ASUS เปิดตัวแล็บท็อปเกมมิ่งใหม่ 2 รุ่นคือ ROG Zephyrus G14 และ TUF Gaming A15 ที่เปลี่ยนมาใช้ซีพียู Ryzen 4000 ทั้งคู่
ROG Zephyrus G14 ซีพียูมี Ryzen 5 4600HS (6C/12T), Ryzen 7 4800HS (8C/16T) และ Ryzen 9 4900HS (8C/16T) แรม 16GB (8+8) และ 32GB (16+16) DDR4 3200MHZ การ์ดจอ GTX 1650Ti และ RTX 2060 Max-Q พร้อม ROG Boost ทั้งคู่
หน้าจอ 14 นิ้ว IPS FHD รีเฟรชเรท 120Hz หรือ WQHD 60Hz ได้การรับรองจาก Pantone หน่วยความจำ M.2 PCIe 512GB/1TB รองรับ Wi-Fi 6 รัน Windows 10 Home รองรับชาร์จผ่าน USB-PD ราคาเริ่ม 39,900 บาท สูงสุด 64,990 บาท
ASUS เปิดตัวแล็บท็อปตระกูล VivoBook ใหม่ที่ใช้ Ryzen 4000 Mobile ทั้ง 2 รุ่นย่อยคือ 14 นิ้ว (D433/D413) และ 15.6 นิ้ว (D533) หน้าจอ IPS ขอบจอบางความละเอียด FHD ซีพียูมีให้เลือก 2 ตัวเลือกคือ Ryzen 5 4500U (6C/6T) และ Ryzen 7 4700U (8C/8T) แรม DDR4 8GB หน่วยความจำ M.2 PCIe ขนาด 512GB พร้อมช่องอัพเกรดอีก 1 ช่อง (ไม่ได้ระบุว่า 2.5 นิ้วหรือ M.2)
ตัวคีย์บอร์ดมีไฟ backlight สีขาว รองรับ Wi-Fi 6 ลำโพง Harman/Kardon น้ำหนักราว ๆ 1.4 กก. มาพร้อม Windows 10 Home และ Office Home and Student 2019 รุ่นย่อยและราคาแบ่งเป็นดังนี้
หลัง Intel เปิดตัวซีพียูเดสก์ท็อป 10th Gen ไป ทำให้ปัจจุบันซีพียูในท้องตลาดมีมากมายหลายรุ่นไปหมด ตัวเลขก็เยอะขึ้นจนอาจทำให้ผู้บริโภคปวดหัวกันได้ วันนี้ผู้เขียนจึงอยากนำเสนอการเปรียบเทียบสเปกเบื้องต้นซีพียูของทั้งสองค่าย ในระดับต่างๆ ที่ใกล้เคียงกัน เพื่อช่วยผู้บริโภคอีกแรงในการเลือกซื้อซีพียูที่มีขายในท้องตลาดปัจจุบัน
เมื่อปลายเดือนที่แล้ว AMD เปิดตัว Ryzen 3 เดสก์ท็อป 3100 และ 3300X ซึ่งเป็นซีพียูแกน Zen 2 ระดับล่างสุด (ราคา 99/129 ดอลลาร์) ล่าสุดมีผลการทดสอบเบนช์มาร์คของ Ryzen 3 3100 และ 3300X ออกมาในสื่อต่างประเทศแล้ว
เว็บไซต์ AnandTech รีวิว Ryzen 3 3100 และ 3300X โดยนำไปเทียบกับ Core i7-7700K (7th Gen) ซีพียูตัวท็อปของอินเทลในปี 2017 (เลือกเทียบกับตัวนี้เพราะเป็น 4 คอร์ 8 เธร็ดเท่ากันกับ Ryzen 3 โดยถือเป็น Core i7 รุ่นสุดท้ายที่เป็นควอดคอร์)
HP ประกาศวางขายโน้ตบุ๊กธุรกิจรุ่นใหม่ ProBook 445 G7 (14") และ ProBook 455 G7 (15.6") ที่ใช้ซีพียู Ryzen 4000 Series ตัวใหม่ของ AMD
ภาพรวมของ ProBook G7 ไม่มีอะไรต่างจาก G6 รุ่นก่อน แค่อัพเกรดซีพียูมาเป็น Ryzen Mobile (Gen 3) เลือกได้ 3 ตัวคือ Ryzen 3 4300U, Ryzen 5 4500U, Ryzen 7 4700U ส่วนสเปกอื่นคืออัดแรมได้สูงสุด 16GB, สตอเรจเป็น NVMe SSD สูงสุด 512GB
HP ProBook 445 G7 ราคาเริ่มต้นที่ 841 ดอลลาร์ และ ProBook 455 G7 เริ่มต้นที่ 847 ดอลลาร์
Lenovo เปิดตัว ThinkPad ชุดใหม่ใช้ชิป AMD Ryzen 4700 เพิ่มเติมจากเดิมที่เปิดตัวเฉพาะรุ่นที่ใช้ AMD Ryzen PRO 4000 ไปเมื่อเดือนกุมภาพันธ์
ThinkPad E14 และ ThinkPad E15 เป็นรุ่นประหยัดที่สุด ใช้ชิป AMD Ryzen 4700 ที่ไม่มี SMT แต่อัพเกรดหน้าจอให้ขอบบางลง พื้นที่จอภาพ 85% และใส่ตัวอ่านลายนิ้วมือในตัวเป็นครั้งแรกของตระกูล E พร้อมกับกล้อง Mirametrix ที่สามารถล็อกเครื่องอัตโนมัติเมื่อผู้ใช้ลุกออกจากหน้าเครื่อง ราคาเริ่มต้น 639 ดอลลาร์
จุดเด่นอีกประการของซีพียูฝั่ง AMD คือการใช้ซ็อคเก็ต AM4 มาต่อเนื่องยาวนาน (อยู่มาตั้งแต่สถาปัตยกรรม Excavator ที่ออกในปี 2015) ล่าสุด AMD ออกมาการันตีว่า Ryzen รุ่นหน้าที่จะใช้สถาปัตยกรรม Zen 3 (น่าจะนับเป็น Ryzen ซีรีส์ 4000 บนเดสก์ท็อป) ก็จะยังใช้ AM4 ต่อไป
แต่ถึงแม้ตัวซ็อคเก็ตยังเป็น AM4 เหมือนเดิม แต่ Ryzen แกน Zen 3 จะต้องใช้กับชิปเซ็ตรุ่นใหม่คือ X570 และ B550 เท่านั้น (เท่ากับว่ามีบอร์ดเก่ากว่านั้นก็ต้องเปลี่ยนบอร์ดอยู่ดี ส่วนคนที่มีบอร์ด X570/B550 อยู่แล้วต้องอัพเดต BIOS)
AMD ระบุว่าไม่มีแผนรองรับ Ryzen แกน Zen 3 กับชิปเซ็ตที่เก่ากว่าซีรีส์ 500 ลงไป ด้วยเหตุผลว่าชิปหน่วยความจำแฟลชที่เก็บข้อมูล BIOS มีพื้นที่จำกัด และไม่สามารถหาพื้นที่มาใช้เก็บค่าคอนฟิกเหล่านี้ได้
AMD เปิดตัวซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กสายธุรกิจ AMD Ryzen PRO 4000 Series ตามหลังซีพียู Ryzen 4000 สำหรับโน้ตบุ๊กคอนซูเมอร์ที่เปิดตัวเมื่อต้นปี 2020
ซีพียูทั้งหมดที่เปิดตัวมี 3 รุ่นย่อย (Ryzen 3, 5, 7) เป็นรุ่น TDP 15 วัตต์ทั้งหมด ใช้แกน Zen 2 และการผลิตระดับ 7 นาโนเมตร เหมือนกับรุ่นคอนซูเมอร์ และมีจีพียู Radeon Graphic ในตัว สิ่งที่เพิ่มเข้ามาจากรุ่นคอนซูเมอร์คือฟีเจอร์ด้านความปลอดภัย (เช่น AMD Memory Guard ป้องกันการเข้าถึงหน่วยความจำ), ฟีเจอร์ด้านการจัดการจากระยะไกล และการันตีว่าจะมีสินค้าขายต่อเนื่อง 24 เดือน
AMD เปิดตัวซีพียูตระกูล Ryzen 4000 ที่ใช้แกน Zen 2 สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งออกมาเพื่อท้าชน Intel โดยเฉพาะหลังจากที่ฝั่งเดสก์ท็อปแซงหน้าไปแล้ว
ถึงแม้คะแนนรีวิวของซีพียู Ryzen 4000 ดังกล่าวจะออกมาค่อนข้างดีโดยเฉพาะการทำมัลติเธรด ทว่า Frank Azor หัวหน้าฝ่ายสถาปนิกโซลูชันเกมมิ่งของ AMD ก็ออกมาดับฝันแฟน ๆ Ryzen ว่าคงไม่ให้เห็น Ryzen 4000 คู่กับการ์ดจอตัวท็อปของ NVIDIA อย่าง RTX 2070 Max-Q และ RTX 2080 Max-Q แน่นอนอย่างน้อยก็ในอีกซักระยะหนึ่ง (สูงสุดตอนนี้คือ RTX 2060 Max-Q อย่างบน Zephyrus G14) และเมื่อถูกถามว่าทำไม Azor ก็บอกว่าให้ไปถาม OEMs เอาเอง (เพื่อสื่อว่าเป็นการตัดสินใจของ OEMs ไม่เกี่ยวกับ AMD)
AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen ซีรีส์ 3000 ที่ใช้แกน Zen 2 มาตั้งแต่ช่วงกลางปี 2019 โดยเริ่มจากซีพียูระดับบน Ryzen 9, Ryzen 7 และซีพียูระดับกลาง Ryzen 5
เวลาผ่านมาเกือบปี ตอนนี้จึงได้เวลาของซีพียูราคาถูก Ryzen 3 ซีรีส์ 3000 ที่ใช้แกน Zen 2 (ก่อนหน้านี้มี Ryzen 3 ซีรีส์ 3000 แต่ APU ที่ใช้เป็นแกน Zen+)
Ryzen 3 แกน Zen 2 มีด้วยกัน 2 ตัวคือ
XMG แบรนด์เกมมิ่งสัญชาติเยอรมนีโพสต์กระทู้บน Reddit เกี่ยวกับ XMG Apex 15 เกมมิ่งแล็บท็อปตัวใหม่ ซึ่งที่น่าสนใจคือ XMG ยืนยันว่าซีพียู Ryzen 4000 หรือ Ryzen รุ่นที่ 4 ที่ใช้แกน Zen 3 บนเดสก์ท็อป จะยังคงรองรับซ็อกเก็ต AM4 และชิปเซ็ต B450 อยู่เหมือนเดิม
ด้วยความที่ XMG Apex 15 ใช้ Ryzen 3000 บนเมนบอร์ดชิปเซ็ต B450 และสามารถเปลี่ยนซีพียูได้ XMG เลยเสริมด้วยว่าเมนบอร์ดชิปเซ็ต B450 จะรองรับ Ryzen 4000 ได้ด้วยแค่อัพเดต microcode เท่านั้น และหาก B450 รองรับ X470 และ X570 ก็น่าจะรองรับด้วยเช่นเดียวกัน
Asus ROG Zephyrus G14 เป็นโน้ตบุ๊กเกมมิ่งตัวแรกๆ ของท้องตลาดที่ใช้ซีพียู AMD สถาปัตยกรรม Zen 2 (7 นาโนเมตร) ตัวใหม่ คือ Ryzen 9 4900HS และเว็บไซต์ PCWorld ก็ได้นำมาทดสอบ เปรียบเทียบสมรรถนะกับซีพียูโน้ตบุ๊กตัวท็อปๆ ของ Intel ทั้ง Core i7 และ Core i9 และผลทดสอบที่ได้ ก็ดูจะทำให้ Intel ร้อนๆ หนาวๆ ได้แน่นอน
AMD เปิดตัว CPU สถาปัตยกรรม Zen 2 (7 นาโนเมตร) อีกสองรุ่นคือ Ryzen 9 4900H และ Ryzen 9 4900 HS เพื่อมาท้าชน Intel ในตลาดโน้ตบุ๊คเกมมิ่ง โดยพุ่งเป้าชนกับ CPU ตระกูล Core i9
Ryzen 9 4900H มี 8 แกน 16 เธร็ด คล็อคพื้นฐาน 3.3GHz เร่งสูงสุดได้ 4.4GHz กับแคช 12MB อัตรา TDP อยู่ที่ 45W และคล็อคกราฟฟิกที่ 1750MHz เมื่อนำไปเปรียบเทียบกับ Ryzen รหัส 4900H อีกสองรุ่น จะเป็นดังนี้
สถิติน่าสนใจที่ AMD เปิดเผยในงานประชุมนักวิเคราะห์การเงินเมื่อวานนี้
นอกจากข้อมูลของจีพียู Navi 2X AMD ยังเผยแผนการฝั่งซีพียูด้วยเช่นกัน
หลังจาก Lenovo เปิดตัว Thinkpad X1 ไปเมื่อต้นปี ตามด้วย Thinkpad X1 Fold รอบนี้มาเพิ่มอีก 9 รุ่นคือ T14/T14s/T15, X13/X13 Yoga, L14/L15/L13/L13 Yoga
Lenovo เน้นว่าเป็นเจ้าแรกที่ใช้ซีพียู Ryzen PRO 4000 รุ่น 3 ที่มีความเสถียรและปลอดภัยสูงกว่า Ryzen รุ่นปรกติ เหมาะกับผู้ใช้งานที่มองหาโน้ตบุ๊กระดับมืออาชีพ
นอกเหนือจากการใช้ระบบเลขรุ่นแบบใหม่ ThinkPad ชุดปี 2020 ยังมาพร้อมกับเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตอบสนองความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น เช่น Modern Standby, Wake on Voice, WiFi 6, ระบบเสียง Dolby Audio Speaker และ Dolby Vision
บัญชีทวิตเตอร์ @_rogame ซึ่งเคยมีประวัติปล่อยข้อมูลหลุดสายแอปเปิลมาก่อน โพสต์ข้อมูลจากไฟล์ของระบบปฏิบัติการ macOS Catalina 10.15.4 Beta 1 ที่มีการอ้างถึงซีพียูจาก AMD ด้วย
ในโค้ดของ Catalina อ้างถึงโค้ดเนมของซีพียู AMD หลายตัว เช่น Raven Ridge (Ryzen 2000), Picasso (Ryzen 3000), Renoir (Ryzen 4000) รวมถึงซีพียูใหม่โค้ดเนม "Van Gogh" ที่ยังไม่เปิดตัวด้วย
ฝั่งของจีพียูอาจไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจ เพราะคอมพิวเตอร์ของแอปเปิลใช้จีพียู AMD อยู่แล้ว แต่ในโค้ดเนมที่หลุดออกมาก็มีอ้างถึงชื่อ Navi 12 และ Navi 21 ที่ยังไม่เปิดตัวด้วยเช่นกัน (คาดว่า Navi 21 คือจีพียูตัวที่จะใช้ในการ์ด Radeon RX 5900)
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน AMD เพิ่งเปิดตัวหน่วยประมวลผล (APU) Ryzen Mobile รุ่นที่สามสำหรับโน้ตบุ๊ก (แต่ใช้เลขรุ่น 4000) ประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ Ryzen Mobile 4000 ยังใช้จีพียูสถาปัตยกรรม Vega ตัวเก่า แทนที่จะใช้สถาปัตยกรรม RDNA ตัวใหม่ล่าสุด
เรื่องนี้ Robert Hallock ผู้บริหารของ AMD อธิบายผ่านทวิตเตอร์ว่าเป็นเพราะตารางเวลาออกสินค้าไม่ตรงกัน (the schedules just didn't line up) แต่เขาก็ให้ข้อมูลเพิ่มด้วยว่า Vega ของ 3rd Gen เร็วกว่า Vega ของ 2nd Gen ถึง 59%
วันนี้เราเห็น AMD เปิดตัวซีพียู Ryzen 4000 Mobile สำหรับโน้ตบุ๊ก ก็มีพันธมิตรคือ Dell เปิดตัวเกมมิ่งโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียู-จีพียูจาก AMD ทันที
โน้ตบุ๊กตัวนี้คือ Dell G5 15 SE (Special Edition) เป็นโน้ตบุ๊กเกมมิ่ง G Series ขนาดหน้าจอ 15.6" เลือกใส่จอ 144Hz พร้อมเทคโนโลยี FreeSync ได้
ซีพียูเป็น AMD Ryzen 4000 รหัส H, จีพียูเป็น Radeon RX 5600M ตัวใหม่ที่เพิ่งเปิดตัววันนี้, ใส่สตอเรจได้แบบ 2 ไดรฟ์ (SSD 1TB / HDD 2TB), ระบบเสียง 3D Audio พร้อมชุดซอฟต์แวร์ Alienware Command Center สำหรับปรับแต่งเครื่อง
ราคาเริ่มต้น 799 ดอลลาร์ เริ่มขายเดือนเมษายน 2020
ตามความคาดหมาย AMD เปิดตัวซีพียูซีรีส์ใหม่ Ryzen 4000 Mobile สำหรับโน้ตบุ๊กแล้ว (รหัสซีรีส์โน้ตบุ๊กของ Ryzen ต่างกับเดสก์ท็อป เพราะใช้ Ryzen 3000 Mobile ไปแล้ว)
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Ryzen 4000 Mobile คือเปลี่ยนมาใช้แกน Zen 2 เช่นเดียวกับซีพียูฝั่งเดสก์ท็อปซีรีส์ 3000 จึงมีสมรรถนะเพิ่มขึ้นจากเดิมมาก
นอกจาก Ryzen 9 3950X ตัวแรงสุดของซีพียูเดสก์ท็อปคอนซูเมอร์ AMD ยังเปิดตัว Threadripper Gen 3 ซีพียูเดสก์ท็อปเกรดโปร รุ่นใหม่ประจำปี 2019 ที่อัพเกรดมาใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 เรียบร้อยแล้ว
Threadripper Gen 3 ที่เปิดตัวรอบนี้ มีค่า TDP 280 วัตต์เท่ากัน แยกเป็น 2 รุ่นคือ
AMD ประกาศวางขาย Ryzen 9 3950X รุ่น 16 คอร์ ที่เปิดตัวมาตั้งแต่เดือน มิ.ย. โดยถือเป็นตัวท็อปสุดของซีพียูเดสก์ท็อปเกรดคอนซูเมอร์ของ AMD ในปีนี้
สเปกคร่าวๆ ของ AMD Ryzen 9 3950X คือ 16 คอร์ 32 เธร็ด, คล็อค 3.7/4.2GHz, แคชรวม 72MB, อัตรา TDP 105W, ราคาขายปลีกตัวละ 749 ดอลลาร์ ของเริ่มส่งมอบ 25 พฤศจิกายน แต่ก็เปิดให้สั่งซื้อล่วงหน้าได้แล้ว
เบนช์มาร์คของ AMD เองระบุว่าประสิทธิภาพของ Ryzen 9 3950X ดีขึ้นจากซีพียูรุ่นก่อนหน้านี้ 22% และเทียบกับคู่แข่งคือ Core i9-9960X ที่เป็นซีพียู 16 คอร์ตัวแรงที่สุดของอินเทลแล้ว คะแนนของ AMD เหนือกว่า
งานแถลงข่าว Surface ของไมโครซอฟท์เมื่อคืนนี้มีประเด็นน่าสนใจหลายอย่าง เช่น โน้ตบุ๊ก Surface Laptop 3 ที่ออกรุ่นหน้าจอ 15" เพิ่มเข้ามา โดยรุ่น 15" ใช้ซีพียู Ryzen รุ่นพิเศษจาก AMD
ชื่ออย่างเป็นทางการของชิป APU ตัวนี้คือ AMD Ryzen Microsoft Surface Edition ที่แบ่งออกเป็น 2 รุ่นย่อยคือ Ryzen 7 3780U และ Ryzen 5 3580U (แยกแยะได้ง่ายคือตัวเลขท้าย 80)
เราเห็น Ryzen ซีรีส์ 3000 วางขายในตลาดคอนซูเมอร์มาได้สักระยะ ตอนนี้ได้เวลาของ Ryzen Pro ซีรีส์ 3000 สำหรับลูกค้าฝั่งธุรกิจกันบ้าง ซึ่งก็แน่นอนว่าใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 ตัวเดียวกับ Ryzen 3000 ฝั่งคอนซูเมอร์ทุกประการ แต่เพิ่มฟีเจอร์สำหรับลูกค้าฝั่งธุรกิจ เช่น การรักษาความปลอดภัยและการจัดการจากระยะไกล เข้ามา
AMD เปิดตัว Ryzen Pro 3000 ที่เป็นซีพียูสำหรับเดสก์ท็อปมาทั้งหมด 7 รุ่น แบ่งเป็น Ryzen Pro กลุ่มที่ไม่มีจีพียูมาด้วย 3 รุ่น ทุกตัวเป็น TDP 65 วัตต์
เว็บไซต์ DigiTimes ของไต้หวัน รายงานข่าวลือว่า อินเทลเตรียมปรับราคาของซีพียู Core Gen 8 และ Gen 9 ลงมาอีก 10-15% เพื่อต้อนรับ Ryzen Gen 3 ซึ่งจะวางขายวันที่ 7 กรกฎาคมนี้
ตามข่าวยังไม่ระบุชัดว่า ซีพียูแต่ละรุ่นย่อยจะปรับราคาลดลงเท่าใดบ้าง แต่จากระดับราคาในปัจจุบัน ก็จะลดลงมาประมาณ 25-75 ดอลลาร์ ตอนนี้อินเทลได้แจ้งการปรับราคานี้ไปยังพาร์ทเนอร์ต่างๆ แล้ว อีกไม่นานน่าจะได้เห็นการปรับลดราคาอย่างเป็นทางการ
ราคาของ Ryzen Gen 3 เริ่มต้นที่ 199 ดอลลาร์ ไปจนถึง 499 ดอลลาร์ เทียบกับซีพียูฝั่งอินเทลที่สเปกไล่ๆ กันก็ถือว่าถูกกว่าพอสมควร