ทีมวิศวกรรมของ LinkedIn เขียนบล็อกเล่าเบื้องหลังการย้ายระบบของ LinkedIn ที่เดิมรันอยู่บน CentOS 7 มาใช้ Azure Linux ของไมโครซอฟท์
หลังจากโดนไมโครซอฟท์ซื้อกิจการ LinkedIn มีแผนการย้ายระบบเซิร์ฟเวอร์เดิมทั้งหมดไปอยู่บน Azure แต่สุดท้ายก็ยังทำไม่สำเร็จ ส่วนการย้ายระบบปฏิบัติการรอบนี้เกิดขึ้นช่วงต้นปี 2024 และสิ้นสุดช่วงเดือนเมษายน
CentOS 7 หมดอายุซัพพอร์ตไปตั้งแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2024 (CentOS 8 โดนตัดจบ หมดอายุไปก่อนแล้วในปี 2021 ตามนโยบายของ Red Hat) ทำให้ตอนนี้ไม่เหลือดิสโทร CentOS ใดๆ ที่อยู่ในระยะซัพพอร์ตอีกแล้ว (กลายร่างมาเป็น CentOS Stream ที่เป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL แทน)
CIQ, Oracle, และ SUSE กลุ่มผู้แจกจ่ายลินุกซ์ดิสโทรที่ใช้ CentOS เป็นฐาน ประกาศก่อตั้ง Open Enterprise Linux Association (OpenELA) เพื่อพัฒนาดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL ต่อไป แม้ทาง Red Hat จะไม่เปิดโค้ดของ RHEL ให้แล้วก็ตาม
ภายในปีนี้ OpenELA จะเริ่มปล่อยซอร์สโค้ดสำหรับ EL8 และ EL9 และในอนาคตอาจจะย้อนกลับไปซัพพอร์ต EL7 อีกด้วย
AlmaLinux โครงการลินุกซ์ที่สร้างขึ้นทดแทน CentOS ประกาศแนวทางว่าจะไม่เอาเรื่องเข้ากันได้กับ RHEL ได้แบบ 100% ทดแทนได้แบบ 1:1 แล้ว แต่จะรักษาความเข้ากันได้ในระดับ Application Binary Interface (ABI) compatible คือแอพที่สร้างมารันบน RHEL จะสามารถรันบน AlmaLinux ได้อย่างไม่มีปัญหา
AlmaLinux บอกว่าผู้ใช้ทั่วไปจะไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เพราะจะยังได้รับแพตช์ความปลอดภัยในเวลารวดเร็วเช่นเดิม รันแอพที่ออกแบบมาบน RHEL ได้เหมือนเดิม แต่จะไม่เหมือนกับ RHEL เป๊ะๆ ชนิดบั๊กต่อบั๊กอีกแล้ว ข้อดีของแนวทางนี้คือ AlmaLinux อาจแก้บั๊กได้เร็วกว่า RHEL ด้วยซ้ำ และการแก้บั๊กของ AlmaLinux จะเพิ่มคอมเมนต์ในซอร์สโค้ดด้วยว่านำแพตช์มาจากที่ใด ช่วยให้โครงการโปร่งใสมากขึ้น
Red Hat Enterprise Linux 7 (RHEL 7) จะสิ้นสุดอายุขัยในวันที่ 30 มิถุนายน 2024 (RHEL มีระยะซัพพอร์ต 10 ปีเต็มหลังออกครั้งแรก เป็นสุตร 5+5 คือ 5 ปีแรกซัพพอร์ตเต็มรูปแบบ 5 ปีหลังมีเฉพาะแพตช์ความปลอดภัยและแก้บั๊ก)
เมื่อพ้นระยะ 10 ปีแล้ว ลูกค้าที่ย้ายเวอร์ชันใหญ่ไม่ทัน สามารถเสียเงินเพิ่มเพื่อซื้อซัพพอร์ตแบบพิเศษ Extended Life Cycle Support (ELS) ได้อีก 2 ปี (ถึงกลางปี 2026)
ล่าสุด Red Hat ประกาศยืดอายุซัพพอร์ต RHEL 7 แบบ ELS ให้เป็น 4 ปี (ถึงกลางปี 2028) และขยายการแพตช์ช่องโหว่จากเดิมเฉพาะระดับร้ายแรง (critical) เพิ่มมาเป็นระดับสำคัญ (important) ให้ด้วย โดยการขยายเวลา 4 ปีครั้งนี้ถือเป็นรอบพิเศษมีครั้งเดียว (one-time) ส่วนการซัพพอร์ต ELS ของ RHEL 8 และ 9 จะเพิ่มเป็น 3 ปี
เมื่อปี 2020 Red Hat ช็อควงการด้วยการหยุดทำ CentOS 8 และตัดจบอายุซัพพอร์ตที่สิ้นปี 2021 บีบให้ผู้ใช้งาน CentOS 8 ต้องย้ายไปใช้ RHEL 8 แบบเสียเงิน หรือดิสโทรทางเลือกอื่นๆ แทน
ปัญหาเรื่อง CentOS 8 ยุติไปแล้ว แต่ยังมีกลุ่มผู้ใช้ CentOS 7 เวอร์ชันก่อนหน้าที่ไม่ถูก Red Hat ตัดจบแบบเดียวกัน ได้อายุซัพพอร์ตนาน 10 ปี ซึ่งจะครบกำหนดในวันที่ 30 มิถุนายน 2024 เป็นระเบิดเวลาลูกต่อไป
ทางเลือกของผู้ใช้ CentOS 7 ในปัจจุบันไม่สามารถอัพเกรดเป็น CentOS 8 ตรงๆ ได้อีกแล้ว การย้ายระบบให้ทันเส้นตายจึงไม่ง่ายนัก โดยเฉพาะผู้ใช้งานบนคลาวด์ ที่ต้องปิด VM, ลบ VM ทิ้ง แล้วสร้างใหม่เท่านั้น
กูเกิลจับมือกับ CIQ บริษัทผู้ให้บริการซัพพอร์ต Rocky Linux เชิงพาณิชย์ (ซีอีโอของบริษัทก็คือ Gregory Kurtzer ผู้สร้าง CentOS และ Rocky Linux) ออกอิมเมจ Rocky Linux เวอร์ชันปรับแต่งเพื่อ Google Cloud โดยเฉพาะ
กูเกิลประกาศชัดว่าต้องการย้ายลูกค้า Google Cloud ที่ยังรัน CentOS ออกมา หลัง Red Hat เปลี่ยนนโยบายในปี 2020 และโซลูชันของกูเกิลคือ Rocky Linux ที่เข้ากันได้ 100%
Red Hat Enterprise Linux ออกเวอร์ชัน 9.0 โดยนับเป็นเวอร์ชันแรกที่อิงจาก CentOS Stream 9 หลัง Red Hat เปลี่ยนนโยบายของ CentOS จากดิสโทรที่เข้ากันได้กับ RHEL กลายมาเป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL แทน (สืบต่อกันมาจาก Fedora 34 อีกที)
ของใหม่ใน RHEL 9.0 มีหลายอย่างดังนี้
ช่องว่างที่หายไปของ CentOS ทำให้เกิดดิสโทรลินุกซ์ทางเลือกมาทดแทนหลายราย ที่เด่นๆ คือโครงการใหม่ทั้ง AlmaLinux และ RockyLinux แต่ก็ยังมีดิสโทรจากบริษัทใหญ่อย่าง Oracle Linux และ Amazon Linux มาเป็นทางเลือกด้วย
ล่าสุด SUSE ดิสโทรยักษ์ใหญ่อีกรายจากฝั่งยุโรปที่เป็นคู่แข่งกับ Red Hat มานาน ประกาศทำ SUSE Liberty Linux โดยนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) มาคอมไพล์เป็นไบนารีแจกฟรีๆ
SUSE Liberty Linux จะใช้แพ็กเกจทุกอย่างเหมือนกับ RHEL ทุกประการ ยกเว้นเคอร์เนลที่ใช้เคอร์เนลของ SUSE Linux Enterprise (SLE) เอง แต่ก็คอมไพล์ด้วยคอนฟิกที่เข้ากันได้กับ RHEL
CentOS 8 จะสิ้นระยะซัพพอร์ตในวันที่ 31 ธันวาคม 2021 หลังจากนี้ไป โครงการ CentOS จะเข้าสู่ยุคใหม่ที่เป็น CentOS Stream แทน เท่ากับว่าเมื่อขึ้นปี 2022 แล้ว CentOS 8 จะไม่ได้รับแพตช์ความปลอดภัยอีกต่อไป
แต่ CentOS 8 เป็นระบบปฏิบัติการที่มีคนนิยมใช้อย่างสูง โดยเฉพาะในฝั่งเซิร์ฟเวอร์ จึงเกิดคำถามตามมาว่าผู้ใช้ CentOS 8 ที่ตอนนี้เหลือเวลาอีกน้อยนิด มีทางเลือกในการอัพเกรดไปใช้ระบบปฏิบัติการใดแทนได้บ้าง
เว็บไซต์ ZDNet ได้รวบรวมทางเลือกที่เป็นไปได้ในการอัพเกรดแทน CentOS 8 โดยเริ่มจากกลุ่มที่ดัดแปลงมาจาก RHEL 8 และสามารถทดแทน CentOS 8 ได้ทันที
โครงการ CentOS ภายใต้การดูแลของ Red Hat เปิดตัว CentOS Stream 9 ซึ่งถือเป็นยุคใหม่ของ CentOS หลังการเปลี่ยนนโยบายครั้งใหญ่ เลิกซัพพอร์ต CentOS 8 เมื่อปลายปี 2020
เดิมที CentOS เป็นการนำซอร์สโค้ดของ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) ที่เป็นรุ่นเสถียรสำหรับองค์กร มาคอมไพล์เป็นไบนารี แจกจ่ายให้ฟรีโดยไม่ต้องซื้อ subscription จาก Red Hat โดยเลขเวอร์ชันของ CentOS จะเท่ากับ RHEL เสมอ และออกตามหลัง RHEL เล็กน้อย
Red Hat เปิดทดสอบ Red Hat Enterprise Linux (RHEL) 9 Beta ซึ่งเป็นรุ่นใหญ่รุ่นถัดไปของ RHEL
Red Hat ระบุว่า RHEL 9 ต่างไปจาก RHEL รุ่นใหญ่ในอดีต ตรงที่มีการเปลี่ยนแปลงน้อยลง (แม้ยังมีฟีเจอร์ใหม่บ้าง) เพื่อให้แอดมินลดภาระการเรียนรู้ของใหม่ๆ ลงจากเดิม นอกจากนี้ RHEL 9 ยังเป็นดิสโทรเวอร์ชันแรกที่ดึงแพ็กเกจมาจาก CentOS Stream ตามแนวทางใหม่ของโครงการ CentOS ที่เปลี่ยนทิศทางใหม่ เลิกทำ CentOS ซัพพอร์ตระยะยาว กลายมาเป็นดิสโทรต้นน้ำของ RHEL
Huawei ใช้เวทีงานสัมมนา Huawei Connect เปิดตัวระบบปฏิบัติการสำหรับเซิร์ฟเวอร์ชื่อ OpenEuler
OpenEuler ไม่ใช่โครงการใหม่หมด เพราะเป็นการนำดิสโทรลินุกซ์ EulerOS ของ Huawei เอง (ตัวมันดัดแปลงมาจาก CentOS) มาโอเพนซอร์สบน GitHub ได้สักระยะหนึ่งแล้ว (ออกปีละสองครั้ง ใช้เลขเวอร์ชันเป็น 21.09 แบบเดียวกับ Ubuntu) แต่เพิ่งได้ฤกษ์เปิดตัวอย่างเป็นทางการบนเวทีใหญ่ของบริษัท
ข่าวช็อควงการลินุกซ์เมื่อปลายปีที่แล้วคือ Red Hat ประกาศหยุดซัพพอร์ต CentOS 8 จากเดิมที่ต้องซัพพอร์ตไปถึงปี 2029 จะลดเหลือแค่สิ้นปี 2021 เท่านั้น (ทางออกคือต้องใช้ RHEL 8 แบบเสียเงิน หรือ CentOS Stream ที่ไม่มีซัพพอร์ตระยะยาว)
ประกาศของ Red Hat ทำให้เกิดดิสโทรใหม่ๆ ที่มาแทน CentOS เดิม เช่น AlmaLinux, RockyLinux รวมถึง Oracle Linux ที่มีมานานแล้ว ก็ได้รับความสนใจอีกครั้ง
AlmaLinux หนึ่งในสองโครงการทดแทน CentOS ที่สนับสนุนโดยบริษัท CloudLinux ประกาศออกรุ่นเสถียรรุ่นแรกแล้ว โดยนับเวอร์ชันเป็น 8.3 ตรงกับเลขเวอร์ชันของ RHEL เพื่อไม่ให้สับสน
ตัวอิมเมจสามารถดาวน์โหลดได้จาก AlmaLinux และทีมงานยังมีสคริปต์ช่วยแปลงระบบเดิม (ที่เป็นลินุกซ์อิงกับ RHEL 8.x เช่น CentOS, Oracle Linux) มาเป็น AlmaLinux ด้วย ดาวน์โหลดได้จาก GitHub
หลัง Red Hat ช็อควงการด้วยการหยุดทำ CentOS ในฐานะตัวแทน RHEL ก็เกิดโครงการโอเพนซอร์สใหม่ๆ มาทดแทน CentOS อย่างน้อย 2 โครงการ
โครงการแรกคือ Rocky Linux ที่ก่อตั้งโดย Gregory Kurtzer ผู้สร้าง CentOS เดิม และเตรียมออกรุ่นทดสอบแรก 31 มีนาคม 2021
อีกโครงการมาจากบริษัท CloudLinux ที่เป็น fork ของ RHEL เช่นกัน ตอนแรกโครงการนี้ใช้โค้ดเนมว่า Project Lenix แต่ล่าสุดเปิดตัวอย่างเป็นทางการในชื่อ AlmaLinux
โครงการ Rocky Linux ดิสโทรทดแทน CentOS ที่ Red Hat ตัดซัพพอร์ตไป ประกาศความคืบหน้าโครงการโดยเริ่มวางโครงสร้างพื้นฐานกันบางส่วนแล้ว ทำให้เริ่มกำหนดช่วงเวลาได้ เป้าหมายสำคัญคือวันที่ออกรุ่นทดสอบ (release candidate) คือวันที่ 31 มีนาคมนี้ เป้าหมายอื่นๆ ได้แก่
หลังจาก Red Hat ประกาศตัดซัพพอร์ต CentOS 8 และย้ายไปเป็น CentOS Stream ที่กลายเป็นรุ่นพัฒนาสำหรับ RHEL ทำให้ชุมชนผู้ใช้เดิมไม่พอใจและมีหลายกลุ่มเปิดโครงการมาทดแทน CentOS (Rocky Linux, Oracle Linux, CloudLinux) ตอนนี้ทาง Red Hat ก็ออกมาระบุว่าได้ฟังเสียงชุมชนที่ใช้งาน CentOS อยู่เดิม และออกทางเลือกคือการใช้ RHEL ได้ฟรีหรือราคาถูกมาก
หลังจาก Red Hat ประกาศทิ้ง CentOS 8 แล้วย้ายโครงการจากเดิมที่ใกล้เคียงกับ RHEL ให้กลายเป็นเวอร์ชั่นพัฒนาของ RHEL ทาง CloudLinux ผู้พัฒนาดิสโทรอีกรายที่พัฒนา CloudLinux OS ลินุกซ์ที่ fork มาจาก RHEL เหมือนกัน ก็ออกมาเปิดตัวโครงการ Lenix เพื่อทดแทน CentOS โดยระบุเหตุผลชัดเจนว่าต้องการชื่อเสียงและเพิ่มโอกาสขายแพตช์ extended lifecycle support ไปด้วย
ความได้เปรียบของ Lenix คือทาง CloudLinux มีโครงสร้างสำหรับ build แพ็กเกจอยู่ครบถ้วนอยู่แล้ว ทำให้คาดว่าจะปล่อย Lenix เวอร์ชั่นแรกได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2021 หรืออีกไม่เกินสามเดือนเท่านั้น
จากกรณี Red Hat เตรียมทิ้ง CentOS 8 ส่งผลให้ผู้ก่อตั้งโครงการ CentOS หนีไปสร้างโครงการใหม่ Rocky Linux ใช้ทดแทน
อีกทางออกหนึ่งที่ฟังชื่อแล้วไม่น่าเป็นไปได้ (แต่ก็เกิดขึ้นจริงแล้ว) คือ Oracle เสนอตัวเป็นทางเลือกให้ผู้ใช้ CentOS
จริงๆ แล้ว Oracle มีโครงการ Oracle Linux มาตั้งแต่ปี 2006 โดยเป็นการนำซอร์สโค้ดของ RHEL มาคอมไพล์เป็นดิสโทรของตัวเองลักษณะเดียวกับ CentOS
Gregory Kurtzer ผู้ก่อตั้งโครงการ CAOS โครงการตั้งต้นของ CentOS ประกาศสร้างลินุกซ์ดิสโทรใหม่หลังจาก Red Hat เตรียมตัดการซัพพอร์ต CentOS 8 โดยตั้งชื่อว่า Rocky Linux และตอนนี้กำลังอยู่ระหว่างการเซ็ตอัพโครงสร้างต่างๆ
ชื่อ Rocky Linux เองน่าจะหมายถึง Rocky McGough ที่เคยทำซอร์สโค้ดของ RHEL ไปคอมไพล์ใช้งานในบริษัทอยู่ก่อนแล้ว หลังจากนั้นจึงมารับตำแหน่ง tech lead คนแรกของ CentOS
โครงการ CentOS ประกาศเตรียมหยุดซัพพอร์ต CentOS 8 สิ้นปี 2021 จากเดิมที่ CentOS แต่ละเวอร์ชั่นจะซัพพอร์ตล้อไปกับ RHEL ยาวนานถึงเวอร์ชั่นละสิบปี ทำให้ CentOS 8 ควรได้ซัพพอร์ตถึง 2029
หลังจาก CentOS 8 หยุดพัฒนาแล้วทาง CentOS แนะนำให้ผู้ใช้ CentOS 8 ย้ายไปใช้งาน CentOS Stream 8 ที่กำลังเป็นดิสโทรรุ่นพัฒนาเวอร์ชั่นต่อๆ ไปของ RHEL
โครงการ CentOS มีกำหนดยุติการซัพพอร์ต CentOS 6 ตั้งแต่วันที่ 30 พฤศจิกายนนี้เป็นต้นไป ทำให้เซิร์ฟเวอร์ที่ยังใช้งานต่อไม่ได้รับแพตช์ความปลอดภัยใดๆ อีกต่อไป โดย CentOS 6 นั้นเริ่มออกตัวจริงตั้งแต่ปี 2011 รวมเวลานานกว่า 9 ปีแล้ว
ผู้ดูแลระบบลินุกซ์น่าจะพบ CentOS กันอยู่เรื่อยๆ เนื่องจาก CentOS ใช้ซอร์สโค้ดจาก RHEL ของ Red Hat มาคอมไพล์ใหม่แล้วแจกจ่ายฟรี ทำให้ซอฟต์แวร์ต่างๆ และการคอนฟิกนั้นเหมือนกันแทบทั้งหมด หลายองค์กรอาจจะใช้ CentOS เป็นระบบทดสอบหรือแม้แต่ระบบจริง และตัวโครงการเองก็มีแนวทางซัพพอร์ตแต่ละเวอร์ชั่นยาวนาน ปัจจุบัน CentOS 8 นั้นเพิ่งออกมาเมื่อปี 2019 และจะหมดซัพพอร์ตปี 2029
CentOS 8.1 ออกตามหลัง RHEL 8.1 ที่ออกมาเมื่อปลายปีที่แล้ว การอัพเดตซอฟต์แวร์ตามมาเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะฟีเจอร์ kpatch สำหรับการแพตช์เคอร์เนลโดยไม่ต้องบูตที่ดิสโทรอื่นๆ มักเป็นฟีเจอร์เสียเงินหรือต้องสมัครสมาชิก
ฟีเตอร์อื่น เช่น ชุดคอมไพลเลอร์ Extended Berkeley Packet Filter (eBPF) สำหรับเขียนโค้ดไปรันในเคอร์เนลรองรับอย่างเป็นทางการ, กระบวนการเข้ารหัสดิสก์ LUKS2 รองรับการเข้ารหัสใหม่ (re-encrypting) ขณะที่ดิสก์กำลังใช้งานอยู่
เครื่องมือพัฒนาอัพเดตใหม่ ชุด GCC Toolset 9, PHP 7.3, Ruby 2.6, Node.js 12, nginx 1.16, LLVM 8.0.1, Rust 1.37, และ Go Toolset 1.12.8
CentOS โครงการดิสโทรลินุกซ์ที่ทำงานทดแทน RHEL แต่ไม่มีค่าลิขสิทธิ์ ได้ประกาศออก CentOS-8 (1905) เป็นที่เรียบร้อยตามประกาศเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว โดยรอบนี้ตามหลัง RHEL อยู่ถึง 4 เดือน อย่างไรก็ตามทางโครงการประกาศโครงการย่อย CentOS Stream ที่น่าจะลดเวลาการพอร์ตแพ็กเกจต่างๆ จาก RHEL ลง
CentOS Stream จะเป็นการนำ CentOS เข้าไปแทรกในกระบวนการพัฒนาของ RHEL โดยแพ็กเกจใน Stream จะอัพเดตบ่อยกว่าปกติ แต่เป็นการอัพเดตที่เป็นแนวทางเดียวกับการพัฒนารุ่นย่อยของ RHEL เอง