หลังจากเมื่อปี 2023 Red Hat มีนโยบายปิดกั้นการเข้าถึงซอร์สโค้ดของ RHEL จากสาธารณะ ต้องเป็นลูกค้าหรือพาร์ทเนอร์ถึงเข้าได้ เพื่อบีบให้ดิสโทรทางเลือกของ RHEL นำซอร์สโค้ดไปใช้งานได้ยากขึ้น (ตามสัญญาอนุญาตโอเพนซอร์ส Red Hat ต้องเปิดซอร์สโค้ดของ RHEL แต่ไม่มีระบุวิธีการว่าต้องเป็นทางใด ดังนั้น Red Hat ไม่ทำผิดสัญญา แต่ทำให้นักพัฒนารายอื่นลำบากกว่าเดิม)
CIQ, Oracle, และ SUSE กลุ่มผู้แจกจ่ายลินุกซ์ดิสโทรที่ใช้ CentOS เป็นฐาน ประกาศก่อตั้ง Open Enterprise Linux Association (OpenELA) เพื่อพัฒนาดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL ต่อไป แม้ทาง Red Hat จะไม่เปิดโค้ดของ RHEL ให้แล้วก็ตาม
ภายในปีนี้ OpenELA จะเริ่มปล่อยซอร์สโค้ดสำหรับ EL8 และ EL9 และในอนาคตอาจจะย้อนกลับไปซัพพอร์ต EL7 อีกด้วย
หลังจาก Red Hat ไม่ปล่อยซอร์สโค้ด RHEL ก็ส่งผลกระทบต่อดิสโทรปลายน้ำที่นำโค้ดไปคอมไพล์ต่อ โดยตัวสำคัญสองตัว คือ AlmaLinux และ Rocky Linux ก็ออกมายืนยันว่าจะมีอัพเดตต่อไป
ทางฝั่ง AlmaLinux นั้นระบุว่าจะนำแพตช์มาจากหลายแหล่ง เช่น CentOS Stream และ Oracle Linux (ซึ่งเดิมใช้แพตช์จาก RHEL เหมือนกัน) นอกจากนี้แถลงของ AlmaLinux ยังตอบโต้แถลงของ Red Hat ที่ระบุว่าดิสโทร rebuild ไม่ได้สร้างคุณค่า โดยระบุว่าชุมชน AlmaLinux ช่วยดูแลแพลตฟอร์ม อย่าง Respberry Pi ส่งโค้ดกลับโครงการต้นน้ำหลายโครงกร และดูแลโครงการใน EPEL ที่เป็นแพ็กเกจนอกเหนือจากที่ Red Hat ดูแลอยู่จำนวนมาก
กูเกิลจับมือกับ CIQ บริษัทผู้ให้บริการซัพพอร์ต Rocky Linux เชิงพาณิชย์ (ซีอีโอของบริษัทก็คือ Gregory Kurtzer ผู้สร้าง CentOS และ Rocky Linux) ออกอิมเมจ Rocky Linux เวอร์ชันปรับแต่งเพื่อ Google Cloud โดยเฉพาะ
กูเกิลประกาศชัดว่าต้องการย้ายลูกค้า Google Cloud ที่ยังรัน CentOS ออกมา หลัง Red Hat เปลี่ยนนโยบายในปี 2020 และโซลูชันของกูเกิลคือ Rocky Linux ที่เข้ากันได้ 100%
Rocky Linux ดิสโทรลินุกซ์ทดแทน CentOS ออกเวอร์ชันใหญ่ 9.0 ตามหลัง RHEL 9.0 ที่ออกตัวจริงเมื่อเดือนพฤษภาคม
ในแง่ฟีเจอร์ของ Rocky Linux 9.0 คงเหมือนกับ RHEL ทุกประการ รองรับสถาปัตยกรรมซีพียู 4 แบบคือ x86_64, aarch64 (ARM64), ppc64le (PowerPC), s390x (Mainframe)
Rocky Linux 8 จะซัพพอร์ตยาวนานถึง 31 พฤษภาคม 2029 และ Rocky Linux 9 จะซัพพอร์ตถึง 31 พฤษภาคม 2032 เท่ากับระยะซัพพอร์ตมาตรฐานของ Red Hat ที่ยาวนาน 10 ปีหลังออกรุ่นแรกของสายนั้น
CentOS 8 จะสิ้นระยะซัพพอร์ตในวันที่ 31 ธันวาคม 2021 หลังจากนี้ไป โครงการ CentOS จะเข้าสู่ยุคใหม่ที่เป็น CentOS Stream แทน เท่ากับว่าเมื่อขึ้นปี 2022 แล้ว CentOS 8 จะไม่ได้รับแพตช์ความปลอดภัยอีกต่อไป
แต่ CentOS 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนนิยมใช้อย่างสูง โดยเฉพาะในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จึงเกิดคำถามตามมาว่าผู้ใช้ CentOS 8 ที่ตอนนี้เหลือเวลาอีกน้อยนิด มีทางเลือกในการอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการใดแทนได้บ้าง
เว็บไซต์ ZDNet ได้รวบรวมทางเลือกที่เป็นไปได้ในการอัพเกรดแทน CentOS 8 โดยเริ่มจากกลุ่มที่ดัดแปลงมาจาก RHEL 8 และสามารถทดแทน CentOS 8 ได้ทันที
Rocky Linux ลินุกซ์ทดแทน CentOS ที่ Red Hat ประกาศหยุดซัพพอร์ต ออกรุ่นจริงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หลังจากเปิดโครงการช่วงปลายปี 2020 โดยทีมงานระบุว่าตอนนี้ทดสอบมากพอจนมั่นใจแล้วว่าใช้งานบนโปรดักชั่นได้
เวอร์ชั่นแรกรองรับสถาปัตยกรรม x86-64 และ ARM64 หรือใช้งานบนคลาวด์ได้บน AWS และ Google Cloud หรือหากต้องการใช้เป็นคอนเทนเนอร์ก็มีให้ pull ได้จาก Docker Hub หรือ Quay.io
ที่มา - Rocky Linux
โครงการ Rocky Linux ดิสโทรทดแทน CentOS ที่ Red Hat ตัดซัพพอร์ตไป ประกาศความคืบหน้าโครงการโดยเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐานกันบางส่วนแล้ว ทำให้เริ่มกำหนดช่วงเวลาได้ เป้าหมายสำคัญคือวันที่ออกรุ่นทดสอบ (release candidate) คือวันที่ 31 มีนาคมนี้ เป้าหมายอื่นๆ ได้แก่
หลังจาก Red Hat ประกาศทิ้ง CentOS 8 แล้วย้ายโครงการจากเดิมที่ใกล้เคียงกับ RHEL ให้กลายเป็นเวอร์ชั่นพัฒนาของ RHEL ทาง CloudLinux ผู้พัฒนาดิสโทรอีกรายที่พัฒนา CloudLinux OS ลินุกซ์ที่ fork มาจาก RHEL เหมือนกัน ก็ออกมาเปิดตัวโครงการ Lenix เพื่อทดแทน CentOS โดยระบุเหตุผลชัดเจนว่าต้องการชื่อเสียงและเพิ่มโอกาสขายแพตช์ extended lifecycle support ไปด้วย
ความได้เปรียบของ Lenix คือทาง CloudLinux มีโครงสร้างสำหรับ build แพ็กเกจอยู่ครบถ้วนอยู่แล้ว ทำให้คาดว่าจะปล่อย Lenix เวอร์ชั่นแรกได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2021 หรืออีกไม่เกินสามเดือนเท่านั้น
Gregory Kurtzer ผู้ก่อตั้งโครงการ CAOS โครงการตั้งต้นของ CentOS ประกาศสร้างลินุกซ์ดิสโทรใหม่หลังจาก Red Hat เตรียมตัดการซัพพอร์ต CentOS 8 โดยตั้งชื่อว่า Rocky Linux และตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเซ็ตอัพโครงสร้างต่างๆ
ชื่อ Rocky Linux เองน่าจะหมายถึง Rocky McGough ที่เคยทำซอร์สโค้ดของ RHEL ไปคอมไพล์ใช้งานในบริษัทอยู่ก่อนแล้ว หลังจากนั้นจึงมารับตำแหน่ง tech lead คนแรกของ CentOS