ชิปเซ็ตบนเมนบอร์ดสมัยนี้ทำหน้าที่เชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ อย่าง พอร์ต USB, เน็ตเวิร์ก ผ่านบัสแบบต่างๆ ไปทำงานร่วมกับซีพียู ซึ่งชิปในสถาปัตยกรรม Zen รุ่นที่ 3 ของ AMD จะออกมาคู่กับชิปเซ็ตรุ่นใหม่อย่าง X570 ที่จะออกกลางปีนี้ โดยมากับการรองรับบัส PCI-Express 4.0 ทั้งที่เป็นขาที่มาจากซีพียูและจากชิปเซ็ตไปยังอุปกรณ์อื่น
แต่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่ง คือ AMD จะกลับไปดีไซน์และผลิตชิปเซ็ต X570 นี้ด้วยตัวเอง แทนการใช้ผู้ผลิตอย่าง ASMedia ที่ป้อนชิปเซ็ต X370 และ X470 ก่อนหน้า แต่กับชิปเซ็ตตัวรองยังรับผลิตอยู่ ซึ่งกว่าจะออกมาก็ปลายปี 2019
นั่นหมายความได้ว่าตอนช่วงที่ซีพียู AMD Ryzen เจนเนอเรชันที่ 3 เปิดตัวกลางปี 2019 นี้ จะมีแค่ชิปเซ็ต X570 ออกมา ไม่มีชิปเซ็ตตัวรองไปจนถึงปลายปี ส่วนใครถือเมนบอร์ดรุ่นเก่าและไม่ซีเรียสเรื่องการไม่รองรับ PCI-E 4.0 ก็มีแนวโน้มอัพเดตไบออสขึ้นมารองรับซีพียูใหม่ได้
AMD ใช้เวที CES 2019 โชว์ซีพียูตัวใหม่ Ryzen รุ่นที่สามสำหรับเดสก์ท็อป โดยมีแผนการออกช่วงกลางปี 2019 นี้
การเปลี่ยนแปลงสำคัญของ Ryzen รุ่นที่สามคือเปลี่ยนมาใช้สถาปัตยกรรม Zen 2 ตัวใหม่ (Ryzen 1 เป็น Zen 1, Ryzen 2 เป็น Zen+) และเปลี่ยนมาใช้กระบวนการผลิตระดับ 7 นาโนเมตร ช่วยให้ประสิทธิภาพโดยรวมดีขึ้นอีก
AMD นำ Ryzen Gen 3 รุ่นก่อนผลิตจริงมารันเบนช์มาร์ค Maxon Cinebench R15 เทียบกับ Intel Core i9-9900K และโชว์ว่าในประสิทธิภาพระดับเดียวกัน Ryzen 3 ใช้พลังงานน้อยกว่าประมาณ 30%
นอกจากนี้ Ryzen Gen 3 ยังจะเป็นซีพียูตัวแรกที่รองรับ PCIe 4.0 ด้วย (ซีพียูในท้องตลาดตอนนี้รองรับ PCIe 3.0)
เมื่อกลางปีที่แล้ว ASUS ออกแบรนด์ลูก TUF สำหรับโน้ตบุ๊กเกมมิ่งราคาถูกแยกออกมาจากสาย ROG (TUF ย่อมาจาก The Ultimate Forces) รอบนี้ในงาน CES 2019 ทาง ASUS ได้อัพเดตโน้ตบุ๊กซีรีส์นี้ ด้วยการออกเวอร์ชันที่ใช้ซีพียู AMD Ryzen 3000
โน้ตบุ๊ก TUF ตัวเดิมที่ออกมาเมื่อกลางปีใช้ชื่อรุ่นว่า FX505 (15") และ FX705 (17") ส่วนโน้ตบุ๊กตัวที่อัพเดตวันนี้ใช้ชื่อรุ่นห้อยท้ายว่า DY นั่นคือ FX505DY และ FX705DY
เอเอ็มดีเปิดตัวซีพียูโน้ตบุ๊ก Ryzen รุ่นที่สอง ตระกูล 3000 สำหรับโน้ตบุ๊กกลุ่มบางเบา โดยยังใช้สถาปัตยกรรม Zen โดยระบุว่าผู้ผลิตรายหลักล้วนกำลังผลิตโน้ตบุ๊กที่ใช้ซีพียูตระกูลนี้แล้ว ได้แก่ Acer, ASUS, Dell, HP, Huawei, Lenovo, และ Samsung
ซีพียูแบ่งออกเป็น สองรหัสย่อยคือรหัส H ที่มีอัตราการปล่อยความร้อน 35 วัตต์ และรหัส U ที่มีอัตราการปล่อยความร้อน 15 วัตต์ โดยรหัส H มีสองรุ่นคือ Ryzen 7-3750H และ Ryzen 5-3550H เป็นแบบ 4 คอร์ 8 เธรดทั้งคู่ ส่วนรุ่นล่างสุดจะใช้แบรนด์ Athlon เป็น Athlon 300U
ใกล้ถึงวันงาน CES 2019 เดือนนี้แล้วสื่อต่างๆ ก็จะฝุ่นตลบด้วยข่าวสารของฮาร์ดแวร์ชิ้นใหม่ที่รอการเปิดตัว ล่าสุด e-katalog ร้านค้าออนไลน์จากรัสเซียก็เผยสเปคและราคาของ Ryzen เจนเนอเรชันที่ 3 ออกมาหลายรุ่นมาก ซึ่งผลิตภายใต้สถาปัตยกรรม Zen 2 ด้วยเทคโนโลยีการผลิตขนาด 7 นาโนเมตรเป็นครั้งแรกบนเครื่องเดสก์ท็อประดับเมนสตรีม
ที่น่าสนใจคือชิปเรือธงอย่าง Ryzen 9 3800X จะมากับ 16 คอร์ 32 เธรด กับค่า TDP 125 วัตต์ คือเพิ่มจำนวนคอร์เป็นสองเท่าของ Ryzen 7 2700X แต่ใช้พลังงานเพิ่มขึ้นจากเดิม 20 วัตต์ ที่คล็อก 3.9GHz (บูสต์ที่ 4.7GHz) และยังเป็นซ็อกเก็ต AM4 เหมือนเดิม เมนบอร์ดรุ่นปัจจุบันและรุ่นเก่าคาดการว่ารองรับได้ด้วยการอัปเดตไบออส
รุ่นรองลงไปจาก Ryzen 9 3800X ในตารางระบุว่าเป็น Ryzen 7 3700X (12 คอร์ 24 เธรด) ที่น่าสนใจคือสปีดตั้งไว้ที่ 4.2GHz และบูสต์ได้ที่ 5GHz ที่ค่า TDP 105 วัตต์ ไล่เรียงลงไปถึง Ryzen 3 3300 ที่ก็ได้มาถึง 6 คอร์ 12 เธรด ที่ค่า TDP 50 วัตต์
ที่มา - e-katalog ผ่านทาง Videocardz
นอกจาก AMD เปิดตัว Athlon รุ่นใหม่ในร่าง APU วันนี้ยังมีผลิตภัณฑ์ใหม่คือ Ryzen Pro ซีพียูสำหรับภาคธุรกิจรุ่นที่สอง ใช้แกนตัวเดียวกับ Ryzen รุ่นที่สองที่เปิดตัวในเดือนเมษายน 2018
Ryzen Pro ชุดที่เปิดตัวมีด้วยกัน 3 รุ่นย่อยคือ
หลังจากปล่อยข่าวออกมาตบหน้าอินเทลในงาน Computex เมื่อเดือน มิ.ย. ค่าย AMD ก็ได้ฤกษ์เปิดตัวซีพียูรุ่นท็อป Threadripper รุ่นที่สองอย่างเป็นทางการ
Threadripper รุ่นที่สองใช้แกน Zen+ ตัวเดียวกับ Ryzen รุ่นที่สอง มีทั้งหมด 4 รุ่นย่อยคือ
เว็บไซต์ Acer ของประเทศสโลวาเกีย ขึ้นข้อมูลของ Nitro N50-100 เดสก์ทอปเกมมิ่ง ที่มาพร้อมซีพียู AMD Ryzen 5 2500X วางขายในราคา 943.50 ยูโร หรือประมาณ 37,000 บาท
จีพียูคือ Radeon RX 580, แรม 8GB 2666MHz DDR4, พื้นที่เก็บข้อมูล SSD 256GB + HDD 1TB (7200rpm), การเชื่อมต่อ 802.11ac WiFi, Bluetooth 4.2, พอร์ท USB 2.0, USB 3.0, USB 3.1 สองพอร์ท และพอร์ท RJ45
ตอนนี้ยังไม่มีข้อมูลของ Nitro รุ่นนี้ในประเทศอื่นๆ แต่นอกจากรุ่นที่ใช้ซีพียู Ryzen 5 2500X คาดว่าจะมี Nitro N50-100 รุ่นรองลงมา ใช้ซีพียู Ryzen 3 2300X เปิดตัวสิ้นเดือนนี้ด้วย
ในงาน Computex 2018 เดือนมิถุนายน ที่ผ่านมา AMD เปิดเผยข้อมูลเล็กน้อยของซีพียู Ryzen Threadripper รุ่นที่สอง ใช้สถาปัตยกรรม Zen+ รุ่นอัพเกรด ผลิตที่ 12 นาโนเมตร, รุ่นท็อปสุดมี 32 คอร์ 64 เธรด (ข่มซีพียู 28 คอร์ของ Intel) ซึ่งล่าสุดมีข้อมูลเพิ่มเติมที่น่าสนใจ รวมถึงวันที่คาดว่าจะเปิดตัวอีกด้วย
ย้อนไปในงาน Computex 2018 ที่ผ่านมา Intel ได้เปิดตัวซีพียู Core i7-8086K Limited Edition เพื่อฉลองการครบรอบ 40 ปี ของการเปิดตัว Intel 8086 ไมโครโปรเซสเซอร์ บนสถาปัตยกรรม x86 พร้อมให้ผู้สนใจได้ร่วมชิงโชคเพื่อลุ้นรับซีพียูรุ่นดังกล่าว ซึ่ง Intel ใจปล้ำแจกถึง 8086 ชุด
ในงานแถลงข่าวของอินเทลเมื่อวานนี้ มีการโชว์ซีพียู 28 คอร์และมีกำหนดขายไตรมาส 4 ของปีนี้ เช้าวันนี้เป็นคิวของ AMD แถลงข่าวบ้าง และข่มกลับด้วยซีพียู 32 คอร์ ที่พร้อมเปิดตัวในไตรมาส 3
ซีพียูตัวนี้คือ AMD Ryzen Threadripper รุ่นที่สอง ใช้สถาปัตยกรรม Zen+ รุ่นอัพเกรด ผลิตที่ 12 นาโนเมตร, รุ่นท็อปสุดมี 32 คอร์ 64 เธร็ด และจะเปิดตัวพร้อมวางขายในไตรมาส 3 ของปีนี้
LG เปิดตัวมอนิเตอร์แบบจอโค้ง ที่มาพร้อมซีพียู AMD Ryzen 3 และสามารถลงระบบปฏิบัติการ Windows / Ubuntu เองได้
มอนิเตอร์รุ่นใหม่นี้ใช้ชื่อว่า ‘LG 38CK900G-B’ จอโค้ง UltraWide IPS ขนาด 38 นิ้ว สัดส่วน 21:9 ความละเอียด 3840 x 1600 มาพร้อมซีพียู AMD Ryzen 3 แบบ dual-core ไร้พัดลมระบายความร้อน มากับ Vega graphics, แรม 8GB DDR4 อัพเกรดได้สูงสุด 16GB, SSD 128GB, สามารถลงระบบปฏิบัติการ Windows 10 / Ubuntu เองได้
ตัวมอนิเตอร์มีความเร็วในการตอบสนอง คือ 5 ms, มี Wireless และ Bluetooth ในตัว, มี webcam, ลำโพงสเตอริโอขนาด 10 วัตต์ นอกจากนี้ยังรองรับการเชื่อมต่อกับพอร์ท HDMI, USB 3 พอร์ท, USB Type-C 2 พอร์ท, mic และ ethernet
ถึงแม้ชื่อ Athlon จะกลายเป็นอดีตอันเรืองรอง แต่จริงๆ แล้วค่าย AMD ยังมีซีพียูแบรนด์ Athlon ทำตลาดล่างอยู่แบบเงียบๆ (รุ่นล่าสุดคือ Athlon X4 หรือ Bristol Ridge ออกขายในปี 2017)
ล่าสุดมีข้อมูลหลุดมาจากฐานข้อมูลเมนบอร์ดของ ASUS ระบุว่า AMD กำลังจะออก Athlon ตัวใหม่ที่ใช้สถาปัตยกรรม Zen แบบเดียวกับ Ryzen โดยใช้ชื่อว่า Athlon 200GE
ข้อมูลของ Athlon 200GE ในตอนนี้ระบุว่ามันมี 2 คอร์ 4 เธร็ด, ทำงานที่สัญญาณนาฬิกา 3.2GHz, มีจีพียู Radeon Vega มาให้ด้วย, อัตราการใช้พลังงานอยู่ที่ 35W (เท่ากับ Ryzen รุ่นประหยัดพลังงานที่ห้อยท้ายตัว E) จุดที่น่าสนใจคือในฐานข้อมูลมี Athlon Pro 200GE ที่สเปกเหมือนกันทุกประการ และยังไม่มีความชัดเจนว่าจุดต่างของรุ่น "Pro" คืออะไร
เมื่อเอ่ยถึงซีพียูในคอมพิวเตอร์ แน่นอนว่าชื่อว่า Intel อยู่ในลำดับแรกที่หลายคนนึกถึง ตลอดหลายสิบปี Intel ครองความเป็นผู้นำในตลาดซีพียู จากการพัฒนาเทคโนโลยีที่เปี่ยมไปด้วยประสิทธิภาพฝังอยู่ในซีพียูหลายต่อหลายรุ่น
อย่างไรก็ตามในปัจจุบัน Intel กำลังเผชิญหน้ากับความท้าทายครั้งสำคัญจากคู่แข่งอย่าง AMD ที่ใช้เวลากว่า 6 ปี ทุ่มงบประมาณและทรัพยากรต่างๆ พัฒนาซีพียู “Ryzen” ภายใต้สถาปัตยกรรม Zen ที่เปรียบเสมือนไพ่เด็ดในการเขย่าบัลลังก์ Intel
สัปดาห์ที่แล้ว หน้าเว็บของ Lenovo USA เผยข้อมูลของ ThinkPad สองรุ่นใหม่ที่ใช้ซีพียู AMD Ryzen เป็นครั้งแรก
โน้ตบุ๊กทั้งสองรุ่นใช้ Windows 10 Pro ยังไม่เผยวันวางขายและราคา หลังมีคนพบข้อมูลนี้ Lenovo จึงนำภาพและข้อมูลออกจากเว็บไซต์ แต่หน้าเว็บยังเข้าถึงได้อยู่ โดยบอกเพียงว่า Coming Soon
นับจากวันวางขาย Ryzen รุ่นแรก ได้ปีกว่า วันนี้ก็ได้เวลาของ Ryzen รุ่นที่สอง โดย AMD เปิดตัวซีพียูชุดแรก 4 รุ่นย่อย พร้อมเปิดให้พรีออเดอร์ทันที ของจะวางขายจริงทั่วโลก 19 เมษายนนี้
ซีพียูรุ่นที่สองมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า 2nd Generation AMD Ryzen และใช้รหัสผลิตภัณฑ์ขึ้นต้นด้วย 2xxx การเปลี่ยนแปลงสำคัญคือใช้กระบวนการผลิตขนาด 12nm (ลดจาก 14nm) ผลคือคล็อคเพิ่มขึ้นเล็กน้อย แต่ตัวสถาปัตยกรรมภายในและจำนวนคอร์ยังเป็นเหมือนเดิม (ชื่อเรียกแกน Zen+ ยังไม่ใช่ Zen 2 ที่จะออกปีหน้า) ส่วนรายละเอียดของฟีเจอร์อื่นๆ จะรอแถลงอีกรอบในวันที่ 19 นี้
CTS-Labs บริษัทวิจัยความปลอดภัยจากอิสราเอลเปิดเผยช่องโหว่โจมตีซีพียู AMD Ryzen และ EPYC สี่ช่องโหว่ หลังจากแจ้งเอเอ็มดีล่วงหน้าเพียงไม่ถึง 24 ชั่วโมง โดยบริษัทระบุว่าข้อมูลที่เปิดเผยออกมาไม่เพียงพอสำหรับการโจมตี แต่บริษัทส่งข้อมูลเต็มให้กับเอเอ็มดี, ไมโครซอฟท์, และบริษัทอื่นอีกไม่กี่บริษัทเพื่อสร้างแพตช์และแก้ไขปัญหา
ช่องโหว่ที่เปิดเผยออกมามีสี่ช่องโหว่ ได้แก่
เอเอ็มดีเปิดตัว AMD Ryzen APU ชุดใหม่ที่เพิ่มส่วนกราฟิก Vega มาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลูกค้าสามารถใส่ซีพียูลงเมนบอร์ด AM4 ได้โดยไม่ต้องซื้อเมนบอร์ดใหม่ ปัญหาคือบอร์ดบางรุ่นต้องอัพเดตเฟิร์มแวร์ก่อนจึงจะบูตด้วย APU เหล่านี้ได้ ตอนนี้ทางเอเอ็มดีก็มีทางออกสำหรับคนที่ซื้อเครื่องใหม่แล้วไม่มีซีพียูมาบูตเพื่ออัพเดตไบออส คือ ให้ยืมซีพียูไปบูตเครื่องก่อนได้
เอเอ็มดีเรียกซีพียูที่ให้ยืมนี้ว่า "boot kit" เป็น A6-9500 โดยผู้ใช้ต้องลงทะเบียนทางหน้าประกันของเอเอ็มดี แล้วแจ้งว่าจำเป็นต้องใช้ boot kit จะได้รับข้อความยืนยันทางอีเมล
Lisa Su ซีอีโอของ AMD ตอบคำถามเรื่อง Spectre & Meltdown ในงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 4/2017 โดยย้ำข้อมูลเดิมที่เคยประกาศไปแล้วว่า
ส่วนในแง่การดีไซน์ซีพียูเพื่อแก้ช่องโหว่ Spectre จะเกิดขึ้นในแกน Zen 2 รุ่นหน้า โดยมีกำหนดออกในปี 2019 (ปี 2018 จะเป็น Ryzen ตัวใหม่ที่ใช้แกน Zen+ ซึ่งยังเป็นสถาปัตยกรรมเดิม)
ถึงแม้ซีพียูค่าย AMD จะไม่ได้รับผลกระทบจากช่องโหว่ Meltdown แต่ก็ยังมีช่องโหว่ Spectre ที่ค้นพบโดย Project Zero เช่นกัน
AMD ประกาศข้อมูลเกี่ยวกับแพตช์ของซีพียูตัวเอง ดังนี้
AMD ใช้เวทีงาน CES 2018 เปิดตัวสินค้าใหม่ๆ โดยเฉพาะฝั่งซีพียู Ryzen
อย่างแรกคือ Ryzen เวอร์ชันเดสก์ท็อป แบบผนวกจีพียู Radeon Vega มาให้ด้วย มี 2 รุ่นย่อยคือ Ryzen 5 2400G (4 คอร์ 8 เธร็ด) และ Ryzen 3 2200G (4 คอร์ 4 เธร็ด) ซึ่งเราคงได้เห็นมันถูกนำมาใช้ในเดสก์ท็อปเกมมิ่งระดับล่างๆ
ฝั่งโน้ตบุ๊กก็ขยายไลน์ของ Ryzen Mobile เพิ่มเติม จากปีก่อนเปิดตัว Ryzen 5 และ Ryzen 7 ไป ปีนี้ก็ตามมาด้วย Ryzen 3 ที่มีสองรุ่นย่อยคือ 2300U (4 คอร์ 4 เธร็ด) และ 2200U (2 คอร์ 4 เธร็ด) นอกจากนี้ยังมี Ryzen Pro Mobile สำหรับโน้ตบุ๊กภาคธุรกิจด้วย มี 3 รุ่นย่อยคือ 2700U, 2500U, 2300U
AMD ประกาศความร่วมมือกับ Qualcomm เพื่อสร้างแพลตฟอร์มฮาร์ดแวร์พีซีที่เชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตตลอดเวลา (วิสัยทัศน์เดียวกับ Always Connected PC ของไมโครซอฟท์ และเปิดตัวในเวทีงาน Qualcomm งานเดียวกัน)
ภายใต้ความร่วมมือนี้ AMD จะนำโมเด็ม Snapdragon LTE ที่รองรับความเร็วระดับ Gigabit LTE ไปผนวกกับ Ryzen Mobile ซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กของตัวเองด้วย ส่งผลให้ AMD มีโซลูชันสำหรับโน้ตบุ๊กในอนาคตครบถ้วน นั่นคือ Ryzen ในฐานะซีพียู บวกกับ Radeon Vega จีพียูสมรรถนะสูง และเชื่อมต่อ LTE ตลอดเวลา
ขั้นต่อไปก็รอบรรดาผู้ผลิตโน้ตบุ๊ก นำโซลูชันของ AMD+Qualcomm ไปใช้งาน ซึ่งก็น่าจะเปิดตัวกันในงาน CES 2018 ต้นปีหน้า
AMD เปิดตัว Ryzen Mobile อย่างเป็นทางการ หลังโชว์ข้อมูลครั้งแรกในเดือนพฤษภาคม ว่าจะวางขายสินค้าในช่วง Q3-Q4 ของปี
ซีพียูที่เปิดตัวมี 2 รุ่นคือ Ryzen 7 2700U และ AMD Ryzen 5 2500U ทั้งสองตัวมีอัตราการใช้พลังงาน TDP 15 วัตต์, เป็นซีพียู 4 คอร์ 8 เธร็ด และผนวกจีพียู Radeon Vega มาให้ในตัว
จุดต่างคือ Ryzen 7 2700U ใช้สัญญาณนาฬิกาซีพียูสูงสุดที่ 3.8GHz, จีพียู Radeon Vega 10 มี compute unit 10 ตัว สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.3GHz ส่วน Ryzen 5 2500U ใช้สัญญาณนาฬิกาซีพียู 3.6GHz, จีพียู Radeon Vega 8 มี compute unit 8 ตัว สัญญาณนาฬิกาสูงสุด 1.1GHz
หลังจากทั้ง AMD Threadripper และ Intel Core i9 เริ่มวางขาย ก็ได้เวลาของการจับคู่ทดสอบประสิทธิภาพเปรียบเทียบกัน
มวยคู่หลักคือ Threadripper 1950X รุ่นท็อปสุดของ AMD (16 คอร์ 32 เธร็ด) กับ Core i9-7900X รุ่นล่างสุดของ Intel (10 คอร์ 20 เธร็ด) ที่ตั้งราคาเท่ากัน 999 ดอลลาร์ (ตัวสูงสุด Core i9-7980XE ราคา 1,999 ดอลลาร์ ซึ่งยังไม่วางขาย)
AMD เผยราคาของ Ryzen Threadripper ซีพียูซีรีส์ท็อปสุดของตัวเองไปเมื่อเดือนที่แล้ว วันนี้ทาง AMD Thailand ก็ประกาศราคาขายปลีก (suggested price) ของ Threadripper ดังนี้
หมายเหตุ: ราคานี้เป็นราคาที่ AMD แนะนำ ในทางปฏิบัติ ร้านค้าก็อาจตั้งราคาแพงกว่าหรือถูกกว่าเล็กน้อย