไฟฟ้าโดยไม่ต้องมีสายไฟ โดยสามารถทำให้หลอดไฟขนาด 60 วัตต์สว่างได้ แม้อยู่ห่างจากแหล่งพลังงาน 2 เมตร
ทีมวิจัยเรียกกรรมวิธีนี้ว่า "WiTricity" (wireless electricity) หลักการของมันคือวัตถุที่มีความถี่ resonant เหมือนกัน จะถ่ายเทพลังงานซึ่งกันและกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ พลังงานไม่รั่วไหลออกไปสู่วัตถุอื่น ทีมนี้ใช้ความถี่ resonant ทางแม่เหล็ก ต่างออกไปจากความถี่เสียงแบบที่เราเคยเรียนกันในวิชาฟิสิกส์
อาจารย์ Peter Fisher หนึ่งในทีมวิจัยบอกว่า ถ้าใช้ขดลวดขนาดเท่ากับโน้ตบุ๊ค ก็สามารถส่งพลังงานโน้ตบุ๊คต้องใช้ในการทำงานได้เหลือเฟือ แปลว่าถ้านั่งทำงานอยู่ในห้อง ก็ไม่ต้องใช้แบตเตอรี่เลย
Multitasking คือการทำงาน หรือทำกิจกรรมต่างๆภายในเวลาเดียวกัน เช่น เขียนโปรแกรมไปเช็คอีเมล์ไป ขับรถไปคุยโทรศัพท์ไป ใช้ sms ในระหว่างที่เดินข้ามถนนและฟัง iPod ไปด้วย เป็นต้น
คนจำนวนมากคิดว่า การที่เราทำอะไรได้หลายๆอย่างในเวลาเดียวกัน เป็นคุณสมบัติที่ดี และเป็นบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ยิ่งมีเทคโนโลยีเข้ามาช่วยให้เรายิ่งทำอะไรได้มากขึ้นในคราวเดียว ก็ยิ่งเป็นพัฒนาการในการทำงานที่ดีเข้าไปใหญ่ มือถือ อีเมล์ แมสเสจ และอื่นๆ จึงกลายเป็นสิ่งที่เราคิดว่าจำเป็นต้องชีวิตตลอดเวลา
แม้กล้องดิจิตอลทุกวันนี้จะเล็กลงมาก และใช้งานสะดวกจนไม่ต้องการความรู้อะไรมากไปกว่าการกดชัดเตอร์ตามปรกติแล้ว แต่ปํญหาภาพเบลอ ภาพมืด ฯลฯ ก็ยังตามรบกวนคนใช้มาตั้งแต่ยุคกล้องคอมแพคจนถึงยุคนี้ แต่เราอาจจะได้เห็นกล้องในยุคต่อไปที่ไม่ต้องการแฟลชแต่ยังให้ภาพสว่างได้อย่างเต็มที่ เมื่อบริษัท Planet82 ได้เปิดตัวเทคโนโลยี Single carrier Modulation Photo Detector (SMPD) ที่งาน CES 2007 โดยบริษัทระบุว่าเซ็นเซอร์ของบริษัทตัวนี้มีความไวแสงสูงกว่าเซ็นเซอร์ทั่วไปถึงสองพันเท่า โดยยังให้ภาพสีตามปรกติ ต่างจากเซ็นเซอร์ความไวสูงอื่นๆ ที่มักให้ภาพขาวดำ
ทิศทางของเทคโนโลยีไมโครชิปยุคต่อไปนั้นค่อนข้างแน่ว่าเทคโนโลยีด้านออปติคอลจะเข้ามามีผลมากขึ้นเรื่อยๆ แม้ทุกวันนี้เราจะสามารถใช้เทคโนโลยีเหล่านี้เพื่อการส่งข้อมูลความเร็วสูงกันได้แล้ว แต่เรายังมีข้อจำกัดที่ต้องแปลงสัญญาณโฟตอนเหล่านั้นมาเป็นสัญญาณไฟฟ้าเพื่อจัดเก็บและประมวลผลในชิปแบบดั้งเดิม
แต่ตอนนี้อนาคตอาจจะเข้าใกล้เรามากขึ้น เมื่อนักวิจัยที่ไอบีเอ็มสามารถสร้างชิปเพื่อ "หน่วง" สัญญาณโฟตอนไว้ในไมโครชิปได้เป็นเวลา 0.5 นาโนวินาที โดยก่อนหน้านี้การหน่วงสัญญาณต้องใช้สายไฟเบอร์ออปติกที่มีขนาดใหญ่และราคาแพง การสร้างไมโครชิปเพื่อทำหน้าที่นี้ทำให้เราสามารถกักเก็บสัญญาณโฟตอนไว้ได้ในอุปกรณ์ราคาถูก